Browse Author: pompam

สวัสดีค่ะ! ดิฉันมีชื่อ Pompam ค่ะ ดิฉันจบจากมหาวิทยาลัยคริสเตียนแห่งประเทศไทยในสาขา FoodTechnology and Nutrition ดิฉันเคยได้ร่วมงานกับหลายบริษัท อาทิเช่น SparSha, FoodStar, Sodexo และโรงพยาบาลยันฮี โดยได้มีการวางแผนกำหนดอาหารและสร้างเมนูอาหารให้กับคนหลายร้อยคนทั้งในคนที่อยากลดน้ำหนักและในคนที่อยากรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ และดิฉันหวังว่าประสบการณ์ของดิฉันจะสามารถตอบโจทย์และช่วยคุณได้เป็นอย่างดี 🙂

15 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินบี 1 สูง

Source: Flickr (click image for link)

“วิตามินบี 1” (Vitamin B1) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไธอะมีน (Thiamine) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ (water soluble vitamine) ซึ่งจะถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อนที่อยู่ในสารละลายมีฤทธิ์เป็นด่างหรือเป็นกลาง และสามารถทนได้ถึง 120 องศาเซลเซียสถ้าอยู่ในสารละลายที่เป็นกรดค่ะ โดยร่างกายของมนุษย์เราไม่สามารถสังเคราะห์ไธอะมินได้เพราฉะนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับจากอาหารและจะถูกนำไปใช้จนหมดอย่างรวดเร็วถ้าไม่ได้รับเพิ่มจากอาหาร ในส่วนของหน้าที่สำคัญในการทำงานของไธอะมีนที่มีต่อร่างกายของเราคือ จะไปช่วยร่างกายของเราให้เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตมาเป็นพลังงาน โดยการเร่งการเผาผลาญอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเป็นหลักรวมถึงโปรตีนและไขมันอีกด้วยค่ะ เนื่องด้วยร่างกายของเราไม่สามารถสังเคราะห์ไธอะมีนได้นอกเสียจากได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้นอีกทั้งยังถูกนำไปใช้หมดอย่างรวดเร็ว ในบางคนจึงไม่เกิดอาการขาดวิตามินบี 1 ได้ง่ายอาจจะเพราะได้รับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอ เมื่อร่างกายเราได้รับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอก็จะทำให้เป็น โรคเหน็บชา ได้ง่ายและก็เกิดได้กับบุคคลทุกกลุ่ม ทุกอายุ เด็กทารกถ้าเป็นโรคเหน็บชา (Infantile beriberi) จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันต่อโรค ซึ่งพบได้มากในประเทศที่รับประทานข้าวที่ผ่านการขัดสีเป็นอาหารหลัก โดยที่ไม่ได้รับอาหารอย่างอื่นที่มีวิตามินบี 1 มาเสริมเพิ่มเติมอย่างเพียงพอ เมื่อร่างกายของเราได้รับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอก็จะมีสัญญาณเตือนว่าเรามีอาการขาดวิตามินบี 1 โดยที่เราจะรู้สึกเหนื่อยเมื่อยล้าง่าย เริ่มเบื่ออาหารการกิน นอนก็ไม่ค่อยจะหลับ อารมณ์แปรปรวน สมองมึนงงความคิดสับสนวกวนจากการเสื่อมสภากของระบบประสาท หากขาดรุนแรงก็อาจจะทำให้เกิดอาการทางการเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน ชาตามปลายมือปลายเท้า รุนแรงมากขึ้นอาจเป็นอัมพาตและโรคหัวใจวายได้ และการขาดหรือได้รับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอก็เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้ค่ะ

  • รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 ในปริมาณที่ไม่เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 น้อยหรือไม่มีเลย
  • รับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมากเกินไปจนไปทำให้ร่างกายต้องใช้ วิตามินบี 1 ไปเยอะในการเผาผลาญสารอาหารคาร์โบไฮเดรตจนทำให้ร่างกายขาด
  • วิตามินบี 1 สามารถถูกทำลายได้จากความร้อนที่เกิดจากการประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนนานเกินไป
  • วิตามินบี 1 จะถูกทำลายและถูกขัดขวางในการดูดซึมเมื่อดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

15 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินบี 1 (Vitamin B1) สูง

Source: Flickr (click image for link)

1.เนื้อหมู

ในเนื้อสัตว์ก็มีวิตามินบี 1 หรือไธอะมีนซึ่งจะมีเยอะมากในเนื้อหมูล้วนๆ ยิ่งเลือกรับประทานส่วนที่มีไขมันน้อยยิ่งได้ไธอมีนสูงและได้ประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย ซึ่งเนื้อหมูปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 1.12 มิลลิกรัม

 

2.ปลาเทราท์

เนื้อปลาที่มีวิตามินบี 1 หรือไธอะมีนอยู่มากจะเป็นปลาเทราท์ ถ้าใครไม่ทานเนื้อสัตว์ใหญ่ก็เลือกรับประทานปลาแทนได้ค่ะ เนื้อปลาเทราท์ปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.43 มิลลิกรัม

 

3.ข้าวกล้อง

วิตามินบี 1 หรือไธอะมีนจะมีเยอะอยู่ในธัญพืชประเภทข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี แต่บ้านเรานิยมรับประทานข้าวขาวกันซะมากกว่าจึงได้รับวิตามินบี 1 น้อย ลองเปลี่ยนมาทานข้าวกล้องกันดูค่ะ ซึ่งข้าวกล้องปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.55 มิลลิกรัม

 

4.เมล็ดทานตะวัน

ธัญพืชตรกูลถั่วมีไธอะมีนอยู่สูงด้วยกันหลายชนิดและเมล็ดทานตะวันเป็นอีกหนึ่งในธัญพืชตระกูลถั่วที่มีไธอะมีนอยู่สูง เมล็ดทานตะวันปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 1.48 มิลลิกรัม

 

5.แมคคาเดเมีย

แมคคาเดเมียเป็นถั่วเมล็ดกลมๆ สีขาวนวล รสชาติกลมกล่อมเหมาะกับเป็นอาหารว่างทานเล่นเพลินๆ แต่หารู้ไม่ว่าแมคคาเดเมียปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.71 มิลลิกรัม

 

6.ถั่วลันเตา

ถั่วลันเตาสีเขียมลูกกลมกลิ้งก็เป็นอีกตัวเลือกสำหรับคนที่กำลังมองหาอาหารชนิดที่มีไธอะมีนสูงค่ะ ถั่วลันเตาปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.386 มิลลิกรัม

 

7.ขนมปังโฮลวีท

ขนมปังชนิดโฮลวีทนอกจากจะมีประโยชน์ในด้านไฟเบอร์สูงแล้วยังมีวิตามินบี 1 อยู่สูงด้วยเช่นกัน ขนมปังโฮลวีทปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.47 มิลลิกรัม

 

8.งาดำ

งาทุกชนิดมีประโยชน์และไธอะมีนอยู่สูงเช่นกันโดยเฉพาะงาดำ ซึ่งงาดำปริมาณ 2 ช้อนโต๊ะ มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.142 มิลลิกรัม

 

9.สควอช

ผลสควอชเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับฟักทองและก็มีลักษณะรสชาติคล้ายกับฟักทองด้วยเช่นกันค่ะ สควอชปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.17 มิลลิกรัม

 

10.หน่อไม้ฝรั่ง

พืชผักอย่างหน่อไม้ฝรั่งก็ถือเป็นแหล่งไธอะมีนด้วยเหมือนกันค่ หน่อไม้ฝรั่งปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.19 มิลลิกรัม

 

11.ถั่วแระ

ถั่วแระถือเป็นอาหารทานเล่นของชาวญี่ปุ่นที่อุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย และรสชาติของถั่วแระก็ถูกปากคนไทยบ้านเราอยู่ไม่น้อย ซึ่งถั่วแระปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.40 มิลลิกรัม

 

12.ถั่วเหลือง

ถั่วเหลืองเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีโปรตีนสูงและสารอาหารมากมายรวมถึวิตามิบี 1 ด้วยค่ะ ถั่วเหลืองดิบปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.73 มิลลิกรัม

 

13.ข้าวเหนียวดำ

บ้านเรามีข้าวหลากหลายประเภทให้เลือกรับประทานถือว่าโชคดีค่ะ และข้าวเหนียวดำถือว่ามีประโยชน์สูงโดยเฉพาะเป็นแหล่งวิตามินบี 1 โดยข้าวเหนียวดำปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.55 มิลลิกรัม

 

14.ผักปวยเล้ง

ผักปวยเล้งเป็นพืชที่ประโยชน์ล้นเหลือจริงๆค่ะ ไม่น่าเชื่อว่าผักปวยเล้งก็จัดอยู่ในผักที่ให้ไธอมีนสูงเช่นกัน โดยผักปวยเล้งปริมาณ 1 ช่อ มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.265 มิลลิกรัม

 

15.ถั่วพิตาชิโอ

ใครที่ชอบกินถั่วเป็นของว่างทานเล่นนี้ถือว่ามาถูกทางค่ะ พืชตระกูลถั่วนี้ถือว่าเป็นแหล่งไธอะมีนเลยทีเดียว ถั่วพิตาชิโอปริมาณ 1 ออนซ์ มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.247 มิลลิกรัม

 

 

 

www.flickr.com/photos/sierravalleygirl/1603076490/

www.flickr.com/photos/97513256@N06/9042013683/

อาหารออร์แกนิก (Organic Food) คืออะไร

Source: Flickr (click image for link)

อาหารออร์แกนิก (Organic Food) จะเป็นที่รู้จักและนิยมเลือกมารับประทานกันในแวดวงคนที่รักสุขภาพโดยเฉพาะในต่างประเทศ ร้านค้าที่เรียกว่าซูปเปอร์มาร์เก็ตในต่างประเทศที่ไปทางไหนอาหารทุกอย่างเกือบทุกชนิดที่จะต้องมีอาหารประเภทออร์แกนิก และราคาก็จะแตกต่างจากอาหารชนิดเดียวกันที่ไม่ใช่ออร์แกนิกซึ่งอาหารที่เป็นออร์แกนิกจะมีราคาที่สูงกว่า และคนต่างประเทศค่อนข้างจริงจังที่จะเลือกซื้อหรือหยิบอาหารที่เป็นออร์แกนิกอยู่เสมอๆ ในบางคนถึงกับสงสัยว่าทำไมราคาถึงได้ต่างกันขนาดนี้นะในเมื่อชนิดของอาหารก็เป็นชนิดเดียวกันรูปร่างหน้าตาของอาหารก็เหมือนกัน ในปัจจุบันนี้ไม่ใช่แค่เพียงอาหารเท่านั้นที่เป็นอาหารออร์แกนิก ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันด้วยที่เป็นออร์แกนิกอย่างเช่น เครื่องปรุงอาหาร เป็นต้น นี่จึงเป็นเหตุจูงใจให้ผู้เขียนได้คลายความสงสัยเลยจึงอยากนำเอาข้อมูลมาแบ่งปันกันค่ะ ว่าแล้วอาหารออร์แกนิกที่ว่านี้มันคืออะไรกัน ทำไมถึงเป็นที่นิยมกันมากนักในพวกคนที่รักสุขภาพ ถ้าจะพูดไปสมัยนี้ใครๆ ก็หันมาใส่ใจในสุขภาพของตัวเองกันมากขึ้น และบางคนที่ยังไม่ทราบว่าอาหารออร์แกนิกคืออะไรอย่างแน่ชัดแต่เห็นคนอื่นบอกดีก็กินตามกันไป และก็เป็นเรื่องปกติซึ่งก็ไม่ผิดแต่อย่างใดค่ะ แค่อย่างน้อยอยากให้ตัวเราเองทราบข้อมูลที่แท้จริงไว้ซึ่งบางทีอาจจะสามารถนำข้อมูลไปบอกต่อคนอื่นๆ ได้อีกด้วย รู้อย่างนี้แล้วเราไปดูข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ อาหารออร์แกนิก กันเลยค่ะ

อาหารออร์แกนิก (Organic Food) คืออะไร

อาหารออร์แกนิก (Organic Food) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาหารเกษตรอินทรีย์ หรือ อาหารอินทรีย์ นั่นก็หมายความว่าอาหารออร์แกนิกที่ว่านี้คืออาหารที่ได้ผ่านกระบวนการผลิตจากทางเกษตรโดยที่ไร้หรือปลอดสารเคมีทุกชนิดคือไม่ใช้สารเคมีใดๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมีรวมถึงวัตถุสังเคราะห์ต่างๆ อีกทั้งยังรวมไปถึงไม่ทำการตัดต่อทางพันธุกรรมจากเมล็ดพันธุ์อีกด้วยค่ะ ซึ่งก็รวมไปถึงกระบวรการผลิตก็จะต้องไม่มีการใช้สารเคมีในการกำจัดพืชด้วย และก่อนที่จะเริ่มการปลูกก็จะต้องเตรียมหน้าดินด้วยวิธีธรรมชาติ หรือเรียกง่ายๆ ว่าทุกกระบวนการและขั้นตอนการผลิตนั้นจะต้องไม่มีหรือปลอดสารปนเปื้อนทั้งสิ้นไม่ว่าจะจากมนุษย์หรือจากโรงงานอุตสาหกรรม และจะไม่มีการฉายรังสีหรือเพิ่มเติมสารปรุงแต่งต่างๆ ลงไปในอาหารอีกด้วย แม้กระทั่งในขั้นตอนการเลี้ยงสัตว์จะต้องเลี้ยงสัตว์ด้วยอาหารที่มีสุขอนามัย ถ้าอาหารที่มาจากการทำปสุสัตว์ก็จะต้องไม่มีการใช้สารปฎิชีวภาพ ไม่ใช้สารที่เร่งฮอร์โมนด้วย จากการตั้งคำถามและสงสัยว่าทำไมอาหารออร์แกนิกหรือผลิตภัณฑ์ที่มีตราประทับว่าออร์แกนิก (Organic) ถึงได้มีราคาที่แตกต่างจากอาหารชนิดเดียวกันที่ไม่ใช่ออร์แกนิก ก็เนื่องจากสินค้าออร์แกนิกหรือผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกจะถูกแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ตามสัดส่วนของส่วนผสมและวัตถุดิบที่เกิดจากการเพาะปลูกด้วยกระบวนการออร์แกนิก โดยการควบคุมและการตรวจสอบมาตรฐานของหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับ นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคาของผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกมีราคาสูงกว่าทั่วไป ก็เพราะว่ามีต้นทุนการผลิตที่สูงและมีข้อจำกัดในด้านการควบคุมคุณภาพนั่นเองค่ะซึ่งมีอะไรบ้างนั้นกว่าจะมาเป็นอาหารประเภทออร์แกนิกได้นั้นต้องผ่านกระบวนการและขั้นตอนของอะไรบ้างมาดูกันค่ะ

  • ส่วนประกอบทุกอย่างต้องมาจากธรรมชาติ

ส่วนประกอบทุกอย่างในการที่จะประกอบอาหารประเภทออร์แกนิกนั้นจะต้องมาจากธรรมชาติทั้งหมด นั่นก็คือในขั้นตอนกระบวนการเพาะปลูกพืชและผักนั้นจะไม่มีการใช้สารสังเคราะห์ใดๆ ทั้งสิ้น เรียกได้ว่าจะต้องเป็นพืชผักที่ปลอดสารพิษจากสารเคมีซึ่งจะใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกจากธรรมชาติในการเพาะปลูกเท่านั้นค่ะ และรวมไปถึงเนื้อสัตว์ก็ต้องมาจากสัตว์ที่จะต้องถูกทำการเลี้ยงดูให้เติบโตสมบูรณ์อย่างอิสระตามธรรมชาติรวมถึงได้รับอาหารจากธรรมชาติ และจะไม่มีการใช้สารเร่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเร่งเนื้อ เร่งไข่ จะไม่มีการขุนหรือให้อาหารสังเคราะห์ใดๆ ต่อสัตว์ทั้งนั้นที่เป็นการทำให้สัตว์เหล่านั้นโตเร็วขึ้นเหมือนกับที่ในวงการอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ทำกัน ถึงจะเรียกได้ว่าผลผลิตเหล่านี้เป็นการสร้างอาหารแบบธรรมชาติ 100% ไม่มีสารพิษเจือปนค่ะ

  • ขั้นตอนขบวนการผลิตไม่ใช้สารเคมี

หากในอาหารมีส่วนประกอบจากการใช้สารเคมีร่วมด้วยนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นออร์แกนิก ซึ่งการไม่ใช้สารเคมีในที่นี้หมายถึง ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี สารกระตุ้นหรือสารเร่งการเจริญเติบโต โดยตามหลักมาตรฐานขององค์กรออร์แกนิกจะระบุรูปแบบอาหารออร์แกนิกไว้ 3 ระดับ คือ

1.100% Organic (ธรรมชาติ 100%)

2.Organic (ธรรมชาติ 95% ขึ้นไป ใช้สารสังเคราะห์เพียงเล็กน้อยเท่าที่จำเป็น)

3.Made with Organic Ingredient (ธรรมชาติ 70% ขึ้นไป ถ้าต่ำกว่านี้ไม่ถือว่าเป็น Organic)

ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์ถูกนำออกมาจำหน่ายนั้น ต้องมีป้ายบ่งบอกเปอร์เซ็นต์ลักษณะนี้ ซึ่งในต่างประเทศอย่างอเมริกา แคนาดา ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารออร์แกนิกค่อนข้างสูง โดยจะเป็น Organic 100% ซึ่งเทียบกับประเทศไทยแล้วเรายังไม่ค่อยเห็นความสำคัญในเรื่องนี้มากนัก แต่ก็เริ่มมีผู้บริโภคในกลุ่มคนรักสุขภาพหันมารับประทาน Organic Food มากขึ้น เพราะพิษภัยของสารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารและสิ่งแวดล้อม ทำให้ร่างกายของเรากลายเป็นแหล่งสะสมสารพิษและส่งผลให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บ ดังนั้น Organic Food จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคที่ห่วงใยในสุขภาพของตัวเอง

  • กระบวนการผลิตไม่ก่อให้เกิดมลพิษในสิ่งแวดล้อม

นอกจากส่วนผสมและขั้นตอนกระบวนการของการประกอบอาหารประเภทออร์แกนิกจะต้องปลอดสารพิษไร้สารเคมี โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพแล้วยังคำนึงถึงในขั้นตอนกระบวนการผลิตที่จะไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยพยายามลดมลพิษที่จะให้โทษต่อธรรมชาติ ซึ่งคงจะทราบกันดีว่าการใช้สารเคมีเช่น ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี จะส่งผลให้มีสารพิษตกค้างอยู่ในดิน น้ำ และอากาศ ดังนั้นวิธีการปลูกแบบธรรมชาติแบบนี้จึงเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม พูดง่ายๆ คือ ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมนั่นเองค่ะ

 

จะทราบได้อย่างไรว่าอาหารประเภทไหนเป็น “ออร์แกนิก”

Source: Flickr (click image for link)

ในส่วนของประเภทของอาหารออร์แกนิกที่พบว่ามีวางจำหน่ายมากที่สุดคือ ผักสด ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากธัญพืช เครื่องดื่ม เครื่องปรุงอาหาร และในรูปของขนมต่าง ๆ (เกือบ 58% ของสินค้าออร์แกนิกที่วางจำหน่ายเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งถ้าไม่นับรวมกับผักผลไม้สดที่ส่วนใหญ่จะผลิตในประเทศ สัดส่วนของสินค้าออร์แกนิกที่นำเข้าจากต่างประเทศจะสูงถึง 85%)

หลายคนอยากที่จะหันมาเลือกรับประทานอาหารประเภทออร์แกนิกกันมากขึ้นก็เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพนั่นเอง หรือใครที่กำลังอยากที่จะเริ่มต้นในการเลือกรับประทานอาหารประเภทออร์แกนิกอาจจะเกิดความสงสัยว่าต้องดูยังไงนะถึงจะรู้ว่าสินค้าหรืออาหารแบบไหนที่เป็นอาหารและสินค้าประเภทออร์แกนิก หรือแค่ติดป้ายว่าออร์แกนิก (Organic) ก็ใช่เลยหรือเปล่า? โดยเกือบ 91% ของสินค้าออร์แกนิกจะได้รับการรับรองมาตรฐาน และมีเพียง 9% เท่านั้นที่มีการกล่าวอ้างว่าเป็นสินค้าออร์แกนิกแต่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ซึ่งในสินค้าที่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานนั้นจะใช้ตราที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากต่างประเทศ โดยตรารับรองการเกษตรอินทรีย์ที่ใช้มากที่สุดคือ ตรารับรองของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA)  

โดย U.S. Department of Agriculture ตรารับรองอาหารและผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดคำว่า “Organic” ซึ่งใช้ได้เฉพาะกับสินค้าเกษตรและสัตว์น้ำที่จับได้จากแหล่งธรรมชาติที่มาจากการเพาะเลี้ยงและอาหารสำหรับเลี้ยงปศุสัตว์ ทั้งที่เป็นวัตถุดิบและที่ผ่านกระบวนการแล้ว ทั้งนี้รวมถึงผลิตภัณฑ์เกษตรที่นำมาใช้ในลักษณะที่เป็นเครื่องปรุง (Ingredient) ที่ได้รับการผลิตและการจัดการเป็นไปตามกฎระเบียบ USDA ที่กำหนดไว้ว่าแล้วเท่านั้น แต่จะมีเพียงส่วนน้อยที่ใช้เพียงมาตรฐานของประเทศไทย Organic Thailand หรือสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ค่ะ

 

https://www.flickr.com/photos/84906483@N08/7784187292/ 

https://www.flickr.com/photos/williamismael/5539135518/

16 สุดยอดผลไม้ที่ช่วยให้ผิวสวยสุขภาพดี

Source: Flickr (click image for link)

ขึ้นชื่อเรื่องความสวยความงามสำหรับผู้หญิงย่อมเป็นของคู่กันเสมอค่ะ โดยเฉพาะเรื่องของผิวพรรณแล้วคงไม่มีใครที่ไม่อยากมีผิวสวยอย่างแน่นอน ผิวสวยในที่นี้คือมีผิวที่เนียนสวยไม่พอต้องมีผิวที่สุขภาพดีอีกด้วยค่ะ หลายคนคิดว่าการมีผิวที่สวยคือผิวขาวใสปิ้งแต่เมื่อมองย้อนกลับมาดูธรรมชาติบ้านเราแล้วถ้าไม่ได้จากกรรมพันธุ์มาก็คงจะยากไปหน่อยนึง ด้วยแสงอาทิตย์ที่จัดจ้านพ่วงมาด้วยแสง UV ที่ร้อนแรงและผสมกับอนุมูลอิสระรอบกายที่ประทุประทังให้ผิวของเรายิ่งย่ำแย่ ถึงแม้ผิวเราอาจจะไม่ขาวเรืองแสงเหมือนใครๆ แต่เราสามารถทำให้ผิวเราเนียนสวยและมีสุขภาพดีจากภายในได้ค่ะ ก็ด้วยจากการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องรวมถึงการดื่มน้ำให้เป็นประจำ ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงๆก็ทาปกป้องผิวกายเราสักนิดก่อนที่จะออกจากบ้าน ทราบหรือเปล่าคะว่าหลายคนไม่ยอมทานผลไม้เลยอาจจะเนื่องด้วยไม่ชอบหรือไม่มีเวลา แต่อาหารประเภทผลไม้นี่แหละเป็นสุดยอดของอาหารผิวชั้นดี ในประเทศไทยนั้นมีผลไม้หลายอย่างในแต่ฤดูและมีตลอดทั้งปี อย่ารีรอหรือขี้เกียจที่จะกินผลไม้ให้ติดเป็นนิสัยกันเลยค่ะ ผลไม้ที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่างๆ จะส่งผลโดยตรงต่อการทำให้ผิวเรามีสุขภาพดีทั้งยังส่งเสริมสารอาหารบางตัวรวมทั้งกลไกบางอย่างให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นี่แหละที่เราเรียกกันว่า สารต่อต้านอนุมูลอิสระ จากธรรมชาติค่ะ

 

16 สุดยอดผลไม้ที่ช่วยให้ผิวสวยสุขภาพดี

 

1.แอปเปิ้ล

แอปเปิ้ล เป็นผลไม้ที่ถือเรียกได้ว่าเป็นสุดยอดผลไม้เลยก็ว่าได้ค่ะไม่ว่าจะสีไหนล้วนแต่มีประโยชน์ด้วยกันทั้งนั้น ในผลแอปเปิ้ลนั้นนอกจากมีวิตามินหลากหลายแล้วยังมีสารสำคัญอย่างแพคตินที่ช่วยทำให้เล็บมีความแข็งแรง อีกทั้งยังอุดมไปด้วยกรดมาลิกซึ่งเป็นชนิดของกรดผลไม้ที่เป็นที่รู้จักกันในโลกสุขภาพที่เรียกกันว่า alpha hydroxyl acid กรดมาลิกเป็นกรดที่อ่อนกว่ากรดอื่นๆ ที่นิยมใช้ในกลุ่มรักษาความงามเช่นเดียวกับกรดไกลโคลิก และ salicylic กรดมาลิกช่วยให้ผิวดูสุขภาพดีกระชับและดูอ่อนเยาว์ขึ้นโดยการต่ออายุเซลล์ผิวโดยไม่ทำลายชั้นผิวหนังนั่นเองค่ะ  อีกทั้งปริมาณเส้นใยที่สูงในผลแอปเปิ้ลยังสามารถช่วยในการทำความสะอาดลำไส้ใหญ่และส่งเสริมการเคลื่อนไหวของลำไส้ให้เป็นปกติอีกด้วยค่ะ

 

2.มะนาว

พูดถึงผลไม้ประเภทกรดรสเปรั้ยวจี๊ดอย่างมะนาวในด้านของการช่วยในเรื่องความสวยความงามได้อย่างไร ซึ่งมะนาวจะไปช่วยเพิ่มความขาวกระจ่างใสให้แก่ผิวอีกทั้งยังช่วยลบเลือนการเกิดริ้วรอยจากรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิวรวมถึงความหมองคล้ำของผิวที่ทำให้สีผิวไม่สม่ำเสมอ และมะนาวยังสามารถทำความสะอาดผิวได้อย่างล้ำลึกโดยทำลายสิ่งสกปรกที่ไปอุดตันรูขุมขนต่างๆ ได้อีกด้วยค่ะ

 

3.อะโวคาโด

อะโวคาโดเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมากจนเป็นที่กล่าวถึงในด้านสุขภาพว่าเป็นสุดยอดอาหาร (Super Foods) และมักจะนำมาใช้ทำมายองเนสแบบมังสวิรัติหรือแบบเจนั่นเองค่ะ นอกจากรสชาติที่อร่อยถูกปากใครหลายคนแล้ว การเลือกรับประทานอะโวคาโดจะให้ประโยชน์ที่น่ามหัศจรรย์ต่อผิวพรรณโดยตรง เนื่องจากอะโวคาโดมีไบโอตินหรือที่เรียกว่าวิตามินบี 7 ซึ่งไบโอตินจะไปช่วยกระตุ้นการงอกและการเจริญเติบโตของเซลล์ในร่างกาย โดยเฉพาะจะไปกระตุ้นทำให้เส้นผมและเล็บงอกใหม่ได้เร็วขึ้น อะโวคาโดยังมีวิตามินอีที่เป็นตัวช่วยในการปกป้องผิวอีกทั้งกรดไขมันในผลอะโวคาโดที่เป็นกรดไขมันตามธรรมชาติ จะไปช่วยให้ผิวมีการหล่อลื่นทำให้นุ่มนวลและช่วยเสริมสร้างผิวให้อ่อนเยาว์มันวาวแบบมีน้ำมีนวลตามธรรมชาติค่ะ

 

4.มะเขือเทศ

มะเขือเทศขึ้นชื่อในเรื่องของสารไลโคปีนที่มีในมะเขือเทศทีเป็นตัวพระเอกอยู่ในมะเขือเทศเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันปัญหาริ้วรอยแห่งวัยหรือชะลอผิวให้คงความอ่อนเยาว์รวมถึงปกป้องความเสื่อมของเซลล์ผิว ให้ผิวมีความแข็งแรงต่ออนุมูลอิสระรอบกาย รวมถึงแสงยูวีที่ร้อนแรงและช่วยบำรุงผิวพรรณให้มีความเนียนนุ่มชุ่มชื่นอีกด้วยค่ะ

 

5.ฝรั่ง

หลายคนคงไม่ทราบกันว่าฝรั่งลูกสีเขียวๆ แบบนี้จะมีวิตามินซีอยู่สูงมาก อีกทั้งยังมีวิตามินเอและแร่ธาตุโพแทสเซียมอยู่อีกด้วยค่ะ และด้วยประโยชน์จากสารอาหารเหล่านั้นเมื่อร่างกายเราได้รับเข้าไปแล้วจะทำให้ผิวพรรณที่สดใสเปล่งปลั่งจากวิตามินซีที่ไปช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในชั้นใต้ผิวหนังของเราด้วยค่ะ

 

6.มะละกอ

ความจริงแล้วผิวคนเราจะดูไม่สดใสอาจจะมาจากการที่ไม่ได้ขับของเสียออกจากร่างกาย คืออาการท้องผูกไม่มีการขับถ่ายที่สม่ำเสมอเหมือนเป็นการสะสมของเสียไว้ในร่างกาย ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่ผลดีต่อสุขภาพไปด้วยแต่มะละกอมีเส้นใยอาหารสูงรวมทั้งยังมีเอ็นไซส์ปาเปนที่เป็นตัวต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยปกป้องให้เรามีผิวพรรณที่เยาว์วัยขึ้นอีกด้วยค่ะ

 

7.กีวี่

ผลไม้รสเปรี้ยวอย่างกีวี่เต็มล้นไปด้วยวิตามินซีที่มากถึง 98 มิลลิกรัมต่อปริมาณ 100 กรัม วิตามินซีนอกจากช่วยในเรื่องของสุขภาพได้ด้านการเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงแล้วยังช่วยทำให้ผิวของเราดูอ่อนเยาว์และสดใสขึ้นแบบนี้ไม่ควรพลาดค่ะ

 

8.ทับทิม

ผลไม้ที่มีเมล็ดสีชมพูอมแดงใสๆ รสชาติอร่อยที่ใครหลายคนชอบกัน นอกจากความอร่อยแล้วยังเป็นผลไม้ที่มีสารอาหารที่จัดเต็มอย่างวิตามินซี วิตามินเอ รวมถึงวิตามินอีที่สูงปริ๊ด โดยวิตามินที่กล่าวมานั้นล้วนช่วยในเรื่องของผิวพรรณเราโดยตรง ช่วยต้านอนุมูลอิสระและคืนความชุ่มชื่นให้กับผิวทำให้ผิวพรรณของเรามีน้ำมีนวลเปล่งปลั่งมากขึ้นค่ะ

 

9.สตรอเบอร์รี่

นอกจากปริมาณวิตามินซีสูงแล้วสตรอเบอร์รี่ยังมีกรดที่สำคัญอยู่คือ alpha hydroxyl หรือที่เราเรียกกันว่ากรด salicylic อาจจะเคยได้ยินชื่อกรด salicylic เป็นกรดที่ใช้สำหรับการรักษาสิวนั่นเองค่ะ โดยการทำงานของกรด salicylic นั้นจะทำการเจาะลึกเข้าไปในรูขุมขนของเราและทำความสะอาดรูขุุมขน อีกทั้งยังช่วยขจัดรูขุมขนและหยุดสิวที่กำลังอักเสบได้ค่ะ นอกจากนั้นสตรอเบอร์รี่ยังมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่เรียกว่ากรด Ellagic ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าสามารถป้องกันการทำลายคอลลาเจนที่นำไปสู่การเกิดริ้วรอย และกรด Ellagic มีผลที่ทำให้ป้องกันอันตรายจากแสงแดดรังสียูวีด้วยค่ะ

 

10.กล้วย

กล้วยเป็นผลไม้สารพัดประโยชน์ช่วยทั้งทางด้านสุขภาพและด้านผิวพรรณความงาม กล้วยขึ้นชื่อว่าเป็นผลไม้ที่มีโพแทสเซียมในปริมาณมาก จึงช่วยทำให้ผิวที่แห้งกลับมีความชุ่มชื่นขึ้นและนั่นก็เป็นผลพวงที่ทำให้ผิวเรามีความอ่อนนุ่มและอ่อนเยาว์ขึ้นค่ะ โดยในกล้วยนั้นยังมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพผิวของเรา อย่างเช่นวิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินอี ซึ่งสารอาหารเหล่านั้นจะทำงานโดยการรักษาความยืดหยุ่นของผิวให้มีความชุ่มชื้น และป้องกันริ้วรอยที่เกิดก่อนวัยรวมทั้งจุดด่างดำที่เกิดจากสิวจางลงด้วยค่ะ

 

11.ส้ม

ส้มผลไม้ที่หารับประทานได้ง่ายทั่วโลกขึ้นชื่อในเรื่องที่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยเส้นใยธรรมชาติ มีกรดธรรมชาติจากวิตามินซีในการไปช่วยส่งเสริมการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนังช่วยกระชับผิวให้เรียบเนียนขึ้น รวมทั้งช่วยสร้างภูมิกันป้องกันหวัดได้อีกด้วยค่ะ  ซึ่งส้มปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินซีประมาณ 54 มิลลิกรัม

 

12.แตงโม

แตงโมเนื้อสีแดงๆ รสชาติหวานชุ่มฉ่ำเมื่อรับประทานสามารถดับกระหายคลายร้อนได้เลยทีเดียวค่ะ นอกจากจะช่วยในเรื่องของดับกระหายแล้วยังช่วยในเรื่องสุขภาพและผิวพรรณอีกด้วย ด้วยสารอาหารจำพวกวิตามินแร่ธาตุต่างๆ ที่มีมากมายหลายชนิดในแตงโมจะไปช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวลขึ้น ในด้านสุขภาพกฌสามารถช่วยทำหน้าที่ล้างไต ขับสารพิษและช่วยขับปัสสาวะ ไม่ทำให้เกิดโรคในทางเดินปัสสาวะค่ะ

 

13.สับปะรด

สับปะรดเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อว่าช่วยในเรื่องสุขภาพในด้านของการต้านการอักเสบที่มากจากสาร Bromelain ในสับปะรดที่จะช่วยขจัดสิ่งสกปรกบนผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเอนไซม์ตัวนี้มีประโยชน์ช่วยทำผิวพรรณที่อ่อนโยน อีกทั้งสับปะรดยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอย่าง เบต้าแคโรทีน วิตามินซี ที่ทำให้ผิวมีความชุ่มชื่นและนุ่มเนียนรวมทั้งลดจุดด่างดำทำให้ผิวดูกระจ่างใสขึ้น

 

14.แคนตาลูป

ทราบหรือไม่คะว่าแคนตาลูปเพียงแค่ 1 ถ้วย มีค่าของวิตามินเอและวิตามินซีถึง 100 เปอร์เซ็นต์ต่อค่าที่แนะนำให้ควรได้รับวิตามินเหล่านั้นต่อวันเชียวค่ะ ถึงกับยกให้ผลไม้อย่างแคนตาลูปนั้นมีคุณสมบัติเป็น ผลไม้แห่งความงาม เลยทีเดียว ด้วยเนื้อสีส้มของแคนตาลูปก็เต็มไปด้วยเบต้าแคโรทีนที่จะไปเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกายและช่วยส่งเสริมสุขภาพผิวโดยการทำให้ชั้นนอกของเซลล์ผิวที่ตายแล้วบางลงโดยไม่ทำให้รูขุมขนอุดตันจนก่อให้เกิดสิวได้ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าวิตามินเออาจสามารถช่วยปกป้องผิวหรือต่อต้านรังสียูวีและโอโซนที่เป็นอันตรายได้ค่ะ

 

15.องุ่น

องุ่นเป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระชนิดที่สำคัญที่เรียกว่า สาร Reservatrol นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่างๆ องุ่นเป็นผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยและคุณค่าทางโภชนาการก็มีไม่น้อยเช่นกันค่ะ สารต้านอนุมูลสระที่มีในองุ่นจะช่วยในเรื่องชะลอความแก่ เช่นเรื่องริ้วรอย ผิวหมองคล้ำและกระชับผิวให้เต่งตึงเรียบเนียนดูอ่อนเยาว์ขึ้นค่ะ

 

16.มะพร้าว

มะพร้าวเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ทั้งลูกโดยเฉพาะน้ำมะพร้าวที่ได้จากมะพร้าวอ่อนเมื่อดื่มแล้วจะช่วยในเรื่องของผิวพรรณให้เปล่งปลั่งและเนียนนุ่ม เนื่องจากในน้ำมะพร้าวนั้นมีฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ที่จะทำให้ผิวกระชับ ยืดหยุ่น ชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัยนั่นเองค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/kartaba/32923446374/

16 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินเอสูง

Source: Flickr (click image for link)

วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา ร่างกายของเราสามารถสะสมวิตามินเอได้นานมากอาจนานได้ถึง 1 หรือ 2 ปี โดยเก็บไว้ในชั้นเซลล์ไขมัน ด้วยวิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันดังนั้นวิตามินเอจะถูกดูดซึมไปใช้ในร่างกายได้ดีที่สุดเมื่อกินร่วมกับอาหารที่มีน้ำมันหรือไขมันเป็นส่วนประกอบนั่นเองค่ะ และเมื่อร่างกายของเราใช้วิตามินเอไม่หมดก็จะถูกเก็บสะสมไว้ที่ตับ และวิตามินเอมีหน้าที่ช่วยในการมองเห็น การเจริญเติบโตของกระดูก การแบ่งตัวของเซลล์ การกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคซ่อมแซมผิวของตาและหลอดลมทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายยากขึ้น อีกทั้งวิตามินเอยังช่วยกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาวโดยเฉพาะ lymphocyte ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตได้อย่างปกติไม่ชะงักหรือหยุดการเจริญเติบโตก่อนวัย

วิตามินเอจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1.อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) หรือเรียกว่า Retinol ซึ่งได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา อาหารประเภทเนื้อ ไข่ ตับและเครื่องใน

2.กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือเรียกว่า เบต้า แคโรทีน (Beta-Carotene) เป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกายจึงได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ พบมากในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม

โดยร่ายกายคนเราต้องการวิตามินเอในแต่ละวันอยู่ที่วันละ 4,000-5,000 IU ซึ่งการได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอจะส่งผลต่อร่างกายของเราโดยเฉพาะดวงตา ผิวหนัง และระบบภูมิต้านทานโรค อีกทั้งยังช่วยป้องกันอาการเบื่ออาหาร (แต่ในทางกลับกันถ้าได้รับมากเกินไปก็จะมีผลตรงกันข้าม)

 

16 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินเอสูง

 

1.มันหวาน

มันหวานที่มีเนื้อข้างในออกสีเหลืองๆ ส้มๆ เวลาเอาไปนึ่ง ต้ม หรือเผา เมื่อนำมารับประทานจะมีรสชาติหวานมัน ของโปรดของใครหลายคนเลยล่ะค่ะ ซึ่งในมันหวานอุดมไปด้วยวิตามินเอที่ถือว่าอยู่สูงเป๋นอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ โดยมันหวานปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 19218 IU เลยล่ะค่ะ

 

2.ผักตำลึง

ผักที่หารับประทานง่ายๆ ตามบ้านเรือนอย่างผักตำลึงของเราก็ไม่แพ้ผักใดๆ ในโลกที่ให้วิตามินสูง ซึ่งผักตำลึงปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 18608 IU เลยล่ะค่ะ

 

3.แครอท

แครอทเป็นอีกหนึ่งชนิดของอาหารที่เป็นแหล่งวิตามินเอชั้นยอด ถ้านึกไม่ออกว่าจะเสริมวิตามินเอจากการรับประทานอาหารชนิดไหน เปิดตู้เย็นจัดแครอทมาทานกันได้เลยค่ะ ซึ่งแครอทปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 17033 IU

 

4.ตับวัว

วิตามินเอไม่ได้มีแค่ในผักหรือผลไม้เท่านั้นโดยมีอยู่ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์อย่าง ตับวัวอีกด้วย ซึ่งวิตามินเอที่อยู่ในตับวัวนั้นเป็นวิตามินเออยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) คือสามารถออกฤทธิ์ได้ทันที หรือเรียกว่า Retinol นั่นเองค่ะ ซึ่งตับวัวปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 13621 IU

 

5.ผักเคล (Kale)

ผักเคลเป็นผักคล้ายกับผักตระกูลเดียวกับผักคะน้าอีกทั้งรสชาติก็คล้ายคลึงกันอีกด้วย และกูถูกยกให้เป็นราชินีแห่งผักใบเขียวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและหนึ่งในสารอาหารที่มีอยู้สูงก็คือวิตามินเอค่ะ ผักเคลปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 13621 IU

 

6.ฟักทอง

ส่วนใหญ่หลายคนจะจำได้ว่าถ้าอยากบำรุงสายตาต้องกินฟักทองและนั่นก็ถูกค่ะ เนื่องจากฟักทองมีวิตามินเออยู่สูงนั่นเอ จะเห็นได้ว่าฟักทองปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 11155 IU

 

7.ผักกาดหวาน

ผักกาดหวานก็เป็นอีกผักใบเขียวที่มีวิตามินและเกลือแร่อยู่สูงค่ะซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีวิตามินอย่างวิตามินเอที่อยู่สูง ผักกาดหวานปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 8710 IU

 

8.เอพริคอตแห้ง

ผลเอพริคอตแห้งให้วิตามินที่สูงมากถ้าใครกำลังมองหาผลไม้แห้งทานเล่นแถมยังให้วิตามินเออีกก็อย่ามองข้ามผลไม้แห้งอย่างเอพริคอตแห้งนะคะ เอพริคอตแห้งปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 12669 IU

 

9.แคนตาลูป

ผลไม้ที่มีรสชาติหวานฉ่ำอย่างแคนตาลูปไม่ได้ให้แค่ความอร่อยสดชื่นอย่างเดียว กินแคนตาลูปไปปริมาณ 100 กรัม ก็จะได้วิตามินเอสูงถึง 3382 IU

 

10.พริกหวานสีแดง

พริกหวานที่เราเห็นกันบ่อยๆ จากการนำมาประกอบอาหารประเภทผัดโดยเฉพาะพริกหวานสีแดงที่มีวิตามินเออยู่ไม่ใช่น้อยเลยค่ะ โดยพริกหวานสีแดงปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 3131 IU

 

11.ปลาทูน่า

อาหารประเภทเนื้อสัตว์อีกหนึ่งชนิดอย่างปลาทูน่าก็มีวิตามินเอสูงซ่อนอยู่ค่ะ โดยปลาทูน่าปลาทูน่าปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 2520 IU

 

12.ผักปวยเล้ง

ผักใบสีเขียวเข้มอีกหนึ่งชนิดอย่างผักปวยเล้งที่มากประโยชน์ก็ให้วิตามินเอที่สูงปริ๊ดเช่นเดียวกันค่ะ ผักปวยเล้งปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินเออสูงถึง 2813 IU

 

13.มะม่วง

ที่บ้านเราดีหน่อยหารับประทานผักและผลไม้ง่ายเพราะเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อน ผลไม้ตามฤดูมีมากมาย โดยเฉพาะมะม่วงค่ะและมะม่วงปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเออยู่ 1082 IU

 

14.เนย

ในประเทศไทยโดยเฉำาพอาหารไทยไม่ค่อยนิยมใช้เนยมาเป็นส่วนประกอบ แต่จะมีซะมากคงเป็นขนมอบหรือเบเกอร์รี่ เนยก็ให้วิตามินเอได้ไม่น้อยเลยค่ะ ซึ่งเนยปริมาณเพียงแค่ 1 ช้อนโต๊ะ มีวิตามินเออยู่ถึง 1082 IU

 

15.บลอคโคลี่

พืชผักประเภทสีเขียวเข้มอย่างบลอคโคลี่ก็ถูกนับเป็นอาหารที่มีวิตามินเอสูงเช่นกัน ใครที่ชอบทานผักผลไม้อยู่แล้ว แค่เลือกรับประทานให้ถูนิดก็จะได้รับวิตามินเอที่เพียงพอแล้วค่ะ โดยบลอคโคลี่ดิบ ปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินเออยู่ 567 IU

 

16.ไข่

ไข่เป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีวิตามินเออยู่สูงด้วยเช่นกันค่ะ โดยไข่ปริมาณ 1 ลูกใหญ่ จะมีวิตามินเออยู่ถึง 302 IU

 

จะสังเกตุเห็นได้ว่าหน่วยปริมาณของวิตามินเอเป็น IU ซึ่งทำความเข้าใจได้ง่ายๆ ดังนี้

IU มาจาก International Unit และเรียกแบบย่อว่า I.U. เป็นหน่วยวัดมาตรฐานสากลซึ่งเป็นหน่วยที่ใช้อ้างอิงเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพสารออกฤทธิ์แต่ละชนิด เช่น เมื่อวิตามิน (vitamin) ออกฤทธิ์ในร่างกาย ซึ่งกำหนดโดย World Health Organization (WHO)

Vitamin A 1 I.U. = 0.3 microgram retinol.

                              = 0.6 microgram beta-carotene.

Vitamin C 1 I.U. = 50 microgram ascobic acid.

Vitamin D 1 I.U. = 0.025 micorgram cholecalciferol.

Vitamin E 1 I.U. = 0.666 milligram D-alpha-Tocopherol.

                              = 1 milligram DL-alpha-Tocopherol acetate.

 

 

www.flickr.com/photos/wwworks/28439880283/