Browse Tag: ผมร่วง

สังกะสี คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

beauty-face-1
Source: Flickr (click image for link)

สังกะสี (Zinc) ถือเป็นแร่ธาตุหรือเกลือแร่ที่ร่างกายของเราต้องการ หรือบางคนจะนึกถึงในรูปแบบอาหารเสริมช่วยของเรื่องผิวพรรณ ในคนที่ใช้รักษาเรื่องของการเป็นสิวกันใช่ไหมล่ะคะ แต่ในส่วนของความสำคัญในเรื่องอื่นๆโดยเฉพาะการทำงานของร่างกายให้เป็นปกตินั้นก็ต่อเมื่อถ้าเราได้รับในสัดส่วนที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ถึงแม้ว่าสังกะสีจะเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อย แต่ก็ไม่สามารถขาดได้เลยค่ะ สังกะสี จัดเป็นแร่ธาตุในกลุ่ม (Trace Minerals) มีชื่ออีกอย่างหนึ่งที่เราทราบกันดีว่า ซิงค์ (Zinc) ร้อยละ 90 ของสังกะสีในร่างกายอยู่ที่กระดูกและกล้ามเนื้อ อีกร้อยละ 10 อยู่ที่ ตับอ่อน ตับ เลือด โดยร้อยละ 80 นั้นอยู่ในเม็ดเลือดแดงและร้อยละ 20 อยู่ในน้ำเหลือง สังกะสี มีลักษณะเหมือนกับแร่ธาตุและวิตามินอื่นๆ คือ เป็นสารอาหารทีไม่ให้พลังงาน แต่ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกำกับการทำงานของร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์กรดนิวคลิอิกและโปรตีนเอนไซม์ในร่างกายมากกว่า 100 ชนิด อาจจะพูดได้ว่าเอนไซม์ที่เป็นสารสำคัญในการเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกายเกือบทุกชนิดต้องการ สังกะสี เป็นส่วนประกอบจึงจะทำหน้าที่ได้ดี ดังนั้น สังกะสี จึงมีความสำคัญต่อการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกายเรา

ปัจจัยที่ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณ สังกะสี ไม่เพียงพอได้แก่

การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น อาหารที่มีปริมาณสังกะสีต่ำ, อาหารที่มีแร่ธาตุทองแดง (Copper) มากเกินไป, พวกไฟเบอร์, ไฟเตต (Phytates), แอลกอฮอล์ (Alcohol), ฟอสเฟต (Phosphate) เพราะสารเหล่านี้จะไปลดการดูดซึม สังกะสี ผ่านผนังลำไส้ของคนเราได้

อายุที่มากขึ้น ประสิทธิภาพการดูดซึมสังกะสีลดลง

หญิงในระยะตั้งครรภ์  ต้องการสังกะสีมากเป็นพิเศษ

การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ทำให้ขาดธาตุสังกะสีได้

ภาวะโรคต่างๆ ที่ต้องการแร่ธาตุสังกะสีเป็นพิเศษ เช่น การติดเชื้อเรื้อรัง (Chronic infections) พิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism) ผิวหนังอักเสบ (Psoriasis) ตับแข็ง (Cirrhosis)

โรคพันธุกรรม ที่ทำให้การดูดซึมสังกะสีไม่ดี พบในเด็กเล็กเรียกว่า Acrodermatitis Enteropathica (โรคผิวหนังอักเสบและผิดปกติทางจิตใจ)

 

เกี่ยวกับสังกะสี หรือ ซิงค์ (Zinc)

  • สังกะสี จัดเป็นแร่ธาตุในกลุ่มแร่ธาตุปริมาณน้อย (Trace Minerals) มีชื่ออีกอย่างว่า ซิงค์ (Zinc)
  • สังกะสี เป็นแร่ธาตุหรือเกลือแร่ที่ร่างกายของเราต้องการในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ
  • สังกะสี เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อยแต่ก็ไม่สามารถขาดได้
  • สังกะสี ร่างกายไม่สามารถสร้างหรือสังเคราะห์ขึ้นเองได้
  • สังกะสี เป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานแต่ทำหน้าที่เป็นตัวกำกับการทำงานของร่างกาย
  • สังกะสี มีความสำคัญต่อการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกาย
  • สังกะสี มีส่วนในการสร้างโครงสร้างของร่างกายและการสร้างเครือข่ายของเซลล์ เช่นเดียวกับการสร้างเอนไซม์ต่างๆมากกว่า 200 ชนิด
  • สังกะสี มีส่วนสำคัญในการสมานแผล
  • สังกะสี แหล่งของอาหารตามธรรมชาติได้มาจาก หอยนางรม เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อปู ตับวัว ตับหมูและปลายรำข้าว (Wheat germ)
  • สังกะสี หอยนางรม เป็นแหล่งสังกะสีที่ดี เพราะดูดซึมง่ายกว่าพวกพืชผัก
  • สังกะสี ถ้าขาดสารอาหารพวกนี้ไป ร่างกายก็จะผิดปกติไป
  • สังกะสี ส่วนใหญ่ที่รับประทานเข้าไปจะถูกขับถ่ายออกทางอุจจาระ
  • สังกะสี ที่บริโภคเข้าไปแล้วไม่ถูกดูดซึมจากน้ำย่อยของลำไส้เล็ก นอกจากนี้ร่างกายยังขับถ่ายสังกะสี ออกทางปัสสาวะโดยจับกับกรดอะมิโน
  • สังกะสี ในคนปกติจะขับถ่ายสังกะสีออกประมาณวันละ 300 – 600 ไมโครกรัม
  • สังกะสี อาหารจำพวกเนื้อเมื่อถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนจะมีส่วนช่วยให้ร่างกายดูดซึมสังกะสีได้ดีขึ้น
  • สังกะสี ในธัญพืชประเภท ข้าว ข้าวโพด มีสังกะสีอยู่ปริมาณน้อย ส่วนผักและผลไม้แทบไม่มีปริมาณสังกะสีอยู่เลย
  • สังกะสี การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ทำให้ขาดธาตุสังกะสี
  • สังกะสี  ช่วยเสริมสร่างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ช่วยต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บที่จะมาแผ้วพานร่างกายคนเรา

 

 

ประโยช์ของสังกะสี หรือ ซิงค์ (Zinc)

 

ช่วยกระตุ้นการทำงานของ T – Lymphocyte ซึ่ง T-Lymphocyte เป็นส่วนประกองที่อยู่ในเม็ดเลือดขาวสำหรับการต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย มีบทบาทต่อภูมิคุ้มกันในร่างกาย

 

ช่วยป้องกันไม่ให้ตาบอดในผู้สูงอายุ การสูญเสียการมองเห็นในผู้สูงอายุที่เรียกว่า macular degeneration นั้นพบว่าเกิดจากการขาดธาตุสังกะสี โดยสังกะสีจะไปช่วยให้เซลล์จับกับวิตามิน A ได้ดีขึ้นและเซลล์สามารถนำวิตามิน A ไปใช้ได้ดีขึ้น รวมถึงเซลล์บริเวณประสาท ซึ่งวิตามิน A เป็นวิตามินที่ช่วยบำรุงสายตา

 

ช่วยป้องกันและรักษาโรคหวัด พบว่าเมื่อเริ่มเป็นหวัดถ้ารีบรับประทานธาตุสังกะสี ทันที จะช่วยให้อาการหวัดรุนแรงน้อยลงและจำนวนวันที่ป่วยก็ลดลงด้วย

 

ช่วยในผู้ป่วยเบาหวาน โดยผู้ป่วยเบาหวานมักเป็นแผลและติดเชื้อง่าย สังกะสีจะช่วยให้แผลที่เป็นนั้นหายเร็วขึ้นและช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรคด้วย และยังไปช่วยควบคุมในการเผาผลาญน้ำตาลในร่างกายอีกทั้งยังควบคุมการทำงานของอินซูลินในร่างกายให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ทำให้การเปลี่ยนแปลงน้ำตาลในกระแสเลือดมาเป็นพลังงานได้มากยิ่งขึ้น

 

กระตุ้นให้แผลหายเร็วขึ้น คนที่มีบาดแผลต่างๆ หรือเป็นแผลในกระเพาะอาหาร การให้ธาตุสังกะสี โดยจะไปช่วยสร้างกรดนิวคลีอิค ซึ่งเป็นกรดที่ช่วยสร้างเซลล์ใหม่จึงช่วยให้แผลผ่าตัดหายเร็วขึ้น รวมถึงแผลที่อักเสบเรื้อรังมานานให้หายเร็วขึ้น จะทำให้แผลหายเร็วขึ้นกว่าคนที่ไม่ได้รับธาตุสังกะสี

 

ช่วยเพิ่มความรู้สึกทางเพศในผู้ชายและช่วยรักษาและป้องกันการเป็นหมัน มีส่วนสำคัญในการสร้างสเปิร์มและฮอร์โมนเพศชาย การให้ธาตุสังกะสีวันละ 50 มก. จะทำให้ปริมาณน้ำเชื้อเพิ่มมากขึ้นได้ จะเห็นได้ว่า ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่มี สังกะสีมาก การสร้างฮอร์โมนเพศชายก็ต้องการธาตุสังกะสีเช่นกัน  

 

ช่วยในการรักษาสิว คนที่มีปัญหาเรื่องสิว ฝ้า โดยเฉพาะเวลาที่เป็นสิวอักเสบก็จะยิ่งเป็นกังวล ไม่แปลกใจเลยทำไมหลายๆคนถึงต้องเข้าไปในร้านขายยาเพื่อจะซื้อยาที่มีส่วนผสมของธาตุสังกะสีหรือซิงค์มารับประทานกัน ด้วยคุณสมบัติของการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและภูมิคุ้มกันของธาตุสังกะสีรวมถึงการควบคุมการผลิตน้ำมันบริเวณต่อมน้ำมันใต้ผิวหนังให้เป็นปกติ จึงสามารถต่อต้านแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวได้

 

ช่วยป้องกันผมร่วงรวมถึงช่วยเล็บแข็งแรงขึ้น สังกะสีจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ของร่างกายของเส้นผม บางรายผมหลุดร่วงไปและเมื่อได้ทานสังกะสีก็จะช่วยให้เส้นผมใหม่งอกขึ้นได้เร็วขึ้น แต่ในรายหัวล้านตามอายุนั้นใช้ไม่ได้ผลเพราะไม่มีรากผม

 

ปริมาณของสังกะสีที่ร่างกายควรได้รับ

ถ้าร่างกายมีอาการขาดแร่ธาตุสังกะสีเป็นเวลานาน จะเป็นผลให้เกิดอาการต่างๆ มากมาย ดังนี้

  • การเจริญเติบโตในเด็กล่าช้า ตัวเล็ก แคระแกรน
  • ผิวหนังมีการอักเสบ โดยระยะแรกจะเป็นรอบปากและอวัยวะเพศ ต่อมาจะลามไปที่แขนและขา เริ่มแรกอาจเป็นแค่ผื่นแดงต่อมาจะมีลักษณะเป็นเม็ดพุพอง
  • มีอาการเบื่ออาหาร การรู้รสลดน้อยลง
  • มีอาการซึมเศร้า หงุดหงิด ขาดสมาธิ เหม่อลอย และมีอาการตาบอดแสงได้
  • ระบบต่อมไร้ท่อ คือ ทำให้อวัยวะเพศเด็กเล็ก ไม่โตขึ้นตามวัย
  • มีอาการผมร่วง แตกปลาย เล็บเปราะ ผิวแห้ง

ปริมาณสังกะสีที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน (Daily RDAs For Zinc)

อายุน้อยกว่า 1 ปี ปริมาณที่แนะนำ               3 – 5        มิลลิกรัม/วัน

อายุ 1 –10 ปี ปริมาณที่แนะนำ                       10          มิลลิกรัม/วัน

อายุ 11 ปีขึ้นไป ปริมาณที่แนะนำ                   15          มิลลิกรัม/วัน

สตรีในระยะตั้งครรภ์ ปริมาณที่แนะนำ          20 – 25     มิลลิกรัม/วัน

สตรีในระยะให้นมบุตร ปริมาณที่แนะนำ       25 – 30     มิลลิกรัม/วัน

 

www.flickr.com/photos/58842866@N08/5388146683/

ธาตุเหล็ก คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

cereal-breakfast-1
Source: Flickr (click image for link)

ธาตุเหล็ก (iron) เป็นธาติอาหารที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นที่สุดชนิดหนึ่งต่อร่างกายของคนเราในทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะวัยที่อยู่ในช่วงการเจริญเติบโตสูง เช่นวัยทารก เด็กวัยรุ่น และในคุณผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ ในส่วนของผู้หญิงที่อยู่ในวัยของการเจริญพันธุ์ที่มีการสูญเสียธาตุเหล็กไปกับการเป็ประจำเดือน ทุกๆเดือนนั้น ถึงแม้จะมีปริมาณที่ไม่มากแต่ก็ควรที่จะได้รับธาตุเหล็กมากกว่าผู้ชายที่อยู่ในวัยเดียวกัน ธาตุเหล็กมีความจำเป็นในเรื่องของการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย และถ้าใครเกิดอาการที่ขาดธาตุเหล็กขึ้นมาแล้วล่ะก็อาจจะมีภาวะที่ซีดได้ ธาตุเหล็กมีมากในเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นธาตุเหล็กที่มีคุณภาพ และเป็นชนิดที่ร่างกายดูดซึมได้ดี (Heme iron) ส่วนธาตุเหล็กที่มีในพืช ซึ่งราคาถูกกว่า เป็นธาตุเหล็กชนิดที่ดูดซึมได้ไม่ดีนัก (Nonheme iron) การขาดอาหารเนื้อสัตว์จึงเป็นสาเหตุของการขาดธาตุเหล็ก จนก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็กได้ค่ะ โดยภาวะขาดธาตุเหล็ก มักพบได้ในผู้หญิงสูงกว่าในผู้ชาย เนื่องจาก

  • ร่างกายผู้ชายเก็บสะสมธาตุเหล็กได้สูงกว่าในผู้หญิง
  • ไม่ต้องเสียเลือดจากประจำเดือน
  • ไม่มีการตั้งครรภ์
  • ไม่ได้ให้นมบุตร

ซึ่งทั้งสองภาวะหลัง เป็นภาวะที่ทำให้ร่างกายต้องการธาตุเหล็กสูงกว่าปกติ จึงก่อให้เกิดการขาดธาตุเหล็กได้ง่ายนั่นเองค่ะ

ผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็ก คือ

  • หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร
  • ทารกในครรภ์ และวัยเด็ก
  • หญิงที่มีประจำเดือนมากทุกเดือน
  • มีเลือดออกเรื้อรัง เช่น โรคริดสีดวงทวาร
  • มีโรคเรื้อรังของทางเดินอาหาร เช่น ลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ลองสังเกตุจากตัวเองก่อนเลยนะคะ ว่าเรามีอาการเหล่านี้บ้างหรือเปล่า

 

เกี่ยวกับ ธาตุเหล็ก หรือ Iron

  • ธาตุเหล็ก เป็นธาตุอาหารสำคัญที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ จึงจำเป็นที่จะต้องได้จากอาหารอย่างเพียงพอ
  • ธาตุเหล็ก เป็นแร่ธาตุหนึ่งที่มีความจำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดง
  • ธาตุเหล็ก เหล็กมีความจำเป็นกับคนทุกวัย โดยเฉพาะวัยที่มีการเจริญเติบโตสูง เช่น ทารก เด็กวัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์
  • ธาตุเหล็ก คนปกติมีธาตุเหล็กประมาณ 3-5 กรัม ร้อยละ 70 ของเหล็กอยู่ในเม็ดเลือดแดงหรือฮีโมโกลบิน ที่เหลืออยู่ในตับ ม้าม ไขกระดูก และกล้ามเนื้อ
  • ธาตุเหล็ก ในเลือด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีธาตุเหล็กประมาณ 40-50 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ปลา เป็ด ไก่ ตับ ม้าม ไข่แดง อาหารเช้าซีเรียล (Cereal) หรือนมที่เสริมอาหารด้วยธาตุเหล็ก ในพืช เช่น ผักที่มีใบเขียวเข้มทุกชนิด เช่น ใบตำลึง ผักปวยเล้ง ผักโขม ถั่วแดง ถั่วดำ ข้าวโอต
  • ธาตุเหล็ก จะถูกดูดซึมในส่วนของลำไส้เล็ก
  • ธาตุเหล็ก จากแหล่งอาหารที่มาจากสัตว์ จะถูกดูดซึมได้ดีกว่าจากแหล่งอาหารที่มาจากพืช
  • ธาตุเหล็ก ยังดูดซึมได้ดีในภาวะที่น้ำย่อยอาหารมีความเป็นกรด (ดังนั้น ยาเคลือบกระเพาะอาหาร และยาลดกรด จึงลดการดูดซึมของธาตุเหล็ก) และวิตามินซี และอาหารที่มีวิตามินซีสูง จะช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กด้วย
  • ธาตุเหล็ก จะถูกขัดขวางการดูดซึมเมื่อดื่มชา กาแฟ ในปริมาณที่สูง เนื่องจากสาร Tannin จะไปลดการดูดซึมของธาตุเหล็ก และอาหารที่มีใยอาหารสูงกับอาหารที่มีแคลเซียมสูง
  • ธาตุเหล็ก เมื่อดูดซึมแล้ว ส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้งาน บางส่วนร่างกายจะสะสมไว้ใน ตับ ม้าม และไขกระดูก
  • ธาตุเหล็ก ร่างกายของเราจะกำจัดธาตุเหล็กส่วนเกินออกทางตับ (ทางน้ำ ดี) และทางไต (กำจัดออกทางปัสสาวะ แต่ในปริมาณน้อยมาก)

 

ประโยชน์ของธาตุเหล็ก หรือ (Iron)

 

ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันอาการโรคโลหิตจาง โดยเป็นตัวนำออกซิเจนจากปอดไปสู่เซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย เพื่อการทำงาน การใช้พลังงานของเซลล์ทุกๆเซลล์ของร่างกาย ธาตุเหล็กจึงมีความสำคัญต่อไขกระดูกในการสร้างเม็ดเลือดแดงเป็นอย่างมาก ดังนั้นเมื่อขาดธาตุเหล็ก จะเป็นสาเหตุหลักให้เกิดภาวะซีด หรือภาวะโลหิตจาง (โลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก)

 

ช่วยให้ร่างกายเติบโตเป็นปกติ ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อต่างๆ ให้มีความแข็งแรง

 

ธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบของโปรตีนหลายชนิด ที่ช่วยสร้างกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ต่างๆในการสันดาปพลังงานและการนำพลังงานต่างๆไปใช้

 

ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย โดยช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต้านโรคทำให้เจ็บป่วยยากขึ้น

 

ช่วยกำจัดโลหะหนักที่เป็นพิษออกจากร่างกาย เช่น แคดเมี่ยม

 

ช่วยให้เซลล์สมองเจริญเติบโตได้ดี ช่วยการเจริญเติบโตของเซลล์สมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจและความจำ (Cognitive development)

 

อาการของภาวะผู้ที่ขาดธาตุเหล็ก

– ร่างกายซีด เหลือง

– เป็นโรคโลหิตจาง

– ร่างกายไม่เจริญเติบโตสมบูรณ์ตามวัย

– ตั้งครรภ์ยาก

– ประจำเดือนมาไม่ปกติ

– อ่อนเพลียง่าย เหนื่อยง่าย วิงเวียนศีรษะบ่อย

– ผมร่วงมาก

– สมองคิดช้า ตอบสนองช้า สับสนง่าย

– ติดเชื้อต่างๆได้ง่าย

 

ปริมาณของธาตุเหล็กที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน

สำหรับปริมาณธาตุเหล็กที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป (Thai Recommended Daily Intakes (Thai-RDI)) มีค่าเท่ากับ 15 มิลลิกรัม โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี จะเห็นได้ว่าร่างกายของเราต้องการในปริมาณไม่มาก แต่ธาตุเหล็กจัดเป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นกับคนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กทารก เด็กวัยรุ่น และหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโต ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายซึ่งปริมาณธาตุเหล็กที่ร่างกายควรได้รับจะแตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคล เพศ อายุ นั่นเองค่ะ

 

www.flickr.com/photos/charlotte90t/15600597901/