Browse Tag: body

อนุมูลอิสระ(free radical) คืออะไร

smoking-1
Source: Flickr (click image for link)

อนุมูลอิสระ คืออะไร?

“อนุมูลอิสระ” นั้นเป็นตัวทำลายภูมิคุ้มกันและเซลล์ต่างๆ ทำให้เกิดการเสื่อมถอยของร่างกาย ซึ่งจะแสดงออกมาในรูปแบบของริ้วรอยที่ทำให้แก่ก่อนวัย รวมถึงโรคความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายของเรา  และที่หนักสุดก็คือ การก่อตัวเป็นเนื้อร้ายหรือเซลล์มะเร็งนั้นเองค่ะ ร่างกายเรามีสารอนุมูลอิสระมาตั้งแต่เกิด แต่ในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น ร่างกายเรายังสามารถกำจัดตัวอนุมูลอิสระได้ดีอยู่ แต่เมื่อเริ่มเข้าวัยทำงานหรือเมื่อเราอายุมากขึ้นหรือร่างกายของเราอ่อนแอ มีความเครียด ภูมิคุ้มกันก็จะไม่สามารถต่อสู้กับอนุมูลอิสระได้ อนุมูลอิสระจะโจมตีเนื้อหุ้มเซลล์ทำให้เซลล์ทำงานผิดปกติ และในช่วงนี้เองที่เราไม่ควรที่จะละเลยและควรใส่ใจในสุขภาพเรามากขึ้น

อนุมูลอิสระหรืออนุมูลเสรี (free radical) หมายถึง อะตอมหรือโมเลกุลที่มีอิเล็กตรอนไม่เป็นคู่ (unpaired electron) อย่างน้อย 1 ตัวโคจรรอบวงนอกสุด อนุมูลอิสระเกิดขึ้นได้เมื่อพันธะระหว่างอะตอมแตกออก ทำให้อนุมูลอิสระไม่เสถียรและไวต่อการเกิดปฏิกิริยาอย่างรวดเร็ว จึงทำปฏิกิริยากับโมเลกุลที่อยู่รอบๆ โดยดึงหรือให้อิเล็กตรอนโมเลกุลข้างเคียงเพื่อให้ตัวมันเสถียร โมเลกุลข้างเคียงที่สูญเสียหรือรับอิเล็กตรอนจะกลายเป็นอนุมูลอิสระตัวใหม่ที่ไม่เสถียรและเข้าทำปฏิกิริยากับโมเลกุลอื่นต่อไปเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ (chain reaction)

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้น

ในกระบวนการเผาผลาญสารอาหาร ร่างกายของเราจำเป็นต้องอาศัยออกซิเจนช่วยในกระบวนการนี้ทำให้ได้ออกซิเจนที่มีประจุลบ ซึ่งก็คือ อนุมูลอิสระ สารตัวนี้นอกจากจะรวมตัวกับไขมันไม่ดีแล้ว ยังสามารถรวมตัวกับสารบางชนิดในร่างกายเราแล้วก่อให้เกิดเป็นสารพิษที่ทำลายเนื้อเยื่อ หรืออาจไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางพันธุกรรมภายในเซลล์ ทำให้เซลล์ปกติแปรสภาพเป็นเซลล์มะเร็งได้ในที่สุด การปรับตัวในการใช้ชีวิตตามยุคให้เข้ากับสมัยใหม่ วิถีชีวิตที่เร่งรีบจึงได้มีสิ่งที่อำนวยความสะดวกต่างๆ มาให้เรามากมาย ไหงสุขภาพของเราถึงกลับมีปัญหามากขึ้น ด้วยการที่ต้องใช้ชีวิตแข่งกับเวลา อยู่ท่ามกลางสังคมที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบและมลภาวะที่เป็นพิษรอบตัวมากมาย อาหารสำเร็จรูปที่ผ่านการใช้สารเคมีหาซื้อรับประทานได้ง่ายตามท้องตลาดจึงกลายเป็นตัวเลือกของคนส่วนใหญ่ในยุคสมัยนี้ การเกิดอนุมูลอิสระในอาหารและสิ่งมีชีวิต เกิดขึ้นจากการกระตุ้นโมเลกุลของสารด้วยปฏิกิริยาเคมี เช่น

  • ปฏิกิริยาการเกิดลิพิดออกซิเดชัน lipid oxidation
  • เกิดจากพลังงาน เช่น การฉายรังสีอาหาร (food irradiation) แสงอัลตราไวโอเลต ultraviolet
  • มลพิษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางอากาศ  ควันรถ ควันบุหรี่ สารเคมีปนเปื้อน ยาฆ่าแมลง ควันไฟ
  • ร่างกายขาดวิตามินและเกลือแร่บางชนิด
  • รังสียูวี จะเป็นตัวทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระ ทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควร
  • การรับประทานอาหารที่ผ่านการทอดด้วยอุณหภูมิสูง อาหารปิ้ง ย่าง และสารปรุ่งแต่งอาหาร
  • การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารเคมีต่างๆ
  • ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ออกกำลังกาย

 

สารต้านอนุมูลอิสระ

antioxidant-fruits-1
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปกติแล้วร่างกายของเราจะมีกลไกการกำจัดตัวอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกาย เราเรียกสารตัวนั้นว่า สารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งร่างกายเราสามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่ด้วยอายุที่มากขึ้น ความเครียด และวิถีการใช้ชีวิตในปัจจุบันทำให้สารต้านอนุมูลอิสระลดน้อยลง ทำให้ไม่เพียงพอต่อการต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในแต่ละวันนั่นเองค่ะ แต่ถ้าร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่มากพอ จากอาหารและน้ำดื่มมาช่วยเสริมการทำงาน ร่างกายของเราก็จะอยู่ในสภาพปกติไม่เสื่อมเร็วก่อนเวลาอันควร จำเป็นต้องพึ่งพาจำพวกกลุ่มของสารต้านอนุมูลอิสระที่ได้มาจากอาหาร เช่น วิตามินเอ (vitamin A) วิตามินซี (vitamin C) วิตามินอี (vitamin E) บีตา-แคโรทีน ที่มีในอาหาร รวมทั้งกลุ่มพอลิฟีนอล (polyphenols) ฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ที่พบมากอยู่ในพืช ผักและผลไม้ เพื่อเข้าไปช่วยเสริมสร้างระบบต้านออกซิเดชัน (antioxidant) ในร่างกายให้มีประสิทธิภาพในการทำลายอนุมูลอิสระได้ดียิ่งขึ้น

 

 

www.flickr.com/photos/jurek_durczak/16945606802/

www.flickr.com/photos/jocelyndurston/49098318/

ไขมัน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

oil-1
Source: Flickr (click image for link)

ไขมัน (Fat) คือ สารประกอบหลายชนิดซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือ ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์แต่ไม่ละลายน้ำ คำว่าไขมัน (fat) ทางเคมีอาหาร นั้นหมายถึง ลิพิด (lipid) ประเภทไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ที่มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้องขณะที่ น้ำมัน (oil) เป็นไตรกลีเซอไรด์ที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง คำว่าไขมัน (fat) และน้ำมัน (oil) มักใช้แทนกันหรือใช้คู่กัน โดยทั่วไป “น้ำมัน” ใช้กับไขมันที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง “ไขมัน” หมายถึง ไขมันที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง “ลิพิด” หมายรวมไขมันทั้งที่เป็นของเหลวและของแข็งตลอดจนสสารที่เกี่ยวข้องอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ในบริบททางการแพทย์หรือชีวเคมี ดังนั้น กรดไขมัน (fatty acid) ที่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ในไขมัน (fat) จึงเป็นกรดไขมันที่มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าอุณหภูมิห้อง ได้แก่ กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) ขณะที่น้ำมัน (oil) มีองค์ประกอบหลักคือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) ซึ่งมีจุดหลอมเหลวต่ำค่ะ ส่วนไขมันในทางโภชนาการนั้นหมายถึงสารอาหาร (nutrient) ที่ให้พลังงาน และก็มีส่วนประกอบหลักคือไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) โดยไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี (Kcalorie) ในขณะที่โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี ค่ะ

ไขมัน (fat) ที่ใช้ในอาหาร ได้แก่ ไขมันจากสัตว์ รวมทั้งน้ำมันพืช (vegetable oil) ที่ผ่านกระบวนการ hydrogenation เพื่อทำให้มีสถานะเป็นของแข็ง ได้แก่ เนย (butter), เนยโกโก้ (cocoa butter) และเนยโกโก้เทียม (cocoa butter equivalent), ไขมันวัว (tallow), ไขมันหมู (lard), ไขมันจากไก่ (schmaltz), มาร์การีน (margarine) หรือ เนยขาว (shortening) เป็นต้น

 

เกี่ยวกับไขมัน (Fat)

อาหารที่เราบริโภคทุกวันนี้ มีสารอาหารที่เป็นประกอบที่สำคัญคือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรทและไขมัน ไขมัน (Lipids) เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานมากที่สุดคือประมาณ 9 แคลอรี่ต่อ 1 กรัม ไขมันมีในอาหารทั่วไปทั้งในพืชและเนื้อสัตว์จะมากน้อยตามชนิดของอาหารแตกต่างกันไป ไขมันยังมีส่วนสำคัญในด้านเนื้อสัมผัส, กลิ่นรส, ความชุ่มเนื้อและรสชาติของอาหารอีกด้วย และเนื่องจากร่างกายของเราย่อยไขมันได้ช้ากว่าสารอาหารชนิดอื่น เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมันจึงทำให้เรารู้สึกอิ่ม หลังจากที่ได้รับอาหารเข้าไปในประมาณที่เพียงพอแล้ว

ไขมัน (LIPIDS) แบ่งตามวิทยาศาสตร์เคมีได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)และฟอสโฟไลปิดส์ (Phospholipids) และอื่นๆ อีกที่ไม่ค่อยสำคัญมากแต่ที่เรามักจะได้ยินคุ้นหูจากแพทย์บ่อยๆ ก็คือคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งแพทย์จะบอกแก่คนไข้ว่า ตรวจไขมันในเลือดให้นั้นก็คือ การตรวจค่าของทั้งสองชนิดนั่นเอง

คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อใช้ในการสร้างฮอร์โมน วิตามินอี และกรดน้ำดีซึ่งช่วยย่อยอาหาร ถ้าร่างกายมีคอเลสเตอรอลสูงเกินกว่าปกติ (มากกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ก็จะก่อให้เกิดผลเสียจากการที่คอเลสเตอรอลไปพอกตามผนังหลอดเลือดแดงทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย เป็นต้น เราจะพบคอเลสเตอรอลเฉพาะในสัตว์ และพบมากในอาหารที่มาจากเครื่องในสัตว์รวมทั้งไข่แดง

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) คือ ไขมันและน้ำมันที่ได้จากพืชและสัตว์มีสารประกอบส่วนใหญ่เป็นไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้ไตรกลีเซอไรด์ยังเกิดขึ้นได้จากกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท เช่น น้ำตาล ดังนั้นถ้าหากรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรทในปริมาณที่มากเกินไปจะมีผลทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ค่าปกติของไตรกลีเซอไรด์ควรอยู่ระหว่าง 35-160 mg/dl

ฟอสโฟลิปิด (Phospholipid) เป็นไขมันที่มีคุณสมบัติละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน

เรามาทำความเข้าใจกับโครงสร้างอย่างง่ายๆ ของกรดไขมันกันก่อน คือกรดไขมันจะประกอบด้วยธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน ซึ่งโมเลกุลของธาตุทั้งสามนี้ จะเกาะกันเป็นลูกโซ่มากน้อยตามแต่ละชนิด ซึ่งมีประมาณ 40 ชนิด

ไขมันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1.กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated Fatty Acids) คือเป็นไขมันเต็มตัวแล้ว คือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจนจับกันเป็นลูกโซ่โดยสมบูรณ์ และไม่มีช่องว่างเหลือที่จะทำปฏิกิริยากับสารใดๆ ในร่างกายได้ ดังนั้น ไขมันชนิดนี้จะอยู่ในรูปของแข็งในอุณหภูมิปกติ ไขมันจำพวกนี้จะพบมากใน ไขมันสัตว์ เช่น เนื้อหมู วัว และไขมันจากกะทิ มะพร้าว เนย ไข่แดงและอื่นๆไขมันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

2.กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fatty Acids) คือไขมันที่ธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจนจับกันยังไม่สมบูรณ์ นั่นคือ ยังมีช่องว่างในลูกโซ่เหลืออยู่และพร้อมที่จะทำปฏิกิริยาและจับกับสารอื่นๆ ในร่างกายได้และพร้อมจะเปลี่ยนแปรสภาพเป็นสารอื่นๆ ได้ พบมากในน้ำมันปลาแซลมอน น้ำมันเมล็ดพันธุ์บอเรจ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส น้ำมันจมูกข้าวสาลีและอื่นๆ ซี่งกรดไขมันไม่อิ่มตัวแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ไขมันชนิดนี้แทบไม่มีบทบาทอะไรกับปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา เป็นต้น
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง กรดไขมันชนิดนี้สำคัญต่อร่างกายมาก ช่วยในการทำงานของอวัยวะสำคัญในร่างกาย มีลักษณะเหลวแม้ในอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่ได้จากพืชและสัตว์น้ำบางชนิด เช่น น้ำมันทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด

 

ประโยชน์ของไขมันที่มีต่อร่างกาย

 

ให้พลังงานแก่ร่างกาย ไขมันเป็นอาหารสำคัญที่มีความจำเป็นต่อร่างกายและเป็น 1 ในอาหาร 5 หมู่ที่มีประโยชน์ ทั้งไขมันในอาหารยังช่วยทำให้อาหารนุ่ม และยังช่วยให้ผู้บริโภครู้สึกอิ่มได้นาน เนื่องจากไขมันย่อยได้ช้ากว่าโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ไขมันให้พลังงานแก่ร่างกายได้มากกว่าสารอาหารชนิดอื่น ช่วยทำให้ร่างกายมีพลังงานที่จะทำงานและประกอบกิจวัตรประจำวัยได้ตามปกติ

 

ช่วยในการละลายและการดูดซึมวิตามิน ไขมันจะไปช่วยในการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน (Fat soluble Vitamins) เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย

 

ช่วยปกป้องและกันความร้อน รวมทั้งคอยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ โดยไขมันทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน(Thermal Insulator) ของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย ช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อน ทำให้ผิวชุ่มชื่นไม่แตกแห้ง

 

ไขมันช่วยเป็นเสมือนกันชนให้ร่างกาย ไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย ช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนของอวัยวะภายในได้ คือช่วยป้องกันการกระเทือนของอวัยวะภายในร่างกาย ที่เกิดจากแรงกระแทกหรือการเคลื่อนไหวอย่างแรงของร่างกาย ซึ่งคอยป้องกันการบาดเจ็บของอวัยวะภายในร่างกาย 

 

เป็นองค์ประกอบของเซลล์เมมเบรนทุกชนิด ไขมันเป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อประสาท นั่นก็คือเส้นประสาทของคนเราจะมีไขมันเป็นส่วนประกอบในอัตราที่สูง โดยเฉพาะจะหุ้มเส้นประสาทช่วยในการป้องกันเส้นประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อถูกสั่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

 

เป็นส่วนประกอบของเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกาย ไขมันเมื่อรวมตัวกับโปรตีนก็คือ ไลโปโปรตีน (Lipoproteins) จะเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะผนังเซลล์และไมโตคอนเดรีย ส่วนนี้มีประโยชน์สำหรับคนเรามาก เพราะร่างกายของเราประกอบเป็นตัวตนด้วยเซลล์หลายๆ ล้านเซลล์ และเซลล์ของร่างกายเราจะผลิตทุกวันเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ นั่นก็คือถ้าร่างกายเราขาดไขมันผนังเซลล์ของร่างกายเราก็จะอ่อนแอ เซลล์ที่ตายไปก็ไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ค่ะ

 

ให้กรดไขมันจำเป็นแก่ร่างกาย คือ กรดลิโนเลอิก ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดผิวหนังอักเสบ และมีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของทารก นอกจากนั้นกรดไขมันจำเป็นยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดด้วย โดยจะไปรวมกับคอเลสเตอรอลอิสระได้เป็นคอเลสเตอรอลเอสเทอร์ ทำให้ละลายในเลือดได้ง่าย

 

 

www.flickr.com/photos/chiotsrun/4255041466/

6 ประโยชน์สุดยอดจากแอปเปิ้ลสีเหลือง

yellow-apple-1
Source: Flickr (click image for link)

มาถึงแอปเปิ้ลสีสุดท้ายกันค่ะ นั่นก็คือ แอปเปิ้ลสีเหลือง แอปเปิ้ลสีนี้เราอาจจะไม่ค่อยได้พบเห็นกันบ่อยนักตามท้องตลาด ส่วนใหญ่เราจะเห็นแอปเปิ้ลสีแดง สีเขียว หรือสีขมพูกันซะส่วนใหญ่ใช่ไหมล่ะค่ะ แต่ทราบหรือไม่คะว่าประโยชน์ของแอปเปิ้ลสายพันธุ์นี้นั้นมีมากมายเลยทีเดียวค่ะ แอปเปิ้ล ผลไม้ขึ้นชื่อเรื่องของรสชาติความอร่อย เปลือกสีสดน่ากิน เนื้อในหวานหอมกรอบ แถมยังเปี่ยมล้นไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น เบตาแคโรทีน วิตามินซี และเส้นใยไฟเบอร์ จะเห็นได้ว่าแอปเปิ้ลแต่ละสีจะมีประโยชน์เมือนๆกันเกือบทุกข้อ แต่เห็นได้ชัดว่าจะมีประโยชน์บางข้อของแต่ละสีที่มีความโดดเด่นแตกต่างตามเฉพาะของแต่ละสีค่ะ อย่างของแอปเปิ้ลสีเหลืองนี้ก็เหมือนกันค่ะ เพราะอย่างนี้วันนี้เราจึงขอนำเสนอข้อมูลของประโยชน์จากแอปเปิ้ลสีเหลืองมาให้ได้อ่านกันค่ะ

 

 

ประโยชน์ที่คุณควรเลือกกินแอปเปิ้ลสีเหลือง

yellow-apple-2
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.ช่วยบำรุงสายตาและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อกระจก

ยกให้เป็นประโยชน์เด่นข้อแรกของแอปเปิ้ลสีเหลืองเลยค่ะ เนื่องด้วยแอปเปิ้ลสีเหลืองนี้มีสารเบต้าแคโรทีนที่ช่วยในเรื่องของการบำรุงสายตาที่อยู่สูงกว่าชนิดอื่น และแอปเปิ้ลสีเหลืองยังอุดมไปด้วยสารเควอร์ซิติน โดยสารนี้จะไปช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อกระจกด้วยค่ะ

 

2.ช่วยกำจัดสารพิษในร่างกาย  

แอปเปิ้ลสีเหลืองนั้นเป็นผลไม้ที่ดีที่สุดสำหรับการขจัดของเสียออกจากร่างกาย สารเปกตินในแอปเปิ้ลจะช่วยนำสารพิษไปกำจัดทิ้ง ส่วนของเปลือกแอปเปิ้ลนั้นก็มีความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากมีสารฟลาโวนอยด์ที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ กำจัดสารพิษในร่างกาย การกัดกินแอปเปิ้ลทั้งผลพร้อมเปลือกร่างกายจะได้ประโยชน์มากกว่าปอกเอาเปลือกออก แต่ก่อนกินควรล้างน้ำให้สะอาดเพื่อลดสารพิษที่ติดอยู่ที่ผิวเปลือกด้วยค่ะ

 

3.ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก

แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานต่ำ และมีใยอาหารอยู่ไม่น้อย มีส่วนประกอบของแป้งและน้ำตาลกว่า 75% ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่ร่างกายดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ในเวลาไม่เกิน 10 นาที จึงทำให้เกิดความอยากอาหารลดลง จะเห็นได้จากข้อมูลของ USDA Nutrient database  ของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกาพบว่าแอปเปิลแต่ล่ะสีมีคุณค่าทางโภ­­­ชนาการดังนี้  คุณค่าทางอาหารต่อแอปเปิ้ล 100 กรัม แอปเปิ้ลสีเหลืองให้พลังงาน 57 กิโลแคลอรี่  น้ำ 85.81 กรัม, น้ำตาล 10.4 กรัม, ไฟเบอร์ 2.4 กรัม และโพแทสเซียม 100 กรัม ดังนั้นการเลือกทานผลไม้แอปเปิ้ลนั้นก็ไม่ตัวเลือกที่ดีค่ะ

 

4.ช่วยให้อิ่มนานและไม่หิวบ่อย

น้ำตาลฟรักโทสที่อยู่ในแอปเปิ้ลเป็นน้ำตาลที่เปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานอย่างช้าๆ โดยที่ร่างกายก็สามารถดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ภายในสิบนาที ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น ไม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนเวลาที่เรากินขนมหวานอื่นๆ ทำให้รู้สึกอิ่มนานและไม่หิวบ่อยค่ะ

 

5.ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งและป้องกันโรคมะเร็งลำไส้

เปลือกและเนื้อของแอปเปิ้ลมีเส้นใยอาหารที่ชื่อว่าเพคติน และเส้นใยตัวนี้มีคุณสมบัติพองตัว จึงช่วยเพิ่มกากใยในทางเดินอาหารช่วยให้ขับถ่ายได้ดี และช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ค่ะ

 

6.ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและลดคอเลสเตอรอล

สารเบต้าแคโรทีนและเส้นใยไฟเบอร์ ช่วยในเรื่องของการบำรุงหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล แอปเปิ้ลมีสารเพคตินซึ่งเป็นไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ เมื่อกรดในทางเดินอาหารย่อยสลายไขมันแยกคอเลสเตอรอลออกมาแล้ว เพคตินจากแอปเปิ้ลจะไปคอยดักจับคอเลสเตอรอลเหล่านั้นและนำไปทิ้งก่อนที่จะถูกดูดกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้งค่ะ ง่ายๆก็คือช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันถูกดึงมาเก็บสะสมไว้ในร่างกายเพิ่มเติมอีกนั่นเองค่ะและยังพบว่าแอปเปิ้ลลดคอเลสเตอรอลในผู้หญิงได้ดีกว่าผู้ชายด้วยค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/bernardoramonfaur/25870828710/

www.flickr.com/photos/calliope/24625088606/

7 ประโยชน์สุดยอดจากแอปเปิ้ลเขียว

green-apple-1
Source: Flickr (click image for link)

วันนี้มาถึงคิวของผลไม้ที่เราเรียกว่า แอปเปิ้ล กันค่ะ แต่วันนี้จะเป็นแอปเปิ้ลสีเขียวค่ะ จากโพสที่แล้วเป็นเรื่องเกี่ยวกับประโยชน์ของแอปเปิ้ลสีแดง และด้วยประโยชน์ที่มีมากมายจากแอปเปิ้ลสีแดงอีกทั้งส่วนข้อมูลของแอปเปิ้ลเขียววันนี้ก็มีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการที่ดีไม่แตกต่างกันเลยค่ะ อย่างไรก็ดีขึ้นชื่อว่าแอปเปิ้ลแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสีไหนประโยชน์และคุณค่าก็ไม่ได้แพ้กันเลยทีเดียวค่ะ และหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์และก็เพื่อทำให้ทุกๆคนได้ทราบกันว่าแอปเปิ้ลแต่ละสีนั้นเป็นอย่างไร มีคุณค่าทางโภชนาการแตกต่างกันอย่างไรบ้างและมีอย่างไหนที่มีความโดดเด่นจากผลไม้อื่นๆหรือเปล่า ข้อมูลที่กีเหล่านี้รวมถึงสิ่งดีๆเราก็อยากเอามาแชร์และแบ่งปันเผื่อใครที่กำลังเลือกหนทางรักษาสุขภาพโดยการเลือกรับประทานอาหารหรืออยากให้ร่างกายได้รับแต่สิ่งดีๆ เราก็ขอให้ข้อมูลของเราสามารถช่วยคุณได้บ้างนะคะ ถ้าอย่างนั้นเราก็ไปพบและเข้าใจกับข้อมูลที่เกี่ยวกับประโยชน์ต่างๆ ของแอปเปิ้ลเขียวกันให้มากขึ้นกันเลยดีกว่าค่ะ

 

 

7 ประโยชน์สุดยอดที่คุณควรเลือกกินแอปเปิ้ลเขียว

green-apple-2
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก

ปฎิเสธไม่ได้เลยที่จะยกให้เป็นผลประโยชน์ข้อแรกของแอปเปิ้ลเขียวค่ะ จากข้อมูลของ USDA Nutrient database ของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา พบว่าแอปเปิ้ลเขียวมีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้ โดยคุณค่าทางอาหารต่อแอปเปิ้ลเขียว 100 กรัม มีปริมาณพลังงาน 58 กิโลแคลอรี่, น้ำ 85.46 กรัม, น้ำตาล 9.59 กรัม, ไฟเบอร์ 2.8 กรัม และโพแทสเซียม 120 กรัม ค่ะ จากแอปเปิ้ลเขียวที่ให้พลังงานน้อยแล้ว ในแอปเปิ้ลเขียวนั้นมีเอ็นไซม์ที่สามารถช่วยในการลดน้ำหนักได้ค่ะ อีกทั้งยังมีเอ็นไซม์ที่จะเผาผลาญสารอาหารช่วยทำให้ระบบย่อยและระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น นอกเหนือไปจากวิตามินและเกลือแร่ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว กรดผลไม้ที่มีอยู่ในแอปเปิ้ลสามารถช่วยควบคุมและยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนแห่งความอยากอาหาร ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลังจากคุณรับประทานแอปเปิ้ลไปซักผลสองผลคุณจะไม่มีความรู้สึกอยากรับประทานอาหารอื่นใดอีกเลย กรดผลไม้ของแอปเปิ้ลยังสามารถช่วยพยุงไม่ให้ระดับของโปรตีนในร่างกายลดต่ำลงและขณะเดียวกันก็ยังช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันถูกดึงมาเก็บสะสมไว้ในร่างกายเพิ่มขึ้นอีกค่ะ

 

2.ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลำใส้

เปลือกสีเขียว ๆ ของแอปเปิ้ลเขียวก็ยังอัดแน่นไปด้วยประโยชน์มากมายไม่ว่าจะเป็นใ­­­ยอาหารที่มีสูงที่ช่วยในระบบการขับถ่ายและทำให้ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเอ็นไซม์ที่จะเผาผลาญสารอาหารช่วยทำให้ระบบย่อยและระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น พร้อมกันนั้นก็อุดมไปด้วยเพกติกสารคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งซึ่งสามารถต่อต้านเชื้อแบคทีเรียร้ายในระบบทางเดินอาหารตัวการที่ทำให้คุณเกิดอาการท้องร่วงค่ะ

 

3.ช่วยเรื่องของผิวพรรณ

นอกจากเรื่องของสุขภาพร่างกายแล้ว เรื่องของความสวยความงามนั้นแอปเปิ้ลเขียวก็ไม่พลาดที่จะมีบทบาทสำคัญอยู่เหมือนกันค่ะ เนื่องจากแอปเปิ้ลเขียวมีวิตามินที่จำเป็นสำหรับผิวพรรณและด้วยที่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยในการบำรุงผิวพรรณ อย่างเช่น วิตามิน C ซึ่งก็ได้พบว่าในแอปเปิ้ลเขียวจะมีมากกว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ บางประเภทเสียอีกค่ะ และก็พบว่าถ้าเรารับประทานแอปเปิ้ลเขียวทั้งเปลือกนั้นสาร “โพลีฟีนอล” ที่มักจะอยู่ตามเปลือกหรือเนื้อที่อยู่ติดกับเปลือก จะไปช่วยป้องกันผิวพรรณไม่ให้โดนแดดเผาทำลาย ป้องกันยูวีเอและยูวีบีจากแสงแดด เวลาที่เรากัดแอปเปิ้ลทิ้งไว้แล้วสีของเนื้อแอปเปิ้ลเปลี่ยนไปนั่นแสดงว่ามีสาร “โพลีฟีนอล” นั่นเอง ดังนั้นจึงเข้าใจได้ว่าที่ไหนมีสารโพลีฟีนอล พอโดนอากาศก็จะเกิดสนิมเป็นสีน้ำตาลขึ้นมาทันที ไม่ว่าจะเป็นผักหรือผลไม้ค่ะ

 

4.ช่วยลดคอเลสเตอรอล

แอปเปิ้ลมีสารเพคตินซึ่งเป็นไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ เมื่อกรดในทางเดินอาหารย่อยสลายไขมันแยกคอเลสเตอรอลออกมาแล้ว เพคตินจากแอปเปิ้ลจะไปคอยดักจับคอเลสเตอรอลเหล่านั้นและนำไปทิ้งก่อนที่จะถูกดูดกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้งค่ะ ง่ายๆก็คือช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันถูกดึงมาเก็บสะสมไว้ในร่างกายเพิ่มเติมอีกนั่นเองค่ะและยังพบว่าแอปเปิ้ลลดคอเลสเตอรอลในผู้หญิงได้ดีกว่าผู้ชายด้วยค่ะ

 

5.ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลในเลือด เมื่อรับประทานอาหารเข้าไป อาหารแต่ละชนิดก็จะถูกย่อยสลายและดูดซึมผ่านผนังกระเพาะลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดจะเพิ่มช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของอาหารนั้นๆ คนที่รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์มากๆ จะมีโอกาสเกิดเบาหวานต่ำกว่าคนที่รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์น้อย และสำหรับคนที่เป็นเบาหวานอยู่แล้ว ไฟเบอร์จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยและแอปเปิ้ลมีไฟเบอร์ชนิดที่ละลายน้ำสูงมาก จึงเหมาะสำหรับคนที่เป็นเบาหวานค่ะ

 

6.ช่วยลดการสูญเสียกล้ามเนื้อจากการป่วย

ในคนที่ชอบออกกำลังกายเป็นประจำอยู่เสมอนั้นมักจะมีกล้ามเนื้อที่เฟิร์มและแข็งแรง แต่ถ้าเกิดวันหนึ่งคุณได้เกิดล้มป่วยขึ้นมานั้น อาจจะทำให้คุณต้องหยุดพักร่างกายจนออกกำลังกายไม่ได้เป็นช่วงเวลาหนึ่ง แน่นอนว่าในขณะที่คุณหยุดพักกล้ามเนื้อส่วนที่ได้เพิ่มเติมขึ้นมาจากการออกกำลังกาย อาจจะมีน้อยลงหรือหายไปบ้าง ซึ่งในจุดนี้เองที่ผู้ชายส่วนใหญ่มักจะกังวล เพราะการที่กล้ามเนื้อหายไปก็มักจะทำให้รูปร่างที่เคยดูดีนั้นเปลี่ยนไปด้วย แต่สิ่งเหล่านี้สามารถป้องกันได้ โดยการบริโภคแอปเปิ้ลสีเขียวเป็นประจำเพราะในแอปเปิ้ลสีเขียวนั้นประกอบไปด้วยกรดบางชนิดที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ในการเพิ่มพลังและสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อของเราโดยตรงนั่นเองค่ะ

 

7.ช่วยบรรเทาโรคภัยไข้เจ็บ

ด้วยที่ว่าในแอปเปิ้ลนั้นมีวิตามินซีและเบต้าแคโรทีนอยู่มาก จึงสามารถช่วยบรรเทาหรือป้องกันโรคหวัดและโรคเลือดออกตามไรฟันได้ และแอปเปิ้ลยังช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้นจึงช่วยได้ทั้งอาการท้องผูกและท้องเสีย ใครที่มีอาการท้องผูกแอปเปิ้ลจึงเป็นผลไม้ในตัวเลือกหนึ่งเลยก็ว่าได้ค่ะ อีกทั้งยังทำให้ความดันโลหิตค่อยๆ ลดลง เหมาะสำหรับผู้ที่ความดันโลหิตสูงอีกด้วยค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/36328518@N07/3384100342/

www.flickr.com/photos/63723146@N08/8482731764/