Browse Tag: ท้องอืด

ขมิ้นชัน คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร

Source: Flickr (click image for link)

ขมิ้น “Tumeric” เป็นหัวข้อที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียวค่ะ แต่ทว่าคนไทยเราอาจจะรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอยู่แล้วกับขมิ้นที่เราใช้เป็นสมุนไพรในการนำมาขัดผิว พอกผิว รวมถึงการนำไปประกอบอาหารประเภทเครื่องแกงเผ็ดร้อนแกงกะหรี่ ซึ่งจะทำให้แกงนั้น ๆ เกิดลักษณะและสีเฉพาะที่ออกสีเหลืองๆ ส้มๆ โดยขมิ้นมาจากพืช Curcuma longa ซึ่งเติบโตในอินเดียและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่น ๆ รากแห้งของพืช Curcuma longa เป็นผงขมิ้นสีเหลืองที่โดดเด่นโดยมีสารเคมีหลายชนิดที่พบในขมิ้นหรือที่เรียกว่า curcuminoids ซึ่งสารที่อยู่ในขมิ้นนั่นก็คือ curcumin นั่นเองค่ะ มาถึงตรงนี้เราเลยจะมาพูดถึงเกี่ยวกับสารตัวนี้ที่อยู่ในขมิ้นที่เราเรียกกันว่า “ขมิ้นชัน” ค่ะ อยู่ที่บ้านเราหลายๆ คนอาจจะยังไม่ค่อยให้ความสนใจเกี่ยวกับการรับประทานขมิ้นชันเพื่อสุขภาพกันมากนัก แต่ทราบกันหรือไม่คะว่าขมิ้นชันที่ต่างประเทศอย่างประเทศสหรัฐอเมริกานั้นนำมาทำเป็นยาอาหารเสริมรับประทานและสามารถหาเจอง่ายๆ ตามร้านขายยาทั่วไปกันเลยทีเดียว และนี่แหล่ะค่ะที่ทำให้เกิดความสนใจและอยากจะนำข้อมูลมานำเสนอให้ทราบกันว่า ขมิ้นชัน นั้นมันมีประโยชน์อย่างไรบ้างต่อสุขภาพของเรา ไปดูข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมและทำความเข้าใจกันมากขึ้นกับขมิ้นชันกันเลยค่ะ

 

 

ประโยชน์ของขมิ้นชัน (Tumeric)

Source: Flickr (click image for link)

ด้านโภชนาการขั้นพื้นฐานของขมิ้นมีคุณค่าต่อวันอยู่ที่ 26% ในแมงกานีสและธาตุเหล็กอยู่ที่ 16% นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งที่ดีของเส้นใยอาหาร วิตามินบี 6 โพแทสเซียม รวมถึงเป็นแหล่งที่ดีของวิตามินซีและแมกนีเซียมอีกด้วยค่ะ

ใครจะรู้กันล่ะคะว่าขมิ้นชันจะนำมาเป็นยารักษาและให้ประโยชน์ต่อสุขภาพเราไม่น้อยเลยล่ะค่ะ ซึ่งสารที่ได้จากขมิ้นชันเรียกว่า curcuminoids และสารสำคัญที่สุดก็คือ curcumin โดย curcumin เป็นสารออกฤทธิ์หลักในขมิ้น มีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่มีประสิทธิภาพและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่แข็งแกร่งมากเลยทีเดียว โดยประโยชน์จากขมิ้นชันจะมี ดังนี้

 

  • ต้านการอักเสบ
  • ต้านอาการซึมเศร้า (Prozac)
  • เคมีบำบัด
  • รักษาโรคเบาหวาน (Metformin)
  • โรคข้ออักเสบ
  • โรคลำไส้อักเสบ
  • คอเลสเตอรอล (Lipitor)
  • สเตียรอยด์
  • เกี่ยวกับผิวพรรณ
  • โรคอ้วน

 

ทั้งนี้ประโยชน์ต่อสุขภาพของขมิ้น ไม่ว่าจะสามารถช่วยในการย่อยไขมันลดก๊าซและท้องอืด และช่วยให้สภาพผิวที่ดีขึ้น เช่น กลาก สะเก็ดเงิน และสิว
ขมิ้นเป็นสารต้านการอักเสบที่มีประสิทธิภาพในการรักษาด้วยยาจีนและอินเดียมานับพันปีเลยล่ะค่ะ โดย Curcumin เป็นตัวแทนทางเภสัชวิทยาหลักในเครื่องเทศนี้มีผลการพิสูจน์ที่เทียบได้กับยาต้านการอักเสบที่ไม่จำเป็นต้องสั่งโดยแพทย์หรือยาตามใบสั่งแพทย์บางชนิด และ curcumin ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบที่เป็นพิษต่อร่างกายค่ะ

 

www.flickr.com/photos/25395270@N02/3908016377/

www.flickr.com/photos/149561324@N03/38476771871/

11 ชนิดของผลไม้ที่ช่วยระบบย่อยอาหาร

painful-2
Source: Flickr (click image for link)

“อาหารไม่ย่อย” เกิดจากระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้มีแก๊สในระบบย่อยและเกิดกรดเกินในกระเพาะ ทำให้เกิดอาการจุก เสียด แน่น บริเวณลิ้นปี่ ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อยก็มีอยู่มากมาย อย่างเช่น การที่เรารีบเร่งในการรับประทานอาหาร ทานในปริมาณที่มากเกินไป หรือรับประทานอาหารบางประเภทที่ทำให้ท้องอืดเกิดอาการจุกแน่นเสียด เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรืออัดแก๊สบางชนิดก็จะไปทำให้นเกิดแก๊สในระบบทางเดินอาหาร อีกทั้งยังรวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวันของเราด้วย อย่างการออกกำลังกายเร็วเกินไปหลังการรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง และการเกิดความเครียดจะไปมีผลกระตุ้นให้กล้ามเนื้อกระเพาะอาหารบีบรัดตัว ซึ่งเป็นการสร้างกรดในกระเพาะ นอกจากนี้การดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนและแอลกอฮอล์ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กรดในกระเพาะอาหารหลั่งมากขึ้น ดังนั้นวันนี้ทาง HealthGossip จึงนำเอาชนิดของผลไม้ที่สามารถช่วยในเรื่องของระบบย่อยอาหารมาแนะนำกันค่ะ แต่ยังไงการทานผลไม้ก็ไม่ควรที่จะเลือกทานหลังการรับประทานอาหารที่มีไขมัน เนื่องจากไขมันย่อยช้า ผลไม้จะเกิดการบูดก่อนที่จะได้ทำการย่อย และจะทำให้เกิดแก๊สขึ้นในที่สุดฉะนั้นอาจจะแย่กว่าเดิมแทนที่จะไปช่วยนั่นเองค่ะ

 

11 ชนิดของผลไม้ที่ช่วยระบบย่อยอาหาร

fruits-1
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1. มะละกอ

มีสารปาปาอินช่วยย่อยโปรตีนและช่วยการดูดซึมสารอาหาร และยังเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการท้องเสีย ช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยในเรื่องของการย่อยอาหารให้ดีขึ้น ทั้งยังช่วยละลายไขมันและช่วยบรรเทาอาการแพ้อาหารอีกด้วยค่ะ

 

2. บลูเบอรี่

เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยกากใยและวิตามินซี ยังมีสารช่วยต้านเซลล์มะเร็ง และควรรับประทานทั้งลูก เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด

 

3. บีทรูท

บีทรูทนั้นเต็มไปด้วยกากใย โพแทสเซียมและแมกนีเซียม ช่วยในเรื่องของการย่อยอาหารและดูดซึมอาหารได้เป็นอย่างดี

 

4. กีวี่

กีวี่เป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวและมีเนื้อเป็นสีเขียวที่เต็มไปด้วยกรดไลโนเลนิก วิตามินซี วิตามินอี แมกนีเซียม โพแทสเซียม กรดไขมันที่ดีหลายชนิด และเปปซินซึ่งช่วยระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

5. มะม่วงสุก

ถึงแม้ว่าทุกวันนี้จะมีมะม่วงให้กินได้ตลอดทั้งปี แต่โดยธรรมชาติมะม่วงจะออกผลในช่วงฤดูร้อน และถ้าได้กินมะม่วงสุกคาต้นล่ะก็หวานอร่อยกว่ามะม่วงนอกฤดู ถึงมะม่วงจะไม่ได้สรรพคุณช่วยย่อยโดยตรงแต่ก็มีสารเพกทินที่ทำให้อุจจาระของเรานุ่มขึ้นค่ะ

 

6. สับปะรด

สับปะรดมีเอนไซม์ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของกรดไฮโดรคลอริกในกระเพาะอาหาร ทำให้ของเสียที่เป็นโปรตีนแตกตัวเร็วขึ้น สับปะรดช่วยรักษาอาการอักเสบในทางเดินอาหารและช่วยในการทำงานของต่อมไร้ท่อค่ะ

 

7. แอปเปิ้ล

แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่ทั้งมีวิตามินซี วิตามินเอ โฟเลท โพแทสเซียม และฟอสฟอรัสสูง และยังช่วยเสริมสร้างแบคทีเรียชนิดดี ช่วยให้การย่อยอาหารและการดูดซึมให้ทำงานได้ดีอีกด้วย

 

8. อโวคาโด

อโวคาโดเป็นผลไม้ที่เต็มไปด้วยกากใย ยังร่างกายสามารถย่อยได้ง่าย และยังมีไขมันชนิดดีที่ช่วยให้การย่อยอาหารมีเบต้าแคโรทีนและวิตามินเอซึ่งช่วยให้ผิวสวยอีกด้วย

 

9. กล้วย

กล้วยเป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับรับประทานเวลาท้องว่าง จะช่วยฟื้นฟูประจุไฟฟ้าและโพแทสเซียมในร่างกาย และยังมีกากใยอาหารที่ช่วยการย่อยอาหาร

 

10. ส้ม

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าส้มนั้นอุดมไปด้วยวิตามินซี โพแทสเซียมและกรดโฟลิก ดังนั้นจึงช่วยให้กระเพาะอาหารและลำไส้เคลื่อนตัว ลดอาการอาหารไม่ย่อย บำรุงกระเพาะอาหารและม้าม และถ้าเราดื่มแบบน้ำส้มคั้นเป็นประจำจะช่วยในเรื่องของปัสสาวะได้ดี

 

11. แคนตาลูป

แคนตาลูปเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินเอและวิตามินซี และยังมีเอนไซม์ที่ช่วยการย่อยอาหาร ช่วยต้านมะเร็งในลำไส้ และช่วยบรรเทาอาการกระวนกระวาย นอนไม่หลับได้อีกด้วย

 

นอกจากนี้ยังมีอาหารที่ให้กากใยและวิตามินดีสูงที่ช่วยในเรื่องของระบบการย่อยอาหารให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นมาแนะนำค่ะ

ข้าวโอ๊ต เป็นอาหารที่เต็มไปด้วยกากใยอาหารที่เหมาะกับระบบย่อยอาหาร และยังเต็มไปด้วยสารอาหารมากมาย เช่นฟอสฟอรัส วิตามินอี เซเลเนียม และสังกะสี

น้ำมันตับปลา ซึ่งเต็มไปด้วยวิตามินเอและวิตามินดี ช่วยระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยป้องกันไม่ให้ระบบย่อยอาหารมีปัญหาอีกด้วย

 

www.flickr.com/photos/white_ribbons/7004688988/

www.flickr.com/photos/johndecember/16140278728/