Browse Tag: ฮอร์โมน

3 ข้อเคล็ดลับสุดยอดของสูตรต้านความแก่

cute-hair-1
Source: Flickr (click image for link)

วันนี้ HealthGossip มีบทความให้มาอ่านกันเล่นๆแต่เนื้อหาที่มีสาระ เกี่ยวกับเรื่องของความแก่ที่เป็นเรื่องที่รบกวนจิตใจใครหลายๆคน ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย โดยเฉพาะผู้หญิง คำว่า แก่ พูดเบาๆก็เจ็บค่ะ เป็นอะไรที่ได้ยินแล้วรู้สึกไม่ลื่นหูเอาซะเลย ต่อให้ไม่พูดว่าแก่ แต่พอเราบอกให้คนอื่นทายอายุทีไร ชอบตอบเกินอายุจริงซะเหลือเกิน ทำยังกับหน้าตาเรามันทรยศกับอายุซะยังไงยังงั้นแหนะ ยากที่จะทำใจยอมรับได้ หากใครมาพูดให้ได้ยินใกล้ๆแล้วล่ะก็แทบอยากจะทำเนียนเป็นไม่รู้ ไม่เข้าใจซะดื้อๆ อึนๆเนียนๆไป เพราะอย่างนี้ไม่รีรอค่ะ เราจึงได้นำเรื่องราวเกี่ยวกับการชะลอความแก่มาลงให้หลายๆคนได้อ่านกัน อย่างน้อยเผื่อมันจะเป็นอีกทางเลือกทางหนึ่ง หรือสำหรับบางคนที่สนใจจะลองนำไปปรับใช้ก็ไม่ว่ากันค่ะ โดยแนวทางการแพทย์เวชศาสตร์อายุวัฒน์ กำลังได้รับความนิยมเพราะใครๆ ก็อยากอยู่อย่างมีคุณภาพด้วยอายุขัยที่มากขึ้นและกฌอยากมีความอ่อนเยาว์อยู่ตลอดกาลก็ไม่ปาน และอาหารก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญของการชะลอความแก่ของวัย คำว่า เวชศาสตร์อายุวัฒน์ โดย นายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช บัญญัติจาก ภาษาสันสกฤตสองคำนำมาสมานกันโดยให้ความหมายตรงกับคำว่า Anti aging คือการมีชีวิตที่ยืนยาวและเจริญรุ่งเรือง หรือ มีคุณภาพชีวิตที่ดี นั่นเองค่ะ (อายุ (Ayu)=ชีวิต,วัฒนะ=เจริญรุ่งเรือง) จากการบรรยายของนายแพทย์ กฤษดา ศิรามพุช เจ้าของหนังสือขายดี ถอดรหัสความชรา ตอนชีวิตเริ่มต้นที่ หกสิบปี ในหัวข้อ Anti aging medicine and Nano Era ให้กับผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่สนใจแนวทางการมีชีวิตยืนยาว โดยไม่เจ็บป่วย ป่วยไข้ ที่โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน ในเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา แนวทางการแพทย์ที่นับว่าเป็นแนวทางใหม่ล่าสุดที่ได้รับการคาดหมายว่า จะกลายเป็นการแพทย์ศตวรรษใหม่ คือ เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ ซึ่งเป็นคำจำกัดความของคุณหมอในการแปลหนังสือเล่มแรก อายุยืนควรกำหนดได้ หรือ Life Extension Revolution ของนายแพทย์ฟิลลิป มิลเลอร์ กูรู ด้าน Anti aging medicine ซึ่งหากจะให้คำจำกัดความง่ายๆ ศาสตร์การแพทย์แผนใหม่นี้ คือ การทำความเข้าใจถึงสาเหตุของความแก่ชรา หาจุดอ่อนในร่างกายของแต่ละบุคคลที่ทำให้ความชรามาเยือน แล้วจึงแก้ไขให้ตรงจุดโดยอาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เมื่อรวมกับความคาดหมายถึงความสำเร็จของ Nanomedicine หรือยานาโน ซึ่งจะเข้าไปทำงานในร่างกายระดับเซลล์ จึงทำให้ศาสตร์นี้เป็นความหวังใหม่ของมนุษยชาติ

ในหัวข้อนี้นอกจาเราจะเสนอสูตรวิธีในการรับประทานอาหารเพื่อชะลอความแก่แล้ว เรายังมีเคล็ดลับ ปัจจัยต่างๆที่เป็นผลกระทบต่อการทำให้เราแก่เร็วขึ้นมาบอกกันอย่างครบเครื่องกันเลยทีเดียวค่ะ

 

สูตรสุดยอดอาหารต้านความแก่

หัวใจสำคัญของการไม่ยอมแก่

แนวทางง่ายๆสำหรับการชะลอวัยที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง เอาไว้เป็นสามแนวทางคือ

  1. จำกัดปริมาณที่ได้รับจากอาหาร แต่ต้องถูกต้องตามหลักโภชนาการ
  2. ใช้ชีวิตด้วยวิถีสุขภาพ
  3. ดูแลสุขภาพจิตให้แข็งแรง

โดยจะเน้นไปที่การจำกัดพลังงานที่ได้รับหรือกินอาหารให้น้อยลง แต่ยังคงคุณค่าของสารตามที่ร่างกายต้องการไว้ ถือ ได้ว่าเป็นหัวใจของการชะลอวัยเลยทีเดียว เพราะหากสาเหตุของความแก่ตัวลงของเซลล์มาจากการเผาผลาญอาหาร หรือกระบวนการเมตาบอลิซึม ทำให้เกิดของเสียจากการเผาผลาญพลังงาน นั่นคือ อนุมูลอิสระ ซึ่งเจ้านี่เองที่ทำให้เกิดรอยเหี่ยวย่น และอาการแสดงออกของความแก่ต่างๆ โดยสูตรสุดยอดที่จะชะลอความแก่ มีดังนี้

  1. อาหาร

เมื่อหัวใจของสุขภาพร่างกายคืออาหาร ซึ่งเวชศาสตร์อายุวัฒน์ก็เน้นเรื่องของอาหารมากเช่นกัน มีความพยายามมากมายที่จะหาทางต้านความแก่ จนกลายเป็นการทดลองใช้ยาหลายๆชนิดรวมกัน ซึ่งก็พบว่าสามารถชะลอความแก่ได้ อันเรียกว่า ทฤษฎี poli-pill ในขณะเดียวกันมีแนวความคิดใหม่เกิดขึ้นเนื่องจากคงไม่มีใครอยากกินยาวันละมากๆเพียงเพื่อการมีชีวิตอยู่ แต่หากเปลี่ยนเป็นอาหาร ก็ดูท่าว่าจะมีความเป็นไปได้สูงและผลของการทดลองก็ออกมาได้อย่างน่าตื่นเต้น เมื่อพบว่าเมื่อกินอาหาร 6 อย่างนี้ ในปริมาณที่กำหนดให้ ผลการต้านความชราได้เท่ากับการกินยาหลากหลายเม็ด เรียกแนวคิดนี้ว่า poly-meal

  • ดื่มไวน์วันละ 150 มล. เนื่องจากเรสเวอราทรอลจากไวน์เป็นยอดยาอายุวัฒนะชั้นเลิศ
  • ปลาจากน้ำทะเลลึกวันละ 118 กรัม เพิ่มปริมาณ Omega 3 ให้กับร่างกาย
  • ช็อคโกแลตดำวันละ 100 กรัม (ซึ่งช็อกโกแลตชนิดนี้จะไม่หวานมันเหมือนช็อกโกแลตอื่นๆ)
  • ผักและผลไม้ วันละ 400 กรัม
  • กระเทียม วันละ 2.7 กรัม

อาหารต่างๆ เหล่านี้เรารู้จักกันดี แต่อาจไม่ได้มีโอกาสรับประทานบ่อยนัก หรือเป็นอาหาร ยี้ สำหรับคนบางคนเลยทีเดียว แต่หากดูจากผลการวิจัยพบว่าอาหารต่างๆเหล่านี้ ช่วยชะลอความชราให้คุณได้จริงๆ ซึ่งเปรียบเทียบกับอีกแนวทางที่นำเสนอ คือ การกินยาให้หลากหลาย หรือ poly-meal เป็นสิ่งที่น่าพิสมัยกว่ากันเยอะ

2. ฮอร์โมน…การควบคุมจิตใจ

จุดที่เป็นความต่างของศาสตร์นี้อีกประการ คือ การทำความเข้าใจกับฮอร์โมนร่างกาย ซึ่งเปรียบเหมือนตัวควบคุมร่างกายที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของระบบประสาท ของเหลวที่ผลิตขึ้นจากต่อมไร้ท่อที่เรียกว่าฮอร์โมนนั้น จะมีระดับการผลิตมากหรือน้อยแตกต่างกันไปแต่ละบุคคล ฮอร์โมนนับสิบชนิดที่ทำหน้าที่ต่างกัน กับเชื่อมโยงร้อยเรียงกัน จุดเดียวกับการบรรเลงบทเพลงซิมโฟนีและสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความรู้สึก อาจกล่าวได้ว่าสมองควบคุมร่างกายด้วยเส้นประสาท ส่วนจิตใจควบคุมด้วยร่างกายด้วยฮอร์โมนก็ว่าได้ ศาสตร์แห่งฮอร์โมนจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนซึ่งเวชศาสตร์อายุรวัฒน์ให้ความสำคัญ โดยการตรวจวัดความสมดุลฮอร์โมนและเติมฮอร์โมนที่ขาดลงไปซึ่งเป็นกระบวนการที่ละเอียดอ่อนเนื่องจากปริมาณฮอร์โมนกระแสเลือดนั้นมีน้อยมาก เช่น ฮอร์โมนเสตียรอยด์ และไทรอยด์ฮอร์โมน ในพลาสมามีเพียง 10-6 และ 10-9 เท่านั้น การให้ฮอร์โมนเสริมจึงเป็นเรื่องที่จะต้องระมัดระวังและละเอียด ถึงขนาดที่คุณหมอกฤษดา เรียกว่า การจูลฮอร์โมนกันหลายที่ทีเดียว เพราะฮอร์โมนทุกตัวสัมพันธ์กันหมด หากใช้รูปแบบของศาสตร์อายุรวัฒน์ จากตะวันตกคงไม่สามารถนำประโยชน์ของศาสตร์นี้มาใช้ได้อย่างเต็มที่ คุณหมอจึงให้ประยุกต์เข้ากับวิถีคนไทย โดยอิงหลักการพื้นฐานของการผลิตฮอร์โมนในร่างกาย คือ อารมณ์และจิตใจ ที่มีความสัมพันธ์กับ ระดับฮอร์โมน โดยผสมเข้ากับแนวทางของพุทธศาสนา จนพบว่าการนั่งสมาธิและการทำจิตใจว่าง เป็นเครื่องมือชั้นดีในการคุมระดับฮอร์โมนในร่างกายให้อยู่ในระดับสมดุล กลายเป็นศาสตร์แห่งการผสมผสานที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง และมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ

3. วิถีชีวิตและสุขภาพ

– ดูแลหุ่นให้เพรียวไว้ จะเรียกได้ว่า ยิ่งผอมยิ่งอยู่ได้นานก็ไม่ผิด

– อย่าพยามยามให้เกิดแผลในร่างกาย เพราะการติดเชื้อเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ร่างกายเสื่อม

– เลิกสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นตัวการของความแก่ของผิวพรรณ และโรคร้ายต่างๆ

– อย่าปฏิเสธวิตามินและเกลือแร่เสริม หากคุณไม่สามารถกินอาหารได้ครบ 5 หมู่

– เลือกอาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว

– ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะ ใส่เสื้อผ้าป้องกันแสงแดด เพื่อมิให้ผิวพรรณเหี่ยว หรือ มีรอยด่างดำ รวมทั้งฝ้า กระ

– ลดเวลาในการใช้โทรศัพท์มือถือ

– หัวเราะให้กับชีวิต

– ชะลอความเร่งรีบในชีวิตลงบ้าง

 

ปัจจัยในการดำรงค์ชีวิตไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดำเนินกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันรสมถึงสุขภาพจิตใจ ฮอร์โมนของเรา ล้วนแต่เป็นผลกระทบหลักที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียของร่างกาย และก็เป็นวิธีที่เราสามารถเลือกปฎิบัติและเลือกรับประทานกันได้ทั้งนั้น อยู่ที่เราจะรักษาดูแลกันมากน้อยแค่ไหน หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้หลายๆคน หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ก่อนที่จะตัสินใจเสียเงินมากมายในการดูแลภายนอกแค่เพียงทางเดียวนะคะ 🙂

 

www.flickr.com/photos/angel_ina/4908486912/

กรดอะมิโน (amino acid) คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

Source: Flickr (click image for link)

“กรดอะมิโน (amino acid)” เป็นหัวข้อที่จะนำเสนอหลังจากได้ทำความรู้จักกับกรดอะมิโนจำเป็นที่สำคัญไป เลยทำให้คิดได้ว่าหลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าแล้วกรดอะมิโนจริงๆ แล้วมันคืออะไรกันนะ วันนี้เลยไม่รีรอที่จะนำเอาข้อมูลและรายละเอียดที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกรดอะมิโนมาเขียนและนำเสนอให้หลายๆ ท่านที่อาจจะยังไม่รู้จัก หรือรู้จักบ้างแต่ยังไม่ค่อยเข้าใจกันเท่าไหร่ จะว่าไปแล้วพวกเราอาจจะคุ้นเคยกับชื่อนี้กันเป็นอย่างดีถ้าเราตั้งใจเรียน พยายามนั่งอยู่หน้าสุดในชั้น หรือแม้แต่แอบหลับในพวกคาบวิชาชีววิทยา วิชาเคมี ก็คงจะคุ้นหูผ่านตามาบ้าง อาจจะพอทำให้รู้มาบ้างว่า กรดอะมิโน (amino acid) คือ ชีวโมเลกุลที่มีทั้งหมู่ฟังก์ชันอะมิโนและคาร์บอกซิลเป็นส่วนประกอบ กรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด โดยในวิชาชีวเคมี คำว่า “กรดอะมิโน” มักหมายความถึงกรดอะมิโนแบบแอลฟา (alpha animo acids) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทั้งหมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิลติดอยู่กับคาร์บอนอะตอมเดียวกัน เรียกว่า แอลฟาคาร์บอนค่ะ ด้วยแค่เนื้อหาที่กล่าวมาก็คงทำให้หลายๆ คนเกิดอาการง่วงรวมถึงผู้เขียนด้วย ดังนั้นการที่เราจะมาเขียนเรื่องราวของกรดอะมิโนในวันนี้ เราจึงจะเน้นไปในทางด้านของสุขภาพและความสำคัญต่อร่างกายยังไงบ้างแบบมีสาระสำคัญเน้นๆ กันไปเลย ก่อนที่เราจะพากันง่วงไปกว่านี้ไปเข้าเรื่องเลยดีกว่าค่ะ

 

กรดอะมิโน (amino acid) คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

Source: Flickr (click image for link)

ในด้านของสุขภาพและความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์อย่างเราๆ กรดอะมิโน คือ โปรตีนที่ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กที่สุดเพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้ ความจริงแล้วรองจากน้ำที่เป็นส่วนประกอบใหญ่ที่สุดในร่างกายของมนุษย์เราก็จะเป็นโปรตีนที่ประกอบอยู่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ และแน่นอนว่าโปรตีนมีบทบาทสำคัญในเกือบทุกระบบของกระบวนการทางชีววิทยาที่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหลายโครงสร้างรวมทั้งหน้าที่ในร่างกายของเราด้วยค่ะ และเมื่อร่างกายของเราได้ทำการย่อยโปรตีนแล้วโปรตีนเหล่านั้นจะอยู่ในรูปของกรดอะมิโน โดยกรดอะมิโนจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการต่างๆ ของร่างกายนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนของเซลล์กล้ามเนื้อรวมถึงเนื้อเยื่อส่วนใหญ่ก็ประกอบไปด้วยกรดอะมิโนค่ะ ซึ่งก็หมายความว่าเซลล์เหล่านี้ทำหน้าที่สำคัญในร่างกายของมนุษย์เราหลายอย่างมากมาย กรดอะมิโนที่พบในอาหาร พบว่า ไข่ มีกรดอะมิโนจำเป็นที่สมบูรณ์ครบถ้วนต่อความต้องการของร่างการวมถึงโปรตีนจากสัตว์ทั่วไป จำพวก เนื้อสัตว์ เนื้อปลา นม และอื่นๆ ก็มีปริมาณกรดอะมิโนที่เพียงพอค่ะ ส่วนแหล่งที่มาของกรดอะมิโนในที่พบในพืช ได้แก่ พืชตระกูลถั่ว เมล็ดธัญพืช ถั่ว และเมล็ดพืช แต่ถ้าว่าเลือกรับประทานแค่เพียงชนิดใดชนิดหนึ่งก็จะได้รับปริมาณกรดอะมิโนที่ไม่เพียงพอ  ดังนั้นคนที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์หรืออยากได้รับโปรตีนและกรดอะมิโนจากพืชก็ควรสามารถตรวจสอบปริมาณของชนิดอาหารนั้นๆ เลือกรับประทานอาหารที่หลากหลายของอาหารประเภทพืชตระกูลถั่วต่างๆ และธัญพืชค่ะ

วามสำคัญของกรดอะมิโน (amino acid)

  • สร้างโครงสร้างของเซลล์
  • มีบทบาทสำคัญในการขนส่งและการจัดเก็บสารอาหาร
  • กรดอะมิโนมีอิทธิพลต่อหน้าที่ของอวัยวะ ต่อม เส้นเอ็น และเส้นเลือด
  • มีความจำเป็นในการสร้างเอนไซม์หรือน้ำย่อยต่างๆ ร่วมถึงฮอร์โมน และสารสื่อประสาท
  • มีความจำเป็นสำหรับการรักษาบาดแผลและการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
  • ซ่อมแซมกล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนังและเส้นผมตลอดจนการกำจัดของเสียประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญ
  • กระบวนการย่อยสลายของสารอาหารภายในเซลล์ทั่วร่างกาย

กรดอะมิโนมีบทบาทสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาผลาญของร่างกายของเราและเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต การซ่อมแซม การขนส่ง การจัดเก็บ และการใช้งาน กรดอะมิโนมีผลต่อองค์ประกอบต่างๆ มากมาย รวมไปถึงกล้ามเนื้อ อวัยวะ ระบบการย่อย เลือด และระบบการทำงานของสมอง เนื่องด้วยร่างกายของเราต้องใช้กรดอะมิโนที่แตกต่างกันถึง 20 ชนิด เพื่อความสมบูรณ์ในการทำหน้าที่ต่อสุขภาพและร่างกายของเรา จาก 20 ชนิดของกรดอะมิโนที่ร่างกายของเราต้องการ ซึ่งมีกรดอะมิโนที่ร่างกายของเราสามารถสร้างขึ้นมาเองได้อยู่ 11 ชนิด และมีอีก 9 ชนิดที่ร่างกายของเราไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้โดยจะได้รับจากอาหารที่เรากินเข้าไป จะเรียกกรดอะมิโนนี้ว่า กรดอะมิโนที่จำเป็น ปริมาณของกรดอะมิโนแต่ละชนิดที่ร่างกายของเราต้องการจะแตกต่างกันไป จากกรดอะมิโน 20 ชนิดซึ่งเป็นโปรตีนในร่างกายของเราจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทที่สำคัญ ดังนี้

1.กรดอะมิโนที่จำเป็น เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายของเราไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับจากอาหารที่เรากินเข้าไป มีกรดอะมิโนที่จำเป็น 9 ชนิด คือ histidine, isoleucine, leucine, lysine, methionine, phenylalanine, threonine, tryptophan valine และ arginine โดย arginine จะจัดอยู่ในกลุ่มของเด็กทารกเท่านั้นเนื่องจากเด็กทารกไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ร่างกายจึงสามารถสร้างขึ้นเองได้ ดังนั้นเด็กทารกจะต้องการกรดอะมิโนจำเป็นจำนวน 10 ชนิด ส่วนวัยผู้ใหญ่ที่สามารถสร้างอาร์จีนีนได้แล้วจะมีกรดอะมิโนจำเป็นเหลือเพียง 9 ชนิดค่ะ

2. กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายของเราสามารถสร้างหรือสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ เช่น alanine, asparagine, aspartic acid, cysteine, glutamic acid, glutamine, glycine, proline, serine, and tyrosine

 

อย่างไรก็ตามการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมและหลากหลายก็ยังคงเป็นแนวทางการเลือกปฎิบัติที่สำคัญ แค่เพียงเราทราบว่าอาหารแต่ชนิดแต่ละประเภทคืออะไร มาจากไหน มีอะไรบ้าง เราก็สามารถเลือกและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมต่อสุขภาพและตัวเราเองได้ค่ะ  หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยทำให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของกรดอะมิโน (amino acid) มากขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อยนะคะ

 

www.flickr.com/photos/149561324@N03/25388616628/

www.flickr.com/photos/_sk/5086171972/

L-lysine (แอล ไลซีน) คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร

Source: Flickr (click image for link)

L- lysine (แอล ไลซีน) หรือไลซีน เป็นหัวข้อที่น่าสนใจไม่น้อยที่ว่าความเป็นไปเป็นมาของไลซีนนี้เป็นยังไง คืออะไร เนื่องจากผู้เขียนได้ไปเห็นอาหารเสริมที่เรียกว่า L-lysine เยอะแยะเต็มไปหมดตามร้านขายยาหรือร้านขายวิตามินต่างๆ เลยทำให้อดสงสัยและสนใจไม่ได้เลยว่าจะมีความสำคัญต่อร่างกายเราอย่างไรนะ ซึ่งเอาตามตรงแล้วผู้เขียนรู้แค่เพียงว่าไลซีนเป็นหนึ่งในกรดอะมิโนจำเป็นที่สำคัญต่อร่างกายของมนุษย์อีกหนึ่งชนิด ด้วยความที่อยากรู้จึงได้หาข้อมูลเพิ่มเติมทำความเข้าใจมากขึ้นแล้วว่าตัวกรดอะมิโนจำเป็นตัวนี้คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไรบ้างต่อร่างกายมนุษย์เรา จริงๆ แล้วกรดอะมิโน (amino acid) นั้นมีความจำเป็นมากต่อระบบในร่างกายของเราค่ะ โดยเฉพาะกรดอะมิโนจำเป็นจึงจำเป็นและสำคัญต่อร่างกายซึ่งร่างกายไม่สามารถขาดได้ซึ่งนั่นก็มีอยู่มากมายหลากหลายตัวเลยทีเดียว โดยบางตัวที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ก็อาจจะจำเป็นที่จะต้องได้รับจากสารอาหารหรืออาหารเสริม และตัวไลซีนเองก็เป็นหนึ่งในกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายเราไม่สามารถสร้างเองได้ แต่ประเด็นที่น่าสนใจของตัวไลซีนก็คือคุณสมบัติและประโยชน์ที่มีต่อสุขภาพร่างกายเราค่ะ

 

L-lysine (แอล ไลซีน) คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร

Source: Flickr (click image for link)

L- lysine (แอล ไลซีน) หรือไลซีน อย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้นคือไลซีนเป็นกรดอะมิโนจำเป็นต่อร่างกายของเราโดยที่ร่างกายของเราเองเนี่ยไม่สามารถสร้างหรือผลิตเองขึ้นมาได้ค่ะ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับจากทางอาหารหรืออาหารเสริม ไลซีน เป็นหนึ่งในกรดอะมิโนชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกเหนือจากกรดอะมิโนที่ถูกพบจากธรรมชาติหลายร้อยชนิด ซึ่งจะมี 20 ชนิดที่เป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้างโปรตีนและการเจริญเติบโต อีกทั้งมีเพียงแค่ 10 ใน 20 ชนิดที่สามารถผลิตได้เองในร่างกาย ส่วนที่เหลืออีก 10 ชนิดนั้นจึงเรียกว่ากรดอะมิโน “จำเป็น” เนื่องจากมนุษย์เราต้องกินเพื่อสุขภาพที่เหมาะสม การขาดกรดอะมิโนทำให้เกิดการสลายตัวของเซลล์ภายในและอาจนำไปสู่ปัญหาได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับอาหารให้เพียงพอ

จริงๆ แล้ว L- lysine ตัวนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อสุขภาพและร่างกาย นอกจากหลักๆ ที่ไปช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อและการเจริญเติบโตในส่วนต่างๆ ของร่างกายแล้ว ยังมีบทบาทความสำคัญต่อการเสริมสร้างภูมิต้านทาน ฮอร์โมน คอลลาเจน และเอนไซม์ต่างๆ ด้วยค่ะ อีกทั้งยังพบว่าในช่วงเวลาหลายปีแล้วที่ผู้คนนิยมใช้ L-lysine ในการรักษาโรคไวรัสเริมและช่วยในการฟื้นฟูอาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย โดยแหล่งอาหารที่ดีของ L-lysine โดยทั่วไปคือโปรตีนจากสัตว์โดยเฉพาะเนื้อแดง ไข่ไก่และไขมันจากปลาซึ่งแหล่งที่ดีจะได้จากปลาคอดและปลาซาร์ดีน นอกจากนี้ไลซีนยังพบในพืช ได้แก่ พืชตระกูลถั่วเช่นถั่วลิสงและถั่วลันเตา นอกจากบทบาทในการทำงานต่อสุขภาพร่างกายที่สำคัญที่ได้กล่าวมาเบื้องต้นไปแล้วนั้น ในฐานะกรดอะมิโนที่จำเป็น L-lysine ยังทำหน้าที่ที่สะคัญสำหรับการสังเคราะห์ acetyl-CoA ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในปฏิกิริยาทางชีวเคมีหลายอย่าง อีกทั้ง L-lysine ยังไปช่วยสร้าง allysine ที่เป็นส่วนประกอบของคอลลาเจนและอีลาสติน ส่วนใหญ่แล้วอาหารเสริมที่มี L-lysine จะถูกใช้กับคนที่ขาดหรือได้รับไม่เพียงพอจากอาหารรวมทั้งมีปัญหาทางด้านสุขภาพอื่นๆ อีกด้วย

 

ประโยชน์ต่อสุขภาพและร่างกายของไลซีน (L-lysine)

  • ช่วยรักษาบรรเทาและป้องกันโรคเริม
  • ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • ช่วยเสริมสร้างฮอร์โมน
  • ช่วยเพิ่มการดูดซืมของแคลเซียม
  • ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน
  • ช่วยป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน
  • ช่วยลดความวิตกกังกวลและอาการทางจิต
  • ช่วยลดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน
  • ช่วยรักษาโรคงูสวัด
  • ช่วยเสริมสร้างเอ็นไซม์และเนื้อเยื่อต่างๆ
  • ช่วยส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหาร

 

ประโยชน์ทางสุขภาพจากไลซีน L- lysine มีมากมายอย่างน่าเหลือเชื่อเลยจริงๆ ค่ะ แต่อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงของไลซีนมีอยู่เล็กน้อย เช่น อาการปวดท้องและท้องร่วง นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางไตและตับควรระมัดระวังและควรได้รับปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญบริการด้านสุขภาพเสียก่อนที่จะเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมไลซีนนะคะ ซึ่งโดยในคนปกติทั่วไปควรที่จะได้รับไลซีนปริมาณระหว่าง 800 ถึง 3,000 มิลลิกรัมต่อวันค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/mateusd/14631911192/

www.flickr.com/photos/oldpatterns/23568689538/

เมลาโทนิน (Melatonin) คืออะไร

sleeping-night-1
Source: Flickr (click image for link)

คนเราใช้เวลาในการนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อยที่สุด 8 ชั่วโมงต่อวัน ทำไมน่ะหรอ…ก็เพราะว่าเป็นวัฐจักรของธรรมชาติที่สร้างขึ้นมา ให้ร่างกายมนุษย์มีเวลาหยุดพักเพื่อให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานให้สมดุล บางคนคิดว่าเวลา 8 ชั่วโมงนั้นช่างยาวนานเหลือเกินเสียดายที่จะทิ้งไปกับการนอน จึงได้ทำสิ่งอื่นที่คิดว่าสำคัญกว่าการนอนจนทำให้เวลาในการนอนน้อยลง แต่เมื่อถึงเวลาที่ควรจะนอนเราก็จะจำเป็นจะต้องนอนค่ะ ความรู้สึกง่วง หงาว หาว นอนนั้นช่างโหดร้ายและทรมานเหลือเกิน ก็อาการเหล่านี้แหละค่ะที่กำลังจะบอกคุณว่าเรากำลังฝืนธรรมชาติอยู่ ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่จะต้องนอน เราก็จะมีอาการดังกล่าวมาคอยเตือนอยู่ตลอดเวลาว่า ได้เวลาที่ต้องนอนแล้วนะ นั่นก็เกิดจาก เมลาโทนิน หรือ “ฮอร์โมนแห่งรัตติกาล (The darkness hormone)” นั่นเองค่ะ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับเจ้าฮอร์โมนตัวนี้กันให้มากขึ้นนะคะ

 

เมลาโทนิน (Melatonin) คืออะไร

“เมลาโทนิน” (Melatonin) เป็นฮอร์โมนในระบบประสาทที่ร่างกายเราสร้างขึ้นได้เองตามธรรมชาติค่ะ เมลาโทนินนั้นได้ถูกค้นพบครั้งแรกโดยดอกเตอร์เลอร์เนอร์ (Aaron Bunsen Lerner) แพทย์ชาวอเมริกัน ในปีค.ศ.1958 เมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งได้ถูกสร้างโดย Pineal gland ที่สมอง การหลั่งของฮอร์โมนชนิดนี้จะถูกกระตุ้นโดยความมืดและถูกยับยั้งโดยแสง ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นหรอคะ ? ก็เนื่องจากการถูกค้นพบครั้งแรกโดยการสกัดสารจากต่อม ไพเนียล(Pineal gland) ของวัวมาทำให้บริสุทธิ์ได้เป็นสารใน กลุ่ม indole ซึ่งมีผลต่อเมลานิน (Melanin) บนผิวหนังของกบ ทำให้สีผิวจางลงและเนื่องจากสารที่สกัดจากต่อมไพเนียล มีสูตรโครงสร้างทางเคมีคล้ายซีโรโทนิน (Serotonin) จึงเรียก สารในกลุ่ม indole ซึ่งไปฟอกสีเมลานินนี้ว่า เมลาโทนิน ค่ะ

light-1
Source: Flickr (click image for link)

เกี่ยวกับเมลาโทนิน (Melatonin)

เมลาโทนินถูกสังเคราะห์ขึ้นจากกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) ที่มีอยู่ในกระแสเลือดของเรา โดยมีการสร้างขึ้นที่ลำไส้ใหญ่ จอตาและต่อมไพเนียล โดยมีความมืดเป็นตัวกระตุ้นและหยุดหลั่งเมื่อเจอแสงสว่าง ปริมาณของเมลาโทนินจะเพิ่มสูงขึ้นในตอนกลางคืนเริ่มตั้งแต่ประมาณ 22 นาฬิกา ปริมาณสูงสุดประมาณ 3 นาฬิกา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤดูกาลด้วย การที่เรามีความรู้สึกเฉื่อยชาลงและมีความรู้สึกตื่นตัวน้อยลงนั้น ก็เป็นผลของการหลั่งของเมลาโทนินนั้นเพิ่มขึ้นนั่นเองค่ะ อีกทั้งร่างกายของเราจะมีอุณหภูมิเริ่มมีการลดต่ำลงจึงทำให้เหมาะแก่การนอนหลับมากขึ้นค่ะ และในช่วงเวลาเช้ามืดของวันต่อมาระดับของเมลาโทนินก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งในระหว่างวัน เมลาโทนิน จะลดระดับลงต่ำมากจนกระทั่งนักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถตรวจวัดได้ เนื่องจากระดับของ เมลาโทนินนั้นขึ้นลงตามวงจรของความมืดและความสว่าง (light-dark cycle) จึงทำให้ทั้งมนุษย์หรือแม้กระทั่งพืชนั้นที่ก็มีฮอร์โมนนี้อยู่เช่นกัน ซึ่งมีความตื่นตัวในระหว่างวัน โดยที่ระดับของเมลาโทนินจะเพิ่มขึ้นสูงสุดที่เวลา 2.00 น.ในเด็กที่มีสุขภาพดีทั่วไป อีกทั้งจะเพิ่มขึ้นสูงที่สุดที่เวลา 3.00 น.ในผู้สูงอายุ นอกจากนี้แล้วปริมาณการผลิตเมลาโทนินในร่างกายนั้นลดลงเมื่อเราอายุมากขึ้นค่ะ ซึ่งจะเห็นได้ทำไมผู้สูงอายุต้องพบกับปัญหาในการนอนไม่หลับมากกว่าผู้ที่อายุยังน้อยค่ะ

 

ประโยชน์ของเมลาโทนิน
เชื่อกันว่าช่วยบรรเทาอาการเพลียหลังการโดยสารเครื่องบิน (Jet-Lag) และการทำงานเป็นกะซึ่งยังมีข้อโต้แย้งเรื่องคุณสมบัตินี้กันอยู่ เมลาโทนินถือว่าเป็นสารที่ช่วยปรับสภาพร่างกายในรอบวันเพราะคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับความสว่างและความมืด (circadian rhythm) เมลาโทนินเหนี่ยวนำให้เกิดการนอนหลับลึก ช่วยกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth hormone) ความผิดปกติเรื้อรังของการนอน อาจทำให้หยุดการเจริญเติบโตก่อนเวลาอันควร อีกทั้งประโยชน์ด้านอื่น ๆ ของเมลาโทนินยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ แต่ก็ไม่สามารถรักษาโรคได้ ที่สำคัญยังมีผลต่อการควบคุมกระบวนการทางชีวภาพและการเกิดอนุมูลอิสระ ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงการใช้เมลาโทนิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลด (หรือเพิ่มขึ้น) ของปริมาณของเมลาโทนินในเลือดทำให้เกิดปัญหาการนอนหลับหรือความผิดปกติของวงจรการหลับและการตื่นในรอบวันค่ะ

 

www.flickr.com/photos/zubrow/5404957877/

www.flickr.com/photos/bennyseidelman/5103679082/