Browse Tag: meat

12 ชนิดของอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีสูง

Source: Flickr (click image for link)

แร่ธาตุสังกะสี จัดเป็นแร่ธาตุในกลุ่ม (Trace Minerals) ซึ่งมีชื่อที่เราเรียกอีกอย่างหนึ่งที่และคุ้นหูกันและชอบเรียกกันว่า ซิงค์ (Zinc) โดยร้อยละ 90 ของสังกะสีที่มีในร่างกายจะอยู่ที่กระดูกและกล้ามเนื้อ และอีกร้อยละ 10 นั้นจะไปอยู่ที่ ตับอ่อน ตับ เลือด ส่วนร้อยละ 80 นั้นอยู่ในเม็ดเลือดแดงและร้อยละ 20 อยู่ในน้ำเหลืองค่ะ สังกะสีมีลักษณะเหมือนกับแร่ธาตุและวิตามินอื่นๆ คือเป็นสารอาหารทีไม่ให้พลังงานแต่ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกำกับการทำงานของร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์กรดนิวคลิอิกและโปรตีนเอนไซม์ในร่างกายมากกว่า 100 ชนิด อาจจะพูดได้ว่าเอนไซม์ที่เป็นสารสำคัญในการเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกายเกือบทุกชนิดต้องการสังกะสีเป็นส่วนประกอบจึงจะทำหน้าที่ได้ดี ดังนั้นสังกะสีจึงมีความสำคัญต่อการทำงานของทุกอวัยวะส่วนในร่างกายของเราค่ะ ดูเหมือนจะเป็นแร่ธาตุตัวเล็กๆ และอาจจะไม่สำคัญที่จะใส่ใจมากนัก เลยกลายเป็นเหตุให้ต้องละเลยไปจนกลายเป็นขาดแร่ธาตุตัวนี้ไปเองจากการรับประทานอาหารไม่ถูกต้อง ร่างกายจึงได้รับแร่ธาตุสังกะสิไม่เพียงพอหรืออีกขณะร่างกายก็อาจจะได้รับมากเกินไป จนทำให้กลไกในร่างกายแปรปรวนถึงขั้นเป็นเหตุให้เจ็บป่วย ด้วยความใส่ใจในร่างกายตัวเองอยู่เสมอๆจนเล็งเห็นว่าถึงจะเป็นแค่แร่ธาตุก็เหอะ แร่ธาตุก็ไม่ได้มีแค่ตัวเดียวที่เราควรรู้เพราะฉะนั้นจึงอยากจะเก็บข้อมูลและมาเสนอให้คนที่ใส่ใจหรือไม่ทันได้สังเกตุการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายของเรากำลังขาดหรือเกินต่อแร่ธาตุตัวนี้หรือตัวไหนๆอยู่ก็เป็นได้ หวังว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ค้นหาและกำลังต้องการทราบอยู่นะคะ เราเคยได้บอกรายละเอียดเกี่ยวกับธาตุสังกะสีไปในหัวข้อ สังกะสี คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร ไปส่วนหนึ่งแล้วนะคะ และจะขอนำเอาข้อมูลบางส่วนมาใส่ในหัวข้อนี้อีกทีค่ะ

โดยถ้าร่างกายมีอาการขาดแร่ธาตุสังกะสีเป็นเวลานาน จะเป็นผลให้เกิดอาการต่างๆ มากมาย ดังนี้

  • การเจริญเติบโตในเด็กล่าช้า ตัวเล็ก แคระแกรน
  • ผิวหนังมีการอักเสบ โดยระยะแรกจะเป็นรอบปากและอวัยวะเพศ ต่อมาจะลามไปที่แขนและขา เริ่มแรกอาจเป็นแค่ผื่นแดงต่อมาจะมีลักษณะเป็นเม็ดพุพอง
  • มีอาการเบื่ออาหาร การรู้รสลดน้อยลง
  • มีอาการซึมเศร้า หงุดหงิด ขาดสมาธิ เหม่อลอย และมีอาการตาบอดแสงได้
  • ระบบต่อมไร้ท่อ คือ ทำให้อวัยวะเพศเด็กเล็ก ไม่โตขึ้นตามวัย เนื ้อแพะ 79.38 16.84 4.57
  • มีอาการผมร่วง แตกปลาย เล็บเปราะ ผิวแห้ง

ปริมาณสังกะสีที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน (Daily RDAs For Zinc)

อายุน้อยกว่า 1 ปี ปริมาณที่แนะนำ               3 – 5        มิลลิกรัม/วัน

อายุ 1 –10 ปี ปริมาณที่แนะนำ                      10          มิลลิกรัม/วัน

อายุ 11 ปีขึ้นไป ปริมาณที่แนะนำ                   15          มิลลิกรัม/วัน

สตรีในระยะตั้งครรภ์ ปริมาณที่แนะนำ          20 – 25     มิลลิกรัม/วัน

สตรีในระยะให้นมบุตร ปริมาณที่แนะนำ       25 – 30     มิลลิกรัม/วัน

 

12 ชนิดของอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีสูง

 

1.หอยนางรม

หอยนางรม ถือเป็นอาหารชนิดแรกที่มีแร่ธาตุสังกะสีสูงเหมาะแก่การเลือกมาประกอบอาหารหรือจะรับประทานสดๆ ราดน้ำจิ้มซีฟู้ดส์รสแซ่บ ซึ่งก็มีไม่น้อยสำหรับคนที่ชอบทานกัน โดยหอยนางรมน้ำหนัก 100 กรัม มีสังกะสีอยู่ประมาณ 75 มิลลิกรัม

 

2.ตับ

ในอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ประเภทตับไม่ว่าจะเป็นตับไก่ ตับหมู ตับลูกวัวในปริมาณที่เท่ากันจะมีแร่ธาตุสังกะสีอยู่ประมาณ 4 – 12 มิลลิกรัม โดยเฉพาะตับลูกวัวปริมาณ 100 กรัม มีธาตุสังกะสีถึง 12 มิลลิกรัม เลยทีเดียวค่ะ

 

3.เมล็ดแตงโม

ในเมล็ดแตงโมสีดำๆ ที่บางทีก็เป็นอาหารว่างกินเล่นๆ ตามซูปเปอร์มาเก็ตก็มีประโยชน์สำหรับคนที่มองหาขนมทานเล่นที่ให้ธาตุสังกะสีสูง โดยเมล็ดแตงโมปริมาณ 100 กรัม จะมีธาตุสังกะสีอยู่ประมาณ 10 มิลลิกรัมค่ะ

 

4.จมูกข้าว

จมูกข้าวก็มีประโยชน์นะมีแร่ธาตุมากมายโดยเฉพาะธาตุสังกะสีอยู่สูงถึง 12-17 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัมกันเลยจ้า

 

5.เนื้อสัตว์

อาหารที่ให้โปรตีนอย่างเนื้อสัตว์ก็มีธาตุสังกะสีอยู่สูงเลยทีเดียวค่ะ อย่างเช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแพะและเนื้อแกะล้วนแต่ให้สังกะสีเยอะพอกันอยู่ที่ประมาณ 4-10 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัมค่ะ

 

6.เมล็ดฟักทอง

เมล็ดฟักทองก็เป็นอาหารทานเล่นอีกอย่างที่ให้แร่ธาตุสังกะสีที่สูงถึง 7-10 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม เป็นอีกตัวเลือกในการเลือกรับประทานเพื่อเพิ่มแร่ธาตุให้กับร่างกายค่ะ

 

7.เมล็ดงา

เมล็ดงาที่ส่วนใหญ่ทางบ้านเราไม่ค่อยนิยมมาทำอาหารมากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นของหวาน เครื่องดื่ม หรือนำมาโรยหน้าอาหารบ้างประปราย โดยเมล็ดงามีธาตุสังกะสีอยู่ถึว 7.75 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม

 

8.เห็ด

เห็ดก็ถือได้ว่าเป็นวัตถุดิบที่คนไทยชอบนำมาประกอบอาหารและมีสารพัดประโยชน์ที่จะกล่าว อีกทั้งยังมีมีแร่ธาตุสังกะสีอยู่สูงถึง 7.66 มิลลิกรัม ในปริมาณ 100 กรัมค่ะ

 

9.มะม่วงหิมพานต์

เมล็ดมะม่วงหิมพานต์มีแร่ธาตุต่างๆ มากมาย รวมถึงมีแร่ธาตุสังกะสีอยู่ด้วย มะม่วงหิมพานต์ถือเป็นของว่างทานเล่นที่มีประโยชน์อยู่ไม่น้อย ไหนจะนำมาประกอบอาหารได้อีก สารพัดประโยชน์และอร่อยทานได้เพลินอย่างนี้ มีแร่ธาตุสังกะสีอยู่ถึง 5.35 มิลลิกรัมเลยแหละ

 

10.ช็อกโกแลตหรือโกโก้

ผงช็อกโกแลตที่มีปริมาณโกโก้สูงก่อนที่จะนำไปปรุงแต่งถือว่ามีปริมาณแร่ธาตุสังกะสีอยู่สูงลิ่วเลยล่ะค่ะ ซึ่งปริมาณช็กโกแลต 100 กรัม มีปริมาณแร่ธาตุสังกะสีอยู่ถึง 9.6 มิลลิกรัมเลยทีเดียวค่ะ

 

11.ถั่วลิสง

จะสังเกตุเห็นว่าส่วนใหญ่แล้วอาหารประเภทธัญพืชและพืชตระกูลถั่วจะมีแร่ธาตุอย่างสังกะสีอยู่เยอะ เพราะฉะนั้นถั่วลิสงก็เช่นกันค่ะ โดยถั่วลิสงปริมาณ  100 กรัม มีแร่ธาตุสังกะสีอยู่ 6.6 มิลลิกรัมค่ะ

 

12.ไข่แดง

ไข่แดงก็มีแร่ธาตุสังกะสีอยู่พอควรค่ะ โดยปริมาณอาจจะมีไม่มากเท่าเนื้อสัตว์ต่างๆ แต่ก็ยังถือว่าไข่เป็ฯอาหารหลักของคนไทยเช่นกันจึงมีการรับประทานบ่อยๆ โดยในไข่แดงจะมีธาตุสังกะสีอยู่ประมาณ 4.93 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม

 

 

www.flickr.com/photos/south-african-tourism/3918506669/

14 ชนิดของอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง

Source: Flickr (click image for link)

สวัสดีค่ะ วันนี้มาจั่วหัวข้อกันกับ “อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง” ซึ่งแน่นอนว่าอาหารแต่ละชนิดของวันนี้จะต้องเพิ่มความสนใจและใส่ใจกันมากขึ้น อย่างน้อยก็เพื่อตัวเองก่อนเลยและก็ค่อยเผื่อแผ่ไปยังคนรอบตัวที่เข้าข่ายเสี่ยงของการขาดธาตุเหล็ก หลายๆ คนคงไม่คิดว่าการขาดธาตุเหล็กนั้นจะสำคัญต่อร่างกายแค่ไหน และก็ไม่ว่าจะวัยไหนๆ ร่างกายของเรานั้นก็ต้องได้รับบทบาทที่สำคัญของธาตุเหล็กด้วยกันทั้งนั้นค่ะ โดยเฉพาะสาวๆ วัยใสจนไปถึงคนที่กำลังจะเป็นคุณแม่กันเลยทีเดียว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าร่างกายจะขาดอะไรก็แล้วแต่ แต่ก็ไม่ควรที่จะได้รับมากจนเกินความจำเป็นนะคะ ความพอดีต่างหากล่ะที่คือสิ่งสำคัญ ก็เพื่อความสมดุลย์ที่ร่างกายสามารถนำเอาไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีต่อร่างกายตัวเรานั่นเอง และก็หวังว่าหัวข้อนี้จะเหมาะสำหรับคนที่กำลังมองหาอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ไม่ว่าจะเพื่อสุขภาพหรืออะไรก็แล้วแต่ และก็อย่าลืมเลือกรับประทานอาหารที่หลากหลายและให้พอดีต่อความต้องการของร่างกายนะคะ

 

14 ชนิดของอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง

โดยทั่วไปแล้วธาตุเหล็กที่มีในอาหารจะมีอยู่ 2 รูปแบบ คืออยู่ในรูปแบบ สารประกอบฮีม (heam iron) และ สารประกอบที่ไม่ใช่ฮีม (nonheam iron) ค่ะ ซึ่งธาตุเหล็กที่อยู่ในรูปแบบของสารประกอบฮีมจะพบมากอยู่ในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์และดูดซึมได้ประมาณ 20% ส่วนธาตุเหล็กที่อยู่ในรูปแบบของสารประกอบที่ไม่ใช่ฮีม จะพบมากในอาหารจำพวกธัญพืชและผัก ซึ่งก็ดูดซึมได้ประมาณ 3-5% และถ้าเมื่อใดที่ร่างกายของเราได้รับอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอหรือธาตุเหล็กในร่างกายของเราที่สะสมไว้นั้นเริ่มลดน้อยลง ก็จะทำให้ร่างกายของเรามีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ มีอาการสับสนมึนงง ไม่มีสมาธิ ผมร่วง ร่างกายซีดเซียว และอาจจะทำให้เกิดเลือดจางได้ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในที่สุด ซึ่งในบ้านเราก็มีไม่น้อยเลยล่ะค่ะสำหรับคนที่เป็นโรคโลหิตจาง เพราะฉะนั้นถ้าเหมือนจะมีอาการเหล่านี้เราก็ควรที่จะรีบหุงหาอาหารเหล่านี้มารับประทานด่วนๆ เลยค่า

 

1.เนื้อไก่บ้าน

เนื้อแดงๆ ของเนื้อสัตว์จำพวกเนื้อวัว เนื้อหมู เป็นแหล่งของธาตุเหล็กชั้นดีที่เรียกว่า สารประกอบฮีม (heam iron) ซึ่งร่างกายของเราสามารถดูดซึมไปใช้งานได้ 20-30 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียวค่ะ แต่ใครจะรู้ว่าเนื้อไก่บ้านส่วนปีกและสะโพกนั้นให้ธาตุเหล็กสูงถึง 16.9 มิลลิกรัมต่อปริมาณ 100 กรัม และในขณะที่เนื้อหมูในปริมาณที่เท่ากันนั้นให้ธาตุเหล็ก 14 มิลลิกรัม และเนื้อวัวที่ 8.1 มิลลิกรัมค่ะ

 

2.บลอคโคลี่

นอกจากเนื้อสัตว์แล้วในพืชผักโดยเฉพาะผักใบเขียวเข้มอย่างบลอคโคลี่แสนอร่อยก็เป็นแหล่งของธาตุเหล็กเช่นกันค่ะ แต่อยู่ในรูปแบบของ สารประกอบที่ไม่ใช่ฮีม (nonheam iron) คือ ร่างกายสามารถดูดซึม 3 – 5 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากอาหารประเภทนี้ต้องอาศัยกรดเกลือในกระเพาะอาหาร ไปช่วยทำให้ธาตุเหล็กออกมาจากอาหารก่อนและร่างกายของเราจึงจะดูดซึมไปใช้ได้ค่ะ

 

3.ไข่ไก่(แดง)

ไข่แดงที่ไม่ว่าจะจากไข่ไก่หรือไข่เป็ดล้วนแต่เป็นแหล่งธรรมชาติของธาตุเหล็กสูง ในประเภท สารประกอบฮีม (heam iron) ที่ร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ดี มีประโยชน์และหารับประทานได้แบบง่ายๆ ซึ่งธาตุเหล็กที่มีอยู่ในไข่ไก่โดยเฉพาะไข่แดงมีปริมาณ 6.3 มิลลิกรัม ส่วนในไข่แดงของไข่เป็ดนั้นมีธาตุเหล็กอยู่ 5.6 มิลลิกรัมค่ะ

 

4.ผักคะน้า

ผักคะน้าเป็นผักที่จัดอยู่ในพืชผักสีเขียวเข้มที่จัดเป็นผักที่มีธาตุเหล็กพอๆกันกับบลอคโคลี่กันเลยทีเดียวค่ะ ใครที่ไม่ชอบทานผักก็น่าเสียดายนะคะ ผัดผักคะน้าหมูกรอบเป็นเมนูที่น่าจะสั่งมารับประทานเลยแหละ

 

5.คีนัว

คีนัวที่เรารู้จักกันในนามข้าวคีนัวที่จัดให้เป็นสุดยอดของอาหาร ที่นอกจากจะให้คุณค่าและประโยชน์มากมายแล้วยังให้ธาตุเหล็กอีกด้วย อย่าให้พูดถึงสรรพคุณเลยแค่บอกว่าอยู่ในกลุ่ม Super Foods แล้วล่ะก็ เป็นหนึ่งอาหารที่ไม่ควรพลาดเลยล่ะค่ะ

 

6.ตับอ่อนหมู

เครื่องในสัตว์ที่ให้ธาตุเหล็กสูงอย่างตับอ่อนนี้คงจะเป็นอาหารลำดับต้นๆ ที่หลายคนคงจะนึกออกได้เป็นอย่างแน่นอน เพราะถ้าพูดถึงอาหารอะไรที่ให้ธาตุเหล็กสูงอย่างตับอ่อนของสัตว์โดยเฉพาะตับอ่อนหมู 100 กรัม ให้ธาตุเหล็กสูงถึง 65.5 มิลลิกรัมเลยล่ะค่ะ นอกจากเป็นธาตุเหล็กประเภท สารประกอบฮีม (heam iron) แล้ว ร่างกายยังสามารถดูดซึมได้เป็นอย่างดีด้วย

 

7.ถั่วแดง

นอกจากเนื้อสัตว์และผักใบเขียวเข้มจะมีธาตุเหล็กแล้ว ธัญพืชอย่างถั่วแดงก็มีธาตุเหล็กไม่น้อยค่ะ ใครที่ชอบรับประทานเป็นชีวิตจิตใจก็ขอบอกว่ายินดีด้วยค่ะคุณมาถูกทางแล้ว ซึ่งในถั่วแดงดิบในปริมาณ 100 กรัม มีธาตุเหล็กอยู่ถึง 44.6 มิลลิกรัมเลยล่ะค่ะ

 

8.เลือดวัว

ถ้าพูดถึงเลือดของสัตว์แล้วในบรรดา หมู วัว ไก่ เป็ด แล้ว ถือว่าเลือดวัวให้ธาตุเหล็กสูงที่สุดดังนี้ค่ะ ในปริมาณที่เท่ากันของเลือดสัตว์แต่ละชนิดเท่ากับ 100 กรัม เลือดวัวจะมีธาตุเหล็กอยู่ 44.1 มิลลิกรัม ซึ่งมีธาตุเหล็กสูงกว่าเลือดหมูโดยเลือดหมูมีธาตุเหล็กอยู่ที่ 25.9 มิลลิกรัม และเลือดไก่มีธาตุเหล็ก 23.9 มิลลิกรัม ส่วนเลือดเป็ดมีธาตุเหล็กอยู่ 10.2 มิลลิกรัม ค่ะ

 

9.ขมิ้นขาว

ขมิ้นขาวของเราก็ไม่แพ้ผักใบเขียวเข้มชนิดไหนๆ แน่นอน ก็มีธาตุเหล็กอยู่ถึง 26 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม อย่ามองข้ามเด็ดขาดเลยนะ

 

10.ผักกูด

ผักกูดถือเป็นพืชผักที่ให้ธาตุเหล็กที่สูงและไม่ควรมองข้ามค่ะ ในปริมาณผักกูด 100 กรัม มีธาตุเหล็กอยู่ถึง 36.3 มิลลิกรัมเลยทีเดียวค่ะ

 

11.งาดำ

งาดำเป็นธัญพืชที่มีธาตุเหล็กอยู่เยอะไม่แพ้ถั่วแดงเช่นกัน โดยเฉพาะงาดำคั่วปริมาณ 100 กรัม มีธาตุเหล็กซ่อนอยู่ 22 มิลลิกรัมค่ะ

 

12.หอยนางรม

หอยนางรมจัดเป็นอาหารทะเลที่มีธาตุเหล็กอยู่สูงค่ะ จึงเป็นอาหารอีกชนิดที่อยากแนะนำให้เลือกรับประทานเพื่อเสริมธาตุเหล็ก

 

13.ส้ม

ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงอย่างส้ม ถือเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกายของเราเลยล่ะค่ะ  

 

14.ผักปวยเล้ง

ผักใบเขียวเข้มอีกหนึ่งชนิดที่จัดอยู่ในผักที่มีธาตุเหล็กไม่แพ้ชนิดอื่นๆ เป็นอีกตัวเลือกให้ได้เลือกรับประทานกันค่ะ

 

www.flickr.com/photos/spicybear/2539171765/

12 สุดยอดชนิดของอาหารที่มีคอลลาเจน

beauty-skin-1
Source: Flickr (click image for link)

คงเคยได้ยินกันว่าสิ่งสำคัญในชีวิตที่ไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ก็คือ เวลา เมื่อเวลาได้เดินหน้าไปแล้วก็ไม่สามารถย้อนหรือทวนกลับมาได้ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบก็คงราวกับอายุของคนเราที่มีแต่เพิ่มขึ้นทุกวันทุกปี และก็ไม่สามารถที่จะทำการลดตัวเลขของอายุลงได้เลย แต่หลายๆ คนบอกว่าไม่จริงซะหน่อยฉันเองยังสามารลดอายุตัวเองได้! ก็จะอะไรล่ะเขาหมายถึงอายุบนใบหน้าของเราน่ะสิ จริงๆแล้วถ้าไม่เหมารวมถึงการเพิ่งทางการแพทย์ที่ต้องใช้เงินจำนวนมากในการทำให้ใบหน้าดูอ่อนเยาว์ขึ้นได้ สำหรับคนที่ไม่มีปัจจัยทางการเงินก็มีวิธีการเลือกรับประทานอาหารการกินให้เหมาะสมนี่เองที่จะทำให้คงความสาวสวยสดใสไว้ได้ ถ้าพูดถึงเรื่องอาหารแล้วเราก็ไม่พลาดที่จะนำเอาเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารและสุขภาพมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านเสมอๆ ค่ะ วันนี้จึงอยากนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ อาหารที่มีคอลลาเจนสูงปรี๊ดมาให้ได้รู้จักกันว่ามีอะไรบ้าง สำหรับคนที่กำลังมองหายาอายุวัฒนะชั้นดีที่ได้จากอาหารก็ไม่ควรที่จะมองข้ามเช่นกัน ซึ่งอาหารหรือการกินก็ไม่ได้ช่วยแค่เรื่องความสวยความงามเท่านั้นนะคะ แต่ยังช่วยเรื่องของการดูแลสุขภาพภายในของเราอีกด้วย ถ้าวันนี้ยังไม่มีปัจจัยที่จะไปพึ่งคุณหมอแล้วล่ะก็ เรามาทำการเริ่มการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อความต้องการของเรากันก่อนดีกว่าค่ะ เผลอๆ พอได้ผลแล้วเราอาจจะไม่ต้องไปเสียเงินมากมายก็เป็นได้ค่ะ

 

12 สุดยอดชนิดของอาหารที่มีคอลลาเจน

 

1.เนื้อปลาทะเล

ถ้าจะพูดถึงอาหารที่ได้คอลลาเจนสูงจากแหล่งธรรมชาติ อันดับแรกเลยเราก็จะนึกถึงเนื้อปลาทะเลอย่างแน่นอน จำพวก ปลาแซลมอล ทูน่า ปลาทู ด้วยความที่เนื้อปลาเป็นโปรตีนคุณภาพสูง ไขมันต่ำ และมีกรดไขมันโอเมก้าสูงอีกทั้งยังเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยคอลลาเจนที่ส่วนมากจะพบบริเวณเนื้อเยื่อของตาและหนังของปลา

 

2.มะเขือเทศ

มะเขือเทศเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ประโยชน์เปี่ยมล้นด้วยสารไลโคปีนในปริมาณที่สูงที่มีอยู่ในตัวมะเขือเทศ อีกทั้งยังไปช่วยกระตุ้นการผลิตคอลลเจนใต้ผิวหนัง และยังช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยชะลอความแก่เพิ่มความแข็งแรงให้กับผิวของเราอีกด้วยค่ะ

 

3.กระดูกอ่อนของสัตว์

พูดถึงกระดูกอ่อนก็คงจะตกใจหรือไม่ก็สงสัยว่าจำเป็นถึงขนาดที่ต้องกินกระดูกเพื่อคอลลาเจนเลยหรอเนี่ย งั้นขอยกตัวอย่างอาหารสุดแซ่บให้เห็นภาพเลยแล้วกัน เช่น ตีนไก่ซุปเปอร์ ขาหมูตุ๋น เป็นต้น นั่นแหละของอร่อยที่คอลลาเจนแอบซ่อนอยู่ในนั้น จะสังเกตุได้ว่าเวลาเราทานเข้าไปมันจะเหนียวๆ หนืดๆ ยืดๆ หรือเวลาที่เราทิ้งน้ำต้มตีนไก่ไว้ในอากาศที่เย็นแล้วมันจะเกิดเป็นไขหรือวุ้น นั่นแหละคอลลาเจนชั้นเยี่ยม

 

4.ผักใบเขียวเข้ม

มนุษย์ที่ชอบกินผักเป็นชีวิตจิตใจก็ขอให้จงกินต่อไป และขอให้จำไว้ว่าผักใบเขียวเข้มจำพวก บล็อคโคลี่ ผักโขม ผักปวยเล้ง หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า แตงกวา ผักกาดหอม หรือผักสลัด เป็นผักสีเขียวเข้มที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสำคัญที่เรียกว่า ลูติน ซึ่งจะไปช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนังของเรานั่นเองค่ะ

 

5.สาหร่าย

ไม่ว่าจะเป็นสาหร่ายทะเลหรือสาหร่ายน้ำจืด ต่างก็ล้วนแต่มีส่วนประกอบของคอลลาเจนและสารต่อต้านอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะสาหร่ายทะเลทุกชนิดซึ่งจะมีไฮยาลูโรนิกที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างคอลลาเจน อีกทั้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการที่สูงอีกด้วยค่ะ

 

6.ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ทั้งหลายที่อาจจะเป็นของโปรดของสาวๆ และคนที่รักสุขภาพก็คงจะทราบกันดีถึงคุณประโยชน์ทางโภชนาการและมีวิตามินซีที่สูง อีกทั้งยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระตัวสำคัญที่มีชื่อว่าแอนโทไซยานินที่เป็นตัวไปเพิ่มการสร้างคอลลาเจน ทำให้ผิวเราแข็งแรงและสุขภาพดีอีกด้วยค่ะ

 

7.ถั่วเหลือง

ถั่วเหลืองรวมถึงน้ำเต้าหู้และนมถั่วเหลืองที่หลายคนชอบดื่มกันเป็นประจำ ซึ่งถั่วเหลืองเป็นแหล่งโปรตีนที่มีกรดอะมิโนเป็นโครงสร้างของคอลลาเจนและยังมีสารสำคัญคือ ไอโซฟลาโวน ที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระและเสริมฮอร์โมนเอสโตรเจนให้กับผู้หญิงวัยที่หมดประจำเดือนได้เป็นอย่างดี

 

8.กระเทียม

กระเทียมเป็นสมุนไพรที่เปี่ยมคุณค่าและประโยชน์ โชคดีของคนไทยที่ส่วนประกอบของอาหารส่วนมากจะเป็นกระเทียม ไม่ว่าจะตำ ยำ ผัด ต้ม ส่วนใหญ่จะมีกระเทียมเป็นส่วนผสม แต่ใครที่ไม่ชอบในกลิ่นแรงของกระเทียมก็ถือว่าน่าเสียดาย หรืออาจจะลองรับประทานในรูปแบบอื่นดูก็ได้ค่ะ กระเทียมอุดมไปด้วยซัลเฟอร์ ทั้งยังมีกรดไลโปอิกและกรดอะมิโนทอรีน ที่เป็นตัวช่วยในการเสริมสร้างคอลาเจนที่ถูกทำลายค่ะ

 

9.ไข่ขาว

ไข่ขาวเป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนหลายชนิด นอกจากไขมันต่ำมากแล้วยังโปรตีนสูงโดยมีสารโพรลีนและไลซีนที่สามารถช่วยปรับเปลี่ยนไปเป็นคอลลาเจนได้

 

10.เนื้อไก่และเนื้อหมู

เนื้อไก่และเนื้อหมูก็เป็นอีกอาหารที่เรารับประทานกันเป็นประจำอยู่แล้ว และด้วยเนื้อเหล่านี้เป็นอาหารประเภทโปรตีนซึ่งในเนื้อสัตว์ที่เป็นโปรตีนก็จะมีส่วนประกอบของคอลลาเจนอยู่

 

11.น้ำมะพร้าว

น้ำมะพร้าว เย็นๆ หอมชื่นใจ ไม่ว่าจะชาวไทยหรือต่างชาติต่างก็นิยมดื่มกัน หวานอร่อยชื่นใจอย่างนี้ ประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการเพียบนะจะบอกให้ ซึ่งในน้ำมะพร้าวแสนอร่อยนี้มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่เป็นส่วนสำคัญที่ไปช่วยในการเสริมสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน นอกจากสดชื่นชุ่มฉ่ำแล้ว ผิวยังยืดหยุ่น สดใส กระชับ ได้อีก

 

12.ข้าวโอ๊ต

ข้าวโอ๊ต ธัญพืชเพื่อสุขภาพที่นอกจากจะมีกากใยสูงแล้วยังมีสารอาหารมากมาย ไหนจะสารต่อต้านอนุมูลอีสระอีกทั้งยังช่วยในการเพิ่มคอลลาเจนให้กับผิว และช่วยชะลอความแก่ให้เราอีกด้วยแน่ะ

 

อย่างไรก็ดี การเลือกรับประทานอาหารที่ดีและเหมาะสมต่อความต้องการของเราและร่างกายแล้ว แต่นั่นก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วย แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงเราได้ก็ต่อเมื่อเรา ดูแลตัวเองไม่ให้นอนดึก ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน รักษาปกป้องผิวจากแสงแดดและมลพิษต่างๆ รอบตัวอยู่เสมอค่ะ บางคนคิดว่าแค่กินอย่างเดียวก็ช่วยแล้ว ซึ่งมันก็มีหลายเหตุหลายปัจจัยที่ต้องการความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกอย่างบางอย่างที่กล่าวมาก็สามารถไปทำลายคอลลาเจนที่เราเพียรสร้างมานั่นก็เท่ากับว่าเราทำร้ายตัวเองโดยเปล่าประโยชน์ ทัศนะคติการคิดการมองโลกก็สำคัญเช่นกัน คนที่มองโลกในแง่ดีคิดบวกอยู่เสมอ ก็จะทำให้เรามีภาวะอารมณ์ที่ดีมีผลต่อจิตใจช่วยส่งผลให้ร่างกายเรามีความสดชื่นสดใสอยู่ทุกวันค่ะ

 

www.flickr.com/photos/elsombrerodepensar/5558285988/

ไขมัน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

oil-1
Source: Flickr (click image for link)

ไขมัน (Fat) คือ สารประกอบหลายชนิดซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือ ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์แต่ไม่ละลายน้ำ คำว่าไขมัน (fat) ทางเคมีอาหาร นั้นหมายถึง ลิพิด (lipid) ประเภทไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ที่มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้องขณะที่ น้ำมัน (oil) เป็นไตรกลีเซอไรด์ที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง คำว่าไขมัน (fat) และน้ำมัน (oil) มักใช้แทนกันหรือใช้คู่กัน โดยทั่วไป “น้ำมัน” ใช้กับไขมันที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง “ไขมัน” หมายถึง ไขมันที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง “ลิพิด” หมายรวมไขมันทั้งที่เป็นของเหลวและของแข็งตลอดจนสสารที่เกี่ยวข้องอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ในบริบททางการแพทย์หรือชีวเคมี ดังนั้น กรดไขมัน (fatty acid) ที่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ในไขมัน (fat) จึงเป็นกรดไขมันที่มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าอุณหภูมิห้อง ได้แก่ กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) ขณะที่น้ำมัน (oil) มีองค์ประกอบหลักคือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) ซึ่งมีจุดหลอมเหลวต่ำค่ะ ส่วนไขมันในทางโภชนาการนั้นหมายถึงสารอาหาร (nutrient) ที่ให้พลังงาน และก็มีส่วนประกอบหลักคือไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) โดยไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี (Kcalorie) ในขณะที่โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี ค่ะ

ไขมัน (fat) ที่ใช้ในอาหาร ได้แก่ ไขมันจากสัตว์ รวมทั้งน้ำมันพืช (vegetable oil) ที่ผ่านกระบวนการ hydrogenation เพื่อทำให้มีสถานะเป็นของแข็ง ได้แก่ เนย (butter), เนยโกโก้ (cocoa butter) และเนยโกโก้เทียม (cocoa butter equivalent), ไขมันวัว (tallow), ไขมันหมู (lard), ไขมันจากไก่ (schmaltz), มาร์การีน (margarine) หรือ เนยขาว (shortening) เป็นต้น

 

เกี่ยวกับไขมัน (Fat)

อาหารที่เราบริโภคทุกวันนี้ มีสารอาหารที่เป็นประกอบที่สำคัญคือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรทและไขมัน ไขมัน (Lipids) เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานมากที่สุดคือประมาณ 9 แคลอรี่ต่อ 1 กรัม ไขมันมีในอาหารทั่วไปทั้งในพืชและเนื้อสัตว์จะมากน้อยตามชนิดของอาหารแตกต่างกันไป ไขมันยังมีส่วนสำคัญในด้านเนื้อสัมผัส, กลิ่นรส, ความชุ่มเนื้อและรสชาติของอาหารอีกด้วย และเนื่องจากร่างกายของเราย่อยไขมันได้ช้ากว่าสารอาหารชนิดอื่น เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมันจึงทำให้เรารู้สึกอิ่ม หลังจากที่ได้รับอาหารเข้าไปในประมาณที่เพียงพอแล้ว

ไขมัน (LIPIDS) แบ่งตามวิทยาศาสตร์เคมีได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)และฟอสโฟไลปิดส์ (Phospholipids) และอื่นๆ อีกที่ไม่ค่อยสำคัญมากแต่ที่เรามักจะได้ยินคุ้นหูจากแพทย์บ่อยๆ ก็คือคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งแพทย์จะบอกแก่คนไข้ว่า ตรวจไขมันในเลือดให้นั้นก็คือ การตรวจค่าของทั้งสองชนิดนั่นเอง

คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อใช้ในการสร้างฮอร์โมน วิตามินอี และกรดน้ำดีซึ่งช่วยย่อยอาหาร ถ้าร่างกายมีคอเลสเตอรอลสูงเกินกว่าปกติ (มากกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ก็จะก่อให้เกิดผลเสียจากการที่คอเลสเตอรอลไปพอกตามผนังหลอดเลือดแดงทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย เป็นต้น เราจะพบคอเลสเตอรอลเฉพาะในสัตว์ และพบมากในอาหารที่มาจากเครื่องในสัตว์รวมทั้งไข่แดง

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) คือ ไขมันและน้ำมันที่ได้จากพืชและสัตว์มีสารประกอบส่วนใหญ่เป็นไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้ไตรกลีเซอไรด์ยังเกิดขึ้นได้จากกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท เช่น น้ำตาล ดังนั้นถ้าหากรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรทในปริมาณที่มากเกินไปจะมีผลทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ค่าปกติของไตรกลีเซอไรด์ควรอยู่ระหว่าง 35-160 mg/dl

ฟอสโฟลิปิด (Phospholipid) เป็นไขมันที่มีคุณสมบัติละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน

เรามาทำความเข้าใจกับโครงสร้างอย่างง่ายๆ ของกรดไขมันกันก่อน คือกรดไขมันจะประกอบด้วยธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน ซึ่งโมเลกุลของธาตุทั้งสามนี้ จะเกาะกันเป็นลูกโซ่มากน้อยตามแต่ละชนิด ซึ่งมีประมาณ 40 ชนิด

ไขมันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1.กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated Fatty Acids) คือเป็นไขมันเต็มตัวแล้ว คือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจนจับกันเป็นลูกโซ่โดยสมบูรณ์ และไม่มีช่องว่างเหลือที่จะทำปฏิกิริยากับสารใดๆ ในร่างกายได้ ดังนั้น ไขมันชนิดนี้จะอยู่ในรูปของแข็งในอุณหภูมิปกติ ไขมันจำพวกนี้จะพบมากใน ไขมันสัตว์ เช่น เนื้อหมู วัว และไขมันจากกะทิ มะพร้าว เนย ไข่แดงและอื่นๆไขมันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

2.กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fatty Acids) คือไขมันที่ธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจนจับกันยังไม่สมบูรณ์ นั่นคือ ยังมีช่องว่างในลูกโซ่เหลืออยู่และพร้อมที่จะทำปฏิกิริยาและจับกับสารอื่นๆ ในร่างกายได้และพร้อมจะเปลี่ยนแปรสภาพเป็นสารอื่นๆ ได้ พบมากในน้ำมันปลาแซลมอน น้ำมันเมล็ดพันธุ์บอเรจ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส น้ำมันจมูกข้าวสาลีและอื่นๆ ซี่งกรดไขมันไม่อิ่มตัวแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ไขมันชนิดนี้แทบไม่มีบทบาทอะไรกับปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา เป็นต้น
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง กรดไขมันชนิดนี้สำคัญต่อร่างกายมาก ช่วยในการทำงานของอวัยวะสำคัญในร่างกาย มีลักษณะเหลวแม้ในอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่ได้จากพืชและสัตว์น้ำบางชนิด เช่น น้ำมันทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด

 

ประโยชน์ของไขมันที่มีต่อร่างกาย

 

ให้พลังงานแก่ร่างกาย ไขมันเป็นอาหารสำคัญที่มีความจำเป็นต่อร่างกายและเป็น 1 ในอาหาร 5 หมู่ที่มีประโยชน์ ทั้งไขมันในอาหารยังช่วยทำให้อาหารนุ่ม และยังช่วยให้ผู้บริโภครู้สึกอิ่มได้นาน เนื่องจากไขมันย่อยได้ช้ากว่าโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ไขมันให้พลังงานแก่ร่างกายได้มากกว่าสารอาหารชนิดอื่น ช่วยทำให้ร่างกายมีพลังงานที่จะทำงานและประกอบกิจวัตรประจำวัยได้ตามปกติ

 

ช่วยในการละลายและการดูดซึมวิตามิน ไขมันจะไปช่วยในการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน (Fat soluble Vitamins) เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย

 

ช่วยปกป้องและกันความร้อน รวมทั้งคอยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ โดยไขมันทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน(Thermal Insulator) ของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย ช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อน ทำให้ผิวชุ่มชื่นไม่แตกแห้ง

 

ไขมันช่วยเป็นเสมือนกันชนให้ร่างกาย ไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย ช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนของอวัยวะภายในได้ คือช่วยป้องกันการกระเทือนของอวัยวะภายในร่างกาย ที่เกิดจากแรงกระแทกหรือการเคลื่อนไหวอย่างแรงของร่างกาย ซึ่งคอยป้องกันการบาดเจ็บของอวัยวะภายในร่างกาย 

 

เป็นองค์ประกอบของเซลล์เมมเบรนทุกชนิด ไขมันเป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อประสาท นั่นก็คือเส้นประสาทของคนเราจะมีไขมันเป็นส่วนประกอบในอัตราที่สูง โดยเฉพาะจะหุ้มเส้นประสาทช่วยในการป้องกันเส้นประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อถูกสั่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

 

เป็นส่วนประกอบของเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกาย ไขมันเมื่อรวมตัวกับโปรตีนก็คือ ไลโปโปรตีน (Lipoproteins) จะเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะผนังเซลล์และไมโตคอนเดรีย ส่วนนี้มีประโยชน์สำหรับคนเรามาก เพราะร่างกายของเราประกอบเป็นตัวตนด้วยเซลล์หลายๆ ล้านเซลล์ และเซลล์ของร่างกายเราจะผลิตทุกวันเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ นั่นก็คือถ้าร่างกายเราขาดไขมันผนังเซลล์ของร่างกายเราก็จะอ่อนแอ เซลล์ที่ตายไปก็ไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ค่ะ

 

ให้กรดไขมันจำเป็นแก่ร่างกาย คือ กรดลิโนเลอิก ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดผิวหนังอักเสบ และมีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของทารก นอกจากนั้นกรดไขมันจำเป็นยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดด้วย โดยจะไปรวมกับคอเลสเตอรอลอิสระได้เป็นคอเลสเตอรอลเอสเทอร์ ทำให้ละลายในเลือดได้ง่าย

 

 

www.flickr.com/photos/chiotsrun/4255041466/