Browse Tag: ผิว

6 ประโยชน์สุดยอดจากแอปเปิ้ลแดง

red-apple-1
Source: Flickr (click image for link)

แอปเปิ้ล (Apple) ถือเป็นผลไม้ที่เรียกได้ว่าเป็นสุดยอดอาหารเพื่อสุขภาพแล้วก็ยังมีอยู่หลากหลายสีและหลากหลายสายพันธุ์ตามท้องตลาดให้เลือกจับจ่ายกันค่ะ และภายใต้สีต่างๆของแอปเปิ้ลนั้นก็มีคุณค่าทางโภชนาการและประโยชน์ที่มากมายแตกต่างกันไป นอกจากจะให้รสชาติที่อร่อยแล้วยังถือว่าเป็นผลไม้ที่หารับประทานได้ง่ายถ้าเทียบกับคุณค่าทางโภชนาการที่มากล้นก็ถือว่าเป็นผลไม้ที่อยากจะแนะนำให้เลือกซื้อมาติดตู้เย็นไว้กันเลยทีเดียวค่ะ เราก็คงจะเคยเห็นกันตามซูปเปอร์มาเก็ตทั่วไปกันใช่ไหมล่ะคะว่าผลไม้ที่มีชื่อว่าแอปเปิ้ลนั้นมีอยู่หลากหลายสี เช่น สีแดง สีชมพู สีเขียวและสีเหลือง ดังนั้นวันนี้ HealthGossip จึงขอหยิบเอาข้อมูลของแอปเปิ้ลสีแดงมานำเสนอเป็นอันดับแรกก่อนเลยละกันค่ะ แอปเปิ้ลสีแดงสด 1 ลูก มีรสชาติที่อร่อยและราคาถูกนี้ พลังงานต่อหนึ่งผลก็ให้พลังงานที่ไม่มากถ้าเปรียบเทียบกับผลไม้อื่นๆ และก็เต็มไปด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มากมายแล้วก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีค่ะ อย่างไรก็ตามเราไปดูกันเลยดีกว่าค่ะว่าเจ้าแอปเปิ้ลสีแดงนี้จะมีประโยชน์อย่างไรบ้างค่ะ

 

6 ประโยชน์สุดยอดที่คุณควรเลือกกินแอปเปิ้ลแดง

bite-apple-1
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก

ถือเป็นประโยชน์ข้อแรกเลยเมื่อนึกถึงแอปเปิ้ล ในส่วนของแอปเปิ้ลแดงนั้นคุณค่าทางโภชนาการของแอปเปิ้ลแดง ต่อแอปเปิ้ล 100 กรัม ข้อมูลของ USDA Nutrient database  ของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกาพบว่าแอปเปิลแดงมีคุณค่าทางโภ­­­ชนาการดังนี้  แอปเปิ้ลแดง 100 กรัม มีปริมาณของพลังงาน = 59 Kcal, มีน้ำ 85.33 กรัม, น้ำตาล 10.48 กรัม, ไฟเบอร์ 2.3 กรัม, โพแทสเซียม 104 กรัม นั่นเองค่ะ ด้วยปริมาณของพลังงานที่น้อยและมีไฟเบอร์ที่สูงและน้ำตาลในแอปเปิ้ลนั้นเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่ร่างกายดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ในเวลาไม่เกิน 10 นาที ดังนั้นความอยากอาหารจึงลดลงทั้งทำให้ไม่รู้สึกหงุดหงิดและอ่อนเพลียระหว่างรอเวลาอาหารมื้อใหญ่ค่ะ

 

2.ช่วยให้มีผิวที่สุขภาพดี นุ่ม ชุ่มชื้น

แอปเปิ้ลสีแดงเข้มที่เราเห็นกันอยู่นี้ เป็นแอปเปิ้ลสายพันธุ์ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดเลยล่ะ โดยสารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในผิวแอปเปิ้ลสีแดง ๆ มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระมากเทียบเท่ากับวิตามินซีถึง 1,500 มิลลิกรัม ! และยังช่วยป้องกันไม่ให้ผิวพรรณเกิดริ้วรอยแห่งวัยค่ะด้วยที่ว่า แอปเปิ้ลแดง นั้นมีจุดเด่นที่ดีต่อสุขภาพคือมีสารแอนตี้ออกซิแดนต์มากที่สุด และยังมีอิลาสตินและคอลลาเจนที่ดีต่อสุขภาพผิวด้วย

 

3.ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง

ด้วยความที่แอปเปิ้ลสีแดงสดนี้มีปริมาณของสารแอนโทไซยานิน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มฟลาโวนอยด์อยู่นั่นเองค่ะ ซึ่งเจ้าสารต้านอนุมูลอิสระตัวนี้จะไปทำหน้าที่ขัดขวางการเติ­­­บโตของเซลล์มะเร็งในร่างกาย ทำให้ความเสี่ยงของโรคมะเร็งลดลงค่ะ

 

4.ช่วยบำรุงหัวใจ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

อย่างที่ทราบกันดีว่าแอปเปิ้ลแดงนั้นมีคุณค่าโภชนาการมากมาย และมีสารสำคัญคือ เบต้าแคโรทีน วิตามินซี และเส้นใยไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ โดยเพคตินมีกรด 2 ชนิด คือ กรดมาลิคและกรดทาร์ทาริกช่วยในการย่อยอาหารจำพวกโปรตีนและไขมันค่ะ เราจะได้รับสารต่างๆนี้ได้เต็มที่ก็ต่อเมื่อเราเลือกรับประทานแอปเปิ้ลแดงทั้งลูกโดยไม่ปอกเปลือกค่ะ ก็เพราะถ้าหากเรารับประทานโดยการปอกเปลือกปริมาณของสารสำคัญต่างๆ ก็จะลดลงไปนั่นเองค่ะ

 

5.ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด

แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานและผู้ต้องการควบคุมน้ำตาลในเลือด ปกติเมื่อกินอาหารเข้าไปอาหารแต่ละชนิดจะย่อยสลายและดูดซึมผ่านผนังกระเพาะลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดจะเพิ่มช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของอาหารนั้น เช่น ถ้ากินน้ำผึ้งน้ำตาลในเลือดจะขึ้นฮวบฮาบทันที แต่สำหรับแอปเปิ้ลถึงจะมีน้ำตาลธรรมชาติในเนื้อแอปเปิ้ลมากแต่ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ เท่านั้น และยังพบว่าคนที่กินอาหารที่มีไฟเบอร์มาก ๆ มีโอกาสเกิดเบาหวานต่ำกว่าคนที่กินน้อยและสำหรับคนที่เป็นเบาหวานอยู่แล้วไฟเบอร์จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดด้วย แอปเปิ้ลมีไฟเบอร์ชนิดที่ละลายน้ำสูงมากนั่นเองค่ะ

 

6.ช่วยให้คลอเลสเตอรอลในเลือดลดลง

กินแอปเปิ้ลวันละ 2-3 ผลช่วยลดปริมาณคลอเลสเตอรอลในเส้นเลือด เนื้องจากแอปเปิ้ลมีสารสำคัญคือ เบต้าแคโรทีน วิตามินซี และเส้นใยไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ โดยที่เพคตินมีกรด 2 ชนิด คือ กรดมาลิคและกรดทาร์ทาริกช่วยในการย่อยอาหารจำพวกโปรตีนและไขมัน เมื่อกรดในทางเดินอาหารย่อยสลายไขมันแยกคลอเลสเตอรอลออกมาแล้ว เพคตินจะคอยดักจับคลอเลสเตอรอลเหล่านั้นนำไปทิ้งก่อนจะถูกดูดกลับเข้าสู่ร่างกายเป็นการขจัดคลอเรสเตอรอลออกไป แต่จะได้ผลมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยจะลดคลอเลสเตอรอลในผู้หญิงได้ดีกว่าผู้ชาย

 

 

www.flickr.com/photos/xcbiker/441025698/

www.flickr.com/photos/neogabox/3969921829/

สังกะสี คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

beauty-face-1
Source: Flickr (click image for link)

สังกะสี (Zinc) ถือเป็นแร่ธาตุหรือเกลือแร่ที่ร่างกายของเราต้องการ หรือบางคนจะนึกถึงในรูปแบบอาหารเสริมช่วยของเรื่องผิวพรรณ ในคนที่ใช้รักษาเรื่องของการเป็นสิวกันใช่ไหมล่ะคะ แต่ในส่วนของความสำคัญในเรื่องอื่นๆโดยเฉพาะการทำงานของร่างกายให้เป็นปกตินั้นก็ต่อเมื่อถ้าเราได้รับในสัดส่วนที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ถึงแม้ว่าสังกะสีจะเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อย แต่ก็ไม่สามารถขาดได้เลยค่ะ สังกะสี จัดเป็นแร่ธาตุในกลุ่ม (Trace Minerals) มีชื่ออีกอย่างหนึ่งที่เราทราบกันดีว่า ซิงค์ (Zinc) ร้อยละ 90 ของสังกะสีในร่างกายอยู่ที่กระดูกและกล้ามเนื้อ อีกร้อยละ 10 อยู่ที่ ตับอ่อน ตับ เลือด โดยร้อยละ 80 นั้นอยู่ในเม็ดเลือดแดงและร้อยละ 20 อยู่ในน้ำเหลือง สังกะสี มีลักษณะเหมือนกับแร่ธาตุและวิตามินอื่นๆ คือ เป็นสารอาหารทีไม่ให้พลังงาน แต่ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกำกับการทำงานของร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์กรดนิวคลิอิกและโปรตีนเอนไซม์ในร่างกายมากกว่า 100 ชนิด อาจจะพูดได้ว่าเอนไซม์ที่เป็นสารสำคัญในการเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกายเกือบทุกชนิดต้องการ สังกะสี เป็นส่วนประกอบจึงจะทำหน้าที่ได้ดี ดังนั้น สังกะสี จึงมีความสำคัญต่อการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกายเรา

ปัจจัยที่ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณ สังกะสี ไม่เพียงพอได้แก่

การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น อาหารที่มีปริมาณสังกะสีต่ำ, อาหารที่มีแร่ธาตุทองแดง (Copper) มากเกินไป, พวกไฟเบอร์, ไฟเตต (Phytates), แอลกอฮอล์ (Alcohol), ฟอสเฟต (Phosphate) เพราะสารเหล่านี้จะไปลดการดูดซึม สังกะสี ผ่านผนังลำไส้ของคนเราได้

อายุที่มากขึ้น ประสิทธิภาพการดูดซึมสังกะสีลดลง

หญิงในระยะตั้งครรภ์  ต้องการสังกะสีมากเป็นพิเศษ

การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ทำให้ขาดธาตุสังกะสีได้

ภาวะโรคต่างๆ ที่ต้องการแร่ธาตุสังกะสีเป็นพิเศษ เช่น การติดเชื้อเรื้อรัง (Chronic infections) พิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism) ผิวหนังอักเสบ (Psoriasis) ตับแข็ง (Cirrhosis)

โรคพันธุกรรม ที่ทำให้การดูดซึมสังกะสีไม่ดี พบในเด็กเล็กเรียกว่า Acrodermatitis Enteropathica (โรคผิวหนังอักเสบและผิดปกติทางจิตใจ)

 

เกี่ยวกับสังกะสี หรือ ซิงค์ (Zinc)

  • สังกะสี จัดเป็นแร่ธาตุในกลุ่มแร่ธาตุปริมาณน้อย (Trace Minerals) มีชื่ออีกอย่างว่า ซิงค์ (Zinc)
  • สังกะสี เป็นแร่ธาตุหรือเกลือแร่ที่ร่างกายของเราต้องการในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ
  • สังกะสี เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อยแต่ก็ไม่สามารถขาดได้
  • สังกะสี ร่างกายไม่สามารถสร้างหรือสังเคราะห์ขึ้นเองได้
  • สังกะสี เป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานแต่ทำหน้าที่เป็นตัวกำกับการทำงานของร่างกาย
  • สังกะสี มีความสำคัญต่อการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกาย
  • สังกะสี มีส่วนในการสร้างโครงสร้างของร่างกายและการสร้างเครือข่ายของเซลล์ เช่นเดียวกับการสร้างเอนไซม์ต่างๆมากกว่า 200 ชนิด
  • สังกะสี มีส่วนสำคัญในการสมานแผล
  • สังกะสี แหล่งของอาหารตามธรรมชาติได้มาจาก หอยนางรม เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อปู ตับวัว ตับหมูและปลายรำข้าว (Wheat germ)
  • สังกะสี หอยนางรม เป็นแหล่งสังกะสีที่ดี เพราะดูดซึมง่ายกว่าพวกพืชผัก
  • สังกะสี ถ้าขาดสารอาหารพวกนี้ไป ร่างกายก็จะผิดปกติไป
  • สังกะสี ส่วนใหญ่ที่รับประทานเข้าไปจะถูกขับถ่ายออกทางอุจจาระ
  • สังกะสี ที่บริโภคเข้าไปแล้วไม่ถูกดูดซึมจากน้ำย่อยของลำไส้เล็ก นอกจากนี้ร่างกายยังขับถ่ายสังกะสี ออกทางปัสสาวะโดยจับกับกรดอะมิโน
  • สังกะสี ในคนปกติจะขับถ่ายสังกะสีออกประมาณวันละ 300 – 600 ไมโครกรัม
  • สังกะสี อาหารจำพวกเนื้อเมื่อถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนจะมีส่วนช่วยให้ร่างกายดูดซึมสังกะสีได้ดีขึ้น
  • สังกะสี ในธัญพืชประเภท ข้าว ข้าวโพด มีสังกะสีอยู่ปริมาณน้อย ส่วนผักและผลไม้แทบไม่มีปริมาณสังกะสีอยู่เลย
  • สังกะสี การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ทำให้ขาดธาตุสังกะสี
  • สังกะสี  ช่วยเสริมสร่างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ช่วยต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บที่จะมาแผ้วพานร่างกายคนเรา

 

 

ประโยช์ของสังกะสี หรือ ซิงค์ (Zinc)

 

ช่วยกระตุ้นการทำงานของ T – Lymphocyte ซึ่ง T-Lymphocyte เป็นส่วนประกองที่อยู่ในเม็ดเลือดขาวสำหรับการต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย มีบทบาทต่อภูมิคุ้มกันในร่างกาย

 

ช่วยป้องกันไม่ให้ตาบอดในผู้สูงอายุ การสูญเสียการมองเห็นในผู้สูงอายุที่เรียกว่า macular degeneration นั้นพบว่าเกิดจากการขาดธาตุสังกะสี โดยสังกะสีจะไปช่วยให้เซลล์จับกับวิตามิน A ได้ดีขึ้นและเซลล์สามารถนำวิตามิน A ไปใช้ได้ดีขึ้น รวมถึงเซลล์บริเวณประสาท ซึ่งวิตามิน A เป็นวิตามินที่ช่วยบำรุงสายตา

 

ช่วยป้องกันและรักษาโรคหวัด พบว่าเมื่อเริ่มเป็นหวัดถ้ารีบรับประทานธาตุสังกะสี ทันที จะช่วยให้อาการหวัดรุนแรงน้อยลงและจำนวนวันที่ป่วยก็ลดลงด้วย

 

ช่วยในผู้ป่วยเบาหวาน โดยผู้ป่วยเบาหวานมักเป็นแผลและติดเชื้อง่าย สังกะสีจะช่วยให้แผลที่เป็นนั้นหายเร็วขึ้นและช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรคด้วย และยังไปช่วยควบคุมในการเผาผลาญน้ำตาลในร่างกายอีกทั้งยังควบคุมการทำงานของอินซูลินในร่างกายให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ทำให้การเปลี่ยนแปลงน้ำตาลในกระแสเลือดมาเป็นพลังงานได้มากยิ่งขึ้น

 

กระตุ้นให้แผลหายเร็วขึ้น คนที่มีบาดแผลต่างๆ หรือเป็นแผลในกระเพาะอาหาร การให้ธาตุสังกะสี โดยจะไปช่วยสร้างกรดนิวคลีอิค ซึ่งเป็นกรดที่ช่วยสร้างเซลล์ใหม่จึงช่วยให้แผลผ่าตัดหายเร็วขึ้น รวมถึงแผลที่อักเสบเรื้อรังมานานให้หายเร็วขึ้น จะทำให้แผลหายเร็วขึ้นกว่าคนที่ไม่ได้รับธาตุสังกะสี

 

ช่วยเพิ่มความรู้สึกทางเพศในผู้ชายและช่วยรักษาและป้องกันการเป็นหมัน มีส่วนสำคัญในการสร้างสเปิร์มและฮอร์โมนเพศชาย การให้ธาตุสังกะสีวันละ 50 มก. จะทำให้ปริมาณน้ำเชื้อเพิ่มมากขึ้นได้ จะเห็นได้ว่า ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่มี สังกะสีมาก การสร้างฮอร์โมนเพศชายก็ต้องการธาตุสังกะสีเช่นกัน  

 

ช่วยในการรักษาสิว คนที่มีปัญหาเรื่องสิว ฝ้า โดยเฉพาะเวลาที่เป็นสิวอักเสบก็จะยิ่งเป็นกังวล ไม่แปลกใจเลยทำไมหลายๆคนถึงต้องเข้าไปในร้านขายยาเพื่อจะซื้อยาที่มีส่วนผสมของธาตุสังกะสีหรือซิงค์มารับประทานกัน ด้วยคุณสมบัติของการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและภูมิคุ้มกันของธาตุสังกะสีรวมถึงการควบคุมการผลิตน้ำมันบริเวณต่อมน้ำมันใต้ผิวหนังให้เป็นปกติ จึงสามารถต่อต้านแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวได้

 

ช่วยป้องกันผมร่วงรวมถึงช่วยเล็บแข็งแรงขึ้น สังกะสีจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ของร่างกายของเส้นผม บางรายผมหลุดร่วงไปและเมื่อได้ทานสังกะสีก็จะช่วยให้เส้นผมใหม่งอกขึ้นได้เร็วขึ้น แต่ในรายหัวล้านตามอายุนั้นใช้ไม่ได้ผลเพราะไม่มีรากผม

 

ปริมาณของสังกะสีที่ร่างกายควรได้รับ

ถ้าร่างกายมีอาการขาดแร่ธาตุสังกะสีเป็นเวลานาน จะเป็นผลให้เกิดอาการต่างๆ มากมาย ดังนี้

  • การเจริญเติบโตในเด็กล่าช้า ตัวเล็ก แคระแกรน
  • ผิวหนังมีการอักเสบ โดยระยะแรกจะเป็นรอบปากและอวัยวะเพศ ต่อมาจะลามไปที่แขนและขา เริ่มแรกอาจเป็นแค่ผื่นแดงต่อมาจะมีลักษณะเป็นเม็ดพุพอง
  • มีอาการเบื่ออาหาร การรู้รสลดน้อยลง
  • มีอาการซึมเศร้า หงุดหงิด ขาดสมาธิ เหม่อลอย และมีอาการตาบอดแสงได้
  • ระบบต่อมไร้ท่อ คือ ทำให้อวัยวะเพศเด็กเล็ก ไม่โตขึ้นตามวัย
  • มีอาการผมร่วง แตกปลาย เล็บเปราะ ผิวแห้ง

ปริมาณสังกะสีที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน (Daily RDAs For Zinc)

อายุน้อยกว่า 1 ปี ปริมาณที่แนะนำ               3 – 5        มิลลิกรัม/วัน

อายุ 1 –10 ปี ปริมาณที่แนะนำ                       10          มิลลิกรัม/วัน

อายุ 11 ปีขึ้นไป ปริมาณที่แนะนำ                   15          มิลลิกรัม/วัน

สตรีในระยะตั้งครรภ์ ปริมาณที่แนะนำ          20 – 25     มิลลิกรัม/วัน

สตรีในระยะให้นมบุตร ปริมาณที่แนะนำ       25 – 30     มิลลิกรัม/วัน

 

www.flickr.com/photos/58842866@N08/5388146683/

  • 1
  • 2