Browse Tag: กลูโคส

19 ชนิดของผลไม้ที่เหมาะกับคนเป็นโรคเบาหวาน

Source: Flickr (click image for link)

“การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสิรฐ” หลายคนคงคุ้นหูกันเป็นอย่างดีกับสำนวนดังกล่าว ไม่ว่ามนุษย์เราจะยาก ดี มี จน ก็อยากให้ตนเองมีสุขภาพที่ดีปราศจากโรคภัยไข้เจ็บกันทั้งนั้น แต่อย่าลืมว่าคนเราก็ล้วนแต่ต้องมาเผชิญกับการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอโดยที่ใครก็ไม่สามารถกำหนดหรือหลีกเลี่ยงกันไปได้ ถ้ามันเกิดขึ้นแล้วสิ่งที่เราทำได้ก็มีแค่รู้จักที่จะอยู่กับมันและประคับประคองให้ดีที่สุดค่ะ ใครๆ ก็คงไม่อยากเจ็บป่วยกายกันหรอกจริงไหมคะ นอกจากป่วยกายแล้วยังส่งผลต่อสุขภาพจิตใจจนทำให้เราเป็นทุกข์ ไม่มีความสุข ส่วนใหญ่การดูแลสุขภาพที่ดีที่สุดนอกจากออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอแล้ว การเลือกรับประทานอาหารก็สำคัญยิ่งอีกทั้งเป็นตัวส่งผลทั้งโดยตรงและทางอ้อมค่ะ การเลือกรับประทานอาหารที่ดีและเหมาะสมนอกจากจะช่วยไม่ให้ก่อโรคต่างๆ แล้วยังช่วยชะลอหรือรักษาบางโรคได้เลยทีเดียวค่ะ วันนี้เลยจะมาพูดถึงหัวข้อที่ว่า จะเลือกรับประทานผลไม้ชนิดไหนถึงจะเหมาะสมกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน ขึ้นชื่อว่ามีโรคประจำตัวไม่ว่าจะโรคอะไรก็จะถูกจำกัดการรับประทานอาหารอยู่เสมอ บางคนอาจจะยังไม่ทราบหรือทราบมาบ้างแล้วว่าควรรับประทานอาหารชนิดไหนได้บ้าง ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะชอบรับประทานอาหารที่ถูกห้ามเสมอด้วยข้อจำกัดของประเภทของอาหารที่ต้องควบคุมมากมาย แต่ในวันนี้เราจะพูดถึงผลไม้ชนิดไหนอะไรบ้างที่คนเป็นโรคเบาหวานสามารถรับประทานได้บ้างค่ะ ซึ่งอย่างไรก็ตามการเลือกรับประทานผลไม้สดๆ แทนการเลือกรับประทานแบบเป็นน้ำผลไม้สำเร็จรูปหรือในรูปแบบน้ำผลไม้ปั่น เนื่องจากการเลือกรับประทานผลไม้แบบสดๆ นอกจากจะได้รับเส้นใยอาหาร สารสำคัญต่างๆ รวมถึงวิตามินในผลไม้อย่างธรรมชาติโดยตรง โดยการดื่มน้ำผลไม้สำเร็จรูปหรือแบบน้ำผลไม้ปั่นนอกจากสารสำคัญรวมถึงวิตามินคุณค่าทางโภชนาการจะหายไปกับกระบวนการผลิตแล้ว เรากลับได้รับน้ำตาลจากน้ำเชื่อมที่ถูกเติมลงไปอีก ด้วยการถูกจำกัดการเลือกรับประทานอาหารก็ยากพอแล้ว แต่เชื่อเถอะค่ะว่าผลไม้ที่จะกล่าวต่อไปนี้จะเป็นตัวช่วยได้ดีเลยทีเดียว นอกจากรสชาติที่อร่อยแล้วยังได้รับวิตามินและสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการไม่น้อยเลยล่ะ

ถึงแม้ว่าในผลไม้จะมีน้ำตาลอยู่แต่จะเห็นได้ว่าก็จะไม่ถูกให้งดทานเลยซะทีเดียว ซึ่งก็ควรเลือกรับประทานในปริมาณที่จำกัดนั่นเองค่ะ โดยในแต่ละวันอาจจะทานได้ 2 ถึง 3 มื้อ และเป็นมื้อละ 7- 8 ชิ้นคำค่ะ

 

19 ขนิดของผลไม้ที่เหมาะกับคนเป็นโรคเบาหวาน

Source: Flickr (click image for link)

1.แอปเปิ้ล

แอปเปิ้ลไม่ว่าจะเป็นแอปเปิ้ลแดง ชมพู เหลือง เขียว ถือเป็นผลไม้ชนิดแรกที่จะแนะนำให้มีติดบ้านไว้เลยก็ว่าได้ค่ะ ถือเป็นผลไม้ที่เป็นอาหารว่างอันดับแรกที่เลือกนำมารับประทาน นอกจากน้ำตาลต่ำ มีเส้นใยอาหารและวิตามินซีสูงแล้วยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอีกด้วยค่ะ

 

2.ฝรั่ง

การเลือกรับประทานฝรั่งเป็นตัวเลือกที่ดีไม่น้อยเลยค่ะ เห็นผลสีเขียวๆอย่างนี้มีน้ำตาลต่ำแต่วิตามินซีสูงปรี๊ดนะเออ แถมมาด้วยเส้นใยอาหารที่มีมากไม่แพ้ผลไม้ชนิดอื่นๆ เลยทีเดียว จะว่าไปฝรั่งที่บ้านเราราคาก็แสนจะถูกแถมหาง่ายอีกด้วย

 

3.บลูเบอร์รี่

บลูเบอร์รี่เป็นผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ที่ขึ้นชื่อของเรื่องที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง และมีส่วนช่วยการต้านการอักเสบ บูเบอร์รี่มีค่าดัชนีน้ำตาลในเลือดต่ำซึ่งเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรมีผลไม้เหล่านี้ติดบ้านไว้ค่ะ

 

4.แตงโม

หลายคนคงคิดว่าผลไม้อย่างแตงโมที่มีรสชาติหวาน สดชื่น นี้จะเหมาะกับคนเป็นเบาหวานหรอ ? แต่รู้มั้ยคะว่าน้ำตาลในแตงโมไม่เยอะอย่างที่คิดเลย นอกจากนี้แตงโมยังมีแร่ธาตุ ใยอาหารและน้ำปริมาณมาก ที่จะไปช่วยลดความอยากอาหารค่ะ

 

5.องุ่น

องุ่นโดยเฉพาะองุ่นแดงมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอย่าง Resveratrol ซึ่งเป็นสารพฤกษเคมีที่พบได้ในองุ่น ที่จะไปช่วยปรับการตอบสนองของน้ำตาลในเลือดโดยทำให้ร่างกายหลั่งและใช้อินซูลินค่ะ

 

6.แคนตาลูป

แคนตาลูปสามารถรสชาติหวานฉ่ำช่วยเติมความสดชื่นด้วยเนื้อนุ่ม ๆ แคนตาลูปเป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่มีปริมาณน้ำมาก และมีสารอาหารต่างๆ สูง

 

7.ชมพู่

ชมพู่เป็นผลไม้ที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลในพื้นที่เขตร้อนอย่างบ้านเรา นอกจากมีพลังงานต่ำและน้ำเยอะแล้วยังมีเส้นใยอาหาร วิตามินซีที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ

 

8.สตรอเบอร์รี่

สตรอเบอร์รี่เป็นอีกชนิดของผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลในเลือดต่ำ นอกจากนี้ยังสามารถปรับภูมิคุ้มกันให้สามารถต่อสู้กับโรคมะเร็งและเพิ่มการเผาผลาญอาหารซึ่งจะช่วยคุณในขณะลดน้ำหนักได้อีกด้วยค่ะ

 

9.ราสเบอร์รี่

ราสเบอร์รี่ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ที่มีเส้นใยสูงที่เป็นผลดีต่สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่ดีของสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามิน

 

10.ส้ม

สารฟลาโวนอยด์และกรดฟีนอลเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่พบในส้ม อีกทั้งยังมีวิตามินซีและเส้นใยอาหารสูง เมื่อกล่าวถึงการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคสไม่เพียงแต่ช่วยชะลอระดับกลูโคส แต่ยังยับยั้งการเคลื่อนไหวหรือการขนส่งของน้ำตาลกลูโคสผ่านลำไส้และตับด้วย

 

11.กีวี่

กีวี่ลูกกลมๆ รีๆ มีเปลือกขนสีน้ำตาลแต่มืเนื้อข้างในสีเขียวสดใส ด้วยรสชาติที่หวานอมเปรี้ยวกัดทีให้ความชุ่มฉ่ำไม่น้อย มีวิตามินซีและเส้นใยอยู่สูงไม่น้อยดเลยค่ะ นึกอะไรไม่ออกก็จับกีวี่มาสักลูกรับรองหลังจากรับประทานจะไม่รู้สีกผิดเลยแม้แต่น้อย

 

12.ลูกแพร์

ผลไม้อีกชนิดอย่างลูกแพร์ไม่ว่าคุณจะกินมันเท่าไรคุณก็จะได้ลิ้มรสที่แสนอร่อยและเต็มเปี่ยมไปด้วยเส้นใยอาหารและสารอาหารที่ดี ลูกแพร์เป็นผลไม้ที่มีน้ำเยอะยังไปช่วยในการควบคุมความหิวได้ด้วยเช่นกัน

 

13.เลมอล

นอกจากเลเมอลแล้วยังรวมถึงมะนาวที่นอกจากมีวิตามินต่างๆ เช่นวิตามิน A, B, แมกนีเซียมโซเดีย เส้นใย และอื่นๆ นอกจากนี้เลมอลและมะนาวยังมีระดับที่ดีของเส้นใยที่ละลายน้ำได้ซึ่งจะไปช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เส้นใยที่ละลายน้ำช่วยยับยั้งปริมาณน้ำตาลที่นำเข้าจากเลือด นอกจากนี้เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำก็จะทำให้ระดับกลูโคสของเราคงที่ค่ะ

 

14.แครนเบอร์รี่

แครนเบอร์รี่เป็นแหล่งที่มีปริมาณเส้นใยและสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี นอกจากนี้ยังช่วยในการควบคุมระดับกลูโคสของร่างกายเนื่องจากมีน้ำตาลน้อยมาก น้ำแครนเบอร์รี่หากดื่มเป็นประจำสามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการ UTIs ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวานค่ะ

 

15.เสาวรส

ผลไม้รสเปรี้ยวอบหวานนิดๆ อย่างเสาวรสอุดมไปด้วยวิตามินซี อีกทั้งยังพบว่าเสาวรสและเปลือกของมันมีเส้นใยที่ละลายน้ำได้เรียกว่าเพคตินซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเพคตินทำให้ความสามารถในการดูดซึมน้ำตาลลดลงค่ะ

 

16.ทับทิม

ผลทับทิมเม็ดสีแดงสดใสอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องคุณจากอนุมูลอิสระและโรคเรื้อรัง อีกทั้งทับทิมยังเป็นแหล่งธาตุเหล็กที่ยอดเยี่ยมอีกด้วยค่ะ

 

17.เชอร์รี่

เชอร์รี่ผลสดๆ มีสารสำคัญเหมือนกับบลูเบอร์รี่คือ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสำคัญอย่างแอนโธไซยานินที่ช่วยให้เซลล์ผลิตอินซูลินได้ถึง 50% เลยค่ะ

 

18.ลูกพีช

นอกจากรสชาติที่อร่อยของลูกพีชทั้งยังสามารถเติมความสดชื่นให้กับเครื่องดื่มในช่วงอากาศร้อนๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าคุณจะกำลังมองหาวิตามิน A และ C หรือกำลังต้องการใยอาหาร ลูกพีชเป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่ไม่ควรมองข้ามค่ะ

 

19.ส้มโอ

ผลไม้ไทยที่รสชาติอร่อยติดปากคนไทยอีกชนิดอย่างส้มโอ นอกจากมีวิตามินซีและเส้นใยอาหารที่สูงไม่แพ้ผลไม้ชนิดอื่นๆ แล้ว ยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอย่าง flavonoid ที่ไปช่วยในการสร้างความสมดุลให้แก่ฮอร์โมนอินซูลินและระดับน้ำตาลในเลือดค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/ktpupp/684941010/

www.flickr.com/photos/lori_greig/5334058050/

โครเมี่ยม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

yeast-1
Source: Flickr (click image for link)

โครเมียม (Chromium) เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อการเจริญเติบโตและสุขภาพที่ดี ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในขบวนการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคส คาร์โบไฮเดรต และไขมัน เพื่อให้ได้พลังงานไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆในร่างกาย  รองจากแคลเซียมแล้ว โครเมียม เป็นแร่ธาตุที่ได้รับความนิยมมากสำหรับคนอเมริกันที่รับประทานเป็นประจำ และยังเป็นที่ร่างกายต้องการโครเมียมในปริมาณ 50 – 200 ไมโครกรัมต่อวัน โครเมียม มีความสำคัญอย่างยิ่งกับขบวนการเมตาลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และช่วยเสริมการทำงานของอินซูลินในร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่ในการนำน้ำตาลกลูโคสในเลือดเข้าไปในเซลล์ เพื่อนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานสำรอง โครเมียม มีส่วนในการช่วยรักษาปริมาณน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ (ในขบวนการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต) ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติและช่วยลดความอยากน้ำตาล นอกจากนั้นโครเมียมยังสามารถควบคุมระดับของปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดได้ โดยจะไปเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลชนิด HDL ซึ่งเป็นชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และลดการสร้าง LDL ได้ เมื่อเรามีอายุมากขึ้นร่างกายเราจะค่อยๆขาดโครเมี่ยมไปเรื่อยๆ นั่นอาจจะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุให้คุณเสี่ยงต่อโรคร้ายอย่างโรคเบาหวานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โครเมียมที่อยู่ในรูปของโครเมียม พิโคลิเนต (Chromium Picolinate) หรือ โครเมียม โพลีนิโคไทเนต (Chromium Polynicotinate) มีบทบาทสำคัญในเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และไขมัน การเสริมโครเมียมทำให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายมีประสิทธิภาพในการนำกลูโคสไปใช้ได้เพิ่มขึ้นค่ะ

ภาวะการขาดโครเมียม

จะทำให้ระดับกลูโคส อินซูลิน คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ สูงขึ้น และระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (high density lipoproteins, HDL)ลดลง

การขาดโครเมียมอย่างรุนแรงมีความผิดปกติของประสาทและสมอง อาการผิดปกตินี้กลับสู่ปกติได้โดยการให้โครเมียมเสริม การเสริมโครเมียมในเด็กขาดอาหาร ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดเป็นเวลานาน ช่วยให้ความทนต่อกลูโคสดีขึ้น

การขาดโครเมียมเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคผนังเส้นเลือดแข็งตัว และโรคเบาหวาน

 

เกี่ยวกับโครเมียม หรือ Chromium

  • โครเมียม เป็นแร่ธาตุจำเป็นที่ร่างกายต้องการในปริมาณเล็กน้อย
  • โครเมียม ในร่างกายของคนเรามีอยู่ประมาณ 6 มิลลิกรัม และปริมาณนี้ก็จะลดลงเรื่อยๆ เมื่ออายุเรามากขึ้น
  • โครเมียม เกี่ยวข้องกับเมตาบอริซึม ของคาร์โบไฮเดรต และไขมัน โดยเฉพาะการใช้กลูโคสในร่างกาย
  • โครเมียม มีผลในเรื่องของการลดน้ำหนัก คือ มันไปช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันในร่างกาย และไปเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ
  • โครเมียม มีส่วนในการช่วยรักษาปริมาณน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ (ในขบวนการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต)
  • โครเมียม เป็นส่วนประกอบของสารที่เรียกว่า GTF (Glucose Tolerance Factor) โดยทำงานร่วมกับ ไนอาซิน และ กรดอะมิโนอีกหลายชนิด
  • โครเมียม เมื่อขาดจะทำให้เกิดอาการเหมือนกับคนที่มีภาวะต้านอินซูลิน และเบาหวานชนิดที่ 2 ระดับโครเมียมในเลือดที่ต่ำ สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • โครเมียม วิตามินซีจะเพิ่มการดูดซึมของโครเมียม
  • โครเมียม แหล่งที่พบโครเมียมที่ดีที่สุด คือ ในยีสต์ (Brewer’s yeast)
  • โครเมียม แหล่งที่พบโครเมียมในธรรมชาติ พบมากใน น้ำมันข้าวโพด หอยกาบ เนื้อไก่ บริวเวอร์ยีสต์ จมูกข้าวสาลี ตับ ไข่แดง เห็ด เนยแข็ง กากน้ำตาล และในข้าวชนิดต่างๆ เช่น ข้าวกล้อง
  • โครเมียม ช่วยการเจริญเติบโต
  • โครเมียม ช่วยป้องกันพิษจากตะกั่ว
  • โครเมียม ป้องกันหลอดเลือดแข็ง
  • โครเมียม ทำงานเป็นเกราะป้องกันโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันอาการขาดน้ำตาล และอ่อนล้าหมดเรี่ยวแรงเฉียบพลัน
  • โครเมียม ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้
  • โครเมียม ช่วยนำโปรตีนไปยังส่วนที่ต้องการใช้
  • โครเมียม ช่วยป้องกันความดันโลหิตสูงและช่วยลดความดันโลหิต
  • โครเมียม เป็นตัวที่มีบทบาทร่วมกับ RNA ในการสังเคราะห์โปรตีน
  • โครเมียม ทั้งหมดที่รับประทาน ส่วนที่เหลือจะถูกขับออกทางปัสาวะและอุจจาระบางส่วน

 

ประโยชน์ของโครเมียม หรือ Chromium

 

ลดระดับคลอเรสเตอรอลในร่างกาย จากหลักฐานการศึกษาวิจัยพบว่า โครเมียม (ทั้งในรูปแบบพิกโคลิเนตและอื่นๆ) พบว่ามีผลในการลดระดับคลอเลสเตอรอลในร่างกาย โดยการมีบทบาทไปเพิ่ม HDL หรือ คลอเรสเตอรอลชนิดดี และลดระดับ คลอเรสเตอรอลทั้งหมด

 

ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและโรคเบาหวาน จะทำงานร่วมกับอินซูลินในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการเผาผลาญน้ำตาล โครเมียมทำหน้าที่เสริมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน โดยเป็นส่วนประกอบของ glucose tolerance factor ซึ่งมีความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินต่อตัวรับอินซูลิน (insulin receptor)

 

ช่วยเรื่องการลดน้ำหนัก โครเมียมพิกโคลิเนต จะไปช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันในร่างกายและไปเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ มีการศึกษาเมื่อปี 1998 โดยมีอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 122 คนที่เป็นสมาชิกของเฮลท์คลับต่างๆ ในเทกซัสได้รับ โครเมียมจำนวน 400 ไมโครกรัมต่อวันของ โครเมียมพิกโคลิเนต หรือยาหลอกเป็นระยะเวลติดต่อกัน 3 เดือน คนที่ได้รับ โครเมียม มีไขมันในร่างกายลดลง 6 ปอนด์ (2.7 กิโลกรัม) ขณะที่คนที่ได้รับยาหลอกลดลงเพียง 3 ปอนด์ (1.3 กิโลกรัม)

 

ปริมาณของโครเมียมที่ร่างกายควรได้รับ

การขาดโครเมียม ทำให้เกิดอาการเหมือนกับคนที่มีภาวะต้านอินซูลิน และเบาหวานชนิดที่ 2 ระดับโครเมียมในเลือดที่ต่ำ สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ป่วยเบาหวานจะมีระดับโครเมียมในพลาสมาลดลง จากการศึกษาวิจัยในคนและสัตว์ทดลองพบว่า ระดับโครเมียมในร่างกายต่ำมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติในเมตาบอลิซึมของอินซูลิน กลูโคส และไขมัน ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

ปริมาณที่แนะนำ ร่างกายมนุษย์ปกติคนทั่วไปควรได้รับโครเมียมปริมาณที่แนะนำโดยแพทย์ทั่วไป คือ 200 ไมโครกรัมต่อวัน

(ขนาดที่ อย. อเมริกัน US FDA ได้แนะนำไว้คือ 50-200 ไมโครกรัมต่อวัน)

 

www.flickr.com/photos/cgc/4755952861/

โพแทสเซียม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

yoghurt-breakfast-1
Source: Flickr (click image for link)

โพแทสเซียม (Potassium) เป็นแร่ธาตุที่มีมากเป็นอันดับ 3 ในร่างกาย รองจากแคลเซียมและฟอสฟอรัส โพแทสเซียมนั้นเป็นอิเล็กโตรไลต์ซึ่งเป็นตัวปรับสมดุลของประจุบวกหรือลบในเลือด โซเดียมกับคลอไรด์ก็เป็นอิเล็กโตรไลต์เช่นกันค่ะ ร่างกายของเราต้องได้รับแร่ธาตุทั้ง 3 ชนิดนี้ในปริมาณที่สมดุลจึงจะทำหน้าที่ต่างๆ ได้ดี โพแทสเซียมเกือบทั้งหมดในร่างกายจะอยู่ในเซลล์ต่างๆ โพแทสเซียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเป็นปกติ เช่น ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โปแทสเซียมช่วยควบคุมสมดุลของอิเล็กโตรไลต์และสมดุลของกรด-เบสในร่างกาย ป้องกันภาวะกรดเกิน (hyperacidity) และยังช่วยควบคุมความดันโลหิตที่สูงและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย มีรายงานวิจัยจำนวนมากที่ระบุว่าในกลุ่มประชากรที่ได้รับโปแทสเซียมจากอาหารในปริมาณที่สูงมีค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตและอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงต่ำกว่ากลุ่มประชากรที่ได้รับโปแทสเซียมจากอาหารในปริมาณที่น้อย และยังพบว่าการได้รับโปแทสเซียมจากอาหารอย่างเพียงพอ มีผลช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเรื้อรังชนิดอื่น ๆ โดยในงานวิจัยของ Ascherio และคณะ ได้รายงานว่าสามารถลดความเสี่ยงของภาวะการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง (Stroke) ได้ถึง 30%

 

เกี่ยวกับโพแทสเซียม (Potassium)

  • โพแทสเซียม เกลือแร่ชนิดหนึ่ง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ
  • โพแทสเซียม รักษาสมดุลของน้ำ กรด-ด่างในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต
  • โพแทสเซียม ในผู้ป่วยโรงใตเรื้อรัง จะมีประสิทธิภาพในการขับโพแทสเซียมลดลง ซึ่งทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด
  • โพแทสเซียม จะทำงานร่วมกับโซเดียมในการควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกายและช่วยทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ
  • ความเครียดทางด้านร่างกายและจิตใจ อาจส่งผลให้ขาดโพแทสเซียมได้
  • หากโพแทสเซียมและโซเดียมในร่างกายเสียสมดุลจะทำให้การทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเสียไป
  • ไฮโปไกลซีเมีย (ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ) จะส่งผลให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมได้ เหมือนกับการอดอาหารเป็นเวลานาน ท้องร่วงอย่างรุนแรง
  • แหล่งที่พบโพแทสเซียมตามธรรมชาติ ได้แก่ โยเกิร์ต ผลไม้รสเปรี้ยว กล้วย ลูกพีช มันฝรั่ง แคนตาลูป มะเขือเทศ ผักวอเตอร์เครส ผักใบเขียวทุกชนิด สะระแหน่ เมล็ดทานตะวัน ถั่ว เป็นต้น
  • ศัตรูของธาตุโพแทสเซียม ก็ได้แก่ น้ำตาล กาแฟ แอลกอฮอล์ และยาขับปัสสาวะ
  • ผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำและมีอาการอ่อนล้า อาจเกิดจากการสูญเสียโพแทสเซียมเพราะกาแฟ
  • ผู้ที่ชอบรับประทานของหวานและชอบดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ระดับของโพแทสเซียมในร่างกายอาจจะต่ำได้
  • ผู้ที่กำลังลดความอ้วนด้วยการรับประทานประเภทคาร์โบไฮเดรตน้อย จะส่งผลให้ระดับโพแทสเซียมในร่างกายลดลง ซึ่งจะส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดอาการอ่อนล้าหรือตอบสนองช้า
  • หากระดับโพแทสเซียมในร่างกายมากเกินไปจะถูกไตขับออกมา และสำหรับผู้ที่ไตทำงานได้ไม่ดีก็ไม่ควรรับประทานโพแทสเซียมเสริมในปริมาณที่สูงมากจนเกินไป
  • โพแทสเซียม ในรูปแบบอาหารเสริม มักพบได้ในรูปแบบของวิตามินรวมและแร่ธาตุรวม
  • โพแทสเซียม ในเลือดที่มีค่าปกติคือ 3.5 – 5.0 mEq/L
  • โพแทสเซียม  ในเลือดที่มีค่าต่ำคือ  < 3.5 mEq/L จะมีอาการซึม อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ตะคริว
  • โพแทสเซียม ในเลือดที่มีค่าสูงคือ  > 5.0 mEq/L จะทำให้เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • โพแทสเซียมสูงในอาหารประเภท (กลุ่มผักสีเข้ม) ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม ทุเรียน กล้วย ลำไย ผลไม้แห้งต่างๆ เช่น ลูกเกด ลูกพรุน แครอท มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า หัวปลี ผักชี มันฝรั่ง
  • โพแทสเซียมปานกลางในอาหารประเภท  สับปะรด ฝรั่ง แอปเปิ้ล เงาะ ส้ม องุ่น ลิ้นจี่ แคนตาลูป ส้มโอ มะม่วงดิบ มะเขือยาว หอมหัวใหญ่ ผักบุ้งจีน มะละกอดิบ ถั่วพู(ฝักอ่อน) พริกหวาน
  • โพแทสเซียมต่ำในอาหาร (กลุ่มผักสีซีด) ได้แก่ ชมพู่ องุ่นเขียว แตงโม บวบเหลี่ยม เห็ดหูหนู ฟักเขียว แฟง ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา
  • การจำกัดผัก-ผลไม้ขึ้นอยู่กับระดับโพแทสเซียมในเลือด ถ้าผลเลือดอยู่ในระดับปกติ ไม่จำเป็นต้องงดผัก ผลไม้ ควรเลือกรับประทานผักผลไม้หมุนเวียนได้ตามปกติ สีเข้ม-อ่อน สลับกันไป

จะเห็นได้ว่าเราสามารถเลือกรับประทานอาหารได้หลากชนิดเพื่อให้ได้รับโปแทสเซียมในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน แต่ทั้งนี้ เราควรบริโภคอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการ โดยคำนึงถึงปริมาณน้ำตาล ไขมัน คอเลสเตอรอล ฯลฯ ที่มีอยู่ในอาหารด้วย เพื่อป้องกันความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ และเพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง

 

ประโยชน์ของโพแทสเซียม (Potassium)

 

โพแทสเซียมและอิเล็กโตรไลต์ชนิดอื่นๆ ช่วยในการนำกระแสประสาท ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจและความดันเลือด โพแทสเซียมยังควบคุมปริมาณของเหลวภายในเซลล์ ขณะที่โซเดียมควบคุมปริมาณของเหลวภายนอกเซลล์ แร่ธาตุ 2 ชนิดนี้จึงทำงานร่วมกันเพื่อรักษาสมดุลของของเหลวในร่างกาย

 

โพแทสเซียมยังช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนน้ำตาล (กลูโคส) ในเลือด ไปเป็นพลังงานสะสม (ไกลโคเจน) ในกล้ามเนื้อและตับ โพแทสเซียมเป็นสารขับปัสสาวะธรรมชาติ จึงช่วยขับสารพิษที่เกิดจากการเผาผลาญพลังงานด้วย

 

โพแทสเซียม จะทำงานร่วมกับ ธาตุโซเดียม ในการควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกายและช่วยทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ โดยความเครียดทางด้านร่างกายและจิตใจ อาจส่งผลให้ขาดโพแทสเซียมได้ หากโพแทสเซียมและโซเดียมในร่างกายเสียสมดุลจะทำให้การทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเสียไป ไฮโปไกลซีเมีย (ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ) จะส่งผลให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมได้ เหมือนกับการอดอาหารเป็นเวลานาน ท้องร่วงอย่างรุนแรง

 

โพแทสเซียมช่วยควบคุม Osmolality ส่วนใหญ่ของ ICF จึงมีความสำคัญในการรักษาปริมาตรของเซลล์ให้คงที่ ซึ่งมีผลต่อความสำคัญของปริมาตรน้ำในร่างกาย

 

โพแทสเซียมเป็น Cofactor ที่สำคัญในกระบวนการเมทาบอลิซึม เช่น การสังเคราะห์โปรตีน และไกลโคเจน และการทำงานของอินซูลิน เป็นต้น

 

โพแทสเซียมในอัตราส่วนของโพแทสเซียมที่อยู่ระหว่าง ICF และ ECF จะเป็นตัวกำหนดความต่างศักย์ที่ผนังเซลล์ ที่มีความสำคัญในการทำงานของกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท

 

โพแทสเซียมที่ร่างกายได้รับในแต่ละวันจะได้รับจากอาหาร และมีการขับถ่ายออกนอกร่างกายทางปัสสาวะประมาณวันละ 50-90 มิลลิโมล ส่วนที่เหลือประมาณ 5-10 มิลลิโมล จะขับถ่ายออกทางอุจจาระ และเหงื่อ

 

 

www.flickr.com/photos/california_bakery/8102163622/

Vitamin K คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

green-vegetable-1
www.flickr.com/photos/calliope/130384035/

วิตามินเค (Vitamin K) เราจะรู้จักวิตามินเคกันดีในเรื่องของการทำให้เลือดแข็งตัว ซึ่งก็เป็นวิตามินอีกตัวที่ร่างกายของเราต้องการและมีความสำคัญไม่แพ้กับวิตามินตัวอื่นๆเลยล่ะค่ะ วิตามินเคเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นเกี่ยวกับเลือดในร่างกายของคนเรารวมถึงทำหน้าที่สำคัญหลายๆอย่างในร่างกาย เราอาจจะคุ้นเคยกับวิตามินซี เอ ดี และอี กันมาแล้วพอสมควร HealthGossip เลยไม่พลาดที่จะนำข้อมูลของวิตามินเคมาให้เพื่อนๆได้รู้จักกันค่ะ หากกล่าวถึงการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดุกเราก็ต้องยกให้เจ้าแคลเซียมเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการทำงานของกระดูก แต่ก่อนที่แคลเซียมที่เราได้รับจากการรับประทานอาหารเข้าไปนั้นจะไม่สามารถไปถึงกระดูกได้หากขาดสารลำเลียงอย่างวิตามินเคไป ก็เพราะวิตามินเคมีส่วนที่ช่วยให้การก่อตัวของกระดูกและการเรียงตัวของเนื้อกระดูกเมื่อทำงาน ร่วมกับแคลเซียมเราจึงได้กระดูกที่มีความแข็งแรงและไม่เปราะง่ายเพราะขาดวิตามินเคนั่นเอง  และนอกจากนี้หากขาดวิตามินเคในส่วนนี้อาจทำให้เกิดกระดูกงอกผิดที่ผิทางในส่วนของร่างกายของคนเราได้ และอาจเกิดก้อนหินปูนในอวัยวะต่างๆ รวมถึงอาจก่อให้เกิดหลอดเลือดอุดตันในหัวใจหรือสมองได้ นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการแข็งตัวของเลือดหากขาดวิตามินเคเลือดจะไหลออกมาไม่หยุดต้องทำการห้ามเลือดอย่างเร่งด่วน ประโยชน์มากมายขนาดนี้แล้ว คงอยากรู้จักกับวิตามินเคกันมากขึ้นแล้วใช่ไหมคะ ถ้าอย่างนั้นเรามาทำความรู้จักกับวิตามินเคกันบ้างแล้วกันเนอะเพราะอย่างที่บอกว่าวิตามินตัวนี้ก็สำคัญไม่แพ้วิตามินตัวอื่นๆเหมือนกันค่ะ

 

เกี่ยวกับวิตามินเค (Vitamin K)

  • วิตามินเคเป็นวิตามินในกลุ่มที่ละลายได้ดีในไขมัน
  • วิตามินเค มี 3 ชนิด และรูปแบบที่พบในธรรมชาติ มี 2 รูปแบบ ได้แก่
  • วิตามินเค I (Vitamin K I) หรือ ฟิลโลควิโนน (phylloquinone) เป็นรูปแบบที่พบในพืชผักใบเขียวและสัตว์
  • วิตามินเค II (Vitamin K II) หรือ เมนาควิโนน (menaquinone) เป็นรูปแบบที่พบในเนื้อเยื่อตับและยังสามารถสร้างได้โดยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในร่างกาย
  • สำหรับวิตามินเค III (Vitamin K III) หรือ เมนาไดโอน (menadione) นั้น เป็นโมเลกุลที่สังเคราะห์ขึ้น ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น เมนาควิโนน โดยตับ
  • นอกจากร่างกายจะได้รับจากอาหารที่รับประทานแล้ว เชื้อแบคทีเรียในลำไส้ของเราสามารถสังเคราะห์วิตามินเคได้เอง
  • ใน 1 วันร่างกายของมนุษย์ มีความต้องการ วิตามินเค มากถึง 100 ไมโครกรัม
  • วิตามินเค มีความสำคัญต่อการแข็งตัวของเลือด
  • วิตามินเค เป็นวิตามินที่ทนต่อความเป็นกรดแต่ไม่ทนกรดแก่
  • วิตามินเคจะด่างที่ผสมแอลกอฮอล์ แสงสว่าง และสารเติมออกซิเจน ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องเก็บในขวดสีน้ำตาลซึ่งทึบแสง
  • วิตามินเคพบมากในอาหารประเภทผักใบเขียว นอกจากนี้ยังพบในเนื้อสัตว์ นม เนย น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง กาแฟ และแพร์
  • วิตามินเคจากอาหารจะถูกดูดซึมในลำไส้ตอนบน โดยการช่วยเหลือของน้ำดีและน้ำย่อยจากตับอ่อนและจะถูกส่งต่อไปยังตับ
  • การใช้ยาปฎิชีวนะนานๆ เป็นปัจจัยที่กระทบกระเทือนต่อการผลิตวิตามินเคในล้ำไส้รวมทั้งการดูดซึมของวิตามินเข้าร่างกายอีกด้วย
  • ภาวะขาดวิตามินเค (Hypovitaminosis K) คือ มีเลือดออกในอวัยวะต่างๆ เช่น ช่องกะโหลกศีรษะ ลำไส้ หรือ ผิวหนัง

 

ประโยชน์ของวิตามินเค (Vitamin K)

วิตามินเค จำเป็นสำหรับการสร้างโปรทรอมบิน (prothrombin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ตับสร้างขึ้นและจำเป็นในการแข็งตัวของเลือด ถ้าขาดวิตามินเค ตับสร้างโปรธรอมบินไม่ได้ ระดับโปรธรอมบินที่สูงในเลือดจะชี้ให้เห็นความสามารถที่ดีในการที่เลือดจะแข็งตัว ในขณะที่ระดับโปรธรอมบินต่ำในเลือดจะทำให้อัคราการแข็งตัวของเลือดช้า โดยที่วิตามินเคจะทำหน้าที่เป็น Cofactor ในการสร้างธรอมบิน

วิตามินเค เกี่ยวข้องกับกระบวนการ ฟอสโฟริเลชัน ( phosphorylation) ในร่างกาย โดยที่ขบวนการนี้ ฟอสเฟตจะร่วมกับ กลูโคส และถูกผ่านเข้าไปในผนังเซลล์และเปลี่ยนเป็นไกลโคเจนสำหรับให้ร่างกายเก็บไว้ใช้คราวจำเป็น ไกลโคเจนจะถูกเก็บไว้ในตับและกล้ามเนื้อ ช่วยในการทำงานของตับให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจำเป็นในการแข็งตัวของเลือด

  • วิตามินเค ช่วยป้องกันเลือดออกภายในและเลือดออกไม่หยุด
  • วิตามินเค ช่วยบรรเทาอาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ
  • วิตามินเค ช่วยในกระบวนการสร้างลิ่มเลือด
  • วิตามินเค ช่วยป้องกันกระดูกเปราะบาง
  • วิตามินเค ช่วยในการทำงานของตับให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

 

แหล่งที่พบวิตามินเค (Vitamin K)

ผักกระเฉด กะหล่ำปลี บร็อคโคลี่ มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง อัลฟัลฟ่า สาหร่ายทะเล น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันตับปลา ตับหมู นมวัว เนยแข็ง โยเกิร์ต ไข่แดง น้ำเหลืองอ้อย (Molasse) น้ำมันดอกคำฝอย และพืชผักที่มีใบสีเขียวอื่น ๆ เป็นแหล่งสำคัญทั้งนั้น และทั้งนี้จะต้องไม่ลืมว่าแบคทีเรียในลำไส้เป็นตัวการสำคัญ

 

ภาวะขาดวิตามินเค

ภาวะที่ร่างกายขาด วิตามินเค คือจะมีเลือดไหลออกมา จากอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ไม่วาจะเป็น ผิวหนัง ลำไส้ หรือช่องกะโหลกศีรษะ สำหรับโรคที่มักจะเกิดขึ้น หากร่างกาย ได้รับปริมาณของวิตามินเคน้อย หรืออยูในภาวะขาดวิตามินเค เช่น โรคเรื้อรังของ ระบบทางเดินอาหารบางชนิด โรคทางเดินน้ำดีอุดตัน เป็นต้น

สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนม หากคุณแม่มีภาวะขาดวิตามินเค อาจจะส่งผลทำให้ลูก เกิดภาวะเลือดไม่แข็งตัว มีเลือดออกในช่องกะโหลก ลำไส้ หรือมีเลือดออก บริเวณผิวหนังได้ เนื่องจากเด็กทารก ยังมีปริมาณไขมันในระดับต่ำ และเชื้อโรคที่ลำไส้ของเด็กทารก ในช่วงที่เด็กอายุ 1 สัปดาห์หลังจากที่ลืมตาดูโลก ก็ยังไม่มีจึงไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินเคได้เอง จึงต้องอาศัยวิตามินเคจากน้ำนมแม่อย่างเดียว

อาการที่แสดงถึงภาวะขาดวิตามินเค (Hypovitaminosis K) คือ มีเลือดออกในอวัยวะต่างๆ เช่น ช่องกะโหลกศีรษะ ลำไส้ หรือ ผิวหนัง โดยจะพบมากในช่วงอายุ 1 สัปดาห์แรกของทารกแรกเกิด ทั้งนี้เป็นเพราะทารกมีไขมันสะสมน้อย ตับของทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ลำไส้ยังปราศจากเชื้อแบคทีเรียที่สังเคราะห์วิตามิน ประกอบกับวิตามินเคที่ผ่านมาทางรกและน้ำนมจากมารดานั้นมีปริมาณน้อย

สำหรับภาวะขาดวิตามินเคในผู้ใหญ่นั้น มักเกิดร่วมกับสาเหตุบางอย่าง เช่น โรคเรื้อรังของระบบทางเดินอาหารบางชนิด โรคทางเดินน้ำดีอุดตัน หลังจากการผ่าตัดลำไส้เล็ก หรือได้รับยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อกว้าง

อาการแสดงเมื่อขาดวิตามินเค

  • โลหิตไหลไม่หยุด หรือหยุดยากเวลามีบาดแผล เลือดแข็งตัวช้าหรือเลือดกำเดาออก
  • มีการตกเลือด หรือเลือดออกภายใน เช่น ในลำไส้เล็ก เลือดออกมากับปัสสาวะ เลือดออกที่ตา เลือดออกหลังผ่าตัดหรืคลอดก่อนกำหนด

การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจ เวลาโปรธรอมบิน (prothrombin time ; PT) ซึ่งผู้ที่มีภาวะขาดวิตามินเคจะใช้เวลานานกว่าปกติ หรือตรวจปริมาณวิตามินเคโดยตรงด้วยวิธี HPLC

การรักษาทำได้โดยให้วิตามินเคในรูปยาฉีด 10 มิลลิกรัมครั้งเดียว ในผู้ป่วยที่โรคเรื้อรังอื่นอาจเสริมด้วยวิตามินเคในรูปยากิน 1-2 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ ในรูปยาฉีด 1-2 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์

 

ผลของการได้รับวิตามินเคมากเกินไป

ในคนตั้งครรภ์ ถ้าได้รับในขนาดที่สูง จะทำให้เกิดโรคดีซ่านในเด็กแรกคลอด และถ้าได้รับวิตามินเคเสริมเพิ่มจากอาหารที่กินอยู่แล้วจะมีผลระงับฤทธิ์ยาที่ทำให้เลือดแข็งตัว Phyothadione และ  Menaquinone ไม่เป็นพิษต่อสัตว์แม้จะให้จำนวนมาก แต่คนที่ได้รับการฉีด Phytohadione เข้าเลือด จะพบ Flushing dyspnea chest pains cardiovascularcollapse และอาจตายได้ ส่วน menadione ทำให้เกิดระคายเคืองต่อผิวหนังและทางเดินหายใจและยังทำให้เกิด hemolysis ในคนที่ขาดเอนไซม์ glucose -6-phosphate dehydrogenase การให้วิตามินเคในรูปของ menadione หรือ phytohadione จำนวนมากๆ แต่คนไข้จะเป็นโรคตับต้องระวังเพราอาจไปทำให้การทำงานของตับแย่ลงได้

 

คำแนะนำในการรับประทานวิตามินเค

  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 65 – 80 ไมโครกรัม ต่อวัน
  • วิตามินเคในรูปแบบของอาหารเสริม มีจำหน่ายทั่วไปในรูปแบบเม็ด โดยมีขนาดประมาณ 100 ไมโครกรัม ซึ่งจะผสมอยู่ในวิตามินรวมทั่วๆไป
  • ผู้ที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี เป็นโรคตับ โรคระบบทางเดินอาหาร มีความเสียงต่อการขาดวิตามินเค
  • การรับประทานวิตามินอีปริมาณสูงมากๆ จะส่งผลต่อการดูดซึมของวิตามินเคได้
  • อาการท้องร่วงอย่างหนักอาจเป็นอาการแสดงออกของภาวะขาดวิตามินเคได้ แต่ก่อนที่จะรักษาตัวเองด้วยการรับประทานอาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
  • การรับประทานผักใบเขียวเป็นประจำ เป็นวิธีป้องกันการขาดวิตามินเคได้ดีที่สุด
  • หากคุณมีเลือดกำเดาไหลบ่อยครั้ง ควรลองรับประทานอาหารที่มีวิตามินเคสูงให้มากขึ้น หรือรับประทานอัลฟาฟาแบบเม็ดก็อาจจะช่วยได้ หากคุณกำลังรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด พึงระลึกไว้เสมอว่า วิตามินเคอาจไปต้านฤทธิ์ของยาได้ แม้ว่าจะเป็นวิตามินเคจากอาหารธรรมชาติก็ตาม
  • ยาลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด อาจทำให้เกิดภาวะขาดวิตามินเคได้ และหากคุณรับประทานยาปฏิชีวะนะที่ออกฤทธิ์กว้างเป็นเวลายาวนานและต่อเนื่อง ร่างกายอาจมีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินเคได้ ควรรับประทานอาหารที่ให้วิตามินเคเพิ่มมากขึ้น

 

www.flickr.com/photos/calliope/130384035/