Browse Tag: เกลือแร่

แร่ธาตุ คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

mix-salad-1
Source: Flickr (click image for link)

แร่ธาตุ (Mineral) คืออะไร

แร่ธาตุหรือเกลือแร่ (Mineral) คือ แร่หรือสารประกอบอนินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบของอาหารส่วนที่เหลือเป็นเถ้าที่ได้หลังจากการเผาไหม้สารอินทรีย์ทั้งหมดในเนื้อเยื่อพืชและสัตว์ ซึ่งแร่ธาตุหรือเกลือแร่ที่ว่านี้เป็นสารอาหารอีกประเภทหนึ่งที่ร่างกายต้องการ เป็นส่วนประกอบของสารหลายชนิดที่มีความสำคัญต่อการทำหน้าที่ของเซลล์และอวัยวะ แร่ธาตุแต่ละชนิดมีความจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายแตกต่างกันและมีอยู่ในแหล่งอาหารต่างชนิดกัน ร่างกายจำเป็นต้องมีอยู่ในระดับที่เหมาะสมจึงจะสามารถทำงานได้ ง่ายๆก็คือไม่สามารถขาดได้นั่นเองค่ะ เนื่องจากแร่ธาตุมีบทบาทและหน้าที่สำคัญต่อร่างกายหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกายจำพวก กระดูกและฟัน เลือด บางชนิดเป็นส่วนประกอบของสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกะบวนการเจริญเติบโตภายในร่างกาย เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ ฮอร์โมนและวิตามิน นอกจากนี้แร่ธาตุยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อในทุกอวัยวะของร่างกายให้ทำหน้าที่เป็นปกติ เช่น ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท การแข็งตัวของเลือด และช่วยควบคุมสมดุลของน้ำในการไหลเวียนของของเหลวในร่างกาย เป็นต้นค่ะ

จากความสำคัญและหน้าที่ดังกล่าวนั้น จะได้เห็นว่าแร่ธาตุเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกายของเราอยู่ไม่น้อยเลยค่ะ ซึ่งร่างกายของเราก็จะต้องได้รับให้เพียงพอต่อความต้องการจึงจะเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่และแข็งแรง อาหารทั่วไปที่เป็นแหล่งของแร่ธาตุทั้งชนิดหลักและแร่ธาตุรอง ปริมาณมากหรือน้อยก็จะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดของอาหาร เช่นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายประกอบด้วย แคลเซียม ฟอสฟอรัส ไอโอดีน เหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง และโพแทสเซียม เป็นต้น โดยที่ร่างกายเราต้องการแร่ธาตุแต่ละชนิดแตกต่างกัน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

 

1.แร่ธาตุหลัก (Macro minerals) คือแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณมาก

2.แร่ธาตุรอง (Trace minerals) คือแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย

 

แร่ธาตุหลัก (Macro minerals) คือ แร่ธาตุหลักที่ร่างกายต้องการในปริมาณมาก เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายมีความต้องการในหนึ่งวันมากว่า 100 mg ขึ้นไป ได้แก่ แคลเซียม (Calcium), ฟอสฟอรัส (Phosphorous), โพแทสเซียม (Potassium), แมกเนเซียม (Magnesium), โซเดียม (Sodium), กำมะถัน (Sulphor) และคลอไรด์ (Chloride) ซึ่งในร่างกายของเราจะพบแร่ธาตุแคลเซียมมากที่สุด รองลงมาได้แก่ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม และโซเดียม

แร่ธาตุรอง (Trace minerals) คือ แร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายมีความต้องการในหนึ่งวันในปริมาณน้อยกว่า 100 mg ต่อวัน แต่ถึงแม้ร่างกายจะต้องการแร่ธาตุประเภทนี้ในปริมาณน้อยก็ใช่ว่าจะไม่มีความสำคัญ ซึ่งแร่ธาตุในกลุ่มนี้ได้แก่ เหล็ก (Iron), สังกะสี (Zinc), ซีลีเนียม (Selenium), แมงกานิส (Manganese), ทองแดง (Copper), ไอโอดีน (Iodine), โครเมียม (Chromium), โคบอลท์ (Cobalt), ฟลูออไรด์ (Fluoride), โมลิบดินัม (molybdenum) และ วานาเดียม (Vanadium)

การเลือกรับประทานอาหารให้ถูกสัดส่วนจะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ จะเห็นได้ว่าร่างกายคนเรามีแร่ธาตุเป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณร้อยละ 4 ของน้ำหนักตัว  และต้องการแร่ธาตุต่างๆ ประมาณ 17 ชนิด ในปริมาณที่ต่างกัน ดังนั้นความต้องการพลังงานและสารอาหารแต่ละประเภทของร่างกายคนเรานี้มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ดั้งนี้

  1. ความแตกต่างทางเพศ ทำให้มีการเลือกรับประทานอาหารต่างกัน เช่น ผู้ใหญ่ในวัยทำงาน เพศชายต้องการพลังงานและอาหารมากกว่าเพศหญิง เพราะกิจกรรมของเพศชายจะเกี่ยวข้องกับการใช้แรงงาน การใช้พลัง การออกกำลังจำนวนมาก จึงทำให้ผู้ชายมีความต้องการอาหารมากกว่าเพศหญิง
  2. ความแตกต่างของวัย เช่น ผู้หญิงวัยทอง อายุประมาณ 20 ขึ้นไป จะมีความต้องการสารอาหารน้อยกว่าผู้หญิงที่อยู่ในวัยเรียนและวัยรุ่น
  3. สภาพของร่างกาย เช่นหญิงมีครรภ์ ต้องการสารอาหารเพื่อส่งต่อไปให้ลูกที่อยู่ในครรภ์ คนป่วยต้องการสารอาหารบางประเภทจำนวนมาก เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ

นอกจากปัจจัยทั้ง 3 อย่างประการดังกล่าวมานี้ ยังมีปัจจัยอื่นอีกมากที่มีความสำคัญต่อความต้องการพลังงานและสารอาหาร เช่น อุณหภูมิของอากาศ การทำงาน ความแตกต่างของขนาดในร่างกายของแต่ละคนค่ะ อาหารแต่ละชนิดแต่ละประเภทที่เราได้รับประทานเข้าไปให้ปริมาณสารอาหารและค่าพลังงานมากน้อยแค่ไหนค่ะ

 

www.flickr.com/photos/kurafire/9388342085/

ฟลูออรีน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

brush-teeth-1
Source: Flickr (click image for link)

ฟลูออรีน (Fluorine) เป็นเกลือแร่ที่จำเป็นอีกหนึ่งตัวค่ะ ที่จะพบได้ในเนื้อหนังเกือบทั่วร่างกายของเรา แต่จำนวนที่พบมากกว่าที่อื่นๆ คือที่โครงสร้างของกระดูกและฟัน อีกทั้งฟลูออลีนที่พบในร่างกายของเราจะอยู่ในลักษณะเป็นสารผสมเรียกว่า ฟลูออไรด์ ที่ส่วนใหญ่พวกเราจะทราบเรียกกันในชื่อนี้ค่ะ ซึ่งฟลูออไรด์มีอยู่ 2 ชนิดก็คือ โซเดียมฟลูออไรด์ ที่เขาใช้เจือปนกับน้ำดื่มซึ่งต่างกันกับแคลเซียมฟลูออไรด์ที่พบกันตามธรรมชาติค่ะ หรือเข้าใจกันง่ายว่า ฟลูออไรด์ เป็นสารประกอบของ “ฟลูออรีน” ที่มีมากเป็นอันดับที่ 17 ของโลกในจำนวนธาตุต่างๆ ที่พบบนโลก และเราสามารถพบฟลูออไรด์ได้ตามธรรมชาติ เช่น ในหิน ซึ่งส่วนมากเป็นฟลูออไรด์ในรูปของแคลเซียม นอกจากนั้นแล้วในชีวิตประจำวันเราสามารถได้รับฟลูออไรด์จากน้ำดื่มอย่างที่ได้กล่าวกันข้างต้น อีกทั้งในอากาศที่เราหายใจและก็พบฟลูออไรด์ได้ในอาหารอีกด้วยค่ะ

 

เกี่ยวกับฟลูออรีน หรือ  Fluorine

  • ฟลูออรีน เป็นธาตุที่มีอยู่ทั่วไปในร่างกาย พบมากที่สุดในกระดูกและฟัน โดยเฉพาะในส่วนเคลือบฟัน
  • ฟลูออรีน เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสโลหิต แล้วกระจายไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น เลือด หัวใจ ของเหลวที่บริเวณไขสันหลัง กระดูก และฟัน
  • ฟลูออรีน เกลื่อแร่ชนิดนี้เป็นเป็นตัวสำคัญที่ทำให้ไข่แดงมีสีแดง เปลือกสีสวยและมีคุณค่าอาหารครบถ้วน
  • ฟลูออรีน ก้อนกรวด ก้อนหินเป็นแหล่งกำเนิดที่ดีของฟลูออรีน
  • ฟลูออรีน จำเป็นสำหรับการทำให้ฟันและกระดูกแข็งแรง
  • ฟลูออรีน ในแหล่งอาหารตามธรรมชาติจำพวก ข้าวต่างๆ ผลไม้ เช่น แอปเปิล องุ่น ลูกแพร์ กล้วย และเชอร์รี่ ผักต่างๆ เช่น หัวแครอท กระเทียม หัวบีท ผักใบเขียว กระจับ ถั่ว ข้าวโพด หัวไชเท้า มะเขือ หัวหอม มันฝรั่ง เนย เนยแข็ง เนยเหลว ไข่  เมล็ดทานตะวัน  อื่นๆ เช่น อาหารทะเล ถั่วเหลือง ปลา น้ำทะเล น้ำกระด้าง น้ำผึ้ง ชาดำ
  • ฟลูออรีน แหล่งอาหารที่ดีที่สุดคือในชา อาหารทะเล
  • ฟลูออรีน ปริมาณของฟลูออรีนในพืชผักนั้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ดินฟ้าอากาศ พื้นที่ดินปลูกปุ๋ยที่ใช้
  • ฟลูออรีน ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง และทำให้ฟันทนต่อการผุมากขึ้น
  • ฟลูออรีน องค์การอนามัยโลก กำหนดความเข้มข้นมาตรฐานของน้ำปะปาไว้ให้มีฟลูออรีนประมาณ 1 PPM ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่ปลอดภัย
  • ฟลูออรีน หรือฟลูออไรด์ในยาสีฟัน อาจช่วยลดฟันผุได้ประมาณร้อยละ 20-30
  • ฟลูออรีน น้ำยาบ้วนปากชนิดฟลูออไรด์ พบว่าฟลูออไรด์บนผิวเคลือบฟันมักจะหลุดออกไปอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการสึกหรอของฟัน โดยการใช้บดเคี้ยว ขัดฟันและแปรงฟัน
  • ฟลูออรีน ช่วยลดการเกิดกรดในปากเนื่องจากคาร์โบไฮเดรต จึงไปลดการเสียของเคลือบฟัน ( tooth enamel )
  • ฟลูออรีน ช่วยในการดูดซึมของเหล็ก
  • ฟลูออรีน ช่วยในการเจริญเติบโต และบำรุงระบบสืบพันธุ์
  • ฟลูออรีน ส่วนใหญ่ดูดซึมที่ลำไส้เล็กแต่ก็มีบางส่วนถูกดูดซึมที่กระเพราะ ประมาณร้อยละ 90 ของฟลูออไรด์ที่กินเข้าไปจะเข้าไปในกระแสโลหิต ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งจะขับออกทางปัสสาวะ และอีกครึ่งหนึ่งจะไปจับที่ฟันและกระดูก

 

 

ประโยชน์ของฟลูออรีน หรือ Fluorine

 

ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรงและทำให้ฟันทนต่อการผุมากขึ้น พบว่า ฟลูออไรด์จะเพิ่มการจับเกาะของแคลเซียมจึงทำให้กระดูกและฟันแข็งแรงและช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ ( osteoporosis ) และความผิดปรกติของกระดูกที่จะถูกสร้างขึ้น

 

ทำให้นัยน์ตาดำ มีสีเข้มขึ้น มีสุขภาพดีและสวยงาม ซึ่งเกลือแร่ฟลูออรีนมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่มาก สำหรับผู้รักสวยรักงามจะขาดเลยไม่ได้

 

 

ปริมาณของฟลูออรีนที่ร่างกายควรได้รับ

การขาดเกลือแร่ฟลูออรีน จะทำให้ฟันผุ โรคกระดูกพรุน ถ้ามากเกินไปจะทำให้เกิดโรคฟลูออโรซิส ซึ่งมีลักษณะของอาการฟันเป็นลายจุดๆ และทำให้หินปูน เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อได้ ไต ตับ ต่อมอะดรีนัล หัวใจ ประสาทส่วนกลาง อวัยวะสืบพันธุ์ถูกทำลายหรือกระทบกระเทือน

ปริมาณที่แนะนำ ควรแนะนำให้เด็กอายุเกินกว่า 3 ปี กินประมาณวันละ 0.5 มก. และเด็กอายุ 2-3 ปี กินประมาณวันละ 0.3 มก. ถ้าอายุต่ำกว่า 1 ปี กินประมาณวันละ 0.2 มก. การได้รับฟลูออไรด์ 1 ส่วนต่อน้ำล้านส่วนจะช่วยป้องกันฟันผุในเด็กจนอายุถึง 8-12 ปีได้ และในผู้ใหญ่บางรายอาจมีประโยชน์บ้างในการช่วยรักษาฟันให้แข็งแรง ในคนปรกติจะได้รับฟลูออไรด์จากอาหารต่างๆประมาณ 1.8 มก. ต่อวัน และถ้าดื่มน้ำที่มีสารนี้ 1 ส่วนต่อล้านส่วนจะได้รับฟลูออไรด์เพิ่มขึ้นเป็น 3.2 มก. ต่อวัน ร่างกายจะเก็บไว้ในกระดูก 2-3 มก. ต่อวัน ในปริมาณดังกล่าวนี้จะไม่อันตรายต่อร่างกาย แต่ในคนที่ทำงานกลางแจ้งหรือนักกีฬาที่ต้องดื่มน้ำมากๆ จะได้รับฟลูออไรด์จากน้ำมากขึ้น จนถึงขีดอันตรายต่อร่างกายได้ค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/steeljam/16424848778/

ซีลีเนียม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

peanuts-1
Source: Flickr (click image for link)

ซีลีเนียม (Selenium) เป็นแร่ธาตุอีกตัวที่มีความจำเป็น ซี่งพบในปริมาณเพียงเล็กน้อยในร่างกายและเป็นส่วนประกอบสำคัญของเอนไซม์ Glutathione peroxidase ซึ่งเร่งการทำลายของ Hydroperoxide โดยเป็นระบบต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่สุดภายในเซลล์ ยังไงน่ะหรอ? ก็คือว่า ซีลีเนียม นั้นมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติหน้าที่ของวิตามินอี บทบาทของซีลีเนียมเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยกลูต้าไธโอนเปอร์ออกซิเดส ( glutathione peroxidase ) ซึ่งกระตุ้นการกำจัดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และออแกนิคเปอร์ออกไซด์ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกรดไขมันต่างๆ โดยทำงานอย่างใกล้ชิดกับวิตามินอี ในการป้องกันเนื้อเยื่อถูกทำลายโดยสารเปอร์ออกไซด์จากไขมัน โดยวิตามินอีทำหน้าที่ป้องกันการเกิดสารเปอร์ออกไซด์ ในขณะที่ซีลีเนียมทำหน้าที่กำจัดสารเปอร์ออกไซด์ที่เกิดขึ้นให้หมดไป และทำงานร่วมกับวิตามินอี เสริมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของวิตามินอีในการรักษาเนื้อเยื่อต่างๆ และชะลอการแก่ตายของเซลล์ตามธรรมชาติ ป้องกันการแก่ก่อนวัยนั่นเองค่ะ

 

เกี่ยวกับ ซีลีเนียม หรือ Selenium

  • ซีลีเนียม เป็นแร่ธาตุอีกตัวที่มีความจำเป็น ซี่งพบในปริมาณเพียงเล็กน้อยในร่างกาย
  • ซีลีเนียม มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์สำคัญหลายชนิด มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระโดยทำงานร่วมกับวิตามินอี
  • ซีลีเนียม เป็นระบบต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่สุดภายในเซลล์
  • ซีลีเนียม จะดูดซึมได้ดีที่ลำไส้เล็ก
  • ซีลีเนียม ร่างกายจะเก็บซีลีเนียมไว้ในตับและไตมากถึง 4-5 เท่าที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออื่นๆ
  • ซีลีเนียม ในภาวะปกติซีลีเนียมจะถูกขับออกทางปัสสาวะ ถ้าปรากฏว่ามีซีลีเนียมถูกขับออกทางอุจจาระแสดงว่าเกิดการดูดซึมที่ไม่ถูกต้อง
  • ซีลีเนียม เป็นตัวต่อต้านการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน (Antioxidant) เพราะถ้ามีการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนมากจะเกิด Free radical ซึ่งมีพิษภัยต่อเซลล์ ทำให้กลายเป็นมะเร็ง
  • ซีลีเนียม มีบทบาทเกี่ยวกับการหายใจของเนื้อเยื่อโดยทำหน้าที่ช่วยรับส่งอิเล็กตรอน
  • ซีลีเนียม ช่วยในการสร้างวิตามินคิวขึ้นมาในร่างกาย
  • ซีลีเนียม ช่วยสร้างภูมิต้านทานและบรรเทาอาการถูกพิษ หรือละลายพิษต่างๆ ในร่างกาย
  • ซีลีเนียม ในแหล่อาหารที่พบส่วนใหญ่ในอาหารทะเล เครื่องในสัตว์ เมล็ดธัญพืชทั้งเปลือก ปลา หอย ข้าวกล้อง แตงกวา ผลิตภัณฑ์จากนม กระเทียม บลอคโคลี่ หัวหอม มะเขือเทศ ไข่
  • ซีลีเนียม ถ้าได้รับมากเกินไปจะทำให้ อาเจียน ท้องร่วง ฟันและผมร่วง เล็บหลุด ผิวหนังอักเสบและมีผลต่อระบบประสาท
  • ซีลีเนียม ถ้าขาดจะเกิดผลเสียต่อร่างกาย การฝ่อของกล้ามเนื้อ หรืออาจถึงขั้นเป็นหมันได้
  • ซีลีเนียม เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อความสวยความงาม  เพราะมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ต้านริ้วรอยแห่งวัย
  • ซีลีเนียม เกลือแร่ ชนิดนี้มีจะถูกถูกทำลายโดยความร้อน อาหารที่ปรุงแบบสลับซับซ้อนหรืออาหารแปรรูป เช่น พวกข้าวทำเป็นแป้งจะสูญเสีย ซีลีเนียม ไป 50-75% และถ้าต้มจะสูญเสียไปประมาณ 45%

 

ประโยชน์ของซีลีเนียม หรือ Selenium

 

ช่วยชะลอความแก่ โดยที่ซิลีเนียมจะไปทำงานร่วมกับวิตามินอี และเสริมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของวิตามินอีรักษาเนื้อเยื่อต่างๆ และชะลอการแก่ตายของเซลล์ตามธรรมชาติป้องกันการแก่ก่อนวัย

 

ช่วยหัวใจทำงานดีขึ้น และส่งเสริมการสร้างกำลังของเซลล์โดยการนำออกซิเจนไปเลี้ยงให้เพียงพอ สามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจวาย และโรคลมปัจจุบัน โดยเฉพาะในรายที่มีการขาดสารอาหารชนิดนี้

 

ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก, มะเร็งลำไส้, มะเร็งปอด, มะเร็งหลอดอาหาร โดยไปทำให้เซลล์แบ่งตัวช้าพอที่จะให้เซลล์ที่ถูกสารก่อให้เกิดมะเร็งทำลายมีเวลาซ่อมแซมโครโมโซมของมันเองได้ ถ้าโครโมโซมของเซลล์ถูกทำลาย มันอาจจะกลายเป็นเนื้อร้ายถ้าไม่ได้รับการซ่อมแซมก่อนจะแบ่งตัว

 

ช่วยป้องกันหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมองตีบ โดยการผลิตพรอสตาแกลนดินส์ ช่วยในการทำให้เม็ดเลือดไม่จับกลุ่มกันอุดหลอดเลือด จึงเป็นการป้องกันหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมองตีบ

 

 

ปริมาณซิลิเนียมที่ร่างกายควรได้รับ

ผลของร่างกายที่ได้รับปริมาณซีลีเนียมมากเกินไปจะมี อาการ : อาเจียน ท้องร่วง ฟันและเล็บหลุด ผิวหนังอักเสบและมีผลต่อระบบประสาท

ผลของร่างกายที่ขาดซีลีเนียมจะมี อาการ : จะทำให้แก่ก่อนวัย เพราะซีลีเนียมจะช่วยรักษาความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายโดยจะชะลอ Oxidation ของกรดไขมันไม่อิ่มตัว ทำให้ Free radical ลดลง

ซิลิเนียมที่เหมาะสมต่อร่างกายที่ควรจะได้รับต่อวันคือ  ร่างกายต้องการวันละประมาณ 50-200 ไมโครกรัม

 

 

www.flickr.com/photos/66720528@N04/8476485700/

โครเมี่ยม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

yeast-1
Source: Flickr (click image for link)

โครเมียม (Chromium) เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อการเจริญเติบโตและสุขภาพที่ดี ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในขบวนการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคส คาร์โบไฮเดรต และไขมัน เพื่อให้ได้พลังงานไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆในร่างกาย  รองจากแคลเซียมแล้ว โครเมียม เป็นแร่ธาตุที่ได้รับความนิยมมากสำหรับคนอเมริกันที่รับประทานเป็นประจำ และยังเป็นที่ร่างกายต้องการโครเมียมในปริมาณ 50 – 200 ไมโครกรัมต่อวัน โครเมียม มีความสำคัญอย่างยิ่งกับขบวนการเมตาลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และช่วยเสริมการทำงานของอินซูลินในร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่ในการนำน้ำตาลกลูโคสในเลือดเข้าไปในเซลล์ เพื่อนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานสำรอง โครเมียม มีส่วนในการช่วยรักษาปริมาณน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ (ในขบวนการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต) ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติและช่วยลดความอยากน้ำตาล นอกจากนั้นโครเมียมยังสามารถควบคุมระดับของปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดได้ โดยจะไปเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลชนิด HDL ซึ่งเป็นชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และลดการสร้าง LDL ได้ เมื่อเรามีอายุมากขึ้นร่างกายเราจะค่อยๆขาดโครเมี่ยมไปเรื่อยๆ นั่นอาจจะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุให้คุณเสี่ยงต่อโรคร้ายอย่างโรคเบาหวานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โครเมียมที่อยู่ในรูปของโครเมียม พิโคลิเนต (Chromium Picolinate) หรือ โครเมียม โพลีนิโคไทเนต (Chromium Polynicotinate) มีบทบาทสำคัญในเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และไขมัน การเสริมโครเมียมทำให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายมีประสิทธิภาพในการนำกลูโคสไปใช้ได้เพิ่มขึ้นค่ะ

ภาวะการขาดโครเมียม

จะทำให้ระดับกลูโคส อินซูลิน คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ สูงขึ้น และระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (high density lipoproteins, HDL)ลดลง

การขาดโครเมียมอย่างรุนแรงมีความผิดปกติของประสาทและสมอง อาการผิดปกตินี้กลับสู่ปกติได้โดยการให้โครเมียมเสริม การเสริมโครเมียมในเด็กขาดอาหาร ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดเป็นเวลานาน ช่วยให้ความทนต่อกลูโคสดีขึ้น

การขาดโครเมียมเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคผนังเส้นเลือดแข็งตัว และโรคเบาหวาน

 

เกี่ยวกับโครเมียม หรือ Chromium

  • โครเมียม เป็นแร่ธาตุจำเป็นที่ร่างกายต้องการในปริมาณเล็กน้อย
  • โครเมียม ในร่างกายของคนเรามีอยู่ประมาณ 6 มิลลิกรัม และปริมาณนี้ก็จะลดลงเรื่อยๆ เมื่ออายุเรามากขึ้น
  • โครเมียม เกี่ยวข้องกับเมตาบอริซึม ของคาร์โบไฮเดรต และไขมัน โดยเฉพาะการใช้กลูโคสในร่างกาย
  • โครเมียม มีผลในเรื่องของการลดน้ำหนัก คือ มันไปช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันในร่างกาย และไปเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ
  • โครเมียม มีส่วนในการช่วยรักษาปริมาณน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ (ในขบวนการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต)
  • โครเมียม เป็นส่วนประกอบของสารที่เรียกว่า GTF (Glucose Tolerance Factor) โดยทำงานร่วมกับ ไนอาซิน และ กรดอะมิโนอีกหลายชนิด
  • โครเมียม เมื่อขาดจะทำให้เกิดอาการเหมือนกับคนที่มีภาวะต้านอินซูลิน และเบาหวานชนิดที่ 2 ระดับโครเมียมในเลือดที่ต่ำ สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • โครเมียม วิตามินซีจะเพิ่มการดูดซึมของโครเมียม
  • โครเมียม แหล่งที่พบโครเมียมที่ดีที่สุด คือ ในยีสต์ (Brewer’s yeast)
  • โครเมียม แหล่งที่พบโครเมียมในธรรมชาติ พบมากใน น้ำมันข้าวโพด หอยกาบ เนื้อไก่ บริวเวอร์ยีสต์ จมูกข้าวสาลี ตับ ไข่แดง เห็ด เนยแข็ง กากน้ำตาล และในข้าวชนิดต่างๆ เช่น ข้าวกล้อง
  • โครเมียม ช่วยการเจริญเติบโต
  • โครเมียม ช่วยป้องกันพิษจากตะกั่ว
  • โครเมียม ป้องกันหลอดเลือดแข็ง
  • โครเมียม ทำงานเป็นเกราะป้องกันโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันอาการขาดน้ำตาล และอ่อนล้าหมดเรี่ยวแรงเฉียบพลัน
  • โครเมียม ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้
  • โครเมียม ช่วยนำโปรตีนไปยังส่วนที่ต้องการใช้
  • โครเมียม ช่วยป้องกันความดันโลหิตสูงและช่วยลดความดันโลหิต
  • โครเมียม เป็นตัวที่มีบทบาทร่วมกับ RNA ในการสังเคราะห์โปรตีน
  • โครเมียม ทั้งหมดที่รับประทาน ส่วนที่เหลือจะถูกขับออกทางปัสาวะและอุจจาระบางส่วน

 

ประโยชน์ของโครเมียม หรือ Chromium

 

ลดระดับคลอเรสเตอรอลในร่างกาย จากหลักฐานการศึกษาวิจัยพบว่า โครเมียม (ทั้งในรูปแบบพิกโคลิเนตและอื่นๆ) พบว่ามีผลในการลดระดับคลอเลสเตอรอลในร่างกาย โดยการมีบทบาทไปเพิ่ม HDL หรือ คลอเรสเตอรอลชนิดดี และลดระดับ คลอเรสเตอรอลทั้งหมด

 

ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและโรคเบาหวาน จะทำงานร่วมกับอินซูลินในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการเผาผลาญน้ำตาล โครเมียมทำหน้าที่เสริมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน โดยเป็นส่วนประกอบของ glucose tolerance factor ซึ่งมีความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินต่อตัวรับอินซูลิน (insulin receptor)

 

ช่วยเรื่องการลดน้ำหนัก โครเมียมพิกโคลิเนต จะไปช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันในร่างกายและไปเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ มีการศึกษาเมื่อปี 1998 โดยมีอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 122 คนที่เป็นสมาชิกของเฮลท์คลับต่างๆ ในเทกซัสได้รับ โครเมียมจำนวน 400 ไมโครกรัมต่อวันของ โครเมียมพิกโคลิเนต หรือยาหลอกเป็นระยะเวลติดต่อกัน 3 เดือน คนที่ได้รับ โครเมียม มีไขมันในร่างกายลดลง 6 ปอนด์ (2.7 กิโลกรัม) ขณะที่คนที่ได้รับยาหลอกลดลงเพียง 3 ปอนด์ (1.3 กิโลกรัม)

 

ปริมาณของโครเมียมที่ร่างกายควรได้รับ

การขาดโครเมียม ทำให้เกิดอาการเหมือนกับคนที่มีภาวะต้านอินซูลิน และเบาหวานชนิดที่ 2 ระดับโครเมียมในเลือดที่ต่ำ สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ป่วยเบาหวานจะมีระดับโครเมียมในพลาสมาลดลง จากการศึกษาวิจัยในคนและสัตว์ทดลองพบว่า ระดับโครเมียมในร่างกายต่ำมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติในเมตาบอลิซึมของอินซูลิน กลูโคส และไขมัน ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

ปริมาณที่แนะนำ ร่างกายมนุษย์ปกติคนทั่วไปควรได้รับโครเมียมปริมาณที่แนะนำโดยแพทย์ทั่วไป คือ 200 ไมโครกรัมต่อวัน

(ขนาดที่ อย. อเมริกัน US FDA ได้แนะนำไว้คือ 50-200 ไมโครกรัมต่อวัน)

 

www.flickr.com/photos/cgc/4755952861/