Browse Category: Vitamins

ไอโอดีน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

seafood-1
Source: Flickr (click image for link)

ไอโอดีน (iodine) หรือ สารไอโอดีน ถ้าพูดถึงไอโอดีนหรือสารไอโอดีนก็คงจะนึกถึงความเค็ม หรือเกลือกันใช่ไหมล่ะคะ ไอโอดีนเป็นอีกตัวหนึ่งที่อยู่ในหมู่เกลือแร่หรือแร่ธาตุ บางคนก็อย่าได้คิดว่าแร่ธาตุตัวนี้จะไม่สำคัญนะคะ เพราะถ้าเราขาดมันขึ้นมาล่ะก็…ไม่เป็นผลดีแน่ๆค่ะ เอาล่ะ วันนี้จะมาบอกให้เราเข้าใจเกลือแร่ตัวนี้กันว่ามันคืออะไรและมีความสำคัญอย่างไรค่ะ ไอโอดีนหรือสารไอโอดีน นั้นเป็นธาตุเคมีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติแต่จะมีปริมาณน้อย เช่นอยู่ในทะเล และแน่นอนว่าเราคงจะไม่มานั่งดื่มน้ำทะเลเพื่อให้ได้สารไอโอดีนกันหรอกจริงไหม มันก็ต้องอยู่ในอาหารทะเลที่เรารับประทานกันทุกวันนี่ล่ะค่ะ ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่าคนที่อยู่แถบภาคเหนือและอีสานจะเป็นโรคคอพอกและเอ๋อ ปัญญาอ่อนกันเป็นส่วนมากเนื่องจากเป็นที่ราบสูงอยู่ห่างไกลจากทะเล จึงไม่มีโอกาสได้รับประทานอาหารทะเลบ่อยๆ ไอโอดีนจะพบมากในสัตว์และพืชในทะเลเนื่องจากมีสารไอโอดีนอยู่สูง ซึ่งสารไอโอดีนนี้เป็นธาตุที่จําเป็นต่อร่างกายถึงแม้ว่าจะต้องการเพียงเล็กน้อยแต่ก็ขาดไม่ได้เช่นกันค่ะ เนื่องจากความสําคัญของไอโอดีนต่อร่างกาย เป็นส่วนประกอบที่จําเป็นในการผลิตฮอร์โมนของต่อมธัยรอยด์ซึ่งต่อมธัยรอยด์นั้นจําเป็นต้องใช้ไอโอดีนเพื่อสร้างฮอร์โมน ชื่อว่า “ธัยรอกซิน” ซึ่งฮอร์โมนนี้จําเป็นสําหรับควบคุมการทําหน้าที่และเสริมสร้างการเจริญเติบโตตามปกติของสมองประสาทและเนื้อเยื่อของร่างกาย

ภาวะขาดไอโอดีน

  1. ภาวะขาดไอโอดีนยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ประมาณว่าประชากรกว่าพันล้านคน โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาประสบปัญหานี้ นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะปัญญาอ่อน ในประเทศไทยภาวะขาดไอโอดีนพบในที่ห่างไกลทะเล ในหมู่บ้านยากจนในแถบถิ่นภูเขา บางแห่งเกิดคอพอกจากภาวะขาดไอโอดีนกันเกือบทั้งหมู่บ้าน การแก้ไขปัญหาภาวะขาดไอโอดีนยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจ และสังคม จากการวิเคราะห์ดินที่จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นถิ่นของโรคเมื่อเทียบกับดินที่กรุงเทพ พบว่ามีไอโอดีนน้อยกว่าถึง 7 เท่า
  2. การกำหนดความรุนแรงของภาวะขาดไอโอดีน จะถือว่าขาดเล็กน้อยเมื่อผู้นั้นได้รับไอโอดีนระหว่าง 50-100 ไมโครกรัมต่อวัน สำหรับขาดปานกลางเมื่อผู้นั้นได้รับไอโอดีนระหว่าง 25-50 ไมโครกรัม และจะถือว่าขาดรุนแรงเมื่อได้รับไอโอดีนน้อยกว่า 25 ไมโครกรัมต่อวัน

 

เกี่ยวกับไอโอดีน (iodine) หรือ สารไอโอดีน

  • ไอโอดีน เป็นธาตุเคมีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติแต่จะมีปริมาณน้อย
  • ไอโอดีน เป็นสารที่พบมากในเนื้อสัตว์และพืชในทะเล เช่น  อาหารทะเล สาหร่ายทะเล นอกจากนี้ยังได้สารไอโอดีนจากเกลือทะเลอีกด้วย
  • ไอโอดีน เป็นส่วนประกอบที่จําเป็นในการผลิตฮอร์โมนของต่อมธัยรอยด์
  • ไอโอดีน ต่อมไทรอยด์นำไอโอดีนเป็นส่วนสำคัญในการสังเคราะห์ฮอร์โมน
  • ไอโอดีน ความต้องการไอโอดีนที่แนะนำต่อวันคือ 150 ไมโครกรัมต่อวันในผู้ใหญ่ และ 200 ไมโครกรัมต่อวัน ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ และให้นมบุตร
  • ไอโอดีน ในเกลือต้องมีไอโอดีนอย่างน้อย 30 พีพีเอ็ม คือ เกลือหนัก 1 กรัม มีไอโอดีนอยู่ 30 ไมโครกรัมนั่นเอง
  • ไอโอดีน ผลจากการขาดสารไอโอดีน หญิงแท้งง่าย ชายเซ็กส์เสื่อม เด็กพิการแต่กำเนิด ในผู้ใหญ่ คอพอก เอ๋อ ปัญญาอ่อน
  • ไอโอดีน เป็นธาตุที่ระเหยเป็นไอได้ เมื่อไอโอดีน จากทะเลระเหยมาพร้อมกับน้ำเป็นเมฆและฝนตกลงสู่พื้นดิน พื้นดินจะกลับมีไอโอดีนอีกครั้ง
  • ไอโอดีน กระตุ้นให้มีการหลั่งน้ำนมมากขึ้น
  • ไอโอดีน เด็กที่เกิดจากแม่ที่มีปัญหาไทรอยด์มักมีไอคิวต่ำกว่า 85
  • ไอโอดีน แม้ว่าร่างกายต้องการสารไอโอดีนเพียงแค่ 150 ไมโครกรัมเท่านั้น แต่ก็ขาดไม่ได้แม้แต่วันเดียว เพราะร่างกายไม่สามารถสะสมไว้ได้

 

 

ประโยชน์ของไอโอดีน (iodine)

 

ช่วยในการทำงาน และเจริญเติบโตของต่อมไทรอยด์  และเป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนไทรอกซิน ผลิตโดยต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่ควบคุมอัตราเมแทบอลิซึมของร่างกาย การทำงานของต่อมธัยรอยด์มีผลต่อสภาพจิตใจ สภาพของผม ผิวหนัง เล็บ และ ฟัน ของร่างกาย การเปลี่ยนของแคโรทีนเป็นวิตามินเอ การสังเคราะห์ โปรตีน โดย ไรโบโซม และการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้เล็กทั้งหมดนี้จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อการผลิตไทรอกซิน เป็นไปตามปกติ การสังเคราะห์โคเลสเตอรอลถูกกระตุ้นโดยระดับของไทรอกซิน

 

ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และกระตุ้นอัตราการเผาผลาญ โดยช่วยร่างกายเผาผลาญไขมันที่มาก

 

กระตุ้นให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น

 

ช่วยให้ร่างกายผลิตพลังงานได้ตามปกติ

 

เพิ่มการเคลื่อนย้ายแคลเซียม และฟอสฟอรัสจากกระดูก

 

ช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะและควบคุมการกระจายของน้ำตามอวัยวะต่างๆ

 

กระตุ้นให้มีการหลั่งน้ำนมมากขึ้น

 

ควบคุมประสาท ให้มีกำลังคล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง ตลอดถึงการพูด ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความมีประสิทธิภาพของต่อมไทรอยด์

 

 

ปริมาณของไอโอดีนที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน

หากขาดสารไอโอดีน จะมีภาวะผิดปกติแตกต่างกันไป เช่น ช่วงทารกในครรภ์ถึงแรกเกิดจะทำให้เกิดการแท้งหรือตายก่อนกำหนดได้ง่าย หรือหากไม่ตาย คลอดออกมาทารกก็จะพิการแต่กำเนิด คือ หูหนวก ขาแข็ง กระตุก ตาเหล่ รูปร่างแคระแกร็น และสติปัญญาเสื่อมจนถึงปัญญาอ่อน หรือที่เรียกว่าเป็นเอ๋อ ส่วนวัยเด็กถึงวัยรุ่นร่างกายจะเจริญเติบโตช้า สติปัญญาด้อยลงกว่าคนปกติและมีอาการคอพอก ขณะที่วัยผู้ใหญ่จะมีอาการคอพอก เหนื่อยง่าย ไม่สดชื่น สมรรถนะในการทำงานลดลง ร่างกายและจิตใจเสื่อมถอย หากเป็นเพศชายจะมีอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ สำหรับผู้หญิงประจำเดือนอาจมาไม่ปกติ

ในร่างกายปกติ ระดับของไอโอดีนในเลือดจะมีค่าประมาณ 8-15 ไมโครกรัม/100 มิลลิลิตร และจับกับพลาสม่าโปรตีนอยู่ประมาณ 6-8 ไมโครกรัม/100 มิลลิลิตร ข้อกำหนดสารอาหารควรรับประทานไอโอดีนให้ได้วันละ 150 ไมโครกรัมต่อวัน แต่ถ้ารับประทานเพียงวันละ 50 ไมโครกรัม ก็สามารถที่จะป้องกันโรคคอพอกได้แล้ว

ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายที่จะให้มีเกลือเสริมไอโอดีนจำหน่ายและกระจายทั่วประเทศ โดยที่เกลือต้องมีไอโอดีนอย่างน้อย 30 พีพีเอ็ม ซึ่งหมายถึง เกลือล้านส่วนจะมีไอโอดีนอยู่ 30 ส่วน ถ้าแปรผลในรูปของน้ำหนัก หมายถึงเกลือหนัก 1 กรัม มีไอโอดีนอยู่ 30 ไมโครกรัมนั่นเอง ดังนั้น ถ้าวันหนึ่งเรารับประทานเกลือ(เสริมไอโอดีน)โดยเฉลี่ย 2 กรัมจะได้รับไอโอดีนวันละ 60 ไมโครกรัม ซึ่งพอเพียงที่จะป้องกันการเกิดโรคจากการขาดไอโอดีนหรือโรคคอพอกได้

 

www.flickr.com/photos/nanophoto69/5015992000/

กำมะถัน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

dark-hair-1
Source: Flickr (click image for link)

มาถึงแร่ธาตุหรือเกลือแร่อีกตัวหนึ่งที่สำคัญค่ะ นั่นก็คือ กำมะถัน หรือ ซัลเฟอร์ (Sulfur หรือ Sulphur) นั่นเอง ซึ่งเป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ S และเลขอะตอม 16 เป็นอโลหะที่มีอยู่ทั่วไป ไม่มีรสหรือกลิ่น และมีวาเลนซ์ได้มากมาย กำมะถันในรูปแบบปกติเป็นของแข็งสีเหลืองที่เป็นผลึก ในธรรมชาติ สามารถพบได้ในรูปธาตุเองหรือแร่ซัลไฟด์และซัลเฟต เป็นธาตุจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต และพบในกรดอะมิโนหลายชนิด ตอนสมัยที่เราเรียนหนังสือ มีแร่ธาติมากมายที่เราต้อจดจำ ถ้าจะให้เราจำให้หมดก็คงจะยาก แร่ธาติเหล่านี้ ถีงแม้จะเป็นแร่ธาตุที่เราคิดว่ามันมีประโยชน์น้อยนิดต่อร่างกายของเรา แต่ก็ใช่ว่าจะถูกต้องทั้งหมด เพราะแร่ธาตุบางตัวก็ไม่ได้อยู่ในอาหารทุกชนิด และถึงมีในอาหารชนิดนั้นเราอาจไม่ค่อยได้รับประทานสักเท่าไหร่นัก จึงอาจจะได้รับไม่เพียงพอที่จะทำให้ร่างกายของเราขับเคลื่อนได้สมบูรณ์ ในวันนี้จึงขอนำเสนอแร่ธาตุตัวนี้กัน ว่าถ้าร่างกายเราขาดไปหรือได้รับมากเกินไปจะเกิดผลอย่างไร และแร่ธาตุตัวนี้เราสามารถพบเห็นในอาหารประเภทใด เพื่อที่จะสามารถรู้และเข้าใจใช้เป็นแนวทางในการเลือกรับประทารอาหารมากขึ้น เอาล่ะ เราไปดูกันดีกว่าค่ะ

 

เกี่ยวกับ กำมะถัน หรือซัลเฟอร์ (Sulfur)

  • กำมะถัน เป็นแร่ธาตุที่มีคุณสมบัติเป็นกรด
  • กำมะถัน พบได้ในทุกเซลล์ของร่างกายมนุษย์ สัตว์ และพืช
  • กำมะถัน พบในมนุษย์ 0.25 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว
  • กำมะถัน แบคทีเรียในลำไส้ก็สามารถดูดซึมได้ ถ้าหากร่างกายได้รับมากเกินไปจะถูกขับออกทางปัสสาวะ และเหงื่อ
  • กำมะถัน เป็นแร่ธาตุชนิดที่รู้จักกันในชื่อ “Beauty mineral”
  • กำมะถัน จะถูกดูดซึมในรูปของกรดอะมิโน 3 ชนิด คือ เมไทโอนีน ซีสทีน และซีสเทอีน
  • กำมะถัน แร่ธาตุชนิดนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญของเล็บ ผม และผิวหนัง ให้มีสุขภาพดี ผมสวยเป็นเงางาม ผิวเรียบเกลี้ยงเกลาดูเปล่งปลั่ง
  • กำมะถัน มีความใกล้ชิดกับโปรตีน และนอกจากนี้ยังเป็นแร่ธาตุสังคมที่ต้องทำงานร่วมกับวิตามิน และแร่ธาตุอื่นๆ จึงจะได้ผลดี เช่น ทำหน้าที่ร่วมกับวิตามินบี1 วิตามินบี5 (กรดแพนโทเทนิก) ไบโอติน และกรดไลโนเลอิคในร่างกาย
  • กำมะถัน มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อชีวิตในการผลิตสาร “เคราติน”
  • กำมะถัน ยังจำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล
  • กำมะถัน จำเป็นต่อการผลิตเฮปพารินซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการแข็งตัวของเลือด
  • กำมะถัน มีบทบาทในการฟอกพิษแอลกอฮอล์ สารไซยาไนต์ที่ได้รับจากอาหาร สารพิษที่สูดดมจากอากาศรวมถึงพิษจากบุหรี่
  • กำมะถัน มีศัตรูเป็นทองแดง ถ้ามีในอาหารมากเกินไป อาจจะจับกับกำมะถันทำให้ดูดซึมได้ยากขึ้น
  • กำมะถัน มีในกรดอะมิโนบางตัวซึ่งเป็นแหล่งที่ร่างกายสามารถดูดซึมใช้ประโยชน์ได้ดี วิตามินอีช่วยป้องกันไม่ให้กำมะถันจับกับกรดอะมิโนในร่างกาย ทำให้เซลล์ทั่วร่างกายพร้อมที่จะนำไปใช้ได้ทันที
  • กำมะถัน พบในอาหารพวกโปรตีน เช่น เนื้อไม่ติดมัน กุ้ง หอย ปู ปลา ถั่ว นม ตับ น้ำมันปลา  และโดยเฉพาะพบมากที่สุดใน ไข่
  • กำมะถัน พบในอาหารประเภทผลไม้ เช่น สับปะรด อะโวคาโด นอกจากนี้ยังสามารถพบ แร่ธาตุกำมะถันได้ในนำผึ้ง อีกด้วย
  • กำมะถัน พบในอาหารประเภทผัก เช่น กะหล่ำปลี หอมหัวใหญ่ หัวไชเท้า กระเทียม สาหร่ายทะเล รำข้าว เป็นต้น

 

ประโยชน์ของ กำมะถัน หรือซัลเฟอร์ (Sulfur)

  • เป็นส่วนประกอบของเคราติน

ช่วยในการสังเคราะห์คอลลาเจน ช่วยในเรื่องผิวหนังนวลเนียน เล็บ และเส้นผมเป็นเงางาม

  • ช่วยให้การทำงานของข้อต่อ

และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • มีความสำคัญต่อการทำงานของสมอง

และสุขภาพของระบบประสาท ใช้ในกระบวนการหายใจของเนื้อเยื่อ

  • รักษาสมดุลออกซิเจน และสมดุลของร่างกายมีบทบาทในการฟอกพิษแอลกอฮอล์

สารไซยาไนต์ที่ได้รับจากอาหาร สารพิษที่สูดดมจากอากาศรวมถึงพิษจากบุหรี่

  • ทำงานร่วมกับตับเพื่อขับน้ำดี
  • ช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อแบคทีเรีย

 

การรับประทานอาหาร จำพวกโปรตีนในปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวัน พบว่าจะได้รับกำมะถันอย่างเพียงพอตามไปด้วย

ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร MSM (Methysulferfonylmethane) เป็นซัลเฟอร์หรือกำมะถัมแบบอินทรีย์ มีจำหน่ายในขนาด 1,000 มิลลิกรัม ร่วมกับวิตามินบีรวม และยังมีโลชั่นที่ผสม MSM สำหรับแก้ปัญหาผิว

การรับประทาน MSM ร่วมกับกลูโคซามีน ซึ่งเป็นสารในกลุ่มซัลเฟอร์อีกตัวหนึ่ง จะช่วยลดอาการปวดตึงจากข้ออักเสบได้ดีมาก

สำหรับอาการภูมิแพ้ โรคติดเชื้อพยาธิ หรือต้องการฟื้นฟูร่างกายจากการออกกำลังกายอย่างรวดเร็ว แนะนำให้รับประทาน MSM ร่วมกับวิตามินซีคอมเพล็กซ์ 1,000-3,000 มิลลิกรัม พร้อมอาหาร วันละ 2-3 เวลา ในช่วงที่อาการกำเริบจะดีมาก และในครีมที่มีซัลเฟอร์เป็นส่วนประกอบ ให้รักษาปัญหาผิวหนังต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยม

อาการขาด กำมะถัน จะเกิดอาการผิดปกติที่ผิวหนัง เล็บเปราะ ผมร่วง

การได้รับ กำมะถัน มากเกินไป ยังไม่พบอันตรายใดๆ จากการได้รับกำมะถันแบบอินทรีย์(MSM) แต่การได้รับกำมะถันในรูปอนินทรีย์จะเป็นพิษต่อร่างกาย

 

 www.flickr.com/photos/david_martin_foto/17083665265/

ฟอสฟอรัส คืออะไรและมีคามสำคัญอย่างไร

little-girl-smile-1
Source: Flickr (click image for link)

ฟอสฟอรัส (Phosphorus) ถ้าพูดถึงฟอสฟอรัสเราก็จะนึกเห็นภาพของแคลเซียมขึ้นมาทันที เพราะเรามักจะได้ยินติดหูคุ้นชินว่าแคลเซียมนั้นคู่กันกับฟอสฟอรัสเสมอ ก็เพราะว่าสองตัวนี้ต้องได้ทำหน้าที่ร่วมกันนั่นเองค่ะ ”ฟอสฟอรัส” เป็นเกลือแร่ที่มีความสำคัญต่อร่างกายของเราจัดว่าเป็นอันดับสองของแคลเซียมเลยก็ว่าได้ค่ะ และก็จะอยู่รวมกับแคลเซียม ที่เป็นในส่วนของกระดูและฟัน ในเนื้อเยื่อต่างๆ ก็มีฟอสฟอรัสอยู่ด้วยเช่นกัน ฟอสฟอรัสเป็นธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์ สัตว์ และระบบนิเวศ เป็นแร่ธาตุที่พบมากในธรรมชาติในรูปของเกลือฟอสเฟตต่างๆค่ะ ส่วนฟอสเฟตก็คือ สารประกอบของฟอสฟอรัสนั่นเองค่ะ เช่น Monohydro phosphate แต่เกลือแร่ที่ร่างกายจะนำไปใช้งานก็คือ ส่วนที่เป็นเกลือแร่ฟอสฟอรัส พูดถึงแร่ธาติหรือเกลือแร่ สมัยที่เราเรียนมักจะไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญเท่ากับวิตามินต่างๆนัก แต่ก็อีกนั่นแหละค่ะ ยังไงร่างกายของเราก็ยังต้องการอยู่ดี ขาดก็ไม่ได้ เกินก็ไม่ดีค่ะ ฟอสฟอรัสอยู่ในกลุ่มไนโตรเจน มีวาเลนซ์ได้มาก ปรากฏในหลายอัลโลโทรป พบทั้งในหินฟอสเฟต และเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกเซลล์ (ในสารประกอบในดีเอ็นเอ) เนื่องจากสามารถทำปฏิกิริยาได้สูง จึงไม่ปรากฏในรูปอิสระในธรรมชาติ คำว่า ฟอสฟอรัส มาจากภาษากรีกแปลว่า ‘ส่องแสง’ และ ‘นำพา’ เพราะฟอสฟอรัสเรืองแสงอ่อน ๆ เมื่อมีออกซิเจน หรือมาจากภาษาละติน แปลว่า ‘ดาวประกายพรึก’ ค้นพบประมาณปี 1669 โดยนักเล่นแร่แปรธาตุชาวเยอรมัน เฮนนิก แบรนด์

 

เกี่ยวกับฟอสฟอรัส (Phosphorus)

  • ฟอสฟอรัส อยู่ในกระดูก 58% ที่เหลืออยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย
  • ฟอสฟอรัส มีหน้าที่ในการเผาผลาญสารอาหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไขมัน คาร์โบไฮเดรต หรือว่าโปรตีน
  • ฟอสฟอรัส จับกับกรดอะมิโนแล้วทำหน้าที่ปล่อยพลังงานให้กับร่างกายของเรา
  • ฟอสฟอรัส กับแคลเซียมร่วมมือกันทำให้กระดูกและฟันของร่างกายมีความแข็งแรง
  • ฟอสฟอรัส เป็นแร่ธาตุที่หาได้ง่ายในอาหารแทบทุกชนิดจึงไม่ค่อยมีใครขาดฟอสฟอรัสกัน
  • ฟอสฟอรัส ถ้าร่างกายขาดจะมีอาการปวดกระดูก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และกระดูกผุกร่อนได้ง่าย
  • ฟอสฟอรัส หากร่างกายเกิดการสะสมมากเกินไป จะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกันทำให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียม ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับกระดูก จึงต้องรับแคลเซียมและฟอสฟอรัสให้สมดุลกัน
  • ฟอสฟอรัส มีมากในนม เนื้อสัตว์ ปลา เมล็ดฟักทอง เมล็ดดอกทานตะวัน เนย ไก่ ข้าวบาร์เลย์ ปลาซาร์ดีน หอยแครง นอกจากนี้ยังพบฟอสฟอรัสในไข่แดง กระดูก ฟัน สมอง เส้นประสาทของคนและสัตว์
  • ฟอสฟอรัส รวมกับแคลเซียมสร้างกระดูกและฟัน โดยมีวิตะมินดี ชวยให้เกิดการรวมตัว ในกระดูกมีปริมาณของฟอสฟอรัสประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของแคลเซียม
  • ฟอสฟอรัส ช่วยในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท ไขมัน และโปรตีน
  • ฟอสฟอรัส เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อเซลล์ และยังช่วยในการทำงานของเซลล์ด้วย
  • ฟอสฟอรัส เป็นส่วนประกอบเอนไซม์ที่สำคัญบางชนิดที่ช่วยในการดูดซึมและการขับถ่าย
  • ฟอสฟอรัส ช่วยในการยืดหดของกล้ามเนื้อ
  • ฟอสฟอรัส สร้างความเจริญเติบโตโดยช่วยให้จำนวนเซลล์ทวีขึ้น
  • ฟอสฟอรัส เป็นส่วนประกอบของกระดูก และฟัน ซึ่งทำหน้าที่สัมพันธ์กับแคลเซียมที่รวมตัวกันในรูปแคลเซียมฟอสเฟต (Ca2(PO4)2) และไฮดรอกซีอาพาไทต์ (Ca10(PO4)6(OH)2)
  • ฟอสฟอรัส เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ฟอสโฟลิปิด ที่เป็นสารสำคัญในการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ การเคลื่อนย้ายไขมัน และกระบวนการเมทาบอลิซึมของร่างกาย
  • ฟอสฟอรัส เป็นส่วนประกอบสำคัญของ Buffer ในเลือด และของเหลวในร่างกาย สำหรับรักษาสมดุลความเป็นกรด-ด่างของร่างกาย
  • ฟอสฟอรัส เป็นธาตุที่จำเป็นสำหรับกระบวนการเมทาบอลิซึมของสารอาหารต่างๆ
  • ฟอสฟอรัส เป็นส่วนประกอบสำคัญของสารที่ให้พลังงานสูงในร่างกาย เช่น ATP
  • ฟอสฟอรัส เป็นแร่ธาตุที่ช่วยในการทำงานของวิตามิน และเอนไซม์ในร่างกาย
  • ฟอสฟอรัส เป็นส่วนประกอบสำคัญของกรดนิวคลีอิก และสารทางพันธุกรรม เช่น RNA และ DNA
  • ฟอสฟอรัส ช่วยในการควบคุมการทำงานของระบบประสาท และกล้ามเนื้อ

 

ความต้องการฟอสฟอรัส

ฟอสฟอรัสที่อยู่ในร่างกายจะพบในรูปของฟอสเฟต โดยประมาณร้อยละ 85-90 ของฟอสฟอรัสที่พบในร่างกายทั้งหมด จะเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างร่างกาย เช่น ในกระดูกจะพบฟอสฟอรัสรวมตัวกับแคลเซียมในรูป hydroxyapatite ((Ca10(PO4)6(OH)2) และอีกประมาณร้อยละ 11 จะเป็นองค์ประกอบของกล้ามเนื้อ เลือด และของเหลวในร่างกาย ในรูปของฟอสโฟลิปิด กรดนิวคลีอิก และสารอื่นๆที่ละลายอยู่ในเซลล์ สำหรับในเลือดจะพบฟอสฟอรัสประมาณ 35-40 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงปริมาณตามสารอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน แต่จะมีระดับคงที่ประมาณ 4-9 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร การขับฟอสฟอรัสออกจากร่างกาย ประมาณ 2ใน 3 จะขับผ่านทางปัสสาวะ และอีก 1 ใน 3 จะขับผ่านทางอุจจาระ โดยมีฮอร์โมนพาราไทรอยด์เป็นตัวควบคุมระดับปริมาณฟอสฟอรัสในร่างกาย และการขับออกนอกร่างกาย  

ผู้ใหญ่ ในผู้ใหญ่ ร่างกายต้องการฟอสฟอรัสวันละ 700 มิลลิกรัม โดยร่างกายได้รับฟอสฟอรัสจากอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมีมากใน เนื้อสัตว์ นม

ถ้าร่างกายขาดฟอสฟอรัส จะอ่อนเพลีย กระดูกและฟันจะไม่แข็งแรง และในทำนองเดียวกัน

ถ้าร่างกายมีฟอสฟอรัสมากเกินไป จะส่งผลต่อการทำงานของเกลือแร่อื่นๆ โดยเฉพาะแคลเซียมซึ่งก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ ทั้งนี้ ร่างกายรักษาสมดุลของฟอสฟอรัส โดยผ่านการทำงานของไต

สำหรับ เด็ก หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร ควรได้รับในปริมาณเท่ากับแคลเซียมของคนในสภาวะนั้นๆ

 

www.flickr.com/photos/thomashawk/496287193/

L-Carnitine คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร

steak-beef-1
Source: Flickr (click image for link)

สมัยนี้มีอาหารเสริมมากมายหลายชนิดเต็มไปหมด บางตัวก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันคืออะไร ช่วยเรื่องอะไรบ้าง บางทีก็อยากจะรู้อยากลองอยากที่จะกินดูบ้างแต่มันก็ยังไม่แน่ใจและยังคงลังเล ฟังคนนู้นทีคนนี้ทีบอกว่าตัวนี้ดีอย่างนั้นอย่างนี้ วันนี้ทาง HealthGossip เลยอยากจะยกอาหารเสริมตัวหนึ่งมาบอกเล่ากันเพื่อให้เรารู้จักและเข้าใจความหมายกันมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มของคนที่อยากลดน้ำหนักหรือลดความอ้วน อาหารเสริมตัวนี้ถือว่าเป็นตัวหลักที่เลือกรับประทานกันเลยทีเดียว ซึ่งเห็นบอกว่าช่วยลดความอ้วนได้ แต่จะลดได้ยังไงนั้น ก่อนอื่นเรามารู้จักทำความเข้าใจความหมายของอาหารเสริมตัวนี้กันก่อนเลยค่ะ ซึ่งอาหารเสริมตัวนี้มักคุ้นหูกันในชื่อที่เรียกกันว่า “แอลคาร์นิทีน” โดยที่ คาร์นิทีน เป็นสารประกอบจตุรภูมิของแอมโมเนียมที่สังเคราะห์ได้จากกรดอะมิโนสองชนิดคือ ไลซีนและเมธไทโอนีน ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตคาร์นิทีนจะลำเลียงกรดไขมันจากไซโตซอลเข้าสู่ไมโทคอนเดรียระหว่างการสลายของลิพิด (ไขมัน) เพื่อใช้ในการเผาผลาญพลังงาน คาร์นิทีนถูกใช้เป็นอาหารเสริมกันอย่างกว้างขวาง เดิมคาร์นิทีนพบว่าเป็นปัจจัยในการเจริญเติบโตของหนอนนกและมีอยู่บนฉลากวิตามินบี คาร์นิทีนมีอยู่ 2 stereoisomers : Active form คือ L-carnitine ขณะที่ inactive form คือ D-carnitine

แอลคาร์นิทีน (L-Carnitine) เป็นชื่อของสารตัวหนึ่ง ที่ถูกสร้างขึ้นในร่างกายของเราเอง โดยสร้างขึ้นมาจากกรดอะมิโน 2 ตัว คือ ไลซีน (lysine) และเมไทโอนีน (methionine) และ ถูกใช้ไปในหน้าที่ต่างๆ หลายอย่าง เช่น เข้าไปช่วยเพิ่มกระบวนการในการดึงไขมันไปใช้ โดยการขนส่งกรดไขมัน (fatty acid) เข้าไปในศูนย์กลางของการสร้างพลังงานของเซลล์ หรือจะพูดง่ายๆ ก็คือ แอล-คาร์นิทีนช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนกรดไขมันไปเป็นพลังงานนั่นเอง ซึ่งพลังงานที่ได้มาส่วนใหญ่ก็จะถูกใช้สำหรับการทำงานของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย และเพราะกระบวนการพื้นฐานดังกล่าวของสารชนิดนี้ จึงทำให้สื่อโฆษณานำมาใช้เป็นประเด็นหลักในการสร้างโฆษณาเพื่อให้เห็นว่า “เมื่อกินแอล-คาร์นิทีน แล้วร่างกายเหมือนจะได้ทำงานดึงไขมันไปใช้ตลอดเวลา แม้แต่ในยามหลับ” L-Carnitine ทำหน้าที่สำคัญในระบบเมตาบอลิซึมเพื่อสร้างพลังงาน โดยผ่านกระบวนการเผาผลาญกรดไขมันที่เรียกว่า Beta-oxidation ซึ่งเกิดภายในไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) ของเซลล์ต่างๆ รวมไปถึงเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อลาย โดยปกติ L-Carnitine จะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของ Acyl-Carnitine ทำหน้าที่ขนส่งกรดไขมันสายยาวเพื่อนำไปเผาผลาญภายในไมโตคอนเดรียแล้วจึงเปลี่ยนกลับมาเป็น L-Carnitine เหมือนเดิม ดังนั้นเราจึงอาจกล่าวได้ว่า L-Carnitine มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อวัฏจักรของการสลายกรดไขมันในร่างกาย ขณะเดียวกันการขาด L-Carnitine นอกจากจะมีผลเสียต่อเมตาบอลิซึมของกรดไขมันแล้วยังอาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งในปัจจุบันมีการศึกษาที่พบว่าการให้ L-Carnitine สามารถลดอัตราการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ (All- cause mortality, 27%) ลดภาวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ (Ventricular arrhythmias, 65%) และลดการปวดเค้นของกล้ามเนื้อหัวใจ (Angina, 40%) แต่ไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการลดอุบัติการการเกิดโรคหัวใจวาย (Heart failure)

แหล่งของคาร์นิทีน จะพบมากในเนื้อแดงและผลิตภัณฑ์จากนม คาร์นิทีนจากแหล่งธรรมชาติอื่นๆ ประกอบด้วยถั่วและเมล็ดพืช (เช่น ฟักทอง ทานตะวัน งา) พืชตระกูลถั่วหรือเมล็ดถั่ว (ถั่วเหลือง, ถั่วเขียว, ถั่วแขก, ถั่วลิสง) ผัก (อาร์ติโชค, หน่อไม้ฝรั่ง, หัวผักกาดเขียว, บร็อคโคลี่, กะหล่ำดาว, ผักคอลลาร์ด, กระเทียม, ผักกาดเขียวปลี, กระเจี๊ยบมอญ, พาสลี่ย์, คะน้า) ผลไม้ (แอปปริคอท, กล้วย) ธัญพืช (บัควีท(buckwheat), ข้าวโพด, ลูกเดือย, ข้าวโอ๊ต, รำข้าว, ข้าวไรย์, ข้าวสาลี, รำข้าวสาลี, จมูกข้าวสาลี) และอื่นๆที่เป็นอาหารสุขภาพ (ละอองเกสรดอกไม้, ยีสต์ที่ใช้หมักสุรา, carob)การดูดซึมคาร์นิทีนของร่างกาย การดูดซึมของแอล-คาร์นิทีนจะเกิดขึ้นในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ส่วนแพทย์สามารถให้คาร์นิทีนกับผู้ป่วยได้ทั้งทางเส้นเลือดและโดยการกิน

 

L-Carnitine กับการควบคุมหรือลดน้ำหนัก

ในปัจจุบันมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากมายต่างระบุตรงกันว่าการใช้ L-Carnitine ช่วยส่งเสริมเมตาบอลิซึมของกรดไขมันตามกลไกที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยเฉพาะเมื่อเรามีการออกกำลังกายชนิดแอโรบิกร่วมด้วย นั่นเป็นเพราะว่าการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอหรือแอโรบิก (Aerobic exercise) จะทำให้เซลล์สลายกรดไขมันไปเป็น ATP ซึ่งเป็นสารให้พลังงานหลักของเซลล์อย่างต่อเนื่อง หากเราออกกำลังกายติดต่อกันอย่างน้อย 30 นาที ดังนั้นหากเราต้องการควบคุมน้ำหนักจากการลดไขมันสะสม การใช้ L-Carnitine ร่วมกับการออกกำลังกายก็ย่อมจะช่วยให้เราสามารถควบคุมน้ำหนักตัวได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยนั่นเอง การรับประทาน L-Carnitine ร่วมกับกลุ่มวิตามินพื้นฐานอย่างวิตามินบีรวม (Vitamin B-Complex) นอกจากจะช่วยควบคุมเมตาบอลิซึมของร่างกายให้เป็นปกติแล้ว วิตามินบีรวมยังเป็นโคเอนไซม์หลักในปฏิกริยาการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายให้เป็นพลังงานอีกด้วย

เมื่อมนุษย์เริ่มแก่ตัวลงนั้น ความเข้มข้นของคาร์นิทีนก็จะลดลงไปดวย ซึ่งมีผลต่อการเผาผลาญกรดไขมันในเนื้อเยื่อต่างๆ โดยเฉพาะจะเกิดผลกระทบต่อกระดูก จึงจำเป็นที่จะต้องมีการสร้างใหม่อย่างต่อเนื่อง และเซลล์สร้างกระดูกจะทำหน้าที่เผาผลาญเพื่อซ่อมแซมมวลกระดูก ทั้งนี้ การเปลี่ยนระดับพลาสมาของเซลล์สร้างกระดูกกับการทำงานของเซลล์สร้างกระดูกมีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก โดยการลดระดับพลาสมาในเซลล์สร้างกระดูกจะเป็นตัวชี้วัดในการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก ซึ่งปรากฏในโรคกระดูกพรุนของผู้สูงอายุและวัยหมดประจำเดือนในผู้หญิง ซึ่งในการทดลอง การใช้คาร์นิทีนผสม หรือ propionyl-L-carnitine นั้น สามารถเพิ่มความเข้มข้นของ serum osteocalcin ในสัตว์ที่ทดลอง แต่ถ้าว่าระดับ serum osteocalcin มีแนวโน้มทำให้อายุของสัตว์ที่ทดลองนั้นสั้นลงด้วยค่ะ

 

ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน โดยทั่วไป 20 ถึง 200 มิลลิกรัมคือปริมาณของคาร์นิทีนที่ควรได้รับต่อวัน ด้วยเหตุนี้ผู้ที่เคร่งครัดในการทานมังสวิรัติจะรับประทานเพียง 1 มิลลิกรัมต่อวัน ไม่มีประโยชน์เกิดขึ้นถ้ารับประทานคาร์นิทีนมากกว่า 2 กรัมภายในครั้งเดียว เพราะว่าร่างกายสามารถดูดซึมได้สูงสุดได้เพียง 2 กรัม

 

www.flickr.com/photos/stephen_bolen/6142919686/