Browse Tag: Vegetable

อาหารออร์แกนิก (Organic Food) คืออะไร

Source: Flickr (click image for link)

อาหารออร์แกนิก (Organic Food) จะเป็นที่รู้จักและนิยมเลือกมารับประทานกันในแวดวงคนที่รักสุขภาพโดยเฉพาะในต่างประเทศ ร้านค้าที่เรียกว่าซูปเปอร์มาร์เก็ตในต่างประเทศที่ไปทางไหนอาหารทุกอย่างเกือบทุกชนิดที่จะต้องมีอาหารประเภทออร์แกนิก และราคาก็จะแตกต่างจากอาหารชนิดเดียวกันที่ไม่ใช่ออร์แกนิกซึ่งอาหารที่เป็นออร์แกนิกจะมีราคาที่สูงกว่า และคนต่างประเทศค่อนข้างจริงจังที่จะเลือกซื้อหรือหยิบอาหารที่เป็นออร์แกนิกอยู่เสมอๆ ในบางคนถึงกับสงสัยว่าทำไมราคาถึงได้ต่างกันขนาดนี้นะในเมื่อชนิดของอาหารก็เป็นชนิดเดียวกันรูปร่างหน้าตาของอาหารก็เหมือนกัน ในปัจจุบันนี้ไม่ใช่แค่เพียงอาหารเท่านั้นที่เป็นอาหารออร์แกนิก ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันด้วยที่เป็นออร์แกนิกอย่างเช่น เครื่องปรุงอาหาร เป็นต้น นี่จึงเป็นเหตุจูงใจให้ผู้เขียนได้คลายความสงสัยเลยจึงอยากนำเอาข้อมูลมาแบ่งปันกันค่ะ ว่าแล้วอาหารออร์แกนิกที่ว่านี้มันคืออะไรกัน ทำไมถึงเป็นที่นิยมกันมากนักในพวกคนที่รักสุขภาพ ถ้าจะพูดไปสมัยนี้ใครๆ ก็หันมาใส่ใจในสุขภาพของตัวเองกันมากขึ้น และบางคนที่ยังไม่ทราบว่าอาหารออร์แกนิกคืออะไรอย่างแน่ชัดแต่เห็นคนอื่นบอกดีก็กินตามกันไป และก็เป็นเรื่องปกติซึ่งก็ไม่ผิดแต่อย่างใดค่ะ แค่อย่างน้อยอยากให้ตัวเราเองทราบข้อมูลที่แท้จริงไว้ซึ่งบางทีอาจจะสามารถนำข้อมูลไปบอกต่อคนอื่นๆ ได้อีกด้วย รู้อย่างนี้แล้วเราไปดูข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ อาหารออร์แกนิก กันเลยค่ะ

อาหารออร์แกนิก (Organic Food) คืออะไร

อาหารออร์แกนิก (Organic Food) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาหารเกษตรอินทรีย์ หรือ อาหารอินทรีย์ นั่นก็หมายความว่าอาหารออร์แกนิกที่ว่านี้คืออาหารที่ได้ผ่านกระบวนการผลิตจากทางเกษตรโดยที่ไร้หรือปลอดสารเคมีทุกชนิดคือไม่ใช้สารเคมีใดๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมีรวมถึงวัตถุสังเคราะห์ต่างๆ อีกทั้งยังรวมไปถึงไม่ทำการตัดต่อทางพันธุกรรมจากเมล็ดพันธุ์อีกด้วยค่ะ ซึ่งก็รวมไปถึงกระบวรการผลิตก็จะต้องไม่มีการใช้สารเคมีในการกำจัดพืชด้วย และก่อนที่จะเริ่มการปลูกก็จะต้องเตรียมหน้าดินด้วยวิธีธรรมชาติ หรือเรียกง่ายๆ ว่าทุกกระบวนการและขั้นตอนการผลิตนั้นจะต้องไม่มีหรือปลอดสารปนเปื้อนทั้งสิ้นไม่ว่าจะจากมนุษย์หรือจากโรงงานอุตสาหกรรม และจะไม่มีการฉายรังสีหรือเพิ่มเติมสารปรุงแต่งต่างๆ ลงไปในอาหารอีกด้วย แม้กระทั่งในขั้นตอนการเลี้ยงสัตว์จะต้องเลี้ยงสัตว์ด้วยอาหารที่มีสุขอนามัย ถ้าอาหารที่มาจากการทำปสุสัตว์ก็จะต้องไม่มีการใช้สารปฎิชีวภาพ ไม่ใช้สารที่เร่งฮอร์โมนด้วย จากการตั้งคำถามและสงสัยว่าทำไมอาหารออร์แกนิกหรือผลิตภัณฑ์ที่มีตราประทับว่าออร์แกนิก (Organic) ถึงได้มีราคาที่แตกต่างจากอาหารชนิดเดียวกันที่ไม่ใช่ออร์แกนิก ก็เนื่องจากสินค้าออร์แกนิกหรือผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกจะถูกแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ตามสัดส่วนของส่วนผสมและวัตถุดิบที่เกิดจากการเพาะปลูกด้วยกระบวนการออร์แกนิก โดยการควบคุมและการตรวจสอบมาตรฐานของหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับ นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคาของผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกมีราคาสูงกว่าทั่วไป ก็เพราะว่ามีต้นทุนการผลิตที่สูงและมีข้อจำกัดในด้านการควบคุมคุณภาพนั่นเองค่ะซึ่งมีอะไรบ้างนั้นกว่าจะมาเป็นอาหารประเภทออร์แกนิกได้นั้นต้องผ่านกระบวนการและขั้นตอนของอะไรบ้างมาดูกันค่ะ

  • ส่วนประกอบทุกอย่างต้องมาจากธรรมชาติ

ส่วนประกอบทุกอย่างในการที่จะประกอบอาหารประเภทออร์แกนิกนั้นจะต้องมาจากธรรมชาติทั้งหมด นั่นก็คือในขั้นตอนกระบวนการเพาะปลูกพืชและผักนั้นจะไม่มีการใช้สารสังเคราะห์ใดๆ ทั้งสิ้น เรียกได้ว่าจะต้องเป็นพืชผักที่ปลอดสารพิษจากสารเคมีซึ่งจะใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกจากธรรมชาติในการเพาะปลูกเท่านั้นค่ะ และรวมไปถึงเนื้อสัตว์ก็ต้องมาจากสัตว์ที่จะต้องถูกทำการเลี้ยงดูให้เติบโตสมบูรณ์อย่างอิสระตามธรรมชาติรวมถึงได้รับอาหารจากธรรมชาติ และจะไม่มีการใช้สารเร่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเร่งเนื้อ เร่งไข่ จะไม่มีการขุนหรือให้อาหารสังเคราะห์ใดๆ ต่อสัตว์ทั้งนั้นที่เป็นการทำให้สัตว์เหล่านั้นโตเร็วขึ้นเหมือนกับที่ในวงการอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ทำกัน ถึงจะเรียกได้ว่าผลผลิตเหล่านี้เป็นการสร้างอาหารแบบธรรมชาติ 100% ไม่มีสารพิษเจือปนค่ะ

  • ขั้นตอนขบวนการผลิตไม่ใช้สารเคมี

หากในอาหารมีส่วนประกอบจากการใช้สารเคมีร่วมด้วยนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นออร์แกนิก ซึ่งการไม่ใช้สารเคมีในที่นี้หมายถึง ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี สารกระตุ้นหรือสารเร่งการเจริญเติบโต โดยตามหลักมาตรฐานขององค์กรออร์แกนิกจะระบุรูปแบบอาหารออร์แกนิกไว้ 3 ระดับ คือ

1.100% Organic (ธรรมชาติ 100%)

2.Organic (ธรรมชาติ 95% ขึ้นไป ใช้สารสังเคราะห์เพียงเล็กน้อยเท่าที่จำเป็น)

3.Made with Organic Ingredient (ธรรมชาติ 70% ขึ้นไป ถ้าต่ำกว่านี้ไม่ถือว่าเป็น Organic)

ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์ถูกนำออกมาจำหน่ายนั้น ต้องมีป้ายบ่งบอกเปอร์เซ็นต์ลักษณะนี้ ซึ่งในต่างประเทศอย่างอเมริกา แคนาดา ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารออร์แกนิกค่อนข้างสูง โดยจะเป็น Organic 100% ซึ่งเทียบกับประเทศไทยแล้วเรายังไม่ค่อยเห็นความสำคัญในเรื่องนี้มากนัก แต่ก็เริ่มมีผู้บริโภคในกลุ่มคนรักสุขภาพหันมารับประทาน Organic Food มากขึ้น เพราะพิษภัยของสารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารและสิ่งแวดล้อม ทำให้ร่างกายของเรากลายเป็นแหล่งสะสมสารพิษและส่งผลให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บ ดังนั้น Organic Food จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคที่ห่วงใยในสุขภาพของตัวเอง

  • กระบวนการผลิตไม่ก่อให้เกิดมลพิษในสิ่งแวดล้อม

นอกจากส่วนผสมและขั้นตอนกระบวนการของการประกอบอาหารประเภทออร์แกนิกจะต้องปลอดสารพิษไร้สารเคมี โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพแล้วยังคำนึงถึงในขั้นตอนกระบวนการผลิตที่จะไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยพยายามลดมลพิษที่จะให้โทษต่อธรรมชาติ ซึ่งคงจะทราบกันดีว่าการใช้สารเคมีเช่น ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี จะส่งผลให้มีสารพิษตกค้างอยู่ในดิน น้ำ และอากาศ ดังนั้นวิธีการปลูกแบบธรรมชาติแบบนี้จึงเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม พูดง่ายๆ คือ ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมนั่นเองค่ะ

 

จะทราบได้อย่างไรว่าอาหารประเภทไหนเป็น “ออร์แกนิก”

Source: Flickr (click image for link)

ในส่วนของประเภทของอาหารออร์แกนิกที่พบว่ามีวางจำหน่ายมากที่สุดคือ ผักสด ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากธัญพืช เครื่องดื่ม เครื่องปรุงอาหาร และในรูปของขนมต่าง ๆ (เกือบ 58% ของสินค้าออร์แกนิกที่วางจำหน่ายเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งถ้าไม่นับรวมกับผักผลไม้สดที่ส่วนใหญ่จะผลิตในประเทศ สัดส่วนของสินค้าออร์แกนิกที่นำเข้าจากต่างประเทศจะสูงถึง 85%)

หลายคนอยากที่จะหันมาเลือกรับประทานอาหารประเภทออร์แกนิกกันมากขึ้นก็เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพนั่นเอง หรือใครที่กำลังอยากที่จะเริ่มต้นในการเลือกรับประทานอาหารประเภทออร์แกนิกอาจจะเกิดความสงสัยว่าต้องดูยังไงนะถึงจะรู้ว่าสินค้าหรืออาหารแบบไหนที่เป็นอาหารและสินค้าประเภทออร์แกนิก หรือแค่ติดป้ายว่าออร์แกนิก (Organic) ก็ใช่เลยหรือเปล่า? โดยเกือบ 91% ของสินค้าออร์แกนิกจะได้รับการรับรองมาตรฐาน และมีเพียง 9% เท่านั้นที่มีการกล่าวอ้างว่าเป็นสินค้าออร์แกนิกแต่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ซึ่งในสินค้าที่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานนั้นจะใช้ตราที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากต่างประเทศ โดยตรารับรองการเกษตรอินทรีย์ที่ใช้มากที่สุดคือ ตรารับรองของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA)  

โดย U.S. Department of Agriculture ตรารับรองอาหารและผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดคำว่า “Organic” ซึ่งใช้ได้เฉพาะกับสินค้าเกษตรและสัตว์น้ำที่จับได้จากแหล่งธรรมชาติที่มาจากการเพาะเลี้ยงและอาหารสำหรับเลี้ยงปศุสัตว์ ทั้งที่เป็นวัตถุดิบและที่ผ่านกระบวนการแล้ว ทั้งนี้รวมถึงผลิตภัณฑ์เกษตรที่นำมาใช้ในลักษณะที่เป็นเครื่องปรุง (Ingredient) ที่ได้รับการผลิตและการจัดการเป็นไปตามกฎระเบียบ USDA ที่กำหนดไว้ว่าแล้วเท่านั้น แต่จะมีเพียงส่วนน้อยที่ใช้เพียงมาตรฐานของประเทศไทย Organic Thailand หรือสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ค่ะ

 

https://www.flickr.com/photos/84906483@N08/7784187292/ 

https://www.flickr.com/photos/williamismael/5539135518/

16 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินเอสูง

Source: Flickr (click image for link)

วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา ร่างกายของเราสามารถสะสมวิตามินเอได้นานมากอาจนานได้ถึง 1 หรือ 2 ปี โดยเก็บไว้ในชั้นเซลล์ไขมัน ด้วยวิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันดังนั้นวิตามินเอจะถูกดูดซึมไปใช้ในร่างกายได้ดีที่สุดเมื่อกินร่วมกับอาหารที่มีน้ำมันหรือไขมันเป็นส่วนประกอบนั่นเองค่ะ และเมื่อร่างกายของเราใช้วิตามินเอไม่หมดก็จะถูกเก็บสะสมไว้ที่ตับ และวิตามินเอมีหน้าที่ช่วยในการมองเห็น การเจริญเติบโตของกระดูก การแบ่งตัวของเซลล์ การกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคซ่อมแซมผิวของตาและหลอดลมทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายยากขึ้น อีกทั้งวิตามินเอยังช่วยกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาวโดยเฉพาะ lymphocyte ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตได้อย่างปกติไม่ชะงักหรือหยุดการเจริญเติบโตก่อนวัย

วิตามินเอจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1.อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) หรือเรียกว่า Retinol ซึ่งได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา อาหารประเภทเนื้อ ไข่ ตับและเครื่องใน

2.กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือเรียกว่า เบต้า แคโรทีน (Beta-Carotene) เป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกายจึงได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ พบมากในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม

โดยร่ายกายคนเราต้องการวิตามินเอในแต่ละวันอยู่ที่วันละ 4,000-5,000 IU ซึ่งการได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอจะส่งผลต่อร่างกายของเราโดยเฉพาะดวงตา ผิวหนัง และระบบภูมิต้านทานโรค อีกทั้งยังช่วยป้องกันอาการเบื่ออาหาร (แต่ในทางกลับกันถ้าได้รับมากเกินไปก็จะมีผลตรงกันข้าม)

 

16 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินเอสูง

 

1.มันหวาน

มันหวานที่มีเนื้อข้างในออกสีเหลืองๆ ส้มๆ เวลาเอาไปนึ่ง ต้ม หรือเผา เมื่อนำมารับประทานจะมีรสชาติหวานมัน ของโปรดของใครหลายคนเลยล่ะค่ะ ซึ่งในมันหวานอุดมไปด้วยวิตามินเอที่ถือว่าอยู่สูงเป๋นอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ โดยมันหวานปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 19218 IU เลยล่ะค่ะ

 

2.ผักตำลึง

ผักที่หารับประทานง่ายๆ ตามบ้านเรือนอย่างผักตำลึงของเราก็ไม่แพ้ผักใดๆ ในโลกที่ให้วิตามินสูง ซึ่งผักตำลึงปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 18608 IU เลยล่ะค่ะ

 

3.แครอท

แครอทเป็นอีกหนึ่งชนิดของอาหารที่เป็นแหล่งวิตามินเอชั้นยอด ถ้านึกไม่ออกว่าจะเสริมวิตามินเอจากการรับประทานอาหารชนิดไหน เปิดตู้เย็นจัดแครอทมาทานกันได้เลยค่ะ ซึ่งแครอทปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 17033 IU

 

4.ตับวัว

วิตามินเอไม่ได้มีแค่ในผักหรือผลไม้เท่านั้นโดยมีอยู่ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์อย่าง ตับวัวอีกด้วย ซึ่งวิตามินเอที่อยู่ในตับวัวนั้นเป็นวิตามินเออยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) คือสามารถออกฤทธิ์ได้ทันที หรือเรียกว่า Retinol นั่นเองค่ะ ซึ่งตับวัวปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 13621 IU

 

5.ผักเคล (Kale)

ผักเคลเป็นผักคล้ายกับผักตระกูลเดียวกับผักคะน้าอีกทั้งรสชาติก็คล้ายคลึงกันอีกด้วย และกูถูกยกให้เป็นราชินีแห่งผักใบเขียวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและหนึ่งในสารอาหารที่มีอยู้สูงก็คือวิตามินเอค่ะ ผักเคลปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 13621 IU

 

6.ฟักทอง

ส่วนใหญ่หลายคนจะจำได้ว่าถ้าอยากบำรุงสายตาต้องกินฟักทองและนั่นก็ถูกค่ะ เนื่องจากฟักทองมีวิตามินเออยู่สูงนั่นเอ จะเห็นได้ว่าฟักทองปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 11155 IU

 

7.ผักกาดหวาน

ผักกาดหวานก็เป็นอีกผักใบเขียวที่มีวิตามินและเกลือแร่อยู่สูงค่ะซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีวิตามินอย่างวิตามินเอที่อยู่สูง ผักกาดหวานปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 8710 IU

 

8.เอพริคอตแห้ง

ผลเอพริคอตแห้งให้วิตามินที่สูงมากถ้าใครกำลังมองหาผลไม้แห้งทานเล่นแถมยังให้วิตามินเออีกก็อย่ามองข้ามผลไม้แห้งอย่างเอพริคอตแห้งนะคะ เอพริคอตแห้งปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 12669 IU

 

9.แคนตาลูป

ผลไม้ที่มีรสชาติหวานฉ่ำอย่างแคนตาลูปไม่ได้ให้แค่ความอร่อยสดชื่นอย่างเดียว กินแคนตาลูปไปปริมาณ 100 กรัม ก็จะได้วิตามินเอสูงถึง 3382 IU

 

10.พริกหวานสีแดง

พริกหวานที่เราเห็นกันบ่อยๆ จากการนำมาประกอบอาหารประเภทผัดโดยเฉพาะพริกหวานสีแดงที่มีวิตามินเออยู่ไม่ใช่น้อยเลยค่ะ โดยพริกหวานสีแดงปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 3131 IU

 

11.ปลาทูน่า

อาหารประเภทเนื้อสัตว์อีกหนึ่งชนิดอย่างปลาทูน่าก็มีวิตามินเอสูงซ่อนอยู่ค่ะ โดยปลาทูน่าปลาทูน่าปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 2520 IU

 

12.ผักปวยเล้ง

ผักใบสีเขียวเข้มอีกหนึ่งชนิดอย่างผักปวยเล้งที่มากประโยชน์ก็ให้วิตามินเอที่สูงปริ๊ดเช่นเดียวกันค่ะ ผักปวยเล้งปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินเออสูงถึง 2813 IU

 

13.มะม่วง

ที่บ้านเราดีหน่อยหารับประทานผักและผลไม้ง่ายเพราะเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อน ผลไม้ตามฤดูมีมากมาย โดยเฉพาะมะม่วงค่ะและมะม่วงปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเออยู่ 1082 IU

 

14.เนย

ในประเทศไทยโดยเฉำาพอาหารไทยไม่ค่อยนิยมใช้เนยมาเป็นส่วนประกอบ แต่จะมีซะมากคงเป็นขนมอบหรือเบเกอร์รี่ เนยก็ให้วิตามินเอได้ไม่น้อยเลยค่ะ ซึ่งเนยปริมาณเพียงแค่ 1 ช้อนโต๊ะ มีวิตามินเออยู่ถึง 1082 IU

 

15.บลอคโคลี่

พืชผักประเภทสีเขียวเข้มอย่างบลอคโคลี่ก็ถูกนับเป็นอาหารที่มีวิตามินเอสูงเช่นกัน ใครที่ชอบทานผักผลไม้อยู่แล้ว แค่เลือกรับประทานให้ถูนิดก็จะได้รับวิตามินเอที่เพียงพอแล้วค่ะ โดยบลอคโคลี่ดิบ ปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินเออยู่ 567 IU

 

16.ไข่

ไข่เป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีวิตามินเออยู่สูงด้วยเช่นกันค่ะ โดยไข่ปริมาณ 1 ลูกใหญ่ จะมีวิตามินเออยู่ถึง 302 IU

 

จะสังเกตุเห็นได้ว่าหน่วยปริมาณของวิตามินเอเป็น IU ซึ่งทำความเข้าใจได้ง่ายๆ ดังนี้

IU มาจาก International Unit และเรียกแบบย่อว่า I.U. เป็นหน่วยวัดมาตรฐานสากลซึ่งเป็นหน่วยที่ใช้อ้างอิงเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพสารออกฤทธิ์แต่ละชนิด เช่น เมื่อวิตามิน (vitamin) ออกฤทธิ์ในร่างกาย ซึ่งกำหนดโดย World Health Organization (WHO)

Vitamin A 1 I.U. = 0.3 microgram retinol.

                              = 0.6 microgram beta-carotene.

Vitamin C 1 I.U. = 50 microgram ascobic acid.

Vitamin D 1 I.U. = 0.025 micorgram cholecalciferol.

Vitamin E 1 I.U. = 0.666 milligram D-alpha-Tocopherol.

                              = 1 milligram DL-alpha-Tocopherol acetate.

 

 

www.flickr.com/photos/wwworks/28439880283/

สารพฤกษเคมี (Phytonutrients) คืออะไร

antioxidant-foods-1
Source: Flickr (click image for link)

วันนี้มีเรื่องราวข้อมูลที่น่าสนใจและด้วยตัวเองก็สนใจอยู่เหมือนกันมานำเสนอค่ะ ยังคงเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพอยู่เหมือนเดิม การดูแลสุขภาพให้ดีนั้นเป็นพื้นฐานของคนเราที่ต้องหมั่นดูแล แต่การจะรักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอๆ นั้นยากยิ่งกว่าอ่ะเนอะ ถ้าพูดถึงการดูแลสุขภาพแล้วก็คงไม่พ้นเรื่องการใส่ใจเรื่องของการเลือกรับประทานอาหาร อาหารชนิดไหนอะไรที่ว่าดีเราก็ตามเพื่อสุขภาพที่ดีทั้งผลไม้เอย ผักเอย ขาดไม่ได้นั่นคือปัจจัยสำคัญที่ไม่ว่าใครๆ ก็แนะนำกัน ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็จะทราบกันว่าเมื่อเรารับประทานผักและผลไม้ในทุกๆ วันแล้ว จะทำให้สุขภาพดีไม่ว่าจะเป็นวิตามินต่างๆ แร่ธาตุมากมายที่ช่วยให้สุขภาพเราดีขึ้น จริงๆ แล้วแค่พวกวิตามินและแร่ธาตุในผักผลไม้เท่านั้นหรือที่ช่วยให้เราแข็งแรง เอาล่ะ วันนี้มีข้อมูลมาเล่าสู่กันฟัง อาจจะทำให้เราได้เรียนรู้และรู้จักเพิ่มขึ้น ซึ่งในผักผลไม้ที่เราเลือหรับประทานนั้นมีสารที่สำคัญอยู่นอกเหนือจากวิตามินต่างๆ นั่นเองค่ะ และสารนั้นเรียกว่า ‘’สารพฤกษเคมี’’ แล้วสารที่ว่านี้มันคืออะไรล่ะ งั้นไปดูคำตอบกันเลยค่ะ

สารพฤกษเคมี (Phytonutrients) คืออะไร

สารพฤกษเคมี Phytochemical หรือ Phytonutrients (ไฟโตนิวเทรียนท์ ) คือ สารเคมีธรรมชาติหรือสารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบเฉพาะในพืชจำพวกผักผลไม้ โดยสารกลุ่มนี้อาจเป็นสารที่ทำให้พืชผักชนิดนั้นๆ มีสี กลิ่น หรือ รสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว อีกทั้งสารแต่ละตัวมีหน้าที่ต่างกันในกลไกของพืชและเป็นต้นกำเนิดของสีของผักผลไม้นั้นๆด้วยค่ะ สารพฤกษเคมีเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นสารที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ โดยสารพฤกษเคมีหลายชนิดมีฤทธิ์ต่อต้านส่งเสริมระบบภูมคุ้มกันและต้านการอักเสบตลอดจนมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ สารนี้จัดเป็นสารอาหารตามธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ จะต้องได้รับจากการบริโภคอาหารเท่านั้นค่ะ

โดยสารพฤกษเคมีสร้างประโยชน์ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

  • ต้านออกซิเดชั่น ทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ
  • ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับดีเอ็นเอ เป็นกลไกสำคัญ ที่ทำให้สารพฤกษเคมีลดการเกิดโรคมะเร็งได้
  • เพิ่มภูมิต้านทานโรค
  • ควบคุมการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน

การผสมผสานของสารต้านอนุมูลอิสระที่พบในผักและผลไม้ชนิดต่างๆหลากชนิดจะให้คุณภาพการต้านอนุมูลอิสระที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากแหล่งอาหารเพียงแหล่งเดียว สมัยนี้คนไทยเราส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยรับประทานผักผลไม้กันมากนักหรือรับประทานในปริมาณที่ไม่เพียงพอในแต่ละวัน ซึ่งผักและผลไม้นั้นถือว่าเป็นแหล่งที่ดีที่สุดของสารต้านอนุมูลอิสระ เมื่อรับประทานไม่เพียงพอก็อาจจะมีสารต้านอนุมูลอิสระในระดับที่ต่ำ ดังนั้นการบริโภคผักและผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน จะช่วยให้ประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระเพียงพอในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้นั่นเองค่ะ

ประเภทของสารพฤกษเคมี มีดังนี้

สารพฤกษเคมีที่ถูกค้นพบและนำมาใช้ประโยชน์แล้วนั้นมีมากกว่า 25,000 ชนิด ทั้งยังไม่มีการศึกษาค้นพบอีกเป็นจำนวนมากค่ะ ด้วยสารพฤกษเคมีนั้นมีหลายชนิดและแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ดังนั้นจึงจำแนกสารพฤกษเคมีคร่าวๆ ที่พบได้บ่อยดังต่อไปนี้ค่ะ

1.แคโรทีนอยด์ (Carotenoids)  

2.กลูโคไซโนเลท (Glucosinolate), ไอโซโธโอไซยาเนท (Isothiocynate))

3.โพลีฟินอล (Polyphenols) : ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) , แอนโธไซยานินส์ (Anthocyanins) , ไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoids)

4.ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogens)

5.ซาโปนินส์ (Saponins)

6.เฟนโนลิก (Phenolics), สารประกอบซีสติก (Cystic Compound)

7.ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol)

8.ซัลไฟด์ (Sulfide) และไธออล (Thiols)

 

healthy-drink-1
Source: Flickr (click image for link)

Phytonutrients (ไฟโตนิวเทรียนท์ ) ที่พบในผักและผลไม้ นั้นมีอะไรบ้าง

เมล็ดองุ่น ฟักทอง มะเขือเทศ บลอคโคลี่ กระเทียม ส้ม มะม่วงสุก มะละกอสุก ข้าวโพด ผักปวยเล้ง ผักโขม มิกซ์เบอร์รี่ แครอท ชาเขียว เมล็ดกาแฟ ธัญพืช ถั่วต่างๆ พริก ผักตำลึง มะกอก เป็นต้น

 

ประโยชน์ของสารพฤกษเคมี

– ทำให้พืชผักมีสี กลิ่น และรสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะ

– มีฤทธิ์ทางชีวภาพอาจต่อต้านหรือป้องกันโรคบางชนิดได้

– ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ DNA

– เป็นกลไกลที่สำคัญในการลดการเกิดมะเร็งได้

– ทำให้ร่างกายทำงานประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ

– ช่วยกำจัดสารพิษ

– ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ ควบคุมการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน

 

 

www.flickr.com/photos/usdagov/8455814259/

www.flickr.com/photos/143951935@N07/27976911001/

แมงกานีส คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

green-vegetable-1
Source: Flickr (click image for link)

มงกานีส (Manganese) เป็นอีกหนึ่งแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อร่างกายไม่แพ้แร่ธาตุตัวอื่นๆค่ะ และที่สำคัญก็คือร่างกายของเราไม่สามารถขาดได้ด้วยเช่นกัน จะพบมากในส่วนของโครงกระดูก ตับ ตับอ่อน หัวใจและต่อมพิทูอิทารี่ แมงกานีสจะช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมโดยประโยชน์หลักๆของแร่ธาตุชนิดนี้ก็คือ จะไปช่วยในเรื่องของการตอบสนองของกล้ามเนื้อการยืดตัวหดตัวดี ช่วยทำให้ไม่ปวดหลังและทำให้ร่างกายสดชื่นมีความจำที่ดีและอื่นๆอีกมากมาย แมงกานีส มีความจำเป็นต่อการสังเคราะห์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันในกระดูกและกระดูกอ่อน แมงกานีสจะมีส่วนที่คล้ายกับแมกนีเซียม คือ สารอาหารชนิดนี้จะมีการสูญเสียระหว่างกระบวนการดัดแปลงทางอาหาร เช่น เมื่อธัญพืชถูกเปลี่ยนเป็นแป้งขัดขาวจากการศึกษาวิจัยพบว่าผู้หญิงที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะมีระดับแมงกานีสต่ำในระดับเพียงแค่ 25% ของกลุ่มทดสอบที่มีการควบคุมการได้รับสารอาหารนั่นเอง

 

เกี่ยวกับแมงกานีส หรือ Manganese

  • แมงกานีส เป็นแร่ธาตุ ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายของคนเราและไม่สามารถขาดได้
  • แมงกานีส เป็นแร่ธาตุที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง
  • แมงกานีส พบมาในส่วนของโครงกระดูก ตับ ตับอ่อน หัวใจ
  • แมงกานีส ส่วนใหญ่จะสูญเสียไประหว่างกระบวนการปรุงอาหาร และส่วนเกินจะออกผ่านทางน้ำดีแล้วขับออกทางอุจจาระ
  • แมงกานีส มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด คือ ช่วยในการเผาผลาญโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ช่วยลดการเกิดไขมันสะสมในร่างกาย
  • แมงกานีส ช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมเพราะอย่างนี้ในคนที่ร่างกายขาดแมงกานีส จะทำให้หลงลืมได้ง่าย ความจำจะสั้นกว่าคนปกติ
  • แมงกานีส แหล่งของอาหารตามธรรมชาติได้มาจาก พืชผัก ผลไม้และเมล็ดผลไม้(เปลือกแข็ง)
  • แมงกานีส  พบมากในผักใบเขียว ธัญพืช ถั่วลิสง ถั่วลันเตา หัวบีต เม็ดมะม่วงหิมพานต์ นม เนย ไข่ เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ตับสัตว์ ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวไรน์ มะพร้าว คะน้า กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี กล้วย สับปะรด ข้าวเจ้า แห้ว แครอท หัวปลี เมล็ดอัลมอนด์ เมล็ดทานตะวัน องุ่น มะกอก ส้ม เชอรี่ แอปเปิ้ล อะโวคาโด แอพริคอท มะตูม มะขวิด กระจับ
  • แมงกานีส ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง และกระดูกพร้อมทั้งรักษาให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์
  • แมงกานีส กระตุ้นให้ตับเก็บน้ำตาลในรูปของ Glycogen
  • แมงกานีส มีความสำคัญในการผลิตน้ำนมในผู้หญิงตั้งครรภ์ และการสร้างยูเรียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปัสสาวะ
  • แมงกานีส เป็นตัวสำคัญที่ช่วยในการสังเคราะห์ทางเคมีของต่อมไทรอยด์ขับไทรอกซินและช่วยในการใช้โคลีน
  • แมงกานีส ช่วยในการสังเคราะห์กรดไขมัน และ คอเลสเตอรอล
  • แมงกานีส ช่วยให้ความจำดีขึ้น ลดอาการหงุดหงิดง่าย
  • แมงกานีส ถ้าได้รับประทานแมงกานีสอย่างพอเพียงโรคลมบ้าหมูก็สามารถมีอาการดีขึ้นได้
  • แมงกานีส มีความสำคัญต่อกระบวนการย่อยและนำสารอาหารมาใช้ให้เป็นประโยชน์
  • แมงกานีส มีความสำคัญต่อการสร้างไทรอกซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักของต่อมไทรอยด์

 

 

ประโยชน์ของแมงกานีส (Manganese)

 

แมงกานีสช่วยควบคุมการทำงานของเอนไซม์ คือช่วยในการเผาผลาญโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ช่วยลดการเกิดไขมันสะสมในร่างกาย และช่วยกระตุ้นเอนไซม์ที่จำเป็นต่อกระบวนการนำไบโอติน วิตามินบี1 และวิตามินซี มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

 

ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ซึ่งแมงกานีสมีความจำเป็นต่อโครงสร้างของกระดูก

 

ช่วยในการทำงานของอินซูลิน โดยการขาดแมงกานีสจะทำให้อินซูลินลดประสิทธิภาพน้อยลง

 

แมงกานีสช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต คือช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ให้ทำงานตามปกติและช่วยขับฮอร์โมนเพศสำหรับวัยเจริญพันธ์ุ

 

ช่วยเรื่องการทำงานของสมองระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อ โดยจะไปควบคุมสุขภาพและการทำงานของสมองระบบประสาท และระบบกล้ามเนื้อให้มีประสิทธิการสั่งงาน่่และมีความสัมพันธ์กัและมีส่วนช่วยในกระบวนการตอบสนองของกล้ามเนื้อด้วยค่ะ

 

 

ปริมาณของแมงกานีสที่ร่างกายควรจะได้รับต่อวัน

โดยสถาบันวิจัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำปริมาณแมงกานีสที่ควรได้รับต่อวันคือประมาณ 2-5 มิลลิกรัมต่อวัน

หากร่างกายมีแมงกานีสไม่เพียงพอ คนที่ร่างกายขาดแมงกานีสจะทำให้หลงลืมได้ง่ายความจำจะสั้นกว่าคนปกติ นอกจากนั้นยังมีอาการปวดหลังและข้อกระดูกสันหลังเสื่อมเร็วกว่าคนที่ร่างกายไม่ขาดแมงกานีส

หากร่างกายได้รับแมงกานีสมากเกินไป ส่วนใหญ่แล้วจะได้รับเข้ามาจากทางของการสัมผัสมากกว่าที่จะได้จากการรับประทานอาหาร เพราะฉะนั้นหากเราได้สัมผัสไม่ว่าจะจากการสูดดมหรือ ทำอะไรที่เกี่ยวกับแมงกานีสโดยตรงก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้รับแมงกานีสที่มากเกินไปหรือมีอาการจากการได้รับมากเกินไป และถ้าเกิดว่าแมงกานีสมีอยู่ในร่างกายมาเกินไปจากการที่เราสัมผัสโดยตรงก็อาจจะทำให้มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท และมีอาการสั่นคล้ายกับโรคพาร์กินสันหรือโรคสันนิบาตนั่นเองค่ะ

 

www.flickr.com/photos/chodhound/5540012574/