Browse Tag: Vitamins

16 ชนิดของอาหารที่ช่วยขับสารพิษจากมลพิษทางอากาศ

bar chart

Image © michael davis-burchat (License CC BY-ND 2.0)

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสภาพอากาศของประเทศไทยที่ปกคลุมไปด้วยมลพิษของฝุ่นที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพเรานั้น ได้มีผลกระทบส่งผลให้เห็นได้อย่างชัดเจนเบื้องต้นเลยคือ อาการเจ็บคอ ไอ จาม และก็มีอาการเจ็บป่วยตามมา ถึงแม้เราจะสัมผัสไม่ได้เลยทำให้ชะล่าใจว่า ‘’คงไม่เป็นอะไรหรอกมั้ง’’ หรือ ‘’ไม่เห็นจะมีอะไรเลย’’ ก็ตาม จนกระทั่งรวมไปถึงการไม่ป้องกันตัวเองเอาเสียเลย เดินตัวปลิวท่ามกลางมลพิษ สูดดมเอามลพิษเข้าไปเต็มปอด ไม่ทำการสวมแมสป้องกันแต่อย่างใด กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ต่อเมื่อเกิดผลกระทบและมีอาการต่างๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้น ทางบล็อกของเรามีความห่วงใยและใส่ใจต่อผู้อ่านอันเป็นที่รักที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในเขตที่มีมลพิษปกคลุมอย่างหนักหน่วง จึงได้ทำการค้นหาข้อมูลวิธีการดูแลตัวเองจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนี้มาฝากค่ะ เราต่างก็คงจะทราบกันดีแล้วนะคะว่ามลพิษทางอากาศนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราได้ โดยที่พิษชนิดต่างๆ เหล่านั้นเมื่อเข้าสู่ร่างกายของเราก็จะไปทำการสะสม ซึ่งพิษเป็นสารพิษที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตหรือเซลล์ที่มีชีวิต เมื่อสารพิษได้ตกค้างและสะสมอยู่ในร่างกายของเรามันก็จะกลายสภาพเป็นรูปแบบของโรค โดยเป็นการเชื่อมโยงระหว่างร่างกายและจิตใจ ร่างกายของคนเราเป็นส่วนสำคัญในการทำงานของสมองของเรา ซึ่งร่างกายของคนเราเนี่ยจำเป็นต้องล้างพิษเป็นประจำเพื่อการเผาผลาญอาหารได้ดีและเร็วขึ้น เพราะฉะนั้นการรักษาร่างกายของเราให้ปลอดจากสารพิษและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาคุณภาพของชีวิตเพื่อให้มีสุขภาพดีไม่เจ็บไม่ป่วยนั่นเองค่ะ

ทราบกันหรือไม่คะว่ามลพิษทางอากาศก่อให้เกิดความเจ็บป่วยได้อย่างไร ?

คำตอบก็คือ เมื่อคุณหายใจในอากาศที่ไม่ว่าจะมีมลพิษฝุ่นละอองหรือมลพิษอื่นๆ ซึ่งมลพิษเหล่านั้นก็จะแทรกซึมเข้าไปในร่างกายและทำให้เยื่อบุของหลอดลมและปอดพองตัว ซึ่งสิ่งนี้แหละจะนำไปสู่โรคทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ มะเร็งปอด โรคหอบหืด หายใจดังเสียงฮืดๆ ไอ และหายใจลำบาก หากคุณมีภาวะหัวใจและทางเดินหายใจใดๆ ที่มีอยู่แล้วอาการเหล่านี้ก็จะยิ่งแย่ลงที่มาจากการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศนั่นเองค่ะ ถึงแม้ว่าเหตุการณ์เหล่านี้จะไม่ใช่เรื่องปกติทีจะเกิดขึ้นบ่อยในประเทศไทยเรา จนทำให้บางท่านก็คิดว่ามันคงจะไม่สำคัญอะไรไม่ได้จำเป็นหรืออันตรายใดๆ เพราะว่ามันจับต้องหรือสัมผัสโดยตรงไม่ได้ แต่ยังไงก็อย่าลืมติดตามข่าวสารและเช็คระดับอันตรายของฝุ่นไว้ด้วยก็ดีนะคะการป้องกันไว้ก่อนซึ่งดีกว่าต้องมาตามแก้ทีหลังเมื่อมันเกิดขึ้นหรือลุกลามค่ะ เอาล่ะเราอย่าได้รอช้ากันเลยค่ะในเมื่อเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้และยังจะต้องใช้ชีวิตอยู่ในเมืองที่เต็มไปด้วยมลพิษนี้อยู่ งั้นเราก็ควรรู้จักการป้องกันและดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่ดีนอกจากป้องกันภายนอกจากการใส่แมสปิดจมูกไว้แล้ว การเลือกรับประทานอาหารเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศก็สำคัญยิ่งค่ะ โดยพบว่าอาหารบางชนิดที่อุดมไปด้วยวิตามินซีและอี สามารถช่วยทำความสะอาดระบบในร่างกาย โดยเฉพาะทางเดินหายใจ เนื่องจากอาหารเหล่านี้อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและมีคุณสมบัติต้านการอักเสบนั่นเองค่ะ

 

16 ชนิดของอาหารที่ช่วยขับสารพิษจากมลพิษทางอากาศ

Street Food

Image © David Guyler (License CC BY 2.0)

1.น้ำเปล่า

น้ำเปล่า หรือน้ำดื่มที่ถือเป็นแหล่งของอาหารที่ดีที่สุดเลยก็ว่าได้ค่ะ โดยเฉพาะในเรื่องของการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายของเรา เนื่องจากน้ำจะเป็นส่วนประกอบของร่างกายของเราแล้วน้ำยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกอวัยวะส่วนของร่างกายอีกเช่นกันค่ะ โดยที่น้ำจะไปทำการช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายและช่วยให้ร่างกายสดชื่นผิวหนังมีความชุ่มชื้น โดยเฉพาะสภาวะอย่างนี้เรายิ่งควรจะดื่มน้ำเปล่าบ่อยๆ ซึ่งควรจะดื่มน้ำอย่างน้อย 3 ลิตรต่อวัน ถ้าใครที่ไม่ชอบดื่มน้ำทุกวันก็อาจจะส่งผลทำให้ไตทำงานหนักเกินไปและก็อาจจะนำไปสู่โรคไตได้อีกด้วยค่ะ

 

2.บรอคโคลี่

พบว่าในบรอคโคลี่สีเขียวเข้มนี้มีสารซัลโฟราเฟนที่เป็นสารประกอบที่ต่อต้านการก่อให้เกิดมะเร็งและจะไปช่วยขับสารพิษที่เกี่ยวข้องกับโอโซนและมลพิษจากฝุ่นละอองออกจากร่างกาย นอกจากการกินบรอคโคลี่แล้วผักตระกูลกะหล่ำอื่นๆ ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคความเสื่อมได้โดยเฉพาะมะเร็งค่ะ

 

3.อะโวคาโด
การลดลงของระดับวิตามินอีในร่างกายมนุษย์นั้นจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยของสภาพปอด เช่นโรคหอบหืด ดังนั้นการบริโภคอาหารจำพวก อะโวคาโดหรือผักโขม ที่มีวิตามินอีสูงจะสามารถช่วยในการรับมือจากผลกระทบของมลพิษที่มากจากฝุ่นได้ค่ะ

 

4.กระเทียม

ใครจะรู้ว่ากระเทียมนี่แหละเป็นแหล่งของกำมะถันที่มีประโยชน์ต่อสภาพผิวอีกทั้งยังทำให้เส้นผมของเราเงางามอีกด้วย นอกจากนั้นกระเทียมยังช่วยขับล้างพิษที่ตกค้างอยู่ในร่างกายของเรา ดังนั้นอย่าลืมนำกระเทียมมาปรุงในอาหารแต่ละมื้อของคุณล่ะ!

 

5.ขมิ้น
ขมิ้นเป็นเครื่องเทศที่นิยมใช้นำมาปรุงอาหารและยาในปัจจุบัน ซึ่งขมิ้นเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบที่สามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งและขับล้างสารพิษจากตับได้เป็นอย่างดีค่ะ

 

6.หัวหอม
โชคดีที่บ้านเรานั้นมีหัวหอมในการประกอบอาหารหลายอย่างค่ะ โดยหัวหอมจะเต็มไปด้วยกรดอะมิโนที่มีกำมะถันซึ่งมีประสิทธิภาพดีต่อการขับสารพิษออกจากตับค่ะ หัวหอมดิบให้ประโยชน์ด้านสุขภาพมากที่สุดและต้นหอมดิบก็อร่อยเมื่อรับประทานเป็นผักแนบเคียงค่ะ

 

7.บีทรูท
บีทรูทสีแดงที่นิยมใส่ในจานสลัดหรือผสมในน้ำผลไม้ปั่นนั้น ใครจะรู้ว่าบีทรูทมีสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยในการบำรุงตับได้ดีอีกด้วย นอกจากนี้หัวบีทยังช่วยกำจัดสารพิษ อนุมูลอิสระ และช่วยต่อต้านมะเร็งในร่างกายได้อีกด้วยค่ะ

 

8.ขิง
ที่บ้านเรานำขิงมาประกอบอาหารค่อนข้างหลากหลายค่ะ และขิงก็มีคุณสมบัติที่ช่วยในการสมานแผลและใช้เป็นยา การดื่มน้ำขิงหรือรับประทานอาหารที่มีขิงเป็นส่วนประกอบนั้นจะช่วยในการซ่อมแซมการทำงานของตับให้ดีขึ้นค่ะ

 

9.น้ำมันมะกอก
การรับประทานน้ำมันมะกอกเพื่อให้ได้รับประโยชน์ต่อสุขภาพที่ดีที่สุดนั้น คือการโรยลงไปในสลัดจานโปรดนั่นเอง เพราะถ้าน้ำมันมะกอกผ่านความร้อนนั้นจะทำให้เปลี่ยนองค์ประกอบทางเคมีและสูญเสียคุณสมบัติด้านสุขภาพไปค่ะ ซึ่งสาร Alpha-tocopherol วิตามินอีที่มีอยู่ในน้ำมันมะกอกจะช่วยเพิ่มการทำงานของปอดได้ดี กรดไขมันที่มีอยู่ในน้ำมันมะกอกยังมีประโยชน์ในการลดการอักเสบอีกด้วยค่ะ

 

10.มะเขือเทศ
อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่าในมะเขือเทศลูกกลมๆ สีแดงสดนี้มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่าไลโคปีนที่สูงมาก ซึ่งสารไลโคปีนที่ว่านี้สามารถช่วยป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจของเราได้เป็นอย่างดีเยี่ยมเลยแหละ

 

11.Flaxseed
เมล็ดแฟลก (Flaxseed) มี phytoestrogens และกรดไขมันโอเมก้า 3 ในระดับสูง ไฟโตเอสโทรเจนมีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดอาการของโรคหอบหืดและอาการแพ้อื่นๆ สามารถเพิ่มลงในสลัดหรือแซนวิสในตอนเช้าก็เป็นอีกทางเลือกค่ะ

 

12.มะนาว
มะนาวเป็นแหล่งที่ดีที่สุดของวิตามินซี ซึ่งสามารถช่วยในการย่อยอาหารและยังเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระช่วยในการขับล้างสารพิษในร่างกาย จะบีบมะนาวผสมน้ำอุ่นๆ แล้วดื่มก่อนนอนก็ไม่เลวนะคะ

 

13.โหระพา
พืชผักอย่างโหระพาที่มีใบสีเขียวมีกลิ่นเฉพาะนั้นจัดเป็นสมุนไพรชั้นดีที่มีคุณสมบัติต่อต้านแบคทีเรีย และมีสารต้านอนุมูลอิสระเต็มรูปแบบในการปกป้องตับ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งของอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอีกด้วย แค่เพียงรับประทานวันละสี่หรือห้าใบต่อวันนั้นก็เพียงพอต่อการซ่อมแซมระบบภูมิคุ้มกันเราได้แล้วค่ะ

 

14.แอปเปิ้ล
แอปเปิ้ลนั้นอุดมไปด้วยไฟเบอร์และวิตามินเอ ซึ่งช่วยในการชำระล้างสารพิษในร่างกายของเรา การเลือกรับประทานแอปเปิ้ลสักผลในตอนเช้ายังทำให้สดชื่นไม่หนักท้องแถมดีต่อสุขภาพอีกด้วย


15.ไวน์ขาว
ไวน์ที่ทำจากผลองุ่นจะมีสารต้านอนุมูลอิสระในระดับสูงมาก พบว่าการดื่มไวนนั้นดีต่อระบบทางเดินหายใจและสุขภาพของหัวใจนั่นเอง

 

16.ผักชี
ผักชีสามารถช่วยในการย่อยอาหารและรักษาระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับที่ปกติ ดังนั้นอาหารมื้อต่อไปอย่าลืมโรยหน้าด้วยผักชีบ้างนะคะ 😉

 

ทุกวันนี้มีปัจจัยหลายอย่างรอบตัวที่รบกวนสภาวะจิตใจและสภาวะร่างกายให้บอบช้ำ สูญเสียจากการสะสมของมลพิษทางสภาวะแวดล้อมต่างๆ ก็ยิ่งทำให้สุขภาพของเราย่ำแย่ลงไปทุกวัน ถ้าไม่มีการบำรุงแก้ไขหรือป้องกันก็อาจจะทำให้แย่ลงได้ การเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องนั้นก็สามารถช่วยบำรุง ซ่อมแซม ก็สามารถช่วยให้เราไกลจากโรคภัยไข้เจ็บได้ค่ะ ถึงแม้จะเป็นเรื่องไม่ไกลตัวแต่ก็ไม่อยากให้มองข้ามกันนะคะ

 

ไขมัน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

oil-1
Source: Flickr (click image for link)

ไขมัน (Fat) คือ สารประกอบหลายชนิดซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือ ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์แต่ไม่ละลายน้ำ คำว่าไขมัน (fat) ทางเคมีอาหาร นั้นหมายถึง ลิพิด (lipid) ประเภทไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ที่มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้องขณะที่ น้ำมัน (oil) เป็นไตรกลีเซอไรด์ที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง คำว่าไขมัน (fat) และน้ำมัน (oil) มักใช้แทนกันหรือใช้คู่กัน โดยทั่วไป “น้ำมัน” ใช้กับไขมันที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง “ไขมัน” หมายถึง ไขมันที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง “ลิพิด” หมายรวมไขมันทั้งที่เป็นของเหลวและของแข็งตลอดจนสสารที่เกี่ยวข้องอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ในบริบททางการแพทย์หรือชีวเคมี ดังนั้น กรดไขมัน (fatty acid) ที่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ในไขมัน (fat) จึงเป็นกรดไขมันที่มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าอุณหภูมิห้อง ได้แก่ กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) ขณะที่น้ำมัน (oil) มีองค์ประกอบหลักคือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) ซึ่งมีจุดหลอมเหลวต่ำค่ะ ส่วนไขมันในทางโภชนาการนั้นหมายถึงสารอาหาร (nutrient) ที่ให้พลังงาน และก็มีส่วนประกอบหลักคือไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) โดยไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี (Kcalorie) ในขณะที่โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี ค่ะ

ไขมัน (fat) ที่ใช้ในอาหาร ได้แก่ ไขมันจากสัตว์ รวมทั้งน้ำมันพืช (vegetable oil) ที่ผ่านกระบวนการ hydrogenation เพื่อทำให้มีสถานะเป็นของแข็ง ได้แก่ เนย (butter), เนยโกโก้ (cocoa butter) และเนยโกโก้เทียม (cocoa butter equivalent), ไขมันวัว (tallow), ไขมันหมู (lard), ไขมันจากไก่ (schmaltz), มาร์การีน (margarine) หรือ เนยขาว (shortening) เป็นต้น

 

เกี่ยวกับไขมัน (Fat)

อาหารที่เราบริโภคทุกวันนี้ มีสารอาหารที่เป็นประกอบที่สำคัญคือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรทและไขมัน ไขมัน (Lipids) เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานมากที่สุดคือประมาณ 9 แคลอรี่ต่อ 1 กรัม ไขมันมีในอาหารทั่วไปทั้งในพืชและเนื้อสัตว์จะมากน้อยตามชนิดของอาหารแตกต่างกันไป ไขมันยังมีส่วนสำคัญในด้านเนื้อสัมผัส, กลิ่นรส, ความชุ่มเนื้อและรสชาติของอาหารอีกด้วย และเนื่องจากร่างกายของเราย่อยไขมันได้ช้ากว่าสารอาหารชนิดอื่น เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมันจึงทำให้เรารู้สึกอิ่ม หลังจากที่ได้รับอาหารเข้าไปในประมาณที่เพียงพอแล้ว

ไขมัน (LIPIDS) แบ่งตามวิทยาศาสตร์เคมีได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)และฟอสโฟไลปิดส์ (Phospholipids) และอื่นๆ อีกที่ไม่ค่อยสำคัญมากแต่ที่เรามักจะได้ยินคุ้นหูจากแพทย์บ่อยๆ ก็คือคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งแพทย์จะบอกแก่คนไข้ว่า ตรวจไขมันในเลือดให้นั้นก็คือ การตรวจค่าของทั้งสองชนิดนั่นเอง

คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อใช้ในการสร้างฮอร์โมน วิตามินอี และกรดน้ำดีซึ่งช่วยย่อยอาหาร ถ้าร่างกายมีคอเลสเตอรอลสูงเกินกว่าปกติ (มากกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ก็จะก่อให้เกิดผลเสียจากการที่คอเลสเตอรอลไปพอกตามผนังหลอดเลือดแดงทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย เป็นต้น เราจะพบคอเลสเตอรอลเฉพาะในสัตว์ และพบมากในอาหารที่มาจากเครื่องในสัตว์รวมทั้งไข่แดง

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) คือ ไขมันและน้ำมันที่ได้จากพืชและสัตว์มีสารประกอบส่วนใหญ่เป็นไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้ไตรกลีเซอไรด์ยังเกิดขึ้นได้จากกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท เช่น น้ำตาล ดังนั้นถ้าหากรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรทในปริมาณที่มากเกินไปจะมีผลทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ค่าปกติของไตรกลีเซอไรด์ควรอยู่ระหว่าง 35-160 mg/dl

ฟอสโฟลิปิด (Phospholipid) เป็นไขมันที่มีคุณสมบัติละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน

เรามาทำความเข้าใจกับโครงสร้างอย่างง่ายๆ ของกรดไขมันกันก่อน คือกรดไขมันจะประกอบด้วยธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน ซึ่งโมเลกุลของธาตุทั้งสามนี้ จะเกาะกันเป็นลูกโซ่มากน้อยตามแต่ละชนิด ซึ่งมีประมาณ 40 ชนิด

ไขมันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1.กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated Fatty Acids) คือเป็นไขมันเต็มตัวแล้ว คือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจนจับกันเป็นลูกโซ่โดยสมบูรณ์ และไม่มีช่องว่างเหลือที่จะทำปฏิกิริยากับสารใดๆ ในร่างกายได้ ดังนั้น ไขมันชนิดนี้จะอยู่ในรูปของแข็งในอุณหภูมิปกติ ไขมันจำพวกนี้จะพบมากใน ไขมันสัตว์ เช่น เนื้อหมู วัว และไขมันจากกะทิ มะพร้าว เนย ไข่แดงและอื่นๆไขมันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

2.กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fatty Acids) คือไขมันที่ธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจนจับกันยังไม่สมบูรณ์ นั่นคือ ยังมีช่องว่างในลูกโซ่เหลืออยู่และพร้อมที่จะทำปฏิกิริยาและจับกับสารอื่นๆ ในร่างกายได้และพร้อมจะเปลี่ยนแปรสภาพเป็นสารอื่นๆ ได้ พบมากในน้ำมันปลาแซลมอน น้ำมันเมล็ดพันธุ์บอเรจ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส น้ำมันจมูกข้าวสาลีและอื่นๆ ซี่งกรดไขมันไม่อิ่มตัวแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ไขมันชนิดนี้แทบไม่มีบทบาทอะไรกับปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา เป็นต้น
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง กรดไขมันชนิดนี้สำคัญต่อร่างกายมาก ช่วยในการทำงานของอวัยวะสำคัญในร่างกาย มีลักษณะเหลวแม้ในอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่ได้จากพืชและสัตว์น้ำบางชนิด เช่น น้ำมันทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด

 

ประโยชน์ของไขมันที่มีต่อร่างกาย

 

ให้พลังงานแก่ร่างกาย ไขมันเป็นอาหารสำคัญที่มีความจำเป็นต่อร่างกายและเป็น 1 ในอาหาร 5 หมู่ที่มีประโยชน์ ทั้งไขมันในอาหารยังช่วยทำให้อาหารนุ่ม และยังช่วยให้ผู้บริโภครู้สึกอิ่มได้นาน เนื่องจากไขมันย่อยได้ช้ากว่าโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ไขมันให้พลังงานแก่ร่างกายได้มากกว่าสารอาหารชนิดอื่น ช่วยทำให้ร่างกายมีพลังงานที่จะทำงานและประกอบกิจวัตรประจำวัยได้ตามปกติ

 

ช่วยในการละลายและการดูดซึมวิตามิน ไขมันจะไปช่วยในการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน (Fat soluble Vitamins) เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย

 

ช่วยปกป้องและกันความร้อน รวมทั้งคอยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ โดยไขมันทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน(Thermal Insulator) ของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย ช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อน ทำให้ผิวชุ่มชื่นไม่แตกแห้ง

 

ไขมันช่วยเป็นเสมือนกันชนให้ร่างกาย ไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย ช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนของอวัยวะภายในได้ คือช่วยป้องกันการกระเทือนของอวัยวะภายในร่างกาย ที่เกิดจากแรงกระแทกหรือการเคลื่อนไหวอย่างแรงของร่างกาย ซึ่งคอยป้องกันการบาดเจ็บของอวัยวะภายในร่างกาย 

 

เป็นองค์ประกอบของเซลล์เมมเบรนทุกชนิด ไขมันเป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อประสาท นั่นก็คือเส้นประสาทของคนเราจะมีไขมันเป็นส่วนประกอบในอัตราที่สูง โดยเฉพาะจะหุ้มเส้นประสาทช่วยในการป้องกันเส้นประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อถูกสั่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

 

เป็นส่วนประกอบของเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกาย ไขมันเมื่อรวมตัวกับโปรตีนก็คือ ไลโปโปรตีน (Lipoproteins) จะเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะผนังเซลล์และไมโตคอนเดรีย ส่วนนี้มีประโยชน์สำหรับคนเรามาก เพราะร่างกายของเราประกอบเป็นตัวตนด้วยเซลล์หลายๆ ล้านเซลล์ และเซลล์ของร่างกายเราจะผลิตทุกวันเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ นั่นก็คือถ้าร่างกายเราขาดไขมันผนังเซลล์ของร่างกายเราก็จะอ่อนแอ เซลล์ที่ตายไปก็ไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ค่ะ

 

ให้กรดไขมันจำเป็นแก่ร่างกาย คือ กรดลิโนเลอิก ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดผิวหนังอักเสบ และมีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของทารก นอกจากนั้นกรดไขมันจำเป็นยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดด้วย โดยจะไปรวมกับคอเลสเตอรอลอิสระได้เป็นคอเลสเตอรอลเอสเทอร์ ทำให้ละลายในเลือดได้ง่าย

 

 

www.flickr.com/photos/chiotsrun/4255041466/

7 ประโยชน์สุดยอดจากแอปเปิ้ลเขียว

green-apple-1
Source: Flickr (click image for link)

วันนี้มาถึงคิวของผลไม้ที่เราเรียกว่า แอปเปิ้ล กันค่ะ แต่วันนี้จะเป็นแอปเปิ้ลสีเขียวค่ะ จากโพสที่แล้วเป็นเรื่องเกี่ยวกับประโยชน์ของแอปเปิ้ลสีแดง และด้วยประโยชน์ที่มีมากมายจากแอปเปิ้ลสีแดงอีกทั้งส่วนข้อมูลของแอปเปิ้ลเขียววันนี้ก็มีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการที่ดีไม่แตกต่างกันเลยค่ะ อย่างไรก็ดีขึ้นชื่อว่าแอปเปิ้ลแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสีไหนประโยชน์และคุณค่าก็ไม่ได้แพ้กันเลยทีเดียวค่ะ และหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์และก็เพื่อทำให้ทุกๆคนได้ทราบกันว่าแอปเปิ้ลแต่ละสีนั้นเป็นอย่างไร มีคุณค่าทางโภชนาการแตกต่างกันอย่างไรบ้างและมีอย่างไหนที่มีความโดดเด่นจากผลไม้อื่นๆหรือเปล่า ข้อมูลที่กีเหล่านี้รวมถึงสิ่งดีๆเราก็อยากเอามาแชร์และแบ่งปันเผื่อใครที่กำลังเลือกหนทางรักษาสุขภาพโดยการเลือกรับประทานอาหารหรืออยากให้ร่างกายได้รับแต่สิ่งดีๆ เราก็ขอให้ข้อมูลของเราสามารถช่วยคุณได้บ้างนะคะ ถ้าอย่างนั้นเราก็ไปพบและเข้าใจกับข้อมูลที่เกี่ยวกับประโยชน์ต่างๆ ของแอปเปิ้ลเขียวกันให้มากขึ้นกันเลยดีกว่าค่ะ

 

 

7 ประโยชน์สุดยอดที่คุณควรเลือกกินแอปเปิ้ลเขียว

green-apple-2
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก

ปฎิเสธไม่ได้เลยที่จะยกให้เป็นผลประโยชน์ข้อแรกของแอปเปิ้ลเขียวค่ะ จากข้อมูลของ USDA Nutrient database ของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา พบว่าแอปเปิ้ลเขียวมีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้ โดยคุณค่าทางอาหารต่อแอปเปิ้ลเขียว 100 กรัม มีปริมาณพลังงาน 58 กิโลแคลอรี่, น้ำ 85.46 กรัม, น้ำตาล 9.59 กรัม, ไฟเบอร์ 2.8 กรัม และโพแทสเซียม 120 กรัม ค่ะ จากแอปเปิ้ลเขียวที่ให้พลังงานน้อยแล้ว ในแอปเปิ้ลเขียวนั้นมีเอ็นไซม์ที่สามารถช่วยในการลดน้ำหนักได้ค่ะ อีกทั้งยังมีเอ็นไซม์ที่จะเผาผลาญสารอาหารช่วยทำให้ระบบย่อยและระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น นอกเหนือไปจากวิตามินและเกลือแร่ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว กรดผลไม้ที่มีอยู่ในแอปเปิ้ลสามารถช่วยควบคุมและยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนแห่งความอยากอาหาร ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลังจากคุณรับประทานแอปเปิ้ลไปซักผลสองผลคุณจะไม่มีความรู้สึกอยากรับประทานอาหารอื่นใดอีกเลย กรดผลไม้ของแอปเปิ้ลยังสามารถช่วยพยุงไม่ให้ระดับของโปรตีนในร่างกายลดต่ำลงและขณะเดียวกันก็ยังช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันถูกดึงมาเก็บสะสมไว้ในร่างกายเพิ่มขึ้นอีกค่ะ

 

2.ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลำใส้

เปลือกสีเขียว ๆ ของแอปเปิ้ลเขียวก็ยังอัดแน่นไปด้วยประโยชน์มากมายไม่ว่าจะเป็นใ­­­ยอาหารที่มีสูงที่ช่วยในระบบการขับถ่ายและทำให้ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเอ็นไซม์ที่จะเผาผลาญสารอาหารช่วยทำให้ระบบย่อยและระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น พร้อมกันนั้นก็อุดมไปด้วยเพกติกสารคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งซึ่งสามารถต่อต้านเชื้อแบคทีเรียร้ายในระบบทางเดินอาหารตัวการที่ทำให้คุณเกิดอาการท้องร่วงค่ะ

 

3.ช่วยเรื่องของผิวพรรณ

นอกจากเรื่องของสุขภาพร่างกายแล้ว เรื่องของความสวยความงามนั้นแอปเปิ้ลเขียวก็ไม่พลาดที่จะมีบทบาทสำคัญอยู่เหมือนกันค่ะ เนื่องจากแอปเปิ้ลเขียวมีวิตามินที่จำเป็นสำหรับผิวพรรณและด้วยที่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยในการบำรุงผิวพรรณ อย่างเช่น วิตามิน C ซึ่งก็ได้พบว่าในแอปเปิ้ลเขียวจะมีมากกว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ บางประเภทเสียอีกค่ะ และก็พบว่าถ้าเรารับประทานแอปเปิ้ลเขียวทั้งเปลือกนั้นสาร “โพลีฟีนอล” ที่มักจะอยู่ตามเปลือกหรือเนื้อที่อยู่ติดกับเปลือก จะไปช่วยป้องกันผิวพรรณไม่ให้โดนแดดเผาทำลาย ป้องกันยูวีเอและยูวีบีจากแสงแดด เวลาที่เรากัดแอปเปิ้ลทิ้งไว้แล้วสีของเนื้อแอปเปิ้ลเปลี่ยนไปนั่นแสดงว่ามีสาร “โพลีฟีนอล” นั่นเอง ดังนั้นจึงเข้าใจได้ว่าที่ไหนมีสารโพลีฟีนอล พอโดนอากาศก็จะเกิดสนิมเป็นสีน้ำตาลขึ้นมาทันที ไม่ว่าจะเป็นผักหรือผลไม้ค่ะ

 

4.ช่วยลดคอเลสเตอรอล

แอปเปิ้ลมีสารเพคตินซึ่งเป็นไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ เมื่อกรดในทางเดินอาหารย่อยสลายไขมันแยกคอเลสเตอรอลออกมาแล้ว เพคตินจากแอปเปิ้ลจะไปคอยดักจับคอเลสเตอรอลเหล่านั้นและนำไปทิ้งก่อนที่จะถูกดูดกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้งค่ะ ง่ายๆก็คือช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันถูกดึงมาเก็บสะสมไว้ในร่างกายเพิ่มเติมอีกนั่นเองค่ะและยังพบว่าแอปเปิ้ลลดคอเลสเตอรอลในผู้หญิงได้ดีกว่าผู้ชายด้วยค่ะ

 

5.ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลในเลือด เมื่อรับประทานอาหารเข้าไป อาหารแต่ละชนิดก็จะถูกย่อยสลายและดูดซึมผ่านผนังกระเพาะลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดจะเพิ่มช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของอาหารนั้นๆ คนที่รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์มากๆ จะมีโอกาสเกิดเบาหวานต่ำกว่าคนที่รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์น้อย และสำหรับคนที่เป็นเบาหวานอยู่แล้ว ไฟเบอร์จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยและแอปเปิ้ลมีไฟเบอร์ชนิดที่ละลายน้ำสูงมาก จึงเหมาะสำหรับคนที่เป็นเบาหวานค่ะ

 

6.ช่วยลดการสูญเสียกล้ามเนื้อจากการป่วย

ในคนที่ชอบออกกำลังกายเป็นประจำอยู่เสมอนั้นมักจะมีกล้ามเนื้อที่เฟิร์มและแข็งแรง แต่ถ้าเกิดวันหนึ่งคุณได้เกิดล้มป่วยขึ้นมานั้น อาจจะทำให้คุณต้องหยุดพักร่างกายจนออกกำลังกายไม่ได้เป็นช่วงเวลาหนึ่ง แน่นอนว่าในขณะที่คุณหยุดพักกล้ามเนื้อส่วนที่ได้เพิ่มเติมขึ้นมาจากการออกกำลังกาย อาจจะมีน้อยลงหรือหายไปบ้าง ซึ่งในจุดนี้เองที่ผู้ชายส่วนใหญ่มักจะกังวล เพราะการที่กล้ามเนื้อหายไปก็มักจะทำให้รูปร่างที่เคยดูดีนั้นเปลี่ยนไปด้วย แต่สิ่งเหล่านี้สามารถป้องกันได้ โดยการบริโภคแอปเปิ้ลสีเขียวเป็นประจำเพราะในแอปเปิ้ลสีเขียวนั้นประกอบไปด้วยกรดบางชนิดที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ในการเพิ่มพลังและสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อของเราโดยตรงนั่นเองค่ะ

 

7.ช่วยบรรเทาโรคภัยไข้เจ็บ

ด้วยที่ว่าในแอปเปิ้ลนั้นมีวิตามินซีและเบต้าแคโรทีนอยู่มาก จึงสามารถช่วยบรรเทาหรือป้องกันโรคหวัดและโรคเลือดออกตามไรฟันได้ และแอปเปิ้ลยังช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้นจึงช่วยได้ทั้งอาการท้องผูกและท้องเสีย ใครที่มีอาการท้องผูกแอปเปิ้ลจึงเป็นผลไม้ในตัวเลือกหนึ่งเลยก็ว่าได้ค่ะ อีกทั้งยังทำให้ความดันโลหิตค่อยๆ ลดลง เหมาะสำหรับผู้ที่ความดันโลหิตสูงอีกด้วยค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/36328518@N07/3384100342/

www.flickr.com/photos/63723146@N08/8482731764/

ซีลีเนียม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

peanuts-1
Source: Flickr (click image for link)

ซีลีเนียม (Selenium) เป็นแร่ธาตุอีกตัวที่มีความจำเป็น ซี่งพบในปริมาณเพียงเล็กน้อยในร่างกายและเป็นส่วนประกอบสำคัญของเอนไซม์ Glutathione peroxidase ซึ่งเร่งการทำลายของ Hydroperoxide โดยเป็นระบบต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่สุดภายในเซลล์ ยังไงน่ะหรอ? ก็คือว่า ซีลีเนียม นั้นมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติหน้าที่ของวิตามินอี บทบาทของซีลีเนียมเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยกลูต้าไธโอนเปอร์ออกซิเดส ( glutathione peroxidase ) ซึ่งกระตุ้นการกำจัดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และออแกนิคเปอร์ออกไซด์ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกรดไขมันต่างๆ โดยทำงานอย่างใกล้ชิดกับวิตามินอี ในการป้องกันเนื้อเยื่อถูกทำลายโดยสารเปอร์ออกไซด์จากไขมัน โดยวิตามินอีทำหน้าที่ป้องกันการเกิดสารเปอร์ออกไซด์ ในขณะที่ซีลีเนียมทำหน้าที่กำจัดสารเปอร์ออกไซด์ที่เกิดขึ้นให้หมดไป และทำงานร่วมกับวิตามินอี เสริมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของวิตามินอีในการรักษาเนื้อเยื่อต่างๆ และชะลอการแก่ตายของเซลล์ตามธรรมชาติ ป้องกันการแก่ก่อนวัยนั่นเองค่ะ

 

เกี่ยวกับ ซีลีเนียม หรือ Selenium

  • ซีลีเนียม เป็นแร่ธาตุอีกตัวที่มีความจำเป็น ซี่งพบในปริมาณเพียงเล็กน้อยในร่างกาย
  • ซีลีเนียม มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์สำคัญหลายชนิด มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระโดยทำงานร่วมกับวิตามินอี
  • ซีลีเนียม เป็นระบบต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่สุดภายในเซลล์
  • ซีลีเนียม จะดูดซึมได้ดีที่ลำไส้เล็ก
  • ซีลีเนียม ร่างกายจะเก็บซีลีเนียมไว้ในตับและไตมากถึง 4-5 เท่าที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออื่นๆ
  • ซีลีเนียม ในภาวะปกติซีลีเนียมจะถูกขับออกทางปัสสาวะ ถ้าปรากฏว่ามีซีลีเนียมถูกขับออกทางอุจจาระแสดงว่าเกิดการดูดซึมที่ไม่ถูกต้อง
  • ซีลีเนียม เป็นตัวต่อต้านการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน (Antioxidant) เพราะถ้ามีการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนมากจะเกิด Free radical ซึ่งมีพิษภัยต่อเซลล์ ทำให้กลายเป็นมะเร็ง
  • ซีลีเนียม มีบทบาทเกี่ยวกับการหายใจของเนื้อเยื่อโดยทำหน้าที่ช่วยรับส่งอิเล็กตรอน
  • ซีลีเนียม ช่วยในการสร้างวิตามินคิวขึ้นมาในร่างกาย
  • ซีลีเนียม ช่วยสร้างภูมิต้านทานและบรรเทาอาการถูกพิษ หรือละลายพิษต่างๆ ในร่างกาย
  • ซีลีเนียม ในแหล่อาหารที่พบส่วนใหญ่ในอาหารทะเล เครื่องในสัตว์ เมล็ดธัญพืชทั้งเปลือก ปลา หอย ข้าวกล้อง แตงกวา ผลิตภัณฑ์จากนม กระเทียม บลอคโคลี่ หัวหอม มะเขือเทศ ไข่
  • ซีลีเนียม ถ้าได้รับมากเกินไปจะทำให้ อาเจียน ท้องร่วง ฟันและผมร่วง เล็บหลุด ผิวหนังอักเสบและมีผลต่อระบบประสาท
  • ซีลีเนียม ถ้าขาดจะเกิดผลเสียต่อร่างกาย การฝ่อของกล้ามเนื้อ หรืออาจถึงขั้นเป็นหมันได้
  • ซีลีเนียม เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อความสวยความงาม  เพราะมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ต้านริ้วรอยแห่งวัย
  • ซีลีเนียม เกลือแร่ ชนิดนี้มีจะถูกถูกทำลายโดยความร้อน อาหารที่ปรุงแบบสลับซับซ้อนหรืออาหารแปรรูป เช่น พวกข้าวทำเป็นแป้งจะสูญเสีย ซีลีเนียม ไป 50-75% และถ้าต้มจะสูญเสียไปประมาณ 45%

 

ประโยชน์ของซีลีเนียม หรือ Selenium

 

ช่วยชะลอความแก่ โดยที่ซิลีเนียมจะไปทำงานร่วมกับวิตามินอี และเสริมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของวิตามินอีรักษาเนื้อเยื่อต่างๆ และชะลอการแก่ตายของเซลล์ตามธรรมชาติป้องกันการแก่ก่อนวัย

 

ช่วยหัวใจทำงานดีขึ้น และส่งเสริมการสร้างกำลังของเซลล์โดยการนำออกซิเจนไปเลี้ยงให้เพียงพอ สามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจวาย และโรคลมปัจจุบัน โดยเฉพาะในรายที่มีการขาดสารอาหารชนิดนี้

 

ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก, มะเร็งลำไส้, มะเร็งปอด, มะเร็งหลอดอาหาร โดยไปทำให้เซลล์แบ่งตัวช้าพอที่จะให้เซลล์ที่ถูกสารก่อให้เกิดมะเร็งทำลายมีเวลาซ่อมแซมโครโมโซมของมันเองได้ ถ้าโครโมโซมของเซลล์ถูกทำลาย มันอาจจะกลายเป็นเนื้อร้ายถ้าไม่ได้รับการซ่อมแซมก่อนจะแบ่งตัว

 

ช่วยป้องกันหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมองตีบ โดยการผลิตพรอสตาแกลนดินส์ ช่วยในการทำให้เม็ดเลือดไม่จับกลุ่มกันอุดหลอดเลือด จึงเป็นการป้องกันหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมองตีบ

 

 

ปริมาณซิลิเนียมที่ร่างกายควรได้รับ

ผลของร่างกายที่ได้รับปริมาณซีลีเนียมมากเกินไปจะมี อาการ : อาเจียน ท้องร่วง ฟันและเล็บหลุด ผิวหนังอักเสบและมีผลต่อระบบประสาท

ผลของร่างกายที่ขาดซีลีเนียมจะมี อาการ : จะทำให้แก่ก่อนวัย เพราะซีลีเนียมจะช่วยรักษาความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายโดยจะชะลอ Oxidation ของกรดไขมันไม่อิ่มตัว ทำให้ Free radical ลดลง

ซิลิเนียมที่เหมาะสมต่อร่างกายที่ควรจะได้รับต่อวันคือ  ร่างกายต้องการวันละประมาณ 50-200 ไมโครกรัม

 

 

www.flickr.com/photos/66720528@N04/8476485700/

  • 1
  • 2