ชนิดของชาเขียวญี่ปุ่นที่เราอาจจะยังไม่รู้

pouring-tea-1
Source: Flickr (click image for link)

บางคนถ้าพูดถึง ”ชาเขียว” แล้วล่ะก็…ต้องได้รู้จักกันทุกคนเลยแหละเนอะ บางคนนี่ถึงกับเป็นเมนูโปรดปรานกันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะอะไรอะไรก็ต้องเป็นชาเขียวไปซะหมด ก็มันทั้งหอมทั้งอร่อยนี่เนอะเป็นใครก็ต้องหลงรัก ไหนจะปัจจุบันนี้มีร้านเครื่องดื่่มชงสดประเภทกาแฟ ชา ผุดขึ้นมากมาย …. ในนามของร้าน “กาแฟสด” ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมสูงสุด แต่ถ้าจะให้เปรียบเทียบกันในระดับโลกเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมสูงรองลงมาจาก “น้ำเปล่า” นั่นก็คือ “น้ำชา” ซึ่ง “ชา” นั้นเป็นเครื่องดื่มที่มีกลิ่นหอมที่นุ่มนวลอบอวล เมื่อได้ลิ้มลองดื่มแล้วล่ะก็ทำให้ร่างกายสดชื่นขึ้นมาเลยทีเดียว ด้วยเหตุผลนี้นี่เองจึงทำให้ผู้คนมากมายนิยมชมชอบที่จะดื่มชากันอย่างแพร่หลาย สำหรับใบชาที่ได้รับความนิยมดื่มกันอยู่ในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ชาจีน ชาเขียว และชาฝรั่ง ซึ่งชาแต่ละชนิดนั้นมีกรรมวิธีในการผลิตที่แตกต่างกัน แต่หากจะถามว่าแล้วชาชนิดไหนมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากที่สุดคำตอบคือ “ชาเขียว” นั่นเอง  สมัยนี้มองไปทางไหนอะไรก็เป็นชาเขียวไปซะหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเครื่องดื่ม ขนม ไอศกรีม หรือจะเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆก็จะต้องมีชาเขียวไปผสมอยู่เสมอ แต่จะมีสักกี่คนนะที่รู้จักชนิดของชาเขียว และที่เราชอบดื่มหรือรับประทานอยู่ทุกวันนี้เป็นชาเขียวชนิดไหน? แล้วชาเขียวมีกี่ชนิดกันเนี่ย วันนี้เราเลยจะมาเม้าท์เล่าสู่กันฟังสำหรับคอชาเขียวหรือคนที่กำลังสนใจกันค่ะ

 

ชาเขียว คืออะไร

ชาเขียว (Green tea) คือ ชาที่ได้มาจากต้นชา ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis ซึ่งชาชนิดนี้จะไม่ผ่านขั้นตอนการหมักเลย เตรียมได้โดยการนำใบชาสดมาผ่านความร้อนเพื่อทำให้ใบชาแห้งอย่างรวดเร็ว ซึ่งวิธีการก็คือเมื่อเก็บใบชามาแล้วก็นำมาทำให้แห้งอย่างรวดเร็วในหม้อทองแดงโดยใช้ความร้อนไม่สูงเกินไปและใช้มือคลึงเบา ๆก่อนแห้งหรืออบไอน้ำในระยะเวลาสั้น ๆแล้วนำไปอบแห้งเพื่อยับยั้งการทำงานเอนไซม์ (ความร้อนจะช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทำให้ไม่เกิดการสลายตัว) จึงได้ใบชาที่แห้งแต่ยังสดอยู่และมีสีที่ค่อนข้างเขียว จึงเรียกกันว่า “ชาเขียว” และการที่ใบชาที่ได้นั้นไม่ผ่านขั้นตอนการหมักจึงทำให้ใบชามีสารประกอบฟีนอล (Phenolic compound) หลงเหลืออยู่มากกว่าในอู่หลงและชาดำ (สองชนิดนี้คือชาที่ผ่านการหมัก) จึงทำให้ชาเขียวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาทั้งสอง โดยชาเขียวจะมี สารพฤกษเคมี ชื่อ EGCG ตัวนี้เป็นแชมป์เปี้ยนของสารต้านอนุมูลอิสระเลยทีเดียว จึงสามารถช่วยป้องกันมะเร็งและต้านมะเร็งได้ด้วย และมีบางงานวิจัยยังบอกว่าช่วยลดการดูดซึมไขมันและคอเลสเตอร์รอลที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดตีบตันและโรคหัวใจได้อีกด้วยค่ะ และในชาเขียวนั้นจะมีเจ้าสาร EGCG อยู่ถึงประมาณ 35-50% กันเลยทีเดียว โดยขณะที่ชาอู่หลงมีประมาณ 8-20% และชาดำจะมี EGCG อยู่เพียง 10% เท่านั้นเองค่ะ ชาเขียวที่มีคุณภาพจะได้จากใบชาคู่ที่หนึ่งและใบชาคู่ที่สองที่เก็บจากยอด (ชาวจีนเรียกว่า “บู๋อี๋”) ส่วนใบชาคู่ที่สามและสี่จากยอดจะให้ชาชั้นสอง (ชาวจีนเรียกว่า “อันเคย”) ส่วนใบชาคู่ที่ห้าและหกจากปลายยอดจะเป็นชาชั้นเลว (ชาวจีนเรียกว่า “ล่ำก๋อง”)สำหรับสี กลิ่น และรสชาติของชานั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณของสารคาเทชินที่มีอยู่ในชา โดยฤดูการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว จะมีผลต่อระดับของสารคาเทชิน ซึ่งในใบชาฤดูใบไม้ผลิจะมีสารคาเทชินประมาณ 12-13% ในขณะที่ชาในฤดูร้อนจะมีสารคาเทชินประมาณ 13-14% (ใบชาอ่อนจะมีสารคาเทชินมากกว่าใบชาแก่) สารสำคัญที่พบได้ในชาเขียวจะประกอบไปด้วย กรดอะมิโน วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี สารในกลุ่ม xanthine alkaloids คือ คาเฟอีน (caffeine) และธิโอฟิลลีน (theophylline) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ที่เรียกว่า คาเทชิน (catechins) โดยเราสามารถแยกสารคาเทชินออกได้เป็น 5 ชนิด คือ gallocatechin (GC), epicatechin (EC), epigallocatechin (EGC), epicatechin gallate (ECG), และ epigallocatechin gallate (EGCG) โดยคาเทชินที่พบได้มากและมีฤทธิ์ทรงพลังที่สุดในชาเขียว คือ สารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (epigallocatechin gallate – EGCG) ซึ่งมีความสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

ชาเขียวนั้นมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ชาเขียวแบบญี่ปุ่นและชาเขียวแบบจีน ซึ่งแตกต่างกันตรงที่ชาเขียวแบบจีนจะมีการคั่วด้วยกระทะร้อน แต่ชาเขียวแบบญี่ปุ่นไม่ต้องคั่ว ใบชาเขียวมีสารอาหารพวกโปรตีน น้ำตาลเล็กน้อย และมีวิตามินอีสูง แต่อย่างไรก็ดีมีรายงานว่าวิตามินเอและวิตามินอีที่มีอยู่ในใบชาจะสูญเสียไปเกือบหมดถ้าใช้ระยะเวลาในการชงนานจนเกินไป ส่วนปริมาณของแคลเซียม เหล็ก และวิตามินซีจะสูญเสียไปประมาณ ครึ่งหนึ่ง แต่มีรายงานจากประเทศญี่ปุ่นว่า ถ้าเราสามารถรับประทานใบชาเขียวแห้ง 6 กรัมต่อวัน จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินอี และวิตามินเอถึงร้อยละ 50 และ 20 ของปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน ตามลำดับ ในประเทศญี่ปุ่นจึงมีการผลิตชาเขียว ในรูปผงสำหรับบริโภคขึ้น ซึ่งสามารถเติมลงในอาหารหลายชนิด ตั้งแต่อาหารญี่ปุ่นจนถึงสเต็ก แฮมเบอร์เกอร์ สปาเกตตี้ และสลัด

tea-leafs-1
Source: Flickr (click image for link)

 ชนิดของชาเขียวญี่ปุ่น

  • เซนฉะ (Zencha) – ตัวแทนของชาญี่ปุ่น ถ้าพูดถึงชาญี่ปุ่นหรือชาเขียวแล้ว ส่วนใหญ่มักจะหมายถึง Zencha (เซนฉะ) นี้ คิดเป็นปริมาณถึง 80% ของการผลิตชาเขียวทั้งหมด และเป็นชาเขียวประเภทที่นิยมดื่มกันมากที่สุดลักษณะของชาจะมีสีเขียวสวย และรสชาติความหอมสดชื่นเป็นเอกลัษณ์ มีรสหวานน้อยๆ พร้อมกับความฝาดนิดๆ ตามสไตล์ชาแท้ๆ ที่แตกต่างกันตามแหล่งผลิตและวิธีการชง
  • เกียวกุโระ (Gyokuro) – ใบชาชั้นสูงสุดจากใบชาอ่อนในร่ม Gyokuro เป็นใบชาเขียวที่ได้จากการปลูกแบบประคบประหงม ภายในอุณหภูมิและสถานที่ในร่มเพื่อให้ได้กลิ่นและรสที่ดีที่สุด เป็นชาชั้นสูงที่สุดของชาเขียวที่ได้จากยอดอ่อนของใบชา ให้สีเขียวอ่อนที่สวยงาม และมีเอกลักษณ์ที่รสชาติหวานกลมกล่อม ซึ่งที่มาของรสชาติหวานกลมกล่อมนี้ มาจากการที่ให้ใบชาอยู่ในร่มก่อนการเก็บเกี่ยว ซึ่งการป้องกันแสงแดดนี้จะทำให้สารเธียอะนินที่มีประโยชน์ (ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย) ในใบชาเพิ่มขึ้น แต่ทำให้ catechin ซึ่งเป็นที่มาของรสขมในใบชาลดลง ทำให้ได้ชาที่มีรสชาติหวานกลมกล่อมนั่นเอง
  • มัทฉะ (Matcha– ใบชาชั้นสูงสุมัทฉะ Matcha ชาเขียวอย่างดี สำหรับประกอบพิธีชงชาชาเขียวมัทฉะ ก็เป็นชาที่ได้จากการปลูกชาแบบประคบประหงมเช่นกัน โดยปกติแล้วการดื่มชาเขียวมัทฉะคือการดื่มผงมัทฉะนี้เข้าไปด้วย การผลิตมัทฉะจะนำใบชาอ่อนไปอบ และเมื่อแห้งแล้วจึงนำไปหมุนกลิ้งหรือบดเป็นผงด้วยครก ให้ผู้ดื่มได้รับสารอาหารในใบชาอย่างเต็มที่ ชาเขียวมัทฉะแท้โดยทั่วไปจะมีสีเขียวอ่อนๆ แบบนกไนติงเกล โดยที่ชนิดที่อ่อนกว่าจะให้ความหวานมากกว่าชนิดสีเข้ม ซึ่งจะให้รสฝาดของใบชา
  • โคนะฉะ (Konacha) – ใบชาแบบที่บริการในร้านซูชิทั่วไป Konacha ผลิตจากใบชาส่วนที่เหลือจากกระบวนการทำชาเขียวมัทฉะหรือ Gyokuro มักจะใช้ในร้านขายซูชิหรือซูชิหมุนทั่วๆ ไปในญี่ปุ่น และเนื่องจากว่ามีลักษณะเป็นผง จีงมีรสชาติที่เข้มข้น เทคนิคในการดื่มชาประเภทนี้ ก็คือ จะต้องรีบดื่ม อย่าแช่ทิ้งไว้นาน เพราะจะทำให้รสชาติเข้มข้นจนเกินไป หรืออาจทำให้ขม ชาประเภทนี้เป็นชาที่ไม่แพงมากจนเกินไป ดังนั้นคนญี่ปุ่นจึงนิยมใช้ชาประเภทนี้ในการทำอาหารบางชนิด
  • เก็นมัยฉะ (Genmaicha) – ชารสข้าวตามแบบฉบับญี่ปุ่นGenmaicha เรียกว่า ชาข้าวกล้อง หรือชาข้าวโพดก็ได้ เพราะเวลาคั่วข้าว เมล็ดข้าวจะพองโตเหมือนเมล็ดข้าวโพด เป็นชาที่นำข้าวกล้องคั่วมาผสมกับชาบันฉะ ในสมัยก่อนเป็นเครื่องดื่มของคนยากคนจน และพระ เพราะชามีราคาแพง แค่มีชาเขียวเสริมคุณค่าด้วยข้าวกล้องคั่วก็หอมอร่อยได้เหมือนกัน ชาประเภทนี้เป็นที่รู้จักกันว่า เป็นชาของผู้คนอย่างแท้จริง
  • ฟูกะมัทชิฉะ (Fukamushicha) – เป็นชาชนิดเดียวกับชาเซนฉะ แต่จะผ่านวิธีการผลิตแตกต่างกันนิดหน่อยตรงที่นำไปอบนานเป็นสองเท่าของชาเซนฉะ แต่เวลาต้มชาออกมาน้ำชาจะมีสีเข้มหม่นๆ กว่าชาเซนฉะ รสชาติเข้มข้นและหวานกว่า
  • คาบุเซะชะ (Kabusecha) – เป็นชาประเภทเดียวกับชาเซนฉะ แต่ก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 20 วันจะถูกปกคลุมไปด้วยตาข่าย รสชาติจะอ่อนกว่าชาเซนฉะ
  • คาวายานากิ (Kawayanagi) – เป็นชาที่ทำมาจากใบอ่อนขนาดใหญ่ของ ชาคาบุเซะชะ และ ชาเซนชะ รสชาติเบาๆ
  • บังฉะ (Bancha) – ดื่มแล้วสดชื่น เอาไว้ดื่มหลังอาหาร บังฉะทำจากชาที่จับตัวหลังจากการวางซ้อนทับกันในกระบวนการผลิตชาเซนฉะ ดื่มชาประเภทนี้แล้วทำให้รู้สึกสดชื่นในปาก วิธีการชงคือชงด้วยน้ำร้อนแบบเร็วๆ ให้รสชาติที่ค่อนข้างขมและฝาด เหมาะกับการดื่มเพื่อล้างปาก หลังทานอาหารเสร็จเพื่อเพิ่มความรู้สึกสดชื่นและยังมีฟลูโอไรด์อยู่มาก ช่วยในการลดแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งเป็นปัญหาของการเกิดกลิ่นปากได้ด้วย
  • อะราฉะ(Aracha) – เป็นชาเขียวดิบ ที่ผลิตมาจากทั้งใบและส่วนก้านของชาจากนั้นจะนำมาอบและรีดให้แห้ง เป็นชาที่ให้รสชาติเข้มข้นมาก ส่วนใหญ่ชาชนิดนี้จะนำไปผสมกับชาอื่นๆ เพื่อเพิ่มรสชาติเฉพาะตัวที่เข้มข้นขึ้น
  • ทามะเรียวกุฉะ (Tamaryokucha) – หรือรู้จักกันทั่วไปในชื่อ Guricha  เป็นชาที่ลักษณะใบชาแห้งหยิก เป็นคลื่นๆ เล็กน้อย มีรสฝาดน้อยมีกลิ่นหอมเบาๆ เหมือนลูกเบอร์รี่
  • คาไมริฉะ (Kamairicha ) – เป็นชาที่ผลิตมาจาก จังหวัด Nagasaki เป็นส่วนใหญ่ ชาประเภทนี้จะนำไปคั่วในกะทะกลิ้งไปกลิ้งมา มีรสหวานหอม รสชาติอ่อนโยน
  • คุคิฉะ (Kukicha) – มีอีกชื่อหนึ่งว่า Boucha  เป็นชาที่เป็นผลพลอยได้มาจากลำต้นและก้านของ ชาเซนฉะ หรือ ชามัทฉะ มีใบชาผสมน้อยมาก มีรสชาติหวาน สามารถนำไปผสมกับน้ำผลไม้สำหรับเด็กๆ ได้ด้วย
  • คาริกาเนะ (Karigane) – หรือ Shiraore เป็นชาที่เป็นผลพลอยได้มาจากก้านของชาเกียวโระคุ  มีรสชาติหวาน สามารถนำไปผสมกับน้ำผลไม้สำหรับเด็กๆ ได้ด้วยเช่นกัน
  • เมฉะ (Mecha) – เป็นชาที่เก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ผลิ โดยการนำเอาใบและก้านที่แยกมาจาก ชาเกียวโระคุ และชาเซนฉะมาอบและรีดรวมๆ กัน เป็นชาที่มักจะเสริฟที่ร้านซูชิเพื่อล้างรสคาวที่เพดานปาก รสชาติเข้มข้นขมฝาดพอประมาณ
  • โฮจิฉะ (Houjicha) –  เหมาะสำหรับเด็กๆ และ คนป่วย เป็นชาในช่วงเก็บเกี่ยวครั้งสุดท้ายแล้ว ทำมาจากชา บันฉะ, เซนฉะ, คุคิฉะ ผสมๆ แล้วก็มีกิ่งชาผสมอยู่ด้วยจากนั้นนำไปคั่วในไฟร้อน เพื่อลดรสชาติที่ฝาดของชา เป็นชาที่ให้ความรู้สึกอ่อนโยน ดื่มสบายๆ ในระหว่างหรือหลังมื้อเย็นของบ้าน สามารถทานก่อนที่จะเข้านอนก็ได้ เป็นที่โปรดปรานของผู้สูงอายุและเด็กพอตัวเลยทีเดียว
  • ฟุงมัทซึฉะ (Funmatsucha) – คือ ชาเขียวชนิดผงสำเร็จรูป พกสะดวก ชงง่าย สไตล์คนสมัยใหม่ ทำจากใบเซนฉะที่เอามาบดให้เป็นผงละเอียด จนสามารถละลายน้ำรับประทานได้ แตกต่างจากโคนะฉะ (ใบชาบดละเอียดแต่ไม่ละลายน้ำ) สามารถละลายได้ดีในน้ำเย็น หรือละลายน้ำแล้วแช่ตู้เย็นได้ทันที คนญี่ปุ่นบางคนเอามาผสมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้ประกอบอาหาร ในหลายๆ รูปแบบ ไม่ต้องใช้กาชงชา จึงสะดวกมากเป็นพิเศษสำหรับการพกไปดื่มเวลาเดินทางหรือที่ออฟฟิศ ได้ประโยชน์จากใบชาอย่างเต็มที่ แต่ข้อด้อยอย่างเดียวก็คือกลิ่นหอมของใบชาอาจจะสูญเสียไปได้ง่ายกว่าชาแบบใบ

 

นอกจากชาเขียวประเภทใบชาต่างๆ เหล่านี้แล้ว ก็ยังมี ชาเขียวผงแบบสำเร็จรูป รูปแบบผงละลายน้ำเย็นได้ทันที หน้าตาจะคล้ายกับฟุงมัทซึฉะหรือชาแบบผง แต่มีกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน ตรงที่ชาเขียวผงแบบสำเร็จรูปนี้ คือการนำใบชาไปชงเป็นน้ำก่อนแล้วผ่านกรรมวิธี Spray Dry หรือ Freeze Dry ให้กลายตัวมาอยู่ในรูปแบบผง วิธีเดียวกับการทำกาแฟสำเร็จรูปนั่นเอง แต่ชาแบบผงสำเร็จรูปแตกต่างจาก (ฟุงมัทซึฉะหรือใบชาแบบผง) ตรงที่จะไม่ตกตะกอนแต่จะละลายในน้ำหมดได้ดี และชนิดของชาเขียวญี่ปุ่นที่ส่วนมากนิยมดื่มกันในหมู่ชาวญี่ปุ่นนั้น ได้แก่ บันฉะ เซ็นฉะ เกียวกุโระฉะ และมัทฉะ นั่นเอง โดยคนไทยส่วนมากจะนิยมดื่มชาเขียวมัทฉะกันซะเป็นส่วนใหญ่ ที่มีสีเขียวและกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์

 

www.flickr.com/photos/satorinihon/7452684742/

www.flickr.com/photos/satorinihon/8351607205/

Vitamin D คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

milk-eggs-1
Source: Flickr (click image for link)

วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับ “วิตามินดี” (Vitamin D) ถ้าพูดถึงวิตามินดีหลายๆคนจะนึกถึงแคลเซียมกันใช่ไหมล่ะคะ แต่เอะแล้วแคลเซียมเกี่ยวอะไรด้วยล่ะ ก็เพราะว่าวิตามินดีและแคลเซียมมีความสำคัญอย่างมากกับสุขภาพของกระดูกและฟันของเรา และในบางทีเราก็จะรู้จักกับวิตามินดีในนามของ “วิตามินแสงแดด” เนื่องจากจะสามารถสร้างขึ้นได้ในร่างกายหลังจากถูกแสงแดด การให้ร่างกายได้รับแสงแดดที่เหมาะสมครั้งละ 5-30 นาที สองครั้งต่อสัปดาห์ก็พอที่จะทำให้ร่างกายสร้างวิตามินดีขึ้นมาใช้ได้อย่างเพียงพอ ซึ่งหมายความว่าเราไม่จำเป็นต้องได้รับวิตามินดีจากอาหาร ยกเว้นก็ต่อเมื่อได้รับแสงอาทิตย์น้อยเกินไป ซึ่งมักไม่เป็นปัญหาในเด็ก แต่เนื่องจากรังสี UV ในแสงอาทิตย์โดยเฉพาะในประเทศไทยบ้านเรา อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้ American Academy of Dermatology จึงแนะนำให้เรารับวิตามินผ่านทางอาหารหรืออาหารเสริมมากว่า วิตามินดีเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกายมนุษย์เนื่องจากจะช่วยในการสร้างแคลเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน และยังช่วยให้ร่างกายคงระดับของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดให้อยู่ในระดับที่เพียงพอนั่นเองค่ะ แต่นอกจากนี้แล้ว วิตามินดียังมีความสำคัญและบทบาทต่อสุขภาพอื่นๆของเราอีกด้วยค่ะ เพราะฉะนั้น HealthGossip เลยไม่รอช้าที่จะนำเสนอข้อมูลเพื่อให้เราได้เรียนรู้และรู้จักกับวิตามินดีกันให้มากขึ้นค่ะ วิตามินดีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันมีอยู่ด้วยกันสองฟอมร์คือ Ergocalciferol พบในยีสต์ และ Cholecalciferol พบในน้ำมันตับปลา ไข่แดง และสังเคราะห์ที่ผิวหนัง ส่วนในน้ำนมจะพบได้ทั้งสองฟอมร์

 

เกี่ยวกับวิตามินดี หรือ Cholecalciferol

  • วิตามินดี คือเซกโคสเตอรอยด์ (secosteroids) ที่ละลายในไขมันกลุ่มหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เสริมการดูดซึมแคลเซียม เหล็ก แม็กนีเซียม ฟอสเฟตและสังกะสีในมนุษย์
  • วิตามินดี มีหลักๆอยู่สองตัวคือ วิตามินดี 2 หรือ ergocalciferol พบในพืช รา ไลแคน และสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง พวกหอยทาก หนอน ยีสต์ และวิตามินดี 3 หรือ cholecalciferol พบในน้ำมันตับปลา ไข่แดง และสังเคราะห์ที่ผิวหนัง
  • เราได้วิตามินดีส่วนหนึ่งจากอาหาร อีกส่วนหนึ่งจากการสังเคราะห์ที่ผิวหนังซึ่งร่างกายสามารถสร้างเองได้โดยได้รับการกระตุ้นจากรังสียูวีบี (UVB) ซึ่งมีอยู่ในแสงแดด
  • วิตามินดีที่เราได้รับไม่ว่าจากอาหารหรือจากการสังเคราะห์ที่ผิวหนังร่างกายยังไม่สามารถนำไปใช้ได้ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีอวัยวะที่เปลี่ยนคือ ที่ตับเมื่อเปลี่ยนแล้วจะได้วิตามินดีที่เรียกว่า calcidiol และ ที่ไตเมื่อวิตามินเปลี่ยนแล้วจะได้วิตามินที่เรียกว่า calcitriol
  • วิตามินดีทำหน้าที่ร่วมกับแคลเซี่ยมในการสร้างกระดูกและฟัน และช่วยเร่งการดูดซึมแคลเซี่ยมในลำไส้
  • อาการของคนที่ขาดวิตามินดี คือกระดูกและฟันอ่อนแรง หักง่าย นอนไม่หลับในเด็กหากขาดวิตามินดี เรียก rickets ส่วนในผู้ใหญ่เรียก osteomalacia
  • การสังเคราะห์วิตามินดีของผิวหนังจากคอเลสเตอรอลอาศัยการได้รับแสงแดด (โดยเฉพาะรังสียูวีบี)
  • เราได้วิตามินเอจาก อาหาร แสงแดด และอาหารเสริม
  • อาหารหลายประเภทรวมทั้งนมได้ใส่วิตามินดีในอาหารและนมดังกล่าว คนปกติควรจะได้รับวิตามินดีอย่างน้อยวันละ 400 IU ต่อวัน
  • แหล่งของอาหารตามธรรมชาติที่อุดมไปด้วยวิตามินดี ได้แก่ ปลาที่มีมัน เห็ดตากแห้ง และไข่แดง และยังพบในอาหารหรือเครื่องดื่ม เช่น นม และนมถั่วเหลืองก็มีการเติมวิตามินดีในอาหาร
  • การถูกแดดช่วง 10.00น – 15.00น วันละ 5-30 นาที โดยให้แสงแดดถูกที่หน้า หรือแขน หรือลำตัวสัปดาห์ละสองวันก็เพียงพอที่จะสร้างวิตามินดี
  • งานวิจัยแสดงชี้ให้เห็นว่าคนที่มีผิวสีเข้มจะมีระดับวิตามินดีต่ำกว่าคนที่มีผิวที่ขาวกว่า หากต้องการดูดซึมวิตามินดีในปริมาณที่เท่ากัน คนอเมริกันผิวดำจะต้องโดนแสงแดดมากกว่าคนผิวขาวทั่วไปถึง 10 เท่า
  • ผู้ที่ได้รับวิตามินดีเสริมในปริมาณมากที่สุด สามารถลดน้ำหนักลงได้มากที่สุด และไขมันที่ลดลงมากก็คือไขมันบริเวณช่องท้องที่จัดว่าเป็นไขมันอันตรายนั่นเอง
  • ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการขาดวิตามินดี คือการมีไขมันในร่างกายมาก เพราะวิตามินดีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ฉะนั้นวิตามินดีจึงถูกเก็บอยู่กับไขมันมากกว่าที่จะถูกนำออกมาในกระแสเลือดเพื่อใช้กับกระบวนการต่างๆ ในร่างกาย

 

 

ประโยชน์ของวิตามินดี

วิตามินดี ช่วยให้อายุยืนยาว งานวิจัยล่าสุดเผยว่าวิตามินดี สามารถช่วยลดการตายที่เกี่ยวเนื่องกับโรคมะเร็ง โรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเอง และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ผลจากวิเคราะห์การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง 18 กลุ่ม แสดงให้เห็นว่าผู้ใหญ่ที่รับประทานวิตามินดี ในปริมาณระหว่าง 400–830-IU เป็นประจำทุกวันช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเนื่องจากโรควิถีชีวิต

 

วิตามินดี ช่วยในการชะลอวัยของผิวพรรณ มีการศึกษาพบว่าระดับวิตามินดีต่ำเกี่ยวข้องกับการบวมหรือความหย่อนยาน การมีรูขุมขนขยาย และการเกิดซีสต์บนผิวหนัง ดังนั้น วิตามินดีจึงเป็นตัวช่วยสำคัญในการสร้างผิวหนังและกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรง และควบคุมให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมตามวัย

 

วิตามินดี ช่วยให้หัวใจมีสุขภาพดี งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าระดับวิตามินดี ในร่างกายที่เพียงพอช่วยทำให้ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบดี ขึ้น พบว่าผู้ที่มีระดับวิตามินดีต่ำเสี่ยงที่จะเกิดการตีบของหลอดเลือดเพิ่มขึ้นถึง 80% โดยผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่า อาจมาจากว่าวิตามินดีช่วยลดการอักเสบของเซลล์ และช่วยลดระดับความดันโลหิต

 

วิตามินดี ช่วยรักษาระดับความดันเลือด วิตามินดีช่วยให้การทำงานของหลอดเลือดเป็นไปด้วยดี โดยงานศึกษาแสดงให้เห็นว่าหากเราได้รับวิตามินดี เพียงพอ (เช่น ไม่ขาดวิตามินชนิดนี้) จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคความดันสูง

 

วิตามินดี ช่วยปกป้องกระดูก วิตามินดีและแคลเซียม ช่วยปกป้องกระดูกจากการเป็นโรคกระดูกผุ และช่วยลดความเสี่ยงต่อการแตกหักของกระดูกที่เกิดจากโรคกระดูกผุด้วย

 

วิตามินดี ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง วิตามินดีทำหน้าที่เหมือนสารต้านอนุมูลอิสระ คือ ช่วยเพิ่มเกราะป้องกันให้เซลล์ในร่างกายแข็งแรง ป้องกันไม่ให้เซลล์เปลี่ยนรูปเป็นเซลล์เนื้อร้าย และพบว่าสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งแล้ว ผู้ป่วยที่มีระดับวิตามินดีสูงมีโอกาสลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตด้วยโรคนี้ได้

 

วิตามินดี ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย การศึกษาที่มหาวิทยาลัยเยล ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า ผู้ที่มีระดับวิตามินดีในร่างกายสูงที่สุดจะป่วยน้อยครั้งกว่าผู้ที่มีระดับวิตามินดีต่ำมากถึง 2 เท่า ด้วยเหตุผลที่ว่าวิตามินดีจะช่วยกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวผลิตโปรตีนที่เป็นตัวฆ่าเชื้อโรค

 

วิตามินดี ช่วยลดความเสี่ยงของโรคพาร์กินสัน ซึ่งเป็นโรคทางระบบประสาท เนื่องจากวิตามินดีจะเป็นตัวปรับแคลเซียมในสมอง เพิ่มประสิทธิภาพของการส่งต่อข้อมูลต่างๆ ในระบบประสาท

 

วิตามินดี ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า เป็นเพราะวิตามินดีช่วยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเซโรโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยทำให้รู้สึกดี ขณะที่การขาดเซโรโทนิน ส่งผลให้เกิดความเครียดได้

 

วิตามินดี ช่วยลดไมเกรน มีการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีระดับวิตามินดีต่ำมีความสัมพันธ์กับไมเกรนและอาการปวดเรื้อรัง เนื่องจากวิตามินดีมีส่วนช่วยให้หลอดเลือดเกร็งและคลายตัวตามปกติ

 

สาเหตุของการขาดวิตามิน

  • คนที่ถูกแสงแดดน้อย เช่นคนสูงอายุ คนป่วย
  • คนที่รับประทานอาหารไม่เพียงพอ ดื่มนมไม่เพียงพอ
  • hypoparathyroidism
  • ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการดูซึมไขมัน
  • ผู้ที่มีผิวสีคล้ำซึ่งจะทำให้ผิวหนังผลิตวิตามินดีลดลง

อันตรายจากการขาดวิตามินดี

ปกติเราสามารถสร้างวิตามินดีได้จากใต้ผิวหนังเมื่อได้รับรังสีไวโอเลตในแสงแดด ทั้งนี้ปริมาณวิตามินดีที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันคือประมาณ 5 ไมโครกรัม / วัน อย่างไรก็แล้วแต่ถ้าหากได้รับวิตามินดีมากหรือน้อยเกินไปก็เป็นอันตรายเช่นกันค่ะ

โรคกระดูกอ่อน ในเด็กที่กำลังเจริญเติบโต การขาดวิตามินดีจะทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน เนื่องจากวิตามินดีทำงานร่วมกับแคลเซียมในการช่วยควบคุมระดับแค ลเซียมในร่างกาย เมื่อขาดแคลเซียม จึงทำให้กระดูกเปราะและหักง่าย อีกทั้งยังทำให้กระดูกตามส่วนต่างๆในร่างกายผิดรูป โค้งงอ และขาโก่ง อีกทั้งยังทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนในผู้ใหญ่ได้อีกด้วย

ท้องเสีย นอนไม่หลับ ปัสสาวะบ่อย กระวนกระวาย กล้ามเนื้อกระตุก เป็นหวัดบ่อย กล้ามเนื้ออ่อนแอ ขาดความคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง และความต้านทานโรคลดน้อยลง

อันตรายจากการได้รับวิตามินดีมากเกินไป

ท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง โดยปกติร่างกายของเราสามารถกำจัดวิตามินดีที่สร้างจากแสงแดดออก ไปจากร่างกายตามธรรมชาติ แต่ถ้าหากกินวิตามินดีเสริมมากเกินไปก็อาจอันตรายได้เช่น ถ้ากินวิตามินดีวันละ 25-50 ไมโครกรัมติดต่อกันนาน 6 เดือนอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นผิดปกติ และอ่อนเพลียได้

เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูง เนื่องจากวิตามินดีมีส่วนช่วยในการดูดซึมฟอสฟอรัสและแคลเซียมจาสิกลำไส้ไปสร้างกระดูกและฟัน การขาดวิตามินดีจึงมีผลโดยตรงที่ทำให้ระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัส ในร่างกายไม่สมดุลทำให้มีแคลเซียมสะสมตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ในเนื้อเยื่อ เลือด ตับ ไต ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคร้ายอื่นๆตามมาได้

 

www.flickr.com/photos/lbrummphoto/4562104663/

13 ผลไม้ที่แสนหอมหวานแต่กินแล้วทำให้อ้วน

durian-fruits-1
Source: Flickr (click image for link)

ก่อนหน้านี้ได้พูดถึง 13 ชนิดของผลไม้ที่กินแล้วไม่อ้วน วันนี้ HealthGossip เลยอยากนำเสนอ 13 ชนิดของผลไม้ที่กินแล้วทำให้อ้วนมาบอกกันค่ะ บางคนหรือสาวๆหลายคนเลยที่ชอบรับประทานผลไม้และก็อีกหลายคนที่เลือกรับประทานผลไม้เป็นการลดน้ำหนัก เพราะมีความเชื่อว่าผลไม้นั้นไม่มีไขมัน พลังงานต่ำ ทานเท่าไหร่ก็คงไม่อ้วนหรอก หรือในบางคนก็พยายามออกกำลังกายและรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง แต่ไม่ว่าจะทำยังไงน้ำหนักก็กลับไม่ลดลงเท่าที่ควรซักที เวลาที่สาวๆ อยากจะมีหุ่นที่ผอมเพรียวโดยการอดอาหารแล้วหันมาบริโภคแต่ผลไม้นั้นนับเป็นวิธีแสนเบสิกที่ตั้งแต่ดาราฮอลลีวูดไปจนถึงพนักงานออฟฟิศใช้กันมาช้านาน แต่ใครจะรู้ละคะว่า “ผลไม้” ที่ทั้งอร่อยและได้ประโยชน์ก็สามารถสร้างความปวดใจให้กับน้ำหนักตัวของเราได้เหมือนกัน สิ่งเหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นภาพลักษ์ที่เหล่าคนดังในจอเงินทำให้คุณเห็นว่า พวกเขาพยายามมากขนาดไหนในการควบคุมน้ำหนัก ไม่ว่าจะด้วยการกินผลไม้ตลอดทั้งสัปดาห์ก็แล้ว แต่คุณเคยสงสัยกันหรือเปล่าวล่ะคะว่า มันเป็นเรื่องจริงหรือเปล่าที่การทานเพียงผลไม้เพื่อลดน้ำหนักนั้นจะสามารถช่วยทำให้คุณสูญเสียน้ำหนักและมีหุ่นที่ดีเพรียวสวยเข้ารูปได้จริงหรือเปล่านะ แน่นอนว่าผลไม้นั้นมีหลากหลายประเภทและคุณจะแน่ใจกันได้ยังไงว่าการเลือกรับประทานผลไม้เพื่อลดน้ำหนัก ผลไม้ที่ว่านั้นถูกประเภทกันแล้วหรือยัง อย่าลืมว่าผลไม้บางชนิดก็มีน้ำตาลสูง สังเกตุได้ง่ายก็ผลไม้ที่มีรสหวานจัดๆนั่นแหล่ะค่ะ แต่ว่าจะมีอะไรกันบ้างน้้น HealthGossip ไปหาคำตอบมาให้สาวๆทั้งหลายจดและจำกันให้ขึ้นใจแล้วค่าา

 

13 ผลไม้ที่แสนหอมหวานแต่กินแล้วทำให้อ้วน!!

สำหรับผลไม้ที่ขึ้นชื่อว่ามีน้ำตาลมากก็สังเกตได้ไม่ยากค่ะ ก็จำพวกที่มีสีเหลือง ๆ รสหวานจัด ๆ นั่นแหละค่ะ และที่น่าสนใจอีกอย่างคือ พวกเราดั๊นชอบซื้อชอบทานกันซะด้วย อะไรที่อร่อยมักจะสุขภาพไม่ดีอ่ะเนอะ แล้วนี่จะทำยังไงล่ะ นู่นก็ไม่ได้ นี่ก็ไม่ได้ จะบอกว่าห้ามกินก็คงไม่ได้อีก ใครจะไปทำได้อ่ะเนอะ เอาอย่างนี้แล้วกันค่ะ เมื่อเราทราบแล้วว่าผลไม้ชนิดไหนนั้นมีแคลลอรี่เท่าไหร่ เราก็ทำการดมเฉยๆหรือไม่ก็อมแล้วคายออกมา แฮ่ะๆ ล้อเล่นค่ะ ทำไมต้องทรมานใจตนเองขนาดนั้นอ่ะเน้อ ก็แค่จะบอกว่าเราก็รับปประทานผลไม้เหล่านั้นให้น้อยลงเท่านั้นเองล่ะค่า ไม่ใช่ ชนิดละกิโล นั่นก็เบาหวานกันพอดี เอาล่ะเรามาดูกันดีกว่าว่ามีผลไม้ชนิดไหน ยังไงบ้าง จะได้เลือกรับประทานกันได้ถูก 🙂

 

1.มะขามหวาน ( tamarind)

ไม่น่าเชื่อว่ากินมะขามหวานแค่ 1 ขีด ไม่รวมน้ำหนักเปลือกและเมล็ด จะได้พลังงานถึง 333 กิโลแคลอรี่ กันเลยทีเดียวเชียว ไม่อยากนึกเลยถ้ากิน 1 กิโลกรัม จะขนาดไหน งั้นก็เอาที่ 1 ไปครองเลยแบบใสๆไปเลย มะขามหวานเป็นผลไม้ที่หวานอร่อยละมุน ส่วนมากเราจะเห็นคนแก่ชอบนำมาทานกับข้าวเหนียว โห นั่นยิ่งหนักไปใหญ่เลยค่ะ

 

2.ทุเรียน (Durian)

แชมป์เก่าของผลไม้ต้องห้ามสำหรับคนลดความอ้วน ทุเรียน ภายนอกมีหนามน่ากลัวแต่พอเปิดเจอข้างในแล้วเจอเนื้อสีเหลืองนวล กลิ่นหอมชวนชิมลิ้มรส พอเมื่อกินเข้าไปแล้วได้รสชาติที่หวานจนหยุดกินไม่ได้กันเลยทีเดียว แต่…ช้าก่อนอย่าเพิ่งกินคำต่อไป เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน รสชาติที่หวานเย้ายวนนี่ตัวดีเลย คุณค่าทางโภชนาการต่อ โดยทุเรียนจะให้พลังงานถึง 134-163 กิโลแคลอรี่ แล้วแต่สายพันธุ์และความหวานนั่นเอง!! จะเห็นได้ว่าค่าคาร์โบไฮเดรตอยู่ที่ 27.09 g ไขมันอยู่ที่ 5.33 g อีกด้วย อีกทั้ง กระทรวงสาธารณสุขก็เคยออกมาเตือนแล้วว่า ไม่ควรทานทุเรียนเกินวันละ 2 เม็ด เพราะเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานสูง ถ้าหากกินครั้งละ 2-3 พู เท่ากับ 4-6 เม็ด หรือเกือบครึ่งลูก ก็จะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานจากความหวานของทุเรียนมากเกินไปถึงประมาณ 400 กิโลแคลอรี ซึ่งพอ ๆ กับกินข้าว 5 ทัพพี หรือกินน้ำอัดลมเกือบ 2 กระป๋อง หรือก๋วยเตี๋ยวหมู 1 ชาม โดยเฉพาะคนอ้วน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ต้องระวังเพราะอาจทำให้โรคกำเริบได้ แล้วอย่างนี้จะยังกินต่อกันอีกอยู่ไหม?

 

3.กล้วย (Banana)

ไม่ว่าจะเป็น กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า หรือกล้วยหอม ถึงแม้จะมีประโยชน์มากมาย แต่ทั้งหมดทั้งมวลล้วนมีค่าพลังงานที่สูงด้วยกันทั้งนั้น โดยที่กล้วยไข่นั้นให้พลังงานมากที่สุดในบรรดากล้วยทุกชนิด คือ 147 kcal จากปริมาณ 100 g ส่วนกล้วยน้ำว้าจะให้ค่าพลังงาน 140 kcal และกล้วยหอมให้พลังงานที่ 132 kcal แต่สิ่งที่น่าสนใจก็ตรงที่กล้วยทุกชนิดให้ค่าพลังงานใกล้เคียงกับทุเรียนชะนี โดยที่กล้วย 1 ขีด ให้ค่าพลังงาน 140 kcal ส่วนทุเรียนชะนีนั้นให้พลังงาน 139 kcal และใครที่อยากจะลดความอ้วนโดยวิธีกินกล้วยแทนข้าวแล้วล่ะก็ ขอบอกว่าคิดผิดแน่ๆค่ะ  

 

4.ขนุน (Jackfruit)

ขนุนให้พลังงาน 117 kcal นี่ยังไม่นับเมล็ดที่หลายคนชอบต้มแล้วนำมารับประทานกันด้วยนะคะ อันนั้นขอบอกเลยว่าแป้งอีกเพียบ โดยที่ขนุน 4 ยวง =  120 กิโลแคลอรี่ เนื้อขนุนมีสีเหลือง รสชาติหวาน ทานเล่นทานเพลินกันเลยทีเดียว อย่าได้เผลอทานเป็นกิโลเชียว น้ำหนักขึ้นนี่ไม่ต้องสงสัยเลยค่ะ

 

5.มะม่วงสุก (Mango)

พูดถึงมะม่วง ไม่ว่าจะคนไทยหรือต่างชาติก็ชอบที่จะเลือกรับประทานกัน โดยเฉพาะในประเทศไทยเรามีทุกฤดูกาลกันอยู่แล้ว และเมนูที่ไม่มีใครพลาดกันเลยนั่นก็คือ ข้าวเหนียวมะม่วง เมื่อหน้าร้อนมาถึง ร้านอาหาร ร้านขนมหวานต่างๆ ต้องออกเมนูมะม่วงมาประชันกัน เรียกได้ว่า เดินห้างไหนก็เหลืองระรานตาไปหมด ด้วยสาเหตุเพราะความหอมและหวานชื่นใจของมะม่วงนั่นเอง มะม่วงถือเป็นผลไม้ที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูง มะม่วงดิบจะมีคาร์โบไฮเดรตที่อยู่ในรูปของแป้ง เมื่อเริ่มสุกแป้งเหล่านี้จะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในกลุ่มของ กลูโคส ฟรักโทส และซูโคส ซึ่งดูดซึมเร็วจึงทำให้มีผลกับระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ลดน้ำหนัก จำเป็นต้องควบคุมปริมาณในการทานมะม่วงสุกให้เหมาะสม เพราะว่ามะม่วงสุก 100 กรัม มีค่าพลังงาน 93 kcal

 

6.ลำไย (Longan)

ลำไยให้พลังงาน 111 กิโลแคลอรี่ แถมกินมากๆ ตาแฉะ และร้อนในอีกต่างหาก ลำใยลูกกลมๆ รสหวานๆ ใครล่ะจะหยุดทานได้ หนึ่งพวงก็หลายลูกอยู่เหมือนกัน แต่อย่าลืมนะ ลำไย 8 ผล =  120 กิโลแคลอรี่ เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน

 

7.น้อยหน่า (Custard Apple)

น้อยหน่าไม่ว่าจะเป็นน้อยหน่าเนื้อหรือน้อยหน่าหนัง น้อยหน่าในปริมาณ 100 g จะให้พลังงานราว 98 กิโลแคลอรี่ และมีคาร์โบไฮเดรต 23.64 กรัม และจะไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรที่บริโภคน้อยหน่าแต่เล็กน้อยและนานๆ ครั้ง เนื่องจากน้อยหน่าเป็นผลไม้ที่มีรสหวานจัดการรับประทานปริมาณมากอาจทำให้อาการของโรคเบาหวานกำเริบขึ้นได้ค่ะ น้อยหน่า 1 ผล =  120 กิโลแคลอรี่

 

8.มังคุด (Purple mangosteen)

มังคุดได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งผลไม้ แถมยังมีประโยชน์ในเรื่องของสารออกฤทธิ์ต่างๆ แต่ก็มักมีอยู่ที่เปลือก และส่วนมากเราก็ชอบกินเนื้อของมังคุดกัน จะกินเปลือกของมังคุดก็ยังไงอยู่ใช่ไหมล่ะคะ เพราะฉะนนั้นเราก็จะได้รับพลังงานเยอะถึง 73 กิโลแคลอรี่ ต่อ 100 g ค่ะ

 

9.เงาะ (Rambutan)

เจ้าผลไม้ชนิดที่เราต้องชอบทานกันทั้งนั้น นั่นก็คือเจ้าเงาะ 1 กิโล ราคาก็ไม่ได้แพงมากหวานก็หวาน อร่อยก็อร่อย กินสองกิโลก็ยังได้ แต่เดี๋ยวก่อนค่ะ อยากจะบอกว่า เงาะ 8 ผล = 120 กิโลแคลอรี่ แน่ะ โหๆ คิดก่อนๆ ยังจะสองกิโลอยู่ไหม ?

 

10.ลองกอง (Lansium parasiticum)  

ลองกอง 1 ผล เมื่อปลอกเปลือกออกมาจะมีเนื้อใสๆเป็นกลีบอยู่ข้างใน รสชาติหวานๆ แต่ยังไงซะถ้าเราทานลองกอง 10 ผล = 60 กิโลแคลอรี่ นะคะ

 

11.ลางสาด(Langsat)

ลางสาด เป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่ชาวไทยนิยมรับประทานกัน ในลางสาดปริมาณ 100 กรัม จะมีค่าพลังงานทั้งหมด 67 กิโลแคลอรี่l โดยมีคาร์โบไฮเดรตอยู่ 15.6 กรัม ค่ะ

 

12.ละมุด (Sapodilla)

ละมุดเป็นอีกผลไม้ที่มีรสหวานบาดใจเหลือเกิน เชื่อว่าหลายคนคงไม่ทานกันแค่หนึ่งลูก สองลูกกันหรอกใช่ไหมล่ะคะ แต่ยังไงก็หักห้ามใจกันหน่อยนะคะ เพราว่าละมุด 3 ผล =  120 กิโลแคลอรี่ เชียวแหละค่ะ ไม่น้อยเลยทีเดียว

 

13.เนื้อมะพร้าว (coconut flesh)

ถ้าพูดถึงมะพร้าวนั้นถือได้ว่าเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ทั้งลูกเลยล่ะค่ะ เนื้อก็แสนจะหวานมันส่วนในน้ำมะพร้าวนั้นก็มีประโยชน์มากมายเลยทีเดียว แต่ถ้าว่าในเนื้อที่แสนหวานมันนั้น มีแคลลอรี่ไม่น้อยเลยล่ะค่ะ ค่าพลังงาของเนื้อมะพร้าว 200 กรัม = 150 กิโลแคลอรี่ เลยนะคะ

 

ในความคิดของคนที่กำลังลดความอ้วน คงคิดว่าการเลือกรับประทานผลไม้นั้นเป็นวิธีที่ดีและง่ายที่สุด ทานเท่าไหร่ก็ได้ แต่หารู้ไม่ว่าการที่เรารับประทานมะม่วงสุก 3 ลูก จะเทียบเท่ากับการให้พลังงานเทียบเท่ากับข้าวขาหมู 1 จาน หรือถ้าเปลี่ยนจากข้าวมาเป็นผลไม้อย่าง ฝรั่ง หรือมะม่วง ก็เท่ากับรับประทานแป้งเหมือนเดิม แต่มีน้ำตาลมากกว่านั่นเองค่ะ โดยปริมาณน้ำตาลที่นักโภชนาการแนะนำให้รับประทานต่อวันคือ ไม่ควรเกิน 4 ช้อนชาสำหรับเด็ก และ 6 ช้อนชาสำหรับผู้ใหญ่ และถ้าหากหากเราดื่มน้ำผัก-ผลไม้รวมพร้อมดื่ม 1 แก้ว หรือประมาณ 200 มิลลิลิตร เราจะได้น้ำตาลประมาณ 4 ช้อนชา ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูงเมื่อรวมกับอาหารทั้งวันที่เรารับประทานกันค่ะ ยังไงก็ถือว่าความรู้ในวันนี้จะช่วยให้คุณๆเลือกรับประทานผลไม้กันมากขึ้นนะคะ 😀

 

www.flickr.com/photos/lnhillesheim/3404526406/

Vitamin A คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

carotene-fruits-1“วิตามินเอ” (Vitamin A) เป็นวิตามินอีกตัวที่สำคัญและมีประโยชน์ไม่แพ้กับวิตามินชนิดอื่นๆ แต่ถึงจะมีประโยชน์มากมายเพียงใด การที่ได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอก็จะส่งผลต่อร่างกายของเราโดยเฉพาะดวงตา ผิวหนัง และระบบภูมิต้านทานโรค แล้วทำอย่างไรจึงจะไม่ขาดวิตามินเอจนร่างกายเจ็บป่วยล่ะและถ้าหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไปอีกล่ะ ดังนั้นเราจึงต้องมาทำความรู้จักกับประโยชน์และโทษของวิตามินชนิดนี้กันให้กระจ่างแจ้งกันค่ะ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ร่างกายของเราได้รับวิตามินชนิดนี้อย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุดและก็จะได้มั่นใจว่าจะไม่ก่อโทษต่อร่างกายตามมาในภายหลัง… วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา ร่างกายของเราสามารถสะสมวิตามินเอได้นานมากอาจนานได้ถึง 1 หรือ 2 ปี โดยเก็บไว้ในชั้นเซลล์ไขมัน  

วิตามินเอจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) หรือเรียกว่า Retinol ซึ่งได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา อาหารประเภทเนื้อ ไข่ ตับและเครื่องใน
  2. กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือเรียกว่า เบต้า แคโรทีน (Beta-Carotene) เป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกายจึงได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ พบมากในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม

 

เกี่ยวกับวิตามินเอ หรือ Retinol

  • วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน
  • วิตามินเอจะถูกดูดซึมไปใช้ในร่างกายได้ดีที่สุดเมื่อกินร่วมกับอาหารที่มีน้ำมันหรือไขมันเป็นส่วนประกอบ
  • เมื่อร่างกายใช้ไม่หมดก็จะเก็บสะสมไว้ที่ตับ
  • ถ้าได้รับวิตามินเอจากอาหารปกติ ไม่จำเป็นต้องกังวลว่าร่างกายจะได้รับอันตรายแต่อย่างใดเพราะมันไม่เข้มข้น
  • การไดรับวิตามินเอจากอาหารเสริมต่างๆ มักจะมีความเข้มข้นสูง ซึ่งหากได้รับเป็นระยะเวลานาน ก็ส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าประโยชน์
  • วิตามินเอมีหน้าที่ช่วยในการมองเห็น การเจริญเติบโตของกระดูก การแบ่งตัวของเซลล์ การกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค ซ่อมแซมผิวของตาและหลอดลมทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายยากขึ้น
  • วิตามินเอยังช่วยกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาวโดยเฉพาะ lymphocyte ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และระบบสืบพันธุ์
  • วิตามินเอ จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ Retinol และ Beta-carotene
  • วิตามินเอพบมากในอาหารประเภทเนื้อ ไข่ นม ตับและเครื่องใน ในรูปแบบของสารวิตามินที่ออกฤทธิ์ได้ทันที่ ที่เราเรียกว่า Retinal
  • ผักผลไม้ที่ให้วิตามินเอส่วนใหญ่จะมีสีเหลือง ส้ม แดง และเขียวเข้ม เช่น ผักปวยเล้ง  ผักโขม ข้าวโพด มันฝรั่ง ฟักทอง คะน้า เป็นต้น เพราะมีเบต้าแคโรทีนและแคโรนอยด์ที่อยู่ในรูปแบบสารตั้งต้น โดยร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอต่อไป
  • นมพร่องมันเนยจะมีวิตามินเอต่ำเพราะวิตามินเอละลายในไขมัน โดยในขณะที่วิตามินเอจากเนื้อสัตว์จะดูดซึมได้ดี
  • เนื่องด้วยวิตามินเอในผักผลไม้มีความไวต่อออกซิเจนมาก ดังนั้นวิธีการต้มที่ป้องกันการสูญเสียวิตามินได้ดีทีสุดคือ ควรปิดฝาภาชนะขณะต้มและใส่น้ำน้อยๆ
  • ร่ายกายคนเราต้องการวิตามินเอในแต่ละวันอยู่ที่วันละ 4,000-5,000 IU
  • การได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอจะส่งผลต่อร่างกายของเราโดยเฉพาะดวงตา ผิวหนัง และระบบภูมิต้านทานโรค
  • วิตามินเอ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตได้อย่างปกติ ไม่ชะงัก หรือหยุดการเจริญเติบโตก่อนวัย
  • วิตามินเอ ช่วยป้องกันอาการเบื่ออาหาร (แต่ถ้าได้รับมากเกินไปก็จะมีผลตรงกันข้าม)

 

 

ประโยชน์ของวิตามินเอ

คุณค่าของ “วิตามินเอ” เป็นที่รู้กันดีว่า คุณค่าทางโภชนาการของวิตามินเอนั้นที่เราต่างก็จะรู้จักกันในนามของวิตามินที่บำรุงสายตาที่สำคัญตัวหนึ่งนั้น โดยจะมีส่วนประกอบที่สำคัญของ “คอร์เนีย” ช่วยให้มีสายตาที่เป็นปรกติ เนื่องจากวิตามินเอจะช่วยในการบำรุงสายตา ช่วยให้ตาปรับสภาพในที่มืดได้ดี หรือช่วยป้องกันโรคตามัวตอนกลางคืนที่เราเรียกกันว่า Night Blindness ทำให้มองเห็นในที่มืดได้ดีขึ้น แต่นอกจากในเรื่องของการบำรุงสายตาแล้ววิตามินเอยังมีประโยชน์อีกมากมายที่เราอาจจะยังไม่ทราบกันค่ะ

 

วิตามินเอ ช่วยให้ไม่เป็นโรคตาฟาง คนที่เป็นโรคนี้จะมองเห็นในที่มืดได้ไม่ค่อยชัดทั้งๆที่มีแสงพอที่จะมองเห็นได้ ถ้าขาดวิตามินเอมากๆ ก็จะทำให้ไม่สามารถมองเห็นในที่มืดได้เลย ซึ่งมักเรียกคนที่มีอาการเหล่านี้ว่า “พวกตาบอดกลางคืน” โดย Retinol จะรวมตัวกับโปรตีนชื่อ ออพซิน (opsin) เป็นสารประกอบโรดอพซิน (rhodopsin) ซึ่งมีคุณสมบัติดูดแสงและปรับสายตาให้มองเห็น สารประกอบนี้จะสลายไปเมื่อถูกใช้แล้ว ดังนั้น การบริโภคอาหารที่ให้วิตามินเอที่เพียงพอในการสร้างโรดอพซินได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

 

วิตามินเอ ช่วยให้ตาสู้แสงในเวลากลางวัน คนที่ขาดวิตามินชนิดนี้ จะทำให้ตาไม่ค่อยสู้แสงในเวลากลางวัน ตาไวต่อแสงทำให้แสบตาง่าย และทำให้น้ำตาไหลได้ง่ายด้วย

 

วิตามินเอ ช่วยป้องกันเยื้อบุนัยน์ตาแห้ง คนที่ขาดวิตามินเอมากๆ เยื่อบุนัยน์ตาจะแห้งและมีโอกาสอักเสบได้ง่าย เปลือกตาบวม มีจุดขาวๆ ที่ตาเหมือนมีฟองน้ำเกาะที่เยื่อบุตา และมีเม็ดขึ้นบนผิวกระจกตา ซึ่งถ้าไม่รักษาและปล่อยให้ขาดวิตามินเอนานๆ อาจทำให้ตาบอดได้

 

วิตามินเอ ช่วยป้องกันผิวหนังแห้ง หยาบ และพุพอง คนที่ขาดวิตามินชนิดนี้ขั้นรุนแรงจะเป็นโรคหนังคางคก ซึ่งเป็นโรคที่ผิวหนังจะมีลักษณะเป็นตุ่มๆ สากๆ เกิดได้ทุกบริเวณของร่างกาย เช่น แขน ขา หลัง หน้าอกและหน้าท้อง เป็นต้น

 

วิตามินเอเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ช่วยไม่ให้เกิดสิวได้ง่าย เนื่องจากวิตามินชนิดนี้ เป็นวิตามินที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีผลช่วยให้ลดการเกิดสิวได้ง่าย บางคนที่รักษาสิวมาหลากหลายวิธีแต่สิวก็ยังคงไม่หายซักที อาจเป็นเพราะมีสาเหตุมาจากการขาดวิตามินชนิดนี้ก็เป็นได้

 

วิตามินเอช่วยให้เหงื่อไม่ออกง่าย เนื่องจากวิตามินเอ ทำให้รูปขุมขนที่ผิวหนังชั้นนอกมีการสะสมของเคราติน ทำให้เยื่อบุเป็นเกล็ดหนาและไม่ค่อยมีเหงื่อ

 

วิตามินเอ ช่วยป้องกันผิวแห้งแตกลายงา ถ้าหากไม่อยากให้ผิวแห้งแตกลายงาเหมือนดินที่ขาดน้ำ หรือแตกเป็นเกล็ดคล้ายคนขาดไขมัน ก็หมายความว่า คุณกำลังขาดวิตาเอ และไขมัน (เพราะวิตามินชนิดนี้ละลายในไขมัน)

 

วิตามินเอ ช่วยป้องกันเซลล์ชนิดเยื่อบุต่างๆ ของร่างกายไม่ให้เกิดการผิดปกติ ซึ่งถ้าเยื่อบุต่างๆ ของร่างกายผิดปกติ ก็จะทำให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเกิดผิดปกติไปด้วย เช่น มีการอักเสบของทางเดินหายใจ เพราะเยื่อบุบริเวณช่องจมูกเกิดผิดปกติ เป็นต้น

 

วิตามินเอเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย มีบทบาทสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยต่อสู้กับโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และปรสิต จึงทำให้ไม่ติดเชื้อง่าย ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยง่ายจนเกินไป

 

วิตามินเอกับผิวพรรณ ในแง่ของสุขภาพผิวและความสมดุลของฮอร์โมนนั้น วิตามินเอ มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยได้มีงานวิจัยยืนยันว่าผู้ที่เป็นสิวรุนแรงนั้นมีระดับวิตามินเอในเลือดต่ำ มีรายงานว่า หญิงที่มีภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลและเป็นสิว เมื่อได้รับได้รับอาหารเสริมวิตามินเอ สิวก็สามารถหายภายในไม่กี่สัปดาห์ รวมถึงรอยแผลสิวก็เริ่มลดลงหลังจากได้รับอาหารเสริมวิตามินเอ 2 สัปดาห์

 

 

อันตรายจากการขาดวิตามินเอ

โรคผิวหนัง เนื่องจากวิตามินเอมีส่วนสำคัญในการรักษาสภาพเยื่อบุผิวหนัง ขาดวิตามินเอทำให้ผิวพรรณขาดความชุ่มชื้น หยาบกร้าน แห้งแตก โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณข้อศอก ตาตุ่มและข้อต่อด่างๆ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคผิวหนัง เช่น สิวและโรคติดเชื้ออื่นๆ ได้

ตาฟาง หน้าที่ของวิตามินเอคือช่วยในการสร้างสารที่ใช้ในการมองเห็น หากขาดจะทำให้มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืนหรือในที่แสงสว่างน้อย และทำให้เยื่อบุตาแห้ง กระจกตาเป็นแผล ในกรณีที่ร่างกายขาดวิตามินเออย่างรุนแรงอาจทำให้ตาบอดได้

ความต้านทานโรคต่ำ วิตามินเอเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราทำงานตามปกติ การขาดวิตามินเอจึงทำให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ง่าย อีกทั้งยังทำให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูก ช่องปาก คอ และที่ต่อมน้ำลาย

อันตรายจากการได้รับวิตามินเอเกิน

แท้งลูกหรือพิการ หญิงมีครรภ์ที่ได้รับวิตามินเอมากเกินไปมีความเสี่ยงต่อภาวะทารกในครรภ์คลอดออกมาพิการหรือแท้งได้ เนื่องจากวิตามินเอมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้เด็กมีความผิดปกติที่ทางเดินปัสสาวะ กระดูกผิดรูป หรือมีติ่งปูดออกมาที่บริเวณหู

อ่อนเพลีย หากร่างกายได้รับวิตามินเอเกินครั้งละ 15,000 ไมโครกรัม จะมีผลทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและอาเจียนได้

เจ็บกระดูกและข้อต่อ เบื่ออาหาร เซื่องซึม นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ผมร่วง ปวดศีรษะ ท้องผูก ทั้งหมดนี้เป็นโทษในระยะยาวที่เกิดจากการรับประทานวิตามินเอมากเกินไป

ในสัตว์กระเพาะเดี่ยว เมื่อได้รับเกินความต้องการ 4-10 เท่า จะทำให้โครงกระดูกผิดปกติ

ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง เมื่อได้รับเกิน 30 เท่า จะเกิดอาการผิดปกติ

 

www.flickr.com/photos/jalb/117560810/