Browse Tag: วิตามิน

16 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินเอสูง

Source: Flickr (click image for link)

วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา ร่างกายของเราสามารถสะสมวิตามินเอได้นานมากอาจนานได้ถึง 1 หรือ 2 ปี โดยเก็บไว้ในชั้นเซลล์ไขมัน ด้วยวิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันดังนั้นวิตามินเอจะถูกดูดซึมไปใช้ในร่างกายได้ดีที่สุดเมื่อกินร่วมกับอาหารที่มีน้ำมันหรือไขมันเป็นส่วนประกอบนั่นเองค่ะ และเมื่อร่างกายของเราใช้วิตามินเอไม่หมดก็จะถูกเก็บสะสมไว้ที่ตับ และวิตามินเอมีหน้าที่ช่วยในการมองเห็น การเจริญเติบโตของกระดูก การแบ่งตัวของเซลล์ การกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคซ่อมแซมผิวของตาและหลอดลมทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายยากขึ้น อีกทั้งวิตามินเอยังช่วยกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาวโดยเฉพาะ lymphocyte ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตได้อย่างปกติไม่ชะงักหรือหยุดการเจริญเติบโตก่อนวัย

วิตามินเอจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1.อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) หรือเรียกว่า Retinol ซึ่งได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา อาหารประเภทเนื้อ ไข่ ตับและเครื่องใน

2.กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือเรียกว่า เบต้า แคโรทีน (Beta-Carotene) เป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกายจึงได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ พบมากในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม

โดยร่ายกายคนเราต้องการวิตามินเอในแต่ละวันอยู่ที่วันละ 4,000-5,000 IU ซึ่งการได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอจะส่งผลต่อร่างกายของเราโดยเฉพาะดวงตา ผิวหนัง และระบบภูมิต้านทานโรค อีกทั้งยังช่วยป้องกันอาการเบื่ออาหาร (แต่ในทางกลับกันถ้าได้รับมากเกินไปก็จะมีผลตรงกันข้าม)

 

16 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินเอสูง

 

1.มันหวาน

มันหวานที่มีเนื้อข้างในออกสีเหลืองๆ ส้มๆ เวลาเอาไปนึ่ง ต้ม หรือเผา เมื่อนำมารับประทานจะมีรสชาติหวานมัน ของโปรดของใครหลายคนเลยล่ะค่ะ ซึ่งในมันหวานอุดมไปด้วยวิตามินเอที่ถือว่าอยู่สูงเป๋นอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ โดยมันหวานปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 19218 IU เลยล่ะค่ะ

 

2.ผักตำลึง

ผักที่หารับประทานง่ายๆ ตามบ้านเรือนอย่างผักตำลึงของเราก็ไม่แพ้ผักใดๆ ในโลกที่ให้วิตามินสูง ซึ่งผักตำลึงปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 18608 IU เลยล่ะค่ะ

 

3.แครอท

แครอทเป็นอีกหนึ่งชนิดของอาหารที่เป็นแหล่งวิตามินเอชั้นยอด ถ้านึกไม่ออกว่าจะเสริมวิตามินเอจากการรับประทานอาหารชนิดไหน เปิดตู้เย็นจัดแครอทมาทานกันได้เลยค่ะ ซึ่งแครอทปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 17033 IU

 

4.ตับวัว

วิตามินเอไม่ได้มีแค่ในผักหรือผลไม้เท่านั้นโดยมีอยู่ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์อย่าง ตับวัวอีกด้วย ซึ่งวิตามินเอที่อยู่ในตับวัวนั้นเป็นวิตามินเออยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) คือสามารถออกฤทธิ์ได้ทันที หรือเรียกว่า Retinol นั่นเองค่ะ ซึ่งตับวัวปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 13621 IU

 

5.ผักเคล (Kale)

ผักเคลเป็นผักคล้ายกับผักตระกูลเดียวกับผักคะน้าอีกทั้งรสชาติก็คล้ายคลึงกันอีกด้วย และกูถูกยกให้เป็นราชินีแห่งผักใบเขียวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและหนึ่งในสารอาหารที่มีอยู้สูงก็คือวิตามินเอค่ะ ผักเคลปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 13621 IU

 

6.ฟักทอง

ส่วนใหญ่หลายคนจะจำได้ว่าถ้าอยากบำรุงสายตาต้องกินฟักทองและนั่นก็ถูกค่ะ เนื่องจากฟักทองมีวิตามินเออยู่สูงนั่นเอ จะเห็นได้ว่าฟักทองปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 11155 IU

 

7.ผักกาดหวาน

ผักกาดหวานก็เป็นอีกผักใบเขียวที่มีวิตามินและเกลือแร่อยู่สูงค่ะซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีวิตามินอย่างวิตามินเอที่อยู่สูง ผักกาดหวานปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 8710 IU

 

8.เอพริคอตแห้ง

ผลเอพริคอตแห้งให้วิตามินที่สูงมากถ้าใครกำลังมองหาผลไม้แห้งทานเล่นแถมยังให้วิตามินเออีกก็อย่ามองข้ามผลไม้แห้งอย่างเอพริคอตแห้งนะคะ เอพริคอตแห้งปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 12669 IU

 

9.แคนตาลูป

ผลไม้ที่มีรสชาติหวานฉ่ำอย่างแคนตาลูปไม่ได้ให้แค่ความอร่อยสดชื่นอย่างเดียว กินแคนตาลูปไปปริมาณ 100 กรัม ก็จะได้วิตามินเอสูงถึง 3382 IU

 

10.พริกหวานสีแดง

พริกหวานที่เราเห็นกันบ่อยๆ จากการนำมาประกอบอาหารประเภทผัดโดยเฉพาะพริกหวานสีแดงที่มีวิตามินเออยู่ไม่ใช่น้อยเลยค่ะ โดยพริกหวานสีแดงปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 3131 IU

 

11.ปลาทูน่า

อาหารประเภทเนื้อสัตว์อีกหนึ่งชนิดอย่างปลาทูน่าก็มีวิตามินเอสูงซ่อนอยู่ค่ะ โดยปลาทูน่าปลาทูน่าปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 2520 IU

 

12.ผักปวยเล้ง

ผักใบสีเขียวเข้มอีกหนึ่งชนิดอย่างผักปวยเล้งที่มากประโยชน์ก็ให้วิตามินเอที่สูงปริ๊ดเช่นเดียวกันค่ะ ผักปวยเล้งปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินเออสูงถึง 2813 IU

 

13.มะม่วง

ที่บ้านเราดีหน่อยหารับประทานผักและผลไม้ง่ายเพราะเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อน ผลไม้ตามฤดูมีมากมาย โดยเฉพาะมะม่วงค่ะและมะม่วงปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเออยู่ 1082 IU

 

14.เนย

ในประเทศไทยโดยเฉำาพอาหารไทยไม่ค่อยนิยมใช้เนยมาเป็นส่วนประกอบ แต่จะมีซะมากคงเป็นขนมอบหรือเบเกอร์รี่ เนยก็ให้วิตามินเอได้ไม่น้อยเลยค่ะ ซึ่งเนยปริมาณเพียงแค่ 1 ช้อนโต๊ะ มีวิตามินเออยู่ถึง 1082 IU

 

15.บลอคโคลี่

พืชผักประเภทสีเขียวเข้มอย่างบลอคโคลี่ก็ถูกนับเป็นอาหารที่มีวิตามินเอสูงเช่นกัน ใครที่ชอบทานผักผลไม้อยู่แล้ว แค่เลือกรับประทานให้ถูนิดก็จะได้รับวิตามินเอที่เพียงพอแล้วค่ะ โดยบลอคโคลี่ดิบ ปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินเออยู่ 567 IU

 

16.ไข่

ไข่เป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีวิตามินเออยู่สูงด้วยเช่นกันค่ะ โดยไข่ปริมาณ 1 ลูกใหญ่ จะมีวิตามินเออยู่ถึง 302 IU

 

จะสังเกตุเห็นได้ว่าหน่วยปริมาณของวิตามินเอเป็น IU ซึ่งทำความเข้าใจได้ง่ายๆ ดังนี้

IU มาจาก International Unit และเรียกแบบย่อว่า I.U. เป็นหน่วยวัดมาตรฐานสากลซึ่งเป็นหน่วยที่ใช้อ้างอิงเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพสารออกฤทธิ์แต่ละชนิด เช่น เมื่อวิตามิน (vitamin) ออกฤทธิ์ในร่างกาย ซึ่งกำหนดโดย World Health Organization (WHO)

Vitamin A 1 I.U. = 0.3 microgram retinol.

                              = 0.6 microgram beta-carotene.

Vitamin C 1 I.U. = 50 microgram ascobic acid.

Vitamin D 1 I.U. = 0.025 micorgram cholecalciferol.

Vitamin E 1 I.U. = 0.666 milligram D-alpha-Tocopherol.

                              = 1 milligram DL-alpha-Tocopherol acetate.

 

 

www.flickr.com/photos/wwworks/28439880283/

เคราติน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

beautiful-lady-1
Source: Flickr (click image for link)

ความงามกับผู้หญิงเป็นของคู่กันเสมอ เพื่อให้ตัวเองดูดีและสุขภาพดีนั้นต้องมาจากภายในไปสู่ภายนอกจึงเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเพียงแต่ดูแลภายนอกอย่างเดียวบางทีก็ไม่เห็นผลได่เต็มที่ ทุกสิ่งทุกอย่างมักมีที่มาที่ไปเสมอ อย่างเช่นการที่เราอายุมากขึ้นผิวหนังก็จะไม่ยืดหยุ่นได้ดีเหมือนครั้งที่ยังอายุน้อย อีกทั้งจะให้ร่างกายสามารถสู้ทนเหมือนเมื่อก่อนก็คงจะยากถ้าหากเราไม่ดูแล เหมือนอย่างวันนี้ที่เราเห็นว่าการดูแลสุขภาพเส้นผมก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สาวๆ หลายคนกังวลใจเนื่องจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาซึ่งมีการตกแต่งเส้นผมด้วยสารเคมีต่างๆ ไหนจะพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่เราทำเกือบทุกวัน ทำให้เส้นผมเราโดนความร้อนจากการเป่า ไดร์ หนีบอีก ยังรวมไปถึงการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการบำรุงของเส้นผม ปัจจัยหลายอย่างมากมายที่สามารถทำให้เส้นผมของเราอ่อนแอ เพราะอย่างนี้จึงมีผลิตภัณฑ์มากมายด้วยเช่นกันที่พร้อมใจกันมาให้ทดลองกันนำมาดูแลได้ง่ายดายมากขึ้น อย่างเช่น Keratin หรือ เคราตินที่สาวๆ คงจะคุ้นหูกันดีว่าด้วยช่วยเราในเรื่องของเส้นผม ดังนั้นวันนี้ทาง HealthGossip จึงอยากให้มาทำความเข้าใจและรู้จักกับเคราตินกันให้มากขึ้น ว่ามันคืออะไร มีในส่วนไหนในร่างกายเราหรืออะไรยังไง ไปไขข้อข้องใจและหาคำตอบไปพร้อมๆกันเนอะ

เคราติน (Keratin) คืออะไร

dry-hair-1
Source: Flickr (click image for link)

“เคราติน” ที่เราเข้าใจและเคยได้ยินมาจากคำแนะนำของช่างทำผมร้านประจำ ว่าเป็นสารอาหารที่สำคัญในการล็อคความสวยงามของเส้นผม และให้ความเปล่งประกายของเส้นผมของเราใช่ไหมล่ะคะ จริงๆ แล้วเคราติน (Keratin) คือ เส้นใยผิวหนังชนิดหนึ่งที่อยู่ที่บริเวณหนังกำพร้าของคนเรา เป็นเซลล์ที่ผิวหนังสร้างขึ้นจากเซลเยื่อบุผิวหนังและอัดแน่นเป็นแผ่นบางใสในชั้นนอกสุดเรียกว่า หนังขี้ไคล เคราตินจะช่วยป้องกันการดูดซึมของสารต่างๆเข้าสู่ร่างกาย ลดอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลต และป้องกันการระเหยของน้ำจากผิวหนัง เคราตินที่มีโครงสร้างประกอบมาจากโปรตีนเส้นใย ทั้งยังเป็นส่วนประกอบหลักของชั้นผิวหนังอย่างที่กล่าวมาข้างต้น โดยทำหน้าที่เป็นตัวประสานเนื้อเยื่อของผิวหนังเข้าด้วยกัน โปรตีนชนิดนี้เป็นส่วนประกอบหลักของเส้นผมถึงร้อยละ 90 รองลงมาคือเส้นขนและเล็บมีเพียงร้อยละ 2 เท่านั้นที่ปะปนอยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อ ได้แก่ บริเวณผนังหลอดเลือด เนื้อเยื่อกระจกตาและเลนส์ตา คุณสมบัติของเคราตินคือสร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่นให้กับชั้นเซลล์ผิวหนังและเป็นแหล่ะความชุ่มชื้นของเส้นผม เส้นขนและเล็บ รวมถึงเป็นแหล่งอาหารที่ช่วยให้เซลล์ต่างๆ เจริญเติบโตได้ปกติด้วย

เกี่ยวกับเคราติน หรือ Keratin

  • ร่างกายคนเราสามารถผลิตเคราตินเองได้
  • เคราตินธรรมชาติในร่างกายเรา จะอยู่ในรูปของเซลล์หนังกำพร้าที่เรียกว่า เคราติโนไซต์
  • เคราติน เป็นเซลล์ต้นกำเนิดของผิวหนัง เส้นผม เล็บและส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • เคราติน มีกระบวนการสร้างเซลล์ใหม่ในลักษณะผลัดเซลล์เก่าแทนที่เซลล์ใหม่
  • เคราตินเป็นสารอาหารหลักของกระบวนการงอกใหม่ของเส้นผม เส้นขน เล็บรวมถึงเซลล์ผิวหนังและเป็นสิ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ไว้ใช้งานได้เอง
  • การทำสีผม ดัด ยืดผม รวมถึงการมัดผมเป็นเวลานานๆ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เคราตินธรรมชาติละลายหายไป โดยเส้นผมจะมีสัมผัสที่หยาบกระด้างชี้ฟู ไม่สามารถแต่งเป็นทรงได้
  • เมื่อร่างกายขาดเคราตินก็จะทำให้ ผมบางลง ผมร่วง เส้นผมชี้ฟูและผมขาดเส้น
  • หากบริเวณผิวหนังขาดเคราติน ก็จะแสดงอาการผิวแห้ง แตก ลอกเป็นขุยหรือถ้าเป็นบริเวณเล็บ เล็บก็จะเปราะหักง่ายฉีกเป็นชั้น
  • การเลือกรับประทานอาหารเพื่อให้กระตุ้นสร้างเคราตินนั้น ควรเลือกอาหารที่อยู่ในหมวดโปรตีนเป็นหลัก

 

เคราตินที่พบในอาหาร

นอกจากจะพบเคราตินในอาหารจำพวกหมวดของโปรตีนเป็นหลักแล้ว รองลงมาก็คืออาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซีและอาหารที่มีกรดอะมิโนจำเป็น เช่น กรดไขมัน โดยแหล่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในกระบวนการสร้างเคราติน ได้แก่ ปลาแซลมอน ไข่ไก่ ถั่วเช่น อัลมอนด์ พีแคน มะม่วงหิมพานต์ วอลนัท ถั่วแดง มะม่วง สัปปะรด กีวี ลูกพืช ชีส นมพร่องมันเนย โยเกิร์ต บลูเบอร์รี ราสเบอร์รี สตอเบอร์รี บร็อคโคลี ผักปวยเล้ง ผักโขม ผักคะน้า หอยนางรม เมล็ดฟักทอง และเนื้อไก่ เป็นต้น

 

 

www.flickr.com/photos/90157732@N03/26511446454/

www.flickr.com/photos/luxenography/11826052763/

15 อาหารว่างที่กินแล้วอิ่มและไม่ทำให้อ้วน

eating-foods-1
Source: Flickr (click image for link)

Snack หรือ อาหารว่าง ที่เราชอบรับประทานเล่นระหว่างมื้อหนัก หรือบางทีอาหารว่างบางชนิดก็อาจจะกลายเป็นมื้อหนักได้เช่นกัน ก็เนื่องจากพลังงานแคลอรี่ที่สูงพุ่งปรี๊ดกว่าอาหารมื้อหลักที่เราทานกันซะอีก โดยเฉพาะในสาวๆ อย่างเรา ชอบรับประทานอาหารหลายมื้อยิบย่อย นู่นก็อยากกิน นี่ก็น่าทานไปซะหมด กินจุกจิกเป็นว่าเล่นได้ทุกวัน บอกแค่ชิมกินไปกินมามันก็เพลินหันมาอีกทีเอ้าหมดและ ถึงแม้ว่าที่เรากินๆกันไปมันก็อร่อยถูกปาก อิ่มท้อง สบายตัว แต่ว่าหลังจากนั้นล่ะคะ น้ำหนักที่บอกว่ากำลังควบคุมอยู่กลับกลายเป็นว่าต้องมาปลอบใจตัวเองและบอกว่า พรุ่งนี้ค่อยลด? น้ำหนักที่ขึ้นมาราวกับจรวดนั้นก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่เราไม่ชอบ แต่ทว่าอาหารว่างบางชนิดมันยังไปกระทบกับสุขภาพด้านอื่นๆ ของเราด้วยเช่นกันค่ะ การหักห้ามใจไม่ให้ทานของว่างในดวงใจรสเลิศมันอาจจะยาก แต่ผลที่ตามมามันอาจจะยุ่งยากในการแก้ไขกว่าหรือบางทีอาจจะสายเกินแก้ก็เป็นได้ค่ะ วันนี้ทาง HealthGossip ก็ไม่ใจร้ายแล้วบอกว่า ห้าม กินซะทีเดียวนะคะ สุขภาพของเรา ต่อให้มีเงินเป็นหลายล้านแต่ถ้าไม่เลือกซื้ออาหารที่มีคุณค่าต่อสุขภาพเราทานแล้ว บางทีเราก็ไม่สามารถซื้อสุขภาพที่มันแย่ลงให้กลับมาดีดังเดิมได้ค่ะ วันนี้ขอนำเอาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารว่างที่รับประทานแล้วไม่ทำให้อ้วนที่ทั้งทานแล้วอิ่มแถมยังดีต่อสุขภาพมาเสนอกันค่ะ

 

15 อาหารว่างที่กินแล้วอิ่มและไม่ทำให้อ้วน

mix-peanuts-1
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1. ช็อคโกแลต

คงเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่สาวต้องมีติดตู้เย็นเพื่อรับประทานอย่างแน่นอน แต่ขอให้เลือกดูสักนิดนึงก่อนซื้อ ช็อกโกแลตที่ควรเลือกรับประทานควรมีปริมาณส่วนผสมของโกโก้เยอะที่สุดยิ่งเยอะยิ่งดี ควรมีที่ 70% ขึ้นไป หรือที่เราเรียกกันว่า ดาร์กช็อกโกแลต นั่นแหละค่ะ ช็อคโกแลตบาร์ขนาด 28 กรัม ให้พลังงานเพียงแค่ 150 กิโลแคลอรีเท่านั้น นอกจากจะช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้นแล้วสารต่อต้านอนุมูลอิสระยังมีมากมายเชียวล่ะค่ะ

 

2. โยเกิร์ตรสธรรมชาติ

โยเกิร์ตขอให้เลือกเป็นรสธรรมชาติ ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำเชื่อม ไซรัป หรือน้ำตาลนะคะ นอกจากโปรตีนจากโยเกิร์ตจะช่วยทำให้เราอิ่มท้องแล้ว จุลินทรีย์ชนิดโพรไบโอติกส์ยังช่วยในเรื่องของสุขภาพในส่วนของระบบขับถ่าย ช่วยแก้ปัญหาท้องอืด และยังเป็นอาหารว่างที่ให้พลังงานแคลลอรี่ที่ต่ำอีกด้วยค่ะ ยังไงโยเกิร์ตก็เป็นอีกตัวเลือกที่ควรหยิบมาใส่ตะกร้าและมาเก็บไว้ในตู้เย็นที่บ้านนะคะ ดูซีรี่ย์เพลินๆ ตักโยเกิร์ตเย็นๆ เข้าปากไป อะไรจะฟินปานนั้น

 

3. เมล็ดธัญพืชต่างๆ

เมล็ดธัญพืชต่างๆ จำพวกอัลมอนด์ เมล็ดมะม่วงหิมะพาน พิตาชิโอ เมล็ดแตงโม หรือเมล็ดทานตะวัน อย่างที่หลายๆคนทราบดีว่าเมล็ดธัญพืชนั้นมีสารอาหารที่ดีมากมาย ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และกรดไขมันที่ดีต่อร่างกาย อีกทั้งไฟเบอร์ยังช่วยทำให้อิ่มท้องได้นาน ไม่หิวบ่อยอีกด้วยค่ะ แต่อย่างไรทานเยอะไปก็ไม่ดีเนื่องจากจะทำให้อ้วนได้เหมือนกัน ทานแค่วันละ 1 กำมือกำลังพอดีค่ะ

 

4. สาหร่ายอบกรอบ

เป็นอีกหนึ่งของอาหารว่างที่หลายๆ คนคงชอบกัน รสชาติอร่อยและรับประทานได้เพลินๆ กันเลยทีเดียวสำหรับสาหร่ายอบกรอบ ย้ำว่าเป็นสาหร่ายที่ผ่านการอบไม่ใช่แบบทอดน้ำมันนะคะ ความจริงแล้วถ้าจะให้ดีควรเป็นสาหร่ายแบบสดจะให้คุณประโยชน์มากกว่า แต่สำหรับคนไทยอย่างเราคงจะนำเอามารับประทานเป็นของว่างลำบาก ในส่วนของสาหร่ายสดนั้นมีส่วนประกอบที่สำคัญอย่างเช่นวุ้นและเส้นใย ที่จะสามารถช่วยลดปริมาณการสะสมไขมันส่วนเกินของร่างกายเราได้เป็นอย่างดี เช่น ซุปสาหร่าย ซูชิห่อสาหร่าย และข้าวห่อสาหร่าย

 

5. กาแฟดำ

เครื่องดื่มคงเป็นอีกของว่างชนิดหนึ่งที่คนไทยต้องมีไว้ดื่มกันเพลินๆ ตัวเลือกที่ควรสั่งซื้อก็เช่น อเมริกาโน่ จะร้อนจะเย็นได้หมด เนื่องจากอเมริกาโน่เป็นกาแฟที่ไม่ใส่ส่วนผสมอื่น ๆ นอกจากกาแฟเพียวๆ ซึ่งตอนแรกอาจจะยากในการดื่มสักหน่อยในคนที่ชอบดื่มน้ำหวาน ขั้นแรกเราอาจจะผสมนมพร่องมันเนยลงไปแล้วอาจจะทำให้ดื่มได้ง่ายขึ้นค่ะ กาแฟดำให้ประโยชน์มากมายและเหมาะกับคนที่กำลังควบคุมน้ำหนักเป็นอย่างมากเลยค่ะ

 

6. ขนมปังโฮลวีท

ขนมปังโฮลวีทเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าขนมปังขาว เนื่องจากขนมปังโฮลวีทเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทเชิงซ้อนที่มีกากใยอาหาร ช่วยให้เราอิ่มท้องนานและค่อยๆ ย่อยช้าๆ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่อีกด้วย ช่วยในเรื่องควบคุมน้ำหนักแล้วยังช่วยเรื่องของสุขภาพอีกด้วย แบบนี้แล้วจะไม่เลือกใส่ตะกร้าได้ไง เอาไว้เป็นอีกตัวเลือกของอาหารว่างกันเลยจ้า แต่ยังไงก็อย่าลืมว่าทานแต่พอดีวันละแผ่นสองแผ่นก็พอนะจ๊ะ

 

7. แอปเปิ้ลเขียว

ของว่างที่ไว้ทานเล่น ใช่ว่าจะเป็นแค่พวกขนมขบเคี้ยวซะเมื่อไหร่ ผลไม้ถือเป็นตัวเลือกที่ดีค่ะ ให้ทั้งใยอาหารและวิตามินที่ดี อย่างแอปเปิ้ลเขียวหรือจะเป็นแอปเปิ้ลสีอื่น ๆก็ได้เหมือนกัน แต่ที่ให้เลือกแอปเปิ้ลเขียวเนื่องจากแอปเปิ้ลเขียวให้พลังงานน้อยและในแอปเปิ้ลเขียวนั้นมีเอ็นไซม์ที่สามารถช่วยในการลดน้ำหนักได้ค่ะ อีกทั้งยังมีเอ็นไซม์ที่จะเผาผลาญสารอาหารช่วยทำให้ระบบย่อยและระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น นอกจากเหมาะในคนที่กำลังควบคุมน้ำหนักยังช่วยบำรุงผิวให้ดีขึ้นจากวิตามินต่างๆ

 

8. น้ำชา

น้ำชา เป็นเครื่องดื่มที่อยากแนะนำให้ดื่มเป็นเครื่องดื่มยามว่าง ควรดื่มน้ำชาที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาลหรือครีมเทียม ควรเป็นชาแท้ๆ ไม่ว่าจะชาเขียวหรือชาจีนถ้าดื่มแบบร้อนๆ นอกจากได้รับสารแอนตี้ออกซิแดนท์อย่างเต็มที่แล้ว ยงช่วยทำให้เราไม่อ้วนอีกด้วย การดื่มน้ำชาสามารถทำให้ร่างกายของเรากระชุ่มกระชวน ร่างกายสดชื่น เพราะน้ำชามาส่วนประกอบของน้ำ สำหรับน้ำชาร้อน ๆ หรือน้ำชาอื่น ๆ สามารถช่วยให้ร่างกายอบอุ่นได้อย่างดีด้วยค่ะ

 

9. ป๊อบคอร์น

ใครจะรู้ว่าอาหารยามว่างอย่างป๊อปคอร์นก็จัดว่าเป็นเมนูที่ทานได้ เนื่องจากป๊อบคอร์นนั้นทำมาจากธัญพืชอย่างข้าวโพดซึ่งมีไฟเบอร์ค่อนข้างสูงพอตัว อีกทั้งยังจัดอยู่ในกลุ่มสแน็กแค­ลอรีต่ำอีกตด้วย โดยป๊อปคอร์นประมาณ 3 ถ้วยตวงพูน ๆ จะให้พลังงานประมาณ 150 กิโลแคลอรีเท่านั้น ควรเลือกป๊อปคอร์นที่ไม่ปรุงแต่งด้วยน้ำตาลหรือเครื่องปรุงแต่งด้วยอื่น ๆ ที่มีรสชาติหวานค่ะ

 

10. แตงโม

แตงโมเป็นผลไม้ที่สามารถกินเล่นได้โดยไม่ทำให้อ้วน รับประทานเป็นอาหารว่างแบบเย็นๆ ก็ไม่เลว สำหรับแตงโมนั้นนอกจากให้ความชุ่มช่ำและสดชื่นแล้ว ยังมีวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจำนวนมาก อีกทั้งเส้นใยอาหารยังทำให้เรากินแล้วอิ่มไวและช่วยในเรื่องของการขับถ่ายได้เป็นอย่างดีค่ะ หรือจะนำมาปั่นใส่น้ำแข็งเป็นเครื่องดื่มที่ให้ความสดชื่นไม่เบาค่ะ

 

11. ถั่วลิสง

ถั่วลิสง เป็นอาหารว่างที่ดีและมีประโยชน์อีกอย่างหนึ่งเลยทีเดียวค่ะ ช่วยลดความอยากอาหารได้อย่างดีเลยค่ะ ซึ่งก็เหมาะกับสาวๆ ที่ชอบกินจุกจิกระหว่างวันได้ไม่น้อย ถั่วลิสงมีโปรตีนที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้ถึง 90% และมีกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการถึง 8 ชนิด คุณสามารถทานถั่วได้ ไม่เกิน 1 กำมือ เพราะถั่ว 10 เม็ด ให้แคลอรี่ประมาณ 45 กิโลแคลอรี่ ยังไงก็ตามทานน้อยก็ดีตรงที่ไม่ทำให้แน่นท้อง และเกิดแก๊ซ

 

12. ปลาเส้นอบไมโครเวฟ

ปลาเส้นถือว่าเป็นเมนูอาหารว่างทานเล่นที่หลายๆ คนชอบ แต่ถ้าจะทำให้ดูเป็นอาหารทานเล่นที่ไม่น่าเบื่อก็ลองเอาไปอบในไมโครเวฟให้พอกรอบ กรุบกรับ อย่างนี้ได้เป็นอาหารว่างที่แสนเพลินเลยทีเดียว ในปลาเส้นมีโปรตีนและให้พลังงานน้อยเหมาะกับเป็นอาหารว่างระหว่างวันได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ

 

13. นมถั่วเหลือง

นมถั่วเหลืองนับว่าเป็นเครื่องดื่มที่ควรเลือกดื่มอีกหนึ่งตัวเลือกเลยค่ะ นอกจากจะมีสารอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ประกอบไปด้วยสารอาหารที่ครบทั้ง 5 หมู่ อย่าง โปรตีน, ไขมัน, คาร์โบโฮเดรต, เกลือแร่และวิตามินแล้ว โดยเฉพาะโปรตีนที่ได้จากถั่วเหลืองยังมีกรดอะมิโนมากมายที่เหมาะมากๆ กับคนที่กำลังควบคุมน้ำหนักและรักสุขภาพ อีกอย่างถ้าจะให้ดีขอเป็นนมถั่วเหลืองน้ำตาลน้อยนะคะ

 

14. ผัก ผลไม้อบกรอบ

ผัก ผลไม้ที่นำมาอบกรอบรับประทานแทนมันฝรั่งทอด อย่างเช่น แครอท บีทรูท ฟักทอง หรือผักโขม ผักปวยเล้งอบกรอบ เป็นของขบเคี้ยวที่ดีต่อสุขภาพและเหมาะมากๆกับคนที่กำลังควบคุมน้ำหนัก ๆ นำผัก ผลไม้เหล่านี้มาอบแล้วทานเป็นของว่างระหว่างวัน อย่างนี้ได้เคี้ยวเพลินกันทั้งวันเลยแหละ

 

15. เม็ดแมงลัก

เม็ดแมงลักเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อในด้านการลดน้ำหนัก คนที่กำลังควบคุมน้ำหนักจะทราบกันดี เราจึงเอาเม็ดแมงลักมาเป็นอีกหนึ่งเมนูที่เลือกทานในมื้อว่าง ในเม็ดแมงลักมีวิตามินเอที่สูงกับเส้นใยละลายน้ำ (Soluble fiber) ที่ดูเป็นวุ้นใส เมื่อแช่น้ำนั้นจะช่วยพองในท้องให้เราอิ่มได้นานแต่ไม่ทำให้อ้วนค่ะ จะผสมกับนมถั่วเหลืองแล้วดื่มก็อร่อยไม่เบานะคะ

 

 

www.flickr.com/photos/merlijnhoek/15118978670/

www.flickr.com/photos/jocelyndurston/11247008/

ไขมัน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

oil-1
Source: Flickr (click image for link)

ไขมัน (Fat) คือ สารประกอบหลายชนิดซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือ ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์แต่ไม่ละลายน้ำ คำว่าไขมัน (fat) ทางเคมีอาหาร นั้นหมายถึง ลิพิด (lipid) ประเภทไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ที่มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้องขณะที่ น้ำมัน (oil) เป็นไตรกลีเซอไรด์ที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง คำว่าไขมัน (fat) และน้ำมัน (oil) มักใช้แทนกันหรือใช้คู่กัน โดยทั่วไป “น้ำมัน” ใช้กับไขมันที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง “ไขมัน” หมายถึง ไขมันที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง “ลิพิด” หมายรวมไขมันทั้งที่เป็นของเหลวและของแข็งตลอดจนสสารที่เกี่ยวข้องอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ในบริบททางการแพทย์หรือชีวเคมี ดังนั้น กรดไขมัน (fatty acid) ที่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ในไขมัน (fat) จึงเป็นกรดไขมันที่มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าอุณหภูมิห้อง ได้แก่ กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) ขณะที่น้ำมัน (oil) มีองค์ประกอบหลักคือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) ซึ่งมีจุดหลอมเหลวต่ำค่ะ ส่วนไขมันในทางโภชนาการนั้นหมายถึงสารอาหาร (nutrient) ที่ให้พลังงาน และก็มีส่วนประกอบหลักคือไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) โดยไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี (Kcalorie) ในขณะที่โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี ค่ะ

ไขมัน (fat) ที่ใช้ในอาหาร ได้แก่ ไขมันจากสัตว์ รวมทั้งน้ำมันพืช (vegetable oil) ที่ผ่านกระบวนการ hydrogenation เพื่อทำให้มีสถานะเป็นของแข็ง ได้แก่ เนย (butter), เนยโกโก้ (cocoa butter) และเนยโกโก้เทียม (cocoa butter equivalent), ไขมันวัว (tallow), ไขมันหมู (lard), ไขมันจากไก่ (schmaltz), มาร์การีน (margarine) หรือ เนยขาว (shortening) เป็นต้น

 

เกี่ยวกับไขมัน (Fat)

อาหารที่เราบริโภคทุกวันนี้ มีสารอาหารที่เป็นประกอบที่สำคัญคือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรทและไขมัน ไขมัน (Lipids) เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานมากที่สุดคือประมาณ 9 แคลอรี่ต่อ 1 กรัม ไขมันมีในอาหารทั่วไปทั้งในพืชและเนื้อสัตว์จะมากน้อยตามชนิดของอาหารแตกต่างกันไป ไขมันยังมีส่วนสำคัญในด้านเนื้อสัมผัส, กลิ่นรส, ความชุ่มเนื้อและรสชาติของอาหารอีกด้วย และเนื่องจากร่างกายของเราย่อยไขมันได้ช้ากว่าสารอาหารชนิดอื่น เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมันจึงทำให้เรารู้สึกอิ่ม หลังจากที่ได้รับอาหารเข้าไปในประมาณที่เพียงพอแล้ว

ไขมัน (LIPIDS) แบ่งตามวิทยาศาสตร์เคมีได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)และฟอสโฟไลปิดส์ (Phospholipids) และอื่นๆ อีกที่ไม่ค่อยสำคัญมากแต่ที่เรามักจะได้ยินคุ้นหูจากแพทย์บ่อยๆ ก็คือคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งแพทย์จะบอกแก่คนไข้ว่า ตรวจไขมันในเลือดให้นั้นก็คือ การตรวจค่าของทั้งสองชนิดนั่นเอง

คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อใช้ในการสร้างฮอร์โมน วิตามินอี และกรดน้ำดีซึ่งช่วยย่อยอาหาร ถ้าร่างกายมีคอเลสเตอรอลสูงเกินกว่าปกติ (มากกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ก็จะก่อให้เกิดผลเสียจากการที่คอเลสเตอรอลไปพอกตามผนังหลอดเลือดแดงทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย เป็นต้น เราจะพบคอเลสเตอรอลเฉพาะในสัตว์ และพบมากในอาหารที่มาจากเครื่องในสัตว์รวมทั้งไข่แดง

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) คือ ไขมันและน้ำมันที่ได้จากพืชและสัตว์มีสารประกอบส่วนใหญ่เป็นไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้ไตรกลีเซอไรด์ยังเกิดขึ้นได้จากกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท เช่น น้ำตาล ดังนั้นถ้าหากรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรทในปริมาณที่มากเกินไปจะมีผลทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ค่าปกติของไตรกลีเซอไรด์ควรอยู่ระหว่าง 35-160 mg/dl

ฟอสโฟลิปิด (Phospholipid) เป็นไขมันที่มีคุณสมบัติละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน

เรามาทำความเข้าใจกับโครงสร้างอย่างง่ายๆ ของกรดไขมันกันก่อน คือกรดไขมันจะประกอบด้วยธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน ซึ่งโมเลกุลของธาตุทั้งสามนี้ จะเกาะกันเป็นลูกโซ่มากน้อยตามแต่ละชนิด ซึ่งมีประมาณ 40 ชนิด

ไขมันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1.กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated Fatty Acids) คือเป็นไขมันเต็มตัวแล้ว คือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจนจับกันเป็นลูกโซ่โดยสมบูรณ์ และไม่มีช่องว่างเหลือที่จะทำปฏิกิริยากับสารใดๆ ในร่างกายได้ ดังนั้น ไขมันชนิดนี้จะอยู่ในรูปของแข็งในอุณหภูมิปกติ ไขมันจำพวกนี้จะพบมากใน ไขมันสัตว์ เช่น เนื้อหมู วัว และไขมันจากกะทิ มะพร้าว เนย ไข่แดงและอื่นๆไขมันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

2.กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fatty Acids) คือไขมันที่ธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจนจับกันยังไม่สมบูรณ์ นั่นคือ ยังมีช่องว่างในลูกโซ่เหลืออยู่และพร้อมที่จะทำปฏิกิริยาและจับกับสารอื่นๆ ในร่างกายได้และพร้อมจะเปลี่ยนแปรสภาพเป็นสารอื่นๆ ได้ พบมากในน้ำมันปลาแซลมอน น้ำมันเมล็ดพันธุ์บอเรจ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส น้ำมันจมูกข้าวสาลีและอื่นๆ ซี่งกรดไขมันไม่อิ่มตัวแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ไขมันชนิดนี้แทบไม่มีบทบาทอะไรกับปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา เป็นต้น
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง กรดไขมันชนิดนี้สำคัญต่อร่างกายมาก ช่วยในการทำงานของอวัยวะสำคัญในร่างกาย มีลักษณะเหลวแม้ในอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่ได้จากพืชและสัตว์น้ำบางชนิด เช่น น้ำมันทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด

 

ประโยชน์ของไขมันที่มีต่อร่างกาย

 

ให้พลังงานแก่ร่างกาย ไขมันเป็นอาหารสำคัญที่มีความจำเป็นต่อร่างกายและเป็น 1 ในอาหาร 5 หมู่ที่มีประโยชน์ ทั้งไขมันในอาหารยังช่วยทำให้อาหารนุ่ม และยังช่วยให้ผู้บริโภครู้สึกอิ่มได้นาน เนื่องจากไขมันย่อยได้ช้ากว่าโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ไขมันให้พลังงานแก่ร่างกายได้มากกว่าสารอาหารชนิดอื่น ช่วยทำให้ร่างกายมีพลังงานที่จะทำงานและประกอบกิจวัตรประจำวัยได้ตามปกติ

 

ช่วยในการละลายและการดูดซึมวิตามิน ไขมันจะไปช่วยในการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน (Fat soluble Vitamins) เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย

 

ช่วยปกป้องและกันความร้อน รวมทั้งคอยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ โดยไขมันทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน(Thermal Insulator) ของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย ช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อน ทำให้ผิวชุ่มชื่นไม่แตกแห้ง

 

ไขมันช่วยเป็นเสมือนกันชนให้ร่างกาย ไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย ช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนของอวัยวะภายในได้ คือช่วยป้องกันการกระเทือนของอวัยวะภายในร่างกาย ที่เกิดจากแรงกระแทกหรือการเคลื่อนไหวอย่างแรงของร่างกาย ซึ่งคอยป้องกันการบาดเจ็บของอวัยวะภายในร่างกาย 

 

เป็นองค์ประกอบของเซลล์เมมเบรนทุกชนิด ไขมันเป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อประสาท นั่นก็คือเส้นประสาทของคนเราจะมีไขมันเป็นส่วนประกอบในอัตราที่สูง โดยเฉพาะจะหุ้มเส้นประสาทช่วยในการป้องกันเส้นประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อถูกสั่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

 

เป็นส่วนประกอบของเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกาย ไขมันเมื่อรวมตัวกับโปรตีนก็คือ ไลโปโปรตีน (Lipoproteins) จะเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะผนังเซลล์และไมโตคอนเดรีย ส่วนนี้มีประโยชน์สำหรับคนเรามาก เพราะร่างกายของเราประกอบเป็นตัวตนด้วยเซลล์หลายๆ ล้านเซลล์ และเซลล์ของร่างกายเราจะผลิตทุกวันเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ นั่นก็คือถ้าร่างกายเราขาดไขมันผนังเซลล์ของร่างกายเราก็จะอ่อนแอ เซลล์ที่ตายไปก็ไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ค่ะ

 

ให้กรดไขมันจำเป็นแก่ร่างกาย คือ กรดลิโนเลอิก ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดผิวหนังอักเสบ และมีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของทารก นอกจากนั้นกรดไขมันจำเป็นยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดด้วย โดยจะไปรวมกับคอเลสเตอรอลอิสระได้เป็นคอเลสเตอรอลเอสเทอร์ ทำให้ละลายในเลือดได้ง่าย

 

 

www.flickr.com/photos/chiotsrun/4255041466/