Browse Tag: Foods

12 ชนิดของอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีสูง

Source: Flickr (click image for link)

แร่ธาตุสังกะสี จัดเป็นแร่ธาตุในกลุ่ม (Trace Minerals) ซึ่งมีชื่อที่เราเรียกอีกอย่างหนึ่งที่และคุ้นหูกันและชอบเรียกกันว่า ซิงค์ (Zinc) โดยร้อยละ 90 ของสังกะสีที่มีในร่างกายจะอยู่ที่กระดูกและกล้ามเนื้อ และอีกร้อยละ 10 นั้นจะไปอยู่ที่ ตับอ่อน ตับ เลือด ส่วนร้อยละ 80 นั้นอยู่ในเม็ดเลือดแดงและร้อยละ 20 อยู่ในน้ำเหลืองค่ะ สังกะสีมีลักษณะเหมือนกับแร่ธาตุและวิตามินอื่นๆ คือเป็นสารอาหารทีไม่ให้พลังงานแต่ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกำกับการทำงานของร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์กรดนิวคลิอิกและโปรตีนเอนไซม์ในร่างกายมากกว่า 100 ชนิด อาจจะพูดได้ว่าเอนไซม์ที่เป็นสารสำคัญในการเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกายเกือบทุกชนิดต้องการสังกะสีเป็นส่วนประกอบจึงจะทำหน้าที่ได้ดี ดังนั้นสังกะสีจึงมีความสำคัญต่อการทำงานของทุกอวัยวะส่วนในร่างกายของเราค่ะ ดูเหมือนจะเป็นแร่ธาตุตัวเล็กๆ และอาจจะไม่สำคัญที่จะใส่ใจมากนัก เลยกลายเป็นเหตุให้ต้องละเลยไปจนกลายเป็นขาดแร่ธาตุตัวนี้ไปเองจากการรับประทานอาหารไม่ถูกต้อง ร่างกายจึงได้รับแร่ธาตุสังกะสิไม่เพียงพอหรืออีกขณะร่างกายก็อาจจะได้รับมากเกินไป จนทำให้กลไกในร่างกายแปรปรวนถึงขั้นเป็นเหตุให้เจ็บป่วย ด้วยความใส่ใจในร่างกายตัวเองอยู่เสมอๆจนเล็งเห็นว่าถึงจะเป็นแค่แร่ธาตุก็เหอะ แร่ธาตุก็ไม่ได้มีแค่ตัวเดียวที่เราควรรู้เพราะฉะนั้นจึงอยากจะเก็บข้อมูลและมาเสนอให้คนที่ใส่ใจหรือไม่ทันได้สังเกตุการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายของเรากำลังขาดหรือเกินต่อแร่ธาตุตัวนี้หรือตัวไหนๆอยู่ก็เป็นได้ หวังว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ค้นหาและกำลังต้องการทราบอยู่นะคะ เราเคยได้บอกรายละเอียดเกี่ยวกับธาตุสังกะสีไปในหัวข้อ สังกะสี คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร ไปส่วนหนึ่งแล้วนะคะ และจะขอนำเอาข้อมูลบางส่วนมาใส่ในหัวข้อนี้อีกทีค่ะ

โดยถ้าร่างกายมีอาการขาดแร่ธาตุสังกะสีเป็นเวลานาน จะเป็นผลให้เกิดอาการต่างๆ มากมาย ดังนี้

  • การเจริญเติบโตในเด็กล่าช้า ตัวเล็ก แคระแกรน
  • ผิวหนังมีการอักเสบ โดยระยะแรกจะเป็นรอบปากและอวัยวะเพศ ต่อมาจะลามไปที่แขนและขา เริ่มแรกอาจเป็นแค่ผื่นแดงต่อมาจะมีลักษณะเป็นเม็ดพุพอง
  • มีอาการเบื่ออาหาร การรู้รสลดน้อยลง
  • มีอาการซึมเศร้า หงุดหงิด ขาดสมาธิ เหม่อลอย และมีอาการตาบอดแสงได้
  • ระบบต่อมไร้ท่อ คือ ทำให้อวัยวะเพศเด็กเล็ก ไม่โตขึ้นตามวัย เนื ้อแพะ 79.38 16.84 4.57
  • มีอาการผมร่วง แตกปลาย เล็บเปราะ ผิวแห้ง

ปริมาณสังกะสีที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน (Daily RDAs For Zinc)

อายุน้อยกว่า 1 ปี ปริมาณที่แนะนำ               3 – 5        มิลลิกรัม/วัน

อายุ 1 –10 ปี ปริมาณที่แนะนำ                      10          มิลลิกรัม/วัน

อายุ 11 ปีขึ้นไป ปริมาณที่แนะนำ                   15          มิลลิกรัม/วัน

สตรีในระยะตั้งครรภ์ ปริมาณที่แนะนำ          20 – 25     มิลลิกรัม/วัน

สตรีในระยะให้นมบุตร ปริมาณที่แนะนำ       25 – 30     มิลลิกรัม/วัน

 

12 ชนิดของอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีสูง

 

1.หอยนางรม

หอยนางรม ถือเป็นอาหารชนิดแรกที่มีแร่ธาตุสังกะสีสูงเหมาะแก่การเลือกมาประกอบอาหารหรือจะรับประทานสดๆ ราดน้ำจิ้มซีฟู้ดส์รสแซ่บ ซึ่งก็มีไม่น้อยสำหรับคนที่ชอบทานกัน โดยหอยนางรมน้ำหนัก 100 กรัม มีสังกะสีอยู่ประมาณ 75 มิลลิกรัม

 

2.ตับ

ในอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ประเภทตับไม่ว่าจะเป็นตับไก่ ตับหมู ตับลูกวัวในปริมาณที่เท่ากันจะมีแร่ธาตุสังกะสีอยู่ประมาณ 4 – 12 มิลลิกรัม โดยเฉพาะตับลูกวัวปริมาณ 100 กรัม มีธาตุสังกะสีถึง 12 มิลลิกรัม เลยทีเดียวค่ะ

 

3.เมล็ดแตงโม

ในเมล็ดแตงโมสีดำๆ ที่บางทีก็เป็นอาหารว่างกินเล่นๆ ตามซูปเปอร์มาเก็ตก็มีประโยชน์สำหรับคนที่มองหาขนมทานเล่นที่ให้ธาตุสังกะสีสูง โดยเมล็ดแตงโมปริมาณ 100 กรัม จะมีธาตุสังกะสีอยู่ประมาณ 10 มิลลิกรัมค่ะ

 

4.จมูกข้าว

จมูกข้าวก็มีประโยชน์นะมีแร่ธาตุมากมายโดยเฉพาะธาตุสังกะสีอยู่สูงถึง 12-17 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัมกันเลยจ้า

 

5.เนื้อสัตว์

อาหารที่ให้โปรตีนอย่างเนื้อสัตว์ก็มีธาตุสังกะสีอยู่สูงเลยทีเดียวค่ะ อย่างเช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแพะและเนื้อแกะล้วนแต่ให้สังกะสีเยอะพอกันอยู่ที่ประมาณ 4-10 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัมค่ะ

 

6.เมล็ดฟักทอง

เมล็ดฟักทองก็เป็นอาหารทานเล่นอีกอย่างที่ให้แร่ธาตุสังกะสีที่สูงถึง 7-10 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม เป็นอีกตัวเลือกในการเลือกรับประทานเพื่อเพิ่มแร่ธาตุให้กับร่างกายค่ะ

 

7.เมล็ดงา

เมล็ดงาที่ส่วนใหญ่ทางบ้านเราไม่ค่อยนิยมมาทำอาหารมากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นของหวาน เครื่องดื่ม หรือนำมาโรยหน้าอาหารบ้างประปราย โดยเมล็ดงามีธาตุสังกะสีอยู่ถึว 7.75 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม

 

8.เห็ด

เห็ดก็ถือได้ว่าเป็นวัตถุดิบที่คนไทยชอบนำมาประกอบอาหารและมีสารพัดประโยชน์ที่จะกล่าว อีกทั้งยังมีมีแร่ธาตุสังกะสีอยู่สูงถึง 7.66 มิลลิกรัม ในปริมาณ 100 กรัมค่ะ

 

9.มะม่วงหิมพานต์

เมล็ดมะม่วงหิมพานต์มีแร่ธาตุต่างๆ มากมาย รวมถึงมีแร่ธาตุสังกะสีอยู่ด้วย มะม่วงหิมพานต์ถือเป็นของว่างทานเล่นที่มีประโยชน์อยู่ไม่น้อย ไหนจะนำมาประกอบอาหารได้อีก สารพัดประโยชน์และอร่อยทานได้เพลินอย่างนี้ มีแร่ธาตุสังกะสีอยู่ถึง 5.35 มิลลิกรัมเลยแหละ

 

10.ช็อกโกแลตหรือโกโก้

ผงช็อกโกแลตที่มีปริมาณโกโก้สูงก่อนที่จะนำไปปรุงแต่งถือว่ามีปริมาณแร่ธาตุสังกะสีอยู่สูงลิ่วเลยล่ะค่ะ ซึ่งปริมาณช็กโกแลต 100 กรัม มีปริมาณแร่ธาตุสังกะสีอยู่ถึง 9.6 มิลลิกรัมเลยทีเดียวค่ะ

 

11.ถั่วลิสง

จะสังเกตุเห็นว่าส่วนใหญ่แล้วอาหารประเภทธัญพืชและพืชตระกูลถั่วจะมีแร่ธาตุอย่างสังกะสีอยู่เยอะ เพราะฉะนั้นถั่วลิสงก็เช่นกันค่ะ โดยถั่วลิสงปริมาณ  100 กรัม มีแร่ธาตุสังกะสีอยู่ 6.6 มิลลิกรัมค่ะ

 

12.ไข่แดง

ไข่แดงก็มีแร่ธาตุสังกะสีอยู่พอควรค่ะ โดยปริมาณอาจจะมีไม่มากเท่าเนื้อสัตว์ต่างๆ แต่ก็ยังถือว่าไข่เป็ฯอาหารหลักของคนไทยเช่นกันจึงมีการรับประทานบ่อยๆ โดยในไข่แดงจะมีธาตุสังกะสีอยู่ประมาณ 4.93 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม

 

 

www.flickr.com/photos/south-african-tourism/3918506669/

15 ชนิดของอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง

Source: Flickr (click image for link)

อาหารการกินทุกชนิดล้วนแต่มีส่วนประกอบของธาตุต่างๆ แซมๆหรือแอบซ่อนอยู่ ซึ่งอาหารบางอย่างบางชนิดหลายคนก็อาจจะไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีแร่ธาตุนี้อยู่ด้วยซ้ำไป ดังนั้นในบางครั้งเราอาจจะไม่ได้รับสารอาหารนั้นๆ เพียงพอเนื่องจากไม่ได้ทานเพราะความไม่ชอบส่วนตัวหรืออาจจะไม่คิดว่าจะมีแร่ธาตุตัวนี้อยู่ในอาหารนั้นๆ หรือบางคนพยายามจะเลี่ยงแร่ธาตุบางตัวเพราะคุณหมอสั่งมาว่าเนื่องจากโรคที่เป็นอยู่ไม่ควรได้รับแร่ธาตุตัวนี้เกินปริมาณที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน หรือจำกัดปริมาณการรับประทานนั่นเอง และบางทีเผลอไปรับประทานอาหารบางชนิดเข้าเพราะไม่ทราบว่ามีแร่ธาตุตัวที่ห้ามนั้นผสมอยู่ ไปหาคุณหมอทีต้องได้ซักประวัติการรับประทานอาหารกันยาวๆ เลยทีเดียว บ้านเราถือว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำเลยก็ว่าได้ อยากจะทานอะไรหาได้ไม่ยากและก็ง่ายที่จะถูกใจและถูกปากเวลารับประทาน หรือเรียกง่ายๆ ว่าทานง่ายนั่นแหละค่ะ แต่ด้วยความที่เป็นคนทานง่ายทานไม่เลือกก็ใช่ว่าจะดี บางทีมีโรคเยอะกว่าคนที่เลือกทานเสียอีกแต่ก็ไม่เสมอไปค่ะ หลายคนที่เลือกรับประทาน (เฉพาะอาหารที่ชอบ)มาตรวจร่างกายทีโรคนั่นโรคนี่มาเป็นแพคเก็จบวกของแถมมาอีก ทางที่ดีการที่เราได้รับรู้ว่าร่างกายเราเป็นอย่างไร อาหารชนิดไหนประเภทไหนที่ควรได้รับอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพของตัวเองนั่นแหละค่ะ หัวข้อที่เราจะนำมาแบ่งปันกันวันนี้ก็คือ อาหารชนิดไหนบ้างนะที่มีฟอสฟอรัสสูง ฟอสฟอรัสเป็นเกลือแร่หรือแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่ทำงานร่วมกับแคลเซียม มีหน้าที่เป็นโครงสร้างของกระดูกและฟันเป็นหลักๆ ค่ะ โดยหน้าที่อื่นๆ ของฟอสฟอรัสต่อร่างกายของคนเราก็จำพวกกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท กระตุ้นการหดตัวคลายตัวของกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย เป็นต้น โดยกลไกลการทำงานของฟอสฟอรัสเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ฟอสฟอรัสในอาหารนั้นจะถูกดูดซึมไปหมดในรูปแบบของ free phosphate และปริมาณการถูกดูดซึมจะมีความแตกต่างกันจากปริมาณของธาตุเหล็ก แมกนีเซียมรวมทั้งสารอื่นๆ ด้วย ซึ่งจะรวมตัวกันเป็นสารที่ไม่ละลายและถูกขับออกทางอุจจาระ และอีก 30 เปอร์เซ็นต์ของฟอสฟอรัสในอาหารที่ไม่ถูกดูดซึม ส่วนการควบคุมระดับของฟอสฟอรัสนั้นจะทำโดยการขับออกทางไตมากกว่าในรูปแบบของการดูดซึม    

อาการของการขาดฟอสฟอรัสและการมีมากเกินไป

ระดับฟอสฟอรัสต่ำในเลือด  จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง

ระดับฟอสฟอรัสสูงในเลือด  จะมีอาการคันตามผิวหนัง หลอดเลือดแดงแข็ง มีก้อนแคลเซียมเกาะตามเนื้อเยื่อ ภาวะต่อมพาราไทรอยด์โต กระดูกบางและเปราะ

 

15 ชนิดของอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง

 

1.นม

ปกติแล้วอาหารที่มีแคลเซียมสูงก็จะมีฟอสฟอรัสสูงไปด้วยและอาหารที่มีแคลเซียมสูงที่เราสามารถนึกภาพออกเป็นอันดับต้นๆ ก็คงจะเป็นนมใช่ไหมล่ะคะรวมถึงนมสดรสจืด รสหวาน นมพร่องมันเนย นมขาดมันเนย นมข้น นมผง นมปรุงแต่งกลิ่นรสต่างๆ แม้แต่นมเปรี้ยวก็จัดอยู่ในอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงจ้า

 

2.ไข่แดง

ในไข่แดงจัดว่าเป็นอาหารชนิดที่มีฟอสฟอรัสอยู่สูงถึง 580 มิลลิกรัมต่อไข่ 100 กรัมค่ะ ส่วนใหญ่แล้วอาหารที่มีโปรตีนสูง ฟอสฟอรัสก็จะสูงตามไปด้วยค่ะ

 

3.เมล็ดถั่วเหลืองแห้ง

ในส่วนของฟอสฟอรัสที่มีอยู่ในเมล็ดถั่วเหลืองแห้งซึ่งมีอยู่ถึง 583 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 100 กรัม ถือว่ามีฟอสฟอรัสสูงที่สุดในบรรดาอาหารประเภทเมล็ดถั่วแห้งต่าง ๆ

 

4.เครื่องในสัตว์

เครื่องในสัตว์จำพวก ตับ จัดเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงและมีสารอาหารอย่างฟอสฟอรัสอยู่จำนวนมากเช่นกันค่ะ

 

5.ผลิตภัณฑ์จากนม

นอกจากนมจะมีฟอสฟอรัสสูงแล้วผลิตภัณฑ์จากนมทุกชนิดก็เช่นกันค่ะ เช่น โยเกิร์ตชนิดข้นและชนิดดื่มได้ ไอศกรีม คัสตาร์ดครีม ชีส ช็อกโกแลต และเนยแข็งทุกชนิด เป็นต้น

 

6.สาหร่ายทะเลแห้ง

ในสาหร่ายทะเลแห้ง 100 กรัม มีฟอสฟอรัสถึง 1,000 มิลลิกรัม และถึงแม้ว่าสาหร่ายทะเลจะยังไม่ใช่อาหารหลักของคนไทย แต่ก็เป็นอาหารทานเล่นที่หลายๆ คนชอบกัน ยังไงใครที่มีปัญหาแร่ธาตุฟอสฟอรัสเกินก็ควรที่จะยับยั้งชั่งใจในการรับประทานด้วยนะคะ

 

7.พริกแดง

พริกเม็ดสีแดงๆ รสชาติเผ็ดร้อนเป็นเครื่องปรุงรสชั้นเลิศของสาวๆเมืองไทยนี้มีฟอสฟอรัสแฝงอยู่ถึง 380 มิลลิกรัม ต่อพริกแดง 100 กรัม

 

8.อาหารแปรรูปแช่แข็ง

ในส่วนของอาหารแปรรูปแช่แข็งส่วนใหญ่แล้วจะมีการเติมสารโพลีฟอสเฟตลงไปเพื่อรักษาคุณภาพของอาหารแปรรูปประเภทแช่แข็ง ซึ่งสารโพลีฟอสเฟตที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารจะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพไปเป็นสารฟอสเฟตหนึ่งหน่วย (single phosphate unit) ค่ะ

 

9.น้ำอัดลม

เครื่องดื่มชนิดคาร์บอเนตจำพวกน้ำอัดลมต่างๆ ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไปที่อยู่เกลื่อนกลาดเป็นเครื่องดื่มที่หลายคนชื่นชอบนั้น นอกจากให้ความรู้สึกสดชื่นคลายความกระหายแล้วก็ไม่ได้มีสารอาหารที่ดีทางโภชนาการต่อร่างกายแต่อย่างใด แถมยังเป็นเครื่องดื่มที่มีฟอสอรัสสูงขนาดที่สามารถไปขัดขวางการทำงานของแคลเซียมในร่างกายซะอีก

 

10.ถั่วเขียวดิบ

เมล็ดถั่วเขียวถือเป็นธัญพืชตระกูลถั่วอีกตัวที่มีฟอสฟอรัสสูงค่ะ ถ้าอยู่ในสภาวะที่ต้องควบคุมก็ควรจะพับเก็บถั่วเขียวไปได้เลยค่ะ แต่ในทางกลับกันถ้าใครขาดอยู่แล้วล่ะก็เป็นตัวอีกตัวเลือกค่ะที่อยากจะแนะนำ

 

11.เนื้อสัตว์แปรรูป

เนื้อสัตว์แปลรูปทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นแบบหมัก ดองเค็ม เปรี้ยว หวาน ตากแห้ง จะมีการเติมฟอสเฟตเพื่อให้มีลักษณะหยุ่นๆ หรือให้จับตัวกันเป็นต้นค่ะ

 

12.ช็อคโกแลต

ช็อคโกแลตถ้าทานให้ดีก็จะได้รับประโยชน์มากมายโดยเฉพาะดาร์กช็อคโกแลต และด้วยความที่มีประโยชน์มากมายก็จะมีแร่ธาตุต่างๆ มากมายตามมาอย่างเช่น แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม โพแทสเซียม โซเดียม และฟอสฟอรัสที่สูงถึง 287 มิลลิกรัม ต่อช็อคโกแลต 100 กรัม

 

13.เบเกอรี่

เบเกอรี่ไม่ว่าจะเป็นขนมปัง เค้ก ขนมอบ โดนัท ซาลาเปา หรือขนมที่มีส่วนผสมของยีสต์ล้สนแต่เป็นอาหารที่มีฟอสฟอรัสที่สูงค่ะ

 

14.เครื่องดื่มชา กาแฟ โกโก้

เครื่องดื่มที่เป็นของโปรดของใครหลายคนและเป็นต้องดื่มมันทุกวันจำพวก ชานมเย็น โกโก้ กาแฟเย็น ที่เป็นเครื่องดื่มใส่นมทั้งหลายแหล่ ล้วนแต่เป็นเครื่องดื่มที่ให้ฟอสฟอรัสสูงค่ะ ใครที่จำกัดปริมาณฟอสฟอรัสยังไงก็เบาๆลงหน่อยนะคะ

 

15.ธัญพืช

เมล็ดธัญพืชทุกชนิดอย่างเช่น อัลมอลด์ ข้าวโอ็ต ข้าวกล้อง งาดำ ลูกเดือย เมล็ดแตงโม ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวมอลต์ รวมถึงเครื่องดื่มจากธัญพืชทุกชนิดด้วยค่ะ

 

www.flickr.com/photos/katyushaitaly/6263113221/

12 ชนิดของอาหารโซเดียมสูงที่ควรหลีกเลี่ยง

Source: Flickr (click image for link)

ถ้าพูดถึงรสชาติของอาหารที่ขึ้นชื่อว่าคนไทยนิยมชมชอบที่จะรับประทานเป็นประจำ นั่นก็คงไม่พ้นอาหารรสจัด หลักๆจะเป็นอาหารที่เป็นรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด และอีกชนิดที่ดันบังเอิญเป็นส่วนประกอบหลักของอาหารไทยนั่นก็คือรสชาติเค็ม ซึ่งปกติแล้วในอาหารอย่างเดียวก็มีโซเดียมอยู่แล้ว และเมื่อเรานำมาปรุงเป็นอาหารยิ่งจะเพิ่มโซเดียมเข้าไปอีก อีกทั้งคนไทยก็รับประทานรสชาติแบบนี้จนเคยชินคิดว่านั่นคือรสชาติปกติ แถมยังบอกว่ากลมกล่อมซะอีกถ้าไม่ได้ปรุงนี่สิรสชาติยิ่งจะจืดชืดไม่อร่อยไปซะอย่างนั้น กลับกลายเป็นว่าเราได้ชินและคุ้นเคยกับรสชาตินั้นไปซะแล้ว พอได้ลดปริมาณการปรุงรสลงก็จะกลายเป็นว่าไม่อร่อยและจืดชืด แต่ก็ไม่ใช่ว่าอาหารที่มีรสเค็มจะต้องมีโซเดียมสูงซะอย่างเดียมอาหารบางอย่างที่รสชาติไม่เค็มกลับให้โซเดียวสูงก็มีนะจ๊ะแบบนั้นเขาเรียกกันว่าโซเดียมแฝงนั่นเอง ทำให้เราได้รับโซเดียมมาเต็มๆแบบไม่รู้ตัว โซเดียมที่เราบริโภคกันเป็นประจำก็คือโซเดียมที่อยู่ในรูปของ”เกลือแกง” (เกลือมีส่วนประกอบอยู่ 2 อย่างคือโซเดียมและคลอไรด์) และก็ได้พบว่าคนไทยกินเกลือที่มีอยู่ในอาหารและเครื่องปรุงรสโดยเฉลี่ยวันละประมาณ 7 กรัม ซึ่งนั่นจึงเป็นสาเหตุที่ได้นำพาโรคต่างๆ มาสู่คนไทยโดยไม่รู้ตัว โดยส่งผลเสียต่ออวัยวะภายในร่างกาย เช่น หัวใจหรือไต ถึงแม้ว่าโซเดียม (Sodium) จะเป็นเกลือแร่หรือแร่ธาตุที่ได้จัดว่าเป็นสารอาหารที่ร่างกายจำเป็นที่จะต้องนำไปใช้งาน โดยการทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติหรือช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อรวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจ ตลอดจนการดูดซึมสารอาหารบางอย่างในไตและลำไส้เล็ก อีกทั้งยังใช้รักษาสภาพความเป็นกรดด่างของร่างกายอีกด้วย

 

12 ชนิดของอาหารโซเดียมสูงที่ควรหลีกเลี่ยง

โดยปริมาณที่ร่างกายควรได้รับโซเดียมต่อวันคือ ไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน  (เทียบเท่าเกลือ 1 ช้อนชา หรือน้ำปลา 4-5 ช้อนชา) 

 

1.เครื่องปรุงรสที่ให้รสเค็ม

สิ่งที่ทำให้นึกถึงเป็นอันดับแรกถ้าพูดถึงโซเดียม ก็เป็นเครื่องปรุงรสต่างๆ ที่ทำให้เกิดรสเค็มอย่างเช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ้วขาว ซีอิ้วดำ ซอสหอยนางรม เป็นแน่แท้ จะสังเกตุได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภท ผัด แกง ทอด เผา ยำ ต้ม ตุ๋น ล้วนแต่ปรุงรสด้วยน้ำปลาโรยด้วยเกลือกันทั้งนั้น ซึ่งในคนที่จำกัดปริมาณโซเดียมนั้นต้องระวังและเบามือในการปรุงด้วยนะคะ

 

2.ซอสปรุงรสที่ให้รสชาติเปรี้ยว หวาน

รู้หรือเปล่าล่ะว่าบางที่ซอสที่ไม่จำเป็นต้องมีรสเค็มเท่านั้นที่จะให้โซเดียมสูง แต่ซอสจำพวก ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ เต้าเจี้ยว น้ำจิ้มสุกี้ พวกนี้ก็มีโซเดียมอยู่ไม่น้อย ใครที่เวลารับประทานอาหารและขาดไม่ได้โดยชอบที่จะต้องปรุงรสด้วยซอสจำพวกนี้ก็ให้รู้ไว้สักนิดว่านั่นก็มีโซเดียมนะ

 

3.น้ำผลไม้สำเร็จรูป

ส่วนน้ำผลไม้ไม่ว่าจะเป็นแบบบรรจุกล่อง ขวด หรือกระป๋อง ส่วนใหญ่ล้วนแต่มีการเติมสารกันบูด (โซเดียมเบนโซเอต) ลงไปด้วย และนั่นจึงเป็นเหตุทำให้น้ำผลไม้เหล่านี้มีโซเดียมสูง ถ้าหากต้องการดื่มน้ำผลไม้เป็นไปได้ก็ควรดื่มน้ำผลไม้สดจะดีกว่าเนอะ ได้ทั้งกากใยและวิตามิน

 

4.อาหารกึ่งสำเร็จรูป

อาหารกึ่งสำเร็จรูปถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่คนไทยนิยมรับประทานกันบ่อย ด้วยความที่สะดวกและรสชาติอร่อย ไม่ว่าจะเป็น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปต่างๆ หรือคัพโจ้กทุกแบบทุกชนิดล้วนแต่เป็นอาหารที่มีโซเดียมสูงทั้งสิ้น

 

5.ขนมเบเกอรี่

ขนมเบเกอรี่ที่ว่านี้ไม่ว่าจะเป็น เค้ก คุกกี้ ขนมปัง แพนเค้ก แปลกใจล่ะสิ่ กินอยู่ทุกวันทุกวี่ซะด้วย ซึ่งขนมของหวานทั้งหลายเหล่านี้ได้มีการเติม Baking Powder หรือ Baking Soda เข้าไป ที่เราเรียกกันว่า ผงฟู และผงฟูนั้นมีส่วนผสมของโซเดียมไบคาร์บอเนตเป็นส่วนประกอบนั่นเองค่ะ

 

6.เนื้อแดง

ปกติแล้วโซเดียมจะแทรกและแซมอยู่ในเนื้อสัตว์อยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และจะมีมากในเนื้อแดงจำพวกเนื้อวัว เนื้อหมู ดังนั้นการเลือกรับประทานเนื้อสัตว์ก็เป็นสิ่งสำคัญของคนที่จำกัดปริมาณการทานโซเดียม

 

7.อาหารกระป๋อง

อาหารที่แปรรูปอย่างอาหารกระป๋องจำพวก ปลากระป๋อง หมูกระป๋อง หรือแม้แต่ผลไม้กระป๋อง ซึ่งอาหารเหล่าได้นี้มีการเติมเกลือหรือสารกันบูดเข้าไป และนั่นจึงทำให้มีโซเดียมในปริมาณที่สูงและควรระมัดระวังในการเลือกประทานค่ะ

 

8.อาหารหมักดอง

ถือเป็นของโปรดใครหลายคนไม่ว่าจะเป็น ผักดอง ผลไม้ดอง ปลาร้า กะปิ ปลาส้ม แหนม แฮม หรือใส้กรอก ล้วนแต่เป็นการถนอมอาหารแปรรูปแบบดองเค็มทั้งนั้น รสชาติอาจจะแซ่บนัวแต่ถ้าเผลอทานแบบไม่กลัวก็อาจจะเจ็บไตเอาได้นะคะ

 

9.ผงปรุงรส

ผงปรุงรสชาติที่เราทราบกันดีในชื่อที่เราเรียกกันว่าผงนัว รสอร่อยแบบนัวๆ อย่างผงชูรส ซุปก้อน ผงปรุงรสแบบสำเร็จรูปชนิดต่างๆ ถึงแม้ว่าผงชูรสเป็นสารปรุงรสที่ไม่มีรสเค็ม แต่ก็มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณร้อยละ 15 ของส่วนประกอบ

 

10.อาหารตากแห้ง

การถนอมอาหารชนิดตากแห้งก็ถือว่าเป็นอาหารที่มีโซเดียมสูงอย่างหนึ่งและควรที่จะหลีกเลี่ยงไม่แพ้กับชนิดอื่นๆ เลยอย่างเช่น ปลาแห้ง เนื้อตากแห้งต่างๆ เนื้อเค็ม กุ้งแห้ง ปลาเค็ม เป็นต้น

 

11.เครื่องดื่มเกลือแร่

เครื่องดื่มหรือน้ำดื่มที่เรียกว่า น้ำดื่มเกลือแร่ต่างๆ ที่เราเห็นตามร้านค้านั้นทราบหรือไม่ว่าได้มีการเติมสารประกอบของโซเดียมลงไปด้วยนั่นเองค่ะ รวมถึงเครื่องดื่มเกลือแร่แบบสปร์ตดริ้งค์ด้วยที่ต้องเติมโซเดียมเข้าไป ก็เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มสำหรับนักกีฬาหรือทดแทนเกลือแร่สำหรับผู้ที่สูญเสียเหงื่อมากนั่นเอง

 

12.ขนมกรุบกรอบ

ขนมที่เป็นอาหารว่างทานเล่นเพลิดเพลินอุราจำพวก มันฝรั่งทอดกรอบ ขนมกรุบกรอบที่บรรจุแบบถุง ซอง ที่หลายคนเสพติดเป็นต้องซื้อมาติดห้องไว้ตลอดๆ ขนมจำพวกนี้อาจจะอร่อยแต่ก็มีโซเดียมอยู่ไม่น้อยเลย

 

 

www.flickr.com/photos/jolives/3017953556

15 ชนิดของอาหารที่มีแคลเซียมสูง

Source: Flickr (click image for link)

แคลเซียม เป็นสารอาหารจำพวกแร่ธาตุหรือเกลือแร่ที่เราอาจจะคิดว่าไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่ แต่ทราบหรือไม่คะว่าแคลเซียมเป็นสารอาหารหลักที่สำคัญและร่างกายไม่ควรที่จะขาดหรือมีน้อยเกินไป เนื่องจากถ้าเมื่อเราขาดหรือมีไม่เพียงพอแล้วจะส่งผลที่ไม่ดีต่อร่างกายในหลายๆ ด้าน ถึงแม้ว่าจะพบแร่ธาตุตัวนี้เป็นส่วนประกอบของร่างกายอยู่จำนวนมาก ก็เพราะว่าแคลเซียมนั้นทำหน้าที่สำคัญคือการสร้างกระดูกและฟัน ซึ่งกระดูกทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย รักษารูปร่างและลักษณะของร่างกายให้สวยงาม และยังเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อเป็นเกราะป้องกันอวัยวะภายในต่างๆ ของร่างกายไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือนนั่นเองค่ะ ความสำคัญและภาระอันยิ่งใหญ่ของแคลเซียมจึงเป็นสิ่งที่คอยเตือนคนรุ่นหลังๆ อยู่เสมอว่าไม่ควรที่จะขาดแคลเซียมเด็ดขาด โดยปกติแล้วร่างกายคนเราต้องการแคลเซียมประมาณวันละ 800 – 1,200 มิลลิกรัม เพราะอย่างนี้เราจึงนำเนื้อหาและความสำคัญมาบอกเพื่อนๆ กัน ว่ามีอาหารอะไรบ้างที่มีสารอาหารที่เรียกว่า แคลเซียม อยู่ เพื่อนๆ ก็คงจะทราบอยู่บ้างถ้าพูดถึงสารอาหารตัวนี้ก็คงจะนึกภาพถึงนมเป็นแน่แท้ แล้วอาหารอย่างอื่นล่ะ? หลายคนก็อาจจะยังไม่ทราบกันเท่าไหร่นัก ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ไปจนถึงผู้สูงอายุซึ่งไม่มีช่วงอายุไหนเลยที่ควรจะละเลยสารอาหารตัวนี้ ก่อนที่จะไปหาแคลเซียมแบบอาหารเสริมมาทานเราลองมาดูแคลเซียมทึ่มีอยู่ในอาหารกันก่อนดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

 

15 ชนิดของอาหารที่มีแคลเซียมสูง

 

1.นม

แน่นอนว่าถ้าต้องการหาอาหารที่เป็นแหล่งของสารอาหารที่เรียกว่า แคลเซียม มารับประทาน หลายๆ คนก็คงจะนึกถึงนมเป็นอันดับต้นๆ ทั้งนี้ยังรวมถึงผลิตภัณฑ์นมทุกชนิดอีกด้วยนะคนมและผลิตภัณฑ์นมทุกชนิดมีส่วนประกอบของโปรตีนสูงและมีสารอาหารแร่ธาตุเกลือแร่อยู่ด้วย ดังนั้นนมยังไงก็เป็นเครื่องดื่มที่มีแคลเซียมและเป็นประเภทของอาหารที่ควรเลือกรับประทานเพื่อเสริมแคลเซียมค่ะ โดยนมเป็นแหล่งของแคลเซียมที่มากถึง 300 มิลลิกรัม ต่อนม 1 กล่องปริมาณ 250 มิลลิลิตร

 

2.ปลาเล็กปลาน้อย

ปลาเล็กปลาน้อยที่กินและกลืนไปทั้งตัว เคี้ยวกรุบๆกรอบๆทั้งเนื้อทั้งก้างนี้แหละแหล่งของแคลเซียมชั้นดีเลยค่ะ ปลาเล็กปลาน้อยที่ 2 ช้อนโต๊ะนั้นมีปริมาณแคลเซียมถึง 226 มิลลิกรัม

 

3.กุ้งแห้ง

กุ้งแห้งสีส้มๆแดงๆ ที่เราพบเห็นในอาหารไทยที่เรานิยมใส่ในส้มตำไทย หรือจะเป็นผัดไทนี้ก็ถือว่าเป็นแหล่งของแหล่งของแคลเซียมตัวยง ใครที่ไม่ชอบรับประทานหรือเขี่ยออกนี่คิดใหม่เลยนะคะไม่อยากให้พลาดของดีกันจ้า ซึ่งในกุ้งแห้งตัวจิ้ดตัวจ้อยปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ให้แคลเซียมถึง 140 มิลลิกรัมเลยที่เดียวค่ะ

 

4.เต้าหู้อ่อน

เต้าหู้เรียกได้ว่าเป็นสุดยอดอาหารที่ขึ้นชื่อในเรื่องของอาหารเพื่อสุขภาพ เคล็ดลับในเรื่องของความสวยความงามของสาวน้อยสาวใหญ่นี่ถือเป็นเรื่องที่รู้จักกันดี จะต้องมีเต้าหู้อยู่ในลิสเป็นแน่แท้ นอกจากคุณค่าสารอาหารมากมายของเต้าหู้แล้วยังถือว่าเป็นแหล่งของแคลเซียมสูงไม่แพ้อาหารอื่นๆ เลยทีเดียวค่ะ โดยเต้าหู้อ่อน 5 ช้อนโต๊ะ มีแคลเซียม 150 มิลลิกรัม

 

5.นมถั่วเหลือง

ใครที่มีอาการแพ้นมวัวหรือไม่ชอบดื่มนมวัวแล้วกลัวจะขาดแคลเซียม งั้นลองมาดื่มนมถั่วเหลืองกันไหมคะ หรือถ้าใครที่ชอบดื่มนมถั่วเหลืองเป็นชีวิตจิตใจอยู่แล้วก็ดีค่ะ นอกจากประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการเต็มล้นแล้ว นมถั่วเหลืองก็มีการเติมแคลเซียมเข้าไปโดยคุณสมบัติโดยรวมแล้วไม่ได้ด้อยไปกว่านมวัวเลยล่ะค่ะ โดยที่นมถั่วเหลืองแบบเสริมแคลเซียมต่อ 1 กล่อง จะมีปริมาณแคลเซียมอยู่ 250-300 มิลลิกรัม

 

6.งาดำ

เมล็ดงาดำ จัดเป็นอาหารที่พบว่ามีแคลเซียมเช่นกันค่ะ ใครที่ชอบธัญพืชอย่างเมล็ดงาดำก็ไม่ควรที่จะพลาดนะคะ ซึ่งงาดำ 1 ช้อนโต๊ะ จะมีแคลเซียมอยู่ 132 มิลลิกรัม

 

7.ผักคะน้า

ใครจะคิดว่าในพืชผักจะสามารถเป็นแหล่งอาหารของแคลเซียมได้ ใครที่กำลังมองหาผักที่นอกจากจะให้วิตามินแล้วยังตามมาด้วยแร่ธาตุหลักอย่างแคลเซียมแล้วล่ะก็ มองมาที่ผักคะน้าได้เลยค่ะ โดยผัดผักคะน้า 1 ทัพพี ให้แคลเซียมสูงถึง 71 มิลลิกรัม

 

8.หอยนางรม

คอซีฟู้ดส์ไม่ควรพลาดหอยนางรมสดๆ ที่จิ้มด้วยน้ำจิ้มซีฟู้ดส์จัดว่าจิ๊ดสะใจ จัดว่าเป็นเมนูโปรดของใครหลายๆ คนเลยก็ว่าได้ หอยนางรมไม่เพียงแต่มีแร่ธาตุมากมายให้สรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพแล้วหนึ่งในแร่ธาตุที่หอยนางรมมีไม่แพ้ใครนั่นก็คือ แคลเซียม ซึ่งถ้าเรารับประทานหอยนางรม 6 ตัว ก็จะได้รับแคลเซียมถึง 300 มิลลิกรัมเลยล่ะค่า

 

9.กะปิ

กะปิอาหารรสเด็ดแต่กลิ่นอาจจะไม่เตะจมูกของใครนัก แต่ทรายหรือไม่ว่าเป็นแหล่งของแคลเซียมดีๆ นี่เอง ด้วยส่วนผสมของกะปิที่มาจากกุ้งตัวเล็กตัวน้อยนี่ไงทำให้กะปิไม่ได้เป็นแค่อาหารรสเด็ดแต่ยังให้แคลเซียมถึง 1,565 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม เลยทีเดียว

 

10.บร็อคโคลี่

บร็อคโคลี่จัดเป็นผักสีเขียมเข้มที่มีแคลเซียมสูง นอกจากเราจะนิยมรับประทานกันโดยทั่วไปอยู่แล้ว ถือว่าบร็อคโครี่ให้สารอาหารและคุณค่าทางโภชนาการที่ดีอยู่ไม่น้อยค่ะ ซึ่งบร็อคโคลี่ ⅔ ถ้วย ให้แคลเซียมถึง 88 มิลลิกรัมค่ะ

 

11.เมล็ดอัลมอนด์

เมล็ดอัลมอนด์จัดเป็นอาหารว่างทานเล่นเพื่อสุขภาพเลยก็ว่าได้ ที่เต็มไปด้วยประโยชน์มากล้นไหนจะเป็นวิตามินต่างๆ อีกทั้งยังมีไฟเบอร์อีกด้วย และที่สำคัญยังมีแคลเซียมอยู่ถึง 75 มิลลิกรัม ต่อปริมาณแอลมอลด์ 29 เมล็ด อร่อยแล้วยังให้ประโยชน์ครบถ้วน

 

12.ถั่วแระต้ม

ถั่วแระต้มที่หลายๆ คนชอบรับประทานเป็นอาหารว่าง รสชาติอร่อยเคี้ยวเพลินแถมให้แคลเซียมสูงอย่างนี้ใครล่ะจะพลาด โดยถั่วแระต้มจำนวน 100 กรัม ให้ปริมาณแคลเซียมถึง 194 มิลิกรัมเลยทีเดียว

 

13.กุ้งฝอย

กุ้งฝอยตัวเล็กๆ ใสๆ เมื่อนำมาทอดหรือปรุงสุกจะเกิดเป็นสีชมพูอ่อนๆ บางทีออกสีส้ม ซึ่งสามารถรับประทานได้ทั้งตัวโดยกุ้งฝอยจำนวน 100 กรัม มีแคลเซียมถึง 1,339 มิลลิกรัม

 

14.ถั่วขาว

ถั่วขาวถือเป็นโปรตีนจากพืชที่อุดมไปด้วยวิตามินต่างๆ มากมาย รวมถึงแคลเซียมอยู่จำนวนไม่น้อยคือประมาณ 112 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม

 

15.ชีส

ชีสที่เป็นอาหารชนิดโปรดของใครหลายคน นอกจากความอร่อยยืดหยุ่นชวนเพลินแล้วยังเป็นแหล่งของแคลเซียมชั้นดีอีกด้วย ซึ่งมีแคลเซียมมากถึง 721 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม เลยทีเดียวเชียว

 

 

อ้างอิง : ข้อมูลปริมาณของแคลเซียมจากตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

 

www.flickr.com/photos/paperwingedswallows/8921970990/