Browse Tag: ร่างกาย

15 ชนิดของอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง

Source: Flickr (click image for link)

อาหารการกินทุกชนิดล้วนแต่มีส่วนประกอบของธาตุต่างๆ แซมๆหรือแอบซ่อนอยู่ ซึ่งอาหารบางอย่างบางชนิดหลายคนก็อาจจะไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีแร่ธาตุนี้อยู่ด้วยซ้ำไป ดังนั้นในบางครั้งเราอาจจะไม่ได้รับสารอาหารนั้นๆ เพียงพอเนื่องจากไม่ได้ทานเพราะความไม่ชอบส่วนตัวหรืออาจจะไม่คิดว่าจะมีแร่ธาตุตัวนี้อยู่ในอาหารนั้นๆ หรือบางคนพยายามจะเลี่ยงแร่ธาตุบางตัวเพราะคุณหมอสั่งมาว่าเนื่องจากโรคที่เป็นอยู่ไม่ควรได้รับแร่ธาตุตัวนี้เกินปริมาณที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน หรือจำกัดปริมาณการรับประทานนั่นเอง และบางทีเผลอไปรับประทานอาหารบางชนิดเข้าเพราะไม่ทราบว่ามีแร่ธาตุตัวที่ห้ามนั้นผสมอยู่ ไปหาคุณหมอทีต้องได้ซักประวัติการรับประทานอาหารกันยาวๆ เลยทีเดียว บ้านเราถือว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำเลยก็ว่าได้ อยากจะทานอะไรหาได้ไม่ยากและก็ง่ายที่จะถูกใจและถูกปากเวลารับประทาน หรือเรียกง่ายๆ ว่าทานง่ายนั่นแหละค่ะ แต่ด้วยความที่เป็นคนทานง่ายทานไม่เลือกก็ใช่ว่าจะดี บางทีมีโรคเยอะกว่าคนที่เลือกทานเสียอีกแต่ก็ไม่เสมอไปค่ะ หลายคนที่เลือกรับประทาน (เฉพาะอาหารที่ชอบ)มาตรวจร่างกายทีโรคนั่นโรคนี่มาเป็นแพคเก็จบวกของแถมมาอีก ทางที่ดีการที่เราได้รับรู้ว่าร่างกายเราเป็นอย่างไร อาหารชนิดไหนประเภทไหนที่ควรได้รับอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพของตัวเองนั่นแหละค่ะ หัวข้อที่เราจะนำมาแบ่งปันกันวันนี้ก็คือ อาหารชนิดไหนบ้างนะที่มีฟอสฟอรัสสูง ฟอสฟอรัสเป็นเกลือแร่หรือแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่ทำงานร่วมกับแคลเซียม มีหน้าที่เป็นโครงสร้างของกระดูกและฟันเป็นหลักๆ ค่ะ โดยหน้าที่อื่นๆ ของฟอสฟอรัสต่อร่างกายของคนเราก็จำพวกกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท กระตุ้นการหดตัวคลายตัวของกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย เป็นต้น โดยกลไกลการทำงานของฟอสฟอรัสเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ฟอสฟอรัสในอาหารนั้นจะถูกดูดซึมไปหมดในรูปแบบของ free phosphate และปริมาณการถูกดูดซึมจะมีความแตกต่างกันจากปริมาณของธาตุเหล็ก แมกนีเซียมรวมทั้งสารอื่นๆ ด้วย ซึ่งจะรวมตัวกันเป็นสารที่ไม่ละลายและถูกขับออกทางอุจจาระ และอีก 30 เปอร์เซ็นต์ของฟอสฟอรัสในอาหารที่ไม่ถูกดูดซึม ส่วนการควบคุมระดับของฟอสฟอรัสนั้นจะทำโดยการขับออกทางไตมากกว่าในรูปแบบของการดูดซึม    

อาการของการขาดฟอสฟอรัสและการมีมากเกินไป

ระดับฟอสฟอรัสต่ำในเลือด  จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง

ระดับฟอสฟอรัสสูงในเลือด  จะมีอาการคันตามผิวหนัง หลอดเลือดแดงแข็ง มีก้อนแคลเซียมเกาะตามเนื้อเยื่อ ภาวะต่อมพาราไทรอยด์โต กระดูกบางและเปราะ

 

15 ชนิดของอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง

 

1.นม

ปกติแล้วอาหารที่มีแคลเซียมสูงก็จะมีฟอสฟอรัสสูงไปด้วยและอาหารที่มีแคลเซียมสูงที่เราสามารถนึกภาพออกเป็นอันดับต้นๆ ก็คงจะเป็นนมใช่ไหมล่ะคะรวมถึงนมสดรสจืด รสหวาน นมพร่องมันเนย นมขาดมันเนย นมข้น นมผง นมปรุงแต่งกลิ่นรสต่างๆ แม้แต่นมเปรี้ยวก็จัดอยู่ในอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงจ้า

 

2.ไข่แดง

ในไข่แดงจัดว่าเป็นอาหารชนิดที่มีฟอสฟอรัสอยู่สูงถึง 580 มิลลิกรัมต่อไข่ 100 กรัมค่ะ ส่วนใหญ่แล้วอาหารที่มีโปรตีนสูง ฟอสฟอรัสก็จะสูงตามไปด้วยค่ะ

 

3.เมล็ดถั่วเหลืองแห้ง

ในส่วนของฟอสฟอรัสที่มีอยู่ในเมล็ดถั่วเหลืองแห้งซึ่งมีอยู่ถึง 583 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 100 กรัม ถือว่ามีฟอสฟอรัสสูงที่สุดในบรรดาอาหารประเภทเมล็ดถั่วแห้งต่าง ๆ

 

4.เครื่องในสัตว์

เครื่องในสัตว์จำพวก ตับ จัดเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงและมีสารอาหารอย่างฟอสฟอรัสอยู่จำนวนมากเช่นกันค่ะ

 

5.ผลิตภัณฑ์จากนม

นอกจากนมจะมีฟอสฟอรัสสูงแล้วผลิตภัณฑ์จากนมทุกชนิดก็เช่นกันค่ะ เช่น โยเกิร์ตชนิดข้นและชนิดดื่มได้ ไอศกรีม คัสตาร์ดครีม ชีส ช็อกโกแลต และเนยแข็งทุกชนิด เป็นต้น

 

6.สาหร่ายทะเลแห้ง

ในสาหร่ายทะเลแห้ง 100 กรัม มีฟอสฟอรัสถึง 1,000 มิลลิกรัม และถึงแม้ว่าสาหร่ายทะเลจะยังไม่ใช่อาหารหลักของคนไทย แต่ก็เป็นอาหารทานเล่นที่หลายๆ คนชอบกัน ยังไงใครที่มีปัญหาแร่ธาตุฟอสฟอรัสเกินก็ควรที่จะยับยั้งชั่งใจในการรับประทานด้วยนะคะ

 

7.พริกแดง

พริกเม็ดสีแดงๆ รสชาติเผ็ดร้อนเป็นเครื่องปรุงรสชั้นเลิศของสาวๆเมืองไทยนี้มีฟอสฟอรัสแฝงอยู่ถึง 380 มิลลิกรัม ต่อพริกแดง 100 กรัม

 

8.อาหารแปรรูปแช่แข็ง

ในส่วนของอาหารแปรรูปแช่แข็งส่วนใหญ่แล้วจะมีการเติมสารโพลีฟอสเฟตลงไปเพื่อรักษาคุณภาพของอาหารแปรรูปประเภทแช่แข็ง ซึ่งสารโพลีฟอสเฟตที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารจะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพไปเป็นสารฟอสเฟตหนึ่งหน่วย (single phosphate unit) ค่ะ

 

9.น้ำอัดลม

เครื่องดื่มชนิดคาร์บอเนตจำพวกน้ำอัดลมต่างๆ ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไปที่อยู่เกลื่อนกลาดเป็นเครื่องดื่มที่หลายคนชื่นชอบนั้น นอกจากให้ความรู้สึกสดชื่นคลายความกระหายแล้วก็ไม่ได้มีสารอาหารที่ดีทางโภชนาการต่อร่างกายแต่อย่างใด แถมยังเป็นเครื่องดื่มที่มีฟอสอรัสสูงขนาดที่สามารถไปขัดขวางการทำงานของแคลเซียมในร่างกายซะอีก

 

10.ถั่วเขียวดิบ

เมล็ดถั่วเขียวถือเป็นธัญพืชตระกูลถั่วอีกตัวที่มีฟอสฟอรัสสูงค่ะ ถ้าอยู่ในสภาวะที่ต้องควบคุมก็ควรจะพับเก็บถั่วเขียวไปได้เลยค่ะ แต่ในทางกลับกันถ้าใครขาดอยู่แล้วล่ะก็เป็นตัวอีกตัวเลือกค่ะที่อยากจะแนะนำ

 

11.เนื้อสัตว์แปรรูป

เนื้อสัตว์แปลรูปทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นแบบหมัก ดองเค็ม เปรี้ยว หวาน ตากแห้ง จะมีการเติมฟอสเฟตเพื่อให้มีลักษณะหยุ่นๆ หรือให้จับตัวกันเป็นต้นค่ะ

 

12.ช็อคโกแลต

ช็อคโกแลตถ้าทานให้ดีก็จะได้รับประโยชน์มากมายโดยเฉพาะดาร์กช็อคโกแลต และด้วยความที่มีประโยชน์มากมายก็จะมีแร่ธาตุต่างๆ มากมายตามมาอย่างเช่น แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม โพแทสเซียม โซเดียม และฟอสฟอรัสที่สูงถึง 287 มิลลิกรัม ต่อช็อคโกแลต 100 กรัม

 

13.เบเกอรี่

เบเกอรี่ไม่ว่าจะเป็นขนมปัง เค้ก ขนมอบ โดนัท ซาลาเปา หรือขนมที่มีส่วนผสมของยีสต์ล้สนแต่เป็นอาหารที่มีฟอสฟอรัสที่สูงค่ะ

 

14.เครื่องดื่มชา กาแฟ โกโก้

เครื่องดื่มที่เป็นของโปรดของใครหลายคนและเป็นต้องดื่มมันทุกวันจำพวก ชานมเย็น โกโก้ กาแฟเย็น ที่เป็นเครื่องดื่มใส่นมทั้งหลายแหล่ ล้วนแต่เป็นเครื่องดื่มที่ให้ฟอสฟอรัสสูงค่ะ ใครที่จำกัดปริมาณฟอสฟอรัสยังไงก็เบาๆลงหน่อยนะคะ

 

15.ธัญพืช

เมล็ดธัญพืชทุกชนิดอย่างเช่น อัลมอลด์ ข้าวโอ็ต ข้าวกล้อง งาดำ ลูกเดือย เมล็ดแตงโม ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวมอลต์ รวมถึงเครื่องดื่มจากธัญพืชทุกชนิดด้วยค่ะ

 

www.flickr.com/photos/katyushaitaly/6263113221/

15 ชนิดของอาหารที่มีแคลเซียมสูง

Source: Flickr (click image for link)

แคลเซียม เป็นสารอาหารจำพวกแร่ธาตุหรือเกลือแร่ที่เราอาจจะคิดว่าไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่ แต่ทราบหรือไม่คะว่าแคลเซียมเป็นสารอาหารหลักที่สำคัญและร่างกายไม่ควรที่จะขาดหรือมีน้อยเกินไป เนื่องจากถ้าเมื่อเราขาดหรือมีไม่เพียงพอแล้วจะส่งผลที่ไม่ดีต่อร่างกายในหลายๆ ด้าน ถึงแม้ว่าจะพบแร่ธาตุตัวนี้เป็นส่วนประกอบของร่างกายอยู่จำนวนมาก ก็เพราะว่าแคลเซียมนั้นทำหน้าที่สำคัญคือการสร้างกระดูกและฟัน ซึ่งกระดูกทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย รักษารูปร่างและลักษณะของร่างกายให้สวยงาม และยังเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อเป็นเกราะป้องกันอวัยวะภายในต่างๆ ของร่างกายไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือนนั่นเองค่ะ ความสำคัญและภาระอันยิ่งใหญ่ของแคลเซียมจึงเป็นสิ่งที่คอยเตือนคนรุ่นหลังๆ อยู่เสมอว่าไม่ควรที่จะขาดแคลเซียมเด็ดขาด โดยปกติแล้วร่างกายคนเราต้องการแคลเซียมประมาณวันละ 800 – 1,200 มิลลิกรัม เพราะอย่างนี้เราจึงนำเนื้อหาและความสำคัญมาบอกเพื่อนๆ กัน ว่ามีอาหารอะไรบ้างที่มีสารอาหารที่เรียกว่า แคลเซียม อยู่ เพื่อนๆ ก็คงจะทราบอยู่บ้างถ้าพูดถึงสารอาหารตัวนี้ก็คงจะนึกภาพถึงนมเป็นแน่แท้ แล้วอาหารอย่างอื่นล่ะ? หลายคนก็อาจจะยังไม่ทราบกันเท่าไหร่นัก ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ไปจนถึงผู้สูงอายุซึ่งไม่มีช่วงอายุไหนเลยที่ควรจะละเลยสารอาหารตัวนี้ ก่อนที่จะไปหาแคลเซียมแบบอาหารเสริมมาทานเราลองมาดูแคลเซียมทึ่มีอยู่ในอาหารกันก่อนดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

 

15 ชนิดของอาหารที่มีแคลเซียมสูง

 

1.นม

แน่นอนว่าถ้าต้องการหาอาหารที่เป็นแหล่งของสารอาหารที่เรียกว่า แคลเซียม มารับประทาน หลายๆ คนก็คงจะนึกถึงนมเป็นอันดับต้นๆ ทั้งนี้ยังรวมถึงผลิตภัณฑ์นมทุกชนิดอีกด้วยนะคนมและผลิตภัณฑ์นมทุกชนิดมีส่วนประกอบของโปรตีนสูงและมีสารอาหารแร่ธาตุเกลือแร่อยู่ด้วย ดังนั้นนมยังไงก็เป็นเครื่องดื่มที่มีแคลเซียมและเป็นประเภทของอาหารที่ควรเลือกรับประทานเพื่อเสริมแคลเซียมค่ะ โดยนมเป็นแหล่งของแคลเซียมที่มากถึง 300 มิลลิกรัม ต่อนม 1 กล่องปริมาณ 250 มิลลิลิตร

 

2.ปลาเล็กปลาน้อย

ปลาเล็กปลาน้อยที่กินและกลืนไปทั้งตัว เคี้ยวกรุบๆกรอบๆทั้งเนื้อทั้งก้างนี้แหละแหล่งของแคลเซียมชั้นดีเลยค่ะ ปลาเล็กปลาน้อยที่ 2 ช้อนโต๊ะนั้นมีปริมาณแคลเซียมถึง 226 มิลลิกรัม

 

3.กุ้งแห้ง

กุ้งแห้งสีส้มๆแดงๆ ที่เราพบเห็นในอาหารไทยที่เรานิยมใส่ในส้มตำไทย หรือจะเป็นผัดไทนี้ก็ถือว่าเป็นแหล่งของแหล่งของแคลเซียมตัวยง ใครที่ไม่ชอบรับประทานหรือเขี่ยออกนี่คิดใหม่เลยนะคะไม่อยากให้พลาดของดีกันจ้า ซึ่งในกุ้งแห้งตัวจิ้ดตัวจ้อยปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ให้แคลเซียมถึง 140 มิลลิกรัมเลยที่เดียวค่ะ

 

4.เต้าหู้อ่อน

เต้าหู้เรียกได้ว่าเป็นสุดยอดอาหารที่ขึ้นชื่อในเรื่องของอาหารเพื่อสุขภาพ เคล็ดลับในเรื่องของความสวยความงามของสาวน้อยสาวใหญ่นี่ถือเป็นเรื่องที่รู้จักกันดี จะต้องมีเต้าหู้อยู่ในลิสเป็นแน่แท้ นอกจากคุณค่าสารอาหารมากมายของเต้าหู้แล้วยังถือว่าเป็นแหล่งของแคลเซียมสูงไม่แพ้อาหารอื่นๆ เลยทีเดียวค่ะ โดยเต้าหู้อ่อน 5 ช้อนโต๊ะ มีแคลเซียม 150 มิลลิกรัม

 

5.นมถั่วเหลือง

ใครที่มีอาการแพ้นมวัวหรือไม่ชอบดื่มนมวัวแล้วกลัวจะขาดแคลเซียม งั้นลองมาดื่มนมถั่วเหลืองกันไหมคะ หรือถ้าใครที่ชอบดื่มนมถั่วเหลืองเป็นชีวิตจิตใจอยู่แล้วก็ดีค่ะ นอกจากประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการเต็มล้นแล้ว นมถั่วเหลืองก็มีการเติมแคลเซียมเข้าไปโดยคุณสมบัติโดยรวมแล้วไม่ได้ด้อยไปกว่านมวัวเลยล่ะค่ะ โดยที่นมถั่วเหลืองแบบเสริมแคลเซียมต่อ 1 กล่อง จะมีปริมาณแคลเซียมอยู่ 250-300 มิลลิกรัม

 

6.งาดำ

เมล็ดงาดำ จัดเป็นอาหารที่พบว่ามีแคลเซียมเช่นกันค่ะ ใครที่ชอบธัญพืชอย่างเมล็ดงาดำก็ไม่ควรที่จะพลาดนะคะ ซึ่งงาดำ 1 ช้อนโต๊ะ จะมีแคลเซียมอยู่ 132 มิลลิกรัม

 

7.ผักคะน้า

ใครจะคิดว่าในพืชผักจะสามารถเป็นแหล่งอาหารของแคลเซียมได้ ใครที่กำลังมองหาผักที่นอกจากจะให้วิตามินแล้วยังตามมาด้วยแร่ธาตุหลักอย่างแคลเซียมแล้วล่ะก็ มองมาที่ผักคะน้าได้เลยค่ะ โดยผัดผักคะน้า 1 ทัพพี ให้แคลเซียมสูงถึง 71 มิลลิกรัม

 

8.หอยนางรม

คอซีฟู้ดส์ไม่ควรพลาดหอยนางรมสดๆ ที่จิ้มด้วยน้ำจิ้มซีฟู้ดส์จัดว่าจิ๊ดสะใจ จัดว่าเป็นเมนูโปรดของใครหลายๆ คนเลยก็ว่าได้ หอยนางรมไม่เพียงแต่มีแร่ธาตุมากมายให้สรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพแล้วหนึ่งในแร่ธาตุที่หอยนางรมมีไม่แพ้ใครนั่นก็คือ แคลเซียม ซึ่งถ้าเรารับประทานหอยนางรม 6 ตัว ก็จะได้รับแคลเซียมถึง 300 มิลลิกรัมเลยล่ะค่า

 

9.กะปิ

กะปิอาหารรสเด็ดแต่กลิ่นอาจจะไม่เตะจมูกของใครนัก แต่ทรายหรือไม่ว่าเป็นแหล่งของแคลเซียมดีๆ นี่เอง ด้วยส่วนผสมของกะปิที่มาจากกุ้งตัวเล็กตัวน้อยนี่ไงทำให้กะปิไม่ได้เป็นแค่อาหารรสเด็ดแต่ยังให้แคลเซียมถึง 1,565 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม เลยทีเดียว

 

10.บร็อคโคลี่

บร็อคโคลี่จัดเป็นผักสีเขียมเข้มที่มีแคลเซียมสูง นอกจากเราจะนิยมรับประทานกันโดยทั่วไปอยู่แล้ว ถือว่าบร็อคโครี่ให้สารอาหารและคุณค่าทางโภชนาการที่ดีอยู่ไม่น้อยค่ะ ซึ่งบร็อคโคลี่ ⅔ ถ้วย ให้แคลเซียมถึง 88 มิลลิกรัมค่ะ

 

11.เมล็ดอัลมอนด์

เมล็ดอัลมอนด์จัดเป็นอาหารว่างทานเล่นเพื่อสุขภาพเลยก็ว่าได้ ที่เต็มไปด้วยประโยชน์มากล้นไหนจะเป็นวิตามินต่างๆ อีกทั้งยังมีไฟเบอร์อีกด้วย และที่สำคัญยังมีแคลเซียมอยู่ถึง 75 มิลลิกรัม ต่อปริมาณแอลมอลด์ 29 เมล็ด อร่อยแล้วยังให้ประโยชน์ครบถ้วน

 

12.ถั่วแระต้ม

ถั่วแระต้มที่หลายๆ คนชอบรับประทานเป็นอาหารว่าง รสชาติอร่อยเคี้ยวเพลินแถมให้แคลเซียมสูงอย่างนี้ใครล่ะจะพลาด โดยถั่วแระต้มจำนวน 100 กรัม ให้ปริมาณแคลเซียมถึง 194 มิลิกรัมเลยทีเดียว

 

13.กุ้งฝอย

กุ้งฝอยตัวเล็กๆ ใสๆ เมื่อนำมาทอดหรือปรุงสุกจะเกิดเป็นสีชมพูอ่อนๆ บางทีออกสีส้ม ซึ่งสามารถรับประทานได้ทั้งตัวโดยกุ้งฝอยจำนวน 100 กรัม มีแคลเซียมถึง 1,339 มิลลิกรัม

 

14.ถั่วขาว

ถั่วขาวถือเป็นโปรตีนจากพืชที่อุดมไปด้วยวิตามินต่างๆ มากมาย รวมถึงแคลเซียมอยู่จำนวนไม่น้อยคือประมาณ 112 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม

 

15.ชีส

ชีสที่เป็นอาหารชนิดโปรดของใครหลายคน นอกจากความอร่อยยืดหยุ่นชวนเพลินแล้วยังเป็นแหล่งของแคลเซียมชั้นดีอีกด้วย ซึ่งมีแคลเซียมมากถึง 721 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม เลยทีเดียวเชียว

 

 

อ้างอิง : ข้อมูลปริมาณของแคลเซียมจากตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

 

www.flickr.com/photos/paperwingedswallows/8921970990/

เมลาโทนิน (Melatonin) คืออะไร

sleeping-night-1
Source: Flickr (click image for link)

คนเราใช้เวลาในการนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อยที่สุด 8 ชั่วโมงต่อวัน ทำไมน่ะหรอ…ก็เพราะว่าเป็นวัฐจักรของธรรมชาติที่สร้างขึ้นมา ให้ร่างกายมนุษย์มีเวลาหยุดพักเพื่อให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานให้สมดุล บางคนคิดว่าเวลา 8 ชั่วโมงนั้นช่างยาวนานเหลือเกินเสียดายที่จะทิ้งไปกับการนอน จึงได้ทำสิ่งอื่นที่คิดว่าสำคัญกว่าการนอนจนทำให้เวลาในการนอนน้อยลง แต่เมื่อถึงเวลาที่ควรจะนอนเราก็จะจำเป็นจะต้องนอนค่ะ ความรู้สึกง่วง หงาว หาว นอนนั้นช่างโหดร้ายและทรมานเหลือเกิน ก็อาการเหล่านี้แหละค่ะที่กำลังจะบอกคุณว่าเรากำลังฝืนธรรมชาติอยู่ ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่จะต้องนอน เราก็จะมีอาการดังกล่าวมาคอยเตือนอยู่ตลอดเวลาว่า ได้เวลาที่ต้องนอนแล้วนะ นั่นก็เกิดจาก เมลาโทนิน หรือ “ฮอร์โมนแห่งรัตติกาล (The darkness hormone)” นั่นเองค่ะ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับเจ้าฮอร์โมนตัวนี้กันให้มากขึ้นนะคะ

 

เมลาโทนิน (Melatonin) คืออะไร

“เมลาโทนิน” (Melatonin) เป็นฮอร์โมนในระบบประสาทที่ร่างกายเราสร้างขึ้นได้เองตามธรรมชาติค่ะ เมลาโทนินนั้นได้ถูกค้นพบครั้งแรกโดยดอกเตอร์เลอร์เนอร์ (Aaron Bunsen Lerner) แพทย์ชาวอเมริกัน ในปีค.ศ.1958 เมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งได้ถูกสร้างโดย Pineal gland ที่สมอง การหลั่งของฮอร์โมนชนิดนี้จะถูกกระตุ้นโดยความมืดและถูกยับยั้งโดยแสง ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นหรอคะ ? ก็เนื่องจากการถูกค้นพบครั้งแรกโดยการสกัดสารจากต่อม ไพเนียล(Pineal gland) ของวัวมาทำให้บริสุทธิ์ได้เป็นสารใน กลุ่ม indole ซึ่งมีผลต่อเมลานิน (Melanin) บนผิวหนังของกบ ทำให้สีผิวจางลงและเนื่องจากสารที่สกัดจากต่อมไพเนียล มีสูตรโครงสร้างทางเคมีคล้ายซีโรโทนิน (Serotonin) จึงเรียก สารในกลุ่ม indole ซึ่งไปฟอกสีเมลานินนี้ว่า เมลาโทนิน ค่ะ

light-1
Source: Flickr (click image for link)

เกี่ยวกับเมลาโทนิน (Melatonin)

เมลาโทนินถูกสังเคราะห์ขึ้นจากกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) ที่มีอยู่ในกระแสเลือดของเรา โดยมีการสร้างขึ้นที่ลำไส้ใหญ่ จอตาและต่อมไพเนียล โดยมีความมืดเป็นตัวกระตุ้นและหยุดหลั่งเมื่อเจอแสงสว่าง ปริมาณของเมลาโทนินจะเพิ่มสูงขึ้นในตอนกลางคืนเริ่มตั้งแต่ประมาณ 22 นาฬิกา ปริมาณสูงสุดประมาณ 3 นาฬิกา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤดูกาลด้วย การที่เรามีความรู้สึกเฉื่อยชาลงและมีความรู้สึกตื่นตัวน้อยลงนั้น ก็เป็นผลของการหลั่งของเมลาโทนินนั้นเพิ่มขึ้นนั่นเองค่ะ อีกทั้งร่างกายของเราจะมีอุณหภูมิเริ่มมีการลดต่ำลงจึงทำให้เหมาะแก่การนอนหลับมากขึ้นค่ะ และในช่วงเวลาเช้ามืดของวันต่อมาระดับของเมลาโทนินก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งในระหว่างวัน เมลาโทนิน จะลดระดับลงต่ำมากจนกระทั่งนักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถตรวจวัดได้ เนื่องจากระดับของ เมลาโทนินนั้นขึ้นลงตามวงจรของความมืดและความสว่าง (light-dark cycle) จึงทำให้ทั้งมนุษย์หรือแม้กระทั่งพืชนั้นที่ก็มีฮอร์โมนนี้อยู่เช่นกัน ซึ่งมีความตื่นตัวในระหว่างวัน โดยที่ระดับของเมลาโทนินจะเพิ่มขึ้นสูงสุดที่เวลา 2.00 น.ในเด็กที่มีสุขภาพดีทั่วไป อีกทั้งจะเพิ่มขึ้นสูงที่สุดที่เวลา 3.00 น.ในผู้สูงอายุ นอกจากนี้แล้วปริมาณการผลิตเมลาโทนินในร่างกายนั้นลดลงเมื่อเราอายุมากขึ้นค่ะ ซึ่งจะเห็นได้ทำไมผู้สูงอายุต้องพบกับปัญหาในการนอนไม่หลับมากกว่าผู้ที่อายุยังน้อยค่ะ

 

ประโยชน์ของเมลาโทนิน
เชื่อกันว่าช่วยบรรเทาอาการเพลียหลังการโดยสารเครื่องบิน (Jet-Lag) และการทำงานเป็นกะซึ่งยังมีข้อโต้แย้งเรื่องคุณสมบัตินี้กันอยู่ เมลาโทนินถือว่าเป็นสารที่ช่วยปรับสภาพร่างกายในรอบวันเพราะคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับความสว่างและความมืด (circadian rhythm) เมลาโทนินเหนี่ยวนำให้เกิดการนอนหลับลึก ช่วยกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth hormone) ความผิดปกติเรื้อรังของการนอน อาจทำให้หยุดการเจริญเติบโตก่อนเวลาอันควร อีกทั้งประโยชน์ด้านอื่น ๆ ของเมลาโทนินยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ แต่ก็ไม่สามารถรักษาโรคได้ ที่สำคัญยังมีผลต่อการควบคุมกระบวนการทางชีวภาพและการเกิดอนุมูลอิสระ ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงการใช้เมลาโทนิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลด (หรือเพิ่มขึ้น) ของปริมาณของเมลาโทนินในเลือดทำให้เกิดปัญหาการนอนหลับหรือความผิดปกติของวงจรการหลับและการตื่นในรอบวันค่ะ

 

www.flickr.com/photos/zubrow/5404957877/

www.flickr.com/photos/bennyseidelman/5103679082/

สารอาหาร คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

eating-healthy-1
Source: Flickr (click image for link)

วันนี้ทาง HealthGossip อยากนำข้อมูลของ สารอาหาร มานำเสนอกันค่ะ เคยสงสัยหรือเปล่าคะว่าทำไมร่างกายของเราถึงต้องการสารอาหาร ก่อนที่จะได้สารอาหารก็ต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เข้าไปก่อน อาหารก็มีหลากหลายอย่างและเราจะรู้ได้ยังไงว่าอาหารแบบไหนถึงจะเรียกว่าอาหารที่มีประโยชน์ และอาหารแบบไหนที่เราเลือกรับประทานเข้าไปจะให้สารอาหารที่ดีต่อร่างกาย ตอนนี้เราจึงควรที่จะไปทำความเข้าใจความหมายของอาหารและสารอาหารกันก่อนเลยค่ะ 

อาหาร คือ สิ่งที่รับประทานเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่เป็นโทษต่อร่างกายและมีประโยชน์ โดยทำให้ร่างกายดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขและให้พลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งพลังงานเหล่านี้นำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย

สารอาหาร คือ องค์ประกอบของสารประกอบทางเคมีของธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหารที่เรากินเข้าไป สารอาหารมีโครงสร้างโมเลกุลเฉพาะตัวเรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อาหารแต่ละชนิดประกอบด้วยโมเลกุลของสารอาหารหลายๆ ตัว ร่างกายเรานั้นต้องการสารอาหารกว่า 40 ชนิดเลยค่ะ และก็เพื่อให้ง่ายยิ่งขึ้นจึงจัดสารอาหารออกเป็นพวกๆ ที่สำคัญมีอยู่ 6 จำพวก การจำแนกสารอาหารตามหลักโภชนาการจะพิจารณาจากปริมาณของสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารนั้นๆ มากที่สุดเป็นหลัก ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 5 หมู่ ได้แก่สารอาหาร คาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่หรือแร่ธาตุ สารอาหารแต่ละชนิดมีหน้าที่เด่นเฉพาะแตกต่างกัน และเมื่อรับประทานเข้าไปจะถูกเผาผลาญให้เกิดเป็นพลังงานและความร้อนเพื่อนำไปใช้ควบคุมการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น การเดิน การวิ่ง การยืน การนอน การหายใจ เป็นต้น ซึ่งหากแบ่งสารอาหารโดยใช้เกณฑ์การให้พลังงานของสารอาหารจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1.กลุ่มสารอาหารที่ให้พลังงาน

กลุ่มสารอาหารที่ห้พลังงาน คือ สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน อาหารทั้งหมดในกลุ่มนี้จัดเป็นสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อร่างกาย และร่างกายจะขาดไม่ได้ค่ะ

คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) คาร์โไฮเดรตเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานและความร้อน เช่นเดียวกับโปรตีนและไขมัน โดยคาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลลอรี่ (calorie) หน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของคาร์โบไฮเดรต คือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคไซด์ (glycosidic linkage) ทำให้โมเลกุลใหญ่ขึ้น เกิดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่หลากหลายชนิดกันค่ะ คาร์โบไฮเดรตบางชนิดเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคไซด์ ที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ จะเป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน เช่น เซลลูโลส (cellulose)

โปรตีน (protein) โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีในร่างกายมากเป็นสองรองจากน้ำ เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานและความร้อน เช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรตและไขมัน โดยโปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลลอรี่ (calorie) หน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของโปรตีน คือ กรดอะมิโน (amino acid) แบ่งเป็น กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย (essential amino acid) และกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย (non essential amino acid) โปรตีนมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างสารควบคุมการทำงานของร่างกาย เช่น ฮอร์โมนและเอนไซม์ สร้างภูมิคุ้มกันโรค รักษาดุลยภาพของสารต่างๆ ในร่างกาย

ไขมัน (fat) เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานและความร้อน ซึ่งให้พลังงานสูงกว่าคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน โดยไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 แคลลอรี่ (calorie) ไขมันเกิดจากการรวมตัวของกลีเซอรอล และโมเลกุลของกรดไขมัน (fatty acid) 3 โมเลกุล เป็นไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglyceride)

 

2.กลุ่มสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน

กลุ่มสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน คือ สารอาหารที่ร่างกายของเราต้องการในปริมาณน้อยแต่ก็ไม่สามารถขาดได้ ถ้าขาดจะทำให้ระบบร่างกายของเราผิดปกติ หรือเกิดโรคต่างๆได้ ได้แก่ เกลือแร่ และวิตามินต่างๆ

วิตามิน (Vitamin) แบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่

  • วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี เค
  • วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินซี และวิตามินบีรวม

เกลือแร่(Mineral) ร่างกายมีเกลือแร่ 4% ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  • แร่ธาตุหลัก (Macro minerals) คือแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณมาก เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายมีความต้องการในหนึ่งวันมากว่า 100 mg ขึ้นไป ได้แก่ แคลเซียม (Calcium), ฟอสฟอรัส (Phosphorous), โพแทสเซียม (Potassium), แมกเนเซียม (Magnesium), โซเดียม (Sodium), กำมะถัน (Sulphor) และคลอไรด์ (Chloride) ซึ่งในร่างกายของเราจะพบแร่ธาตุแคลเซียมมากที่สุด รองลงมาได้แก่ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม และโซเดียม
  • แร่ธาตุรอง (Trace minerals) คือแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายมีความต้องการในหนึ่งวันในปริมาณน้อยกว่า 100 mg ต่อวัน แต่ถึงแม้ร่างกายจะต้องการแร่ธาตุประเภทนี้ในปริมาณน้อยก็ใช่ว่าจะไม่มีความสำคัญ ซึ่งแร่ธาตุในกลุ่มนี้ได้แก่ เหล็ก (Iron), สังกะสี (Zinc), ซีลีเนียม (Selenium), แมงกานิส (Manganese), ทองแดง (Copper), ไอโอดีน (Iodine), โครเมียม (Chromium), โคบอลท์ (Cobalt), ฟลูออไรด์ (Fluoride), โมลิบดินัม (molybdenum) และ วานาเดียม (Vanadium)

 

 

www.flickr.com/photos/electrolux-design-lab/14921194033/

www.flickr.com/photos/arselectronica/14063329988/