Browse Category: Nutrition

Collagen คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

pastel-skin
Source: Flickr (click image for link)

วันนี้ HealthGossip เอาความรู้ที่มาพร้อมกับความสวยและความงาม มาเสริฟกันอีกแล้วววว ว เป็นอะไรน่ะหรอ ก็จะอะไรอีกล่ะเนอะยังคงวนเวียน ต้วมเตี้ยมกันอยู่กับความสวยความงามและสุขภาพเหมือนเดิมนั่นเองค่าา และวันนี้ก็จะมาพูดถึง “คอลลาเจน” ที่ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็มีแต่คอลลาเจนเต็มไปหมดเลย ไม่ว่าจะเป็นแบบผงชงดื่ม แบบเครื่องดื่มผสมคอลลอเจน ไหนจะเป็นแคปซูลในรูปแบบอาหารเสริมและสมัยนี้ในครีม เครื่องสำอางค์ โลชั่น ลิปสติก หรือแม้แต่ลูกอมขนมต่างๆก็ยังมีคอลลาเจนผสมอีกแน่ะ! และไม่ว่าจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ถ้าขึ้นชื่อว่ามีคอลลาเจน สาวๆจะให้ความสนอกสนใจกันขึ้นมาเลยที่เดียวเชียวเลยใช่ไหมล่ะค่ะ ก็เพราะเรารู้และเข้าใจว่ามันดีและช่วยเรื่องความสวยความงามนั่นเอง แต่เรารู้จักเจ้าคอลลาเจนนี้ดีแค่ไหนกันล่ะ แล้วมันช่วยให้เราสวยขึ้นจริงหรอและมันช่วยเราแค่เรื่องความสวยความงามเท่านั้นเอง? แต่ความเป็นจริงแล้วรู้ไหมคะว่าคอลลาเจนอยู่ในร่างกายของเราเองนี่แหละค่ะแต่ทำไมเราถึงต้องการคอลลาเจนจากที่อื่นมากมายขนาดนั้นล่ะ ้าอย่างนั้นเรามาทำความรู้จักกับเจ้าคอลลาเจนให้มากขึ้นกันดีกว่าเนอะ อย่างน้อยก็เพื่อตัวเราและไหนยังจะสามารถเผื่อแผ่บอกกับคนอื่นได้อีก ก็ไม่ว่านะ ไม่หวง 🙂

 

ทำไมถึงได้เรียกว่า “คอลลาเจน”

คอลลาเจน (Collagen) มาจากภาษากรีก ซึ่งมีความหมายว่า กาว และคอลลาเจนนั้นเองที่ทำหน้าที่เป็นการเชื่อมเซลล์แต่ล่ะเซลล์ในร่างกายเข้าไว้ด้วยกัน คอลลาเจนนั้นอยู่ใต้ผิวหนังที่อยู่ในชั้นผิวหนังแท้ของเราโดยทำหน้าที่เสริมความเรียบตึงของผิวหนัง ทำให้ผิวแข็งแรงและเรียบเนียน

 

คอลลาเจนคืออะไรนะ

โดยทั่วไปแล้วสาวๆจะรู้จักกันดีว่าคอลลาเจนนั้นจะช่วยให้ผิวเราเต่งตึง เด้งดึ๋งและกระชับขึ้น เพราะอะไรน่ะหรอ ก็เพราะว่าคอลลาเจนเป็นโปรตีนธรรมชาติที่อยู่ในร่างกายเราเนี่ยแหละค่ะ อีกทั้งคอลลาเจนยังเป็นองค์ประกอบหลักของผิวหนังที่เป็นโปรตีนที่มีความสำคัญอย่างมากอีกด้วยนะ และเจ้าคอลลาเจนไม่เพียงเป็นองค์ประกอบของผิวหนังเท่านั้นนะคะแต่ยังทำหน้าที่เชื่อมเซลล์ทุกๆเซลล์ในร่างกายไว้ด้วยกันเพื่อทำให้เกิดเป็นเนื้อเยื่อ เป็นอวัยวะ และร่างกายที่สมบูรณ์ขึ้นมาได้นั่นเอง ดังนั้นคอลลาเจนจึงมีปริมาณถึง 1 ใน 3 ของโปรตีนในร่างกายเพราะเป็นโครงสร้างในส่วนที่ยืดหยุ่นของร่างกายนั่นเองค่ะ

คอลลาเจนนั้นมีสารสำคัญ 2 ชนิด นั่นก็คือ Proteoglycan และ Glycosaminoglycans ที่เป็นโปรตีนที่เป็นโครงสร้างหลักของผิว เส้นผม เล็บ กระดูก ข้อต่อ ตลอดจนผนังหลอดเลือด และในผิวหนังชั้นหนังแท้ (Dermis) จะประกอบด้วยคอลลาเจนถึง 75% ความอุดมสมบูรณ์ของคอลลาเจนจึงมีส่วนสำคัญในการทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น นุ่มนวลมีความยืดหยุ่นดีทำให้ผิวเต่งตึงกระชับ ซึ่งเป็นคุณลักษณะของผิวเยาว์วัยที่ไม่เหี่ยวย่นไม่มีริ้วรอยและตีนกา เป็นผิวที่ทุกคนเป็นเจ้าของในช่วงวัยเด็กและวัยสาวก่อนอายุจะย่าง 30 ทั้งนี้เพราะภายในชั้นผิวของเรามีความอุดมสมบูรณ์ของคอลลาเจนสูงม๊ากก แต่เมื่ออายุมากขึ้น เส้นใยคอลลาเจนจะเสื่อมสลายและมีปริมาณลดลง ทำให้ชั้นผิวหนังยุบตัวลงเป็นต้นเหตุของความเหี่ยวย่นและริ้วรอย เช่น รอยตีนกามาเยือนบ้าง กล้ามเนื้อรอบดวงตาเหี่ยวย่นบ้าง แถมผู้หญิงยังมาแก่ง่ายกว่าผู้ชายอีก และอัตราการลดลงอย่างต่อเนื่องของคอลลาเจนในผิวหนังชั้นหนังแท้จะมีผลให้ผิวพรรณค่อยๆ สูญเสียความชุ่มชื้น นุ่มเนียนและยืดหยุ่น ผิวที่เคยสวยเต่งตึง นุ่มนวล ค่อยๆ แห้งกร้าน ผิวจะยุบตัวลงทุกปีทุกปีทำให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นและตีนกา กว่าคุณจะอายุ 45 ปี ระดับคอลลาเจนในชั้นผิวลดลงไปแล้วกว่า 30% แน่ะ!

เศร้าใจจัง จะมีวิธีสต๊าฟการลดลงของคอลลาเจนบ้างมั้ยนะ? ขอตอบเลยว่าไม่มีวิธีนั้นค่ะ แต่ถ้าจะมีก็จะมีวิธีที่สามารถช่วยชะลอความเสื่อมของผิวพรรณและรักษาไว้ให้ดูดีให้นานที่สุดเท่านั้นเองแหละค่ะ โดยการวิจัยด้านโภชนาการได้ค้นพบว่า การรับประทานคอลลาเจนที่สกัดจากปลาทะเลน้ำลึกเป็นอาหารเสริมประจำอย่างต่อเนื่อง สามารถช่วยเสริมคอลลาเจนที่พร่องลงตามวัยที่เพิ่มขึ้นคืนกลับให้ร่างกาย สามารถช่วยป้องกันและชะลอริ้วรอยเหี่ยวย่น รอยตีนกา ความแห้ง กระด้าง ช่วยผิวพรรณให้มีความชุ่มชื้น นุ่มนวลเรียบเนียนคงความยืดหยุ่นของผิวไว้ได้ค่ะ

 

คอลลาเจนมีหลายชนิด

ชนิดที่หนึ่ง พบที่ผิวหนังที่จะเจริญเต็มที่ กระดูกและเอ็น

ชนิดที่สอง พบที่กระดูกอ่อน

ชนิดที่สาม พบที่ผิวหนังของทารกหรือผิวหนังที่เริ่มมีการสร้างใหม่ เช่น ผิวหนังที่เป็นแผลและเริ่มมีการสร้างคอลลาเจนใหม่ นอกจากนี้ยังพบที่เส้นเลือดและเดินอาหาร

ชนิดที่สี่ พบที่เยื่อหุ้มเซลล์

ชนิดที่ห้าและหก พบได้ทั่วไป

ส่วนมากเราจะรู้จักคอลลาเจนในด้านความงาม นั่นก็คือคอลลาเจนผิวหนัง นั่นก็คือคอลลาเจนชนิดที่หนึ่งและสาม ในวัยเด็กเรานั้นจะมีคอลลาเจนชนิดที่สามมากที่สุดผิวของเด็กจึงมีความเนียนนุ่ม เด้งดึ๋งกว่าวัยอื่นๆนั่นเองค่ะ และพอเราเริ่มโตขึ้นคอลลอเจนชนิดที่หนึ่งก็จะถูกสังเคราะห์ขึ้นมาแทนที่จนกระทั่งอายุ 25 ปีขึันไป คอลลาเจนก็จะเริ่มเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆโดยลดลงในอัตรา 1.5% ต่อปี และเมื่อมีการสูญเสียคอลลาเจนมากกว่าการผลิตขึันมาใหม่ ผิวหนังจึงขาดความกระชับตึงและยุบตัวลงมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นสาเหตุของริ้วรอยและผิวพรรณที่แห้งกร้านก็ตามมา แต่รู้กันไหมคะว่านอกจากนี้ยังมีคอลลาเจนอีกหลายชนิด เท่าที่พบอย่างน้อยมี  19 ชนิดด้วยกัน ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีมากน้อยแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของอวัยวะ

 

ปัจจัยที่ทำให้คอลลาเจนเสื่อมเร็วขึ้น

นอกจากการเสื่อมสลายของคอลลาเจนที่เราไม่เคยต้องการให้เกิดขึ้นแล้วก็ดันมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้คอลลาเจนเราเสื่อมเร็วขึ้นไปอีกเช่น

  1. รังสียูวีจากแสงแดด
  2. บุหรี่
  3. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  4. สารปนเปื้อนในอาหาร
  5. อนุมูลอิสระ
  6. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

แล้วอย่างนี้ถ้านำคอลลาเจนมาทาเลยล่ะ จะช่วยได้ไวทันใจกว่าการรับประทานมั้ยนะ เพราะจะได้ซึมเข้าชั้นผิวหนังโดยตรงได้ไปเลยโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการสังเคราะห์ใดๆทั้งสิ้น

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า คอลลาเจนโปรตีน เป็นโปรตีนที่มีโครงสร้างโมเลกุลใหญ่มาก ดังนั้นคอลลาเจนไม่สามารถซึมผ่านผิวหนังได้ด้วยการทา ส่วนครีมต่างๆ ที่มีขายตามท้องตลาดที่มีส่วนผสมของคอลลาเจน ก็จะเป็นการผลักคอลลาเจนให้อยู่ได้แค่ชั้นหนังกำพร้าเท่านั้น แต่เนื่องจากคอลลาเจนมีคุณสมบัติอุ้มน้ำได้ประมาณ 30 เท่าของน้ำหนักตัวมันจึงทำให้ผิวหนังกำพร้าชุ่มชื้น แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาริ้วรอยได้อย่างแท้จริง เพราะการเสริมสร้างคอลลาเจน จะต้องเข้าสู่ด้วยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังและการรับประทาน โดยในขณะที่การฉีดจะเสริมคอลลาเจนนั้นก็ได้เพียงเฉพาะที่เท่านั้น เพราะอย่างนั้น “การรับประทานน่าจะเป็นวิธีที่ดีและง่ายที่สุด”

 

คอลลาเจนจากอาหาร

สาวๆรู้มั้ยยย ในอาหารที่เรารับประทานทุกวี่ทุกวันนี้ก็มีคอลลาเจนนะ ! เราใยถีงไม่ทานกันเล่า บางคนอาจยังไม่ทราบว่ามีใช่ไหมล่ะคะ หรือทราบอยู่แล้วว่ามีแต่ไม่ทราบว่ามันอยู่ในอาหารชนิดไหน อะไรบ้าง ใช่ไหมล่ะ เดี๋ยวมาดูกันดีกว่ามีอะไรบ้าง

ถั่วเหลือง ไม่ว่าจะเป็นนมถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าหู้นอกจากจะหาทานง่ายแล้วแถมยังเป็นกำไรกับสาวๆที่ชอบดื่มเป็นชีวิตจิตใจอีกด้วย เพราะนอกจากจะได้รับโปรตีนมาเสริมสร้างกล้ามเนื้อแล้ว ในถั่วเหลืองยังมีสารกลุ่มไอโซฟลาโวนที่มีคุณสมบัติในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เหมาะสำหรับเพศหญิง ทานแล้วยังช่วยให้ผิวพรรณสดใส เปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวลได้อีกด้วยค่า

ผักใบเขียวเข้ม นอกจากจะมีวิตามินซีสูงมากๆแล้วก็ยังช่วยส่งเสริมการนำโปรตีนมาบำรุงร่างกาย และเสริมสร้างเซลล์ผิวให้แข็งแรง พบมากในผักปวยเล้ง ผักโขม คะน้า หน่อไม้ฝรั่ง ผักกาดหอม เป็นต้น

ผลไม้สีแดง แหล่งคอลลาเจนชัันดี และมีสารไลโคปีนที่เด่นในเรื่องแอนติออกซิแดนซ์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างคอลลาเจน พริกหยวกแดง หัวบีท มะเขือเทศ หรือลูกเบอร์รี่สายพันธุ์ต่างๆ ล้วนดีต่อผิวทั้งนั้น

อาหารที่ทะเลที่มีโอเมก้า อาหารที่เป็นแหล่งโปรตีนและโอไมก้า ไม่ว่าจะเป็น ปลาแซลมอล ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล ถั่วอัลมอลด์ และอะโวคาโด เป็นต้น

 

ใครจะรู้ล่ะค่ะว่าเจ้าคอลลาเจนที่เราเฝ้าไฝ่หานั้นมันอยู่ไม่ไกลจากตัวเราเลยและอยู่รอบๆตัวเรานี่เองค่ะ ถ้าเราเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสมกับร่างกายของเรา เราก็จะได้รับคอลลาเจนในรูปแบบธรรมชาติที่มาจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปนี่เองแหละค่ะ แต่ถ้าว่าไม่ว่าจะเลือกรับประทานสุดๆแล้วเจ้าคอลลาเจนก็ยังไม่เพียงพอ ยังไงคอลลาเจนในรูปแบบอาหารเสริมยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเลือกรับประทานเสริมเข้าไปเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการได้ค่ะ หวังว่าเรื่องราวในวันนี้จะช่วยให้สาวๆเข้าใจเจ้าคอลลาเจนมากขึ้นและเป็นแนวทางในการเลือกรับประทานอาหารหรือเลือกผลิตภัณฑ์ที่ดีมารับประทานเสริมกันมากขึ้นนะคะ

 

www.flickr.com/photos/muffmuff/4004304595/

Omega 9 คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

seeds-1
Source: Flickr (click image for link)

เราได้พูดถึงโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 กันไปในกระทู้ก่อนๆกันแล้วนะคะ หลายๆคนคงได้รู้จักกันไปพอสมควร วันนี้ HealthGossip จะมาพูดถึงกรดไขมันอีกตัวที่เชื่อเลยว่าหลายคนมองข้ามไป หรือไม่ก็มีอีกหลายคนที่ยังไม่ค่อยจะรู้จักกับเจ้ากรดไขมันตัวนี้กันสักเท่าไหร่ นั่นก็คือเจ้า“โอเมก้า 9” นั่นเอง  คงคิดกันว่ามันมีด้วยหรอเนี่ย? นึกว่าจะมีแค่โอเมก้า 3 กับโอเมก้า 6 ซะอีก ความจริงแล้วยังมีโอเมก้า 9 ตัวหนึ่งด้วยค่ะ และเจ้าโอเมก้า 9 เนี่ยก็เป็นอีกกรดไขมันหนึ่งที่เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเช่นกันค่ะ ถึงแม้จะไม่ถูกเรียกว่าเป็นกรดไขมันจำเป็น แต่เชื่อไหมล่ะคะว่ามันก็มีประโยชน์เช่นกัน และก็เป็นกรดไขมันที่น่าน้อยใจไม่น้อยก็เพราะมักจะไม่ได้ถูกกล่าวถึงเลย หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นกรดไขมันที่ถูกลืมไปเลยก็ว่าได้ เพราะเราคงจะคิดว่ามันเป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่ร่างกายเราสามารถสร้างได้เองก็คงไม่จำเป็นต้องใส่ใจสินะ แต่อยากจะบอกให้ทราบว่าในความเป็นจริงแล้ว เมื่อวัตถุดิบไม่ครบร่างกายก็สร้างขึ้นมาไม่ได้เหมือนกันนะจ๊ะ จึงจำเป็นที่เราจะต้องรับประทานอาหารประเภทที่มีกรดไขมันชนิดนี้เพิ่มขึ้นนั่นเอง เอาแล้วไง หลังจากนี้เมื่อเราทราบและเข้าใจบทบาทหน้าที่ของเจ้าโอเมก้า 9 แล้ว เราก็คงที่จะไม่กล้าลืมหรือให้ความสำคัญกับเจ้าตัวนี้กันแล้วใช่ไหมคะ เอาล่ะเรามาเรียนรู้และให้ความสำคัญกับบทบาทหน้าที่ของเจ้าตัวนี้กันเลยดีกว่าค่ะ

 

โอเมก้า 9 คืออะไร

โอเมก้า 9 คือ กรดไขมันชนิดหนึ่งที่เป็นกรดไขมันแบบไม่อิ่มตัวซึ่งมีพันธะคู่ระหว่างอะตอมของคาร์บอน (C=C) คู่แรกอยู่ที่ตำแหน่งที่ 9 นับจากปลายด้านกรดไขมัน

กรดไขมันชนิดโอเมก้า 9 ที่สำคัญมีสองตัวคือ

  1. กรดโอเลอิก (Oleic acid) เป็นกรดไขมันที่มีอยู่ในน้ำมันมะกอกและในไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวต่างๆ
  2. กรดอิรูสิค (Erucic acid) เป็นกรดไขมันที่พบได้มากในน้ำมันจากเมล็ดของต้นเรพ (Rapeseed), ต้นวอลล์ฟลาวเวอร์ (Wallflower)และเมล็ดของต้นมัสตาร์ด (Mastard seed) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในน้ำมันจากเมล็ดของต้นเรพนั้นมีการปลูกต้นเรพเป็นจำนวนมากเพื่อผลิตน้ำมันเป็นการพาณิชย์ในอุตสาหกรรมสี มีการนำกรดบางอย่างออกจากน้ำมันของต้นเรพ จะได้น้ำมันที่เรียกว่าคาโนลา (Canola oil)

อย่างไรก็ตาม กรดไขมันโอเมก้า 9 ไม่ถือว่าเป็นกรดไขมันจำเป็น (Essential fatter acid) เนื่องจากว่าร่างกายของคนเราสามารถสร้างกรดไขมันชนิดนี้ได้เองจากไขมันไม่อิ่มตัวโอเมก้า 3 และ/หรือ โอเมก้า 6 (ซึ่งถ้าร่างกายขาดโอเมก้า 3 และ 6 ล่ะก็ เจ้าโอเมก้า 9 จะกลายเป็นกรดไขมันจำเป็นขึ้นมาทันที เพราะว่าร่างกายของเราไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้เนื่องจากขาดวัตถุดิบนั่นเอง) และเนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า 9 ไม่มีพันธะคู่ของอะตอมคาร์บอนที่ตำแหน่งที่ 6 ดังนั้นจึงไม่ได้ช่วยในการสร้างสารไอโคซานอยด์ (Eicosanoid) ซึ่งมีหน้าที่ช่วยในการควบคุมระบบการแข็งตัวของเลือดแต่อย่างไร

 

โอเมก้า 9 มาจากไหนนะ

เราสามารถกินอาหารเหล่านี้เพื่อให้ร่างกายได้รับโอเมก้า 9 ได้จาก ไขมันจากถั่วลิสง น้ำมันมะกอก คาโนลา น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน งา ถั่วพิตาชิโอ อัลมอนด์ และอะโวคาโด

ถ้าขาดโอเมก้า 9 จะเกิดอะไรขึ้น ?

อาจเกิดอาการผิวแห้ง ผมร่วง ตาแห้ง หัวใจเต้นผิดปกติ และเจ็บตามข้อต่างๆ รวมถึงอาจเกิดรังแคขึ้นได้ด้วยง่ายๆ คือ ถ้าร่างกายของเรามีทั้งโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ก็จะเกิดการสร้างโอเมก้า 9 ขึ้นมาได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องเสริมเข้าไป แต่ถ้าเราไม่มีโอเมก้า 3 หรือโอเมก้า 6 ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างพันธะคู่ที่ตำแหน่งอะตอมเองได้ เมื่อร่างกายขาดวัตถุดิบ จึงไม่เกิดโอเมก้า 9 นั่นเองค่ะ

 

ประโยชน์ของโอเมก้า 9

โอเมก้า 9 เกี่ยวข้องกับการสร้างฮอร์โมนโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ซึ่งมีผลต่อสุขภาพมาก ในร่างกายของคนเราควรจะมีกรดไขมันโอเมก้า 9 อยู่ในสัดส่วนที่ถูกต้องเมื่อเทียบกับโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 น้ำมันที่สร้างโดยผิวหน้าของเรามีลักษณะเหมือนกับกรดไขมันโอเมก้า 9 ที่พบได้มากในน้ำมันมะกอก นอกจากนี้แล้วกรดไขมันโอเมก้า 9 ยังอาจจะ

  • เป็นตัวช่วยในการสร้าง ฮอร์โมน โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandins)
  • ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (LDL-Low Density Lipoprotein)
  • ช่วยเพิ่มระดับของ HDL (High Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
  • ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นก็คือทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายทำงานปกติ หัวใจ สมอง ตับ ไต และอวัยวะอื่นๆ ทำงานได้ดีขึ้น ทำให้สามารถป้องกันโรคหัวใจ และกลุ่มโรคหลอดเลือดตีบตันได้

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ สำหรับเรื่องโอเมก้า 9 ที่เรามักไม่ค่อยได้ยินกัน คราวนี้ก็คงจะได้ทราบกันแล้วนะคะว่า ไขมันหรือน้ำมันจากพืชต่างๆ ที่สาวๆ เรามักจะรังเกียจรังงอนว่าไม่ดี ไม่ควรแตะต้องนั้น ก็มีประโยชน์อยู่บ้าง การงดไขมันเสียทั้งหมดเลยนั้นอาจจะไม่ถูกต้องนัก เพียงแต่ต้องไม่รับประทานเข้าไปมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ หรือถ้ารับเข้าไปมากเกิน ก็ต้องกำจัดออกด้วยการเล่นกีฬา และออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญส่วนเกินนั้นทิ้งไปเสียบ้างค่ะ และถึงแม้ว่าร่างกายของเราส่วนใหญ่จะสร้างโอเมก้า 9 ขึ้นมาได้เองเมื่อได้รับโอเมก้า 3 และ 6 แต่การรับประทานอาหารหรืออาหารเสริมที่มีโอเมก้า 9 เสริมเข้าไปก็ถือว่าช่วยลดความเสี่ยงในการขาดโอเมก้า 9  แต่ไม่ว่ายังไงก็ตาม ทุกอย่างก็ยังคงต้องมีความพอดีด้วยค่ะ อย่ากลัวว่าร่างกายจะขาดอย่างเดียวแล้วก็กินอาหารเหล่านี้เข้าไปมากเกินความจำเป็น ซึ่งอาจจะเกิดโทษต่อร่างกายของเราได้เหมือนกันนะคะ

 

www.flickr.com/photos/pawel_pacholec/17820276439/in/photostream/

15 มหัศจรรย์ของอาหารที่ช่วยชะลอความแก่

morning-foods-1
Source: Flickr (click image for link)

พูดถึงความแก่….ผู้หญิงซะส่วนใหญ่ที่กลัวและเครียดจริงไหมล่ะคะ แต่ก็อย่ากังวลไปเลยค่ะความเครียดนี่แหละตัวดีที่ทำให้เราแก่เร็วขึ้น จะยังไงซะการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็เป็นเรื่องธรรมชาติเนอะ คงไม่มีใครหลีกหนีพ้น แต่…เรามีวิธีชะลอความแก่ที่เรากลัวนักกลัวหนามาบอกกันค่ะ และก็ไม่เป็นความลับใดๆทั้งสิ้น แค่ง่ายๆด้วยการหันมาใส่ใจในการเลือกรับประทานอาหารเท่านั้นเอง ไม่ต้องไปเสียเงินมากมายในการเข้าคอร์สทำหน้าหรือซื้อครีมที่ราคาแสนจะแพงกันหรอกค่ะ ว่าแต่ ..แล้วจะต้องรับประทานอาหารอะไรยังไง และอาหารแบบไหนที่จะทำให้แก่ช้า..มีด้วยหรอ? อาหารที่เรารับประทานเข้าไปในแต่ละวันนั้น คุณทานเพื่อดับความหิวกระหาย หรือต้องการลิ้มรสชาติที่แสนอร่อยในราคาที่แสนแพง… ต้องยอมรับนะคะว่าอาหารที่ดีแต่ไม่แพงก็อร่อยส่วนอาหารที่แพงแต่ได้คุณภาพดีเยี่ยมนั่นก็ดีเช่นกัน แต่ถ้าแพงแล้ว รสชาติดีเยี่ยมแล้ว แต่ไม่ได้ให้คุณประโยชน์อะไรเลย นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง เอาล่ะยังไงการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องและให้ประโยชน์ต่อร่างกายเราถึงแม้รสชาติจะไม่ถูกปากหรือบางอย่างราคาก็แสนแพง แต่บางทีนั้นเราก็ต้องยอมปรับเปลี่ยนเมนูเพื่อแต่ละวันจะได้รับอาหารที่มีประโยชน์ที่สุด แต่ขอบอกเลยว่าอาหารแต่ละชนิดที่จะมาบอกในวันนี้ นอกจากจะเป็นสิ่งที่เราๆชอบทานกันแล้วยังให้ประโยชน์ล้มหลามเลยแหละค่ะ อาหารแต่ละชนิดคุ้นหูแล้วยังต้านแก่อีกแหน่ะ ก็บอกแล้วไงว่าไม่ใช่ความลับ ขยับเข้ามาใกล้ๆ อยู่แค่นี้เอง นี่ไง HealthGossip กำลังบอกคุณว่า ต่อไปนี้เราจะไม่กลัวแก่กันแล้วค่ะ มาดูกันเลยดีกว่าว่าอาหารเหล่านั้นมีอะไรบ้างเอ่ย แท่น แท๊น….

 

15 สุดยอดอาหารต้านความแก่

 

1.ปลา

มีผลการวิจัยว่าการทานปลาเป็นประจำช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ ชาวอลาสก้าไม่มีปัญหาเกี่ยวเรื่องโรคหัวใจเลย เพราะพวกเขาทานปลากันกันทุกวัน เนื้อปลาอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นไขมันต่ำที่จำเป็นต่อสมองและการทำงานของหัวใจ สารอาหารจากปลายังช่วยลดความดันโลหิต ลดระดับโคเลสเตอรอล และยังชะลอความแก่ได้อีกด้วย ปลาที่แนะนำก็จะเป็น ปลาแซลมอน  สารสีส้มที่ผิวของปลาแซลมอน เป็นสารในกลุ่มคาโรตีน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ทำให้หัวใจมีสุขภาพดี ช่วยป้องกันโรคไตเสื่อมจากเบาหวานอีกด้วยค่ะ

 

2.เบอร์รี่

ผลไม้ในตระกูลเบอรี่ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น สตรอเบอรี่ บลูเบอรี่ แบล็คเบอรี่ ราสเบอรี่ แครนเบอร์รี่ ล้วนอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยทำให้เซลล์มีสุขภาพดีและช่วยปกป้องคุณจากโรคด้วย นอกจากนี้ แบล็คเบอรี่ยังช่วยปกป้องคุณจากมะเร็งและโรคเบาหวานได้ด้วย

 

3.ดาร์กช็อกโกแลต

พูดถึงช็อกโกแลตแล้วคงยิ้มกันเลยสินะคะ และช็อคโกแลตที่ดีเพื่อสุขภาพนั้นต้องผสมโกโก้ไม่ต่ำกว่า 70% ที่มีความเข้มข้นสูง ที่เราเรียกกันว่าดาร์กช็อกโกแลตนั่นแหละค่ะ ดาร์กช็อกโกแลต มีสาร “ฟลาโวนอยด์” (Flavonoid) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และเป็นชนิดเช่นเดียวกับไวน์แดง พืชผัก ผลไม้ และใบชา จึงช่วยปกป้องผิวจากแสงยูวีได้นั่นเองรวมถึงช่วยปกป้องผิวของเราจากอาการอักเสบเนื่องมาจากการสัมผัสแสงอัลตราไวโอเลตซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งผิงหนัง ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวาน ลดไขมันอุดตันในเส้นเลือดที่หัวใจ  ป้องกันโรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคเส้นเลือดสมองได้  โกโก้มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง นี่คือเหตุผลที่ทำให้สาวๆ ที่โปรดปรานการทานช็อคโกแลตปลื้มปริ่มตามกัน นอกจากของโปรดที่แสนจะอร่อยแล้วนั้นยังช่วยให้สาวๆแก่ช้าลงด้วยค่ะ

 

4.น้ำมันมะกอก

ถูกนำมาใช้ในการปรุงอาหารชนิดต่างๆ มีอัตราไขมันอิ่มตัวต่ำช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและป้องกันโรคหัวใจได้ คนที่ทานน้ำมันมะกอกเป็นประจำจะช่วยชะลอวัย เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระ และวิตามินอีที่จะช่วยทำให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่นสูง ผิวเปล่งปลั่ง และลดริ้วรอยเหี่ยวย่น

 

5.ชาเขียว

ชาเขียวที่เราชอบดื่มกันดีๆนี่เองแหละค่ะ เพราะในชาเขียวนั้นมีสาร epigallocatechin gallate (EGCG) ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการขับสารพิษในร่างกาย สามารถกวาดล้างอนุมูลอิสระที่เป็นตัวกัดกร่อน DNA ในกระแสเลือดลงได้ จึงส่งผลในการช่วยป้องกันความเสื่อมของเซลล์และอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายและสามารถช่วยชะลอความแก่ชราและช่วยคงความอ่อนเยาว์ไว้ได้นั่นเองค่ะ

 

6.ธัญพืชประเภทถั่ว

ธัญพืชประเภทถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง และถั่วเหลือง ประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดรวมไปถึง ธาตุเหล็ก วิตามินบี และโพแทสเซียม ถั่วเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันอิ่มตัว ล่าสุดได้พบว่าคนกินถั่วทุกวันอายุยืนยาวกว่าคนที่ไม่กิน ถั่วมีสารอาหารมากมายทั้งแร่ธาตุและวิตามินอีที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระสูง จึงเป็นสุดยอดอาหารชะลอความแก่ได้อย่างดี ขอบอกว่าทานถั่ววันละ 1 กำ ช่วยลดคอเลสเตอรอลได้

ถั่วเหลืองจะมีสารอาหารที่ชื่อว่า ไอโซหลาโวน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระประเภทหนึ่ง เหมาะสำหรับคนที่อยู่ในช่วงวัยทอง โดยสรรพคุณของมันจะเข้าไปทำหน้าที่ลดปัญหาและอาการผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงวัยนี้ เทียบได้กับฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ขาดแคลนไป ช่วยชะลอการเสื่อมของกระดูก ลดการเกิดโรคกระดูกพรุน ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ช่วยให้ผิวพรรณเต่งตึง และดูอ่อนเยาว์มากขึ้น

ถั่วแดงมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ และมีโปรตีนช่วยช่อมแซมร่างกาย มีธาตุเหล็กช่วยในการกระตุ้นพลังงาน วิตามินบี และแมกนีเซียม กากใยยังช่วยลดคอเลสเตอรอล

ถั่วเขียวเป็นแหล่งของโปรตีนไขมันต่ำที่สำคัญซึ่งดีต่อหัวใจของคุณด้วย

 

7.ไวน์แดง

คุณอาจไม่อยากเชื่อเมื่อรู้ว่าไวน์แดงดีต่อสุขภาพของคุณ สารต้านอนุมูลอิสระและสารอาหารต่าง ๆ ในไวน์แดงช่วยป้องกันโรคหัวใจได้ ช่วยปกป้องเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดฝอย นอกจากนี้ยังพบสารประกอบอื่นอย่างเรสเวอราโทรลในไวน์แดงที่ช่วยป้องกันเส้นเลือดขอด ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง ลดการอักเสบ และช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลด้วย ไวน์เป็นเครื่องดื่มที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก ถ้าเราดื่มไวน์ในปริมาณที่พอดีก็จะช่วยป้องกันโรคภัยได้มากมาย สำหรับผู้หญิงควรดื่มไวน์แดงประมาณหนึ่งแก้วต่อวัน จะช่วยลดโรคความจำเสื่อม โรคเบาหวาน และช่วยให้หลับง่ายขึ้น

 

8.อะโวคาโด

การรับประทานอะโวคาโดช่วยทำให้ผิวเรียบเนียน และปกป้องผิวจากอันตรายที่เกิดจากแสงแดด เนื่องจากอะโวคาโดอุดมไปด้วยวิตามินอี และกลูทาไธวัน อโวคาโดยังมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่ต้านความแก่ที่ดีที่สุดอีก นอกจากนี้ยังมีวิตามินบี 6 และวิตามินซี กับแร่ธาตุแมกนีเซียมซึ่งช่วยในการสร้างฮอรโมน ความสุขเซโรโทนินและโดพามีน เพราะฉะนั้นถ้าเรารับประทานอโวคาโดเป็นประจำ ก็จะส่งผลต้านความชราอย่างสูงสุด อาจจะบดอะโวคาโดโรยหน้าโอ๊ตเค้กเป็นของทานเล่นดูก็ได้ หรือจะเป็นสลัดอะโวคาโดดีน้า

 

9.กระเทียม

กระเทียมเป็นที่รู้จักกันว่ามีสารชะลอความแก่ ซึ่งรวมไปถึงสามารถลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดและความดันโลหิตด้วย ลดการอักเสบและปกป้องเซลล์ให้มีสุขภาพดี กระเทียมช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้ด้วย ในสมัยก่อนมีการใช้กระเทียมเพื่อกำจัดอาการติดเชื้อทั้งไวรัสและแบคทีเรียในระบบร่างกายมนุษย์ นอกจากนี้ กระเทียมยังช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร ลำไส้ เต้านม และตับอ่อนด้วย

 

10.ผักใบเขียว

ผักสดมีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง วิตามินและแร่ธาตุในผักจะช่วยต่อสู้กับอนุมูลอิสระจึงช่วยชะลอความแก่ได้ ผักที่ดีที่สุดคือผักใบเขียวและมีลักษณะเป็นใบ เช่น ผักปวยเล้งและคะน้า ซึ่งจะช่วยต่อสู้กับการถูกทำร้ายเนื่องจากรังสียูวีได้ นอกจากนี้ทั้งพริกแดง พริกเขียวและพริกเหลืองต่างก็มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกาย น้ำฉ่ำๆจากพริกหยวกยังจะช่วยให้สุขภาพเล็บแข็งแรง ลองนำพริกไปทำซัลซ่า โดยผสมเข้ากับมะเขือเทศกระเทียม พริกแดง แตงกว่า น้ำมันมะกอก และน้ำมะนาวดูสิ นอกจากจะได้ประโยชน์มหาศาลจากเหล่าสุดยอดอาหารแล้ว ยังได้อร่อยกับเมนูเด็ดจากฝีมือของคุณเองอีก

 

11.ส้ม

ส้ม ซึ่งเป็นผลไม้ที่รับประทานง่าย เพราะเรารู้ว่าในส้มมีวิตามินซี และวิตามินซีนี้ จัดว่าดีต่อการสร้างคอลลาเจนใหม่ในผิว จึงทำให้ผิวแน่น และอิ่มเอิบ ทางออสเตรเลียได้ค้นคว้าและพบว่า ส้มมีไฟโตเคมิเคิลต่างๆรวมกว่า 170 อย่าง ส้มจึงมีประโยชน์ช่วยป้องกันการอักเสบ ต่อสู้กับโรคมะเร็ง และยังสามารถป้องกันโรคโลหิตอุดตันอีกด้วย

 

12.แอปเปิ้ล

การทานแอปเปิ้ลเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนเต็มที่นั้น ควรทานทั้งเปลือกเนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องสมองจากการถูกทำลาย ดังนั้น เวลาเราเคยทานแอปเปิ้ลแบบที่ต้องปลอกเปลือกก่อนทุกครั้งนั้นก็ต้องลองปรับเปลี่ยนมาทานแบบไม่ต้องปลอกเปลือกกันดูนะคะ และนอกจากนี้แอปเปิ้ลยังมีสารเกอซิตินซึ่งเป็นแอนตี้แดนท์ต้านการอักเสบ และยังช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่อยู่ในร่างกาย ถ้าเรารับประทานแอปเปิ้ลเป็นประจำจะช่วยให้ปอดแข็งแรง และลดความเสี่ยงของโรคหอบหืดอีกด้วยค่ะ

 

13.เต้าหู้และนมถั่วเหลือง

ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ถือเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีเยี่ยมแถมยังมีวิตามินและแร่ธาตุต่างๆมากมาย เช่น แคลเซียม เหล็ก สังกะสี วิตามินบี เป็นต้น ทั้งถั่วเหลืองและเต้าหู้ก็เป็นอาหารที่มีเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิงที่จะช่วยในเรื่องการบำรุงดูแลผิวพรรณ และในน้ำเต้าหู้ยังมีโฟโตเอสโตรเจนแฝงอยู่ และข้อดีของการรับฮอร์โมนเอสโตรเจนจากน้ำเต้าหู้ก็คือ น้ำเต้าหู้แอบแฝงเอสโตรเจนมาในรูปของเหลว ทีนี้ร่างกายก็จะดูดซึมและนำฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ได้ไปใช้ได้อย่างรวดเร็วนั่นเองนะคะ และเต้าหู้และถั่วเหลืองยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของร่างกายไม่ให้สูงจนเกินไป และช่วยให้การหลั่งอินซูลินอยู่ในระดับที่เหมาะสม ระดับน้ำตาลและอินซูลินที่สูงเกินไปนั้นจะทำให้เป็นโรคเบาหวาน เซลส์ต่างๆเสื่อมสภาพเร็ว และที่สำคัญทำให้แก่เร็วและแก่เกินวัย

 

14.ไข่

ให้ลืมข้อเสียเรื่องคอเลสเตอรอลที่เคยเชื่อกันมานานไปได้เลยค่ะ เพราะไข่นี่แหละมีครบทั้งเกลือแร่ วิตามิน และก็โปรตีน ไข่แดงนั้นยังอุดมไปด้วยคาโรทินอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นเยี่ยมยอดนั่นเอง

 

15.ขมิ้น 

ขมิ้นที่เราชอบนำมาทำเป็นเครื่องเทศในอาหารนี่แหละค่ะ ขมิ้นเป็นผงสีเหลืองที่ใส่ในแกงกะหรี่ ในขมิ้นมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ช่วยป้องกันของโรคอัลไซม์เมอร์อีกด้วย แหมเอาใจคนที่ชอบข้าวแกงกะหรี่กันเลยแหละคราวนี้ ยังไงก็อย่าพลาดเมนูข้าวแกงกะหรี่กันนะคะ

 

“อาหาร” เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำหรับการดำรงค์ชีวิตในแต่ละวันของมนุษย์โลก การที่ได้รับประทารอาหารที่ดีอร่อยและราคาแพงใช่ว่าจะทำให้เราต้องมีสุขภาพที่ดีเสมอไป แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ค่ะเพราะว่าอาหารที่มีราคาแพงนั้นก็ย่อมเป็นส่วนที่ช่วยให้เราได้รับประทารอาหารที่มีคุณภาพดีเยี่ยมแต่ก็ต้องให้ถูกเมนูเช่นกัน และต่อจากนี้ หวังว่าอาหาร 15 ชนิดข้างต้นจะเป็นแนวทางในการเลือกรับประทานหรือแนวทางในการประกอบอาหารทานเองที่บ้านก็ดี แค่นี้ความแก่น่ะหรอ….เชิ่ดใส่เลยค่ะ 🙂

 

www.flickr.com/photos/sharisberries/16750735390/

Omega 6 คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

vegetable-oil-1
Source: Flickr (click image for link)

โอเมก้า 6 (Omega 6) หลายๆคนคงคุ้นหูคุ้นตากันแค่ Omega 3 มากกว่าใช่ไหมล่ะคะ แต่ไม่ทราบกันใช่ไหมล่ะว่ามีโอเมก้า 6 ด้วยเหมือนกันค่ะ โอเมก้า 6 หรือกรดไขมันโอเมก้า 6 ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ทั้งที่จริงแล้ว กรดไขมันโอเมก้า 6 คือตัวถ่วงสมดุลของกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งร่างกายเรานั้นจะใช้ประโยชน์จากกรดไขมันทั้ง 2 ชนิดด้วยกัน นั่นแหละคะเพราะฉะนั้นเราจึงไม่ควรที่จะมองข้ามเจ้าตัวโอเมก้า 6 นี้ไปและมาทำความเข้าใจกับเจ้ากรดไขมันตัวนี้ซักนิด เพราะว่ากรดไขมันทั้งสองตัวนี้มีความสำคัญและมีประโยชน์ไม่แพ้กันเลยค่ะ  และเราก็อาจจะยังไม่ทราบว่าถ้าขาดตัวใดตัวหนึ่งไปอาจจะมีผลดีหรือเสียกันแน่ เจ้าโอเมก้า 6 นี้มาจากไหนกันนะ สงสัยกันใช่ไหมล่ะคะ… ร่างกายของมนุษย์อย่างเราๆไม่มีตัวใดตัวหนึ่งที่ต้องทำงานหนักเพียงคนเดียว สารอาหารที่เราได้รับก็เช่นกันดูภายนอกเราคิดว่าได้รับอย่างเดียว ชนิดเดียวก็เพียงพอแล้วแหละ แต่ความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีความพอดี สมดุลกันอย่างเหมาะสม เพื่อให้มาซึ่งความสมบูรณ์และเพียงพอนั่นเองค่ะ เพราะฉะนั้นวันนี้เราถึงต้องมาทำความรู้จักกับเจ้าโอเมก้า 6 กันหน่อย HealthGossip เลยไม่พลาดที่จะนำความรู้เหล่านี้มาเล่าสู่กันฟังค่ะ

 

โอเมก้า 6 คืออะไร

กรดไขมันโอเมก้า 6 เป็นกรดไขมันชนิดที่ดีอีกชนิดหนึ่ง คือเป็นแบบไขมันห่วงโซ่ยาวที่มีอะตอมของคาร์บอนมากและมีพันธะคู่มากกว่าหนึ่งแห่งในห่วงโซ่ และมีพันธะคู่ตัวแรกอยู่ที่อะตอมของคาร์บอนตัวที่ 6 ของสายห่วงโซ่ (เลยเรียกว่าโอเมก้า 6 ไงล่ะคะ) โดยที่ร่างกายของเราไม่สามารถสร้างพันธะคู่ที่ตำแหน่งอะตอมของคาร์บอนตัวที่ 3 (ในกรณีของโอเมก้า 3) หรือตัวที่ 6 (ในกรณีของ โอเมก้า 6 นี้) จึงจำเป็นที่เราจะต้องรับประทานเข้าไปโดยตรงจากภายนอก โอเมก้า 6 นั้นเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) ซึ่งมีพันธะคู่หลายอัน polyunsaturated fatty acids (PUFA) โดยมีตำแหน่งของพันธะคู่ที่ตำแหน่งโอเมกา 6 ซึ่งนับจากคาร์บอนของกรดไขมันด้านปลายที่มีหมู่เมทิล (CH3-) กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวที่เป็นกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-6 ได้แก่กรดลิโนเลอิก (linoleic acid, C 18:2) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง ในกลุ่มโอเมก้า 6 (Omega 6) เป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น ซึ่งมีประโยชน์ คือ เป็นสารตั้งต้นของการสร้างสารพรอสตาแกลนดิน PG1 ซึ่งมีผลดีต่อสุขภาพ โดย
– ลดการทำงานของเกร็ดเลือด ทำให้การเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือดลดน้อยลงช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และหัวใจทำงานน้อยลงนั่นเองค่ะ
– ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) เพิ่มโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL)
– ช่วยลดอาการปวดและอาการอักเสบต่างๆ
– ช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้เซลล์ผิวหนัง ลดอาการแห้งกร้าน แตกขุย ริ้วรอยต่างๆ บนผิวรวมถึงรักษาอาการทางผิวหนังบางชนิด เช่น ผื่นผิวหนังเรื้อรัง ผิวแห้งลอกเป็นเกล็ด รังแค ผมร่วง เป็นต้น
– มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดและชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง
– ลดอาการแทรกซ้อนทางประสาทของผู้ป่วยเบาหวาน อาทิ อาการชาตามปลายมือและปลายเท้า
ช่วยรักษาอาการผิดปกติของชายหญิงวัยเจริญพันธุ์ และสตรีวัยทอง

กรดอะราคิโดนิก (arachidonic acid, C 20:4) โอเมก้า 6 นั้นร่างกายของเราไม่สามารถผลิตขึ้นมาเองได้นะคะ จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร ในอาหารที่พบโอเมก้า 6 ได้นั้นจะอยู่ในน้ำมันพืช ถั่วเหลือง ทานตะวัน อิฟนิ่งพริมโรส คาโนล่า รำข้าว, จมูกข้าว น้ำมันรำข้าว และถั่วชนิดต่างๆ 

– โอเมก้า 6 มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย การทำงานของสมองและหัวใจ ช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนให้อยู่ในระดับปกติ ลดภาวะความเครียดของสตรีในช่วงก่อนมีประจำเดือน คืนความชุ่มชื่นให้กับผิวที่แห้งกร้าน ตลอดจนบรรเทาอาการอักเสบของสิว ผื่นแดงที่ผิวหนัง (โรคเรื้อนกวาง) ผิวหนังอักเสบ หนังศีรษะอักเสบ ผมร่วง แผลหายช้า

– โอเมก้า 6 มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ช่วยลดและชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง ลดอาการแทรกซ้อนทางประสาทของผู้ป่วยเบาหวาน อาทิ อาการชาตามปลายมือและปลายเท้าช่วยรักษา อาการผิดปกติของชายหญิงวัยเจริญพันธุ์และสตรีวัยทอง  

– โอเมก้า 6 เป็นไขมันแบบไม่อิ่มตัว ที่ช่วยป้องกันโรคภัยต่างๆ ได้ แต่โดยทั่วไปที่เราไม่ค่อยได้พูดถึงเพราะว่าในการรับประทานอาหารตามปกติของเรา เรามักจะได้รับกรดไขมันชนิดโอเมก้า 6 นี้อย่างเพียงพออยู่แล้วและดูเหมือนจะมากเกินไปด้วยในบางครั้ง

รู้ไหมคะ ว่าร่างกายของเราจะใช้ประโยชน์ของกลุ่มกรดโอเมก้า 3 กับโอเมก้า 6 คล้ายคลึงกัน คือ กรดไขมันโอเมก้า 3 จะสร้างไอโคซานอยด์ ทำให้เลือดไหล ยับยั้งการอักเสบ แต่กลุ่มของกรดไขมันโอเมก้า 6 จะทำให้ เลือดแข็งตัว ซึ่งจะทำงานตรงข้ามและถ่วงดุลกันนั่นเองค่ะ  ทั้งนี้ ในความเป็นจริงแล้วคนเราต้องกินทั้ง 2 กลุ่มกรดไขมันให้สมดุลกัน ซึ่งร่างกายเราต้องการกรดไขมันโอเมก้า 6 มากกว่ากรดไขมันโอเมก้า 3 ประมาณ 3 : 1 จนถึง 5 : 1 ดังนั้น แท้จริงแล้วร่างกายมีความต้องการทั้งกรดไขมันโอเมก้า 3 และกรดไขมันโอเมก้า 6 การโฆษณาความสำคัญของกรดไขมันโอเมก้า 3 ซะเป็นส่วนมากนั้น อาจทำให้ผู้บริโภคลืมความสำคัญของกรดไขมันโอเมก้า 6 ไปก็เป็นได้ค่ะ

 

โอเมก้า 6 พบได้จากไหน

ไขมันโอเมก้า 6 หลักๆ ในอาหารก็คือกรดไลโนเลอิก (Linoleic acid, LA) และได้มาจากน้ำมันพืชต่างๆ เมื่อเรารับประทานน้ำมันพืชเข้าไป ร่างกายจะสามารถเปลี่ยนกรดไลโนเลอิกไปเป็นกรดแกมมา-ไลโนเลอิก (Gamma-linolenic acid, GLA) และกรดอะราคิโดนิก (Arachidonic acid, AA) กรดทั้งสองตัวนี้ก็ยังถือว่าเป็นกรดไขมันโอเมก้า 6 อยู่ และมีในน้ำมันพิเศษบางอย่างเช่นพริมโรส (Primrose oil) ก็มีกรดแกมมา-ไลโนเลอิกอยู่เช่นกันค่ะ

  • ควรกินทั้งปลาน้ำจืด และปลาทะเล ถ้าเรามีความสามารถที่จะกินปลาทะเลที่มาจากต่างประเทศก็ได้ แต่ผู้ที่ไม่สามารถซื้อหาได้ก็ไม่มีความจำเป็น
  • กินปลาให้สม่ำเสมอ อย่างน้อย ๒-๓ ครั้งต่อสัปดาห์ ควรกินผักต่างๆ ในแต่ละมื้อเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนทุกหมู่
  • กินอาหารให้พอดี ออกกำลังกาย ควบคุมดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน
  • กินให้พอดีและมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นผัก พืชน้ำมัน เนื้อสัตว์ หรือปลา เราควรกินให้หลากหลายชนิด และให้ได้ปริมาณ ซึ่งผักอาจแตกต่างจากเนื้อสัตว์ตรงไขมันต่ำยกเว้นนำไปทอดหรือผัดรวมถึงปลา ซึ่งกรรมวิธีการทำอาหาร เช่น การทอด การนึ่ง อาจทำให้คุณค่าทางสารอาหารหายไปเล็กน้อย เพราะน้ำมันที่ทอดจะดูดซับไขมันที่เราทอดออกมาด้วย จึงต้องเลือกน้ำมันที่มีคุณภาพในการประกอบอาหาร

ที่จริงแล้วไม่แนะนำว่ากินอะไรดีที่สุด เพราะทำให้คนที่ไม่ได้รู้ลึก นั้นนำไปปฏิบัติซ้ำๆ กันและนั่นก็อาจจะส่งผลเสียได้ค่ะ เพราะว่าอาหารหรือสารอาหารทุกชนิดนั้นล้วนมีทั้งประโยชน์และมีทั้งโทษในตัวของมัน เช่นกันนั้นไขมันดีๆ เวลากินมากเกินพอดีมันก็มีโทษเพราะฉะนั้นต้องเดินทางสายกลาง เช่น ปลามีกรดไขมันโอเมก้า 3 ต้องกินสลับประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือกินวันเว้นวัน อาจสลับเป็นอาหารทะเลเพราะอาหารทะเลก็มีกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่นกัน เช่น กุ้ง หอย ปลาหมึก ฯลฯ

ส่วนในคนที่สูงอายุนั้นก็ควรทานให้มากขึ้น 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือ 4-5 ต่อสัปดาห์ก็ยังได้ โดยกินสลับกันไม่จำเป็นต้องไปเน้นชนิดว่าอย่างใดมีประโยชน์มากกว่ากัน ปลาอะไรก็กินได้หมดค่ะแล้วก็จะทำให้เราไม่ต้องไปควบคุมหรือกังวลว่าจะได้กรดไขมันครบถ้วนหรือไม่

 

ทั้งนี้เมื่อเรารู้จักแล้วว่าไขมันโอเมก้า 6 คืออะไร ซึ่งจะเห็นได้ว่ามันมีทั้งประโยชน์ (เมื่อรับประทานพอดี มีพอดี) และมีโทษ (เมื่อรับประทานมากเกินไป)  เราก็คงสงสัยกันใช่ไหมคะว่าแล้วเราจะทำอะไรกับมันได้บ้าง ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะผลการศึกษาวิจัยบอกไว้ว่า ถ้าเราสามารถรักษาระดับของสัดส่วนการรับประทานโอเมก้า 6 ต่อ โอเมก้า 3 เป็นระหว่าง 1:1 ถึง 4:1 อย่าให้เกินนั้น ก็จะเป็นการดีต่อสุขภาพ แต่โดยทั่วไป สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยได้รับประทานไขมันจากปลา (โอเมก้า 3) สัดส่วนนี้อาจจะแย่กว่ามาก เช่นเป็น 20:1 ซึ่งหมายถึงร่างกายได้รับโอเมก้า 3 น้อยไป และได้รับโอเมก้า 6 มากเกินไป ก็จะเป็นสภาวะที่ไม่ดีต่อร่างกายของเราค่ะการกินกรดไขมันโอเมก้า 6 ก็มีสำคัญเช่นกันหากเห็นว่ากรดไขมันโอเมก้า 3 สำคัญแล้ว กรดไขมันโอเมก้า 6 ก็สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันเลยค่ะ

     

www.flickr.com/photos/cottonseedoiltour/5052424228/