Browse Tag: สุขภาพ

ไขมัน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

oil-1
Source: Flickr (click image for link)

ไขมัน (Fat) คือ สารประกอบหลายชนิดซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือ ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์แต่ไม่ละลายน้ำ คำว่าไขมัน (fat) ทางเคมีอาหาร นั้นหมายถึง ลิพิด (lipid) ประเภทไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ที่มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้องขณะที่ น้ำมัน (oil) เป็นไตรกลีเซอไรด์ที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง คำว่าไขมัน (fat) และน้ำมัน (oil) มักใช้แทนกันหรือใช้คู่กัน โดยทั่วไป “น้ำมัน” ใช้กับไขมันที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง “ไขมัน” หมายถึง ไขมันที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง “ลิพิด” หมายรวมไขมันทั้งที่เป็นของเหลวและของแข็งตลอดจนสสารที่เกี่ยวข้องอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ในบริบททางการแพทย์หรือชีวเคมี ดังนั้น กรดไขมัน (fatty acid) ที่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ในไขมัน (fat) จึงเป็นกรดไขมันที่มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าอุณหภูมิห้อง ได้แก่ กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) ขณะที่น้ำมัน (oil) มีองค์ประกอบหลักคือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) ซึ่งมีจุดหลอมเหลวต่ำค่ะ ส่วนไขมันในทางโภชนาการนั้นหมายถึงสารอาหาร (nutrient) ที่ให้พลังงาน และก็มีส่วนประกอบหลักคือไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) โดยไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี (Kcalorie) ในขณะที่โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี ค่ะ

ไขมัน (fat) ที่ใช้ในอาหาร ได้แก่ ไขมันจากสัตว์ รวมทั้งน้ำมันพืช (vegetable oil) ที่ผ่านกระบวนการ hydrogenation เพื่อทำให้มีสถานะเป็นของแข็ง ได้แก่ เนย (butter), เนยโกโก้ (cocoa butter) และเนยโกโก้เทียม (cocoa butter equivalent), ไขมันวัว (tallow), ไขมันหมู (lard), ไขมันจากไก่ (schmaltz), มาร์การีน (margarine) หรือ เนยขาว (shortening) เป็นต้น

 

เกี่ยวกับไขมัน (Fat)

อาหารที่เราบริโภคทุกวันนี้ มีสารอาหารที่เป็นประกอบที่สำคัญคือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรทและไขมัน ไขมัน (Lipids) เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานมากที่สุดคือประมาณ 9 แคลอรี่ต่อ 1 กรัม ไขมันมีในอาหารทั่วไปทั้งในพืชและเนื้อสัตว์จะมากน้อยตามชนิดของอาหารแตกต่างกันไป ไขมันยังมีส่วนสำคัญในด้านเนื้อสัมผัส, กลิ่นรส, ความชุ่มเนื้อและรสชาติของอาหารอีกด้วย และเนื่องจากร่างกายของเราย่อยไขมันได้ช้ากว่าสารอาหารชนิดอื่น เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมันจึงทำให้เรารู้สึกอิ่ม หลังจากที่ได้รับอาหารเข้าไปในประมาณที่เพียงพอแล้ว

ไขมัน (LIPIDS) แบ่งตามวิทยาศาสตร์เคมีได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)และฟอสโฟไลปิดส์ (Phospholipids) และอื่นๆ อีกที่ไม่ค่อยสำคัญมากแต่ที่เรามักจะได้ยินคุ้นหูจากแพทย์บ่อยๆ ก็คือคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งแพทย์จะบอกแก่คนไข้ว่า ตรวจไขมันในเลือดให้นั้นก็คือ การตรวจค่าของทั้งสองชนิดนั่นเอง

คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อใช้ในการสร้างฮอร์โมน วิตามินอี และกรดน้ำดีซึ่งช่วยย่อยอาหาร ถ้าร่างกายมีคอเลสเตอรอลสูงเกินกว่าปกติ (มากกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ก็จะก่อให้เกิดผลเสียจากการที่คอเลสเตอรอลไปพอกตามผนังหลอดเลือดแดงทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย เป็นต้น เราจะพบคอเลสเตอรอลเฉพาะในสัตว์ และพบมากในอาหารที่มาจากเครื่องในสัตว์รวมทั้งไข่แดง

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) คือ ไขมันและน้ำมันที่ได้จากพืชและสัตว์มีสารประกอบส่วนใหญ่เป็นไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้ไตรกลีเซอไรด์ยังเกิดขึ้นได้จากกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท เช่น น้ำตาล ดังนั้นถ้าหากรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรทในปริมาณที่มากเกินไปจะมีผลทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ค่าปกติของไตรกลีเซอไรด์ควรอยู่ระหว่าง 35-160 mg/dl

ฟอสโฟลิปิด (Phospholipid) เป็นไขมันที่มีคุณสมบัติละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน

เรามาทำความเข้าใจกับโครงสร้างอย่างง่ายๆ ของกรดไขมันกันก่อน คือกรดไขมันจะประกอบด้วยธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน ซึ่งโมเลกุลของธาตุทั้งสามนี้ จะเกาะกันเป็นลูกโซ่มากน้อยตามแต่ละชนิด ซึ่งมีประมาณ 40 ชนิด

ไขมันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1.กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated Fatty Acids) คือเป็นไขมันเต็มตัวแล้ว คือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจนจับกันเป็นลูกโซ่โดยสมบูรณ์ และไม่มีช่องว่างเหลือที่จะทำปฏิกิริยากับสารใดๆ ในร่างกายได้ ดังนั้น ไขมันชนิดนี้จะอยู่ในรูปของแข็งในอุณหภูมิปกติ ไขมันจำพวกนี้จะพบมากใน ไขมันสัตว์ เช่น เนื้อหมู วัว และไขมันจากกะทิ มะพร้าว เนย ไข่แดงและอื่นๆไขมันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

2.กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fatty Acids) คือไขมันที่ธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจนจับกันยังไม่สมบูรณ์ นั่นคือ ยังมีช่องว่างในลูกโซ่เหลืออยู่และพร้อมที่จะทำปฏิกิริยาและจับกับสารอื่นๆ ในร่างกายได้และพร้อมจะเปลี่ยนแปรสภาพเป็นสารอื่นๆ ได้ พบมากในน้ำมันปลาแซลมอน น้ำมันเมล็ดพันธุ์บอเรจ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส น้ำมันจมูกข้าวสาลีและอื่นๆ ซี่งกรดไขมันไม่อิ่มตัวแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ไขมันชนิดนี้แทบไม่มีบทบาทอะไรกับปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา เป็นต้น
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง กรดไขมันชนิดนี้สำคัญต่อร่างกายมาก ช่วยในการทำงานของอวัยวะสำคัญในร่างกาย มีลักษณะเหลวแม้ในอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่ได้จากพืชและสัตว์น้ำบางชนิด เช่น น้ำมันทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด

 

ประโยชน์ของไขมันที่มีต่อร่างกาย

 

ให้พลังงานแก่ร่างกาย ไขมันเป็นอาหารสำคัญที่มีความจำเป็นต่อร่างกายและเป็น 1 ในอาหาร 5 หมู่ที่มีประโยชน์ ทั้งไขมันในอาหารยังช่วยทำให้อาหารนุ่ม และยังช่วยให้ผู้บริโภครู้สึกอิ่มได้นาน เนื่องจากไขมันย่อยได้ช้ากว่าโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ไขมันให้พลังงานแก่ร่างกายได้มากกว่าสารอาหารชนิดอื่น ช่วยทำให้ร่างกายมีพลังงานที่จะทำงานและประกอบกิจวัตรประจำวัยได้ตามปกติ

 

ช่วยในการละลายและการดูดซึมวิตามิน ไขมันจะไปช่วยในการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน (Fat soluble Vitamins) เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย

 

ช่วยปกป้องและกันความร้อน รวมทั้งคอยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ โดยไขมันทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน(Thermal Insulator) ของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย ช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อน ทำให้ผิวชุ่มชื่นไม่แตกแห้ง

 

ไขมันช่วยเป็นเสมือนกันชนให้ร่างกาย ไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย ช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนของอวัยวะภายในได้ คือช่วยป้องกันการกระเทือนของอวัยวะภายในร่างกาย ที่เกิดจากแรงกระแทกหรือการเคลื่อนไหวอย่างแรงของร่างกาย ซึ่งคอยป้องกันการบาดเจ็บของอวัยวะภายในร่างกาย 

 

เป็นองค์ประกอบของเซลล์เมมเบรนทุกชนิด ไขมันเป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อประสาท นั่นก็คือเส้นประสาทของคนเราจะมีไขมันเป็นส่วนประกอบในอัตราที่สูง โดยเฉพาะจะหุ้มเส้นประสาทช่วยในการป้องกันเส้นประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อถูกสั่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

 

เป็นส่วนประกอบของเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกาย ไขมันเมื่อรวมตัวกับโปรตีนก็คือ ไลโปโปรตีน (Lipoproteins) จะเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะผนังเซลล์และไมโตคอนเดรีย ส่วนนี้มีประโยชน์สำหรับคนเรามาก เพราะร่างกายของเราประกอบเป็นตัวตนด้วยเซลล์หลายๆ ล้านเซลล์ และเซลล์ของร่างกายเราจะผลิตทุกวันเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ นั่นก็คือถ้าร่างกายเราขาดไขมันผนังเซลล์ของร่างกายเราก็จะอ่อนแอ เซลล์ที่ตายไปก็ไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ค่ะ

 

ให้กรดไขมันจำเป็นแก่ร่างกาย คือ กรดลิโนเลอิก ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดผิวหนังอักเสบ และมีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของทารก นอกจากนั้นกรดไขมันจำเป็นยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดด้วย โดยจะไปรวมกับคอเลสเตอรอลอิสระได้เป็นคอเลสเตอรอลเอสเทอร์ ทำให้ละลายในเลือดได้ง่าย

 

 

www.flickr.com/photos/chiotsrun/4255041466/

6 ประโยชน์สุดยอดจากแอปเปิ้ลสีเหลือง

yellow-apple-1
Source: Flickr (click image for link)

มาถึงแอปเปิ้ลสีสุดท้ายกันค่ะ นั่นก็คือ แอปเปิ้ลสีเหลือง แอปเปิ้ลสีนี้เราอาจจะไม่ค่อยได้พบเห็นกันบ่อยนักตามท้องตลาด ส่วนใหญ่เราจะเห็นแอปเปิ้ลสีแดง สีเขียว หรือสีขมพูกันซะส่วนใหญ่ใช่ไหมล่ะค่ะ แต่ทราบหรือไม่คะว่าประโยชน์ของแอปเปิ้ลสายพันธุ์นี้นั้นมีมากมายเลยทีเดียวค่ะ แอปเปิ้ล ผลไม้ขึ้นชื่อเรื่องของรสชาติความอร่อย เปลือกสีสดน่ากิน เนื้อในหวานหอมกรอบ แถมยังเปี่ยมล้นไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น เบตาแคโรทีน วิตามินซี และเส้นใยไฟเบอร์ จะเห็นได้ว่าแอปเปิ้ลแต่ละสีจะมีประโยชน์เมือนๆกันเกือบทุกข้อ แต่เห็นได้ชัดว่าจะมีประโยชน์บางข้อของแต่ละสีที่มีความโดดเด่นแตกต่างตามเฉพาะของแต่ละสีค่ะ อย่างของแอปเปิ้ลสีเหลืองนี้ก็เหมือนกันค่ะ เพราะอย่างนี้วันนี้เราจึงขอนำเสนอข้อมูลของประโยชน์จากแอปเปิ้ลสีเหลืองมาให้ได้อ่านกันค่ะ

 

 

ประโยชน์ที่คุณควรเลือกกินแอปเปิ้ลสีเหลือง

yellow-apple-2
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.ช่วยบำรุงสายตาและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อกระจก

ยกให้เป็นประโยชน์เด่นข้อแรกของแอปเปิ้ลสีเหลืองเลยค่ะ เนื่องด้วยแอปเปิ้ลสีเหลืองนี้มีสารเบต้าแคโรทีนที่ช่วยในเรื่องของการบำรุงสายตาที่อยู่สูงกว่าชนิดอื่น และแอปเปิ้ลสีเหลืองยังอุดมไปด้วยสารเควอร์ซิติน โดยสารนี้จะไปช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อกระจกด้วยค่ะ

 

2.ช่วยกำจัดสารพิษในร่างกาย  

แอปเปิ้ลสีเหลืองนั้นเป็นผลไม้ที่ดีที่สุดสำหรับการขจัดของเสียออกจากร่างกาย สารเปกตินในแอปเปิ้ลจะช่วยนำสารพิษไปกำจัดทิ้ง ส่วนของเปลือกแอปเปิ้ลนั้นก็มีความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากมีสารฟลาโวนอยด์ที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ กำจัดสารพิษในร่างกาย การกัดกินแอปเปิ้ลทั้งผลพร้อมเปลือกร่างกายจะได้ประโยชน์มากกว่าปอกเอาเปลือกออก แต่ก่อนกินควรล้างน้ำให้สะอาดเพื่อลดสารพิษที่ติดอยู่ที่ผิวเปลือกด้วยค่ะ

 

3.ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก

แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานต่ำ และมีใยอาหารอยู่ไม่น้อย มีส่วนประกอบของแป้งและน้ำตาลกว่า 75% ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่ร่างกายดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ในเวลาไม่เกิน 10 นาที จึงทำให้เกิดความอยากอาหารลดลง จะเห็นได้จากข้อมูลของ USDA Nutrient database  ของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกาพบว่าแอปเปิลแต่ล่ะสีมีคุณค่าทางโภ­­­ชนาการดังนี้  คุณค่าทางอาหารต่อแอปเปิ้ล 100 กรัม แอปเปิ้ลสีเหลืองให้พลังงาน 57 กิโลแคลอรี่  น้ำ 85.81 กรัม, น้ำตาล 10.4 กรัม, ไฟเบอร์ 2.4 กรัม และโพแทสเซียม 100 กรัม ดังนั้นการเลือกทานผลไม้แอปเปิ้ลนั้นก็ไม่ตัวเลือกที่ดีค่ะ

 

4.ช่วยให้อิ่มนานและไม่หิวบ่อย

น้ำตาลฟรักโทสที่อยู่ในแอปเปิ้ลเป็นน้ำตาลที่เปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานอย่างช้าๆ โดยที่ร่างกายก็สามารถดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ภายในสิบนาที ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น ไม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนเวลาที่เรากินขนมหวานอื่นๆ ทำให้รู้สึกอิ่มนานและไม่หิวบ่อยค่ะ

 

5.ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งและป้องกันโรคมะเร็งลำไส้

เปลือกและเนื้อของแอปเปิ้ลมีเส้นใยอาหารที่ชื่อว่าเพคติน และเส้นใยตัวนี้มีคุณสมบัติพองตัว จึงช่วยเพิ่มกากใยในทางเดินอาหารช่วยให้ขับถ่ายได้ดี และช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ค่ะ

 

6.ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและลดคอเลสเตอรอล

สารเบต้าแคโรทีนและเส้นใยไฟเบอร์ ช่วยในเรื่องของการบำรุงหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล แอปเปิ้ลมีสารเพคตินซึ่งเป็นไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ เมื่อกรดในทางเดินอาหารย่อยสลายไขมันแยกคอเลสเตอรอลออกมาแล้ว เพคตินจากแอปเปิ้ลจะไปคอยดักจับคอเลสเตอรอลเหล่านั้นและนำไปทิ้งก่อนที่จะถูกดูดกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้งค่ะ ง่ายๆก็คือช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันถูกดึงมาเก็บสะสมไว้ในร่างกายเพิ่มเติมอีกนั่นเองค่ะและยังพบว่าแอปเปิ้ลลดคอเลสเตอรอลในผู้หญิงได้ดีกว่าผู้ชายด้วยค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/bernardoramonfaur/25870828710/

www.flickr.com/photos/calliope/24625088606/

โปรตีน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

protein-foods-1
Source: Flickr (click image for link)

โปรตีน (Protein) เป็นสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งเป็นพอลิเมอร์สายยาวของกรดอะมิโน (amino acid) ส่วนในทางของโภชนาการโปรตีนนั้นเป็นสารอาหารที่ให้พลังงาน โดยโปรตีน 1 กรัมจะให้พลังงาน 4 แคลอรี (calorie) โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายของมนุษย์และสัตว์ ร่วมไปถึงสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นอย่างพืชด้วย โปรตีนเป็นส่วนประกอบของร่างกายที่มีปริมาณมากเป็นอันดับสองรองจากน้ำ โดยเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของเซลล์ของสิ่งที่มีชีวิตทุกชนิด เช่น เอนไซม์ (enzyme) ฮอร์โมน ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานและการดำรงชีวิต คำว่า Proteins เป็นคำที่มีจากภาษากรีก โปรตีนนั้นมีความสำคัญต่อร่างกายเนื่องจากมีหน้าที่สร้างเนื้อเยื่อ ควมคุมเมตาบอลิซึมของร่างกายและการเคลื่อนไหวของร่างกาย ในส่วนของพืชนั้นสามารถสังเคราะห์โปรตีนได้จากแหล่งไนโนโตเจนอนินทรีย์ แต่สัตว์ทั่วไปต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น

โปรตีนประกอบไปด้วยธาตุต่างๆ คือ คาร์บอน 50% ออซิเจน 20% ไนโตเจโดรเจน 6% และกำมะถันอยู่เล็กน้อย น้ำหนักของโมเลกุลโปรตีนมีน้อยมากจะถูกสังเคราะห์ในเซลล์ไรโบโซม ซึ่งมีหน่วยเล็กที่สุดของโปรตีนคือ กรดอะมิโน โดยกรดอะมิโนหลายโมเลกุลมาเรียงต่อกันเรียกว่าพันธะแปปไทด์ เมื่อเกิดการเรียงตัวกันก็จะกลายมาเป็นโปรตีน โดยโปรตีนในแต่ละชนิดจะให้ประโยชน์ที่แตกต่างกันค่ะ

กรดอะมิโน เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีน สามารถสร้างขึ้นเองในร่างกายของมนุษย์ในบางชนิดเท่านั้น และบางไม่สามารถสร้างเองได้ต้องอาศัยการรับประทานเข้าไป โปรตีนจะประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 12 -22 ชนิดเป็นโปรตีนที่อยู่ในอาหาร ส่วนโปรตีนที่อยู่ในร่างกายมี 20 ชนิดมีความจำเป็นสำหรับผู้ใหญ่ 8 ชนิด สำหรับเด็ก 9 ชนิด

กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายคือ กรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ต้องได้รับจากสารอาหารเท่านั้นได้แก่ ไอโชลูซีน ลูซีน ไลซีน เมโทรอนิน เฟนิลอะ ลานีน ทรูไอนิน ทรับโตเฟน วาลีน เด็กต้องการเพิ่ม อาร์จินิน ฮีสติดิน หากขาดกรดอะมิโนเหล่านี้จะทำให้เนื้อเยื่อไม่สามารถเจริญเติบโตได้

กรดอะมิโนไม่จำเป็นต่อร่างกาย ร่างกายสามารถสร้างได้เองโดยสร้างจากคาร์โบไฮเดรต ไขมัน ได้แก่ อะลานิน แอสพาร์ติก ซีสเอทีน กรดกลูดามิก อาร์จิมีน โพนลิน เซริน ไทโรซิน กลูตามีน

 

เกี่ยวกับโปรตีน (Protein)

ลักษณะของโปรตีน โปรตีนมีความสำคัญต่อร่างกายแต่ไม่สามารถสังเคราะห์ได้เองจึงต้องได้รับจากการรับประทานอาหารเข้าไป พืชสามารถสังเคราะห์จากไนโตรเจนและแอมโมเนียมที่อยู่ในดิน ดังนั้นสัตว์จะได้จากพืชกว่ากินเนื้อสัตว์เข้าไป โดยจะเปิดจากอะมิโนที่มีหลายชนิดที่เรียงต่อกันเป็นโปรตีน

แหล่งอาหารของโปรตีน จะพบได้จากพืชและสัตว์ แต่สัตว์จะให้โปรตีนที่สูงกว่าพืช แต่ถั่วเหลือถือว่ามีโปรตีนมากที่สุดและมีราคาถูกด้วย โดยในเนื้อสัตว์จะมีมากในเนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อหมู ไข่และเนื้อปลา ในส่วนที่ได้จากพืชจะเป็นพวกข้าวทั้งหลาย ข้าวสาลี ข้าวโพด  โปรตีนจากเนื้อสัตว์จะมีกรดอะมิโนที่ครบและสามารถนำไปใช้งานได้ทันที ในส่วนของโปรตีนที่ได้จากพืชนั้นก็จะเป็นถั่วเหลือง โดยถั่วเหลือง 34%  เนื้อไก่ 23.4%  ไข่ 13%

protein-foods-2
Source: Flickr (click image for link)

โปรตีนแบ่งได้ 2 แบบคือ แบ่งตามสมบัติทางเคมีและแบ่งตามสมบัติทางโภชนาการ

(แบบที่1) แบ่งตามสมบัติทางเคมี

1.Simple Proteins เป็นโปรตีนที่เกิดจากกรดอะมิโนมาเรียงต่อกัน และมีการย่อยสลายออกมาเป็นกรดอะมิโนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

2.Conjusgated Protein หรือเรียกอย่างว่าโปรตีนประกอบเป็นการรวมตัวของ Simple Proteins และสารชนิดอื่นที่ไม่ใช่โปรตีน เรียกว่า พรอสเททิก (Prosthetic Group) มักพบในเม็ดเลือดและตามต่อมต่างๆ

3.Derived Proteins เป็นโปรตีนที่ย่อยสลายโปรตีน 2 กลุ่มแรก โดยการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มากระทบ อย่างเช่น แสง ปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้โมเลกุลมีการเรียงตัวใหม่เป็นโครงสร้างจากเดิมแต่มีน้ำหนักเท่าเดิม

(แบบที่2) แบ่งตามสมบัติโภชนาการ

1.โปรตีนสมบูรณ์ (Complete protein) เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบทุกชนิดในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายมีความเจริญเติบโต แข็งแรง จะมีอยู่ในเนื้อนม ไข่

2.โปรตีนไม่สมบูรณ์ (Incomplete protein) เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมีโนที่จำเป็นอยู่ไม่ครบหรือว่ามีมากกว่า ไม่มีประโยชน์และความจำเป็นต่อร่างกายได้ มักจะอยู่ในข้าว ผัก

 

ประโยชน์ของโปรตีนที่มีต่อร่างกาย

 

สร้างและซ่อมแซมส่วนที่ศึกหรอ เสริมสร้างเนื้อเยื้อให้กับส่วนต่างๆของร่างกาย โปรตีนจะถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนก่อนที่จะถูกซึมผ่านลำไส้เล็กไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย

 

สร้างโปรตีน เอนไซม์ ฮอร์โมน ควบคุมการทำงานของร่างกาย ในการสร้างเอนไซม์หรือนำไปย่อยอาหารและปฏิกิริยาต่างๆ สร้างฮอร์โมนในการควบคุมการทำงานของร่างกายและแอนติบอดี้ของร่างกายและโปรตีนยังช่วยในการสร้างเซลล์ผิว เพราะในบริเวณใต้ผิวหนังจะมีใยคอลลาเจนที่สร้างจากโปรตีน ช่วยให้ผิวหนังเกิดความหยุ่ยนุ่ม ไม่แข็งกระด้าง นอกจากนั้นโปรตีนสามารถเพิ่มความแข็งแรงของเล็บ เส้นผม และเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสาททั้งหมดของร่างกายเข้าด้วยกัน

 

รักษาสมดูลของกรด – ด่างในร่างกาย เนื่องจากร่างกายของเราเกิดกรดขึ้นตลอดเวลา เนื่องจากการเมตาบริซึมของร่างกายอย่างเช่น กรดกำมะถัน กรดแลดติก เป็นต้น โปรตีนจะเป็นได้ทั้งกรดและด่างจึงทำให้ร่างกายได้รับทั้งสองอย่าง ซึ่งเป็นการสร้างบัฟเฟอร์ในการสร้างความสมดุลของกรดด่างไว้

 

รักษาสมดุลน้ำในร่างกาย โปรตีนจะทำหน้าที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนที่ของเหลวกับเซลล์ทั้งนำภายในเซลล์และรอบๆเซลล์ จึงทำให้น้ำสามารถเข้าออกของเซลล์ได้ โปรตีนจึงทำหน้าที่ควบคุมน้ำในการออสโมติกให้สมดุล

 

ให้พลังงานแก่ร่างกาย โปรตีนนั้นจะถูกเผาผลาญและให้พลังงานออกมา โดยโปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลลอลี ในกรณีที่เหลือจากการที่ร่างกายนำไปใช้ซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อ

 

การแข็งตัวของเลือด เมื่อเกิดบาดแผลจะมีการสร้างไฟบริด โดยโปรตีนในการอุดที่บาดแผลทำให้เลือดนั้นหลุดไหลได้

 

 

www.flickr.com/photos/artizone/6788516807/

www.flickr.com/photos/arepb/3085141320/

คาร์โบไฮเดรต คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

carbohydrate-foods-1
Source: Flickr (click image for link)

คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) เป็นสารชีวโมเลกุลชนิดที่สำคัญที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดและมีความจำเป็นต่อร่างกายของเราอย่างยิ่งค่ะ ซึ่งเป็นสารชีวโมเลกุลที่ทำหน้าที่สะสมพลังงานที่พบในชีวิตประจำวันทั่วไปได้แก่ น้ำตาล แป้ง เซลลูโลส  และไกลโคเจน โดยที่ส่วนใหญ่พบแป้งและเซลลูโลสในพืช ส่วนไกลโคเจนพบในเซลล์เนื้อเยื่อ น้ำไขข้อและผนังเซลล์ของสัตว์ คำว่าคาร์โบไฮเดรตมีรากศัพท์มาจากคำว่า คาร์บอน (carbon) และคำว่าไฮเดรต (hydrate) อิ่มตัวไปด้วยน้ำ ซึ่งรวมกันก็หมายถึงคาร์บอนที่อิ่มตัวไปด้วยน้ำ โดยคาร์โบไฮเดรตจัดเป็นสารประกอบแอลดีไฮด์ (aldehyde) หรือคีโทน (ketone) ที่มีหมู่ไฮดรอกซิลเกาะอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเรียกว่าสารประกอบโพลีไฮดรอกซีแอลดีไฮด์ (polyhydroxyaldehyde) หรือ โพลีไฮดรอกซีคีโทน (polyhydroxyketone) คาร์โบไฮเดรตมีความหลากหลายทั้งในด้านของโครงสร้างทางเคมีและบทบาททางชีวภาพอีกด้วย หน่วยที่เล็กทีสุดของคาร์โบไฮเดรตก็คือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือโมโนแซคคาร์ไรด์ค่ะ ประเทศไทยที่อุดมไปด้วยพืชผักและพรรณไม้นานาชนิดซึ่งเป็นแหล่งสำคัญของคาร์โบไฮเดรต เมื่อพืชสร้างอาหารโดยการสังเคราะห์แสง เพื่อนำอาหารไปสร้างเป็นส่วนของลำต้น ราก ใบ ดอก ผล และเมล็ด อาหารส่วนที่เหลือจะถูกนำไปเก็บสะสมไว้ในส่วนต่าง ๆ ในรูปของแป้งและน้ำตาล จึงกล่วไดว่าพืชเป็นแหล่งสำคัญของคาร์โบไฮเดรต ข้าวเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งและเป็นอาหารหลักของคนไทยส่วนใหญ่

 

เกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)

ในทางเคมี คาร์โบไฮเดรตทุกประเภทประกอบด้วยอะตอมต่างๆของคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน โดยเรียงตัวในลักษณะที่ต่างกันไป และคาร์โบไฮเดรตทุกประเภทมีบทบาทสำคัญทางโภชนาการ คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารที่พบมากในอาหารประเภท ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน และพืชผักผลไม้ที่มีรสหวานค่ะ

carbohydrate-foods-2
Source: Flickr (click image for link)

คาร์โบไฮเดรตมี 2 ประเภทใหญ่ๆ โดยคาร์โบไฮเดรตสามารถจำแนกตามจำนวนโมเลกุลของน้ำตาลที่เชื่อมโยงกันได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

1.คาร์โบไฮเดรตประเภทน้ำตาลชนิดต่างๆ เราเรียกว่าเป็น ”คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว”

กลุ่มน้ำตาลชั้นเดียว (monosacharide,simple sugar) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กที่สุด ร่างกายไม่สามารถย่อยให้เล็กลงกว่านี้ได้อีก เมื่อรับประทานเข้าและไปสามารถดูดซึมได้ทันที ได้แก่

  • กลูโคส ( มีอยู่ในธรรมชาติทั่วไป ในพืช ผัก ผลไม้ต่างๆ เช่น องุ่น ข้าวโพด น้ำผึ้ง)
  • ฟรุคโทส (มีรสหวานกว่าน้ำตาลชนิดอื่น พบในเกสรดอกไม้ ผลไม้ ผัก น้ำผึ้ง กากน้ำตาล ปนอยู่ในกลูโคส ในร่างกายได้จากการย่อยน้ำตาลทราย)
  • กาแลกโทส (ไม่เกิดในรูปอิสระในธรรมชาติ ได้จากการย่อยแลกโทส หรือน้ำตาลนม ซึ่งมีอยู่ในอาหารพวกนมและผลิตผลของนมทั่วๆไป)

กลุ่มน้ำตาลสองชั้น (disaccharide, double sugar) เป็นน้ำตาลที่ได้จากการรวมน้ำตาลชั้นเดียว 2 โมเลกุล เมื่อกินน้ำตาล 2 ชั้นเข้าไป ต้องถูกย่อยโดยเอนไซม์ในทางเดินอาหารได้น้ำตาลชั้นเดียวก่อนจึงจะดูดซึมได้ คาร์โบไฮเดรตประเภทนี้ ได้แก่

  • ซูโครส (น้ำตาลทราย)
  • มอสโทส (ในเมล็ดข้าวที่งอกแล้ว)
  • แลกโทส (ในนม หรือ น้ำตาลนม)

2.คาร์โบไฮเดรตประเภทแป้ง เราเรียกว่าเป็น “คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน

กลุ่มน้ำตาลหลายชั้น หรือพวกไม่ใช่น้ำตาล (Polysaccharide) เป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่และซับซ้อน ประกอบด้วยน้ำตาลชั้นเดียวเป็นจำนวนมาก มารวมกัน ไม่มีรสหวาน ได้แก่

  • แป้ง (starch) พบในพืช สะสมอยู่ในเมล็ด ราก หัว ลำต้น เมล็ดเป็นแหล่งธัญพืชสำคัญ โมเลกุลของแป้งเกิดจากน้ำตาลกลูโคสต่อกันเป็นจำนวนมากในรูปที่เป็นเส้นตรง อะมิโลส (amylose) และกิ่งก้านอะมิโลเพกทิน (amylopectin) เมื่อแป้งถูกย่อยถึงขั้นสุดท้ายจะได้น้ำตาลกลูโคส
  • ไกลโคเจน (glycogen) เป็นน้ำตาลหลายชั้น พบในตับและกล้ามเนื้อสัตว์ บางทีเรียกว่า แป้งสัตว์ มีส่วนประกอบคล้ายแป้ง แต่มีกิ่งก้านมากกว่าเมื่อแตกตัวออกจะได้กลูโคสและมักไม่พบในพืช
  • เดกซ์ทริน (dextrin) ได้จากการย่อยแป้ง อาหารที่มีเดกซ์ทรินอยู่บ้าง ได้แก่ น้ำผึ้ง โดยมากปนอยู่กับคาร์โบไฮเดรตอย่างอื่น เดกซ์ทรินเมื่อแตกตัวหรือถูกย่อยต่อไปจะให้มอลโทสและท้ายที่สุดจะให้กลูโคส แป้ง เดกซ์ทริน มอลโทส กลูโคส
  • เซลลูโลส (cellulose) บางทีเรียกว่าใยหรือกาก เป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์พืช มีมากในใบ ก้าน เปลือก คนไม่สามารถย่อยเซลลูโลสได้ และเซลลูโลสเองยังช่วยป้องกันการท้องผูกค่ะ

 

 

ประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรตที่มีต่อร่างกาย

 

ให้พลังงานและความร้อน หรือให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย โดยคาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงานประมาณ 4 แคลอรี่ และเป็นพลังงานที่จะถูกร่างกายนำมาใช้ก่อนสารอาหารประเภทไขมันและโปรตีนตามลำดับ

 

ช่วยให้ร่างกายนำสารอาหารโปรตีนไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ กล่าวคือ ถ้าร่างกายได้ พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตมาใช้ไม่เพียงพอ ร่างกายจะนำเอาโปรตีนมาสลายให้เกิดพลังงาน แทนร่างกายก็จะผอมลงได้

 

ใช้เป็นพลังงานสำรองของร่างกาย ถ้าร่างกายรับประทานพวกคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป ส่วนเกินนี้จะถูกปลี่ยนเป็นไขมันสะสมไว้ตามเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย และจะถูกนำมาใช้เมื่อร่างกายขาดแคลนพลังงาน

 

ช่วยทำลายพิษและขจัดสารพิษ สารเคมีบางอย่างเมื่อเข้าไปในร่างกายโดยบังเอิญหรือติดไปกับอาหาร ตับจะกำจัดสารพิษโดยทำปฎิกิริยากับสารพวกคาร์โบไฮเดรตให้กลายเป็นสารที่ไม่มีพิษ โดยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของตับ ซึ่งเป็นอวัยวะส่วนสำคัญของร่างกายในการขจัดสารพิษในเลือด

 

ช่วยในการขับถ่าย เซลลูโลสช่วยกระตุ้นในการทำงานของลำไส้และ ป้องกันการท้องผูก แลกโทสเป็นอาหารที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดกรดในลำไส้ของทารกการเกิดกรด ช่วยการดูดซึมของแคลเซียมทำให้ทารกเจริญเติบโตได้ดี เดกซ์ทรินเป็นอาหารที่เหมาะแก่แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียพวกนี้ใช้พลังงานจากเดกซ์ทรินในการสังเคราะห์วิตามินบีต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

 

ช่วยให้ไขมันเผาไหม้สมบูรณ์ ไขมันในร่างกายจะเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ถ้ารับประทานคาร์โบไฮเดรตไม่พอ ทำให้เกิดสารที่เป็นโทษแก่ร่างกายขึ้นในเลือดและ ในปัสสาวะ (ketone bodies) ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้นานๆในรายที่เป็นเบาหวานขั้นรุนแรง จะทำให้ความเป็นกรดด่างของร่างกายเปลี่ยนไป ร่างกายมีความเป็นกรดมากไปอวัยวะต่างๆทำงานผิดปกติ อาจรุนแรงถึงขั้นหมดสติ และตายได้

 

ช่วยรักษาสภาพสภาวะน้ำตาลในเลือดให้คงที่ คือ 70-100 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร ทำงานปกติ ซึ่งคนปกติระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติเป็นอาการของโรคเบาหวาน ถ้าต่ำผิดปกติทำให้เกิดอาการชักหรือช็อกหรือหมดสติ ดังนั้นถ้าน้ำตาลไปเลี้ยงสมองไม่พอจะทำให้เกิดอาการช็อก หรือหมดสติได้ ระดับน้ำตาลในเลือดยังช่วยควบคุมการบริโภคอาหารของมนุษย์ ถ้าระดับน้ำตาลในเส้นเลือดแดงสูงกว่าในเส้นเลือดดำมากแสดงว่ามีคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายใช้ประโยชน์ได้อยู่เป็นจำนวนมาก (vailable หรือ utilization) จะรู้สึกอิ่ม แต่ถ้าระดับน้ำตาลในเส้นเลือดแดงต่ำเกือบเท่าเส้นเลือดดำ แสดงว่ามีคาร์โบไฮเดรตที่ใช้ได้น้อยหรือเก็บไว้น้อยในร่างกาย จะทำให้รู้สึกหิว (hunger)

 

 

www.flickr.com/photos/omnia_mutantur/17581308424/

www.flickr.com/photos/arepb/3084304765/