Browse Tag: nutrition

Vitamin A คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

carotene-fruits-1“วิตามินเอ” (Vitamin A) เป็นวิตามินอีกตัวที่สำคัญและมีประโยชน์ไม่แพ้กับวิตามินชนิดอื่นๆ แต่ถึงจะมีประโยชน์มากมายเพียงใด การที่ได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอก็จะส่งผลต่อร่างกายของเราโดยเฉพาะดวงตา ผิวหนัง และระบบภูมิต้านทานโรค แล้วทำอย่างไรจึงจะไม่ขาดวิตามินเอจนร่างกายเจ็บป่วยล่ะและถ้าหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไปอีกล่ะ ดังนั้นเราจึงต้องมาทำความรู้จักกับประโยชน์และโทษของวิตามินชนิดนี้กันให้กระจ่างแจ้งกันค่ะ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ร่างกายของเราได้รับวิตามินชนิดนี้อย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุดและก็จะได้มั่นใจว่าจะไม่ก่อโทษต่อร่างกายตามมาในภายหลัง… วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา ร่างกายของเราสามารถสะสมวิตามินเอได้นานมากอาจนานได้ถึง 1 หรือ 2 ปี โดยเก็บไว้ในชั้นเซลล์ไขมัน  

วิตามินเอจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) หรือเรียกว่า Retinol ซึ่งได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา อาหารประเภทเนื้อ ไข่ ตับและเครื่องใน
  2. กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือเรียกว่า เบต้า แคโรทีน (Beta-Carotene) เป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกายจึงได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ พบมากในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม

 

เกี่ยวกับวิตามินเอ หรือ Retinol

  • วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน
  • วิตามินเอจะถูกดูดซึมไปใช้ในร่างกายได้ดีที่สุดเมื่อกินร่วมกับอาหารที่มีน้ำมันหรือไขมันเป็นส่วนประกอบ
  • เมื่อร่างกายใช้ไม่หมดก็จะเก็บสะสมไว้ที่ตับ
  • ถ้าได้รับวิตามินเอจากอาหารปกติ ไม่จำเป็นต้องกังวลว่าร่างกายจะได้รับอันตรายแต่อย่างใดเพราะมันไม่เข้มข้น
  • การไดรับวิตามินเอจากอาหารเสริมต่างๆ มักจะมีความเข้มข้นสูง ซึ่งหากได้รับเป็นระยะเวลานาน ก็ส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าประโยชน์
  • วิตามินเอมีหน้าที่ช่วยในการมองเห็น การเจริญเติบโตของกระดูก การแบ่งตัวของเซลล์ การกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค ซ่อมแซมผิวของตาและหลอดลมทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายยากขึ้น
  • วิตามินเอยังช่วยกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาวโดยเฉพาะ lymphocyte ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และระบบสืบพันธุ์
  • วิตามินเอ จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ Retinol และ Beta-carotene
  • วิตามินเอพบมากในอาหารประเภทเนื้อ ไข่ นม ตับและเครื่องใน ในรูปแบบของสารวิตามินที่ออกฤทธิ์ได้ทันที่ ที่เราเรียกว่า Retinal
  • ผักผลไม้ที่ให้วิตามินเอส่วนใหญ่จะมีสีเหลือง ส้ม แดง และเขียวเข้ม เช่น ผักปวยเล้ง  ผักโขม ข้าวโพด มันฝรั่ง ฟักทอง คะน้า เป็นต้น เพราะมีเบต้าแคโรทีนและแคโรนอยด์ที่อยู่ในรูปแบบสารตั้งต้น โดยร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอต่อไป
  • นมพร่องมันเนยจะมีวิตามินเอต่ำเพราะวิตามินเอละลายในไขมัน โดยในขณะที่วิตามินเอจากเนื้อสัตว์จะดูดซึมได้ดี
  • เนื่องด้วยวิตามินเอในผักผลไม้มีความไวต่อออกซิเจนมาก ดังนั้นวิธีการต้มที่ป้องกันการสูญเสียวิตามินได้ดีทีสุดคือ ควรปิดฝาภาชนะขณะต้มและใส่น้ำน้อยๆ
  • ร่ายกายคนเราต้องการวิตามินเอในแต่ละวันอยู่ที่วันละ 4,000-5,000 IU
  • การได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอจะส่งผลต่อร่างกายของเราโดยเฉพาะดวงตา ผิวหนัง และระบบภูมิต้านทานโรค
  • วิตามินเอ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตได้อย่างปกติ ไม่ชะงัก หรือหยุดการเจริญเติบโตก่อนวัย
  • วิตามินเอ ช่วยป้องกันอาการเบื่ออาหาร (แต่ถ้าได้รับมากเกินไปก็จะมีผลตรงกันข้าม)

 

 

ประโยชน์ของวิตามินเอ

คุณค่าของ “วิตามินเอ” เป็นที่รู้กันดีว่า คุณค่าทางโภชนาการของวิตามินเอนั้นที่เราต่างก็จะรู้จักกันในนามของวิตามินที่บำรุงสายตาที่สำคัญตัวหนึ่งนั้น โดยจะมีส่วนประกอบที่สำคัญของ “คอร์เนีย” ช่วยให้มีสายตาที่เป็นปรกติ เนื่องจากวิตามินเอจะช่วยในการบำรุงสายตา ช่วยให้ตาปรับสภาพในที่มืดได้ดี หรือช่วยป้องกันโรคตามัวตอนกลางคืนที่เราเรียกกันว่า Night Blindness ทำให้มองเห็นในที่มืดได้ดีขึ้น แต่นอกจากในเรื่องของการบำรุงสายตาแล้ววิตามินเอยังมีประโยชน์อีกมากมายที่เราอาจจะยังไม่ทราบกันค่ะ

 

วิตามินเอ ช่วยให้ไม่เป็นโรคตาฟาง คนที่เป็นโรคนี้จะมองเห็นในที่มืดได้ไม่ค่อยชัดทั้งๆที่มีแสงพอที่จะมองเห็นได้ ถ้าขาดวิตามินเอมากๆ ก็จะทำให้ไม่สามารถมองเห็นในที่มืดได้เลย ซึ่งมักเรียกคนที่มีอาการเหล่านี้ว่า “พวกตาบอดกลางคืน” โดย Retinol จะรวมตัวกับโปรตีนชื่อ ออพซิน (opsin) เป็นสารประกอบโรดอพซิน (rhodopsin) ซึ่งมีคุณสมบัติดูดแสงและปรับสายตาให้มองเห็น สารประกอบนี้จะสลายไปเมื่อถูกใช้แล้ว ดังนั้น การบริโภคอาหารที่ให้วิตามินเอที่เพียงพอในการสร้างโรดอพซินได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

 

วิตามินเอ ช่วยให้ตาสู้แสงในเวลากลางวัน คนที่ขาดวิตามินชนิดนี้ จะทำให้ตาไม่ค่อยสู้แสงในเวลากลางวัน ตาไวต่อแสงทำให้แสบตาง่าย และทำให้น้ำตาไหลได้ง่ายด้วย

 

วิตามินเอ ช่วยป้องกันเยื้อบุนัยน์ตาแห้ง คนที่ขาดวิตามินเอมากๆ เยื่อบุนัยน์ตาจะแห้งและมีโอกาสอักเสบได้ง่าย เปลือกตาบวม มีจุดขาวๆ ที่ตาเหมือนมีฟองน้ำเกาะที่เยื่อบุตา และมีเม็ดขึ้นบนผิวกระจกตา ซึ่งถ้าไม่รักษาและปล่อยให้ขาดวิตามินเอนานๆ อาจทำให้ตาบอดได้

 

วิตามินเอ ช่วยป้องกันผิวหนังแห้ง หยาบ และพุพอง คนที่ขาดวิตามินชนิดนี้ขั้นรุนแรงจะเป็นโรคหนังคางคก ซึ่งเป็นโรคที่ผิวหนังจะมีลักษณะเป็นตุ่มๆ สากๆ เกิดได้ทุกบริเวณของร่างกาย เช่น แขน ขา หลัง หน้าอกและหน้าท้อง เป็นต้น

 

วิตามินเอเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ช่วยไม่ให้เกิดสิวได้ง่าย เนื่องจากวิตามินชนิดนี้ เป็นวิตามินที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีผลช่วยให้ลดการเกิดสิวได้ง่าย บางคนที่รักษาสิวมาหลากหลายวิธีแต่สิวก็ยังคงไม่หายซักที อาจเป็นเพราะมีสาเหตุมาจากการขาดวิตามินชนิดนี้ก็เป็นได้

 

วิตามินเอช่วยให้เหงื่อไม่ออกง่าย เนื่องจากวิตามินเอ ทำให้รูปขุมขนที่ผิวหนังชั้นนอกมีการสะสมของเคราติน ทำให้เยื่อบุเป็นเกล็ดหนาและไม่ค่อยมีเหงื่อ

 

วิตามินเอ ช่วยป้องกันผิวแห้งแตกลายงา ถ้าหากไม่อยากให้ผิวแห้งแตกลายงาเหมือนดินที่ขาดน้ำ หรือแตกเป็นเกล็ดคล้ายคนขาดไขมัน ก็หมายความว่า คุณกำลังขาดวิตาเอ และไขมัน (เพราะวิตามินชนิดนี้ละลายในไขมัน)

 

วิตามินเอ ช่วยป้องกันเซลล์ชนิดเยื่อบุต่างๆ ของร่างกายไม่ให้เกิดการผิดปกติ ซึ่งถ้าเยื่อบุต่างๆ ของร่างกายผิดปกติ ก็จะทำให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเกิดผิดปกติไปด้วย เช่น มีการอักเสบของทางเดินหายใจ เพราะเยื่อบุบริเวณช่องจมูกเกิดผิดปกติ เป็นต้น

 

วิตามินเอเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย มีบทบาทสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยต่อสู้กับโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และปรสิต จึงทำให้ไม่ติดเชื้อง่าย ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยง่ายจนเกินไป

 

วิตามินเอกับผิวพรรณ ในแง่ของสุขภาพผิวและความสมดุลของฮอร์โมนนั้น วิตามินเอ มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยได้มีงานวิจัยยืนยันว่าผู้ที่เป็นสิวรุนแรงนั้นมีระดับวิตามินเอในเลือดต่ำ มีรายงานว่า หญิงที่มีภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลและเป็นสิว เมื่อได้รับได้รับอาหารเสริมวิตามินเอ สิวก็สามารถหายภายในไม่กี่สัปดาห์ รวมถึงรอยแผลสิวก็เริ่มลดลงหลังจากได้รับอาหารเสริมวิตามินเอ 2 สัปดาห์

 

 

อันตรายจากการขาดวิตามินเอ

โรคผิวหนัง เนื่องจากวิตามินเอมีส่วนสำคัญในการรักษาสภาพเยื่อบุผิวหนัง ขาดวิตามินเอทำให้ผิวพรรณขาดความชุ่มชื้น หยาบกร้าน แห้งแตก โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณข้อศอก ตาตุ่มและข้อต่อด่างๆ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคผิวหนัง เช่น สิวและโรคติดเชื้ออื่นๆ ได้

ตาฟาง หน้าที่ของวิตามินเอคือช่วยในการสร้างสารที่ใช้ในการมองเห็น หากขาดจะทำให้มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืนหรือในที่แสงสว่างน้อย และทำให้เยื่อบุตาแห้ง กระจกตาเป็นแผล ในกรณีที่ร่างกายขาดวิตามินเออย่างรุนแรงอาจทำให้ตาบอดได้

ความต้านทานโรคต่ำ วิตามินเอเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราทำงานตามปกติ การขาดวิตามินเอจึงทำให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ง่าย อีกทั้งยังทำให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูก ช่องปาก คอ และที่ต่อมน้ำลาย

อันตรายจากการได้รับวิตามินเอเกิน

แท้งลูกหรือพิการ หญิงมีครรภ์ที่ได้รับวิตามินเอมากเกินไปมีความเสี่ยงต่อภาวะทารกในครรภ์คลอดออกมาพิการหรือแท้งได้ เนื่องจากวิตามินเอมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้เด็กมีความผิดปกติที่ทางเดินปัสสาวะ กระดูกผิดรูป หรือมีติ่งปูดออกมาที่บริเวณหู

อ่อนเพลีย หากร่างกายได้รับวิตามินเอเกินครั้งละ 15,000 ไมโครกรัม จะมีผลทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและอาเจียนได้

เจ็บกระดูกและข้อต่อ เบื่ออาหาร เซื่องซึม นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ผมร่วง ปวดศีรษะ ท้องผูก ทั้งหมดนี้เป็นโทษในระยะยาวที่เกิดจากการรับประทานวิตามินเอมากเกินไป

ในสัตว์กระเพาะเดี่ยว เมื่อได้รับเกินความต้องการ 4-10 เท่า จะทำให้โครงกระดูกผิดปกติ

ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง เมื่อได้รับเกิน 30 เท่า จะเกิดอาการผิดปกติ

 

www.flickr.com/photos/jalb/117560810/

Omega 9 คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

seeds-1
Source: Flickr (click image for link)

เราได้พูดถึงโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 กันไปในกระทู้ก่อนๆกันแล้วนะคะ หลายๆคนคงได้รู้จักกันไปพอสมควร วันนี้ HealthGossip จะมาพูดถึงกรดไขมันอีกตัวที่เชื่อเลยว่าหลายคนมองข้ามไป หรือไม่ก็มีอีกหลายคนที่ยังไม่ค่อยจะรู้จักกับเจ้ากรดไขมันตัวนี้กันสักเท่าไหร่ นั่นก็คือเจ้า“โอเมก้า 9” นั่นเอง  คงคิดกันว่ามันมีด้วยหรอเนี่ย? นึกว่าจะมีแค่โอเมก้า 3 กับโอเมก้า 6 ซะอีก ความจริงแล้วยังมีโอเมก้า 9 ตัวหนึ่งด้วยค่ะ และเจ้าโอเมก้า 9 เนี่ยก็เป็นอีกกรดไขมันหนึ่งที่เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเช่นกันค่ะ ถึงแม้จะไม่ถูกเรียกว่าเป็นกรดไขมันจำเป็น แต่เชื่อไหมล่ะคะว่ามันก็มีประโยชน์เช่นกัน และก็เป็นกรดไขมันที่น่าน้อยใจไม่น้อยก็เพราะมักจะไม่ได้ถูกกล่าวถึงเลย หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นกรดไขมันที่ถูกลืมไปเลยก็ว่าได้ เพราะเราคงจะคิดว่ามันเป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่ร่างกายเราสามารถสร้างได้เองก็คงไม่จำเป็นต้องใส่ใจสินะ แต่อยากจะบอกให้ทราบว่าในความเป็นจริงแล้ว เมื่อวัตถุดิบไม่ครบร่างกายก็สร้างขึ้นมาไม่ได้เหมือนกันนะจ๊ะ จึงจำเป็นที่เราจะต้องรับประทานอาหารประเภทที่มีกรดไขมันชนิดนี้เพิ่มขึ้นนั่นเอง เอาแล้วไง หลังจากนี้เมื่อเราทราบและเข้าใจบทบาทหน้าที่ของเจ้าโอเมก้า 9 แล้ว เราก็คงที่จะไม่กล้าลืมหรือให้ความสำคัญกับเจ้าตัวนี้กันแล้วใช่ไหมคะ เอาล่ะเรามาเรียนรู้และให้ความสำคัญกับบทบาทหน้าที่ของเจ้าตัวนี้กันเลยดีกว่าค่ะ

 

โอเมก้า 9 คืออะไร

โอเมก้า 9 คือ กรดไขมันชนิดหนึ่งที่เป็นกรดไขมันแบบไม่อิ่มตัวซึ่งมีพันธะคู่ระหว่างอะตอมของคาร์บอน (C=C) คู่แรกอยู่ที่ตำแหน่งที่ 9 นับจากปลายด้านกรดไขมัน

กรดไขมันชนิดโอเมก้า 9 ที่สำคัญมีสองตัวคือ

  1. กรดโอเลอิก (Oleic acid) เป็นกรดไขมันที่มีอยู่ในน้ำมันมะกอกและในไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวต่างๆ
  2. กรดอิรูสิค (Erucic acid) เป็นกรดไขมันที่พบได้มากในน้ำมันจากเมล็ดของต้นเรพ (Rapeseed), ต้นวอลล์ฟลาวเวอร์ (Wallflower)และเมล็ดของต้นมัสตาร์ด (Mastard seed) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในน้ำมันจากเมล็ดของต้นเรพนั้นมีการปลูกต้นเรพเป็นจำนวนมากเพื่อผลิตน้ำมันเป็นการพาณิชย์ในอุตสาหกรรมสี มีการนำกรดบางอย่างออกจากน้ำมันของต้นเรพ จะได้น้ำมันที่เรียกว่าคาโนลา (Canola oil)

อย่างไรก็ตาม กรดไขมันโอเมก้า 9 ไม่ถือว่าเป็นกรดไขมันจำเป็น (Essential fatter acid) เนื่องจากว่าร่างกายของคนเราสามารถสร้างกรดไขมันชนิดนี้ได้เองจากไขมันไม่อิ่มตัวโอเมก้า 3 และ/หรือ โอเมก้า 6 (ซึ่งถ้าร่างกายขาดโอเมก้า 3 และ 6 ล่ะก็ เจ้าโอเมก้า 9 จะกลายเป็นกรดไขมันจำเป็นขึ้นมาทันที เพราะว่าร่างกายของเราไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้เนื่องจากขาดวัตถุดิบนั่นเอง) และเนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า 9 ไม่มีพันธะคู่ของอะตอมคาร์บอนที่ตำแหน่งที่ 6 ดังนั้นจึงไม่ได้ช่วยในการสร้างสารไอโคซานอยด์ (Eicosanoid) ซึ่งมีหน้าที่ช่วยในการควบคุมระบบการแข็งตัวของเลือดแต่อย่างไร

 

โอเมก้า 9 มาจากไหนนะ

เราสามารถกินอาหารเหล่านี้เพื่อให้ร่างกายได้รับโอเมก้า 9 ได้จาก ไขมันจากถั่วลิสง น้ำมันมะกอก คาโนลา น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน งา ถั่วพิตาชิโอ อัลมอนด์ และอะโวคาโด

ถ้าขาดโอเมก้า 9 จะเกิดอะไรขึ้น ?

อาจเกิดอาการผิวแห้ง ผมร่วง ตาแห้ง หัวใจเต้นผิดปกติ และเจ็บตามข้อต่างๆ รวมถึงอาจเกิดรังแคขึ้นได้ด้วยง่ายๆ คือ ถ้าร่างกายของเรามีทั้งโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ก็จะเกิดการสร้างโอเมก้า 9 ขึ้นมาได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องเสริมเข้าไป แต่ถ้าเราไม่มีโอเมก้า 3 หรือโอเมก้า 6 ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างพันธะคู่ที่ตำแหน่งอะตอมเองได้ เมื่อร่างกายขาดวัตถุดิบ จึงไม่เกิดโอเมก้า 9 นั่นเองค่ะ

 

ประโยชน์ของโอเมก้า 9

โอเมก้า 9 เกี่ยวข้องกับการสร้างฮอร์โมนโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ซึ่งมีผลต่อสุขภาพมาก ในร่างกายของคนเราควรจะมีกรดไขมันโอเมก้า 9 อยู่ในสัดส่วนที่ถูกต้องเมื่อเทียบกับโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 น้ำมันที่สร้างโดยผิวหน้าของเรามีลักษณะเหมือนกับกรดไขมันโอเมก้า 9 ที่พบได้มากในน้ำมันมะกอก นอกจากนี้แล้วกรดไขมันโอเมก้า 9 ยังอาจจะ

  • เป็นตัวช่วยในการสร้าง ฮอร์โมน โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandins)
  • ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (LDL-Low Density Lipoprotein)
  • ช่วยเพิ่มระดับของ HDL (High Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
  • ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นก็คือทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายทำงานปกติ หัวใจ สมอง ตับ ไต และอวัยวะอื่นๆ ทำงานได้ดีขึ้น ทำให้สามารถป้องกันโรคหัวใจ และกลุ่มโรคหลอดเลือดตีบตันได้

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ สำหรับเรื่องโอเมก้า 9 ที่เรามักไม่ค่อยได้ยินกัน คราวนี้ก็คงจะได้ทราบกันแล้วนะคะว่า ไขมันหรือน้ำมันจากพืชต่างๆ ที่สาวๆ เรามักจะรังเกียจรังงอนว่าไม่ดี ไม่ควรแตะต้องนั้น ก็มีประโยชน์อยู่บ้าง การงดไขมันเสียทั้งหมดเลยนั้นอาจจะไม่ถูกต้องนัก เพียงแต่ต้องไม่รับประทานเข้าไปมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ หรือถ้ารับเข้าไปมากเกิน ก็ต้องกำจัดออกด้วยการเล่นกีฬา และออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญส่วนเกินนั้นทิ้งไปเสียบ้างค่ะ และถึงแม้ว่าร่างกายของเราส่วนใหญ่จะสร้างโอเมก้า 9 ขึ้นมาได้เองเมื่อได้รับโอเมก้า 3 และ 6 แต่การรับประทานอาหารหรืออาหารเสริมที่มีโอเมก้า 9 เสริมเข้าไปก็ถือว่าช่วยลดความเสี่ยงในการขาดโอเมก้า 9  แต่ไม่ว่ายังไงก็ตาม ทุกอย่างก็ยังคงต้องมีความพอดีด้วยค่ะ อย่ากลัวว่าร่างกายจะขาดอย่างเดียวแล้วก็กินอาหารเหล่านี้เข้าไปมากเกินความจำเป็น ซึ่งอาจจะเกิดโทษต่อร่างกายของเราได้เหมือนกันนะคะ

 

www.flickr.com/photos/pawel_pacholec/17820276439/in/photostream/

Omega 3 คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

salmon-salad-1
Source: Flickr (click image for link)

“โอเมก้า 3” (Omega 3) คืออะไรกันนะ สาวๆหลายคนรวมไปถึงคนที่รักสุขภาพนั้นต่างก็ให้ความสนอกสนใจเกี่ยวกับอาหารที่มีโอเมก้า 3 กันเยอะพอสมควร แต่เราจะรู้ดีแค่ไหนกันนะว่าเจ้าโอเมก้า 3 มันมีบทบาทและความสำคัญอย่างไร ดีต่อสุขภาพของเราแค่ไหนช่วยอะไรบ้างต่อร่างกายของเรา มีอีกหลายคนเลยล่ะค่ะที่ยังไม่ค่อยรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเจ้าโอเมก้า 3 กันมากนักรู้ก็แค่ว่ามันคือกรดไขมันอย่างหนึ่งและมีประโยชน์ แต่ไม่ใช่แค่มีประโยชน์เท่านั้นนะคะมันยังมีความสำคัญอย่างที่ร่างกายของเรานั้นในขนาดที่ขาดไม่ได้เช่นกัน ถ้าเรารู้จักกับเจ้าโอเมก้า 3 กันสักนิดเราก็จะได้ทั้งความรู้ สุขภาพที่ดีและความสวยเพิ่มขึ้นอีกค่ะ อยากรู้แล้วล่ะสิว่าทำให้สวยขึ้นได้ด้วยหรอแล้วจะได้ยังไงกันนั้น วันนี้ HealthGossip มีคำตอบค่ะและอาจจะทำให้สาวๆมีความเข้าใจกับเจ้าโอเมก้า 3 มากขึ้นอีกด้วยนะคะ และหลังจากนี้เวลาเดินไป supermarket จะได้เลือกชนิดของอาหารที่มีส่วนผสมของโอเมก้า 3 ได้ถูกและสร้างสรรค์เมนูสุขภาพให้แก่ตนเองและคนที่เรารักได้รับประทานกันค่ะ….. งั้นก่อนอื่นเลยเรามารู้จักกับ ไขมัน กันก่อนเลยค่ะ ทราบกันหรือไม่ว่าไขมันที่มีอยู่ในอาหารนั้นมีส่วนประกอบของกรดไขมัน (fatty acid) มีธาตุคาร์บอน ธาตุไฮโดรเจน และธาตุออกซิเจน เรียงจับกันในลักษณะต่างๆ สามารถแบ่งตามโครงสร้างทางเคมี ได้ดังนี้  

ไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acid) คือไขมันที่มีโครงสร้างคาร์บอนเรียงจับกันครบไขมันชนิดนี้ร่างกายสามารถสร้างได้เองถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำให้เกิดคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเกิดการอุดตันของเส้นเลือดเป็นต้นเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด

ไขมันไม่อิ่มตัว (Unsatuarated fatty acid) คือไขมันที่ธาตุคาร์บอนยังมี เหลือสามารถจับกับธาตุไฮโดรเจนได้ แบ่งออกเป็น  

  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว(Monounsaturated fatty acid) ได้แก่ กรดโอเลอิก (Oleic acid) เป็นกรดไขมันที่ร่างกายสามารถสร้างได้เอง แต่ถ้ารับประทานเข้าไปมากก็ไม่ทำให้เกิดโรคหัวใจและมีแนวโน้มที่จะช่วยลดไขมันในเลือดด้วย
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหลายตำแหน่ง(Polyunsaturated fatty acid) เป็นกรดไขมันที่ร่างกายไม่สามารถสร้างได้เองจำเป็นต้องรับจากอาหาร ไขมันที่สำคัญคือ Omega-3 (Alpha-linolenic acid) และ Omega-6 (linolenic acid)และในหมู่ไขมันในอาหารมีไขมันที่เป็นมิตรต่อสุขภาพนั้นช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจจะเป็นไขมันที่อยู่ในกลุ่มไขมันไม่อิ่มตัวนั่นเองค่ะ

ทำไมถึงเรียกว่าโอเมก้า 3 ล่ะ ? เนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFAs) ที่มีพันธะคู่ (Double Bond) ของอะตอมคาร์บอน (C = C) ที่เริ่มจากอะตอมของคาร์บอนตัวที่สามจากปลายคาร์บอน คือ ปลายของกรดคาร์บอกซิลิก (COOH) ส่วนที่เป็นจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่ และส่วนที่เป็นหางของห่วงโซ่คือ ปลายของ “อัลฟา” และ methyl (-CH3) โดยพันธะคู่แรกจะอยู่ที่ตำแหน่งของคาร์บอนตัวที่ 3 นับจากปลายโมเลกุลด้านที่มีกลุ่มเมธิล (methyl group) เข้าไป ส่วนพันธะคู่ต่อไปจะอยู่ตรงตำแหน่งคาร์บอนถัดไปครั้งละ 3 ตำแหน่ง อย่างไรก็ตามระบบการตั้งชื่อสารเคมีตามมาตรฐาน (IUPAC) จะเริ่มจากจุดปลายของคาร์บอกซิล

โดยสารสำคัญเด่นๆ ในตัวมีอยู่ 2 ตัว คือ Eicosopentaenoic (EPA) และ Docosahexaenoic (DHA) แต่ความจริงแล้วกรดไขมันโอเมก้า 3 นั้นมีอยู่สามชนิดที่สำคัญ คือ

– กรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก (Alpha linolenic acid : ALA)

– กรดไขมันอีพีเอ (Eicosapentaenic acid : EPA)

– กรดไขมันดีเอชเอ (Docosahexaenoic acid : DHA)

โดย EPA และ DHA ส่วนใหญ่พบในปลาบางชนิด ส่วน ALA (alpha-linolenic acid) จะพบได้ในแหล่งของพืช เช่นถั่วและเมล็ดพืชค่ะ

 

โอเมก้า 3 คืออะไรนะ ? ทำความเข้าใจกันก่อนนะคะว่าร่างกายของเราเนี่ยต้องการสารพัดสารอาหารและสารเคมีเลยล่ะค่ะ เพราะอะไรน่ะหรอก็เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องนั่นเอง และในขณะที่สารเคมีบางอย่างก็เป็นคุณแก่ร่างกายของเราส่วนบางอย่างก็เป็นโทษซึ่งเราก็จะต้องหลีกเลี่ยงที่จะรับเข้ามาสู่ร่างกาย คือกำลังจะบอกว่าไขมันก็เช่นเดียวกันค่ะมีทั้งไขมันชนิดที่ดีและก็ชนิดที่ไม่ดีไม่พอแถมยังสร้างปัญหาให้ร่างกายเราอีกแหน่ะ แล้วรู้ไหมคะว่าร่างกายเราก็ไม่ได้อัศจรรย์พันแปดขนาดที่จะสามารถสร้างสารอาหารที่จำเป็นทั้งหมดได้เองรวมทั้งกรดไขมันที่จำเป็นบางตัวด้วยยังต้องอาศัยการได้รับจากภายนอกอีก ไม่ว่าจะด้วยการทานอาหารหรือการรับประทานในรูปแบบของยาที่สกัดมาแล้ว เพราะงั้นร่างกายของคนเราก็ต้องการกรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty Acid) 2 ชนิด แล้วกรดไขมันกลุ่ม Omega-3 เป็นหนึ่งในกรดไขมันที่ร่างกายมนุษย์ขาดไม่ได้ สารสำคัญที่อยู่ในกลุ่ม Omega 3 แบ่งเป็น 2 ชนิดที่เด่นๆ เลย  คือ  EPA (Eicosapantaenoic acid) และ DHA (Docosahexanoic acid) ซึ่งร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้เราจึงต้องการจากที่อื่นเพื่อเสริมให้กับร่างกายของเราได้รับเพียงพอนั่นเอง

โอเมก้า 3 มาจากไหน ? ในเมื่อร่างกายไม่สามารถสร้างโอเมก้า 3 ได้เองอย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอเราก็ต้องหาแหล่งของไขมันชนิดนี้ที่ได้จากปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาแซลมอน ปลาแม็คเคอเรล ปลาทูน่า หรือปลาน้ำจืดบางชนิดสำหรับคนที่แพ้อาหารทะเลแต่ยังคงต้องการโปรตีนจากเนื้อสัตว์ หรือปลาทะเลนั้นมีราคาที่ค่อนข้างสูงเนื่องจากต้องนำเข้าและบางทีอาจจะไม่สดอีก แล้วรู้ไหมละคะว่าสำหรับประเทศไทยเรานั้นยังมีปลาน้ำจืด ที่มีโอเมก้า 3 สูงและหาทานได้ง่ายทั่วไปอย่างเช่น ปลาสวาย ปลาช่อน ปลาดุก เป็นต้น  นอกจากนั้นก็ยังสามารถพบโอเมก้า 3 ได้ในเมล็ดวอลนัท บรอคโคลี่ ดอกกะหล่ำ เต้าหู้ ผักขม กุ้ง หอยแครง ปลาเฮริง ถั่วเหลือง เป็นต้น ส่วนในจำพวกพืชหรือผ้กที่มีใบสีเขียวเข้มส่วนใหญ่ก็จะมีกรด ALA ซึ่่งในขณะที่อาหารประเภทเนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อปลาจะมีกรด EPA และ DHA ที่นำไปใช้ได้โดยตรง

 

โอเมก้า 3 มีประโยชน์ยังไง ?

จุดเด่นของ Omega-3 มีคุณสมบัติป้องกันและรักษา การรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อย่างเหมาะสมจะทำให้ร่างกายทำงานเป็นปกติและร่างกายของเรานั้นจำเป็นต้องมีระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีอย่างเหมาะสม กรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันจำเป็นแต่ไม่สามารถสร้างเองได้ภายในร่างกาย ดังนั้นจำเป็นต้องรับจากการบริโภคอาหารเท่านั้น และแทบทุกระบบการทำงานภายในร่างกาย จำเป็นที่จะต้องใช้ประโยชน์จากกรดไขมันจำเป็นทั้งนั้น อาทิเช่น

  • ระบบหลอดเลือดหัวใจ(ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอล ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน และ โรคอัมพาต)
  • ระบบประสาท(ช่วยเพิ่มความจำ)
  • สายตา(ช่วยในการมองเห็น)
  • ระบบภูมิคุ้มกัน(ลดอาการภูมิแพ้)
  • ระบบไหลเวียนโลหิต
  • ระบบสืบพันธุ์
  • ระบบข้อกระดูก

นอกจากนี้แล้วกรดไขมัน Omega-3 ยังมีคุณสมบัติ ต่อต้านการอักเสบ(ช่วยบรรเทาอาการข้ออักเสบ) และที่สำคัญที่สุด กรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยให้ผิวเปล่งประกายและสุขภาพดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการเข้าไปสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ช่วยคงความชุ่มชื้นและแข็งแรง ช่วยกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนและเส้นใยอีลาสติน จึงส่งผลให้ผิวพรรณแลดูอ่อนเยาว์และสดใส ทั้งนี้หากมีการรัปทานร่วมกับ วิตามินเอ ดี และอี จะยิ่งช่วยปกป้องการเกิดสิว ไม่ว่าจะเป็น สิวหัวขาวและหัวดำ

โอเมก้า 3 มีประโยชน์ต่อสตรีมีครรภ์ กรดไขมันโอเมก้า-3 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง DHA มีความสำคัญในการพัฒนาและการทำหน้าที่ของระบบประสาท ระบบสายตา และระบบสมอง ของทารกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด และในช่วง 6 เดือนแรกหลังจากคลอดแล้ว ดังนั้น มารดาของทารกที่เสริมกรดไขมันโอเมก้า 3 จะเป็นทางเดียวที่จะทำให้ ทารกในครรภ์ได้รับกรดไขมันจำเป็นไปด้วย (ทั้งนี้ควรบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ โดยควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนทุกครั้ง)

โอเมก้า 3 มีประโยชน์สำหรับเด็ก น้ำมันปลาโอเมก้า 3 มีประโยชน์อย่างมากมายในการช่วยการเจริญเติบโตของเด็ก เช่น ช่วยพัฒนาการทำงานของสมองและจิตใจ เพิ่มสมาธิ ความจำระยะสั้นและ ทักษะในการอ่าน นอกเหนือจากนี้ ยังมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ช่วยปกป้องกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กๆ ควรจะได้รับปริมาณโอเมก้า 3 ในระดับสมดุลกับอาหารของพวกเขา

โอเมก้า 3 กับความสวยความงาม ผิวสวยหน้าใส สมองสดใส หัวใจแข็งแรง อย่างที่เราทราบกันดีนะคะว่าโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันจำเป็นที่ไม่สามารถสร้างเองได้ภายในร่างกายต้องรับจากอาหารเท่านั้น แทบทุกระบบภายในร่างกายของเราจำเป็นจะต้องใช้ประโยชน์จากกรดไขมันจำเป็นเหล่านี้ ในส่วนของความสวยความงามนั้นกรดไขมันโอเมก้า 3 ยังช่วยให้ผิวเปล่งประกายและสุขภาพดีขึ้น โดยเป็นส่วนหนึ่งในการใช้สร้างเยื่อหุ้มเซลล์ช่วยคงความชุ่มชื้นและแข็งแรง ช่วยกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนและเส้นใยอีลาสติน จึงส่งผลให้ผิวดูอ่อนเยาว์และสดใสรวมไปถึงเส้นผมที่แห้งแตกปลาย ในขณะที่ EPA ที่อยู่ในปลานั้นจะช่วยปกป้องการเกิดสิว ไม่ว่าจะเป็นสิวหัวขาวและหัวดำค่ะ เห็นอย่างนี้แล้วสาวๆไม่ควรมองข้ามอาหารที่มีโอเมก้า 3 กันนะคะ

 

จะเห็นได้ว่า โอเมก้า 3 มีความสำคัญต่อสุขภาพของเรามากมายเลยนะคะ หลายคนพอได้ยินว่าเป็น ไขมัน ก็กลัวแทบไม่อยากแตะ แต่อย่าลืมนะคะว่าไขมันมีทั้งตัวที่ดีและตัวที่ไม่ดีและไขมันก็ยังคงมีความจำเป็นต่อร่างกายเราอยู่ดีค่ะ และหว้งว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพกันได้มากขี้นและเมื่อสุขภาพภายในของเรานัันดีแล้วนั้นมันก็ส่งผลให้สุขภาพภายนอกของเราสวยสดใสตามมาอีกด้วยค่ะ 

www.flickr.com/photos/jeffchristiansen/4822568694/

6 เหตุผล ทำไมอาหารมื้อเช้าจึงมีความสำคัญ

breakfast-1 “อาหารเช้าสำคัญ” มากนะรู้ยัง? อาหารมื้อเช้า มีคำศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า “Breakfast” แปลแบบตรง ๆ โดยนำคำว่า “Break” ที่แปลว่า “หยุด”  กับคำว่า “Fast” ที่แปลว่า “การอดอาหาร” มารวมกัน ดังนั้น Breakfast จึงหมายความว่า “การหยุดการอดอาหาร” คนเรามักจะรับประทานอาหารเย็นเวลา 6 โมงเย็น ถึง 3 ทุ่มโดยประมาณการเป็นส่วนใหญ่ หลังจากนั้นก็มักจะเป็นการทำกิจกรรมเบา ๆ พักผ่อนสมอง ก่อนที่จะล้มตัวลงนอนหลับ อาหารมื้อดึกกว่านี้จึงจัดเป็นโทษต่อร่างกายเพราะแทนที่ร่างกายจะได้พักผ่อนและซ่อมแซมความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นมาตลอดวันแต่กลับต้องมาเสียเวลาและพลังงานเพื่อย่อยอาหารนับรวมแล้วร่างกายต้องอดอาหารกว่าจะถึงเช้าวันใหม่เป็นเวลาประมาณ 10-12 ชั่วโมง ร่างกายมนุษย์ประกอบไปด้วยเซลล์จำนวนมหาศาล ซึ่งทุกส่วนประกอบย่อย ๆ เล็ก ๆ ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเหล่านั้นล้วนต้องการน้ำตาลกลูโคสที่ได้จากกระบวนการเผาผลาญอาหารมาใช้เพื่อเป็นพลังงานให้การทำงานของอวัยวะทุกส่วนเป็นไปอย่างปกติ ซึ่งระดับน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดนั้นจะสูงสุดในช่วงระยะเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร ต่อจากนั้นก็จะเป็นหน้าที่ของตับและบรรดาฮอร์โมนเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด (counteregulatory hormone) ที่จะมาช่วยกันรักษาระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้ต่ำเกินไปจนเซลล์เกิดความเสียหาย รวมทั้งต้องเพียงพอต่อการทำงานของ 2 อวัยวะที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการมีชีวิตมนุษย์ซึ่งก็คือสมองและหัวใจ  รู้อย่างนี้แล้ว วันนี้คุณทานอาหารเช้ากันหรือยังคะ? บางคนก็เร่งรีบในการทำภาระกิจตอนเช้าเพื่อต้องรีบไปให้ถึงที่ทำงาน นอนดึกตื่นสายบ้างจนต้องข้ามอาหารเช้ามาทานบ่ายซะงั้น บ้างก็ต้องการลดหุ่นโดยการงดรับประทานอาหารเช้า หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่หารู้ไม่ว่าคุณกำลังทำร้ายตัวเองโดยไม่รู้ตัวเลยล่ะค่ะ การข้ามหรืองดอาหารเช้าไปถือว่าทำสิ่งที่ผิดพลาดอย่างรุนแรงเลยด้วย เมื่อก่อนก็เคยทำค่ะแต่เหตุผลของเราคือตอนเช้าๆมันไม่มีความรู้สึกหิวหรืออยากกินอะไรเลย เคยเป็นไหมคะ? และด้วยความที่ไม่รู้ว่ามันไม่ดีต่อสุขภาพของเราอย่างแรง และเป็นการทำร้ายตัวเองโดยตรงเลยด้วย จนต้องมารู้สึกกับตัวเองว่าเวลาไปเรียนหรือจะทำงานแล้วสมองมันตื้อๆ ไม่สดใสปรอดโปร่งเอาซะเลย และบางคนก็คงคิดล่ะสิว่าถ้าข้ามอาหารเช้าไปมื้อนึงแล้วคงไม่เป็นไรหรอกแถมยังจะช่วยลดน้ำหนักลงเสียอีก แต่คิดผิดถนัดเลยแหละค่ะ มันจะไปหนักอาหารมื้ออื่นโดยเฉพาะเจ้าอาหารมื้อเย็นนี่ตัวดีเลยจัดหนักจัดเต็ม นอกจากน้ำหนักไม่ลดแล้วเจ้ากรรมดันเพิ่มน้ำหนักเราขึันเสียอีกแหน่ะ!

ต่อไปนี้เราต้องจำไว้ให้ขึ้นใจเลยนะ * อาหารมื้อเช้าให้กินอย่างราชา อาหารมื้อกลางวัน ให้กินอย่างเศรษฐี อาหารมื้อเย็นให้กินอย่างยาจก หรือ อาหารมื้อเช้าบํารุงสมอง อาหารมื้อกลางวันบํารุงกําลัง อาหารมื้อเย็นบํารุงร่างกาย และเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการรับประทานอาหารมื้อเช้าคือ 7.00 – 9.00 น. เพราะเป็นช่วงเวลาที่กระเพาะอาหารของเราเริ่มทํางานนั่นเองค่ะ

กระทรวงสาธารณสุขได้ออกโรงเตือนคนที่งดอาหารเช้าเพราะต้องการลดน้ำหนัก ซึ่งพบมากในกลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน ว่าเป็นความเชื่อที่ผิดและก่อให้เกิดผลเสียตามมาเนื่องจากการงดอาหารเช้าจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำมีอารมณ์หงุดหงิด สมองตื้อ คิดอะไรไม่ออก เพราะสมองต้องการน้ำตาลกลูโคสหล่อเลี้ยงตลอดเวลาทำให้ไม่มีสมาธิในการเรียนหรือทำงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหรือการทำงานจะด้อยกว่าคนที่กินอาหารเช้าช่วงสายของวันจะรู้สึกหิวและหันมากินจุบกินจิบ ส่งผลให้น้ำหนักตัวขึ้นง่ายสำหรับเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นการได้รับอาหารเช้าที่เหมาะสมจะยิ่งมีความสำคัญเพราะอยู่ในวัยที่กำลังเจริญเติบโตจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตได้เต็มตามศักยภาพ

 

ทำไมต้องรับประทานอาหารเช้า?

1. ช่วยให้ความจำดี

มีการวิจัยพบว่า การรับประทานอาหารเช้ามีส่วนเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ การทำงานทำให้ระบบความจำทักษะการเรียนรู้ และอารมณ์ดีขึ้นด้วยค่ะ แต่หากใครไม่ทานอาหารเช้าจะมีสมาธิน้อยลงและสมองก็ทำงานได้ไม่เต็มที่

2. ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้

โดยคนที่รับประทานอาหารเช้าจะมีภาวะผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลิน หรือที่เรียกว่าภาวะดื้อต่ออินซูลินซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานนั้นลดลงถึง 35-50% เลยทีเดียวค่ะ

3. ช่วยในการควบคุมน้ำหนักได้

อาหารเช้าช่วยควบคุมโรคอ้วนและน้ำหนักได้เป็นอย่างดีค่ะ นั่นเพราะจากมื้อดึกจนถึงเช้าวันใหม่เราอดอาหารมานานเกือบ 12 ชั่วโมง และหากเรายิ่งไม่ทานอาหารเช้าเข้าไปอีกจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง จนไปเพิ่มแนวโน้มการรับประทานอาหารที่มีพลังงานและไขมันสูงในมื้อเที่ยงมากขึ้นและนี่ก็เป็นสาเหตุให้มีน้ำหนักเกินและโรคอ้วนได้อย่างไม่รู้ตัวอีกด้วยค่ะ

4. ลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคหัวใจ

ผลการวิจัยจากสมาคมแพทย์โรคหัวใจในอเมริกาเมื่อปี 2003 พบว่า การรับประทานอาหารเช้าอย่างสม่ำเสมออาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดสมองและโรคหัวใจได้ด้วย เพราะในตอนเช้าเลือดของเรามีความเข้มข้นสูงและทำให้เส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงสมอง หรือหัวใจอุดตันได้ แต่ถ้ารับประทานอาหารเช้าเข้าไปจะช่วยให้ระดับความเข้มข้นในเลือดเจือจางลงด้วยค่ะ

5. ช่วยลดโอกาสเกิดโรคนิ่ว

การไม่รับประทานอาหารนานกว่า 14 ชั่วโมงจะทำให้คอเลสเตอรอลในถุงน้ำดีจับตัวกันนาน หากนาน ๆ ไปสิ่งที่จับตัวกันนั้นจะกลายเป็นก้อนนิ่ว แต่หากเราทานอาหารเช้าเข้าไปล่ะก็ มันจะไปกระตุ้นให้ตับปล่อยน้ำดีออกมาละลายคอเลสเตอรอลที่จับตัวกันอยู่ได้ค่ะ

6. ช่วยพัฒนาสมอง

สำหรับเด็ก ๆ การอดอาหารเช้าเป็นประจำ อาจทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอส่งผลให้ร่างกายไม่แข็งแรง การเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์และยังส่งผลต่อสติปัญญา ทำให้ขาดสมาธิ ส่งผลเสียในระยะยาวอีกด้วยนะคะ

 

ผลเสียของการไม่รับประทานอาหารมื้อเช้า

  • การไม่รับประทานอาหารเช้านั้นร่างกายจะขาดสารอยู่สองตัวที่สำคัญ คือ แม็คนิเซียม และ ธาตุเหล็ก สารอาหารสองอย่างนี้จะไปเพิ่มการเผาผลานพลังงานได้ดีขึ้น เมื่อไม่มีสารสองอย่างนี้ก็ทำให้ขาดพลังงาน แม็คนิเซียม และธาตุเหล็กจะทำให้สารเคมีที่มีอยู่ในสมองทำงานได้ดี เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ทานอาหารเช้าจะทำให้เรา ขาดสมาธิ สมองเฉื่อยชา
  • ร่างกายขาดสารอาหารที่จําเป็นในการเสริมสร้างพลังงานและซ่อมแซมสิ่งที่ สึกหรอ ทําให้อวัยวะต่างๆไม่แข็งแรง
  • สมองไม่ได้รับสารอาหารเพียงพอ ทําให้ไอคิวต่ำ เฉื่อยชา ขาดความว่องไว ความจําไม่ดีขาดความ กระตือรือร้น
  • ถ้าไม่ได้รับประทานอาหารเช้าเป็นเวลานาน กระเพาะจะไม่แข็งแรง การขับถ่ายไม่ดี กล้ามเนื้อเหลว  ผิวเหี่ยวและคล้ำ แก่เร็ว ภูมิต้านทานลดลง ปวดหัว ปวดเข่า ความจําเสื่อม เป็นอัลไซเมอร์

 

นอกจากนั้นอาหารเช้ายังลดโรคด้วยนะจ๊ะ

การกินอาหารเช้าจะช่วยป้องกันโรคหัวใจและน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็นอาการเตือนของโรคเบาหวาน นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการอ่อนเพลียได้อีกด้วย สำหรับคนที่จะลดหุ่นโดยการงดอาหารเช้านี่ ผิดมหันต์เลยค่ะ แต่อาหารเช้าจะไปช่วยควบคุมโรคอ้วนและน้ำหนักต่างหากล่ะคะ ก็เพราะว่าจากมื้อดึกจนถึงเช้าวันใหม่ เราอดอาหารมานานเกือบ 12 ชั่วโมง และหากเรายิ่งไม่ทานอาหารเช้าเข้าไปอีก จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง จนไปเพิ่มแนวโน้มการรับประทานอาหารที่มีพลังงานและไขมันสูงในมื้อเที่ยงมากขึ้น และนี่ก็เป็นสาเหตุให้มีน้ำหนักเกินและโรคอ้วนได้อย่างไม่รู้ตัว

ถ้าต้องการให้ร่างกายได้ประโยชน์จากอาหารมื้อเช้ามากขึ้น ก็ควรพิจารณาเลือกชนิดอาหารที่มี คารโบไฮเดร์ต โปรตีน ธัญพืชไม่ขัดสี ธัญพืชไม่ขัดสี ผลไม้ อาหารทะเลให้กรดอะมิโน ไข่ อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามินบี และโคลีนช่วยการทํางานเกี่ยวกับความจํา แม้ไข่จะมีคลอเลสเตอรอลสูง แต่ไข่วันละฟองในมื้ออาหารที่สมดุลนนั้น ข้อมูลการวิจยเปิดเผยว่าไม่เป็นผลเสีย อาหารแคลเซียมสูง เช่น นมโยเกิร์ต นมถั่วเหลือง หรือธัญพืชเสริมแคลเซียม น้ำส้มช่วยในการเผาผลาญไขมันและลดการสะสมไขมันในร่างกาย

 

ส่วนคุณพ่อคุณแม่บางคนก็จะให้ลูกๆกินข้าวเช้าก่อนไปโรงเรียนกันใช่ไหมล่ะคะ เพราะการไม่กินอาหารเช้าจะทําให้ร่างกายขาดพลังงาน และจะมีผลต่อการเรียนรู้และความจำ ดังนั้นการกินอาหารเช้าจึงทําให้สมองทํางานได้ดีจะช่วยให้มีสมาธิในการเรียน สำหรับคนที่ไม่กินอาหารเช้าควรปรับพฤติกรรมใหม่หันมากินอาหารเช้ากันเถอะนะคะ เพื่อให้การทํางานในแต่ละวันมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทําให้การรับรู้และความจำดีขึ้นอีกด้วย เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเราควรมาใส่ใจกับมื้อเช้ากันค่ะ