Browse Tag: สุขภาพ

โซเดียม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

himalayan-salt-1
Source: Flickr (click image for link)

โซเดียม (Sodium) เป็นอีกหนึ่งเกลือแร่หรือแร่ธาตุที่ใครๆก็น่าจะรู้จักกันในรูปของรสชาติความเค็มจากเครื่องปรุงติดบ้านของเราจำพวกน้ำปลา เกลือ หรือเครื่องปรุงอาหารรสชาติต่างๆ แต่ความเป็นจริงแล้วโซเดียมเป็นแร่ธาตุที่พบได้ทั้งในสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันในหลายรูปแบบ และเป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย เช่น การควบคุมความดันกระแสเลือด การทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท ช่วยรักษาสมดุลของของเหลวที่อยู่ภายในร่างกาย โดยมีหน้าที่ควบคู่ไปกับโพแทสเซียมและคลอไรด์ หรือพูดง่ายๆเลยว่า โซเดียมก็คือ เกลือแร่ (สารอาหาร) ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยโซเดียมจะทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ (รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจด้วย) ตลอดจนการดูดซึมสารอาหาร บางอย่างในไตและลำไส้เล็กค่ะ โดยโซเดียมในรูปแบบที่เราบริโภคกันเป็นประจำ ก็จะเป็นโซเดียมที่อยู่ในรูปแบบของ ‘’เกลือแกง’’ โดยที่เกลือมีส่วนประกอบอยู่ 2 อย่างก็คือ โซเดียมกับคลอไรด์และก็น้ำปลา ซึ่งรสชาตินั้นจะต้องมีความเค็มอย่างแน่นอน และจากการสำรวจพบว่าคนไทยกินเกลือที่มีอยู่ในอาหารและเครื่องปรุงรส โดยเฉลี่ยอยู่ที่วันละประมาณ 7 กรัมค่ะ

 

เกี่ยวกับโซเดียม หรือ Sodium

 

  • โซเดียม คือ เกลือแร่ (สารอาหาร) ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย
  • โซเดียม เป็นเกลือแร่ที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง มีความจำเป็นเกี่ยวกับของเหลวภายในร่างกาย
  • โซเดียม เป็นแร่ธาตุที่ทำงานร่วมกับโปตัสเซียมและคลอไรด์ที่ของเหลวภายนอกเซลล์ เพื่อควบคุมดุลยภาพของแรงออสโมติคและปริมาตรของของเหลว
  • โซเดียม ช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ (รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจด้วย)
  • โซเดียม ในรูปแบบที่เราบริโภคกันเป็นประจำ ก็จะเป็นโซเดียมที่อยู่ในรูปแบบของ ‘’เกลือแกง’’
  • โซเดียม จากอาหารธรรมชาติที่มีโซเดียมสูงคือพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ
  • โซเดียม จากอาหารธรรมชาติที่มีโซเดียมต่ำ ได้แก่ ผลไม้ทุกชนิด ผัก เนื้อปลา ธัญพืชและถั่วเมล็ดแห้ง ซึ่งปริมาณโซเดียมจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายโดยไม่จำเป็นต้อง เรียกหาเครื่องปรุงรสใดๆ เลย
  • โซเดียม จากอาหารแปรรูปหรือการถนอมอาหาร ได้แก่ อาหารกระป๋องทุกชนิด อาหารหมักดอง อาหารเค็ม อาหารตากแห้ง เนื้อเค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า ผักดอง ผลไม้ดอง เป็นต้น
  • โซเดียม จากเครื่องปรุงรส เช่น เกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรสที่มีรสเค็ม (เช่น ซีอิ๊วขาว เต้าเจี้ยว น้ำบูดู กะปิ ปลาร้า ปลาเจ่า เต้าหู้ยี้ รวมทั้งซอสหอยนางรม) ซอสปรุงรสที่ไม่มีรสเค็มหรือเค็มน้อย เช่น ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก น้ำจิ้มต่างๆ
  • โซเดียม ในผงชูรสถึงแม้ไม่มีรสชาติเค็ม แต่ก็มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยประมาณร้อยละ 15
  • โซเดียม ในอาหารกระป๋องและอาหารกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งอาหารเหล่านี้มีการเติมเกลือหรือสารกันบูด ซึ่งมีโซเดียมในปริมาณที่สูงมาก
  • โซเดียม จากขนมต่างๆ ที่มีการเติมผงฟู ซึ่งผงฟูที่ใช้ในการทำขนมเหล่านี้มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ (โซเดียมไบคาร์บอเนต) เช่น ขนมเค้ก คุกกี้ แพนเค้ก ขนมปัง
  • โซเดียม ในน้ำฝนเป็นน้ำที่ปราศจากโซเดียม
  • โซเดียม มีปนอยู่ในน้ำบาดาลและน้ำประปาอยู่บ้าง ในจำนวนไม่มากนัก
  • โซเดียม ในเครื่องดื่มเกลือแร่ยี่ห้อต่างๆ มีการเติมสารประกอบของโซเดียมลงไปด้วย เพราะมีจุดประสงค์จะให้เป็นเครื่องดื่มสำหรับนักกีฬาหรือผู้ที่สูญเสียเหงื่อมาก
  • โซเดียม ในน้ำผลไม้บรรจุกล่องขวดหรือกระป๋อง มักจะมีการเติมสารกันบูด (โซเดียมเบนโซเอต) ลงไปด้วย ทำให้น้ำผลไม้เหล่านี้ มีโซเดียมสูง
  • โซเดียม เป็นส่วนประกอบของเกลือ ซึ่งเกลือ 1 กรัม จะมีโซเดียมประมาณ  400 กรัม
  • โซเดียม ที่ร่างกายคนเรามีความต้องการ ประมาณ 2400 มิลลิกรัมต่อวัน
  • โซเดียม ที่เกินความต้องการ ไตจะขับออกทางปัสสาวะและจะออกทางเหงื่อเป็นที่น่าสังเกตอย่างยิ่งว่าโซเดียม ที่ขับออกทางปัสสาวะจะเป็นตัวชี้ระดับของโซเดียมในร่างกาย
  • โซเดียม เกี่ยวข้องกับการซึมผ่านของสารและการดูดซึมสารอาหารเข้าเซลล์
  • โซเดียม ช่วยฟอกคาร์บอนไดออกไซด์จากร่างกายและช่วยในการย่อย
  • โซเดียม จำเป็นสำหรับการผลิตกรดไฮโดรคลอริคในกระเพาะอาหารและช่วยระบบการย่อยอาหาร
  • โซเดียม ช่วยในการขนส่งกลูโคสผ่านเยื่อเซลล์
  • โซเดียม กระตุ้นประสาทให้ทำงาน และเป็นตัวเก็บเกลือแร่อื่นๆให้อยู่ในร่างกาย

 

 

ประโยชน์ของโซเดียม (Sodium)

 

การรักษาสมดุลกรดด่าง โดยโซเดียมไบคาร์บอเนตและโซเดียมฟอสเฟต ทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ที่สำคัญของเลือด ช่วยรักษาความเป็นกรดด่างของเลือดให้คงที่ค่ะ

 

การควบคุมสมดุลน้ำและสมดุลของเหลวภายในร่างกาย โดยที่โซเดียมนั้นไปทำหน้าที่ร่วมกับโปตัสเซียมในการควบคุมสมดุลน้ำและสมดุลของเหลวภายในร่างกาย โดยโซเดียมในรูปแคทไออนจะรักษาความดันออสโมติคภายนอกเซลล์และโปตัสเซียมใน รูปแคทไออนรักษาความดันออสโมติคภายในเซลล์ รวมถึงช่วยรักษาให้แร่ธาตุอื่นที่มีอยู่ในเลือดละลาย เพื่อจะได้ไม่เกิดการจับเกาะตัวภายในเลือด

 

การควบคุมหัวใจให้ทำหน้าที่ปกติและสม่ำเสมอ โดยโซเดียมจะไปควบคุมสมดุลระหว่างแคลเซียมและโปตัสเซียม เพื่อควบคุมหัวใจให้ทำหน้าที่ปกติและสม่ำเสมอ

 

เกี่ยวข้องกับการหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยโซเดียมช่วยการส่งผ่านสัญญาณประสาท ( nerve impulse ) ไปยังกล้ามเนื้อเพื่อให้หดตัว

 

ช่วยชำระล้างคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากระบบ โดยทำงานร่วมกับคลอรีน ช่วยชำระล้างคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากระบบ ส่งเสริมสุขภาพของเลือด น้ำเหลือง ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

 

 

ปริมาณของโซเดียมที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน

โดยจากการวิจัยทางการแพทย์และโภชนาการเรื่องปริมาณที่เหมาะสมของโซเดียมที่ควรได้รับจากอาหารในแต่ละวัน ยังผลให้องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดปริมาณโซเดียมที่ แนะนำให้บริโภคต่อวัน (Recommended Daily Intakes : RDI) อยู่ที่น้อยกว่า 2,400 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอแก่ความต้องการในบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป และเป็นปริมาณที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในด้านสุขภาพใดๆ
สำหรับในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แนะนำให้บริโภคโซเดียมไม่เกินวันละ 2,400 มิลลิกรัมเช่นเดียวกัน แต่หากจะเปรียบเทียบภาวะความเสี่ยงของการได้รับโซเดียมเกินระหว่างประเทศไทย กับประเทศสหรัฐอเมริกา จะพบว่าคนไทยเราบริโภคโซเดียมเฉลี่ยอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมคือปริมาณ 2,320 มิลลิกรัมต่อวัน ในขณะที่ชาวอเมริกันรับประทานโซเดียมจากอาหารเฉลี่ย 3,200 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน ดังนั้นสำหรับคนไทยที่ไม่ได้เป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการตามปกติและรสชาติที่ไม่เค็มจนเกินไป ก็เพียงพอที่จะควบคุมปริมาณโซเดียมจากอาหารในระดับที่เหมาะสมได้แล้ว

 

 

www.flickr.com/photos/julajp/5904468562/

ไอโอดีน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

seafood-1
Source: Flickr (click image for link)

ไอโอดีน (iodine) หรือ สารไอโอดีน ถ้าพูดถึงไอโอดีนหรือสารไอโอดีนก็คงจะนึกถึงความเค็ม หรือเกลือกันใช่ไหมล่ะคะ ไอโอดีนเป็นอีกตัวหนึ่งที่อยู่ในหมู่เกลือแร่หรือแร่ธาตุ บางคนก็อย่าได้คิดว่าแร่ธาตุตัวนี้จะไม่สำคัญนะคะ เพราะถ้าเราขาดมันขึ้นมาล่ะก็…ไม่เป็นผลดีแน่ๆค่ะ เอาล่ะ วันนี้จะมาบอกให้เราเข้าใจเกลือแร่ตัวนี้กันว่ามันคืออะไรและมีความสำคัญอย่างไรค่ะ ไอโอดีนหรือสารไอโอดีน นั้นเป็นธาตุเคมีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติแต่จะมีปริมาณน้อย เช่นอยู่ในทะเล และแน่นอนว่าเราคงจะไม่มานั่งดื่มน้ำทะเลเพื่อให้ได้สารไอโอดีนกันหรอกจริงไหม มันก็ต้องอยู่ในอาหารทะเลที่เรารับประทานกันทุกวันนี่ล่ะค่ะ ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่าคนที่อยู่แถบภาคเหนือและอีสานจะเป็นโรคคอพอกและเอ๋อ ปัญญาอ่อนกันเป็นส่วนมากเนื่องจากเป็นที่ราบสูงอยู่ห่างไกลจากทะเล จึงไม่มีโอกาสได้รับประทานอาหารทะเลบ่อยๆ ไอโอดีนจะพบมากในสัตว์และพืชในทะเลเนื่องจากมีสารไอโอดีนอยู่สูง ซึ่งสารไอโอดีนนี้เป็นธาตุที่จําเป็นต่อร่างกายถึงแม้ว่าจะต้องการเพียงเล็กน้อยแต่ก็ขาดไม่ได้เช่นกันค่ะ เนื่องจากความสําคัญของไอโอดีนต่อร่างกาย เป็นส่วนประกอบที่จําเป็นในการผลิตฮอร์โมนของต่อมธัยรอยด์ซึ่งต่อมธัยรอยด์นั้นจําเป็นต้องใช้ไอโอดีนเพื่อสร้างฮอร์โมน ชื่อว่า “ธัยรอกซิน” ซึ่งฮอร์โมนนี้จําเป็นสําหรับควบคุมการทําหน้าที่และเสริมสร้างการเจริญเติบโตตามปกติของสมองประสาทและเนื้อเยื่อของร่างกาย

ภาวะขาดไอโอดีน

  1. ภาวะขาดไอโอดีนยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ประมาณว่าประชากรกว่าพันล้านคน โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาประสบปัญหานี้ นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะปัญญาอ่อน ในประเทศไทยภาวะขาดไอโอดีนพบในที่ห่างไกลทะเล ในหมู่บ้านยากจนในแถบถิ่นภูเขา บางแห่งเกิดคอพอกจากภาวะขาดไอโอดีนกันเกือบทั้งหมู่บ้าน การแก้ไขปัญหาภาวะขาดไอโอดีนยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจ และสังคม จากการวิเคราะห์ดินที่จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นถิ่นของโรคเมื่อเทียบกับดินที่กรุงเทพ พบว่ามีไอโอดีนน้อยกว่าถึง 7 เท่า
  2. การกำหนดความรุนแรงของภาวะขาดไอโอดีน จะถือว่าขาดเล็กน้อยเมื่อผู้นั้นได้รับไอโอดีนระหว่าง 50-100 ไมโครกรัมต่อวัน สำหรับขาดปานกลางเมื่อผู้นั้นได้รับไอโอดีนระหว่าง 25-50 ไมโครกรัม และจะถือว่าขาดรุนแรงเมื่อได้รับไอโอดีนน้อยกว่า 25 ไมโครกรัมต่อวัน

 

เกี่ยวกับไอโอดีน (iodine) หรือ สารไอโอดีน

  • ไอโอดีน เป็นธาตุเคมีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติแต่จะมีปริมาณน้อย
  • ไอโอดีน เป็นสารที่พบมากในเนื้อสัตว์และพืชในทะเล เช่น  อาหารทะเล สาหร่ายทะเล นอกจากนี้ยังได้สารไอโอดีนจากเกลือทะเลอีกด้วย
  • ไอโอดีน เป็นส่วนประกอบที่จําเป็นในการผลิตฮอร์โมนของต่อมธัยรอยด์
  • ไอโอดีน ต่อมไทรอยด์นำไอโอดีนเป็นส่วนสำคัญในการสังเคราะห์ฮอร์โมน
  • ไอโอดีน ความต้องการไอโอดีนที่แนะนำต่อวันคือ 150 ไมโครกรัมต่อวันในผู้ใหญ่ และ 200 ไมโครกรัมต่อวัน ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ และให้นมบุตร
  • ไอโอดีน ในเกลือต้องมีไอโอดีนอย่างน้อย 30 พีพีเอ็ม คือ เกลือหนัก 1 กรัม มีไอโอดีนอยู่ 30 ไมโครกรัมนั่นเอง
  • ไอโอดีน ผลจากการขาดสารไอโอดีน หญิงแท้งง่าย ชายเซ็กส์เสื่อม เด็กพิการแต่กำเนิด ในผู้ใหญ่ คอพอก เอ๋อ ปัญญาอ่อน
  • ไอโอดีน เป็นธาตุที่ระเหยเป็นไอได้ เมื่อไอโอดีน จากทะเลระเหยมาพร้อมกับน้ำเป็นเมฆและฝนตกลงสู่พื้นดิน พื้นดินจะกลับมีไอโอดีนอีกครั้ง
  • ไอโอดีน กระตุ้นให้มีการหลั่งน้ำนมมากขึ้น
  • ไอโอดีน เด็กที่เกิดจากแม่ที่มีปัญหาไทรอยด์มักมีไอคิวต่ำกว่า 85
  • ไอโอดีน แม้ว่าร่างกายต้องการสารไอโอดีนเพียงแค่ 150 ไมโครกรัมเท่านั้น แต่ก็ขาดไม่ได้แม้แต่วันเดียว เพราะร่างกายไม่สามารถสะสมไว้ได้

 

 

ประโยชน์ของไอโอดีน (iodine)

 

ช่วยในการทำงาน และเจริญเติบโตของต่อมไทรอยด์  และเป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนไทรอกซิน ผลิตโดยต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่ควบคุมอัตราเมแทบอลิซึมของร่างกาย การทำงานของต่อมธัยรอยด์มีผลต่อสภาพจิตใจ สภาพของผม ผิวหนัง เล็บ และ ฟัน ของร่างกาย การเปลี่ยนของแคโรทีนเป็นวิตามินเอ การสังเคราะห์ โปรตีน โดย ไรโบโซม และการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้เล็กทั้งหมดนี้จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อการผลิตไทรอกซิน เป็นไปตามปกติ การสังเคราะห์โคเลสเตอรอลถูกกระตุ้นโดยระดับของไทรอกซิน

 

ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และกระตุ้นอัตราการเผาผลาญ โดยช่วยร่างกายเผาผลาญไขมันที่มาก

 

กระตุ้นให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น

 

ช่วยให้ร่างกายผลิตพลังงานได้ตามปกติ

 

เพิ่มการเคลื่อนย้ายแคลเซียม และฟอสฟอรัสจากกระดูก

 

ช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะและควบคุมการกระจายของน้ำตามอวัยวะต่างๆ

 

กระตุ้นให้มีการหลั่งน้ำนมมากขึ้น

 

ควบคุมประสาท ให้มีกำลังคล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง ตลอดถึงการพูด ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความมีประสิทธิภาพของต่อมไทรอยด์

 

 

ปริมาณของไอโอดีนที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน

หากขาดสารไอโอดีน จะมีภาวะผิดปกติแตกต่างกันไป เช่น ช่วงทารกในครรภ์ถึงแรกเกิดจะทำให้เกิดการแท้งหรือตายก่อนกำหนดได้ง่าย หรือหากไม่ตาย คลอดออกมาทารกก็จะพิการแต่กำเนิด คือ หูหนวก ขาแข็ง กระตุก ตาเหล่ รูปร่างแคระแกร็น และสติปัญญาเสื่อมจนถึงปัญญาอ่อน หรือที่เรียกว่าเป็นเอ๋อ ส่วนวัยเด็กถึงวัยรุ่นร่างกายจะเจริญเติบโตช้า สติปัญญาด้อยลงกว่าคนปกติและมีอาการคอพอก ขณะที่วัยผู้ใหญ่จะมีอาการคอพอก เหนื่อยง่าย ไม่สดชื่น สมรรถนะในการทำงานลดลง ร่างกายและจิตใจเสื่อมถอย หากเป็นเพศชายจะมีอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ สำหรับผู้หญิงประจำเดือนอาจมาไม่ปกติ

ในร่างกายปกติ ระดับของไอโอดีนในเลือดจะมีค่าประมาณ 8-15 ไมโครกรัม/100 มิลลิลิตร และจับกับพลาสม่าโปรตีนอยู่ประมาณ 6-8 ไมโครกรัม/100 มิลลิลิตร ข้อกำหนดสารอาหารควรรับประทานไอโอดีนให้ได้วันละ 150 ไมโครกรัมต่อวัน แต่ถ้ารับประทานเพียงวันละ 50 ไมโครกรัม ก็สามารถที่จะป้องกันโรคคอพอกได้แล้ว

ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายที่จะให้มีเกลือเสริมไอโอดีนจำหน่ายและกระจายทั่วประเทศ โดยที่เกลือต้องมีไอโอดีนอย่างน้อย 30 พีพีเอ็ม ซึ่งหมายถึง เกลือล้านส่วนจะมีไอโอดีนอยู่ 30 ส่วน ถ้าแปรผลในรูปของน้ำหนัก หมายถึงเกลือหนัก 1 กรัม มีไอโอดีนอยู่ 30 ไมโครกรัมนั่นเอง ดังนั้น ถ้าวันหนึ่งเรารับประทานเกลือ(เสริมไอโอดีน)โดยเฉลี่ย 2 กรัมจะได้รับไอโอดีนวันละ 60 ไมโครกรัม ซึ่งพอเพียงที่จะป้องกันการเกิดโรคจากการขาดไอโอดีนหรือโรคคอพอกได้

 

www.flickr.com/photos/nanophoto69/5015992000/

9 สุดยอดประโยชน์จากการดื่มไวน์

pouring-wine-1
Source: Flickr (click image for link)

ไวน์ (wine) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เกิดจากการหมักขององุ่นโดยเปลี่ยนน้ำตาลจากองุ่นให้เป็นแอลกอฮอล์ เป็นเครื่องดื่มที่นิยมดื่มกันไม่ใช่แค่เฉพาะคนที่อยู่ในเมืองอากาศหนาวเท่านั้น แต่ยังนิยมดื่มกันไปทั่วโลก ไวน์จะมีรสชาติค่อนข้างฝาดๆ เฝื่อนๆ โดยที่ไวน์มีหลายชนิดและประเภท ส่วนใหญ่จะนิยมดื่มไวน์แดงกันในโต๊ะอาหารที่มีอาหารประเภทเนื้อแดง หรือจะดื่มเป็นไวน์ขาวกับอาหารประเภทซีฟู้ดส์ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องราวของไวน์นั้นมีประโยชน์จริงหรือ ทำไมเห็นมีงานวิจัยออกมามากมายว่าดื่มไวน์แล้วจะให้ประโยชน์กับเราอย่างไรบ้างค่ะ แต่เอะ…ไวน์มันเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นี่นา จะมีประโยชน์ได้ยังไง วันนี้ HealthGossip จึงขอหยิบข้อมูลมานำเสนอให้หายคลายกังวลกันค่ะ คนที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์จะได้ไม่ต้องดีใจหาข้ออ้างในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และมาไขข้อกับเรื่องการดื่มไวน์แล้วจะได้รับประโยชน์จากข้อมูลที่เราได้รับมาจริงหรือไม่ เพราะถึงอย่างไรเราก็ควรทราบไว้ว่าไวน์ไม่ใช่ยา  เพราะอย่างนั้นเราไปดูกันเลยค่ะ…

หลายคนสงสัยว่าไวน์จะมีประโยชน์ได้อย่างไร ทั้งๆที่เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็เพราะว่าในไวน์แดงนั้นประกอบไปด้วยสารที่มีชื่อว่าเรสเวอราทรอล (Resveratrol), คาเทชิน (Catechin), เอพิคาเทชิน (Epicatechin) และโปรแอนโทไซยานิดิน (Proanthocyanidin) นั่นเองค่ะ ซึ่งเรสเวอราทรอล (Resveratrol) เป็นสารประกอบที่สกัดจากพืช (phytoalexin) ซึ่งจัดเป็นโพลีฟีนอล (polyphenol) ชนิดหนึ่งในกลุ่ม stilbene และสารชนิดนี้ก็จะพพบอยู่ในไวน์ขาวเช่นกันนะคะแต่จะมีอยู่ในปริมาณที่น้อยกว่าไวน์แดงเท่านั้นเองค่ะ ก็เพราะว่าในระหว่างกระบวนการผลิตไวน์นั้น ยิ่งเปลือกขององุ่นเนี่ยอยู่กับตัวองุ่นนานเท่าไหน ความเข้มข้นของเรสเวอราทรอลในไวน์ก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น แต่ในส่วนของการผลิตไวน์ขาว เปลือกขององุ่นจะถูกกำจัดออกไปและเราก็จะคัดเอาเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำองุ่นไปใช้ในการหมัก เพราะอย่างนั้นในไวน์ขาวจึงมีปริมาณเรสเวอราทรอลน้อยกว่าไวน์แดงนั่นเองค่ะ ส่วนโปรแอนโทไซยานิดิน (Proanthocyanidin) ที่อยู่ในเมล็ดองุ่นนั้นใครจะรู้ล่ะว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ต้านอักเสบได้อย่างเหลือเชื่อเชียวแหละ เพราะงั้นจึงลดความเสียหายต่อดีเอ็นเอ ไหนจะช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ และป้องกันเนื้อเยื่อสมองและตับจากปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ดีกว่าสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆเชียวล่ะค่ะ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไวน์ก็ยังคงเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ดี ถึงจะบอกว่าไวน์นั้นดีต่อสุขภาพของเรายังไงนั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเรานั้นจะดื่มกันอย่างเมามันส์จนเมามาย เพราะฉะนั้นการดื่มเพื่อให้ได้ประโยชน์ก็ต้องขึ้นอยู่กับปริมาณที่เรานั้นควรที่ดื่มเข้าไป ถ้าดื่มมากไปก็จะสามารถสร้างความเสียหายต่อสุขภาพของเราได้เช่นกันค่ะ และในส่วนที่แนะนำของปริมาณในการดื่มที่เหมาะสมก็คือ สำหรับผู้ชาย ควรที่จะดื่มไวน์ในปริมาณ 1-2 แก้ว และในผู้หญิงควรที่จะดื่มในปริมาณ 1 แก้ว อย่าลืมว่าสรีระร่างกายของผู้หญิงและผู้ชายนั้นแตกต่างกันด้วยนะคะ   

 

9 สุดยอดประโยชน์จากการดื่มไวน์

drinking-wine-1
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1. ชะลอความแก่ Anti Aging

คงจะเป็นประโยชน์ข้อแรกที่ทำให้อยากจะรีบวิ่งไปหาซื้อมาดื่มกันเลยทีเดียวค่ะ ก็เนื่องด้วยสารต้านอนุมูลอิสระในไวน์แดงช่วยป้องกันร่างกายจากความเสียหายจากอนุมูลอิสระและจะชะลอกระบวนการชรา ไวน์แดงมีความเข้มข้นของสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่าโพลีมากกว่า เมื่อเทียบกับน้ำองุ่น  นักวิจัยสเปนแนะว่าการดื่มไวน์แดงอาจช่วยชะลอความแก่ หลังพบสารเมลาโทนินในผิวองุ่น รวมถึงอาหารอีกหลายชนิด เช่น หอมหัวใหญ่ ข้าว และเชอรี่ สามารถปกป้องเซลล์จากการถูกทำลายตามอายุขัยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งควรจะเริ่มกินตั้งแต่อายุย่างเข้า 30 ปี และถึงแม้ว่าจะแสดงให้เห็นว่าการดื่มไวน์แดงนั้นอาจมีประโยชน์มากมาย เช่น การชะลอความแก่ชรา ช่วยปรับปรุงสุขภาพหัวใจ แต่คุณก็ควรที่จะดื่มในปริมาณที่เหมาะสมเช่นกันค่ะ

 

  2. ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ

หนึ่งในผลการศึกษาส่วนใหญ่ของไวน์แดงคือการป้องกันโรคหัวใจ การศึกษาจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าไวน์แดงมีสาร Resveratrol (ที่พบในผิวหนังและเมล็ดองุ่น) ที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด โดยการไปเพิ่ม HDL (ไขมันตัวดี) และเป็นการป้องกันไม่ให้เลือดเกาะกันเป็นก้อน เพราะฉะนั้นการดื่มไวน์แดงหนึ่งแก้ว (สำหรับผู้หญิง) หรือสองแก้ว (สำหรับผู้ชาย) จะทำให้ลดความเสี่ยงที่เกิดโรคหัวใจได้ 30-40 เปอร์เซ็นต์ การดื่มไวน์แดงในปริมาณที่พอเหมาะ อย่างสม่ำเสมอทุกวันเหมือนที่ชาวฝรั่งเศสปฏิบัติกันเป็นปกตินิสัย ทำให้ชาวฝรั่งเศสมีอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และโรคหัวใจล้มเหลวลดลงถึง 50 % แม้ชาวฝรั่งเศสจะบริโภคอาหารชนิดมีไขมันมากบ่อย ๆ เช่นเนื้อ หนัง เครื่องใน นมเนย แป้งต่าง ๆ เป็นปริมาณมากตลอดเวลาก็ตาม คอไวน์อย่างชาวฝรั่งเศสนั้นมีอัตราการเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจวาย หรือ Angina ต่ำมากเมื่อเทียบกับชนชาติอื่น ๆ ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนไวน์ขาวนอกจากจะเป็นเครื่องดื่มที่สร้างความสดชื่นให้กับร่างกายแล้ว ยังทำให้อาหารทะเลมีรสชาติถูกปากอร่อยลิ้น ที่สำคัญมีสรรพคุณช่วยย่อยอาหารและ สามารถกำจัดพิษจากอาหารทะเลที่เป็นอันตรายต่อระบบย่อยอาหารได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง

 

  3. ลดและป้องกันมะเร็ง

สาร Reservatrol เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งซึ่งพบได้ในองุ่น ผลราสเบอร์รี ถั่วลิสง และพืชอื่นๆ มีหลักฐานว่า เรสเวราทรอลนั้นลดอนุมูลอิสระและลดอัตราการเกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง รวมทั้งลดการเจริญเติบโตของมะเร็งในถาดเพาะเชื้อได้ นอกจากนั้นยังลดสารเอ็นเอฟ แคปปา บี (NF kappa B) ซึ่งเป็นโปรตีนที่สร้างโดยระบบภูมิคุ้มกันที่ถูกกระตุ้นอีกด้วยค่ะ    

 

  4. ลดปริมาณคอเลสเตอรอล

เป็นที่ทราบกันดีว่าในไวน์แดง มีแทนนินหรือความฝาดที่มีสารบางชนิด ซึ่งนอกจากจะป้องกันการเกิดโรคหัวใจแล้ว ยังช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ซึ่งคอเลสเตอรอลนี้เมื่อมีอยู่ในเส้นเลือดมาก ๆ จะทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงหัวใจไม่สะดวก โดยเฉพาะคนที่อ้วนมากๆ

 

  5. ช่วยในการย่อย

อาหารประเภททอด อาหารแปรรูป จะมีสาร malonaldehydes ซึ่งสารเหล่านี้อาจทำให้เกิดปัญหาทางเดินอาหารและเพิ่มความเป็นพิษของร่างกาย มีการศึกษาพบว่าการดื่มไวน์แดงกับอาหารดังกล่าวช่วยลบล้างสารเหล่านี้ในอาหารได้ถึงร้อยละ 60-70 ดังนั้นความสามารถในการช่วยการทำลายสารเหล่านี้ก็เป็นประโยชน์ในการย่อยอาหาร

 

  6. ช่วยในลดและคลายความเครียด

ไวน์แดงเป็นยากล่อมประสาทชนิดหนึ่ง และสามารถช่วยผู้ที่มีความผิดปกติทางประสาทหรือผู้ที่ประสบความวิตกกังวลต่างๆ และลดความเครียด นอกจากนี้ยังสามารถช่วยให้คุณนอนหลับดีขึ้นอีกด้วยค่ะ    

 

  7. ป้องกันโรคความจำเสื่อม

นักวิจัยพบว่าไวน์แดงช่วยลดความจำเสื่อมได้ โดยสาร resveratrol ในไวน์แดง มีผลในการป้องกันการเสื่อมของสมอง ทีมงานวิจัยได้ศึกษาคอไวน์ 7,983 คน ซึ่งดื่มไวน์เป็นประจำ วันละ 1 – 3 แก้ว ระหว่างปี1990 – 1999 พบว่าบุคคลดังกล่าวไม่เป็นโรคอัลไซเมอร์ และ โรคพาร์กินสันแต่อย่างใด      

 

  8. สุขภาพเหงือกและฟัน

ไวน์แดงมีคุณสมบัติต่อต้านแบคทีเรียในช่องปาก และนอกจากนี้งานวิจัย แสดงให้เห็นว่า สารโพลีฟีน เป็นสารธรรมชาติที่พบในเมล็ดองุ่นและไวน์แดงจะมีคุณสมบัติช่วยในการต้านการอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียของเหงือก หรือบอกได้ว่าจะป้องกันเหงือกอักเสบนั่นเองค่ะ

 

  9. ช่วยป้องกันหวัด

นักวิจัยสเปนได้พบว่าประโยชน์ของไวน์แดงนั้นดีต่อสุขภาพอีกอย่างหนึ่งคือ สามารถช่วยป้องกันหวัดได้ นักวิจัยได้กล่าวอีกว่าส่วนประกอบที่มีอยู่ในไวน์แดงนั่นแหละที่อาจมีคุณสมบัติช่วยป้องกันหวัด โดยก่อนหน้านั้นศูนย์โรคหวัดแห่งมหาวิทยาลัย คาร์ดีฟ เคยมีรายงานว่า คุณสมบัติของสารต้านอนุมูลอิสระ หรือสารแอนตี้ออกซิแดนท์อาจทำให้ไวน์แดง สามารถป้องกันหวัดได้นอกจากนี้ปัจจัยด้านการดำรงชีวิต เช่น การจิบไวน์แดงที่บ้าน แทนที่จะเป็นตามผับที่มีผู้คนมากมายก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยป้องกันหวัดได้  ซึ่งในขณะที่คุณสมบัติเหล่านี้ไม่มีในพวกเบียร์และน้ำอื่นๆ โดยที่ผลการศึกษาดังกล่าวนี้ได้มาจากการศึกษาอาสาสมัคร 4,000 คน เป็นเวลา 1 ปีโดยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย 5 แห่งพบว่า ผู้ที่ดื่มไวน์แดงมากกว่าวันละ 2 แก้ว เป็นหวัดน้อยกว่าคนที่ไม่ได้ดื่มไวน์เลยถึงร้อยละ 44 และการดื่มไวน์แดงเพียงวัน 1 แก้วก็สามารถป้องกันหวัดได้แล้วค่ะ

 

ในวันนี้อย่างน้อยเราก็ได้ทราบถึงเรื่องราวมหัศจรรย์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทที่เราเรียกว่า ”ไวน์” ถึงแม้ว่าไวน์จะไม่ใช่ยาวิเศษที่เมื่อดื่มเข้าไปแล้วจะช่วยเยียวยาทุกสิ่งอย่าง แต่ก็ทำให้เราได้ทราบว่าการดื่มไวน์ในปริมาณที่เหมาะสมก็สามารถส่งผลที่ดีต่อสุภาพเราได้เช่นกันค่ะ 😀

 

www.flickr.com/photos/wojtekszkutnik/7395684972/

www.flickr.com/photos/littlekim/219620954/

แคลเซียม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

milk-and-cookies-1
Source: Flickr (click image for link)

Calcium (แคลเซียม) เรามักจะคุ้นหูหรือได้ยินกันบ่อยๆ ถ้าพูดถึงแคลเซียมคนเราก็จะนึกถึงนมขึ้นมาทันที และพอพูดถึงนมก็จะนึกถึงกระดูกและฟัน เพราะในนมมีแคลเซียมและแคลเซียมก็ไปเสริมสร้างให้กระดูกและฟันของเราให้แข็งแรง ทำไมเราถึงต้องดื่มน้ำนมตั้งแต่อ้อนแต่ออกจนกระทั่งแก่ตัวลงแล้วยังต้องคอยดื่มนมกันอีกล่ะ วันนี้ HealthGossip จึงอยากนำข้อมูลเหล่านี้มาเสนอและให้พวกเรามาทำความรู้จักกับแคลเซียมกันให้มากขึ้น “แคลเซียม” เป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต กระดูก ฟัน เส้นผม และผิวหนัง ต่างก็เป็นส่วนของร่างกายที่ไม่สามารถปราศจากแคลเซียมได้ แม้เป็นที่ทราบกันดีว่า แคลเซียมมีผลกระทบต่อสุขภาพฟัน แต่คุณทราบหรือไม่ว่า แคลเซียมนั้นมีบทบาทสำคัญในการควบคุมความดันเลือดสูง (hypertension) และการควบคุมน้ำหนักตัวด้วยเช่นกัน เป็นที่เชื่อกันว่า แคลเซียม ตลอดจน เกลือแร่ชนิดจำเป็น เช่น แมกนีเซียม และโปแตสเซียม เป็นสิ่งจำเป็นต่อความสำเร็จของการบริโภคตามแบบ DASH (หรือ แนวทางการบริโภคเพื่อหยุดความดันเลือดสูง)

 

เกี่ยวกับแคลเซียม (Calcium)

  • แคลเซียม เป็นธาตุเกลือแร่ที่พบมากที่สุดในทุกส่วนของร่างกาย โดยในร่างกายคน 50 กิโลกรัม จะมีแคลเซียมอยู่ประมาณ 1 กิโลกรัม ซึ่งเกือบทั้งหมดจะอยู่ในกระดูกและฟัน
  • แคลเซียม เป็นแหล่งประกอบของฟันและกระดูกมากที่สุดของแคลเซียมที่มีอยู่ทั้งหมดในร่างกาย คิดเป็นประมาณ 99%
  • แคลเซียม มีหน้าที่สำคัญก็คือ การสร้างกระดูก ซึ่งกระดูกทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย รักษารูปร่างและลักษณะของร่างกายให้สวยงาม และยังเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อเป็นเกราะป้องกันอวัยวะภายในต่างๆ ของร่างกายไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือน
  • แคลเซียม ไม่ได้เป็นเพียงตัวเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่สำคัญในการทำงานของเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกายอีกด้วย
  • แคลเซียม ที่อยู่ในเนื้อเยื่อ ส่วนมากจะอยู่ในรูปของเกลือแคลเซียมฟอสเฟต ส่วนเซลล์ประสาท เนื้อเยื่อร่างกาย เลือด และของเหลวอื่นๆ ในร่างกาย ประกอบด้วยแคลเซียมที่เหลือ
  • แคลเซียม ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดที่ไหลออกจากบาดแผลเกิดแข็งตัวหยุดไหลได้
  • แคลเซียม สามารถช่วยต่อต้านได้อย่างดีต่อความดันโลหิตสูง อาการหัวใจกำเริบ อาการปวดก่อนมีประจำเดือน และ มะเร็งลำไส้
  • แคลเซียม จะเริ่มจากเมื่อร่างกายได้รับ แคลเซียม จากอาหารก็จะถูกกรดในกระเพาะทำให้ แคลเซียม แตกตัวได้ดีขึ้นและถูกดูดซึมได้ง่ายขึ้นจากบริเวณลำไส้ส่วนต้น โดยอาศัย Calbindin-D
  • แคลเซียม ปกติแล้วร่างกายจะดูดซึมได้ประมาณร้อยละ 20-40 หลังจากนั้น แคลเซียม จะเข้าสู่เลือดผ่านไปตามระบบไหลเวียนโลหิตแล้วไปสู่อวัยวะต่างๆ ส่วนใหญ่จะเข้าสู่กระดูก นอกนั้นเข้าสู่เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ที่เหลือจะถูกขับออกทางปัสสาวะ
  • แคลเซียม ที่มีระดับปกติก็คือ จำนวนเงินที่ติดกระเป๋าอยู่สำหรับใช้จ่ายในแต่ละวัน โดย แคลเซียม ส่วนที่ถูกขับออกทางปัสสาวะและ แคลเซียม ที่ใช้เพื่อการซ่อมแซมกระดูกเปรียบเสมือนค่าใช้จ่ายประจำวัน
  • แคลเซียม ในกระดูกเสมือนเงินฝากในธนาคาร แคลเซียมรับจากอาหารเสมือนรายได้ประจำวัน ถ้ารายรับมากกว่ารายจ่าย อาจมีเหลือเก็บในธนาคารซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการสะสมแคลเซียมในกระดูก ถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่ายก็ต้องถอนจากธนาคารเพื่อนำไปใช้จ่ายก็จะทำให้เกิดการขาดดุล ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้อยู่เป็นประจำเงินในธนาคารก็จะร่อยหรอไป
  • แคลเซียม ถ้าร่างกายได้รับไม่พอเพียงต่อความพยายามรักษาระดับแคลเซียม ให้ปกตินั้น จำต้องละลาย แคลเซียม จากกระดูกมาเพิ่มให้กับเลือด ทำให้ แคลเซียมในกระดูกค่อยๆลดลง สุดท้ายแคลเซียมหรือเงินที่ติดกระเป๋าอยู่ก็ลดลงจนไม่พอใช้นั่นเอง
  • แคลเซียม พบมากในนมและผลิตภัณฑ์จากนม แต่ก็พบได้ในอาหารทั่วๆ ไป ดังนี้ อาหารที่พบ (เทียบเป็น % โดยน้ำหนัก) กุ้งแห้งตัวเล็ก 2.31%, กะปิ 1.56%, มะขามฝักสด 0.43%, ยอดแค 0.40%, ยอดสะเดา 0.35%, คะน้า 0.25%, เต้าหู้เหลือง 0.16%, นมสด 0.12%
  • แคลเซียม ที่เป็นอาหารเสริมจะมีจำหน่ายอยู่ทั่วไปและราคาไม่แพง โดยมักจะอยู่ในรูปของ แคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมกลูโคเนต แคลเซียมซิเตรด แคลเซียมซิเตรดมาเลต แคลเซียมแลคเตต และแคลเซียมฟอสเฟต
  • แคลเซียม ที่เป็นอาหารเสริมเหล่านี้ก็จะขึ้นกับว่าในแต่ละแบบจะให้แคลเซียมแก่ร่างกายเท่าไร เช่น แคลเซียมคาร์บอเนตจะให้ปริมาณแร่ธาตุแคลเซียม ประมาณ 40% แคลเซียมกลูโคเนตจะให้ปริมาณแร่ธาตุ แคลเซียม ประมาณ 9% ทั้งนี้ยังขึ้นกับการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายด้วย มีการค้นพบว่าแร่ธาตุ แคลเซียม ที่ได้จากแคลเซียมซิเตรดจะถูกดูดซึมได้ดีกว่าที่ได้จากคอร์บอเนต
  • แคลเซียม ลดอาการโรคกระเพราะ หากรับประทาน แคลเซียม ในรูปของแคลเซียมคาร์บอเนตซึ่งเป็นรูปแบบของยาลดกรดตัวหนึ่ง จึงไปช่วยลดอาการ โรคกระเพราะลงได้
  • แคลเซียม โรคนอนไม่หลับ มีหลายๆ คนที่มีปัญหาโรคนอนไม่หลับอันเนื่องมาจากมีระดับ แคลเซียม ในเลือดต่ำ ดังนั้นการรับประทาน แคลเซียม ร่วมกับ แมกนีเซียม จะช่วยลดอาการนี้ได้ดี
  • แคลเซียม ป้องกันอาการ ไมเกรน เนื่องการรับประทาน แคลเซียม ร่วมกับ แมกนีเซียม จะช่วยให้ระบบหลอดเลือดและสมองมีการทำงานดีขึ้น จึงช่วยลดอาการ ไมเกรน ลงได้
  • แคลเซียม ทุกชนิดไม่ควรทานพร้อมยาประเภทอื่นเพราะทำให้การดูดซึมยานั้นๆน้อยลง และไม่ควรทานหลังอาหารที่มีผักมากๆ เนื่องจากทำให้การดูดซึมน้อยลงและอาจจับกับผักทำให้อืดแน่นท้อง
  • เมื่อทานแคลเซียม ควรรับประทานอาหารที่มีความสมดุลย์ของโปรตีนเพื่อลดความเสี่ยงในการก่อให้เกิดภาวะนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
  • การดูดซึมแคลเซียม ยังขึ้นกับภาวะความปกติของระดับวิตามินดีในร่างกาย ถ้ามีภาวะขาดวิตามินดี ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมได้น้อย เมื่อดูดซึมแล้วร่างกายก็ไม่สามารถนำแคลเซียมไปใช้ในการสร้างกระดูกได้ดี การดูดซึมแคลเซียมยังขึ้นกับภาวะความปกติของระดับวิตามินดีในร่างกาย ถ้ามีภาวะขาดวิตามินดี ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมได้น้อย เมื่อดูดซึมแล้วร่างกายก็ไม่สามารถนำแคลเซียมไปใช้ในการสร้างกระดูกได้ดี

อย่างไรก็ตาม แคลเซียมเป็นแร่ธาตุเสริมที่น่าสนใจเป็นอย่างมากที่เดียวค่ะ โดยเฉพาะสำหรับสุภาพสตรีที่กลัวภาวะกระดูกพรุน หน่วยงานวิชาการส่วนใหญ่แนะนำให้ผู้สูงอายุได้รับแคลเซียมเสริมอย่างน้อยวันละ 1,000 – 1,200 มก. ต่อวัน ทั้งนี้นับรวมถึงอาหารที่เรารับประทานต่อวันด้วย อาหารที่เรารับประทานมีแคลเซียมอยู่วันละประมาณ 360 กรัม ดังนั้นความต้องการแคลเซียมเสริมส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ 600- 800 มก ความต้องการของแคลเซียม เบื้องต้นวัดได้จากสมดุลระหว่างปริมาณแคลเซียมที่ถูกดูดซึมจากอาหารเข้าสู่ร่างกาย และปริมาณที่สูญเสียออกจากร่างกายผ่านการขับถ่ายปกติ และจากการซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมาทดแทน ในวัยผู้ใหญ่ การดูดซึมแคลเซียมโดยรวม จำเป็นต้องพอดีกับอัตราการสูญเสียออกจากร่างกายหากไม่ต้องการให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูก และลดความเสี่ยงของโรคและการแตกหักของกระดูก  ในวัยเด็กและผู้ใหญ่ จำเป็นต้องมีการดูแลเพิ่มเติมให้เพียงพอต่อความต้องการการเจริญเติบโตของกระดูก ปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นเป็นสิ่งจำเป็นในบางช่วงเวลา เช่น ในระหว่างตั้งครรภ์ ช่วงให้นมบุตร และระยะมีประจำเดือนเริ่มต้น เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะที่เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยในแต่ละวัยร่างกายสามารถสะสมปริมาณ แคลเซียม ในระดับที่แตกต่างกัน ดังนี้

เด็กแรกเกิด – 9 ขวบ มีความสามรถในการสะสม แคลเซียม ได้ 100 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน

เด็กอายุ 10 ขวบ มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 100-150 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน

ช่วงวัยรุ่น มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 200-400 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน

ชายและหญิงอายุ 18 ปี มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 50-100 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน

ผู้ใหญ่อายุ 30 ปี มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 0 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน ซึ่งหมายความว่า หลังจากอายุ 30 ปีไปแล้ว ร่างกายจะไม่สะสม แคลเซียม อีกต่อไป จึงต้องมีการเติม แคลเซียม ให้ร่างกายเพื่อรักษาระดับ แคลเซียม ในกระดูก

 

ประโยชน์ของแคลเซียม

แคลเซียม ในร่างกายเกือบทั้งหมดจะสะสมในกระดูกและฟัน ซึ่งเป็นที่ๆ มันๆ ไปช่วยทำให้เกิดความแข็งแรง อีกทั้งจะมีปริมาณ แคลเซียม จำนวนน้อยๆ ที่อยู่ในกระแสเลือดที่จะมีส่วนช่วยในการสร้างฮอร์โมนและเอนไซม์ต่างๆ เพื่อให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ เช่น

  • แคลเซียม ทำหน้าที่เป็นตัวนำสัญญาณระหว่างเซลประสาทให้สื่อสารกันได้เป็นปกติ
  • แคลเซียม ช่วยให้กล้ามเนื้อหดตัวได้เป็นปกติ ที่สำคัญคือกล้ามเนื้อหัวใจ
  • แคลเซียม ช่วยในขบวนการทำให้เลือดแข็งตัว
  • แคลเซียม ช่วยในขบวนการสร้างภูมิคุ้มกันโรค

โดยส่วนใหญ่จะแนะนำให้รับประทานแคลเซียมร่วมกับ แมกนีเซียม และ วิตามินดี ซึ่งที่จริงแล้วร่างกายเราจะได้รับ วิตามินดี จากแสงแดดธรรมชาติอยู่แล้ว และยังพบในอาหารต่างๆ อีก วิตามินดีจะช่วยให้ แคลเซียม ถูกดูดซึมได้เป็นปกติ ส่วน แมกนีเซียม ซึ่งเป็นวิตามินที่สำคัญของร่างกายและอาจจถูกยับยั้งการดูดซึมจาก แคลเซียม ได้ ดังนั้นจึงแนะนำให้รับประทาน แคลเซียม คู่กับ แมกนีเซียม ไปด้วยกัน

 

แคลเซียมกับโรคกระดูกพรุน  ถ้ากระดูกเราแข็งแรงก็จะช่วยป้องกันโรค กระดูกพรุน ได้หรือทำให้เป็นช้าลง ดังนั้นเราควรพยายามรับประทาน แคลเซียม ให้เพียงพอและต่อเนื่องทุกวัน ซึ่งจะทำให้ร่างกายไปสะสม แคลเซียม ที่กระดูก และทำให้กระดุกแข็งแรง หากเราได้รับ แคลเซียม ไม่เพียงพอก็จะทำให้ก็จะทำให้กระดูกบางลง และทำให้หักได้ง่าย ความสูงไม่เพิ่มขึ้นหรือเตี้ยกว่าที่ควรจะเป็น ได้มีการศึกษาพบว่าถึงแม้ว่าในอายุที่น้อยกว่า 35 ปีร่างกายมักจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพกระดูกและฟัน ทั้งนี้คนที่อายุมากกว่า 65 ปี และพยายามรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วย แคลเซียม หรือรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการสูญเสียมวลกระดูกและการเกิดอาการกระดูกหักได้ อีกทั้งในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับอาการปวดหลัง ลองรับประทาน แคลเซียม ร่วมกับ แมกนีเซียม ซึ่งจะทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้นและลดอาการดังกล่าวได้

 

แคลเซียมกับความดันโลหิตสูง มีการศึกษาพบว่าคนที่ความดันโลหิตสูงมักจะรับประทาน แคลเซียม น้อยกว่าคนปกติ และยังพบอีกว่าการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้ว แคลเซียม หรืออาหารเสริมช่วยลดความดันโลหิตลงในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ทั้งนี้เป็นเพราะ แคลเซียม ช่วยให้กล้ามเนื้อบีบตัวได้ดีและทำให้หัวใจและหลอดเลือดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงได้

 

แคลเซียมกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ แคลเซียม ช่วยป้องกัน มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้มายาวนาน และพบว่าคนที่มีความเสี่ยงที่จะเป็น มะเร็งลำไส้ใหญ่ จะมีแน้วโน้มลดลงได้เมื่อรับประทาน แคลเซียม มีการพบว่าหลังได้รับ แคลเซียม การแบ่งเซลที่ผิดปกติลดลง มันดูเหมือนว่า แคลเซียม จะไปลดผลการรบกวนของน้ำดีและกรดไขมันในลำไส้ลงที่เป็นสาเหตุของการแบ่งเซลที่ผิดปกติในลำไส้

 

แคลเซียมกับอาการปวดก่อนมีประจำเดือน มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า แคลเซียม ช่วยบรรเทาอาการปวดก่อนมีประจำเดือน และรวมทั้ง อารมณ์ที่แปรปรวน ซึมเศร้า และอื่นๆ ที่มักจะเกิดก่อนที่จะมีประจำเดือน ทั้งนี้เพราะการที่มีระดับ แคลเซียม ในร่างกายต่ำส่งผลให้ระดับฮอร์โมนผิดปกติไปด้วย มีการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้เองในผู้หญิงหลายร้อยคนให้รับประทาน แคลเซียม ขนาด 750 มิลลิกรัมครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง พบว่าอาการที่เกี่ยวข้องที่มักเกิดก่อนมีประจำเดือนรวมทั้งอาการปวดลดลงอย่างเห็นได้ชัด ความรุนแรงก็ลงกว่าครึ่ง

 

ดังนั้นหน้าที่สำคัญเหล่านี้ทำให้ร่างกายขาด แคลเซียม ไม่ได้เลย ดังนั้นเมื่อร่างกายขาดก็จะไปดึงมาจากกระดูกแทน ส่งผลให้กระดูกไม่แข็งแรง แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่คนส่วนใหญ่รับประทาน แคลเซียม น้อยกว่าครึ่งของที่ควรจะได้รับต่อวัน ทำให้กระดูกก็จะบางลง และไม่แข็งลงเรื่อยๆ และเรามักจะทราบว่าเราเป็นโรค กระดูกพรุน ก็ต่อเมื่อเกิดอาการกระดูกหักง่ายแม้กระทบเพียงเล็กน้อย สำคัญไม่น้อยเลยนะเนี้ย ^^

 

www.flickr.com/photos/lifeviaplanes/15710800066/