Browse Tag: วิตามิน

7 ประโยชน์สุดยอดจากแอปเปิ้ลเขียว

green-apple-1
Source: Flickr (click image for link)

วันนี้มาถึงคิวของผลไม้ที่เราเรียกว่า แอปเปิ้ล กันค่ะ แต่วันนี้จะเป็นแอปเปิ้ลสีเขียวค่ะ จากโพสที่แล้วเป็นเรื่องเกี่ยวกับประโยชน์ของแอปเปิ้ลสีแดง และด้วยประโยชน์ที่มีมากมายจากแอปเปิ้ลสีแดงอีกทั้งส่วนข้อมูลของแอปเปิ้ลเขียววันนี้ก็มีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการที่ดีไม่แตกต่างกันเลยค่ะ อย่างไรก็ดีขึ้นชื่อว่าแอปเปิ้ลแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสีไหนประโยชน์และคุณค่าก็ไม่ได้แพ้กันเลยทีเดียวค่ะ และหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์และก็เพื่อทำให้ทุกๆคนได้ทราบกันว่าแอปเปิ้ลแต่ละสีนั้นเป็นอย่างไร มีคุณค่าทางโภชนาการแตกต่างกันอย่างไรบ้างและมีอย่างไหนที่มีความโดดเด่นจากผลไม้อื่นๆหรือเปล่า ข้อมูลที่กีเหล่านี้รวมถึงสิ่งดีๆเราก็อยากเอามาแชร์และแบ่งปันเผื่อใครที่กำลังเลือกหนทางรักษาสุขภาพโดยการเลือกรับประทานอาหารหรืออยากให้ร่างกายได้รับแต่สิ่งดีๆ เราก็ขอให้ข้อมูลของเราสามารถช่วยคุณได้บ้างนะคะ ถ้าอย่างนั้นเราก็ไปพบและเข้าใจกับข้อมูลที่เกี่ยวกับประโยชน์ต่างๆ ของแอปเปิ้ลเขียวกันให้มากขึ้นกันเลยดีกว่าค่ะ

 

 

7 ประโยชน์สุดยอดที่คุณควรเลือกกินแอปเปิ้ลเขียว

green-apple-2
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก

ปฎิเสธไม่ได้เลยที่จะยกให้เป็นผลประโยชน์ข้อแรกของแอปเปิ้ลเขียวค่ะ จากข้อมูลของ USDA Nutrient database ของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา พบว่าแอปเปิ้ลเขียวมีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้ โดยคุณค่าทางอาหารต่อแอปเปิ้ลเขียว 100 กรัม มีปริมาณพลังงาน 58 กิโลแคลอรี่, น้ำ 85.46 กรัม, น้ำตาล 9.59 กรัม, ไฟเบอร์ 2.8 กรัม และโพแทสเซียม 120 กรัม ค่ะ จากแอปเปิ้ลเขียวที่ให้พลังงานน้อยแล้ว ในแอปเปิ้ลเขียวนั้นมีเอ็นไซม์ที่สามารถช่วยในการลดน้ำหนักได้ค่ะ อีกทั้งยังมีเอ็นไซม์ที่จะเผาผลาญสารอาหารช่วยทำให้ระบบย่อยและระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น นอกเหนือไปจากวิตามินและเกลือแร่ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว กรดผลไม้ที่มีอยู่ในแอปเปิ้ลสามารถช่วยควบคุมและยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนแห่งความอยากอาหาร ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลังจากคุณรับประทานแอปเปิ้ลไปซักผลสองผลคุณจะไม่มีความรู้สึกอยากรับประทานอาหารอื่นใดอีกเลย กรดผลไม้ของแอปเปิ้ลยังสามารถช่วยพยุงไม่ให้ระดับของโปรตีนในร่างกายลดต่ำลงและขณะเดียวกันก็ยังช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันถูกดึงมาเก็บสะสมไว้ในร่างกายเพิ่มขึ้นอีกค่ะ

 

2.ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลำใส้

เปลือกสีเขียว ๆ ของแอปเปิ้ลเขียวก็ยังอัดแน่นไปด้วยประโยชน์มากมายไม่ว่าจะเป็นใ­­­ยอาหารที่มีสูงที่ช่วยในระบบการขับถ่ายและทำให้ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเอ็นไซม์ที่จะเผาผลาญสารอาหารช่วยทำให้ระบบย่อยและระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น พร้อมกันนั้นก็อุดมไปด้วยเพกติกสารคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งซึ่งสามารถต่อต้านเชื้อแบคทีเรียร้ายในระบบทางเดินอาหารตัวการที่ทำให้คุณเกิดอาการท้องร่วงค่ะ

 

3.ช่วยเรื่องของผิวพรรณ

นอกจากเรื่องของสุขภาพร่างกายแล้ว เรื่องของความสวยความงามนั้นแอปเปิ้ลเขียวก็ไม่พลาดที่จะมีบทบาทสำคัญอยู่เหมือนกันค่ะ เนื่องจากแอปเปิ้ลเขียวมีวิตามินที่จำเป็นสำหรับผิวพรรณและด้วยที่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยในการบำรุงผิวพรรณ อย่างเช่น วิตามิน C ซึ่งก็ได้พบว่าในแอปเปิ้ลเขียวจะมีมากกว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ บางประเภทเสียอีกค่ะ และก็พบว่าถ้าเรารับประทานแอปเปิ้ลเขียวทั้งเปลือกนั้นสาร “โพลีฟีนอล” ที่มักจะอยู่ตามเปลือกหรือเนื้อที่อยู่ติดกับเปลือก จะไปช่วยป้องกันผิวพรรณไม่ให้โดนแดดเผาทำลาย ป้องกันยูวีเอและยูวีบีจากแสงแดด เวลาที่เรากัดแอปเปิ้ลทิ้งไว้แล้วสีของเนื้อแอปเปิ้ลเปลี่ยนไปนั่นแสดงว่ามีสาร “โพลีฟีนอล” นั่นเอง ดังนั้นจึงเข้าใจได้ว่าที่ไหนมีสารโพลีฟีนอล พอโดนอากาศก็จะเกิดสนิมเป็นสีน้ำตาลขึ้นมาทันที ไม่ว่าจะเป็นผักหรือผลไม้ค่ะ

 

4.ช่วยลดคอเลสเตอรอล

แอปเปิ้ลมีสารเพคตินซึ่งเป็นไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ เมื่อกรดในทางเดินอาหารย่อยสลายไขมันแยกคอเลสเตอรอลออกมาแล้ว เพคตินจากแอปเปิ้ลจะไปคอยดักจับคอเลสเตอรอลเหล่านั้นและนำไปทิ้งก่อนที่จะถูกดูดกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้งค่ะ ง่ายๆก็คือช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันถูกดึงมาเก็บสะสมไว้ในร่างกายเพิ่มเติมอีกนั่นเองค่ะและยังพบว่าแอปเปิ้ลลดคอเลสเตอรอลในผู้หญิงได้ดีกว่าผู้ชายด้วยค่ะ

 

5.ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลในเลือด เมื่อรับประทานอาหารเข้าไป อาหารแต่ละชนิดก็จะถูกย่อยสลายและดูดซึมผ่านผนังกระเพาะลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดจะเพิ่มช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของอาหารนั้นๆ คนที่รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์มากๆ จะมีโอกาสเกิดเบาหวานต่ำกว่าคนที่รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์น้อย และสำหรับคนที่เป็นเบาหวานอยู่แล้ว ไฟเบอร์จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยและแอปเปิ้ลมีไฟเบอร์ชนิดที่ละลายน้ำสูงมาก จึงเหมาะสำหรับคนที่เป็นเบาหวานค่ะ

 

6.ช่วยลดการสูญเสียกล้ามเนื้อจากการป่วย

ในคนที่ชอบออกกำลังกายเป็นประจำอยู่เสมอนั้นมักจะมีกล้ามเนื้อที่เฟิร์มและแข็งแรง แต่ถ้าเกิดวันหนึ่งคุณได้เกิดล้มป่วยขึ้นมานั้น อาจจะทำให้คุณต้องหยุดพักร่างกายจนออกกำลังกายไม่ได้เป็นช่วงเวลาหนึ่ง แน่นอนว่าในขณะที่คุณหยุดพักกล้ามเนื้อส่วนที่ได้เพิ่มเติมขึ้นมาจากการออกกำลังกาย อาจจะมีน้อยลงหรือหายไปบ้าง ซึ่งในจุดนี้เองที่ผู้ชายส่วนใหญ่มักจะกังวล เพราะการที่กล้ามเนื้อหายไปก็มักจะทำให้รูปร่างที่เคยดูดีนั้นเปลี่ยนไปด้วย แต่สิ่งเหล่านี้สามารถป้องกันได้ โดยการบริโภคแอปเปิ้ลสีเขียวเป็นประจำเพราะในแอปเปิ้ลสีเขียวนั้นประกอบไปด้วยกรดบางชนิดที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ในการเพิ่มพลังและสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อของเราโดยตรงนั่นเองค่ะ

 

7.ช่วยบรรเทาโรคภัยไข้เจ็บ

ด้วยที่ว่าในแอปเปิ้ลนั้นมีวิตามินซีและเบต้าแคโรทีนอยู่มาก จึงสามารถช่วยบรรเทาหรือป้องกันโรคหวัดและโรคเลือดออกตามไรฟันได้ และแอปเปิ้ลยังช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้นจึงช่วยได้ทั้งอาการท้องผูกและท้องเสีย ใครที่มีอาการท้องผูกแอปเปิ้ลจึงเป็นผลไม้ในตัวเลือกหนึ่งเลยก็ว่าได้ค่ะ อีกทั้งยังทำให้ความดันโลหิตค่อยๆ ลดลง เหมาะสำหรับผู้ที่ความดันโลหิตสูงอีกด้วยค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/36328518@N07/3384100342/

www.flickr.com/photos/63723146@N08/8482731764/

สารอาหาร คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

eating-healthy-1
Source: Flickr (click image for link)

วันนี้ทาง HealthGossip อยากนำข้อมูลของ สารอาหาร มานำเสนอกันค่ะ เคยสงสัยหรือเปล่าคะว่าทำไมร่างกายของเราถึงต้องการสารอาหาร ก่อนที่จะได้สารอาหารก็ต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เข้าไปก่อน อาหารก็มีหลากหลายอย่างและเราจะรู้ได้ยังไงว่าอาหารแบบไหนถึงจะเรียกว่าอาหารที่มีประโยชน์ และอาหารแบบไหนที่เราเลือกรับประทานเข้าไปจะให้สารอาหารที่ดีต่อร่างกาย ตอนนี้เราจึงควรที่จะไปทำความเข้าใจความหมายของอาหารและสารอาหารกันก่อนเลยค่ะ 

อาหาร คือ สิ่งที่รับประทานเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่เป็นโทษต่อร่างกายและมีประโยชน์ โดยทำให้ร่างกายดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขและให้พลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งพลังงานเหล่านี้นำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย

สารอาหาร คือ องค์ประกอบของสารประกอบทางเคมีของธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหารที่เรากินเข้าไป สารอาหารมีโครงสร้างโมเลกุลเฉพาะตัวเรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อาหารแต่ละชนิดประกอบด้วยโมเลกุลของสารอาหารหลายๆ ตัว ร่างกายเรานั้นต้องการสารอาหารกว่า 40 ชนิดเลยค่ะ และก็เพื่อให้ง่ายยิ่งขึ้นจึงจัดสารอาหารออกเป็นพวกๆ ที่สำคัญมีอยู่ 6 จำพวก การจำแนกสารอาหารตามหลักโภชนาการจะพิจารณาจากปริมาณของสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารนั้นๆ มากที่สุดเป็นหลัก ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 5 หมู่ ได้แก่สารอาหาร คาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่หรือแร่ธาตุ สารอาหารแต่ละชนิดมีหน้าที่เด่นเฉพาะแตกต่างกัน และเมื่อรับประทานเข้าไปจะถูกเผาผลาญให้เกิดเป็นพลังงานและความร้อนเพื่อนำไปใช้ควบคุมการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น การเดิน การวิ่ง การยืน การนอน การหายใจ เป็นต้น ซึ่งหากแบ่งสารอาหารโดยใช้เกณฑ์การให้พลังงานของสารอาหารจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1.กลุ่มสารอาหารที่ให้พลังงาน

กลุ่มสารอาหารที่ห้พลังงาน คือ สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน อาหารทั้งหมดในกลุ่มนี้จัดเป็นสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อร่างกาย และร่างกายจะขาดไม่ได้ค่ะ

คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) คาร์โไฮเดรตเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานและความร้อน เช่นเดียวกับโปรตีนและไขมัน โดยคาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลลอรี่ (calorie) หน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของคาร์โบไฮเดรต คือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคไซด์ (glycosidic linkage) ทำให้โมเลกุลใหญ่ขึ้น เกิดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่หลากหลายชนิดกันค่ะ คาร์โบไฮเดรตบางชนิดเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคไซด์ ที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ จะเป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน เช่น เซลลูโลส (cellulose)

โปรตีน (protein) โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีในร่างกายมากเป็นสองรองจากน้ำ เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานและความร้อน เช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรตและไขมัน โดยโปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลลอรี่ (calorie) หน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของโปรตีน คือ กรดอะมิโน (amino acid) แบ่งเป็น กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย (essential amino acid) และกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย (non essential amino acid) โปรตีนมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างสารควบคุมการทำงานของร่างกาย เช่น ฮอร์โมนและเอนไซม์ สร้างภูมิคุ้มกันโรค รักษาดุลยภาพของสารต่างๆ ในร่างกาย

ไขมัน (fat) เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานและความร้อน ซึ่งให้พลังงานสูงกว่าคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน โดยไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 แคลลอรี่ (calorie) ไขมันเกิดจากการรวมตัวของกลีเซอรอล และโมเลกุลของกรดไขมัน (fatty acid) 3 โมเลกุล เป็นไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglyceride)

 

2.กลุ่มสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน

กลุ่มสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน คือ สารอาหารที่ร่างกายของเราต้องการในปริมาณน้อยแต่ก็ไม่สามารถขาดได้ ถ้าขาดจะทำให้ระบบร่างกายของเราผิดปกติ หรือเกิดโรคต่างๆได้ ได้แก่ เกลือแร่ และวิตามินต่างๆ

วิตามิน (Vitamin) แบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่

  • วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี เค
  • วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินซี และวิตามินบีรวม

เกลือแร่(Mineral) ร่างกายมีเกลือแร่ 4% ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  • แร่ธาตุหลัก (Macro minerals) คือแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณมาก เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายมีความต้องการในหนึ่งวันมากว่า 100 mg ขึ้นไป ได้แก่ แคลเซียม (Calcium), ฟอสฟอรัส (Phosphorous), โพแทสเซียม (Potassium), แมกเนเซียม (Magnesium), โซเดียม (Sodium), กำมะถัน (Sulphor) และคลอไรด์ (Chloride) ซึ่งในร่างกายของเราจะพบแร่ธาตุแคลเซียมมากที่สุด รองลงมาได้แก่ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม และโซเดียม
  • แร่ธาตุรอง (Trace minerals) คือแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายมีความต้องการในหนึ่งวันในปริมาณน้อยกว่า 100 mg ต่อวัน แต่ถึงแม้ร่างกายจะต้องการแร่ธาตุประเภทนี้ในปริมาณน้อยก็ใช่ว่าจะไม่มีความสำคัญ ซึ่งแร่ธาตุในกลุ่มนี้ได้แก่ เหล็ก (Iron), สังกะสี (Zinc), ซีลีเนียม (Selenium), แมงกานิส (Manganese), ทองแดง (Copper), ไอโอดีน (Iodine), โครเมียม (Chromium), โคบอลท์ (Cobalt), ฟลูออไรด์ (Fluoride), โมลิบดินัม (molybdenum) และ วานาเดียม (Vanadium)

 

 

www.flickr.com/photos/electrolux-design-lab/14921194033/

www.flickr.com/photos/arselectronica/14063329988/

วิตามิน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

many-fruits-1
Source: Flickr (click image for link)

วิตามิน (Vitamin) คืออะไร

วิตามิน (Vitamin) หรือ ไวตามิน คือ เป็นสารอินทรีย์ที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย เราจะเรียกสารประกอบเคมีอินทรีย์ (หรือชุดสารประกอบที่สัมพันธ์กัน) ว่า วิตามิน ก็ต่อเมื่อสิ่งมีชีวิตไม่สามารถสังเคราะห์สารนั้นได้ในปริมาณที่เพียงพอและต้องได้รับจากอาหาร ถึงแม้ว่าร่างกายจะต้องการในปริมาณที่น้อย แต่รู้ไหมคะว่ามีความจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายไม่น้อยเลยค่ะ นับตั้งแต่การหายใจของเซลล์ การนำโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรท ไปใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อและผลิตพลังงานสำหรับการดำรงชีวิต นอกจากนั้นวิตามินยังช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง การแข็งตัวของเลือด การสร้างกระดูก การมองเห็นและการทำงานของระบบประสาท วิตามินจึงเป็นตัวจักรเล็กๆแต่มีความสำคัญอย่างยิ่งซึ่งร่างกายจะขาดไม่ได้ค่ะ

VITAMIN = VITA + AMIN (VITA FOR LIFE)

คำว่าวิตามินมาจากคำว่า “ ไวตา ” (vita) กับ “ เอมีน ” (amine) ซึ่งเป็นชื่ออินทรีย์สารชนิดหนึ่ง เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกัน จึงได้คำว่า วิตามิน ซึ่งแปลว่า สารที่จำเป็นต่อชีวิต หากเกิดการขาดวิตามินจะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ขึ้นนั่นเองค่ะ อย่างที่ทราบกันดีว่า วิตามินที่มีความจำเป็นต่อร่างกายนั้นแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลักๆ ก็คือ

 

  1. วิตามินที่ละลายในน้ำ (water soluble) เช่น วิตามิน C วิตามิน B-complex (B6, B12, niacin, riboflavin, floate) กรดโฟลิก ไบโอติน และอิโนซิโทล เป็นวิตามินที่ละลายได้ดีในน้ำจะไม่สะสมในร่างกาย ปริมาณที่เหลือใช้จะถูกขับออกทางปัสสาวะ มักจะสลายตัวด้วยความร้อน เนื่องจากละลายได้ดีในน้ำจึงทำให้สูญเสียออกไปในน้ำได้ง่าย ดังนั้นในการล้างผักหรือผลไม้ ควรที่จะล้างน้ำเร็วๆ
  2. วิตามินที่ละลายในไขมัน (fat soluble) เช่น วิตามิน A D E K มีคุณสมบัติทนต่อความร้อนจากการหุงต้ม จะถูกดูดซึมร่วมกับอาหารไขมันอื่นๆเข้าสู่ร่างกาย สะสมที่ตับและเนื้อเยื่อไขมัน เนื่องจากวิตามินพวกนี้ละลายได้ในไขมัน มันจึงละลายในไขมันตามพุงและสะสมในเนื้อเยื่อไขมันทั่วร่างกาย ดังนั้นถ้ากินเข้าไปมากๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจเกิดอันตรายได้หรือหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้เกิดภาวะพิษจากวิตามินใด้

 

ตามธรรมเนียม คำว่า วิตามิน ไม่รวมสารอาหารสำคัญอื่น เช่น แร่ธาตุ กรดไขมันจำเป็นหรือกรดอะมิโนจำเป็น (ซึ่งร่างกายต้องการสารเหล่านี้ในปริมาณมากกว่าวิตามินมาก) หรือสารอาหารอื่นอีกมากที่ส่งเสริมสุขภาพแต่ต้องการไม่บ่อยในปัจจุบัน ระดับสากลรับรองวิตามินอย่างสากลสิบสามชนิด วิตามินจำแนกโดยกัมมันตภาพทางชีวภาพและเคมีไม่ใช่โครงสร้าง ฉะนั้นวิตามินแต่ละชนิดจึงหมายถึงสารประกอบวิตาเมอร์ (vitamer) ซึ่งล้วนแสดงกัมมันตภาพทางชีวภาพที่สัมพันธ์กับวิตามินหนึ่ง ๆ ชุดสารเคมีดังกล่าวจัดกลุ่มตามชื่อวิตามิน “ระบุทั่วไป” เรียงตามอันดับอักษร เช่น “วิตามินเอ” ซึงรวมสารประกอบเรตินัล เรตินอล และแคโรทีนอยด์ที่ทราบกันอีก 4 ชนิด วิตาเมอร์ตามนิยามสามารถเปลี่ยนเป็นรูปกัมมันต์ของวิตามินในร่างกายได้ และบางครั้งสามารถเปลี่ยนเป็นวิตาเมอร์อีกชนิดหนึ่งได้เช่นกัน

จะเห็นได้ว่า วิตามินมีความสำคัญต่อการทำหน้าที่ตามปกติของร่ายกาย ร่างกายไม่สามารถสร้างหรือสังเคราะห์วิตามินขึ้นเองได้ ยกเว้นก็เพียงบางกรณีเท่านั้น วิตามินมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโต การดำรงชีวิตและการมีสุขภาพที่ดีโดยรวม วิตามินจึงมีอยู่ในอาหารจากธรรมชาติทุกชนิดในปริมาณเพียงเล็กน้อย กล่าวคือคนส่วนใหญ่รับประทานวิตามินไม่ครบตามที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน เนื่องจากหากร่างกายจะต้องได้รับวิตามินให้ครบก็จะต้องรับประทานผักผลไม้เป็นจำนวนมากถึงขั้นเป็นกิโลต่อวัน ร่างกายถึงจะได้รับวิตามินครบถ้วนในแต่ละวัน ซึ่งคงไม่มีใครสามารถรับประทานได้ถึงขนาดนั้น แต่ถึงจะทานได้นอกเสียจะได้รับวิตามินครบแล้วหรืออาจจะเกิน แถมยังมากับพลังงานที่มหาศาลกันเลยทีเดียวค่ะ ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารเสริมประเภทวิตามินรวมก็อาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้ร่างกายของคุณสามารถรับวิตามินได้ตามความต้องการในแต่ละวันได้

 

www.flickr.com/photos/fl4y/5606461065/

แมกนีเซียม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

green-drink-1
Source: Flickr (click image for link)

แมกนีเซียม (Magnesium) เป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่หรือแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งก็จัดอยู่ในกลุ่มของเกลือแร่ที่มีอยู่มากมายในร่างกายแต่น้อยกว่าแคลเซียม และฟอสฟอรัส ผู้ใหญ่มีแมกนีเซียมประมาณ 20-28 กรัม พบอยู่ในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆ ประมาณ 40% พบอยู่ในน้ำภายนอกเซลล์(Extracellular fluid)ประมาณ 1% และที่เหลืออีกประมาณ 50% พบอยู่ในกระดูกและฟัน โดยอยู่ในรูปเกลือฟอสเฟตหรือคาร์บอเนต ในเด็กแรกเกิดจะมีแมกนีเซียมต่ำและเมื่อโตขึ้นจะมีแมกนีเซียมเพิ่มมากขึ้น โดยแมกนีเซียมจะพบทั้งในพืชและสัตว์ ในพืชนั้นแมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ แมกนีเซียม เปรียบเสมือนคนงานที่ทำงานแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพียงเพื่อจะสังเคราะห์โปรตีนให้กับร่างกาย และเป็นโคเอนไซม์ที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่งในร่างกายที่จะทำงานร่วมกับแคลเซียมอันเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในระบบต่างๆ ของร่างกายค่ะ

อาการของผู้ที่ขาดแมกนีเซียม จะมีอาการเบื่ออาหาร กล้ามเนื้อกระตุก สับสน หัวใจเต้นผิดปกติ บางรายอาจจะมีอาการชัก

สาเหตุของการขาดแมกนีเซียม

ความเครียด ทำให้แมกนีเซียมถูกใช้มากขึ้นหลายเท่า

เนื้อและอาหารที่ผ่านกรรมวิธีปรุงแต่ง น้ำอัดลม ล้วนแต่มีส่วนผสมของฟอสฟอรัสเยอะซึ่งก็จะไปขัดขวางการดูดซึมของแมกนีเซียมค่ะ

การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก มีส่วนทำให้ขาดแมกนีเซียมได้

การใช้ยาขับปัสสาว ก็มีส่วนทำให้ขาดแมกนีเซียมได้เช่นกัน

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน มีโอกาสขาดแมกนีเซียมได้ง่าย

 

เกี่ยวกับแมกนีเซียม หรือ (Magnesium)

  • แมกนีเซียม เป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่หรือแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งก็จัดอยู่ในกลุ่มของเกลือแร่ที่มีอยู่มากในร่างกาย
  • แมกนีเซียม จะพบทั้งในพืชและสัตว์
  • แมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ที่เป็นสารสีเขียวในพืช
  • แมกนีเซียม พบมากในผักใบเขียวทุกชนิด
  • แมกนีเซียม พบมากผลไม้สดและยังพบในเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง วอลนัท แป้งข้าวสาลี หอยนางรม ถั่วดำ เต้าหู้ ถั่วลิสง เมล็ดทานตะวัน แอลมอนด์ รำข้าว ปวยเล้ง และข้าวโพด
  • แมกนีเซียม พบในน้ำนมและเนื้อสัตว์น้อย
  • แมกนีเซียม ปริมาณแมกนีเซียมในอาหารจะลดลงได้มาก จากการประกอบอาหารที่เทน้ำทิ้งไป
  • แมกนีเซียม ในกระบวนการแปรรูปอาหารประเภทธัญพืชด้วยการขัดสี จะทำให้สูญเสียแมกนีเซียม  เช่น ข้าวสารที่ขัดสีจนขาว
  • แมกนีเซียม เป็นโคแฟกเตอร์ (Co-factor) ที่สำคัญของเอ็นไซม์ในร่างกายไม่น้อยกว่า 300 ชนิด เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีนต่างๆในร่างกาย
  • แมกนีเซียม เป็นเกลือแร่ที่มีโอกาสขาดได้ง่ายรองจากแคลเซียม
  • แมกนีเซียม ช่วยให้การผลิตฮอร์โมนต่างๆ เป็นปกติ
  • แมกนีเซียม หากร่างกายได้รับไม่เพียงพอจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากขึ้น
  • แมกนีเซียม ทำหน้าที่ในการส่งผ่านกระแสประสาท จึงช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับสมองได้ เช่น ซึมเศร้า ไมเกรน เครียด เป็นต้น
  • แมกนีเซียม เป็นตัวช่วยในการสะสม แคลเซียม เข้ากระดูก และลดความรุนแรงของ โรคหัวใจ วายเรื้อรัง
  • แมกนีเซียม มีหลายรูปแบบเช่น แมกนีเซียมซิเตรด แมกนีเซียมแอสพาเตรด แมกนีเซียมคาร์บอเนต แมกนีเซียมกลูคอเนต แมกนีเซียมออกไซต์ และแมกนีเซียมซัลเฟต
  • แมกนีเซียม  ช่วยบรรเทาและป้องกัน อาการปวดประจำเดือนโดยการคลายกล้ามเนื้อมดลูก
  • แมกนีเซียม ช่วยในการการเติบโตของกระดูกและฟัน
  • แมกนีเซียม ช่วยป้องกันการแข็งตัวของเลือด
  • แมกนีเซียม ช่วยในการควบคุมสมดุลของกรด-ด่างในร่างกาย

 

 

ประโยชน์ของแมกนีเซียม (Magnesium)

 

ช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย  เกี่ยวข้องกับขบวนการเผาผลาญที่จำเป็นหลายขบวนการ ซึ่งส่วนมากแมกนีเซียมจะอยู่ในเซลล์และจะไปกระตุ้นน้ำย่อย โดยเป็น co-factor ของน้ำย่อยหลายชนิดซึ่งจำเป็นสำหรับการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต และกรดอะมิโนให้เป็นพลังงาน

 

ช่วยส่งเสริมการดูดซึมและการเผาผลาญของแร่ธาตุต่างๆ เกี่ยวข้องกับการคลายตัว ( relaxation ) ของกล้ามเนื้อช่วยส่งเสริมการดูดซึม และการเผาผลาญของแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม และโพแทสเซียม

 

ช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรน ลดอาการซึมเศร้า เครียดและช่วยให้นอนหลับ โดยเป็นตัวที่ไปช่วยในการสร้างสารเมลาโทนิน เมื่อแมกนีเซียมรวมกับแคลเซียมแล้วจะทำงานคล้ายเป็นยาระงับประสาทจากธรรมชาติ ช่วยให้รู้สึกสงบ สำหรับแคลเซียมและแมกนีเซียม แร่ธาตุทั้ง 2 ตัวจะช่วยในการทำงานของระบบประสาท ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ การขาดแร่ธาตุนี้จะทำให้เกิดตะคริวและรบกวนการทำงานของเส้นประสาทมีผลทำให้นอนไม่หลับ

 

ช่วยร่างกายในการใช้วิตามินบีรวม วิตามินซี และวิตามินอี ซึ่งจำเป็นสำหรับการส่งสัญญาณประสาท( nerve impulse) และป้องกันกล้ามเนื้อหดเกร็ง

 

ช่วยป้องกันอาการทางด้านโครงกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น ฟันผุ กระดูกพรุน อ่อนเพลียเรื้อรัง ตะคริว กล้ามเนื้อกระตุก อาการสั่น

 

ช่วยลดไขมันในเลือดและป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

 

ช่วยป้องกันอาการปวดก่อนมีประจำเดือนของสตรี

 

 

ปริมาณของแมกนีเซียมที่ร่างกายควรได้รับ

ปริมาณที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน (RDA) ของแมกนีเซียมสำหรับผู้ใหญ่อยู่ระหว่าง 200-700 มิลลิกรัม ซึ่งในแต่ละวันร่างกายคนแต่ละช่วงอายุต้องการแมกนีเซียมแตกต่างกัน ดังนี้

ผู้ชายควรได้รับวันละ                                                 350      มิลลิกรัม

ผู้หญิงควรได้รับวันละ                                                300      มิลลิกรัม

หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตรควรได้รับวันละ           450      มิลลิกรัม

เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี ควรได้รับวันละ                      60-70    มิลลิกรัม

เด็กอายุ 2-7 ปี ควรได้รับวันละ                                   150      มิลลิกรัม

เด็กอายุ 7-10 ปี ควรได้รับวันละ                                 250      มิลลิกรัม

 

 

www.flickr.com/photos/elmastudio/6886053387/