Browse Tag: ละลายได้ในน้ำ

Vitamin B คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

medicine-color-1
Source: Flickr (click image for link)

วิตามินบี (Vitamin B) เป็นหนึ่งในวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำได้ หรือที่เราเรียกกันว่า Vitamin B Complex แต่วิตามินบี ตัวนี้จะไม่สามารถเก็บไว้ในร่างกายของเราได้ โดยมันจะถูกขับออกทางปัสสาวะ แต่ก่อนมันจะถูกขับออกมันได้สร้างประโยชน์ให้เราอย่างมหาศาล โดยตัว Vitamin B Complex นั้นจะทำหน้าที่เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตในร่างกายให้เป็นน้ำตาลกลูโคส ซึ่งร่างกายจะสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานไปใช้ได้ และช่วยในกระบวนการเมตาโบลิซึมของไขมันและโปรตีน รวมถึงการทำงานของระบบประสาท และกล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหาร เป็นกลุ่มของวิตามินที่มีความจำเป็นต่อเส้นประสาทและความสมบูรณ์ของอวัยวะต่างๆ  โดยจะมีวิตามินบี 1, บี 2, บี 3,บี 5, บี 6 และบี 12 บางทีเรียกรวมกันว่า วิตามินบีรวม มีความสำคัญในการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา หรือทำให้ปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกายดำเนินไปได้ และคงจะเคยได้เห็นเคยได้ยินกันมาว่า วิตามินบีรวม หรือวิตามินบีคอมเพล็กซ์เนี่ย ส่วนมากคนวัยทำงานนอนดึกตื่นเช้ามักจะหาซื้อมาบำรุงร่างกายในรูปของอาหารเสริม เพราะเชื่อว่าในอาหารเสริมมีคุณค่าครบถ้วนกว่าวิตามินที่อยู่ในอาหารที่เรากินทุกมื้อ แต่จะจริงเท็จแค่ไหนก็ลองมาไขข้อข้องใจกันดูเลย !

 

วิตามินบีรวม (Vitamin B Complex )

  • Vitamin B Complex  คือ วิตามินกลุ่มที่ละลายได้ในน้ำ
  • Vitamin B Complex  ได้แก่ บี 1 บี 2 บี 3 บี 5 บี 6 บี 7 บี 9 และบี 12  ซึ่งแต่ละตัวก็มีประโยชน์และมีอยู่ในอาหารชนิดต่างๆ แตกต่างกันไป
  • Vitamin B Complex ตัวนี้จะไม่สามารถเก็บไว้ในร่างกายของเราได้ โดยมันจะถูกขับออกทางปัสสาวะ
  • Vitamin B Complex นั้นจะทำหน้าที่เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตในร่างกายให้เป็นน้ำตาลกลูโคส
  • Vitamin B Complex ช่วยในการย่อยหรือแตกตัวของโปรตีนเป็นไขมัน
  • Vitamin B Complex ช่วยรักษาโรคต่าง ๆ ตั้งแต่โรคเหน็บชาจนถึงโรคเกี่ยวกับสมอง
  • Vitamin B Complex มีความสำคัญในการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา หรือทำให้ปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกายดำเนินไปได้
  • ความเคร่งเครียดจากชีวิตประจำวัน จะทำให้ร่างกายขาดวิตามินบีมากยิ่งชึ้น

 

ประโยชน์ของวิตามินบีรวม (Vitamin B Complex)

 

  • วิตามินบี 1 (ไทอามีน) ช่วยเพิ่มพลังกายให้พร้อมทุกวัน  หรือถ้าใครอยากจำง่าย ๆ ก็เรียกว่า วิตามินลดเครียดก็ได้ค่ะ เป็นวิตามินที่ช่วยดึงสารอาหารหมู่คาร์โบไฮเดรตไปเผาผลาญให้เป็นพลังงานของร่างกายในการจัดการสิ่งต่าง ๆ ในแต่ละวัน และยังช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของเราให้ทำงานเป็นปกติอีกด้วยและช่วยป้องการการเกิดโรคโลหิตจาง โรคเหน็บชา ถ้าร่างการขาดวิตามินบี 1 จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ชาตามนิ้วมือนิ้วเท้าและเกิดผลเสียต่อกล้ามเนื้อหัวใจจากการคั่งค้างของเสีย ดังนั้น ยอดมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายจึงไม่ควรปล่อยให้ตัวเองหิวโซในตอนเช้า ๆ เป็นอันขาด เพราะร่างกายจะงอแงไม่อยากทำงานนั่นเอง  ซึ่งอาหารอุดมไปด้วยวิตามินตัวนี้ก็คือ อาหารหมู่คาร์โบไฮเดรต รวมทั้งเนื้อหมู โฮลเกรน ไข่ไก่ ตับ ขนมปัง โยเกิร์ต และนม  ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน แต่ละบุคคลก็จะมีความต้องการแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่น เพศ น้ำหนักตัว แต่โดยทั่วไปร่างกายต้องการ 0.5 มก. / 1000 กิโลแคลอรี่ ซึ่งในแต่ละวันจะต้องการดังนี้ ผู้ชายต้องการ 1.2-1.4 มก./วัน เด็กต้องการ 0.6-1.1 มก./วัน สตรีตั้งครรภ์ 1.4 มก./วัน สตรีให้นมบุตร 1.5 มก./วัน
  • วิตามินบี 2 (ไรโบเฟลวิน) ป้องกันอาการปวดหัวจากการคิดงานตลอดทั้งวัน มีประโยชน์มากในเด็กที่กำลังเจริญเติบโต ป้องกันการเกิดแผลในปากและโรคปากนกกระจอก ป้องกันการเกิดโรคไมเกรน ช่วยทำให้ ผิวหนัง เล็บ เส้นผมมีสุขภาพ และลดการเกิดมะเร็งหลอดอาหารอีกด้วย  ใครที่ใช้พลังสมองคิดงานมากไปจนทำให้อาการปวดหัวถามหาอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะอาการปวดไมเกรน ลองบำรุงร่างกายด้วยวิตามินบี 2 ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายไม่ให้ถูกทำร้าย และช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตเป็นปกติ ที่สำคัญคือถ้าเราไม่ขาดวิตามินชนิดนี้ก็จะทำให้เราดูอ่อนกว่าวัย และห่างไกลจากโรคหัวใจอีกด้วยนะ ดังนั้น ในทุก ๆ เช้าก็ไม่ควรพลาดอาหารที่อุดมด้วยวิตามินตัวบี 2 แบบเน้น ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์นม ผักใบเขียว กล้วย ขนมปังและซีเรียล ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน ทารกต้องการประมาณ 0.4-0.6 มก./วัน  เด็ก 0.8-1.2 มก./วัน ผู้ใหญ่ 1.2-1.7 มก./วัน หญิงตั้งครรภ์ มากกว่า 3 มก./วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย และการขับออกของร่างกาย แต่ถ้ามีการสร้างการเจริญเติบโต ความต้องการวิตามินบี 2 จะเพิ่มขึ้นตาม
  • วิตามินบี 3 (ไนอาซิน) ช่วยให้สิวไม่ขึ้นจากการอดหลับอดนอน  มีหน้าที่ในการเผาผลาญอาหาร ทำให้เกิดพลังและการสร้างไขมันในร่างกาย ช่วยทำลายสารพิษจากมลพิษ ควันบุหรี่ รักษาอาการเครียดและช่วยในการไหลเวียนของเลือด และถ้าหากการอดหลับอดนอนหลายคืนติดต่อกัน ทำให้สิวเจ้ากรรมผุดขึ้นบนหน้าราวกับดอกเห็ด แต่ก็ไม่ต้องตกใจไป ลองบำรุงร่างกายด้วยวิตามินบี 3 ที่มีคุณสมบัติทางการแพทย์ช่วยกระตุ้นไขมันชนิดดีในเลือด (HDL) ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตเป็นปกติดี ดังนั้น ถ้ารู้ตัวต้องนอนดึกจากมรสุมงานละก็ต้องบำรุงอาหารที่มีวิตามินบี 3 เยอะหน่อย เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ เนื้อเป็ด ผักชะอม ใบชะพลู เห็ด และ อะโวคาโด ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน ทารก 6-8 มก. เด็ก 9-18 มก. ผู้ใหญ่ 13-19 มก. หญิงตั้งครรภ์ 2 มก. หญิงให้นมบุตร 5 มก. 
  • วิตามินบี 5 (กรดแพนโทเทนิก) ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายความตึงเครียด มีความจำเป็นต่อการทำงานของสมอง บรรเทาอาการข้ออักเสบ ช่วยในการนอนหลับให้ดีขึ้น และควบคุมสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย ใครที่รู้สึกว่านอนพักผ่อนแล้วยังไม่หายเครียดจากงาน ก็ลองหันมาบำรุงร่างกายด้วยอาหารที่มีวิตามินบี 5 ดูนะคะ เพราะวิตามินบี 5 ช่วยกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนลดเครียดออกมาให้เรารู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่มีผลต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงในกระแสเลือดอีกด้วย  และประโยชน์ของวิตามินตัวนี้ยังไม่หมดเพียงเท่านี้นะคะ บางผลการวิจัยบอกว่าวิตามินบี 5 ช่วยลดสัญญาณความร่วงโรยแห่งวัยได้ด้วย เช่น ริ้วรอยเหี่ยวย่น รอยตีนกา ฝ้า กระ และจุดด่างดำ เป็นต้น ดังนั้น ถ้าไม่อยากให้งานกระชากความอ่อนวัยของเราไปฟรี ๆ ก็รีบบำรุงตัวเองด้วยอาหารต่อไปนี้โดยด่วนเลย ได้แก่ ข้าวโพด ไข่แดง เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ และถั่วเหลือง ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน ประมาณ 10 มก./วัน
  • วิตามินบี 6 (ไพริดอกซีน) ช่วยให้ไม่เหวี่ยงวีนก่อนประจำเดือนมา จำเป็นต่อการทำงานของสมองและระบบประสาท และมีหน้าที่สำคัญในการเผาผลาญโปรตีนในรายกาย ช่วยปรับสภาพผิวหนังให้เป็นปกติ สาว ๆ คนไหนที่รู้ตัวว่ามักจะมีอาการกระสับกระส่ายนอนไม่หลับในตอนกลางคืน และมีอารมณ์แปรปรวนเข้ามาแวะเวียนก่อนถึงวันนั้นของเดือนเสมอ ขอแนะนำเลยว่าให้บำรุงร่างกายด้วยวิตามินบี 6 เยอะ ๆ จะได้ไม่เผลอเหวี่ยงใส่เพื่อนร่วมงาน วิตามินตัวนี้จะช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนให้เป็นปกติจากการกระตุ้นสมองให้หลั่งสารผ่อนคลายที่สำคัญ เช่น สารเซโรโทนิน เมลาโทนิน และนอร์เอพิเนฟริน ที่สามารถลดความแปรปรวนของอารมณ์เราไม่ให้มากเกินไปนั่นเอง ซึ่งอาหารที่สาว ๆ ควรเน้นบำรุงร่างกายในช่วงก่อนประจำเดือนมา ได้แก่ เนื้อไก่ ปลาทูน่า ปลาแซลมอน กล้วย แตงโมง เมล็ดทานตะวัน ชีส ข้าวกล้อง และ แครอท ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน สำหรับทารก 0.3 – 0.6 มิลลิกรัม /100 กรัมของโปรตีน / วัน  เด็ก 0.6 – 1.2 มิลลิกรัม /100 กรัมของโปรตีน / วัน ผู้ชาย 2.2 มิลลิกรัม / วัน ผู้หญิง 2 มิลลิกรัม / วัน หญิงตั้งครรภ์ +0.6 มิลลิกรัม / วัน หญิงให้นมบุตร +0.5 มิลลิกรัม / วัน
  • วิตามินบี 7 (ไบโอติน) ช่วยเราไม่ดูโทรมแม้จะกรำงานหนัก มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต ของเซลล์  ช่วยบำรุงผิวหนัง  เส้นผม  ตา ปาก  และตับ และในพวกชาวออฟฟิศที่มีงานยุ่งตลอดจนร่างกายดูโทรมลงทุกปี แต่ถ้าลองหันมาเน้นบำรุงตัวเองด้วยวิตามินบี 7 ก็จะช่วยทำให้เราเปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวลขึ้น เพราะวิตามินชนิดนี้จะช่วยกักเก็บสารอาหารประเภทโปรตีนไปหล่อเลี้ยงเซลล์ต่างๆ เช่น เส้นผม ผิวพรรณ และเล็บให้มีสุขภาพดี ดังนั้นถ้าอยากเป็นหนุ่มสาวออฟฟิศสุขภาพดีแห่งปีก็ต้องเน้นอาหารที่อุดมด้วยวิตามินบี 7 มากหน่อย ได้แก่ ข้าวบาร์เลย์ เนื้อสัตว์ เนื้อปลา มันฝรั่ง กะหล่ำดอก ไข่แดง และนม
  • วิตามินบี 9 (โฟเลต) ป้องกันภาวะโลหิตจาง  หลายคนคงสงสัยว่าวิตามินบี 9 น่าจะเหมาะกับคุณแม่ที่กำลังมีน้องมากกว่า เพราะวิตามินบี 9 ช่วยป้องกันอาการหน้ามืดจากภาวะโลหิตจาง ลดอาการซึมเศร้าจากการตั้งครรภ์ ช่วยลดอาการขี้หลงขี้ลืม รวมถึงช่วยเสริมสร้างระบบประสาทและสมองของลูกน้อยในครรภ์ให้มีพัฒนาการที่สมบูรณ์อีกด้วย แต่ก็เพราะประโยชน์สำคัญเหล่านี้นี่แหละที่มีผลต่อคนวัยทำงานทั่วๆไปด้วย โดยเฉพาะคนทำงานที่ต้องนั่งแปะอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน บางทีอาจทำให้วูบไปได้ง่าย ๆ เพราะเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ หรือเกิดภาวะโลหิตจาง ซึ่งวิตามินบี 9 จะช่วยกระตุ้นกระบวนการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง ช่วยให้ร่างกายไม่เหนื่อยล้าจากการทำงานนั่นเอง ดังนั้น หากงานยุ่งจนแทบไม่ได้ลุกเดินไปไหน ก็ควรบำรุงตัวเองด้วยอาหารที่มีวิตามินตัวนี้ให้มาก ๆ  ได้แก่ ฟักทอง แครอท ตับ ผักใบเขียว หน่อไม้ฝรั่ง ไข่แดง และพืชตระกูลถั่ว
  • วิตามินบี 12 (โคบาลามิน) บำรุงความจำไม่ให้หลงลืม วิตามินบี 12 นี้มีอีกชื่อหนึ่งที่รู้จักคือ “วิตามินแดง” หรือ “ไซยาโนโคบาลามิน” เป็นวิตามินเพียงตัวเดียวที่มีแร่ธาตุที่จำเป็นประกอบอยู่ วิตามินนี้ดีต่อต่อร่างกายคือ สร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโหลิตจาง เสริมสร้างการเจริญเติบโตและช่วยให้เด็กเจริญอาหาร เพิ่มพลังงาน ช่วยให้ระบบประสาทแข็งแรง เพิ่มสมาธิ ความจำ และการทรงตัว ช่วยป้องกันมะเร็งที่เกิดจากการสูบบุหรี่ มีความจำเป็นในการสร้างเม็ดเลือด การทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และระบบทางเดินอาหาร ป้องกันอาการอ่อนเพลียจากโรคโลหิตจาง  สำหรับคนวัยทำงาน ถ้าเกิดตารางงานในวันหนึ่งๆ มีหลายสิ่งต่อคิวให้จัดการยาวเป็นหางว่าว คุณก็มั่นใจได้ว่าเอาอยู่ทุกคิวแน่นอน หากบำรุงร่างกายไม่ขาดด้วยวิตามินบี 12 เป็นประจำ โดยวิตามินชนิดนี้จะทำงานร่วมกับวิตามินบี 9 ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมองให้ทำงานเป็นปกติ ช่วยกระตุ้นกระบวนการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง และยังช่วยผลิตธาตุเหล็กให้เซลล์เม็ดเลือดแดงอีกด้วย  ดังนั้น ใครที่เป็นเวิร์กกิ้งวูแมนตัวจริงต้องไม่ลืมบำรุงตัวเองด้วยวิตามินตัวนี้นะคะ ได้แก่ หอย ผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ไก่ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ และเต้าหู้ ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน คนปกติจะมีวิตามิน บี12 ทั้งหมดทั้วร่างกายประมาณ 5000 ไมโครกรัม ฉะนั้น วิตามินบี12 จึงเป็นวิตามินชนิดเดียวที่ร่างกายสามารถเก็บไว้ได้เป็นจำนวนมาก โดยเก็บไว้ที่ตับมากที่สุด คือ ประมาณ 1,700 ไมโครกรัม 

 

  ตามปกติแล้วหากเรารับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่ ก็ไม่จำเป็นต้องไปเสาะหาวิตามินที่ทำเป็นอาหารเสริม เพราะแหล่งสำคัญของวิตามินอยู่ในพืชผักผลไม้และเนื้อสัตว์ที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวัน แต่การจะกินวิตามินที่เป็นอาหารเสริมก็สามารถทำได้ หากเรามีวิถีการรับประทานอาหารที่ไม่ค่อยถูกต้องและครบตามหลักอาหาร 5 หมู่ การจะเลือกกินอาหารเสริมวิตามินบีรวมก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรงให้กับร่างกายของเรา อย่างไรก็ตาม ใครที่กินอาหารครบทั้ง 5 หมู่แล้วแต่ร่างกายยังฟ้องว่าขาดวิตามินบางตัวอยู่ อาจต้องมาดูว่าเราหลงลืมเรื่องการออกกำลังกายไปหรือเปล่า เพราะบางทีการใส่ใจแค่ด้านโภชนาการอย่างเดียวก็ไม่พอนะคะ ต้องหมั่นบริหารร่างกายควบคู่ไปด้วย สุขภาพกายและใจของเราก็จะได้สมบูรณ์ แข็งแรงยังไงละคะ

 

www.flickr.com/photos/epsos/8116279888/

Vitamin C คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

orange-lemon-1
Source: Flickr (click image for link)

HealthGossip วันนี้จะมาบอกเล่าสู่กันฟังถึงเรื่องเราของ “วิตามินซี” หลายๆคนคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักวิตามินซีกันใช่ไหมล่ะคะ ส่วนใหญ่ก็คงจะทราบกันว่าวิตามินซีนั้นช่วยให้ผิวของเราขาวใสหรือจะป้องกันอาการไข้หวัดอะไรทำนองนั้น แต่ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับวิตามินซีแบบลึกซึ้งให้เข้าใจแจ่มแจ้งกันไปเลยทีเดียวค่ะ ขอเท้าความจากประวัติการค้นพบ วิตามินซี กันก่อนเลยนะคะ วิตามินซีนั้นเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 18 ได้มีการสังเกตว่าพวกทหารเรือที่มีการรอนแรมออกเดินเรือไปในทะเลเป็นเวลานานๆ ซึ่งมักจะขาดแคลนพวกผักสดผลไม้สด มักจะป่วยเป็นโรคลักปิดลักเปิดและสุขภาพไม่ค่อยดีมีอาการอ่อนเพลียอยู่บ่อยๆ แต่ก็มีคนสังเกตเห็นว่าจะไม่พบอาการดังกล่าวในทหารเรือที่รับประทานมะนาวเป็นประจำ ดังนั้นต่อมาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก้าวหน้ามากขึ้นในปี 1982 ก็สามารถหาสารอาหารสำคัญที่เป็นต้นเหตุของโรคดังกล่าวได้ว่าสารที่พวกทหารเรือขาดไปคือ “กรดแอสคอร์บิค (Ascorbic acid)” ซึ่งมันมีฤทธิ์สามารถช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิดได้ ในปัจจุบัน กรดแอสคอร์บิค ก็ถูกรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อของ “วิตามินซี” และมีนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งซึ่งเคยได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้ง และมีอายุยืนยาวมากกว่า 90 ปีแม้จะป่วยเป็นโรคมะเร็งมายาวนานถึง 20 ปีก็ตาม ท่านนั้นก็คือ Dr.Linus Pauling ชาวเมืองพอรต์แลนด์ ได้เคยพูดไว้ว่า เหตุที่เขาสามารถมีสุขภาพดีและสามารถชะลอการลุกลามของโรคมะเร็งในตัวได้นานกว่า 20 ปี ก็เนื่องจากวิตามินและเกลือแร่ ที่เขารับประทานเข้าไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินซีซึ่งหลังจากที่เขารับประทานขนาดสูงทุกวัน เขาก็ไม่เคยเป็นหวัดอีกเลย Dr.Linus Pauling เริ่มรับประทาน วิตามินซี ชนิดเม็ดตั้งแต่อายุ 40 ปี และเพิ่มขนาดสูงถึง 18,000 มิลลิกรัม เมื่อรู้ว่าตนเองเป็น มะเร็ง ตั้งแต่อายุได้ 64 ปี เขายืนยันว่ามันช่วยให้มะเร็งในร่างกายสงบลงนั่นเอง

 

เกี่ยวกับวิตามินซี หรือ กรดแอสคอร์บิก

  • วิตามินซีนั้นเป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ร่างกายไม่สามารถที่จะสร้างขึ้นเองได้จึงจำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานเข้าไป
  • วิตามินซีมีมากในผักสดและผลไม้สด โดยเฉพาะส้ม มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว รสเปรี้ยว
  • เมื่อละลายน้ำมีฤทธิ์เป็นกรดและเป็นวิตามินที่ลสลายตัวได้เร็วที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวต่อออกซิเจนมาก
  • วิตามินซีรูปที่ออกฤทธิ์ (Active) ในร่างกายคือ Dihydroascorbic acid มีคุณสมบัติเป็นสารรีดิวซ์ (Reducing agent) ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)
  • วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถป้องกันและรักษาการอักเสบอันเนื่องมาจากแบคทีเรีย และไวรัสได้
  • วิตามินซีมีบทบาทที่สำคัญในการสร้าง คอลลาเจน เพื่อช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย และวิตามินซีช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดียิ่งขึ้น
  • วิตามินซีจะถูกใช้หมดไปอย่างรวดเร็วเมื่อคุณตกอยู่ในสภาวะเครียด
  • การขาดวิตามินซีอาจทำให้เกิดโรคเลือดออกตามไรฟันได้
  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันอยู่ที่ 60 mg. และสำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรที่ประมาณ 70-96 mg.
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ควรได้รับวิตามินซีเพิ่มมากขึ้น เพราะร่างกายจะสูญเสียวิตามินซี 25 – 100 mg. ต่อการสูบบุหรี่หนึ่งมวน
  • ช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของคอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL)
  • หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้เกิดนิ่ว บางครั้งการรับประทานในปริมาณที่สูงหรือมากกว่า 10,000 mg. ขึ้นไปอาจก่อให้เกิดผลเสีย เช่น อาการท้องร่วง ปัสสาวะบ่อย มีผื่นผิวหนัง ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวคุณควรรับประทานในปริมาณที่น้อยลง คนไข้โรคมะเร็งที่กำลังฉายรังสีหรือเคมีบำบัด ไม่ควรรับประทานวิตามินซีเพราะผลตรวจอาจแปรปรวนได้
  • ศัตรูของวิตามินซี ได้แก่ แสง, ออกซิเจน, น้ำ, ความร้อน, การสูบบุหรี่, การปรุงอาหาร

 

ประโยชน์ของ วิตามินซี

เราทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า วิตามินซี มีประโยชน์มากมากหลายอย่าง ไม่ว่าจะช่วยปกป้องเซลล์ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สุขภาพและความแข็งแรงของเนื้อเยื่อในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับ เส้นเอ็น และคอลลาเจน ก็มีผลมาจากปริมาณ วิตามินซี ในร่างกาย และ วิตามินซี ยังมีฤทธิ์ในการเป็นสารแอนตี้อ๊อกซิแดนท์ที่ดี จึงสามารถป้องกันการทำลายเซลจากอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี และมันช่วยให้ร่างกายสามารถรีไซเคิลสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ ดังนั้นเพื่อประโยชน์สูงสุดจึงควรที่จะรับประทาน วิตามินซี ร่วมกับสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ เช่น วิตามินอี แคโรทีน ฟลาโวนอย เป็นต้น

 

วิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ซึ่งจะป้องกันร่างกายจากอนุมูลอิสระ ที่เกิดจากขบวนการสันดาบในร่างกาย หรือจากมลพิษ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา โดยจะทำให้เซลล์ต่างๆ เสื่อม หรืออาจเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ที่ผิดปกติได้

 

วิตามินซี ช่วยบรรเทาความรุนแรงและระยะเวลาของการเป็นโรคหวัด หากเริ่มรับประทาน วิตามินซี ตั้งแต่เริ่มแรกที่เห็นอาการของโรคหวัด จะช่วยให้อาการป่วยลดความรุนแรงและหายได้เร็วขึ้น มีการศึกษาเมื่อปี 1995 พบว่าหากรับประทาน วิตามินซี 1,000 ถึง 6,000 มิลลิกรัมต่อวันตั้งแต่เริ่มมีอาการของโรคหวัด จะช่วยให้หายได้เร็วขึ้น 21% แต่ก็ยังไม่มีรายงานว่า วิตามินซี สามารถช่วยป้องกันโรคหวัดได้

 

วิตามินซี ช่วยให้แผลหายได้เร็วขึ้น เนื่องจาก วิตามินซี ช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมและรักษาตัวเองโดยการไปเสริมสร้างผนังเซล ทำให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรง และต่อต้านอาการอักเสบ จึงทำให้แผลหายได้เร็วขึ้น ในทางกลับกันการขาด วิตามินซี ก็สงผลให้แผลให้ได้ช้าลงเช่นกัน

 

วิตามินซี ช่วยให้เหงือกมีสุขภาพแข็งแรง หากรับประทานวิตามินซีเป็นประจำทุกวัน นั้นจะช่วยให้เหงือกมีสุขภาพแข็งแรง โดย วิตามินซี จะไปช่วยรักษาเซลที่ถูกทำลายและช่วยให้แผลที่เหงือกหายเร็ว

 

วิตามินซี ช่วยเพิ่มความต้านทานต่อโรคหัวใจ โดยการไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมระดับคลอเรสเตอรอล ในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรับประทานร่วมกับ วิตามินอี โดยมันจะไปลดการเกาะตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด

 

วิตามินซี ช่วยในการป้องกันและต่อสู้กับโรคมะเร็ง เนื่องจาก วิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี มันจึงอาจจะช่วยในการป้องกันและต่อสู้กับโรคมะเร็งได้ มีการศึกษาอย่างมากในเรื่องนี้แต่ก็ยังไม่ข้อสรุปที่ชัดเจน โดยยังมีการถกเถียงกันอย่างมากเกี่ยว วิตามินซี กับการป้องกันและต่อสู้กับโรค มะเร็ง

 

วิตามินซี ช่วยในการป้องกันโรคต้อกระจก เนื่องจาก วิตามินซี สามารถช่วยปกป้องเลนส์ตาจากอันตรายต่างๆ เช่น ควันบุหรี่ แสงอุลตร้าไวโอเลต ที่เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดโรคต้อกระจก มีการศึกษาอันหนึ่งพบว่าผู้หญิงที่รับประทานวิตามินซีมาอย่างน้อย 10 ปี พบว่ามีความเสี่ยงที่จะมีอาการเลนส์ตาขุ่นมัวซึ่งเป็นอาการเริ่มแรกของโรคต้อกระจกลดลงถึง 77%

 

วิตามินซี ช่วยบรรเทาอาการแพ้ หอบหืด ไซนัส ทั้งนี้เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้ว วิตามินซี มีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านภูมิแพ้ต่างๆ เช่น ฝุ่นละออง เกษรดอกไม้ ซึ่งอาการแพ้เหล่านี้ก็เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของโรคไซนัส นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า วิตามินซี ช่วยป้องกันและทำให้อาการหอบหืดดีขึ้น

 

วิตามินซี ช่วยป้องกันอาการไมเกรน เมื่อรับประทานร่วมกับ pantothenic acid โดย วิตามินซี จะไปช่วยร่างกายในการต่อสู้กับความเครียดได้ดีขึ้น

 

วิตามินซี ช่วยเรื่องความจำ โดยวิตามินซีจะไปช่วยรักษาสภาพของเซลประสาทและจะได้ผลดียิ่งขึ้นหากรับประทานร่วมกับอาหารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ เช่น วิตามินอี แคโรทีน กิงโกะไบโลบ้า และโคเอนไซม์ Q10

 

ปริมาณที่ควรรับประทาน

ในสภาวะปกติปริมาณที่แนะนำให้รับประทานคือ 60 มิลลิกรัมต่อวัน (แต่ในคนที่สูบบุหรี่ 200 มิลลิกรัมต่อวัน) อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเสริมสุขภาพได้แนะนำว่าเพื่อประสิทธิภาพที่ดีต่อสุขภาพควรจะต้องรับประทานอย่างน้อย 100-200 มิลลิกรัมต่อวัน คนที่มีความเครียดควรรับประทานวันละ 500 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากต้องการผลในด้านการป้องกันโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง ความชรา ควรจะรับประทาน 250 – 1,000 มิลลิกรัม  การทานขนาดสูงมากกว่า 1,000 มิลลิกรัม อาจจะทำให้เกิดท้องเสีย และถ้าทานตอนท้องว่าง จะทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินอาหาร เนื่องจากความเป็นกรด อาจจะเกิดอาการท้องอืด เฟ้อ บางครั้งถึงขั้น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว และแน่นอนเนื่องจากวิตามินซี ขับทางปัสสาวะ จึงทำให้ปัสสาวะมีสภาพเป็นกรด ดังนั้น จึงเพิ่มโอกาสเกิดการตกตะกอนของผลึก ต่างๆ กลายเป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้ จึงแนะนำให้ทานวิตามินซี พร้อมดื่มน้ำมากๆ 
หากเราได้รับ วิตามินซี น้อยกว่าที่ร่างกายควรจะได้รับ ก็จะเกิดลักปิดลักเปิด ซึ่งจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นหากขาดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานและไม่ต้องกังวัลว่าจะได้รับมากเกินไป เนื่องจาก วิตามินซี สามารถละลายน้ำได้ดี หากร่างกายไม่ได้ใช้ก็จะมีการขับออกมาได้ทางปัสสาวะ อีกทั้งยังไม่เคยมีรายงานเกี่ยวกับพิษที่เกิดจากการรับประทาน วิตามินซี แม้จะรับประทานในปริมาณที่สูงกว่า 6,000 – 18,000 มิลลิกรัม

 

www.flickr.com/photos/mrjorgen/5739569464/