Browse Tag: carrot

15 ชนิดของอาหารที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูง

Source: Flickr (click image for link)

“เบต้าแคโรทีน’’ (Beta-carotene) เป็นสารแคโรทีนอยด์ที่เป็นหนึ่งในกลุ่มของสารสีในพืชผักที่เรียกว่า สารพฤกษเคมี Phytochemical หรือ Phytonutrients (ไฟโตนิวเทรียนท์ ) ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระจากปัจจัยต่างๆ จริงๆ แล้วเบต้าแคโรทีนเป็นสารตั้งต้นของโปรวิตามินเอ (Pro-vitamin A) ที่จัดอยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ซึ่งเป็นสารประกอบตามธรรมชาติที่พบในผักผลไม้สีสดใส โดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีสารสีเหลือง ส้ม และเขียวค่ะ สารเบต้าแคโรทีนในพืชจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกายได้อย่างรวดเร็วเมื่อร่างกายเราต้องการค่ะ แต่ถ้าร่างกายยังมีวิตามินเอเหลืออยู่เพียงพอ เบต้าแคโรทีนก็จะไปทำหน้าที่ยับยั้งอนุมูลอิสระ สร้างภูมิต้านทาน ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจรวมถึงโรคหัวใจ และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด

การมีระดับวิตามินเอในระดับปกติเป็นกุญแจสำคัญต่อการมองเห็นที่ดีรวมถึงมีภูมิคุ้มกันและสุขภาพที่แข็งแรงค่ะ อย่างไรก็ตามเบต้าแคโรทีนเป็นสารอาหารที่ร่างกายเราไม่สามารถสังเคราะห์ได้เองค่ะจึงต้องได้รับมาจากอาหาร ซึ่งร่างกายเราต้องการสารเบต้าแคโรทีนวันละ 15 มิลลิกรัม ดังนั้นเราไปดูแหล่งอาหารที่ดีของเบต้าแคโรทีนกันดีกว่าว่ามีอะไรกันบ้าง

 

15 ชนิดของอาหารที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูง

Source: Flickr (click image for link)

1.มันหวาน

มันหวานที่มีเนื้อข้างในสีส้ม รสชาติหวานมันนี้จัดเป็นแหล่งของเบค้าแคโรทีนเลยค่ะ ซึ่งมันหวานปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ถึง 11.5 มิลลิกรัม

 

2.แครอท

ขึ้นชื่อว่าแครอทใครๆ ก็คงทราบว่าเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนอย่างแน่นอนใช่ไหมล่ะคะ โดยแครอทปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ถึง 8.3 มิลลิกรัม

 

3.ผักปวยเล้ง

นอกจากผักผลไม้ที่มีสีส้ม สีเหลือง จะเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนแล้ว ผักใบสีเขียวเข้มอย่างผักปวยเล้งก็ให้เบต้าแคโรทีนที่ไม่น้อยเลยล่ะค่ะ ผักปวยเล้งปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ถึง 6.2 มิลลิกรัม

 

4.ผักกาดหอม

ผักกาดหอมที่เรานิยมมาทำสลัดรับประทานกันก็จัดเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนอีกด้วย โดยผักกาดหอมปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ถึง 5.2 มิลลิกรัม

 

5.สควอช

ผลสควอชที่มีเนื้อสัมผัส สีและรสชาติคล้ายกับฟักทองนั้นเป็นหนึ่งในแหล่งของเบต้าแคโรทีนด้วยค่ะ สควอชปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ถึง 4.5 มิลลิกรัม

 

6.บลอคโคลี่

ผักใบเขียวเข้มอีกหนึ่งชนิดคือบลอคโคลี่ก็จัดว่ามีสารเบต้าแคโรทีนไม่น้อยเลยล่ะค่ะ ซึ่งบลอคโคลี่สุกปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่มากถึง 9.2 มิลลิกรัม

 

7.แคนตาลูป

ผลไม้รสชาตแสนหวานและชุ่มฉ่ำอย่างแคนตาลูป นำไปแช่เย็นแล้วมาทานเล่นในฤดูร้อนก็รับไปเต็มๆ กับเบต้าแคโรทีน แคนตาลูปปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 2 มิลลิกรัม

 

8.พริกหยวกสีแดง

พริกหยวกมีหลากหลายสีให้เลือกนำมาประกอบอาหาร โดยเฉพาะพริกหยวกสีแดงจดว่าเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนเลยล่ะค่ะ พริกหยวกปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 1.6 มิลลิกรัม

 

9.เมล็ดถั่วลันเตา

ถั่วลันเตาฝักสีเขียวเช้มและมีเมล็ดสีเขียวเข้มที่หลายคนนิยมนำมาปรุงอาหารเพื่อรับประทานกัน ใครจะรู้ว่ามีสารเบต้าแคโรทีนอยู่ไม่น้อยอีกด้วย เมล็ดถั่วลันเตาสุกปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 1.2 มิลลิกรัม

 

10.ฟักทอง

ฟักทองถือเป็นพระเอกที่ขาดไม่ได้สำหรับอาหารที่เป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีน โดยฟักทองบดปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 5.1 มิลลิกรัม

 

11.แอปปริคอทอบแห้ง

ผลแอปปริคอทแบบอบแห้งเป็นแหล่งชั้นดีของเบต้าแคโรทีนเช่นกันค่ะ โดยแอปปริคอทอบแห้งปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 2.1 มิลลิกรัม

 

12.มะม่วงสุก

ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่โชคดีมีผลไม้ให้รับประทานตลอดทั้งปี หนึ่งในผลไม้ที่ขึ้นชื่อก็จะเป็นอะไรไม่ได้นอกจากมะม่วงแสนหวานอมเปรี้ยวนิดๆ อย่างมะม่วงสุก โดยมะม่วงสุกหั่นปริมาณ 1 ถ้วย มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 1.1 มิลลิกรัม

 

13.มะละกอสุก

นอกจากจะนำมาประกอบอาหารได้รสชาติเลิศแล้วยังสามารถเป็นผลไม้ทานเล่นได้อย่างอร่อยเชียวแหละ ด้วยไฟเบอร์ที่ช่วยเรื่องของระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดีแล้วก็ยังเต็มไปด้วยสารเบต้าแคโรทีน มะละกอสุกหั่นปริมาณ 1 ถ้วย มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 0.4 มิลลิกรัม

 

14.มะเขือเทศ

ที่จะขาดไม่ได้ก็คงจะเป็นมะเขือเทศนี่แหละค่ะ อร่อยดีมีประโยชน์อย่างนี้ก็รับเบต้าแคโรทีนไปเต็มๆ เลยค่ะ มะเขือเทศปริมาณ 1 ถ้วย มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 0.8 มิลลิกรัม

 

15.ส้ม

ผลไม้ตระกูลส้มนอกจากวิตามินซีแล้วก็ยังมีเบต้าแคโรทีนด้วยเช่นกัน ส้มหนึ่งผลขนาดกลาง มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 1.7 มิลลิกรัม

 

 

www.flickr.com/photos/hendry/2975907342/

www.flickr.com/photos/koadmunkee/4585625864/

16 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินเอสูง

Source: Flickr (click image for link)

วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา ร่างกายของเราสามารถสะสมวิตามินเอได้นานมากอาจนานได้ถึง 1 หรือ 2 ปี โดยเก็บไว้ในชั้นเซลล์ไขมัน ด้วยวิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันดังนั้นวิตามินเอจะถูกดูดซึมไปใช้ในร่างกายได้ดีที่สุดเมื่อกินร่วมกับอาหารที่มีน้ำมันหรือไขมันเป็นส่วนประกอบนั่นเองค่ะ และเมื่อร่างกายของเราใช้วิตามินเอไม่หมดก็จะถูกเก็บสะสมไว้ที่ตับ และวิตามินเอมีหน้าที่ช่วยในการมองเห็น การเจริญเติบโตของกระดูก การแบ่งตัวของเซลล์ การกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคซ่อมแซมผิวของตาและหลอดลมทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายยากขึ้น อีกทั้งวิตามินเอยังช่วยกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาวโดยเฉพาะ lymphocyte ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตได้อย่างปกติไม่ชะงักหรือหยุดการเจริญเติบโตก่อนวัย

วิตามินเอจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1.อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) หรือเรียกว่า Retinol ซึ่งได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา อาหารประเภทเนื้อ ไข่ ตับและเครื่องใน

2.กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือเรียกว่า เบต้า แคโรทีน (Beta-Carotene) เป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกายจึงได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ พบมากในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม

โดยร่ายกายคนเราต้องการวิตามินเอในแต่ละวันอยู่ที่วันละ 4,000-5,000 IU ซึ่งการได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอจะส่งผลต่อร่างกายของเราโดยเฉพาะดวงตา ผิวหนัง และระบบภูมิต้านทานโรค อีกทั้งยังช่วยป้องกันอาการเบื่ออาหาร (แต่ในทางกลับกันถ้าได้รับมากเกินไปก็จะมีผลตรงกันข้าม)

 

16 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินเอสูง

 

1.มันหวาน

มันหวานที่มีเนื้อข้างในออกสีเหลืองๆ ส้มๆ เวลาเอาไปนึ่ง ต้ม หรือเผา เมื่อนำมารับประทานจะมีรสชาติหวานมัน ของโปรดของใครหลายคนเลยล่ะค่ะ ซึ่งในมันหวานอุดมไปด้วยวิตามินเอที่ถือว่าอยู่สูงเป๋นอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ โดยมันหวานปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 19218 IU เลยล่ะค่ะ

 

2.ผักตำลึง

ผักที่หารับประทานง่ายๆ ตามบ้านเรือนอย่างผักตำลึงของเราก็ไม่แพ้ผักใดๆ ในโลกที่ให้วิตามินสูง ซึ่งผักตำลึงปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 18608 IU เลยล่ะค่ะ

 

3.แครอท

แครอทเป็นอีกหนึ่งชนิดของอาหารที่เป็นแหล่งวิตามินเอชั้นยอด ถ้านึกไม่ออกว่าจะเสริมวิตามินเอจากการรับประทานอาหารชนิดไหน เปิดตู้เย็นจัดแครอทมาทานกันได้เลยค่ะ ซึ่งแครอทปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 17033 IU

 

4.ตับวัว

วิตามินเอไม่ได้มีแค่ในผักหรือผลไม้เท่านั้นโดยมีอยู่ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์อย่าง ตับวัวอีกด้วย ซึ่งวิตามินเอที่อยู่ในตับวัวนั้นเป็นวิตามินเออยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) คือสามารถออกฤทธิ์ได้ทันที หรือเรียกว่า Retinol นั่นเองค่ะ ซึ่งตับวัวปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 13621 IU

 

5.ผักเคล (Kale)

ผักเคลเป็นผักคล้ายกับผักตระกูลเดียวกับผักคะน้าอีกทั้งรสชาติก็คล้ายคลึงกันอีกด้วย และกูถูกยกให้เป็นราชินีแห่งผักใบเขียวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและหนึ่งในสารอาหารที่มีอยู้สูงก็คือวิตามินเอค่ะ ผักเคลปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 13621 IU

 

6.ฟักทอง

ส่วนใหญ่หลายคนจะจำได้ว่าถ้าอยากบำรุงสายตาต้องกินฟักทองและนั่นก็ถูกค่ะ เนื่องจากฟักทองมีวิตามินเออยู่สูงนั่นเอ จะเห็นได้ว่าฟักทองปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 11155 IU

 

7.ผักกาดหวาน

ผักกาดหวานก็เป็นอีกผักใบเขียวที่มีวิตามินและเกลือแร่อยู่สูงค่ะซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีวิตามินอย่างวิตามินเอที่อยู่สูง ผักกาดหวานปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 8710 IU

 

8.เอพริคอตแห้ง

ผลเอพริคอตแห้งให้วิตามินที่สูงมากถ้าใครกำลังมองหาผลไม้แห้งทานเล่นแถมยังให้วิตามินเออีกก็อย่ามองข้ามผลไม้แห้งอย่างเอพริคอตแห้งนะคะ เอพริคอตแห้งปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 12669 IU

 

9.แคนตาลูป

ผลไม้ที่มีรสชาติหวานฉ่ำอย่างแคนตาลูปไม่ได้ให้แค่ความอร่อยสดชื่นอย่างเดียว กินแคนตาลูปไปปริมาณ 100 กรัม ก็จะได้วิตามินเอสูงถึง 3382 IU

 

10.พริกหวานสีแดง

พริกหวานที่เราเห็นกันบ่อยๆ จากการนำมาประกอบอาหารประเภทผัดโดยเฉพาะพริกหวานสีแดงที่มีวิตามินเออยู่ไม่ใช่น้อยเลยค่ะ โดยพริกหวานสีแดงปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 3131 IU

 

11.ปลาทูน่า

อาหารประเภทเนื้อสัตว์อีกหนึ่งชนิดอย่างปลาทูน่าก็มีวิตามินเอสูงซ่อนอยู่ค่ะ โดยปลาทูน่าปลาทูน่าปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 2520 IU

 

12.ผักปวยเล้ง

ผักใบสีเขียวเข้มอีกหนึ่งชนิดอย่างผักปวยเล้งที่มากประโยชน์ก็ให้วิตามินเอที่สูงปริ๊ดเช่นเดียวกันค่ะ ผักปวยเล้งปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินเออสูงถึง 2813 IU

 

13.มะม่วง

ที่บ้านเราดีหน่อยหารับประทานผักและผลไม้ง่ายเพราะเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อน ผลไม้ตามฤดูมีมากมาย โดยเฉพาะมะม่วงค่ะและมะม่วงปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเออยู่ 1082 IU

 

14.เนย

ในประเทศไทยโดยเฉำาพอาหารไทยไม่ค่อยนิยมใช้เนยมาเป็นส่วนประกอบ แต่จะมีซะมากคงเป็นขนมอบหรือเบเกอร์รี่ เนยก็ให้วิตามินเอได้ไม่น้อยเลยค่ะ ซึ่งเนยปริมาณเพียงแค่ 1 ช้อนโต๊ะ มีวิตามินเออยู่ถึง 1082 IU

 

15.บลอคโคลี่

พืชผักประเภทสีเขียวเข้มอย่างบลอคโคลี่ก็ถูกนับเป็นอาหารที่มีวิตามินเอสูงเช่นกัน ใครที่ชอบทานผักผลไม้อยู่แล้ว แค่เลือกรับประทานให้ถูนิดก็จะได้รับวิตามินเอที่เพียงพอแล้วค่ะ โดยบลอคโคลี่ดิบ ปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินเออยู่ 567 IU

 

16.ไข่

ไข่เป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีวิตามินเออยู่สูงด้วยเช่นกันค่ะ โดยไข่ปริมาณ 1 ลูกใหญ่ จะมีวิตามินเออยู่ถึง 302 IU

 

จะสังเกตุเห็นได้ว่าหน่วยปริมาณของวิตามินเอเป็น IU ซึ่งทำความเข้าใจได้ง่ายๆ ดังนี้

IU มาจาก International Unit และเรียกแบบย่อว่า I.U. เป็นหน่วยวัดมาตรฐานสากลซึ่งเป็นหน่วยที่ใช้อ้างอิงเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพสารออกฤทธิ์แต่ละชนิด เช่น เมื่อวิตามิน (vitamin) ออกฤทธิ์ในร่างกาย ซึ่งกำหนดโดย World Health Organization (WHO)

Vitamin A 1 I.U. = 0.3 microgram retinol.

                              = 0.6 microgram beta-carotene.

Vitamin C 1 I.U. = 50 microgram ascobic acid.

Vitamin D 1 I.U. = 0.025 micorgram cholecalciferol.

Vitamin E 1 I.U. = 0.666 milligram D-alpha-Tocopherol.

                              = 1 milligram DL-alpha-Tocopherol acetate.

 

 

www.flickr.com/photos/wwworks/28439880283/

สารพฤกษเคมี (Phytonutrients) คืออะไร

antioxidant-foods-1
Source: Flickr (click image for link)

วันนี้มีเรื่องราวข้อมูลที่น่าสนใจและด้วยตัวเองก็สนใจอยู่เหมือนกันมานำเสนอค่ะ ยังคงเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพอยู่เหมือนเดิม การดูแลสุขภาพให้ดีนั้นเป็นพื้นฐานของคนเราที่ต้องหมั่นดูแล แต่การจะรักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอๆ นั้นยากยิ่งกว่าอ่ะเนอะ ถ้าพูดถึงการดูแลสุขภาพแล้วก็คงไม่พ้นเรื่องการใส่ใจเรื่องของการเลือกรับประทานอาหาร อาหารชนิดไหนอะไรที่ว่าดีเราก็ตามเพื่อสุขภาพที่ดีทั้งผลไม้เอย ผักเอย ขาดไม่ได้นั่นคือปัจจัยสำคัญที่ไม่ว่าใครๆ ก็แนะนำกัน ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็จะทราบกันว่าเมื่อเรารับประทานผักและผลไม้ในทุกๆ วันแล้ว จะทำให้สุขภาพดีไม่ว่าจะเป็นวิตามินต่างๆ แร่ธาตุมากมายที่ช่วยให้สุขภาพเราดีขึ้น จริงๆ แล้วแค่พวกวิตามินและแร่ธาตุในผักผลไม้เท่านั้นหรือที่ช่วยให้เราแข็งแรง เอาล่ะ วันนี้มีข้อมูลมาเล่าสู่กันฟัง อาจจะทำให้เราได้เรียนรู้และรู้จักเพิ่มขึ้น ซึ่งในผักผลไม้ที่เราเลือหรับประทานนั้นมีสารที่สำคัญอยู่นอกเหนือจากวิตามินต่างๆ นั่นเองค่ะ และสารนั้นเรียกว่า ‘’สารพฤกษเคมี’’ แล้วสารที่ว่านี้มันคืออะไรล่ะ งั้นไปดูคำตอบกันเลยค่ะ

สารพฤกษเคมี (Phytonutrients) คืออะไร

สารพฤกษเคมี Phytochemical หรือ Phytonutrients (ไฟโตนิวเทรียนท์ ) คือ สารเคมีธรรมชาติหรือสารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบเฉพาะในพืชจำพวกผักผลไม้ โดยสารกลุ่มนี้อาจเป็นสารที่ทำให้พืชผักชนิดนั้นๆ มีสี กลิ่น หรือ รสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว อีกทั้งสารแต่ละตัวมีหน้าที่ต่างกันในกลไกของพืชและเป็นต้นกำเนิดของสีของผักผลไม้นั้นๆด้วยค่ะ สารพฤกษเคมีเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นสารที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ โดยสารพฤกษเคมีหลายชนิดมีฤทธิ์ต่อต้านส่งเสริมระบบภูมคุ้มกันและต้านการอักเสบตลอดจนมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ สารนี้จัดเป็นสารอาหารตามธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ จะต้องได้รับจากการบริโภคอาหารเท่านั้นค่ะ

โดยสารพฤกษเคมีสร้างประโยชน์ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

  • ต้านออกซิเดชั่น ทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ
  • ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับดีเอ็นเอ เป็นกลไกสำคัญ ที่ทำให้สารพฤกษเคมีลดการเกิดโรคมะเร็งได้
  • เพิ่มภูมิต้านทานโรค
  • ควบคุมการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน

การผสมผสานของสารต้านอนุมูลอิสระที่พบในผักและผลไม้ชนิดต่างๆหลากชนิดจะให้คุณภาพการต้านอนุมูลอิสระที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากแหล่งอาหารเพียงแหล่งเดียว สมัยนี้คนไทยเราส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยรับประทานผักผลไม้กันมากนักหรือรับประทานในปริมาณที่ไม่เพียงพอในแต่ละวัน ซึ่งผักและผลไม้นั้นถือว่าเป็นแหล่งที่ดีที่สุดของสารต้านอนุมูลอิสระ เมื่อรับประทานไม่เพียงพอก็อาจจะมีสารต้านอนุมูลอิสระในระดับที่ต่ำ ดังนั้นการบริโภคผักและผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน จะช่วยให้ประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระเพียงพอในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้นั่นเองค่ะ

ประเภทของสารพฤกษเคมี มีดังนี้

สารพฤกษเคมีที่ถูกค้นพบและนำมาใช้ประโยชน์แล้วนั้นมีมากกว่า 25,000 ชนิด ทั้งยังไม่มีการศึกษาค้นพบอีกเป็นจำนวนมากค่ะ ด้วยสารพฤกษเคมีนั้นมีหลายชนิดและแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ดังนั้นจึงจำแนกสารพฤกษเคมีคร่าวๆ ที่พบได้บ่อยดังต่อไปนี้ค่ะ

1.แคโรทีนอยด์ (Carotenoids)  

2.กลูโคไซโนเลท (Glucosinolate), ไอโซโธโอไซยาเนท (Isothiocynate))

3.โพลีฟินอล (Polyphenols) : ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) , แอนโธไซยานินส์ (Anthocyanins) , ไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoids)

4.ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogens)

5.ซาโปนินส์ (Saponins)

6.เฟนโนลิก (Phenolics), สารประกอบซีสติก (Cystic Compound)

7.ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol)

8.ซัลไฟด์ (Sulfide) และไธออล (Thiols)

 

healthy-drink-1
Source: Flickr (click image for link)

Phytonutrients (ไฟโตนิวเทรียนท์ ) ที่พบในผักและผลไม้ นั้นมีอะไรบ้าง

เมล็ดองุ่น ฟักทอง มะเขือเทศ บลอคโคลี่ กระเทียม ส้ม มะม่วงสุก มะละกอสุก ข้าวโพด ผักปวยเล้ง ผักโขม มิกซ์เบอร์รี่ แครอท ชาเขียว เมล็ดกาแฟ ธัญพืช ถั่วต่างๆ พริก ผักตำลึง มะกอก เป็นต้น

 

ประโยชน์ของสารพฤกษเคมี

– ทำให้พืชผักมีสี กลิ่น และรสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะ

– มีฤทธิ์ทางชีวภาพอาจต่อต้านหรือป้องกันโรคบางชนิดได้

– ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ DNA

– เป็นกลไกลที่สำคัญในการลดการเกิดมะเร็งได้

– ทำให้ร่างกายทำงานประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ

– ช่วยกำจัดสารพิษ

– ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ ควบคุมการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน

 

 

www.flickr.com/photos/usdagov/8455814259/

www.flickr.com/photos/143951935@N07/27976911001/

โพแทสเซียม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

yoghurt-breakfast-1
Source: Flickr (click image for link)

โพแทสเซียม (Potassium) เป็นแร่ธาตุที่มีมากเป็นอันดับ 3 ในร่างกาย รองจากแคลเซียมและฟอสฟอรัส โพแทสเซียมนั้นเป็นอิเล็กโตรไลต์ซึ่งเป็นตัวปรับสมดุลของประจุบวกหรือลบในเลือด โซเดียมกับคลอไรด์ก็เป็นอิเล็กโตรไลต์เช่นกันค่ะ ร่างกายของเราต้องได้รับแร่ธาตุทั้ง 3 ชนิดนี้ในปริมาณที่สมดุลจึงจะทำหน้าที่ต่างๆ ได้ดี โพแทสเซียมเกือบทั้งหมดในร่างกายจะอยู่ในเซลล์ต่างๆ โพแทสเซียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเป็นปกติ เช่น ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โปแทสเซียมช่วยควบคุมสมดุลของอิเล็กโตรไลต์และสมดุลของกรด-เบสในร่างกาย ป้องกันภาวะกรดเกิน (hyperacidity) และยังช่วยควบคุมความดันโลหิตที่สูงและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย มีรายงานวิจัยจำนวนมากที่ระบุว่าในกลุ่มประชากรที่ได้รับโปแทสเซียมจากอาหารในปริมาณที่สูงมีค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตและอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงต่ำกว่ากลุ่มประชากรที่ได้รับโปแทสเซียมจากอาหารในปริมาณที่น้อย และยังพบว่าการได้รับโปแทสเซียมจากอาหารอย่างเพียงพอ มีผลช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเรื้อรังชนิดอื่น ๆ โดยในงานวิจัยของ Ascherio และคณะ ได้รายงานว่าสามารถลดความเสี่ยงของภาวะการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง (Stroke) ได้ถึง 30%

 

เกี่ยวกับโพแทสเซียม (Potassium)

  • โพแทสเซียม เกลือแร่ชนิดหนึ่ง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ
  • โพแทสเซียม รักษาสมดุลของน้ำ กรด-ด่างในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต
  • โพแทสเซียม ในผู้ป่วยโรงใตเรื้อรัง จะมีประสิทธิภาพในการขับโพแทสเซียมลดลง ซึ่งทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด
  • โพแทสเซียม จะทำงานร่วมกับโซเดียมในการควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกายและช่วยทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ
  • ความเครียดทางด้านร่างกายและจิตใจ อาจส่งผลให้ขาดโพแทสเซียมได้
  • หากโพแทสเซียมและโซเดียมในร่างกายเสียสมดุลจะทำให้การทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเสียไป
  • ไฮโปไกลซีเมีย (ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ) จะส่งผลให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมได้ เหมือนกับการอดอาหารเป็นเวลานาน ท้องร่วงอย่างรุนแรง
  • แหล่งที่พบโพแทสเซียมตามธรรมชาติ ได้แก่ โยเกิร์ต ผลไม้รสเปรี้ยว กล้วย ลูกพีช มันฝรั่ง แคนตาลูป มะเขือเทศ ผักวอเตอร์เครส ผักใบเขียวทุกชนิด สะระแหน่ เมล็ดทานตะวัน ถั่ว เป็นต้น
  • ศัตรูของธาตุโพแทสเซียม ก็ได้แก่ น้ำตาล กาแฟ แอลกอฮอล์ และยาขับปัสสาวะ
  • ผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำและมีอาการอ่อนล้า อาจเกิดจากการสูญเสียโพแทสเซียมเพราะกาแฟ
  • ผู้ที่ชอบรับประทานของหวานและชอบดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ระดับของโพแทสเซียมในร่างกายอาจจะต่ำได้
  • ผู้ที่กำลังลดความอ้วนด้วยการรับประทานประเภทคาร์โบไฮเดรตน้อย จะส่งผลให้ระดับโพแทสเซียมในร่างกายลดลง ซึ่งจะส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดอาการอ่อนล้าหรือตอบสนองช้า
  • หากระดับโพแทสเซียมในร่างกายมากเกินไปจะถูกไตขับออกมา และสำหรับผู้ที่ไตทำงานได้ไม่ดีก็ไม่ควรรับประทานโพแทสเซียมเสริมในปริมาณที่สูงมากจนเกินไป
  • โพแทสเซียม ในรูปแบบอาหารเสริม มักพบได้ในรูปแบบของวิตามินรวมและแร่ธาตุรวม
  • โพแทสเซียม ในเลือดที่มีค่าปกติคือ 3.5 – 5.0 mEq/L
  • โพแทสเซียม  ในเลือดที่มีค่าต่ำคือ  < 3.5 mEq/L จะมีอาการซึม อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ตะคริว
  • โพแทสเซียม ในเลือดที่มีค่าสูงคือ  > 5.0 mEq/L จะทำให้เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • โพแทสเซียมสูงในอาหารประเภท (กลุ่มผักสีเข้ม) ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม ทุเรียน กล้วย ลำไย ผลไม้แห้งต่างๆ เช่น ลูกเกด ลูกพรุน แครอท มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า หัวปลี ผักชี มันฝรั่ง
  • โพแทสเซียมปานกลางในอาหารประเภท  สับปะรด ฝรั่ง แอปเปิ้ล เงาะ ส้ม องุ่น ลิ้นจี่ แคนตาลูป ส้มโอ มะม่วงดิบ มะเขือยาว หอมหัวใหญ่ ผักบุ้งจีน มะละกอดิบ ถั่วพู(ฝักอ่อน) พริกหวาน
  • โพแทสเซียมต่ำในอาหาร (กลุ่มผักสีซีด) ได้แก่ ชมพู่ องุ่นเขียว แตงโม บวบเหลี่ยม เห็ดหูหนู ฟักเขียว แฟง ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา
  • การจำกัดผัก-ผลไม้ขึ้นอยู่กับระดับโพแทสเซียมในเลือด ถ้าผลเลือดอยู่ในระดับปกติ ไม่จำเป็นต้องงดผัก ผลไม้ ควรเลือกรับประทานผักผลไม้หมุนเวียนได้ตามปกติ สีเข้ม-อ่อน สลับกันไป

จะเห็นได้ว่าเราสามารถเลือกรับประทานอาหารได้หลากชนิดเพื่อให้ได้รับโปแทสเซียมในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน แต่ทั้งนี้ เราควรบริโภคอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการ โดยคำนึงถึงปริมาณน้ำตาล ไขมัน คอเลสเตอรอล ฯลฯ ที่มีอยู่ในอาหารด้วย เพื่อป้องกันความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ และเพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง

 

ประโยชน์ของโพแทสเซียม (Potassium)

 

โพแทสเซียมและอิเล็กโตรไลต์ชนิดอื่นๆ ช่วยในการนำกระแสประสาท ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจและความดันเลือด โพแทสเซียมยังควบคุมปริมาณของเหลวภายในเซลล์ ขณะที่โซเดียมควบคุมปริมาณของเหลวภายนอกเซลล์ แร่ธาตุ 2 ชนิดนี้จึงทำงานร่วมกันเพื่อรักษาสมดุลของของเหลวในร่างกาย

 

โพแทสเซียมยังช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนน้ำตาล (กลูโคส) ในเลือด ไปเป็นพลังงานสะสม (ไกลโคเจน) ในกล้ามเนื้อและตับ โพแทสเซียมเป็นสารขับปัสสาวะธรรมชาติ จึงช่วยขับสารพิษที่เกิดจากการเผาผลาญพลังงานด้วย

 

โพแทสเซียม จะทำงานร่วมกับ ธาตุโซเดียม ในการควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกายและช่วยทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ โดยความเครียดทางด้านร่างกายและจิตใจ อาจส่งผลให้ขาดโพแทสเซียมได้ หากโพแทสเซียมและโซเดียมในร่างกายเสียสมดุลจะทำให้การทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเสียไป ไฮโปไกลซีเมีย (ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ) จะส่งผลให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมได้ เหมือนกับการอดอาหารเป็นเวลานาน ท้องร่วงอย่างรุนแรง

 

โพแทสเซียมช่วยควบคุม Osmolality ส่วนใหญ่ของ ICF จึงมีความสำคัญในการรักษาปริมาตรของเซลล์ให้คงที่ ซึ่งมีผลต่อความสำคัญของปริมาตรน้ำในร่างกาย

 

โพแทสเซียมเป็น Cofactor ที่สำคัญในกระบวนการเมทาบอลิซึม เช่น การสังเคราะห์โปรตีน และไกลโคเจน และการทำงานของอินซูลิน เป็นต้น

 

โพแทสเซียมในอัตราส่วนของโพแทสเซียมที่อยู่ระหว่าง ICF และ ECF จะเป็นตัวกำหนดความต่างศักย์ที่ผนังเซลล์ ที่มีความสำคัญในการทำงานของกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท

 

โพแทสเซียมที่ร่างกายได้รับในแต่ละวันจะได้รับจากอาหาร และมีการขับถ่ายออกนอกร่างกายทางปัสสาวะประมาณวันละ 50-90 มิลลิโมล ส่วนที่เหลือประมาณ 5-10 มิลลิโมล จะขับถ่ายออกทางอุจจาระ และเหงื่อ

 

 

www.flickr.com/photos/california_bakery/8102163622/

  • 1
  • 2