Browse Tag: carbohydrate

สารอาหาร คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

eating-healthy-1
Source: Flickr (click image for link)

วันนี้ทาง HealthGossip อยากนำข้อมูลของ สารอาหาร มานำเสนอกันค่ะ เคยสงสัยหรือเปล่าคะว่าทำไมร่างกายของเราถึงต้องการสารอาหาร ก่อนที่จะได้สารอาหารก็ต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เข้าไปก่อน อาหารก็มีหลากหลายอย่างและเราจะรู้ได้ยังไงว่าอาหารแบบไหนถึงจะเรียกว่าอาหารที่มีประโยชน์ และอาหารแบบไหนที่เราเลือกรับประทานเข้าไปจะให้สารอาหารที่ดีต่อร่างกาย ตอนนี้เราจึงควรที่จะไปทำความเข้าใจความหมายของอาหารและสารอาหารกันก่อนเลยค่ะ 

อาหาร คือ สิ่งที่รับประทานเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่เป็นโทษต่อร่างกายและมีประโยชน์ โดยทำให้ร่างกายดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขและให้พลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งพลังงานเหล่านี้นำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย

สารอาหาร คือ องค์ประกอบของสารประกอบทางเคมีของธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหารที่เรากินเข้าไป สารอาหารมีโครงสร้างโมเลกุลเฉพาะตัวเรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อาหารแต่ละชนิดประกอบด้วยโมเลกุลของสารอาหารหลายๆ ตัว ร่างกายเรานั้นต้องการสารอาหารกว่า 40 ชนิดเลยค่ะ และก็เพื่อให้ง่ายยิ่งขึ้นจึงจัดสารอาหารออกเป็นพวกๆ ที่สำคัญมีอยู่ 6 จำพวก การจำแนกสารอาหารตามหลักโภชนาการจะพิจารณาจากปริมาณของสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารนั้นๆ มากที่สุดเป็นหลัก ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 5 หมู่ ได้แก่สารอาหาร คาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่หรือแร่ธาตุ สารอาหารแต่ละชนิดมีหน้าที่เด่นเฉพาะแตกต่างกัน และเมื่อรับประทานเข้าไปจะถูกเผาผลาญให้เกิดเป็นพลังงานและความร้อนเพื่อนำไปใช้ควบคุมการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น การเดิน การวิ่ง การยืน การนอน การหายใจ เป็นต้น ซึ่งหากแบ่งสารอาหารโดยใช้เกณฑ์การให้พลังงานของสารอาหารจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1.กลุ่มสารอาหารที่ให้พลังงาน

กลุ่มสารอาหารที่ห้พลังงาน คือ สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน อาหารทั้งหมดในกลุ่มนี้จัดเป็นสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อร่างกาย และร่างกายจะขาดไม่ได้ค่ะ

คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) คาร์โไฮเดรตเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานและความร้อน เช่นเดียวกับโปรตีนและไขมัน โดยคาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลลอรี่ (calorie) หน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของคาร์โบไฮเดรต คือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคไซด์ (glycosidic linkage) ทำให้โมเลกุลใหญ่ขึ้น เกิดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่หลากหลายชนิดกันค่ะ คาร์โบไฮเดรตบางชนิดเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคไซด์ ที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ จะเป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน เช่น เซลลูโลส (cellulose)

โปรตีน (protein) โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีในร่างกายมากเป็นสองรองจากน้ำ เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานและความร้อน เช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรตและไขมัน โดยโปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลลอรี่ (calorie) หน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของโปรตีน คือ กรดอะมิโน (amino acid) แบ่งเป็น กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย (essential amino acid) และกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย (non essential amino acid) โปรตีนมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างสารควบคุมการทำงานของร่างกาย เช่น ฮอร์โมนและเอนไซม์ สร้างภูมิคุ้มกันโรค รักษาดุลยภาพของสารต่างๆ ในร่างกาย

ไขมัน (fat) เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานและความร้อน ซึ่งให้พลังงานสูงกว่าคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน โดยไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 แคลลอรี่ (calorie) ไขมันเกิดจากการรวมตัวของกลีเซอรอล และโมเลกุลของกรดไขมัน (fatty acid) 3 โมเลกุล เป็นไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglyceride)

 

2.กลุ่มสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน

กลุ่มสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน คือ สารอาหารที่ร่างกายของเราต้องการในปริมาณน้อยแต่ก็ไม่สามารถขาดได้ ถ้าขาดจะทำให้ระบบร่างกายของเราผิดปกติ หรือเกิดโรคต่างๆได้ ได้แก่ เกลือแร่ และวิตามินต่างๆ

วิตามิน (Vitamin) แบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่

  • วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี เค
  • วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินซี และวิตามินบีรวม

เกลือแร่(Mineral) ร่างกายมีเกลือแร่ 4% ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  • แร่ธาตุหลัก (Macro minerals) คือแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณมาก เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายมีความต้องการในหนึ่งวันมากว่า 100 mg ขึ้นไป ได้แก่ แคลเซียม (Calcium), ฟอสฟอรัส (Phosphorous), โพแทสเซียม (Potassium), แมกเนเซียม (Magnesium), โซเดียม (Sodium), กำมะถัน (Sulphor) และคลอไรด์ (Chloride) ซึ่งในร่างกายของเราจะพบแร่ธาตุแคลเซียมมากที่สุด รองลงมาได้แก่ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม และโซเดียม
  • แร่ธาตุรอง (Trace minerals) คือแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายมีความต้องการในหนึ่งวันในปริมาณน้อยกว่า 100 mg ต่อวัน แต่ถึงแม้ร่างกายจะต้องการแร่ธาตุประเภทนี้ในปริมาณน้อยก็ใช่ว่าจะไม่มีความสำคัญ ซึ่งแร่ธาตุในกลุ่มนี้ได้แก่ เหล็ก (Iron), สังกะสี (Zinc), ซีลีเนียม (Selenium), แมงกานิส (Manganese), ทองแดง (Copper), ไอโอดีน (Iodine), โครเมียม (Chromium), โคบอลท์ (Cobalt), ฟลูออไรด์ (Fluoride), โมลิบดินัม (molybdenum) และ วานาเดียม (Vanadium)

 

 

www.flickr.com/photos/electrolux-design-lab/14921194033/

www.flickr.com/photos/arselectronica/14063329988/

10 ชนิดของอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเวลาเครียด

eating-cookie-1
Source: Flickr (click image for link)

เวลาที่เราตกอยู่ในภาวะเครียด จากสิ่งแวดล้อมรอบข้างหรือแม้กระทั่งจากตัวเราเอง คนเราก็จะมีวิธีการหาทางออกที่แตกต่างกันไปค่ะ หลายคนเลยล่ะค่ะคิดว่าความเครียดทางออกที่ดีที่สุดที่จะมาช่วยบรรเทาความเครียดง่ายที่สุดนั้น ก็คงจะหนีไม่พ้นการกิน การได้กินอาหารหรือสิ่งที่เราชอบนั้นจะทำให้เรามีความสุขแต่หารู้ไม่ว่าอาหารบางอย่างและบางประเภทนั้นก็อาจจะไปเพิ่มความเครียดให้เรามากกว่าเดิมค่ะ จริงอยู่ว่าอาหารบางอย่างเมื่อเราได้ลิ้มรสแรกเข้าไปมันช่างเพลิดเพลินเจริญอารมณ์ซะเหลือเกิน แต่หลังจากนั้นนอกจากไม่ได้ช่วยให้ความเครียดคลายลงแต่ดันจะไปเพิ่มความเครียดกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตามมานั่นเอง เอมิลี เอดิสัน นักวิจัยด้านโภชนาการ และนักโภชนาการให้กับนักกีฬาในซีแอตเติล กล่าวว่า อาหารสามารถกำหนดอารมณ์ของเราได้แต่หลายคนมักจะไม่รู้ว่า สิ่งที่พวกเขากินทุกวันส่งผลโดยตรงต่ออารมณ์ของพวกเขา อาหารบางอย่างนอกจากจะไม่ทำให้หายเครียดแล้วยังสร้างปัญหาให้เครียดมากขึ้นไปอีก วันนี้ทาง HealthGossip ได้หาข้อมูลอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงเวลาที่เครียดมาบอกค่ะ เผื่อเป็นแนวทางในการเลี่ยงอาหารนั้นๆ บางคนก็อาจจะไม่ทราบว่าอาหารบางอย่างทีเราคิดว่าช่วยให้หายเครียดได้ แต่นั่นอาจจะเป็นชนิดของอาหารที่ไปช่วยเพิ่มความเครียดของเราก็เป็นได้ค่ะ ซีโรโทนิน เป็นสารสื่อประสาทต้านเครียด การมีสารสื่อประสาทในสมองที่ชื่อว่า ซีโรโทนิน (serotonin) อย่างเพียงพอจะช่วยให้อารมณ์ดี รู้สึกผ่อนคลายและสงบ แต่ในภาวะเครียดซีโรโทนินจะลดลง ทำให้นอนไม่หลับ หงุดหงิด ขาดสมาธิ และซึมเศร้า สารนี้สังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนจำเป็นที่ชื่อว่า ทริปโตแฟน (tryptophan) ที่อยู่ในสมอง ปกติร่างกายจะได้รับกรดอะมิโนรวมทั้งทริปโตแฟนจากอาหารประเภทโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่วเหลือง ปลา เป็นต้นค่ะ

 

10 ชนิดของอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเวลาเครียด

ice-cream-1
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1. ข้าวขาว ขนมปังขาว

ข้าวขาวและขนมปังขาวเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านกระบวนการขัดสีมาแล้ว และคงหลีกเลี่ยงยากเนื่องจากเป็นอาหารหลักของคนไทยที่จะต้องนิยมเลือกรับประทานกันทั่วไปอยู่แล้ว แต่ในช่วงเวลาที่เรารู้สึกว่าเครียดก็ขอให้หลีกเลี่ยงไปก่อนนะคะ การที่เรารับประทานข้าวขาวหรือขนมปังขาวพวกนี้ ปริมาณน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มสูงขึ้น เพราะน้ำตาลที่นอกจากจะเพิ่มปริมาณแคลอรีให้กับร่างกายของเราแล้วยังไปทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเกิดความแปรปรวน ส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนคอร์ติซอล และน้ำตาลเป็นต้นเหตุของการอักเสบเรื้อรัง ดังนั้นอาหารที่มีน้ำตาลสูงสามารถส่งผลต่อการอักเสบทั่วร่างกายทวีความรุนแรงขึ้นได้ และยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าได้มากด้วยค่ะ

 

2. ไอศกรีม

โอ้โห ข้อนี้หลายคนทำประจำ เครียดทีไรเป็นอันต้องออกไปหาไอศกรีมมารับประทานกัน ทานไอศกรีมสิถึงจะหายเครียดทั้งเย็นทั้งหวานมีความสุขจะตายจริงไหมคะ แต่ไอศกรีมที่รสชาติหวานอร่อยถูกใจใครหลายๆคนเนี่ย เป็นตัวนำพาซึ่งความเครียดดีๆนี่เอง ยังไงหน่ะหรอก็เนื่องด้วยระดับน้ำตาลและปริมาณแลคโตสที่จะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานอย่างหนักจนเกิดความตึงเครียดในระบบย่อยอาหาร แทนที่จะอารมณ์ดีก็อาจจะทำให้หน้าบึ้งยิ่งกว่าเดิมนั่นเองค่ะ

 

3. เบเกอร์รี่

เบเกอร์รี่ที่วานี้ ไม่ว่าจะเป็นพวกขนมเค้ก คุ๊กกี้ ขนมปังอบทั้งหลายหลากนี้ บางคนชอบที่จะเลือกรับประทานเวลาที่เกิดความเครียด ก็เนื่องจากคิดว่าเป็นขนมหวานที่ช่วยเบาเทาอาการเศร้าและความเครียดได้น่ะสิ แต่ที่ไหนได้ซ้ำร้ายมันจะยิ่งทำให้เครียดยิ่งกว่าเดิมซะอีกแน่ะ ก็เพราะว่าอาหารเหล่านี้ไม่มีแม้แต่ไฟเบอร์ที่จะช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แถมยังมีน้ำตาลอยู่ในปริมาณสูงซึ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดแปรปรวน และนั่นล่ะเป็นสาเหตุที่จะทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลหรือฮอร์โมนความเครียดเพิ่มขึ้นไงล่ะคะ

 

4. มันฝรั่งทอดกรุบกรอบ

ขนมมันฝรั่งทอดกรุบกรอบที่เรามักจะซื้อติดตู้เย็นเอาไว้ รู้สึกเครียดหรือรู้สึกเบื่อเมื่อไหร่ก็จะเลือกหยิบมาทานทุกครั้ง นอกจากอร่อยกรุบกรอบทานไปก็ชวนให้เพลินไม่สามารถหยุดได้ง่ายๆ แต่ทราบหรือเปล่าคะยังไงก็ยังเป็นคาร์โบไฮเดรตอยู่ดี ไหนจะมีตัวไขมันทรานส์ ศัตรูตัวร้ายกาจของร่างกายอีก ซึ่งพบว่าอาหารที่มีไขมันทรานส์สูงเป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักขึ้นและรอบเอวที่จะทำให้คุณเครียดยิ่งกว่าเดิม และเพิ่มความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ไขมันเทียมยังไปกระตุ้นให้เกิดภาวะสมองเสื่อมและริ้วรอยก่อนวัยที่ควรจะเป็น  สำหรับในคุณผู้ชายสิ่งที่ต้องตระหนกก็คือฮอร์โมนเพศชายลดลงส่งผลต่อการผลิตสเปิร์มที่ด้อยคุณภาพด้วย

 

5. กาแฟ

ถึงแม้จะมีผลการิสูจน์ออกมาว่ากาแฟนั้นช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้นได้ และช่วยจำลองการทำงานของโดปามีนในสมอง ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้า แต่กาแฟที่มีรสชาติหวานมาก ๆ อย่างเช่นกาแฟปั่นชนิดต่าง ๆ หรือ กาแฟที่มีเติมไซรัปมากเกินไปก็สามารถทำให้เครียดได้ยิ่งกว่าเดิมค่ะ เพราะน้ำตาลที่อยู่ในกาแฟนอกจากจะเพิ่มปริมาณแคลอรี่อย่างมหาศาลให้ร่างกายแล้วก็ยังไปทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเกินความแปรปรวน และส่งผลให้ระดับคอร์ติซอลเพิ่มขึ้นอีกด้วยค่ะ

 

6. ซีเรียลบาร์

ถึงแม้ว่าซีเรียลบาร์จะทำมาจากธัญพืชก็จริง แต่กว่ามันจะมาเป็นแท่งได้ ก็ต้องใช้น้ำตาลจำนวนมากเช่นเดียวกันและเช่นเดียวกับอาหารขนิดอื่น ๆ ที่บอกไปข้างต้นค่ะ ว่าระดับน้ำตาลที่สูงจะทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย หลีกเลี่ยงดีกว่าเนอะ

 

7. น้ำอัดลม

น้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่หลายๆคนโปรดปรานกันเลยทีเดียวเชียวค่ะ ในบางคนนี่ถึงกับดื่มแทนน้ำเปล่าได้เลย นอกจากจะให้ความหวานซู่ซ่าดับยามกระหายคลายร้อนแล้ว ยังเป็นเครื่องดื่มที่ไม่ควรเลือกดื่มในช่วงเวลาที่มีความเครียดเลยค่ะ เนื่องจากในน้ำอัดลมที่แสนชื่นใจของใครหลายคนเนี่ยมีน้ำตาลถึง 10 ก้อน ซ่อนแอบอยู่ ชื่นใจเมื่อดื่มแต่หลังดื่มนี่เครียดกว่าเดิมเข้าไปอีกนอกจากความเครียดไม่หายน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นยังมาทำให้เครียดมากกว่าเดิมอีกแน่ะ บางคนก็อาจจะคิดว่าแหมสมัยนี้เขาผลิตน้ำอัดลมน้ำตาล 0% แล้วย่ะ แต่ขอบอกก่อนเลยค่ะว่าน้ำอัดลมที่บอกว่าไม่มีน้ำตาลนั้นสามารถดื่มทดแทนได้ คำตอบคือ ให้ผลไม่ต่างกันค่ะ เพราะสารให้ความหวานแทนน้ำตาลจะไปทำปฏิกิริยากับแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร ส่งผลโดยตรงต่อโรคอ้วนและโรคเบาหวาน ดังนั้นสรุปได้ว่า ไม่ว่าน้ำตาลหรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลในน้ำอัดลมก็ร้ายกาจพอๆ กัน

 

8. เฟรนช์ฟรายส์

เฟรนซ์ฟรายส์ที่เราชอบทานเล่นกันตามร้านอาหารฟาสฟู้ดส์นั่นแหละค่ะ เนื่องด้วยทำมาจากมันฝรั่งที่เป็นคาร์โบไฮเดรตแถมยังทอดกรอบด้วยน้ำมัน ซึ่งรวมๆกันแล้วเจ้าเฟรนซ์ฟรายส์นี้มีทั้งไขมันทรานส์ และคาร์โบไฮเดรตที่ส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนคอร์ติซอล แถมยังมีการศึกษาพบอีกว่าเจ้าอาหารขยะชนิดนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าได้อีกด้วยค่ะ

 

9. โดนัท

โดนัทที่กลิ่นหอมหวาน เคลือบด้วยน้ำตาลหรือหลากหลายรสชาติต่างๆ สีสันสดใสและรสชาติก็แสนหวานกินทีไรก็เพลินจนรู้ตัวอีกทีเอ้า หมดกล่องแล้วหรอเนี่ย แต่หารู้ไม่ว่าน้ำตาลในโดนัทประเภทนี้น่ะนะเยอะจนน่าตกใจเลยล่ะค่ะ แต่ทำไมห้ามทานตอนเครียดล่ะ ก็เพราะว่ากลูโคสในแป้งของโดนัทนั้น ไม่มีสารอาหารอะไรเลย ยิ่งมีแต่ทำให้การขับถ่ายเป็นไปได้ยากขึ้น เสี่ยงท้องอืดท้องเฟ้อ ยิ่งไปกว่านั้นน้ำตาลในโดนัทยังไปกระตุ้นฮอร์โมนคอร์ทิซอล(cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดให้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

10. ค๊อกเทลล์

ค๊อกเทลล์เนี่ยตัวดีเลย สาวๆหลายคนที่ชอบดริ๊งค์และเมื่อเครียดเมื่อไหร่จำเป็นต้องไปดื่มกับแก๊งค์หรือเพื่อนสาวให้หายเครียดสักทีและก็เป็นเครื่องดื่มที่สาวๆก็มักจะสั่งกันนี้มีทั้งน้ำตาลและแอลกอฮอลล์ในค็อกเทลทำลายร่างกายเราช้าๆโดยที่เราไม่รู้ตัวเลยนะจ้ะสาวๆ ยิ่งเครียดยิ่งดื่มเป็นสิ่งที่ผิด!! ค็อกเทลบางประเภท 1 shot มีแคลลอรี่ส์มากสุดถึง 500 แคลลอรี่ส์เลยนะ แถมน้ำตาลที่อยู่ในค็อกเทลล์ยังไปกระตุ้นฮอร์โมนคอทิซอลเพิ่มความเครียดกว่าเดิมอีกค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/rickyromero/3196496515/

www.flickr.com/photos/kevharb/3755730457/

ดื่มชาเขียวอย่างไรให้ได้คุณประโยชน์มากที่สุด

tea-time-1
Source: Flickr (click image for link)

เครื่องดื่มที่ไม่มีใครไม่รู้จักแล้วก็ยังให้ความนิยมชมชอบกันเป็นชีวิตจิตใจก็คงจะหนีไม่พ้นเครื่องดื่มที่มีชื่อว่า “ชาเขียว” (Green tea) ชาเขียว คือ ชาที่ได้มาจากต้นชา ซึ่งชาชนิดนี้จะไม่ผ่านขั้นตอนการหมักเลย เตรียมได้โดยการนำใบชาสดมาผ่านความร้อนเพื่อทำให้ใบชาแห้งอย่างรวดเร็ว ซึ่งวิธีการก็คือเมื่อเก็บใบชามาแล้วก็นำมาทำให้แห้งอย่างรวดเร็วในหม้อทองแดงโดยใช้ความร้อนไม่สูงเกินไปและใช้มือคลึงเบา ๆก่อนแห้งหรืออบไอน้ำในระยะเวลาสั้น ๆแล้วนำไปอบแห้งเพื่อยับยั้งการทำงานเอนไซม์ (ความร้อนจะช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทำให้ไม่เกิดการสลายตัว) จึงได้ใบชาที่แห้งแต่ยังสดอยู่และมีสีที่ค่อนข้างเขียว จึงเรียกกันว่า “ชาเขียว” และการที่ใบชาที่ได้นั้นไม่ผ่านขั้นตอนการหมักจึงทำให้ใบชามีสารประกอบฟีนอล (Phenolic compound) หลงเหลืออยู่มากกว่าในอู่หลงและชาดำ (สองชนิดนี้คือชาที่ผ่านการหมัก) จึงทำให้ชาเขียวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาทั้งสอง โดยชาเขียวจะมี สารพฤกษเคมี ชื่อ EGCG ตัวนี้เป็นแชมป์เปี้ยนของสารต้านอนุมูลอิสระเลยทีเดียว จึงสามารถช่วยป้องกันมะเร็งและต้านมะเร็งได้ด้วย และมีบางงานวิจัยยังบอกว่าช่วยลดการดูดซึมไขมันและคอเลสเตอร์รอลที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดตีบตันและโรคหัวใจได้อีกด้วยค่ะ และในชาเขียวนั้นจะมีเจ้าสาร EGCG อยู่ถึงประมาณ 35-50% กันเลยทีเดียว โดยขณะที่ชาอู่หลงมีประมาณ 8-20% และชาดำจะมี EGCG อยู่เพียง 10% เท่านั้นเองค่ะ ชาเขียวที่มีคุณภาพจะได้จากใบชาคู่ที่หนึ่งและใบชาคู่ที่สองที่เก็บจากยอด (ชาวจีนเรียกว่า “บู๋อี๋”) ส่วนใบชาคู่ที่สามและสี่จากยอดจะให้ชาชั้นสอง (ชาวจีนเรียกว่า “อันเคย”) ส่วนใบชาคู่ที่ห้าและหกจากปลายยอดจะเป็นชาชั้นเลว (ชาวจีนเรียกว่า “ล่ำก๋อง”)สำหรับสี กลิ่น และรสชาติของชานั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณของสารคาเทชินที่มีอยู่ในชา โดยฤดูการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว จะมีผลต่อระดับของสารคาเทชิน ซึ่งในใบชาฤดูใบไม้ผลิจะมีสารคาเทชินประมาณ 12-13% ในขณะที่ชาในฤดูร้อนจะมีสารคาเทชินประมาณ 13-14% (ใบชาอ่อนจะมีสารคาเทชินมากกว่าใบชาแก่) สารสำคัญที่พบได้ในชาเขียวจะประกอบไปด้วย กรดอะมิโน วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี สารในกลุ่ม xanthine alkaloids คือ คาเฟอีน (caffeine) และธิโอฟิลลีน (theophylline) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ที่เรียกว่า คาเทชิน (catechins) โดยเราสามารถแยกสารคาเทชินออกได้เป็น 5 ชนิด คือ gallocatechin (GC), epicatechin (EC), epigallocatechin (EGC), epicatechin gallate (ECG), และ epigallocatechin gallate (EGCG) โดยคาเทชินที่พบได้มากและมีฤทธิ์ทรงพลังที่สุดในชาเขียว คือ สารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (epigallocatechin gallate – EGCG) ซึ่งมีความสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

ชาเขียวมี 2 ประเภทใหญ่ๆคือ ชาเขียวแบบญี่ปุ่นและชาเขียวแบบจีน ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้จะต่างกันโดยชาเขียวแบบจีนจะมีการคั่วด้วยกระทะร้อนแต่ชาเขียวแบบญี่ปุ่นไม่ต้องคั่วใบชา ชาเขียวแบบญี่ปุ่นจำแนกออกเป็นหลายเกรดตามคุณภาพใบชาแต่ที่รู้จักและเป็นที่นิยมในหมู่ชาวญี่ปุ่น ได้แก่ บันฉะ เซ็นฉะ เกียวกุโระฉะ และมัทฉะ

  • บันฉะ (Bancha) ใบชาแก่และคุณภาพต่ำที่สุด มักมีก้านใบติดมาด้วย เนื้อหยาบ รสค่อนข้างฝาด สีเขียวอมเหลือง เป็นชาที่ร้านอาหารญี่ปุ่นให้บริการฟรี บันฉะมีรสอ่อน สีไม่สวย จึงไม่นิยมนำมาปรุงอาหาร
  • เซ็นฉะ (Sencha) เป็นชาแก่เกรดกลางที่คนใช้ทั่วไป ประมาณ 80% ของใบชาที่เก็บเกี่ยวได้ผลิตเป็นใบชาเกรดนี้ ใบเซ็นฉะไม่มีก้านติดมาด้วย น้ำเซ็นฉะสีเขียวสด รสเข้มแต่ละเมียดละไม จับแล้วรสชายังติดที่ปลายลิ้นเป็นชาที่ชาวญี่ปุ่นเสิร์ฟรับรองแขกที่บ้าน ตามงานเลี้ยงรับรอง และตามที่ประชุมต่างๆ เซ็นฉะมีหลายเกรดตั้งแต่แบบธรรมดาแลัแบบพรีเมี่ยม ราคาก็ต่างกัน นำมาใช้ทำอาหารได้หลากหลายเพราะให้ทั้งกลิ่นและรสชาเขียวที่เข้มกว่าชนิดอื่น
  • เกียวกุโระฉะ (Gyukurocha) เป็นใบชาที่เก็บจากพุ่มต้นชาที่ดีที่สุด เนื่องจากผลผลิตน้อยราคาจึงค่อนข้างสูง น้ำชาสีเขียวอ่อนหอมหวานมาก ปกติการชงชาเขียวทั่วไปใช้น้ำร้อนที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียสเท่านั้น เมื่อมิได้ความร้อนไปทำลายรสชาติชา ชาชนิดนี้แพงเกินกว่าจะนำมาผสมใส่อาหารหรือผลิตภัณฑ์อื่นได้
  • มัทฉะ (Matcha) เป็นผงชาเขียว สมัยก่อนได้จากการนำใบชาชั้นดี ‘’เกียวกุโระฉะ’’ มาบดจนละเอียดเป็นผงเพื่อใช้ในพิธีชงชา มัทฉะที่ได้จะมีลักษณะข้นสีเขียวเข้ม ปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตโดยนำใบชา’’เซ็นฉะ’’ มาสกัดเป็นน้ำแล้วจึงพ่นโดยการฉีดผ่านไอความร้อนสูงให้ไอระเหยออกเหลือแต่ผงสีเขียวเข้มกลิ่นหอม มัทฉะเป็นชาที่นิยมใช้ใส่อาหารเพราะสะดวกในการใช้ให้สีสวยกลิ่นหอมและราคาไม่แพง มัทฉะจะมีสีเขียวสดคล้ายเขียวมะนาว ในใบชาเขียวมีสารสำคัญหลายๆชนิด คือ คาเฟอีน, แทนนิน, สารคาเทซิน, เกลือฟลูออไรด์

      จากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พบว่า สารคาเฟอีน และ สารคาเทชินใน ชาเขียวญี่ปุ่นแท้มีคุณสมบัติในการช่วยเพิ่มเมทาบอลิซึ่มของร่างกายนั่นก็หมายถึง การเพิ่มอัตราการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต และการออกซิเดชันของไขมันนั่นเอง นอกจากนี้ชาเขียวญี่ปุ่นแท้ ยังช่วยให้แบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ทำงานดีมากยิ่งขึ้น แต่เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรจะออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย จะทำให้การเผาผลาญดีขึ้น และเพื่อให้ได้ผลดีต้องดื่มชาเขียวญี่ปุ่นแท้ แบบปราศน้ำตาล หรือสารปรุงแต่งอื่นๆ โดยในแต่ละวันไม่ควรดื่มเกิน 10 – 12 ถ้วย หรือ ชงใบชา 1-2 ช้อนชา ในน้ำร้อน ดื่มวันละ 3 ถ้วย ระหว่างมื้ออาหาร จะได้ประโยชน์ต่อสุขภาพสูงสุด ดังนั้น ควรจะดื่มชาเขียวญี่ปุ่นแท้ เท่านั้น ซึ่งจะผลิตออกมาในรูปแบบของ ใบชา ชาซอง มัทฉะ เพื่อให้เราได้รับสารที่มีประโยชน์อย่างเต็มที่เพียงเติมน้ำร้อน ถึงชาเขียวญี่ปุ่นแท้ จะมีสารคาเฟอีน (ซึ่งอาจจะทำให้นอนไม่หลับถ้าดื่มเยอะเกิน) แต่ยังมีสารสำคัญที่มีประโยชน์อีกเพียบ ไม่ว่าจะเป็น กรดอะมิโน วิตามินบี, วิตามินซี, วิตามินอี, สารในกลุ่ม xanthine alkaloids หรือ คาเฟอีน (caffeine) และ ธิโอฟิลลีน (theophylline) ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้สดชื่น คึกคัก และสารใน กลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ที่เรียกว่า แคทีชิน (catechins) ตัวนี้แหละที่สำคัญ

ประโยชน์ของวิตามินที่อยู่ในชาเขียว

  • วิตามินซี ช่วยลดความเครียด ต่อต้านภาวะติดเชื้อและเสริมการทำงานของระบบ
  • วิตามินบีรวม ช่วยเสริมการทำงานในกระบวนการเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
  • วิตามินอี มีสรรพคุณเป็นสารแอนติออกซิแดนซ์ ชะลอความแก่
  • ฟลูออไรด์ ช่วยเสริมความแข็งแรงให้แก่เคลือบฟัน ป้องกันฟันผุ
  • GABA  ช่วยลดระดับความดันเลือด และประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย
  • แร่ธาตุ ได้แก่ โซเดียม, โปแตสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียมและฟอสฟอรัส และอื่นๆ

 

และด้วยคุณประโยชน์มากล้นของชาเขียวนั้น เราเคยสงสัยกันหรือไม่ว่าบางทีการที่เราดื่มชาเขียวทุกวันๆ นั้นได้ประโยชน์จากสารต่างๆที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระจากจากเขียวนั้นเราได้รับมาเต็มๆเลยหรือเปล่า? วันนี้ HealthGossip ไม่พลาดค้นหาข้อมูลมาบอกกันค่ะ ว่าวิธีการดื่มชาเขียวแบบที่เราดื่มกันทุกวันนั้นจะได้ประโยชน์จากชาเขียวมากน้อยเพียงใด 🙂

 

วิธีดื่มชาเขียวอย่างไรให้ได้ประโยชน์ที่สุด

รู้กันหรือเปล่าคะว่าการดื่มชาร้อนนั้นให้คุณ แต่ถ้าเป็นชาเขียวเย็นนั้นจะให้โทษ! แม้ว่าการดื่มชาจะไม่ใช่วัฒนธรรมดั้งเดิมของคนไทย แต่ในยุคหลังๆมานี้คนไทยเราเริ่มนิยมการจิบชากันมากขึ้นไม่ว่าจะในคนที่หันมาใส่ใจกับสุขภาพมากขึ้นหรือจะเป็นความหลงไหลในกลิ่นและรสชาติก็ตาม โดยเฉพาะชาเขียวที่ขี้นชื่อเรื่องของสรรพคุณที่มีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ ซึ่งเรียกได้ว่าญี่ปุ่นเป็นต้นตำรับทางด้านนี้เพราะได้รู้จักรสชาติและคุณค่าของชาเขียวมานานนับ 100 ปี ด้วยญี่ปุ่นเป็นเมืองที่มีอากาศหนาวเย็นและชาวญี่ปุ่นก็มักจะจิบชาอุ่นๆกันเป็นกิจวัตรประจำวันเลยก็ว่าได้ในขณะที่ประเทศไทยเรานัันมีอากาศที่ร้อนแทบทั้งปีจะมามัวนั่งชงชาดื่มแบบร้อนๆก็กะไรอยู่คงจะร้อนทั้งข้างในและข้างนอกเป็นแน่แท้ เพราะงั้นพี่ไทยเราเลยเลือกดื่มชาเขียวแบบเย็นๆแบบชื่นอกชื่นใจกันซะมากกว่า แต่ทว่าดื่มไปเราจะได้รับประโยชน์แค่ไหนกันนะ? อย่างที่ทราบกันดีนะคะว่าชาเขียวมีคุณสมบัติลดและต้านอนุมูลอิสระที่เป็นพิษต่อร่างกายของเรา โดยจะขับออกมาทางอุจจาระ และขับไขมันส่วนเกินออกมาทางปัสสาวะและอุจจาระ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น นั่นเป็นคุณสมบัติเฉพาะของชาเขียวร้อน ที่คนญี่ปุ่นนิยมดื่มกันตั้งแต่เด็กจนแก่แต่คนไทยส่วนมากด้วยความที่ไม่รู้จักคุณสมบัติที่แท้จริงของชาเขียว เลยทำให้คิดเอาเองว่าแค่ดื่มชาเขียวก็ได้ประโยชน์แล้วไม่ว่าจะเป็นร้อนหรือเย็นก็ตาม อย่างเช่น จากการวิจัยชี้ว่า ชาเขียวที่ชงใหม่ๆ ร้อนๆ จะมีปริมาณแอนติออกซิแดนท์สูงสุด วัฒนธรรมการดื่มชาเขียวกำหนดให้ดื่มหลังจากชงชาไปประมาณ 1 นาที หากปล่อยไว้นานกว่านี้น้ำชาจะเริ่มเสียรสชาติ เมื่อชาเย็นลงแอนติออกซิแดนท์ในน้ำชาก็จะลดลง ยิ่งไปกว่านั้นการที่ชาเขียวเย็นสำเร็จรูปผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรมหลายขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการพาสเจอไรซ์ ใส่สารกันบูดและแช่เย็นที่ชั้นวางของในห้างสรรพสินค้าเป็นเวลานานๆ ยังทำให้สูญเสียแอนติออกซิแดนท์มากยิ่งขึ้นอีกด้วย และกรณีที่ใส่นมในชาเขียว นมจะจับกับสารคาเทชินทำให้ประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระของสารเคทิชินในฐานะแอนติออกซิแดนท์ลดลงไปมากขาดประสิทธิผลในการป้องกันมะเร็งและโรคอื่นๆ แต่เห็นทีคราวนี้ต้องเปลี่ยนความคิดกันใหม่แล้วนะค่ะ เพราะยังไงแล้วชาเขียวจะมีประโยชน์มากมายยังไง มันก็ย่อมมีโทษเช่นกัน อย่างที่บอกเนื่องจากชาเขียวมีประโยชน์ต่อร่างกายในขณะที่มันร้อนอยู่เท่านั้น ในทางกลับกัน หากดื่มชาเขียวตอนที่มันเย็นแล้วจะทำให้เกิดโทษ เนื่องจากชาเขียวเย็นไม่ช่วยในการลดอนุมูลอิสระสารพิษออกจากร่างกาย แล้วยังทำให้สารพิษเกาะตัวกันแน่น อันเป็นสาเหตุของ “มะเร็ง” อีกต่างหาก อีกทั้งชาเขียวเย็นยังส่งผลให้ไขมันในร่างกายก่อตัวมากขึ้นตามผนังหลอดเลือด และไปอุดตันตามผนังลำไส้ อันเป็นบ่อเกิดแห่งโรคร้าย เช่น หลอดเลือดหัวใจอุดตัน มะเร็งลำไส้ เส้นเลือดตีบ เป็นต้น

ทุกวันนี้คนเริ่มรักษาสุขภาพกันมากขึ้นมีการการเลือกรับประทานอาหารกันเยอะขึ้น ไหนจะเป็นอาหารการกินแม้แต่เครื่องดื่มก็ยังต้องมีวิธีและเวลาที่เหมาะสมในการดื่ม ก็เพื่อให้การกินหรือการดื่มแต่ละอย่างคุ้มค่าไม่เสียเปล่านั่นเองค่ะ อาหารหรือเครื่องดื่มบางประเภทนอกจากรสชาติจะต้องฝืนกินแล้วแต่ถ้าเลือกรับประทานไม่ถูกวิธี การที่เราฝืนทานกันมาเป็นเวลานานก็ถือเสียว่าสูญเปล่า และในวันนี้อย่างน้อยเราก็ได้ทราบว่า ควรดื่มชาเขียวอย่างไรให้ได้ประโยชน์และคุณค่ามากที่สุดกันค่ะ 

 

www.flickr.com/photos/vordichtung/5869946403

  • 1
  • 2