Browse Tag: ไขมัน

22 ชนิดของอาหารที่ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมัน

Source: Flickr (click image for link)

วันนี้จะมาพูดเกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง “ชนิดของอาหารที่ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมัน” (Boost your metabolism) หัวข้อที่ฟังดูไม่น่าซีเรียสอะไรแต่แอบมีความสำคัญซ่อนอยู่ค่ะ ระบบที่ทำงานในทุกส่วนของร่างกายเราล้วนแต่มีความสำคัญต่อสุขภาพของเราโดยตรงเลยก็ว่าได้ รวมถึงระบบเผาผลาญในร่างกายที่เราจะมากล่าวถึงในวันนี้ด้วยค่ะ ซึ่งระบบเผาผลาญในร่างกายของเราถ้าทำงานได้ปกติหรือดีถือว่าเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของเราในเรื่องหลักๆ เลยคือ ช่วยในเรื่องของการลดน้ำหนัก โดยใครที่มีระบบเผาผลาญในร่างกายที่ดีย่อมส่งผลให้การลดน้ำหนักนั้นง่ายขึ้นนั่นเองค่ะ ซึ่งก็แน่นอนค่ะว่าร่างกายของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ดังนั้นเราเลยนำหัวข้อนี้มาช่วยให้เป็นแนวทางอีกหนึ่งทางสำหรับใครที่กำลังมองหาวิธีต่างๆ ในการลดน้ำหนัก หรือรู้สึกว่าทำไมร่างกายถึงได้เผาผลาญช้าและเผาผลาญไม่ดี เป็นต้น ใครจะรู้ล่ะคะว่ามีอาหารมากมายหลากหลายชนิดเลยให้เราได้เลือกมาปรับและรับประทานกันค่ะ ถ้าอย่างนั้นเรามาเริ่มที่เรื่องง่ายๆ คือการดูแลและปรับการรับประทานอาหารนี้ก่อนเลยละกันค่ะ

 

 

22 ชนิดของอาหารที่ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมัน

Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.โยเกิร์ต

โยเกิร์ตคือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนมอีกชนิดหนึ่งโดยขอแนะนำโยเกิร์ตชนิด โยเกิร์ตกรีก นอกจากแคลเซียมสูง ไขมันต่ำ มีเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิดช่วยในเรื่องการขับถ่ายแล้ว ยังมีโปรตีนและวิตามินดีที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อช่วยยับยั้งฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียดจนนำไปสู่การส่งผลต่อไขมันในช่องท้อง หรือเรียกว่าลงพุงนั่นเองค่ะ

 

2.เมล็ดอัลมอลด์

เลือกรับประทานเมล็ดอัลมอลด์แค่เพียงหนึ่งกำมือ ก็สามารถช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันได้อย่างไม่น่าเชื่อค่ะ อัลมอลด์นอกจากมีโปรตีนแล้วยังมีเส้นใยอาหารที่สูงเหมาะกับการเลือกเป็นอาหารทานเล่นได้เลยค่ะ อีกทั้งยังมีกรดอะมิโน L-arginine ที่ไปช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันแล้วคาร์โบไฮเดรตในร่างกายได้อีกด้วยค่ะ

 

3.ชาเขียว

พบว่านอกจากชาเขียวแล้วยังมีชาอีกหลายชนิดที่ช่วยในเรื่องของการเร่งเผาผลาญไขมันจากสาร catechin แต่ชาเขียวกลับเป็นตัวเลือกที่ดีกว่านอกจากมีสารคาเทชินที่สูงแล้วยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า ECGC ที่สูงมากอีกด้วย โดยสารตัวนี้จะไปช่วยเผาผลาญไขมันแล้วยังสามารถหยุดการสร้างไขมันได้อีกด้วยค้ะ

 

4.ข้าวโอ๊ต

ขึ้นชื่อว่าคาร์โบไฮเดรตหลายคนคงสงสัยว่ามันจะช่วยได้ยังไง การเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตไม่ได้แย่เสมอไปค่ะ โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรตที่มาจากธัญพืชอย่าง ข้าวโอ๊ต ข้าวโอ๊ตเป็นธัญพืชที่มีเส้นใหญ่อาหารสูงช่วยทำให้ชะลอการย่อยให้ช้าขึ้นจึงอิ่มได้นานและช่วยให้มีไขมันในท้องน้อยกว่าคนที่กินคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ผ่านการขัดสีในปริมาณที่เท่ากันจำพวก ข้าวขาว ขนมปังขาวค่ะ

 

5.พริก

พริกเม็ดสีแดงๆ มีรสเผ็ดร้อนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะนี้ มีสารที่เรียกว่า แคปไซซิน เป็นสารประกอบที่จะทำให้เกิดความเผ็ดร้อน ช่วยไปเร่งการเผาผลาญแคลอรี่ได้เป็นอย่างดีเชียวค่ะ

 

6.ปลาแซลมอล

จะเห็นได้ว่าการเผาผลาญไขมันที่ดีโดยการสร้างกล้ามเนื้อด้วยโปรตีนทำให้กล้ามเนื้อมากขึ้นเท่ากับว่าการเผาผลาญไขมันก็มากขึ้นเช่นกันค่ะ และโปรตีนจำพวกเนื้อปลานี่แหละเป็นแหล่งชั้นยอดอย่าง ปลาแซลมอล โดนเฉพาะปลาแซลมอลที่เกิดเองตามธรรมชาติ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยต้านการอักเสบและช่วยเผาผลาญไขมันค่ะ

 

7.เนื้อไก่งวง

เนื้อไก่งวงเป็นเนื้อสัตว์ชนิดที่มีโปรตีนสูงและไขมันต่ำ และที่สำคัญเมื่อเรารับประทานเข้าไประหว่างทำการย่อยยังไปช่วยเพิ่มระบบการเผาผลาญแคลอรี่ของเราไปในตัวอีกด้วยค่ะ

 

8.ดาร์คช็อกโกแลต

ช็อกโกแลตเป็นของหวานที่หลายคนชอบและกลัวที่จะรับประทานในตอนที่เรากำลังลดควบคุมน้ำหนัก แต่ไม่ใช่กับดาร์คช็อกโกแลตค่ะเนื่องจากพบว่าจุลินทรีย์ในลำไส้ของคนเราได้ทำการบ่มช็อกโกแลตในกระเพาะอาหาร จนไปเพิ่มการผลิตสารประกอบโพลีฟีนอลิกในกระเพาะอาหาร รวมทั้งบิวทิล และกรดไขมันที่จะช่วยกระตุ้นร่างกายให้ไปเร่งการเผาผลาญไขมันและยับยั้งยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบค่ะ

 

9.ควีนัว

เมล็ดควีนัว (Quinoa) เป็นพืชที่ได้ถูกยกให้เป็นซูปเปอร์ฟู้ดส์โดยมีส่วนประกอบจากโปรตีนที่สมบูรณ์ ซึ่งหมายความว่ามีโซ่สมบูรณ์ของกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและยังไปลดไขมันอีกด้วย พบว่าร่างกายที่ได้รับโปรตีนจากพืชมีความเสี่ยงน้อยต่อการเกิดโรค metabolic syndrome (ที่เป็นกลุ่มของคอเลสเตอรอลสูง น้ำตาลในเลือดสูง และโรคอ้วน) นอกจากนี้ควีนัวยังมีกรดอะมิโนไลซีนสูง ซึ่งไปช่วยในการเผาผลาญไขมันและบำรุงกระดูก ทำให้ผิวหนังแข็งแรงขึ้นอีกด้วยค่ะ

 

10.ถั่วดำ

ธัญพืชอย่างเมล็ดถั่วดำจัดเป็นแหล่งของแป้งชนิดที่ดีค่ะ ถั่วดำเป็นแป้งที่ทำให้ย่อยช้ามีเส้นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำจึงเป็นอาหารชั้นดีของแบคทีเรียที่ดีในลำใส้ของเรา ทำให้เกิดการผลิตสารเคมีบิวเรท ซึ่งจะไปช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเร่งการเผาผลาญไขมัน และช่วยลดไขมันได้ดีด้วยค่ะ

 

11.ลูกพรุน

ลูกพรุนเป็นผลไม้ที่มีสีเฉพาะคือ สีแดง ที่เกิดจากปริมาณสารต้านอนุมูอิสระที่เรียกว่า ฟลาโวนอยด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอนโธไซยานินซึ่งทำให้การทำงานของยีนที่เก็บไขมันได้ดีขึ้น ช่วยเร่งการเผาผลาญในการลดน้ำหนักได้ดีนักแลค่ะ

 

12.ไข่

ไข่จัดเป็นหนึ่งในอาหารที่เป็นแหล่งที่ดีที่สุดของโคลีน ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญในการเผาผลาญไขมัน โดยจะไปช่วยยับยั้งยีนส์ที่รับผิดชอบในการจัดเก็บไขมันหน้าท้องค่ะ ยิ่งไปกว่านั้นไข่ยังเป็นแหล่งโปรตีนชั้นยอดที่สามารถกำหนดอัตราการเผาผลาญไขมันได้ตลอดทั้งวันเมื่อเราเลือกทานเป็นอาหารเช้า ไม่ว่าจะเลือกรับประทานในรูปแบบไหนก็มีประโยชน์ทั้งนั้นค่ะ

 

13.ผักปวยเล้ง

ด้วยใบสีเขียวเข้มของผักปวยเล้งมีสารอาหารที่ช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานจำพวก วิตามินเอ ธาตุเหล็ก และโฟเลต นอกจากนี้ยังช่วยลดความอยากอาหารและยังช่วยลดปริมาณแคลอรี่รวมทั้งยังไปกระตุ้นให้ร่างกายเริ่มเผาผลาญไขมันด้วยสารประกอบธรรมชาติที่เรียกว่า thylakoids

 

14.อบเชย

อบเชยเป็นสมุนไพรไทยอีกชนิดที่คนไทยนิยมนำมาประกอบอาหารและต่างชาตินิยมปรุงในขนม ของหวาน หรือแม้แต่เครื่องดื่ม ด้วยอบเชยเป็นสมุนไพรที่จัดอยู่ในกลุ่มของเครื่องเทศรสเผ็ดร้อนนี้ จึงเป็นตัวเร่งการเผาผลาญให้กับร่างกายเราเป็นอย่างดีค่ะ ด้วยสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่ได้จากอบเชยที่เรียกว่า โพลีฟีนอล ไปช่วยปรับสมดุลระดับอินซูลินทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ และยังสามารถลดไขมันในช่องท้องได้อีกด้วยค่ะ

 

15.เกรฟฟรุท

เกรฟฟรุทเป็นผลไม้ตระกูลเดียวกันกับส้มและมีลักษณะคล้ายกันค่ะ มีรชชาติเปรี้ยวอมหวานที่คุณเพิ่มโดยมีความสามารถในการเร่งการเผาผลาญไขมันของร่างกาย ช่วยลดความอยากของอาหารและลดไขมันด้วยค่ะ

 

16.เนยถั่ว

ส่วนใหญ่แล้วเนยถั่วจะนิยมนำมาเป็นเครื่องปรุงรสทาในแซนด์วิช หรือบนขนมปัง เนยถั่วเต็มไปด้วยสารอาหารที่ทำให้หน้าท้องเราแบนราบ คือไปช่วยลดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ลดคอเลสเตอรอล และเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีจากพืชอีกด้วยค่ะ พบว่าเมื่อโปรตีนเกิดการย่อยและเมื่อมันถูกย่อยสลายลงในกรดอะมิโนของร่างกาย โดยกรดอะมิโนหนึ่งในนั้นคือ phenylalanine จะไปกระตุ้นฮอร์โมนที่ช่วยลดความอยากอาหารและทำให้เร่งการเผาผลาญไขมันส่วนเกิน และช่วยในการลดน้ำหนักค่ะ

 

17.กระเทียม

กระเทียมเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหารไทยทั้งแบบสุกและสด ถึงแม้บางคนอาจจะไม่ชอบเมื่อรับประทานไปแล้วทำให้ลมหายใจไม่หอมสดชื่นเท่าที่ควร แต่ถ้าคุณรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์จากกระเทียม คุณจะลืมเหตุผลนั้นไปโดยปริยายเลยล่ะค่ะ เพราะว่ากระเทียมจัดเป็นอาหารหรือตัวช่วยในการเร่งการเผาผลาญน้ำตาลในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพเลยทีเดียว อีกทั้งยังสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการสร้างไขมัน (lipids) หรือโมเลกุลของไขมันในเลือดนั่นเองค่ะ

 

18.น้ำเปล่า

น้ำเปล่าเป็นอีกตัวเลือกที่มหัศจรรย์ถึงขั้นที่หลายคนนำมาดื่มเพื่อบำบัดโรคกันเลยทีเดียวค่ะ หลายคนไม่ชอบดื่มน้ำเปล่าในแต่ละวันดื่มไม่เพียงพอต่อความต้องการร่างกายด้วยซ้ำไป แต่ทราบหรือไม่คะยิ่งคุณดื่มน้ำมากเท่าไหร่นอกจากทำให้ผิวใสเปล่งปลั่งแล้วยังไปทำให้ลดแคลอรี่ที่ไม่จำเป็นต่อร่างกายลดลงง่ายขึ้นด้วย น้ำเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญต่อระบบเผาผลาญของร่างกายช่วยทำให้ระบบเผาผลาญของคุณทำงานได้ดียิ่งขึ้น ลองใส่เลม่อนลงไปสักเสี้ยวแล้วดื่มยิ่งช่วยให้ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระที่ได้จากเปลือกของเลม่อนที่ไปช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายทั้งยังช่วยในเรื่องของการขับถ่ายได้อีกด้วยค่ะ

 

19.เมล็ดฟักทอง

ก็อาจจะเป็นไปได้ที่หนึ่งในเหตุผลของระบบการเผาผลาญอาหารในร่างกายเราไม่สามารถเผาผลาญไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากเกิดจากระดับแมกนีเซียมในร่างกายของเรานั้นก็มีความจำเป็นต่อร่างกายเช่นกัน ซึ่งแมกนีเซียมจะไปช่วยในการผลิตและเก็บสะสมพลังงาน อีกทั้งยังช่วยเพิ่ม lipolysis (กระบวนการที่ร่างกายเราได้นำเอาไขมันออกไปใช้เป็นพลังงาน)

 

20.กิมจิ

ไม่น่าเชื่อว่ากิมจิที่เป็นอาหารประเภทผักดองก็จัดเป็นอาหารที่ช่วยในการเร่งการเผาผลาญได้อีกด้วยค่ะ ด้วยส่วนประกอบที่พบในกิมจิคือเชื้อโพรไบโอติกช่วยในเรื่องของระบบขับถ่ายให้ดีขึ้นและยังสามารถช่วยในเรื่องของการควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วยค่ะ

 

21.ขมิ้น

ขมิ้นที่ได้จัดเป็นเครื่องเทศอีกอย่างหนึ่งที่คนไทยนิยมนำมาปรุงอาหาร ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ก้าวไกลได้มีการค้นคว้าวิจัยต่างๆ จนเกิดมาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่เรียกว่าขมิ้นชันก็มีให้เห็นถมเถไป ด้วยความเป็นเอกลักษณ์จากสี กลิ่น และรสชาติของขมิ้นพบว่าสามารถต่อสู้กับไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากสารสำคัญที่มาจากขมิ้น เรียกว่า curcumin จัดเป็นตัวช่วยเร่งการเผาผลาญและช่วยในเรื่องท้องอืดท้องเฟ้อได้เป็นอย่างดีค่ะ

 

22.ผลไม้ตระกูลเบอรร์รี่

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่จำพวก สตรอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ จะเต็มไปด้วยสารโพลีฟีนอลซึ่งจะไปช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันและป้องกันยับยั้งไม่ให้เกิดขึ้น อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของผิวพรรณอีกด้วย โดยเฉพาะบลูเบอร์รี่ที่จัดเป็นแหล่งที่มีฤทธิ์ของสาร resveratrol ที่เป็น สารต่อต้านอนุมูลอิสระ นั่นเอง

 

www.flickr.com/photos/echadwick/2691099334/

www.flickr.com/photos/aryaziai/8731999161/

ไขมันทรานส์ (Trans Fat) คืออะไร

eat-burger-1
Source: Flickr (click image for link)

ไขมันทรานส์ (Trans fat)

ไขมันทรานส์ (Trans fat) เป็นไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งพบได้ไม่บ่อยในธรรมชาติ แต่สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้จากกระบวนการแปรรูปกรดไขมันไม่อิ่มตัวให้กลายเป็นกรดไขมันอิ่มตัวสูง ตัวอย่างเช่น การทำน้ำมันพืช จะมีการเติมไฮโดรเจนลงไปในน้ำมันพืช เรียกว่า กระบวนการไฮโดรจีเนชั่น (hydrogenation) เช่น น้ำมันถั่วเหลือง หรือแม้กระทั่งการแปรรูปให้มีลักษณะเป็นกึ่งของแข็ง เช่น มาร์การีนหรือเนยเทียม เนยขาว ครีมเทียม เป็นต้น โดยวัตถุดิบเหล่านี้จะมีชื่อบนฉลากอาหาร คือ กรดไขมันชนิดทรานส์ หรือ hydrogenated oil หรือ partially hydrogenated oil

“ไขมันทรานส์” คือ ไขมันที่ผ่านกระบวนการเพิ่มอะตอมไฮโดรเจนเข้าไปในโมเลกุล ทำให้คุณสมบัติของไขมันเปลี่ยนแปลงไป โดยจะแข็งตัวมีทรงมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลง เสื่อมเสีย เหม็นหืนช้าลง ดังนั้นจึงทำให้ไขมันทรานส์สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยไม่เหม็นหืน ไม่เป็นไข ทนความร้อนได้สูงและมีรสชาติใกล้เคียงกับไขมันจากสัตว์แต่จะมีราคาที่ถูกกว่า​ บรรดาผู้ประกอบกิจการอาหารต่างๆ จึงมักนิยมนำไขมันทรานส์มาใช้ประกอบอาหารมากมาย เพื่อประโยชน์ในด้านการลดต้นทุนการผลิตลง เช่น กลุ่มอาหารฟาสต์ฟูดที่ใช้เป็นน้ำมันสำหรับทอดไก่ มันฝรั่ง โดนัท หรือการนำมาใช้ในการประกอบกิจการเบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว ครีมเทียมและวิปปิ้งครีม เป็นต้น ดังนั้นอุตสาหกรรมอาหารจึงนิยมนำาใช้ผสมในอาหารและขนมค่ะ

 

cracker-1
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

ผลร้ายจากไขมันทรานส์

ถึงแม้ว่าไขมันทราน์จะสามารถทานได้ แต่การที่เราได้รับประทานอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์มากๆ จะไปมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ cholesterol acyltranferase ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในการเมตาบอลิซึมของคอเลสเตอรอล ทำให้ระดับ LDL ที่เป็นคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีในเลือดเพิ่มขึ้น และจะไปลดระดับ HDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีในเลือดลง อีกทั้งยังไปเพิ่มไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดและเพิ่มการอักเสบทั่วร่างกาย เนื่องจากไขมันทรานส์เป็นไขมันที่เกิดจากการแปรรูปจึงย่อยสลายได้ยากกว่าไขมันชนิดอื่น เป็นผลทำให้ตับต้องสลายไขมันทรานส์ด้วยวิธีการที่แตกต่างไปจากการย่อยสลายไขมันตัวอื่น จึงอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ผิดปกติกับร่างกาย คือจะทำให้ร่างกายมีน้ำหนักและไขมันส่วนเกินเพิ่มมากขึ้น มีภาวะการทำงานของตับที่ผิดปกติ มีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โดยความเสี่ยงที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นผลจากงานวิจัยหลายชิ้นที่ศึกษาถึงเรื่องไขมันทรานส์

ถึงตอนนี้แล้วพูดได้เลยว่าไขมันทรานส์นั้นได้กลายเป็นศัตรูตัวร้ายและอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาวอย่างแน่นอน และก็มีในหลายๆ ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ได้มีการออกข้อบังคับเกี่ยวกับการระบุปริมาณไขมันทรานส์บนฉลากโภชนาการ และให้คำแนะนำแก่ประชาชนในการจำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์แล้วด้วย

โดยสถาบันทางการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา (Institute of Medicine) มีข้อแนะนำเมื่อปี 2548 ว่า ให้บริโภคไขมันทรานซ์น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของพลังงาน หรือ 2 กรัมต่อพลังงาน 1,800 กิโลแคลอรีต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณไขมันทรานซ์ที่คนเราได้รับจากการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นม และปัจจุบันในประเทศสหรัฐอเมริกาก็มีข้อบังคับให้ระบุปริมาณไขมันทรานซ์บนฉลากอาหาร ทำให้ผู้ผลิตหันมาใช้กรดไขมันอิ่มตัวแทน ซึ่งถ้าไม่อ่านฉลากให้ละเอียดเราอาจจะพลาดได้ แม้ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่ากรดไขมันอิ่มตัวจะเป็นอันตรายต่อร่างกายเพียงไหน แต่ทางที่ดีที่สุดคือ ควรจำกัดปริมาณไขมันรวมที่บริโภค จะช่วยให้จำกัดไขมันทุกชนิดไปในตัว แต่น่าเสียใจที่บ้านเรายังไม่มีมาตรการทางกฎหมาย มาควบคุมการใช้หรือบังคับให้ระบุปริมาณไขมันทรานส์บนฉลากโภชนาการ

 

ในคนที่รักสุขภาพและคนที่ใส่ใจสุขภาพไม่ควรที่จะมองข้ามกันนะคะ และควรที่จะระมัดระวังในเรื่องการเลือกทานอาหารมากขึ้น โดยการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณไขมันทรานส์เยอะ เช่น อาหารประเภทของทอด (ไก่ทอด, เฟรนซ์ฟรายส์, นักเก็ต) ซึ่งมักจะใช้น้ำมันทอดซ้ำๆ จนหนืด รวมทั้งแฮมเบอเกอร์ หรือขนมขบเคี้ยวที่เก็บไว้นานๆ แต่ก็ยังกรุบกรอบ นอกจากนี้ยังรวมถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของเนยขาวและมาร์การีน จำพวก คุ้กกี้ พาย พัฟ หรือขนมขบเคี้ยวชนิดแท่งด้วย

 

 

www.flickr.com/photos/mr_t_in_dc/4722400577/

www.flickr.com/photos/eplewis/7435456486/

ไขมัน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

oil-1
Source: Flickr (click image for link)

ไขมัน (Fat) คือ สารประกอบหลายชนิดซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือ ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์แต่ไม่ละลายน้ำ คำว่าไขมัน (fat) ทางเคมีอาหาร นั้นหมายถึง ลิพิด (lipid) ประเภทไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ที่มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้องขณะที่ น้ำมัน (oil) เป็นไตรกลีเซอไรด์ที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง คำว่าไขมัน (fat) และน้ำมัน (oil) มักใช้แทนกันหรือใช้คู่กัน โดยทั่วไป “น้ำมัน” ใช้กับไขมันที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง “ไขมัน” หมายถึง ไขมันที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง “ลิพิด” หมายรวมไขมันทั้งที่เป็นของเหลวและของแข็งตลอดจนสสารที่เกี่ยวข้องอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ในบริบททางการแพทย์หรือชีวเคมี ดังนั้น กรดไขมัน (fatty acid) ที่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ในไขมัน (fat) จึงเป็นกรดไขมันที่มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าอุณหภูมิห้อง ได้แก่ กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) ขณะที่น้ำมัน (oil) มีองค์ประกอบหลักคือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) ซึ่งมีจุดหลอมเหลวต่ำค่ะ ส่วนไขมันในทางโภชนาการนั้นหมายถึงสารอาหาร (nutrient) ที่ให้พลังงาน และก็มีส่วนประกอบหลักคือไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) โดยไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี (Kcalorie) ในขณะที่โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี ค่ะ

ไขมัน (fat) ที่ใช้ในอาหาร ได้แก่ ไขมันจากสัตว์ รวมทั้งน้ำมันพืช (vegetable oil) ที่ผ่านกระบวนการ hydrogenation เพื่อทำให้มีสถานะเป็นของแข็ง ได้แก่ เนย (butter), เนยโกโก้ (cocoa butter) และเนยโกโก้เทียม (cocoa butter equivalent), ไขมันวัว (tallow), ไขมันหมู (lard), ไขมันจากไก่ (schmaltz), มาร์การีน (margarine) หรือ เนยขาว (shortening) เป็นต้น

 

เกี่ยวกับไขมัน (Fat)

อาหารที่เราบริโภคทุกวันนี้ มีสารอาหารที่เป็นประกอบที่สำคัญคือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรทและไขมัน ไขมัน (Lipids) เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานมากที่สุดคือประมาณ 9 แคลอรี่ต่อ 1 กรัม ไขมันมีในอาหารทั่วไปทั้งในพืชและเนื้อสัตว์จะมากน้อยตามชนิดของอาหารแตกต่างกันไป ไขมันยังมีส่วนสำคัญในด้านเนื้อสัมผัส, กลิ่นรส, ความชุ่มเนื้อและรสชาติของอาหารอีกด้วย และเนื่องจากร่างกายของเราย่อยไขมันได้ช้ากว่าสารอาหารชนิดอื่น เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมันจึงทำให้เรารู้สึกอิ่ม หลังจากที่ได้รับอาหารเข้าไปในประมาณที่เพียงพอแล้ว

ไขมัน (LIPIDS) แบ่งตามวิทยาศาสตร์เคมีได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)และฟอสโฟไลปิดส์ (Phospholipids) และอื่นๆ อีกที่ไม่ค่อยสำคัญมากแต่ที่เรามักจะได้ยินคุ้นหูจากแพทย์บ่อยๆ ก็คือคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งแพทย์จะบอกแก่คนไข้ว่า ตรวจไขมันในเลือดให้นั้นก็คือ การตรวจค่าของทั้งสองชนิดนั่นเอง

คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อใช้ในการสร้างฮอร์โมน วิตามินอี และกรดน้ำดีซึ่งช่วยย่อยอาหาร ถ้าร่างกายมีคอเลสเตอรอลสูงเกินกว่าปกติ (มากกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ก็จะก่อให้เกิดผลเสียจากการที่คอเลสเตอรอลไปพอกตามผนังหลอดเลือดแดงทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย เป็นต้น เราจะพบคอเลสเตอรอลเฉพาะในสัตว์ และพบมากในอาหารที่มาจากเครื่องในสัตว์รวมทั้งไข่แดง

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) คือ ไขมันและน้ำมันที่ได้จากพืชและสัตว์มีสารประกอบส่วนใหญ่เป็นไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้ไตรกลีเซอไรด์ยังเกิดขึ้นได้จากกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท เช่น น้ำตาล ดังนั้นถ้าหากรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรทในปริมาณที่มากเกินไปจะมีผลทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ค่าปกติของไตรกลีเซอไรด์ควรอยู่ระหว่าง 35-160 mg/dl

ฟอสโฟลิปิด (Phospholipid) เป็นไขมันที่มีคุณสมบัติละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน

เรามาทำความเข้าใจกับโครงสร้างอย่างง่ายๆ ของกรดไขมันกันก่อน คือกรดไขมันจะประกอบด้วยธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน ซึ่งโมเลกุลของธาตุทั้งสามนี้ จะเกาะกันเป็นลูกโซ่มากน้อยตามแต่ละชนิด ซึ่งมีประมาณ 40 ชนิด

ไขมันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1.กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated Fatty Acids) คือเป็นไขมันเต็มตัวแล้ว คือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจนจับกันเป็นลูกโซ่โดยสมบูรณ์ และไม่มีช่องว่างเหลือที่จะทำปฏิกิริยากับสารใดๆ ในร่างกายได้ ดังนั้น ไขมันชนิดนี้จะอยู่ในรูปของแข็งในอุณหภูมิปกติ ไขมันจำพวกนี้จะพบมากใน ไขมันสัตว์ เช่น เนื้อหมู วัว และไขมันจากกะทิ มะพร้าว เนย ไข่แดงและอื่นๆไขมันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

2.กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fatty Acids) คือไขมันที่ธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจนจับกันยังไม่สมบูรณ์ นั่นคือ ยังมีช่องว่างในลูกโซ่เหลืออยู่และพร้อมที่จะทำปฏิกิริยาและจับกับสารอื่นๆ ในร่างกายได้และพร้อมจะเปลี่ยนแปรสภาพเป็นสารอื่นๆ ได้ พบมากในน้ำมันปลาแซลมอน น้ำมันเมล็ดพันธุ์บอเรจ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส น้ำมันจมูกข้าวสาลีและอื่นๆ ซี่งกรดไขมันไม่อิ่มตัวแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ไขมันชนิดนี้แทบไม่มีบทบาทอะไรกับปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา เป็นต้น
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง กรดไขมันชนิดนี้สำคัญต่อร่างกายมาก ช่วยในการทำงานของอวัยวะสำคัญในร่างกาย มีลักษณะเหลวแม้ในอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่ได้จากพืชและสัตว์น้ำบางชนิด เช่น น้ำมันทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด

 

ประโยชน์ของไขมันที่มีต่อร่างกาย

 

ให้พลังงานแก่ร่างกาย ไขมันเป็นอาหารสำคัญที่มีความจำเป็นต่อร่างกายและเป็น 1 ในอาหาร 5 หมู่ที่มีประโยชน์ ทั้งไขมันในอาหารยังช่วยทำให้อาหารนุ่ม และยังช่วยให้ผู้บริโภครู้สึกอิ่มได้นาน เนื่องจากไขมันย่อยได้ช้ากว่าโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ไขมันให้พลังงานแก่ร่างกายได้มากกว่าสารอาหารชนิดอื่น ช่วยทำให้ร่างกายมีพลังงานที่จะทำงานและประกอบกิจวัตรประจำวัยได้ตามปกติ

 

ช่วยในการละลายและการดูดซึมวิตามิน ไขมันจะไปช่วยในการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน (Fat soluble Vitamins) เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย

 

ช่วยปกป้องและกันความร้อน รวมทั้งคอยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ โดยไขมันทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน(Thermal Insulator) ของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย ช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อน ทำให้ผิวชุ่มชื่นไม่แตกแห้ง

 

ไขมันช่วยเป็นเสมือนกันชนให้ร่างกาย ไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย ช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนของอวัยวะภายในได้ คือช่วยป้องกันการกระเทือนของอวัยวะภายในร่างกาย ที่เกิดจากแรงกระแทกหรือการเคลื่อนไหวอย่างแรงของร่างกาย ซึ่งคอยป้องกันการบาดเจ็บของอวัยวะภายในร่างกาย 

 

เป็นองค์ประกอบของเซลล์เมมเบรนทุกชนิด ไขมันเป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อประสาท นั่นก็คือเส้นประสาทของคนเราจะมีไขมันเป็นส่วนประกอบในอัตราที่สูง โดยเฉพาะจะหุ้มเส้นประสาทช่วยในการป้องกันเส้นประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อถูกสั่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

 

เป็นส่วนประกอบของเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกาย ไขมันเมื่อรวมตัวกับโปรตีนก็คือ ไลโปโปรตีน (Lipoproteins) จะเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะผนังเซลล์และไมโตคอนเดรีย ส่วนนี้มีประโยชน์สำหรับคนเรามาก เพราะร่างกายของเราประกอบเป็นตัวตนด้วยเซลล์หลายๆ ล้านเซลล์ และเซลล์ของร่างกายเราจะผลิตทุกวันเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ นั่นก็คือถ้าร่างกายเราขาดไขมันผนังเซลล์ของร่างกายเราก็จะอ่อนแอ เซลล์ที่ตายไปก็ไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ค่ะ

 

ให้กรดไขมันจำเป็นแก่ร่างกาย คือ กรดลิโนเลอิก ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดผิวหนังอักเสบ และมีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของทารก นอกจากนั้นกรดไขมันจำเป็นยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดด้วย โดยจะไปรวมกับคอเลสเตอรอลอิสระได้เป็นคอเลสเตอรอลเอสเทอร์ ทำให้ละลายในเลือดได้ง่าย

 

 

www.flickr.com/photos/chiotsrun/4255041466/

7 ประโยชน์สุดยอดจากแอปเปิ้ลเขียว

green-apple-1
Source: Flickr (click image for link)

วันนี้มาถึงคิวของผลไม้ที่เราเรียกว่า แอปเปิ้ล กันค่ะ แต่วันนี้จะเป็นแอปเปิ้ลสีเขียวค่ะ จากโพสที่แล้วเป็นเรื่องเกี่ยวกับประโยชน์ของแอปเปิ้ลสีแดง และด้วยประโยชน์ที่มีมากมายจากแอปเปิ้ลสีแดงอีกทั้งส่วนข้อมูลของแอปเปิ้ลเขียววันนี้ก็มีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการที่ดีไม่แตกต่างกันเลยค่ะ อย่างไรก็ดีขึ้นชื่อว่าแอปเปิ้ลแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสีไหนประโยชน์และคุณค่าก็ไม่ได้แพ้กันเลยทีเดียวค่ะ และหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์และก็เพื่อทำให้ทุกๆคนได้ทราบกันว่าแอปเปิ้ลแต่ละสีนั้นเป็นอย่างไร มีคุณค่าทางโภชนาการแตกต่างกันอย่างไรบ้างและมีอย่างไหนที่มีความโดดเด่นจากผลไม้อื่นๆหรือเปล่า ข้อมูลที่กีเหล่านี้รวมถึงสิ่งดีๆเราก็อยากเอามาแชร์และแบ่งปันเผื่อใครที่กำลังเลือกหนทางรักษาสุขภาพโดยการเลือกรับประทานอาหารหรืออยากให้ร่างกายได้รับแต่สิ่งดีๆ เราก็ขอให้ข้อมูลของเราสามารถช่วยคุณได้บ้างนะคะ ถ้าอย่างนั้นเราก็ไปพบและเข้าใจกับข้อมูลที่เกี่ยวกับประโยชน์ต่างๆ ของแอปเปิ้ลเขียวกันให้มากขึ้นกันเลยดีกว่าค่ะ

 

 

7 ประโยชน์สุดยอดที่คุณควรเลือกกินแอปเปิ้ลเขียว

green-apple-2
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก

ปฎิเสธไม่ได้เลยที่จะยกให้เป็นผลประโยชน์ข้อแรกของแอปเปิ้ลเขียวค่ะ จากข้อมูลของ USDA Nutrient database ของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา พบว่าแอปเปิ้ลเขียวมีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้ โดยคุณค่าทางอาหารต่อแอปเปิ้ลเขียว 100 กรัม มีปริมาณพลังงาน 58 กิโลแคลอรี่, น้ำ 85.46 กรัม, น้ำตาล 9.59 กรัม, ไฟเบอร์ 2.8 กรัม และโพแทสเซียม 120 กรัม ค่ะ จากแอปเปิ้ลเขียวที่ให้พลังงานน้อยแล้ว ในแอปเปิ้ลเขียวนั้นมีเอ็นไซม์ที่สามารถช่วยในการลดน้ำหนักได้ค่ะ อีกทั้งยังมีเอ็นไซม์ที่จะเผาผลาญสารอาหารช่วยทำให้ระบบย่อยและระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น นอกเหนือไปจากวิตามินและเกลือแร่ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว กรดผลไม้ที่มีอยู่ในแอปเปิ้ลสามารถช่วยควบคุมและยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนแห่งความอยากอาหาร ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลังจากคุณรับประทานแอปเปิ้ลไปซักผลสองผลคุณจะไม่มีความรู้สึกอยากรับประทานอาหารอื่นใดอีกเลย กรดผลไม้ของแอปเปิ้ลยังสามารถช่วยพยุงไม่ให้ระดับของโปรตีนในร่างกายลดต่ำลงและขณะเดียวกันก็ยังช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันถูกดึงมาเก็บสะสมไว้ในร่างกายเพิ่มขึ้นอีกค่ะ

 

2.ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลำใส้

เปลือกสีเขียว ๆ ของแอปเปิ้ลเขียวก็ยังอัดแน่นไปด้วยประโยชน์มากมายไม่ว่าจะเป็นใ­­­ยอาหารที่มีสูงที่ช่วยในระบบการขับถ่ายและทำให้ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเอ็นไซม์ที่จะเผาผลาญสารอาหารช่วยทำให้ระบบย่อยและระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น พร้อมกันนั้นก็อุดมไปด้วยเพกติกสารคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งซึ่งสามารถต่อต้านเชื้อแบคทีเรียร้ายในระบบทางเดินอาหารตัวการที่ทำให้คุณเกิดอาการท้องร่วงค่ะ

 

3.ช่วยเรื่องของผิวพรรณ

นอกจากเรื่องของสุขภาพร่างกายแล้ว เรื่องของความสวยความงามนั้นแอปเปิ้ลเขียวก็ไม่พลาดที่จะมีบทบาทสำคัญอยู่เหมือนกันค่ะ เนื่องจากแอปเปิ้ลเขียวมีวิตามินที่จำเป็นสำหรับผิวพรรณและด้วยที่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยในการบำรุงผิวพรรณ อย่างเช่น วิตามิน C ซึ่งก็ได้พบว่าในแอปเปิ้ลเขียวจะมีมากกว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ บางประเภทเสียอีกค่ะ และก็พบว่าถ้าเรารับประทานแอปเปิ้ลเขียวทั้งเปลือกนั้นสาร “โพลีฟีนอล” ที่มักจะอยู่ตามเปลือกหรือเนื้อที่อยู่ติดกับเปลือก จะไปช่วยป้องกันผิวพรรณไม่ให้โดนแดดเผาทำลาย ป้องกันยูวีเอและยูวีบีจากแสงแดด เวลาที่เรากัดแอปเปิ้ลทิ้งไว้แล้วสีของเนื้อแอปเปิ้ลเปลี่ยนไปนั่นแสดงว่ามีสาร “โพลีฟีนอล” นั่นเอง ดังนั้นจึงเข้าใจได้ว่าที่ไหนมีสารโพลีฟีนอล พอโดนอากาศก็จะเกิดสนิมเป็นสีน้ำตาลขึ้นมาทันที ไม่ว่าจะเป็นผักหรือผลไม้ค่ะ

 

4.ช่วยลดคอเลสเตอรอล

แอปเปิ้ลมีสารเพคตินซึ่งเป็นไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ เมื่อกรดในทางเดินอาหารย่อยสลายไขมันแยกคอเลสเตอรอลออกมาแล้ว เพคตินจากแอปเปิ้ลจะไปคอยดักจับคอเลสเตอรอลเหล่านั้นและนำไปทิ้งก่อนที่จะถูกดูดกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้งค่ะ ง่ายๆก็คือช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันถูกดึงมาเก็บสะสมไว้ในร่างกายเพิ่มเติมอีกนั่นเองค่ะและยังพบว่าแอปเปิ้ลลดคอเลสเตอรอลในผู้หญิงได้ดีกว่าผู้ชายด้วยค่ะ

 

5.ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลในเลือด เมื่อรับประทานอาหารเข้าไป อาหารแต่ละชนิดก็จะถูกย่อยสลายและดูดซึมผ่านผนังกระเพาะลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดจะเพิ่มช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของอาหารนั้นๆ คนที่รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์มากๆ จะมีโอกาสเกิดเบาหวานต่ำกว่าคนที่รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์น้อย และสำหรับคนที่เป็นเบาหวานอยู่แล้ว ไฟเบอร์จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยและแอปเปิ้ลมีไฟเบอร์ชนิดที่ละลายน้ำสูงมาก จึงเหมาะสำหรับคนที่เป็นเบาหวานค่ะ

 

6.ช่วยลดการสูญเสียกล้ามเนื้อจากการป่วย

ในคนที่ชอบออกกำลังกายเป็นประจำอยู่เสมอนั้นมักจะมีกล้ามเนื้อที่เฟิร์มและแข็งแรง แต่ถ้าเกิดวันหนึ่งคุณได้เกิดล้มป่วยขึ้นมานั้น อาจจะทำให้คุณต้องหยุดพักร่างกายจนออกกำลังกายไม่ได้เป็นช่วงเวลาหนึ่ง แน่นอนว่าในขณะที่คุณหยุดพักกล้ามเนื้อส่วนที่ได้เพิ่มเติมขึ้นมาจากการออกกำลังกาย อาจจะมีน้อยลงหรือหายไปบ้าง ซึ่งในจุดนี้เองที่ผู้ชายส่วนใหญ่มักจะกังวล เพราะการที่กล้ามเนื้อหายไปก็มักจะทำให้รูปร่างที่เคยดูดีนั้นเปลี่ยนไปด้วย แต่สิ่งเหล่านี้สามารถป้องกันได้ โดยการบริโภคแอปเปิ้ลสีเขียวเป็นประจำเพราะในแอปเปิ้ลสีเขียวนั้นประกอบไปด้วยกรดบางชนิดที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ในการเพิ่มพลังและสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อของเราโดยตรงนั่นเองค่ะ

 

7.ช่วยบรรเทาโรคภัยไข้เจ็บ

ด้วยที่ว่าในแอปเปิ้ลนั้นมีวิตามินซีและเบต้าแคโรทีนอยู่มาก จึงสามารถช่วยบรรเทาหรือป้องกันโรคหวัดและโรคเลือดออกตามไรฟันได้ และแอปเปิ้ลยังช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้นจึงช่วยได้ทั้งอาการท้องผูกและท้องเสีย ใครที่มีอาการท้องผูกแอปเปิ้ลจึงเป็นผลไม้ในตัวเลือกหนึ่งเลยก็ว่าได้ค่ะ อีกทั้งยังทำให้ความดันโลหิตค่อยๆ ลดลง เหมาะสำหรับผู้ที่ความดันโลหิตสูงอีกด้วยค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/36328518@N07/3384100342/

www.flickr.com/photos/63723146@N08/8482731764/