Browse Tag: Egg

กรดอะมิโน (amino acid) คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

Source: Flickr (click image for link)

“กรดอะมิโน (amino acid)” เป็นหัวข้อที่จะนำเสนอหลังจากได้ทำความรู้จักกับกรดอะมิโนจำเป็นที่สำคัญไป เลยทำให้คิดได้ว่าหลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าแล้วกรดอะมิโนจริงๆ แล้วมันคืออะไรกันนะ วันนี้เลยไม่รีรอที่จะนำเอาข้อมูลและรายละเอียดที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกรดอะมิโนมาเขียนและนำเสนอให้หลายๆ ท่านที่อาจจะยังไม่รู้จัก หรือรู้จักบ้างแต่ยังไม่ค่อยเข้าใจกันเท่าไหร่ จะว่าไปแล้วพวกเราอาจจะคุ้นเคยกับชื่อนี้กันเป็นอย่างดีถ้าเราตั้งใจเรียน พยายามนั่งอยู่หน้าสุดในชั้น หรือแม้แต่แอบหลับในพวกคาบวิชาชีววิทยา วิชาเคมี ก็คงจะคุ้นหูผ่านตามาบ้าง อาจจะพอทำให้รู้มาบ้างว่า กรดอะมิโน (amino acid) คือ ชีวโมเลกุลที่มีทั้งหมู่ฟังก์ชันอะมิโนและคาร์บอกซิลเป็นส่วนประกอบ กรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด โดยในวิชาชีวเคมี คำว่า “กรดอะมิโน” มักหมายความถึงกรดอะมิโนแบบแอลฟา (alpha animo acids) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทั้งหมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิลติดอยู่กับคาร์บอนอะตอมเดียวกัน เรียกว่า แอลฟาคาร์บอนค่ะ ด้วยแค่เนื้อหาที่กล่าวมาก็คงทำให้หลายๆ คนเกิดอาการง่วงรวมถึงผู้เขียนด้วย ดังนั้นการที่เราจะมาเขียนเรื่องราวของกรดอะมิโนในวันนี้ เราจึงจะเน้นไปในทางด้านของสุขภาพและความสำคัญต่อร่างกายยังไงบ้างแบบมีสาระสำคัญเน้นๆ กันไปเลย ก่อนที่เราจะพากันง่วงไปกว่านี้ไปเข้าเรื่องเลยดีกว่าค่ะ

 

กรดอะมิโน (amino acid) คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

Source: Flickr (click image for link)

ในด้านของสุขภาพและความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์อย่างเราๆ กรดอะมิโน คือ โปรตีนที่ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กที่สุดเพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้ ความจริงแล้วรองจากน้ำที่เป็นส่วนประกอบใหญ่ที่สุดในร่างกายของมนุษย์เราก็จะเป็นโปรตีนที่ประกอบอยู่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ และแน่นอนว่าโปรตีนมีบทบาทสำคัญในเกือบทุกระบบของกระบวนการทางชีววิทยาที่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหลายโครงสร้างรวมทั้งหน้าที่ในร่างกายของเราด้วยค่ะ และเมื่อร่างกายของเราได้ทำการย่อยโปรตีนแล้วโปรตีนเหล่านั้นจะอยู่ในรูปของกรดอะมิโน โดยกรดอะมิโนจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการต่างๆ ของร่างกายนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนของเซลล์กล้ามเนื้อรวมถึงเนื้อเยื่อส่วนใหญ่ก็ประกอบไปด้วยกรดอะมิโนค่ะ ซึ่งก็หมายความว่าเซลล์เหล่านี้ทำหน้าที่สำคัญในร่างกายของมนุษย์เราหลายอย่างมากมาย กรดอะมิโนที่พบในอาหาร พบว่า ไข่ มีกรดอะมิโนจำเป็นที่สมบูรณ์ครบถ้วนต่อความต้องการของร่างการวมถึงโปรตีนจากสัตว์ทั่วไป จำพวก เนื้อสัตว์ เนื้อปลา นม และอื่นๆ ก็มีปริมาณกรดอะมิโนที่เพียงพอค่ะ ส่วนแหล่งที่มาของกรดอะมิโนในที่พบในพืช ได้แก่ พืชตระกูลถั่ว เมล็ดธัญพืช ถั่ว และเมล็ดพืช แต่ถ้าว่าเลือกรับประทานแค่เพียงชนิดใดชนิดหนึ่งก็จะได้รับปริมาณกรดอะมิโนที่ไม่เพียงพอ  ดังนั้นคนที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์หรืออยากได้รับโปรตีนและกรดอะมิโนจากพืชก็ควรสามารถตรวจสอบปริมาณของชนิดอาหารนั้นๆ เลือกรับประทานอาหารที่หลากหลายของอาหารประเภทพืชตระกูลถั่วต่างๆ และธัญพืชค่ะ

วามสำคัญของกรดอะมิโน (amino acid)

  • สร้างโครงสร้างของเซลล์
  • มีบทบาทสำคัญในการขนส่งและการจัดเก็บสารอาหาร
  • กรดอะมิโนมีอิทธิพลต่อหน้าที่ของอวัยวะ ต่อม เส้นเอ็น และเส้นเลือด
  • มีความจำเป็นในการสร้างเอนไซม์หรือน้ำย่อยต่างๆ ร่วมถึงฮอร์โมน และสารสื่อประสาท
  • มีความจำเป็นสำหรับการรักษาบาดแผลและการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
  • ซ่อมแซมกล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนังและเส้นผมตลอดจนการกำจัดของเสียประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญ
  • กระบวนการย่อยสลายของสารอาหารภายในเซลล์ทั่วร่างกาย

กรดอะมิโนมีบทบาทสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาผลาญของร่างกายของเราและเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต การซ่อมแซม การขนส่ง การจัดเก็บ และการใช้งาน กรดอะมิโนมีผลต่อองค์ประกอบต่างๆ มากมาย รวมไปถึงกล้ามเนื้อ อวัยวะ ระบบการย่อย เลือด และระบบการทำงานของสมอง เนื่องด้วยร่างกายของเราต้องใช้กรดอะมิโนที่แตกต่างกันถึง 20 ชนิด เพื่อความสมบูรณ์ในการทำหน้าที่ต่อสุขภาพและร่างกายของเรา จาก 20 ชนิดของกรดอะมิโนที่ร่างกายของเราต้องการ ซึ่งมีกรดอะมิโนที่ร่างกายของเราสามารถสร้างขึ้นมาเองได้อยู่ 11 ชนิด และมีอีก 9 ชนิดที่ร่างกายของเราไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้โดยจะได้รับจากอาหารที่เรากินเข้าไป จะเรียกกรดอะมิโนนี้ว่า กรดอะมิโนที่จำเป็น ปริมาณของกรดอะมิโนแต่ละชนิดที่ร่างกายของเราต้องการจะแตกต่างกันไป จากกรดอะมิโน 20 ชนิดซึ่งเป็นโปรตีนในร่างกายของเราจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทที่สำคัญ ดังนี้

1.กรดอะมิโนที่จำเป็น เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายของเราไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับจากอาหารที่เรากินเข้าไป มีกรดอะมิโนที่จำเป็น 9 ชนิด คือ histidine, isoleucine, leucine, lysine, methionine, phenylalanine, threonine, tryptophan valine และ arginine โดย arginine จะจัดอยู่ในกลุ่มของเด็กทารกเท่านั้นเนื่องจากเด็กทารกไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ร่างกายจึงสามารถสร้างขึ้นเองได้ ดังนั้นเด็กทารกจะต้องการกรดอะมิโนจำเป็นจำนวน 10 ชนิด ส่วนวัยผู้ใหญ่ที่สามารถสร้างอาร์จีนีนได้แล้วจะมีกรดอะมิโนจำเป็นเหลือเพียง 9 ชนิดค่ะ

2. กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายของเราสามารถสร้างหรือสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ เช่น alanine, asparagine, aspartic acid, cysteine, glutamic acid, glutamine, glycine, proline, serine, and tyrosine

 

อย่างไรก็ตามการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมและหลากหลายก็ยังคงเป็นแนวทางการเลือกปฎิบัติที่สำคัญ แค่เพียงเราทราบว่าอาหารแต่ชนิดแต่ละประเภทคืออะไร มาจากไหน มีอะไรบ้าง เราก็สามารถเลือกและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมต่อสุขภาพและตัวเราเองได้ค่ะ  หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยทำให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของกรดอะมิโน (amino acid) มากขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อยนะคะ

 

www.flickr.com/photos/149561324@N03/25388616628/

www.flickr.com/photos/_sk/5086171972/

22 ชนิดของอาหารที่ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมัน

Source: Flickr (click image for link)

วันนี้จะมาพูดเกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง “ชนิดของอาหารที่ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมัน” (Boost your metabolism) หัวข้อที่ฟังดูไม่น่าซีเรียสอะไรแต่แอบมีความสำคัญซ่อนอยู่ค่ะ ระบบที่ทำงานในทุกส่วนของร่างกายเราล้วนแต่มีความสำคัญต่อสุขภาพของเราโดยตรงเลยก็ว่าได้ รวมถึงระบบเผาผลาญในร่างกายที่เราจะมากล่าวถึงในวันนี้ด้วยค่ะ ซึ่งระบบเผาผลาญในร่างกายของเราถ้าทำงานได้ปกติหรือดีถือว่าเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของเราในเรื่องหลักๆ เลยคือ ช่วยในเรื่องของการลดน้ำหนัก โดยใครที่มีระบบเผาผลาญในร่างกายที่ดีย่อมส่งผลให้การลดน้ำหนักนั้นง่ายขึ้นนั่นเองค่ะ ซึ่งก็แน่นอนค่ะว่าร่างกายของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ดังนั้นเราเลยนำหัวข้อนี้มาช่วยให้เป็นแนวทางอีกหนึ่งทางสำหรับใครที่กำลังมองหาวิธีต่างๆ ในการลดน้ำหนัก หรือรู้สึกว่าทำไมร่างกายถึงได้เผาผลาญช้าและเผาผลาญไม่ดี เป็นต้น ใครจะรู้ล่ะคะว่ามีอาหารมากมายหลากหลายชนิดเลยให้เราได้เลือกมาปรับและรับประทานกันค่ะ ถ้าอย่างนั้นเรามาเริ่มที่เรื่องง่ายๆ คือการดูแลและปรับการรับประทานอาหารนี้ก่อนเลยละกันค่ะ

 

 

22 ชนิดของอาหารที่ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมัน

Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.โยเกิร์ต

โยเกิร์ตคือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนมอีกชนิดหนึ่งโดยขอแนะนำโยเกิร์ตชนิด โยเกิร์ตกรีก นอกจากแคลเซียมสูง ไขมันต่ำ มีเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิดช่วยในเรื่องการขับถ่ายแล้ว ยังมีโปรตีนและวิตามินดีที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อช่วยยับยั้งฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียดจนนำไปสู่การส่งผลต่อไขมันในช่องท้อง หรือเรียกว่าลงพุงนั่นเองค่ะ

 

2.เมล็ดอัลมอลด์

เลือกรับประทานเมล็ดอัลมอลด์แค่เพียงหนึ่งกำมือ ก็สามารถช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันได้อย่างไม่น่าเชื่อค่ะ อัลมอลด์นอกจากมีโปรตีนแล้วยังมีเส้นใยอาหารที่สูงเหมาะกับการเลือกเป็นอาหารทานเล่นได้เลยค่ะ อีกทั้งยังมีกรดอะมิโน L-arginine ที่ไปช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันแล้วคาร์โบไฮเดรตในร่างกายได้อีกด้วยค่ะ

 

3.ชาเขียว

พบว่านอกจากชาเขียวแล้วยังมีชาอีกหลายชนิดที่ช่วยในเรื่องของการเร่งเผาผลาญไขมันจากสาร catechin แต่ชาเขียวกลับเป็นตัวเลือกที่ดีกว่านอกจากมีสารคาเทชินที่สูงแล้วยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า ECGC ที่สูงมากอีกด้วย โดยสารตัวนี้จะไปช่วยเผาผลาญไขมันแล้วยังสามารถหยุดการสร้างไขมันได้อีกด้วยค้ะ

 

4.ข้าวโอ๊ต

ขึ้นชื่อว่าคาร์โบไฮเดรตหลายคนคงสงสัยว่ามันจะช่วยได้ยังไง การเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตไม่ได้แย่เสมอไปค่ะ โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรตที่มาจากธัญพืชอย่าง ข้าวโอ๊ต ข้าวโอ๊ตเป็นธัญพืชที่มีเส้นใหญ่อาหารสูงช่วยทำให้ชะลอการย่อยให้ช้าขึ้นจึงอิ่มได้นานและช่วยให้มีไขมันในท้องน้อยกว่าคนที่กินคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ผ่านการขัดสีในปริมาณที่เท่ากันจำพวก ข้าวขาว ขนมปังขาวค่ะ

 

5.พริก

พริกเม็ดสีแดงๆ มีรสเผ็ดร้อนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะนี้ มีสารที่เรียกว่า แคปไซซิน เป็นสารประกอบที่จะทำให้เกิดความเผ็ดร้อน ช่วยไปเร่งการเผาผลาญแคลอรี่ได้เป็นอย่างดีเชียวค่ะ

 

6.ปลาแซลมอล

จะเห็นได้ว่าการเผาผลาญไขมันที่ดีโดยการสร้างกล้ามเนื้อด้วยโปรตีนทำให้กล้ามเนื้อมากขึ้นเท่ากับว่าการเผาผลาญไขมันก็มากขึ้นเช่นกันค่ะ และโปรตีนจำพวกเนื้อปลานี่แหละเป็นแหล่งชั้นยอดอย่าง ปลาแซลมอล โดนเฉพาะปลาแซลมอลที่เกิดเองตามธรรมชาติ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยต้านการอักเสบและช่วยเผาผลาญไขมันค่ะ

 

7.เนื้อไก่งวง

เนื้อไก่งวงเป็นเนื้อสัตว์ชนิดที่มีโปรตีนสูงและไขมันต่ำ และที่สำคัญเมื่อเรารับประทานเข้าไประหว่างทำการย่อยยังไปช่วยเพิ่มระบบการเผาผลาญแคลอรี่ของเราไปในตัวอีกด้วยค่ะ

 

8.ดาร์คช็อกโกแลต

ช็อกโกแลตเป็นของหวานที่หลายคนชอบและกลัวที่จะรับประทานในตอนที่เรากำลังลดควบคุมน้ำหนัก แต่ไม่ใช่กับดาร์คช็อกโกแลตค่ะเนื่องจากพบว่าจุลินทรีย์ในลำไส้ของคนเราได้ทำการบ่มช็อกโกแลตในกระเพาะอาหาร จนไปเพิ่มการผลิตสารประกอบโพลีฟีนอลิกในกระเพาะอาหาร รวมทั้งบิวทิล และกรดไขมันที่จะช่วยกระตุ้นร่างกายให้ไปเร่งการเผาผลาญไขมันและยับยั้งยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบค่ะ

 

9.ควีนัว

เมล็ดควีนัว (Quinoa) เป็นพืชที่ได้ถูกยกให้เป็นซูปเปอร์ฟู้ดส์โดยมีส่วนประกอบจากโปรตีนที่สมบูรณ์ ซึ่งหมายความว่ามีโซ่สมบูรณ์ของกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและยังไปลดไขมันอีกด้วย พบว่าร่างกายที่ได้รับโปรตีนจากพืชมีความเสี่ยงน้อยต่อการเกิดโรค metabolic syndrome (ที่เป็นกลุ่มของคอเลสเตอรอลสูง น้ำตาลในเลือดสูง และโรคอ้วน) นอกจากนี้ควีนัวยังมีกรดอะมิโนไลซีนสูง ซึ่งไปช่วยในการเผาผลาญไขมันและบำรุงกระดูก ทำให้ผิวหนังแข็งแรงขึ้นอีกด้วยค่ะ

 

10.ถั่วดำ

ธัญพืชอย่างเมล็ดถั่วดำจัดเป็นแหล่งของแป้งชนิดที่ดีค่ะ ถั่วดำเป็นแป้งที่ทำให้ย่อยช้ามีเส้นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำจึงเป็นอาหารชั้นดีของแบคทีเรียที่ดีในลำใส้ของเรา ทำให้เกิดการผลิตสารเคมีบิวเรท ซึ่งจะไปช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเร่งการเผาผลาญไขมัน และช่วยลดไขมันได้ดีด้วยค่ะ

 

11.ลูกพรุน

ลูกพรุนเป็นผลไม้ที่มีสีเฉพาะคือ สีแดง ที่เกิดจากปริมาณสารต้านอนุมูอิสระที่เรียกว่า ฟลาโวนอยด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอนโธไซยานินซึ่งทำให้การทำงานของยีนที่เก็บไขมันได้ดีขึ้น ช่วยเร่งการเผาผลาญในการลดน้ำหนักได้ดีนักแลค่ะ

 

12.ไข่

ไข่จัดเป็นหนึ่งในอาหารที่เป็นแหล่งที่ดีที่สุดของโคลีน ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญในการเผาผลาญไขมัน โดยจะไปช่วยยับยั้งยีนส์ที่รับผิดชอบในการจัดเก็บไขมันหน้าท้องค่ะ ยิ่งไปกว่านั้นไข่ยังเป็นแหล่งโปรตีนชั้นยอดที่สามารถกำหนดอัตราการเผาผลาญไขมันได้ตลอดทั้งวันเมื่อเราเลือกทานเป็นอาหารเช้า ไม่ว่าจะเลือกรับประทานในรูปแบบไหนก็มีประโยชน์ทั้งนั้นค่ะ

 

13.ผักปวยเล้ง

ด้วยใบสีเขียวเข้มของผักปวยเล้งมีสารอาหารที่ช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานจำพวก วิตามินเอ ธาตุเหล็ก และโฟเลต นอกจากนี้ยังช่วยลดความอยากอาหารและยังช่วยลดปริมาณแคลอรี่รวมทั้งยังไปกระตุ้นให้ร่างกายเริ่มเผาผลาญไขมันด้วยสารประกอบธรรมชาติที่เรียกว่า thylakoids

 

14.อบเชย

อบเชยเป็นสมุนไพรไทยอีกชนิดที่คนไทยนิยมนำมาประกอบอาหารและต่างชาตินิยมปรุงในขนม ของหวาน หรือแม้แต่เครื่องดื่ม ด้วยอบเชยเป็นสมุนไพรที่จัดอยู่ในกลุ่มของเครื่องเทศรสเผ็ดร้อนนี้ จึงเป็นตัวเร่งการเผาผลาญให้กับร่างกายเราเป็นอย่างดีค่ะ ด้วยสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่ได้จากอบเชยที่เรียกว่า โพลีฟีนอล ไปช่วยปรับสมดุลระดับอินซูลินทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ และยังสามารถลดไขมันในช่องท้องได้อีกด้วยค่ะ

 

15.เกรฟฟรุท

เกรฟฟรุทเป็นผลไม้ตระกูลเดียวกันกับส้มและมีลักษณะคล้ายกันค่ะ มีรชชาติเปรี้ยวอมหวานที่คุณเพิ่มโดยมีความสามารถในการเร่งการเผาผลาญไขมันของร่างกาย ช่วยลดความอยากของอาหารและลดไขมันด้วยค่ะ

 

16.เนยถั่ว

ส่วนใหญ่แล้วเนยถั่วจะนิยมนำมาเป็นเครื่องปรุงรสทาในแซนด์วิช หรือบนขนมปัง เนยถั่วเต็มไปด้วยสารอาหารที่ทำให้หน้าท้องเราแบนราบ คือไปช่วยลดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ลดคอเลสเตอรอล และเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีจากพืชอีกด้วยค่ะ พบว่าเมื่อโปรตีนเกิดการย่อยและเมื่อมันถูกย่อยสลายลงในกรดอะมิโนของร่างกาย โดยกรดอะมิโนหนึ่งในนั้นคือ phenylalanine จะไปกระตุ้นฮอร์โมนที่ช่วยลดความอยากอาหารและทำให้เร่งการเผาผลาญไขมันส่วนเกิน และช่วยในการลดน้ำหนักค่ะ

 

17.กระเทียม

กระเทียมเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหารไทยทั้งแบบสุกและสด ถึงแม้บางคนอาจจะไม่ชอบเมื่อรับประทานไปแล้วทำให้ลมหายใจไม่หอมสดชื่นเท่าที่ควร แต่ถ้าคุณรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์จากกระเทียม คุณจะลืมเหตุผลนั้นไปโดยปริยายเลยล่ะค่ะ เพราะว่ากระเทียมจัดเป็นอาหารหรือตัวช่วยในการเร่งการเผาผลาญน้ำตาลในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพเลยทีเดียว อีกทั้งยังสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการสร้างไขมัน (lipids) หรือโมเลกุลของไขมันในเลือดนั่นเองค่ะ

 

18.น้ำเปล่า

น้ำเปล่าเป็นอีกตัวเลือกที่มหัศจรรย์ถึงขั้นที่หลายคนนำมาดื่มเพื่อบำบัดโรคกันเลยทีเดียวค่ะ หลายคนไม่ชอบดื่มน้ำเปล่าในแต่ละวันดื่มไม่เพียงพอต่อความต้องการร่างกายด้วยซ้ำไป แต่ทราบหรือไม่คะยิ่งคุณดื่มน้ำมากเท่าไหร่นอกจากทำให้ผิวใสเปล่งปลั่งแล้วยังไปทำให้ลดแคลอรี่ที่ไม่จำเป็นต่อร่างกายลดลงง่ายขึ้นด้วย น้ำเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญต่อระบบเผาผลาญของร่างกายช่วยทำให้ระบบเผาผลาญของคุณทำงานได้ดียิ่งขึ้น ลองใส่เลม่อนลงไปสักเสี้ยวแล้วดื่มยิ่งช่วยให้ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระที่ได้จากเปลือกของเลม่อนที่ไปช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายทั้งยังช่วยในเรื่องของการขับถ่ายได้อีกด้วยค่ะ

 

19.เมล็ดฟักทอง

ก็อาจจะเป็นไปได้ที่หนึ่งในเหตุผลของระบบการเผาผลาญอาหารในร่างกายเราไม่สามารถเผาผลาญไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากเกิดจากระดับแมกนีเซียมในร่างกายของเรานั้นก็มีความจำเป็นต่อร่างกายเช่นกัน ซึ่งแมกนีเซียมจะไปช่วยในการผลิตและเก็บสะสมพลังงาน อีกทั้งยังช่วยเพิ่ม lipolysis (กระบวนการที่ร่างกายเราได้นำเอาไขมันออกไปใช้เป็นพลังงาน)

 

20.กิมจิ

ไม่น่าเชื่อว่ากิมจิที่เป็นอาหารประเภทผักดองก็จัดเป็นอาหารที่ช่วยในการเร่งการเผาผลาญได้อีกด้วยค่ะ ด้วยส่วนประกอบที่พบในกิมจิคือเชื้อโพรไบโอติกช่วยในเรื่องของระบบขับถ่ายให้ดีขึ้นและยังสามารถช่วยในเรื่องของการควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วยค่ะ

 

21.ขมิ้น

ขมิ้นที่ได้จัดเป็นเครื่องเทศอีกอย่างหนึ่งที่คนไทยนิยมนำมาปรุงอาหาร ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ก้าวไกลได้มีการค้นคว้าวิจัยต่างๆ จนเกิดมาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่เรียกว่าขมิ้นชันก็มีให้เห็นถมเถไป ด้วยความเป็นเอกลักษณ์จากสี กลิ่น และรสชาติของขมิ้นพบว่าสามารถต่อสู้กับไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากสารสำคัญที่มาจากขมิ้น เรียกว่า curcumin จัดเป็นตัวช่วยเร่งการเผาผลาญและช่วยในเรื่องท้องอืดท้องเฟ้อได้เป็นอย่างดีค่ะ

 

22.ผลไม้ตระกูลเบอรร์รี่

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่จำพวก สตรอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ จะเต็มไปด้วยสารโพลีฟีนอลซึ่งจะไปช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันและป้องกันยับยั้งไม่ให้เกิดขึ้น อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของผิวพรรณอีกด้วย โดยเฉพาะบลูเบอร์รี่ที่จัดเป็นแหล่งที่มีฤทธิ์ของสาร resveratrol ที่เป็น สารต่อต้านอนุมูลอิสระ นั่นเอง

 

www.flickr.com/photos/echadwick/2691099334/

www.flickr.com/photos/aryaziai/8731999161/

15 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินดีสูง

Source: Flickr (click image for link)

“วิตามินดี (Vitamin D)’’ คือเซกโคสเตอรอยด์ (secosteroids) ที่ละลายในไขมันก็คือเป็นวิตามินในกลุ่มที่ละลายได้ในไขมันกลุ่มหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เสริมการดูดซึมธาตุแคลเซียม เหล็ก แม็กนีเซียม ฟอสเฟตและสังกะสีในร่างกายของเรานั่นเอง วิตามินดีนั้นก็จะมีหลักๆ อยู่สองตัวคือ วิตามินดี 2 และวิตามินดี 3 นั่นเอง วิตามินดี 2 หรือ ergocalciferol ที่จะพบในพืช รา ไลแคน และสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกหอยทาก หนอน ยีสต์ ส่วนวิตามินดี 3 หรือ cholecalciferol จะพบในน้ำมันตับปลา ไข่แดง และสังเคราะห์ที่ผิวหนังค่ะ ซึ่งปกติร่างกายเราจะได้รับวิตามินดีส่วนหนึ่งจากอาหาร และอีกส่วนหนึ่งจากการสังเคราะห์ที่ผิวหนังซึ่งร่างกายสามารถสร้างเองได้โดยได้รับการกระตุ้นจากรังสียูวีบี (UVB) ซึ่งมีอยู่ในแสงแดด ซึ่งหลายคนจะทราบกันดีและเรียกวิตามินดีนี้อีกอย่างว่า “วิตามินแสงแดด” การให้ร่างกายได้รับแสงแดดที่เหมาะสมครั้งละ 5 ถีง 30 นาที สองครั้งต่อสัปดาห์ก็พอที่จะทำให้ร่างกายสร้างวิตามินดีขึ้นมาใช้ได้อย่างเพียงพอโดยที่ไม่จำเป็นต้องได้รับวิตามินดีจากอาหารเลยก็ว่าได้ นอกเสียจากพื้นที่ที่เราอยู่มีแสงแดดไม่เพียงพอ ในบางคนกลัวที่จะโดนแสงแดดและโดยเฉพาะรังสี UV ในแสงอาทิตย์โดยเฉพาะในประเทศไทยบ้านเรา อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้ American Academy of Dermatology จึงแนะนำให้เรารับวิตามินผ่านทางอาหารหรืออาหารเสริมมากกว่าค่ะ โดยทั่วปริมาณที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน ในคนปกติควรได้รับวิตามินดีอย่างน้อยวันละ 400 IU ต่อวัน (วิตามินดี 1 IU (หน่วยสากล) = 0.025 ไมโครกรัม (μg) cholecalciferol หรือ ergocalciferol) ซึ่งเราจะสังเกตุอาการที่เกิดขึ้นเพื่อเตือนว่าร่างกายของเรากำลังขาดวิตามินดี ได้แก่

  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • ภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล
  • โรคภูมิต้านตนเอง
  • โรคมะเร็ง
  • กระดูกอ่อน (osteopenia)
  • ปัญหาผิวหนังทำให้เป็นแผลเปื่อยและโรคสะเก็ดเงิน
  • สมองเสื่อม

ในเด็กหากขาดวิตามินดีเรียก rickets ส่วนในผู้ใหญ่เรียก osteomalacia ค่ะ และปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการขาดวิตามินดี คือการมีไขมันในร่างกายมาก เพราะวิตามินดีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ดังนั้นนั้นวิตามินดีจึงถูกเก็บอยู่กับไขมันมากกว่าที่จะถูกนำออกมาในกระแสเลือดเพื่อใช้กับกระบวนการต่างๆ ในร่างกายนั่นเองค่ะ

 

15 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินดีสูง

Source: Flickr (click image for link)

1.น้ำมันตับปลา

น้ำมันตับปลาเป็นน้ำมันที่สกัดมาจากตับของปลาค็อด (Cod) ที่เป็นปลาทะเล มีวิตามินดีอยู่สูงและสามารถใช้แทนคนที่กำลังขาดวิตามินดีได้เป็นอย่างดีค่ะ โดยน้ำมันตับปลาปริมาณแค่เพียง 1 ช้อนชา มีวิตามินดีอยู่มากถึง 440 IU

 

2.ปลาเทราท์

ในปลาเทราท์ก็มีวิตามินดีที่สูงเช่นกัน ใครที่ชอบรับประทานปลาก็ไม่ควรที่พลาดปลาชนิดนี้ไปนะคะ ซึ่งปลาเทราท์ปริมาณ 3 ออนซ์ มีวิตามินดีอยู่มากถึง 646 IU

 

3.นมสด

คงจะได้ยินกันบ่อยๆ ว่าการดื่มนมจะเป็นส่วนที่ช่วยเสริมวิตามินดีด้วยเช่นกัน นมสดปริมาณเพียงแค่ 1 ถ้วย มีวิตามินดีอยู่ 98 IU

 

4.ปลาแซลมอล

ปลาทะเลสีส้มสดใสที่ไม่มีใครไม่รู้จักอย่างแน่นอนอย่างปลาแซลมอลนั้นก็มีวิตามินดีซ่อนอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียวค่ะ ปลาแซลมอลปริมาณ 3 ออนซ์ มีวิตามินดีมากถึง 400 IU

 

5.ปลาทู

ถ้าใครคิดว่าไม่ได้มีโอกาสไปหาปลาแซลมอลมารับประทานบ่อยๆ ก็ไม่ต้องห่วงค่ะเดินไปตลาดไปซื้อปลาทูมาสักเข็งก็ได้รับวิตามินดีมาไม่น้อยเช่นกัน ปลาทูปริมาณ 3 ออนซ์ มีวิตามินดีอยู่มากถึง 400 IU

 

6.ปลาทูน่า

ปลาทูน่าจะแบบสดๆก็ดี แบบกระป๋องก็ได้ค่ะ จะสังเกตุได้ว่าส่วนใหญ่อาหารที่มีวิตามินดีสูงจะอยู่ในจำพวกอาหารทะเลอย่าปลาทะเลค่ะ นอกจากจะมีวิตามินดีที่สูงแล้วยังเป็นแหล่งของกรดไขมันที่ดีๆ อย่างโอเมก้า 3 อยู่เช่นกัน  ปลาทูน่าปริมาณ 3 ออนซ์ มีวิตามินดีอยู่ 228 IU  

 

7.ปลาซาดีน

ปลาอีกชนิดหนึ่งคือปลาซาดีนก็เป็นแหล่งของวิตามินดีอยู่เช่นกันค่ะ ปลาซาดีนปริมาณ 3 ออนซ์ มีวิตามินดีอยู่ 164 IU

 

8.แฮม

แฮมที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเนื้อสัตว์ก็จัดอยู่ในชนิดของอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินดีค่ะ ซึ่งแฮมปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินดีอยู่ 129 IU

 

9.ไข่ปลาคาร์เวีย

ไข่ปลาโดยเฉพาะไข่ปลาคาร์เวียที่ได้จากปลาสเตอร์เจียนจะมีวิตามินอยู่ไม่น้อยเช่นกันค่ะ โดยไข่ปลาคาร์เวียปริมาณ 1 ออนซ์ มีวิตามินดีอยู่ 33 IU

 

10.ไข่ไก่

ถ้าไข่ปลาคาร์เวียจะราคาสูงและหารับประทานยากก็หันมาเลือกรับประทานไข่ไก่ที่มีอยู่ตลอดเวลาในตู้เย็นของเรากันดีกว่า โดยไข่ไก่ขนาดแค่เพียง 1 ฟองใหญ่ มีวิตามินดีอยู่ถึง 41 IU

 

11.เนื้อหมูสับ

เนื้อหมูประเภทหมูสับถือว่าเป็นอีกหนึ่งชนิดที่ได้มีวิตามินดีแอบซ่อนอยู่เช่นกัน โดยหเนื้อหมูสับปริมาณ 3 ออนซ์ มีวิตามินดีอยู่ถึง 34 IU

 

12.เนื้อไก่

เนื้อไก่ก็มีวิตามินดีอยู่เช่นกัน แค่เพียง 1 น่องติดหนัง ก็มีวิตามินดีอยู่ถึง 15 IU

 

13.เห็ด

ใครจะรู้ว่าเห็ดก็เป็นอีกหนึ่งชนิดที่เป็นแหล่งของวิตามินดีค่ะ ซึ่งเห็ดปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินดีอยู่ 2 IU

 

14.เนื้อไก่งวง

เนื้อสัตว์อย่างไก่งวงอาจจะหารับประทานได้ไม่ง่ายหรือถ้ามีโอกาสได้รับประทานก็ขอให้ทราบไว้ว่ามีวิตามินดีอยู่เช่นกันค่ะ โดยเนื้อไก่งวงปริมาณ 3 ออนซ์ มีวิตามินดีอยู่ 10 IU

 

15.ชีส

ชีสเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนมก็เป็นหนึ่งชนิดของอาหารที่เราสามารถเลือกหรือนำมาปรุงอาหารเพื่อเสริมวิตามินดีได้ค่ะ เพราะแค่ชีสเพียง 1 แผ่น ปริมาณ 28 กรัม มีวิตามินดีอยู่ 11 IU

 

 

www.flickr.com/photos/healthgauge/7474848656

www.flickr.com/photos/laurelguido/4829050957

15 ชนิดของอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง

Source: Flickr (click image for link)

อาหารการกินทุกชนิดล้วนแต่มีส่วนประกอบของธาตุต่างๆ แซมๆหรือแอบซ่อนอยู่ ซึ่งอาหารบางอย่างบางชนิดหลายคนก็อาจจะไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีแร่ธาตุนี้อยู่ด้วยซ้ำไป ดังนั้นในบางครั้งเราอาจจะไม่ได้รับสารอาหารนั้นๆ เพียงพอเนื่องจากไม่ได้ทานเพราะความไม่ชอบส่วนตัวหรืออาจจะไม่คิดว่าจะมีแร่ธาตุตัวนี้อยู่ในอาหารนั้นๆ หรือบางคนพยายามจะเลี่ยงแร่ธาตุบางตัวเพราะคุณหมอสั่งมาว่าเนื่องจากโรคที่เป็นอยู่ไม่ควรได้รับแร่ธาตุตัวนี้เกินปริมาณที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน หรือจำกัดปริมาณการรับประทานนั่นเอง และบางทีเผลอไปรับประทานอาหารบางชนิดเข้าเพราะไม่ทราบว่ามีแร่ธาตุตัวที่ห้ามนั้นผสมอยู่ ไปหาคุณหมอทีต้องได้ซักประวัติการรับประทานอาหารกันยาวๆ เลยทีเดียว บ้านเราถือว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำเลยก็ว่าได้ อยากจะทานอะไรหาได้ไม่ยากและก็ง่ายที่จะถูกใจและถูกปากเวลารับประทาน หรือเรียกง่ายๆ ว่าทานง่ายนั่นแหละค่ะ แต่ด้วยความที่เป็นคนทานง่ายทานไม่เลือกก็ใช่ว่าจะดี บางทีมีโรคเยอะกว่าคนที่เลือกทานเสียอีกแต่ก็ไม่เสมอไปค่ะ หลายคนที่เลือกรับประทาน (เฉพาะอาหารที่ชอบ)มาตรวจร่างกายทีโรคนั่นโรคนี่มาเป็นแพคเก็จบวกของแถมมาอีก ทางที่ดีการที่เราได้รับรู้ว่าร่างกายเราเป็นอย่างไร อาหารชนิดไหนประเภทไหนที่ควรได้รับอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพของตัวเองนั่นแหละค่ะ หัวข้อที่เราจะนำมาแบ่งปันกันวันนี้ก็คือ อาหารชนิดไหนบ้างนะที่มีฟอสฟอรัสสูง ฟอสฟอรัสเป็นเกลือแร่หรือแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่ทำงานร่วมกับแคลเซียม มีหน้าที่เป็นโครงสร้างของกระดูกและฟันเป็นหลักๆ ค่ะ โดยหน้าที่อื่นๆ ของฟอสฟอรัสต่อร่างกายของคนเราก็จำพวกกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท กระตุ้นการหดตัวคลายตัวของกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย เป็นต้น โดยกลไกลการทำงานของฟอสฟอรัสเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ฟอสฟอรัสในอาหารนั้นจะถูกดูดซึมไปหมดในรูปแบบของ free phosphate และปริมาณการถูกดูดซึมจะมีความแตกต่างกันจากปริมาณของธาตุเหล็ก แมกนีเซียมรวมทั้งสารอื่นๆ ด้วย ซึ่งจะรวมตัวกันเป็นสารที่ไม่ละลายและถูกขับออกทางอุจจาระ และอีก 30 เปอร์เซ็นต์ของฟอสฟอรัสในอาหารที่ไม่ถูกดูดซึม ส่วนการควบคุมระดับของฟอสฟอรัสนั้นจะทำโดยการขับออกทางไตมากกว่าในรูปแบบของการดูดซึม    

อาการของการขาดฟอสฟอรัสและการมีมากเกินไป

ระดับฟอสฟอรัสต่ำในเลือด  จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง

ระดับฟอสฟอรัสสูงในเลือด  จะมีอาการคันตามผิวหนัง หลอดเลือดแดงแข็ง มีก้อนแคลเซียมเกาะตามเนื้อเยื่อ ภาวะต่อมพาราไทรอยด์โต กระดูกบางและเปราะ

 

15 ชนิดของอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง

 

1.นม

ปกติแล้วอาหารที่มีแคลเซียมสูงก็จะมีฟอสฟอรัสสูงไปด้วยและอาหารที่มีแคลเซียมสูงที่เราสามารถนึกภาพออกเป็นอันดับต้นๆ ก็คงจะเป็นนมใช่ไหมล่ะคะรวมถึงนมสดรสจืด รสหวาน นมพร่องมันเนย นมขาดมันเนย นมข้น นมผง นมปรุงแต่งกลิ่นรสต่างๆ แม้แต่นมเปรี้ยวก็จัดอยู่ในอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงจ้า

 

2.ไข่แดง

ในไข่แดงจัดว่าเป็นอาหารชนิดที่มีฟอสฟอรัสอยู่สูงถึง 580 มิลลิกรัมต่อไข่ 100 กรัมค่ะ ส่วนใหญ่แล้วอาหารที่มีโปรตีนสูง ฟอสฟอรัสก็จะสูงตามไปด้วยค่ะ

 

3.เมล็ดถั่วเหลืองแห้ง

ในส่วนของฟอสฟอรัสที่มีอยู่ในเมล็ดถั่วเหลืองแห้งซึ่งมีอยู่ถึง 583 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 100 กรัม ถือว่ามีฟอสฟอรัสสูงที่สุดในบรรดาอาหารประเภทเมล็ดถั่วแห้งต่าง ๆ

 

4.เครื่องในสัตว์

เครื่องในสัตว์จำพวก ตับ จัดเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงและมีสารอาหารอย่างฟอสฟอรัสอยู่จำนวนมากเช่นกันค่ะ

 

5.ผลิตภัณฑ์จากนม

นอกจากนมจะมีฟอสฟอรัสสูงแล้วผลิตภัณฑ์จากนมทุกชนิดก็เช่นกันค่ะ เช่น โยเกิร์ตชนิดข้นและชนิดดื่มได้ ไอศกรีม คัสตาร์ดครีม ชีส ช็อกโกแลต และเนยแข็งทุกชนิด เป็นต้น

 

6.สาหร่ายทะเลแห้ง

ในสาหร่ายทะเลแห้ง 100 กรัม มีฟอสฟอรัสถึง 1,000 มิลลิกรัม และถึงแม้ว่าสาหร่ายทะเลจะยังไม่ใช่อาหารหลักของคนไทย แต่ก็เป็นอาหารทานเล่นที่หลายๆ คนชอบกัน ยังไงใครที่มีปัญหาแร่ธาตุฟอสฟอรัสเกินก็ควรที่จะยับยั้งชั่งใจในการรับประทานด้วยนะคะ

 

7.พริกแดง

พริกเม็ดสีแดงๆ รสชาติเผ็ดร้อนเป็นเครื่องปรุงรสชั้นเลิศของสาวๆเมืองไทยนี้มีฟอสฟอรัสแฝงอยู่ถึง 380 มิลลิกรัม ต่อพริกแดง 100 กรัม

 

8.อาหารแปรรูปแช่แข็ง

ในส่วนของอาหารแปรรูปแช่แข็งส่วนใหญ่แล้วจะมีการเติมสารโพลีฟอสเฟตลงไปเพื่อรักษาคุณภาพของอาหารแปรรูปประเภทแช่แข็ง ซึ่งสารโพลีฟอสเฟตที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารจะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพไปเป็นสารฟอสเฟตหนึ่งหน่วย (single phosphate unit) ค่ะ

 

9.น้ำอัดลม

เครื่องดื่มชนิดคาร์บอเนตจำพวกน้ำอัดลมต่างๆ ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไปที่อยู่เกลื่อนกลาดเป็นเครื่องดื่มที่หลายคนชื่นชอบนั้น นอกจากให้ความรู้สึกสดชื่นคลายความกระหายแล้วก็ไม่ได้มีสารอาหารที่ดีทางโภชนาการต่อร่างกายแต่อย่างใด แถมยังเป็นเครื่องดื่มที่มีฟอสอรัสสูงขนาดที่สามารถไปขัดขวางการทำงานของแคลเซียมในร่างกายซะอีก

 

10.ถั่วเขียวดิบ

เมล็ดถั่วเขียวถือเป็นธัญพืชตระกูลถั่วอีกตัวที่มีฟอสฟอรัสสูงค่ะ ถ้าอยู่ในสภาวะที่ต้องควบคุมก็ควรจะพับเก็บถั่วเขียวไปได้เลยค่ะ แต่ในทางกลับกันถ้าใครขาดอยู่แล้วล่ะก็เป็นตัวอีกตัวเลือกค่ะที่อยากจะแนะนำ

 

11.เนื้อสัตว์แปรรูป

เนื้อสัตว์แปลรูปทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นแบบหมัก ดองเค็ม เปรี้ยว หวาน ตากแห้ง จะมีการเติมฟอสเฟตเพื่อให้มีลักษณะหยุ่นๆ หรือให้จับตัวกันเป็นต้นค่ะ

 

12.ช็อคโกแลต

ช็อคโกแลตถ้าทานให้ดีก็จะได้รับประโยชน์มากมายโดยเฉพาะดาร์กช็อคโกแลต และด้วยความที่มีประโยชน์มากมายก็จะมีแร่ธาตุต่างๆ มากมายตามมาอย่างเช่น แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม โพแทสเซียม โซเดียม และฟอสฟอรัสที่สูงถึง 287 มิลลิกรัม ต่อช็อคโกแลต 100 กรัม

 

13.เบเกอรี่

เบเกอรี่ไม่ว่าจะเป็นขนมปัง เค้ก ขนมอบ โดนัท ซาลาเปา หรือขนมที่มีส่วนผสมของยีสต์ล้สนแต่เป็นอาหารที่มีฟอสฟอรัสที่สูงค่ะ

 

14.เครื่องดื่มชา กาแฟ โกโก้

เครื่องดื่มที่เป็นของโปรดของใครหลายคนและเป็นต้องดื่มมันทุกวันจำพวก ชานมเย็น โกโก้ กาแฟเย็น ที่เป็นเครื่องดื่มใส่นมทั้งหลายแหล่ ล้วนแต่เป็นเครื่องดื่มที่ให้ฟอสฟอรัสสูงค่ะ ใครที่จำกัดปริมาณฟอสฟอรัสยังไงก็เบาๆลงหน่อยนะคะ

 

15.ธัญพืช

เมล็ดธัญพืชทุกชนิดอย่างเช่น อัลมอลด์ ข้าวโอ็ต ข้าวกล้อง งาดำ ลูกเดือย เมล็ดแตงโม ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวมอลต์ รวมถึงเครื่องดื่มจากธัญพืชทุกชนิดด้วยค่ะ

 

www.flickr.com/photos/katyushaitaly/6263113221/