Browse Tag: วิตามินเอ

16 ประโยชน์ต่อสุขภาพจากผักปวยเล้ง (Spinach)

Source: Flickr (click image for link)

“ผักปวยเล้ง (Spinach)” ผักปวยเล้งที่หลายคนมักสับสนว่านั่นคือผักโขมจากการ์ตูนเรื่องป๊อบอายที่เคยดูกันตอนเด็กๆ กันเมื่อตัวป๊อบอายได้กินผักที่ชื่อว่า Spinach เข้าไปจะทำให้ร่างกายแข็งแรงตัวโตขึ้น แต่จริงๆ แล้วผักโขมมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า ผักโขม (Amaranth) และผักใบเขียวทั้งสองชนิดนี้ก็เป็นพืชที่อยู่ตระกูลเดียวกันมีประโยชน์เหมือนกันค่ะ ผักปวยเล้งที่มีใบสีเขียวเข้มนี้ได้มีต้นกำเนิดมาจากทางตะวันออกกลางและแถบเปอร์เซียในสมัยโบราณนับพันๆ ปีมาแล้วค่ะ อีกทั้งยังเป็นผักที่ชาวอิหร่านนิยมรับประทานกันมากจนได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “Prince of Vegetables” กันเลยทีเดียว โดยจากชื่อที่นิยมเรียกกันว่าผักปวยเล้งออกเสียงเหมือนภาษาจีน ก็คงจะคิดว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน แต่ความจริงแล้วการเพาะปลูกผักโขมได้มีการแพร่กระจายไปยังประเทศเนปาล ซึ่งในศตวรรษที่สิบเจ็ดได้นำไปเผยแพร่ที่ประเทศจีนและในขณะนั้นก็ยังคงเรียกกันว่า “เปอร์เซียกรีน” เหตุผลที่มีชื่อว่าผักปวยเล้ง ซึ่งดูเหมือนว่ามาจากประเทศจีน ก็เนื่องจากว่าผักปวยเล้งได้มีการบันทึกชื่อเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ถังจึงได้มีชื่อเป็นภาษาจีนไปโดยปริยายค่ะ นอกจากประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจจากผักปวยเล้งนี้แล้วประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการจากผักปวยเล้งก็ไม่ธรรมดาเลยค่ะ ดังนั้นวันนี้เราเลยอยากนำข้อมูลของประโยชน์ทางสุขภาพจากผักปวยเล้งมาบอกกัน

 

16 ประโยชน์ต่อสุขภาพจากผักปวยเล้ง (Spinach)

Source: Flickr (click image for link)

1.ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง

การที่ผักปวยเล้งมีปริมาณโพแทสเซียมที่สูงมากอีกทั้งยังมีปริมาณโซเดียมต่ำ จึงส่งผลที่ประโยชน์ต่อผู้ที่ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อีกทั้งโฟเลตที่มีอยู่ในผักปวยเล้งยังช่วยลดความดันโลหิตสูงและช่วยผ่อนคลายหลอดเลือดในขณะที่ยังรักษาระดับการไหลเวียนของโลหิตได้ดี จากการลดความดันโลหิตและผ่อนคลายความตึงของหลอดเลือด

2.บำรุงสายตา

เนื่องด้วยผักปวยเล้งมีวิตามินเอและสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่เรียกว่าเบต้าแคโรทีนที่สูง จึงไปช่วยสร้างสารโรดอปซินที่ส่งผลดีต่อการมองเห็นในเวลากลางคืนให้ดีขึ้นค่ะ  อีกทั้งยังเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระโดยไปต่อต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นซึ่งจะทำลายส่วนต่างๆ ของเซลล์ และทำให้เซลล์แบ่งตัวผิดปกติจนกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย

 

3.มีประโยชน์ต่อระบบประสาท

ส่วนประกอบของผักปวยเล้ง จำพวก โปแตสเซียม โฟเลต และสารแอนตี้ออกซิแดนท์ต่าง ๆ เป็นประโยชน์ต่อระบบประสาทเมื่อเรารับประทานเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยเฉพาะโฟเลตสามารถช่วยบำรุงสมองเพิ่มความจำลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ อีกทั้งโพแทสเซียมยังเป็นส่วนสำคัญของสมองเช่นกันซึ่งมีความเชื่อมโยงเกี่ยวพันกับการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้เพิ่มขึ้น

 

4.ช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

พบว่าผักปวยเล้งและผักบางชนิดมีความสามารถในการป้องกันเยื่อเมือกของกระเพาะอาหารที่จะไปช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ glycoglycerolipids ที่พบในผักปวยเล้งยังสามารถเพิ่มความแข็งแรงของเยื่อบุทางเดินอาหาร และป้องกันการอักเสบที่ไม่พึงประสงค์ในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายอีกด้วยค่ะ

 

5.รักษาและป้องกันโรคมะเร็ง

ผักป้วยเล้งมีส่วนประกอบที่สำคัญและมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่างมากมาย อีกทั้งยังมีส่วนประกอบที่สำคัญที่พบว่ามีแนวโน้มในการรักษาและป้องกันโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ อีกด้วยค่ะ โดยเฉพาะมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งตับ และปอด ซึ่งส่วนประกอบสำคัญในผักปวยเล้งที่ว่านี้ คือ โฟเลต โทโคฟีรอล และคลอโรฟิลล์ ที่จะไปส่งผลต่อกลไกต่างๆ ในร่างกายและช่วยในการรักษาและป้องกันโรคมะเร็งค่ะ

 

6.ลดการเสื่อมสภาพของจอประสาทตา

Retinitis pigmentosa หรือ โรคอาร์พี (ตัวย่อ RP) เป็นโรคจอตาเสื่อมที่สามารถสืบทอดทางกรรมพันธุ์ที่เป็นเหตุแห่งความเสียหายต่อการเห็นอย่างรุนแรงถึงขั้นตาบอด ซึ่งเป็นผลมาจากการเสื่อมของ lutein และ xanthene ที่เป็นส่วนสำคัญของม่านตา แต่แล้วก็พบว่าการบริโภคผักปวยเล้งอาจส่งผลในการฟื้นฟูของเม็ดสีที่สำคัญสองสีและป้องกัน AMD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผักปวยเล้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดผลกระทบที่เป็นอันตรายของอนุมูลอิสระซึ่งเป็นที่รู้กันว่าส่งผลเสียต่อวิสัยทัศน์และทำให้เกิดสภาวะที่เกี่ยวข้องกับอายุ เช่น โรคต้อหิน

 

7.ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กทารกในครรภ์

สิ่งที่จำเป็นต่อเด็กทารกในครรภ์ในส่วนของการเจริญเติบโตของระบบประสาทของทารกน้อยนั้นก็คือ โฟเลตค่ะ ซึ่งในผักปวยเล้งมีสารสำคัญนี้อยู่ไม่น้อยเลยค่ะ โดยโฟเลตนี้จะช่วยแก้ไขข้อบกพร่องจำพวก โรคปากแหว่งเพดานโหว่ หรือ spina bifida ที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดโฟเลต อีกทั้งเมื่อคุณแม่รับประทานผักปวยเล้งเข้าไปนอกจากโฟเลตที่ได้รับยังจะได้รับวิตามินเอที่มีในผักปวยเล้งอีกด้วย ซึ่งวิตามินเอเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาปอดของทารกในครรภ์ได้ดีและสามารถถ่ายทอดทางน้ำนมได้อีกด้วยค่ะ ดังนั้นการบริโภคผักปวยเล้งจึงเหมาะแก่การรับประทานหลังคลอดด้วยเช่นกันค่ะ

 

8.ลดการอักเสบ

เนื่องด้วยในผักปวยเล้งพบว่าสารต้านการอักเสบอยู่มากมายหลายชนิดเลยทีเดียว โดยถูกแบ่งจำแนกเป็น methylenedioxy flavonoid และ glucuronides อีกทั้งผักปวยเล้งยังเป็นผักที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการลดการอักเสบทั่วตามร่างกาย รวมถึงการป้องกันโรคมะเร็งและการการป้องกันหัวใจจากการอักเสบซึ่งก่อให้เกิดอันตราย โดยยังไปลดการอักเสบของอาการปวดที่เกี่ยวข้องกับโรคข้ออักเสบและโรคเกาต์อีกด้วยค่ะ

 

9.เสริมสร้างกล้ามเนื้อ

ในผักปวยเล้งมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีหน้าที่สำคัญในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อจากโคเอ็นไซคิวเท็น (Co – Q10) ซึ่งสารสำคัญตัวนี้ยังช่วยป้องกันและรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดหลายชนิดได้จากการที่ไปช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อหัวใจให้ทำงานได้แข็งแรงในการสูบฉีดเลือดไปใช้ในทุกส่วนของร่างกายเรา จึงส่งผลในการลดภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันนั่นเองค่ะ

 

10.ช่วยเร่งการเผาผลาญ

ผักปวยเล้งติดอันดับต้นๆ ของอาหารที่ช่วยเร่งการเผาผลาญซึ่งเป็นหัวข้อที่ได้โพสไปไม่นานมานี้ค่ะ ซึ่งก็เหมาะทีเดียวกับคนที่ต้องการคบวคุมน้ำหนักหรือต้องการโปรตีนจากพืชผัก เนื่องจากปริมาณโปรตีนที่พบในผักปวยเล้งช่างน่าสนใจกว่าผักหลายชนิดเลยทีเดียว อีกทั้งยังพบว่าสามารถย่อยสลายได้ง่ายจากเอนไซม์ของกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อมนุษย์และผักปวยเล้งยังสามารถลดความกระหายและความหิวซึ่งสามารถช่วยในการลดน้ำหนักได้อีกด้วยค่ะ

 

11.ป้องกันภาวะหลอดเลือดแข็ง

โรคภาวะหลอดเลือดแข็งไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับใครก็คงเป็นฝันร้ายและคงไม่มีใคอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองอย่างแน่นอน ซึ่งภาวะหลอดเลือดแข็งนี้เกิดจากการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง เม็ดสีที่สำคัญที่พบในผักปวยเล้ง คือ lutein พบว่าสามารถช่วยลดการเกิดภาวะหลอดเลือด หัวใจวาย และโรคหลอดเลือดในสมอง อีกทั้งโปรตีนจากผักปวยเล้งยังมีแนวโน้มลดคอเลสเตอรอลและไขมันในเส้นเลือดอื่น ๆ ในร่างกายอีกด้วยค่ะ

 

12.ช่วยเสริมสร้างกระดูก ฟัน และเล็บ

ถ้ามองหาอาหารเพื่อรับประทานในการเสริมสร้างกระดูกและฟันอยู่แล้วล่ะก็ ลองเดินออกไปที่ซุปเปอร์มาเก็ตแล้วอย่ารีรอที่จะหยิบผักปวยเล้งมาประกอบอาหารหรือจะรับประทานแบบสดๆ ก็ไม่ว่ากัน เนื่องจากผักปวยเล้งเป็นแหล่งสุดยอดของวิตามินเค โดยวิตามินเคจะไปทำหน้าที่ในการรักษาแคลเซียมไว้ในเมทริกซ์กระดูก ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดแร่ธาตุกระดูก นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุอื่น ๆ อย่างเช่นแมงกานีส ทองแดง แมกนีเซียม สังกะสี และฟอสฟอรัสที่จะไปช่วยในการสร้างกระดูกให้แข็งแรงอีกด้วย อีกทั้งยังสามารถป้องกันโรคกระดูกพรุนด้วยเช่นกันค่ะ

 

13.ปกป้องผิวพรรณ

สารต่อต้านอนุมูลอิสระจาก phytonutrients ในผักปวยเล้งได้ส่งผลต่อสุขภาพผิวของเราโดยการทำให้ผิวเราแข็งแรงขึ้น ปกป้องผิวของเราจากรังสีที่เป็นอันตรายจากแสงอาทิตย์รวมทั้งรังสียูวี นอกจากปกป้องผิวเราให้แข็งแรงแล้วยังช่วยซ่อมยีนส์ที่เกิดจากความเสียหายด้วยค่ะ เพราะอย่างนี้จึงส่งผลที่สำคัญต่อการป้องกันมะเร็งผิวหนังในระยะยาว

 

14.มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของเด็กทารก

จากการ์ตูนเรื่องป๊อบอายที่เมื่อรับประทานผักปวยเล้งแล้วจะทำให้ร่างกายโตขึ้นและแข็งแรงเพื่อการต่อสู้ปกป้องคนที่เขารักได้นั้นก็เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้เด็กๆ ที่ไม่ชอบทานผักได้หันมาทานผักกัน โดยเฉพาะผักปวยเล้งที่มีโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุมากมายที่ดีต่อการการพัฒนาตามวัยของการเจริญเติบโตที่สำคัญของเด็ก จึงมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของเด็กนั่นเองค่ะ

 

15.ลดความเสี่ยงต่อโรคต้อกระจก

พบว่าสารที่อยู่ในผักปวยเล้งอย่าง lutein และ zeaxanthin ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อสุขภาพสายตา โดยสามารถช่วยในการป้องกันดวงตาจากผลกระทบที่รุนแรงของรังสียูวีที่สามารถนำไปสู่ต้อกระจก นอกจากนี้ยังลดผลกระทบของอนุมูลอิสระซึ่งอาจเป็นสาเหตุสำคัญของต้อกระจกและภาวะสายตาอื่น ๆ อีกด้วยค่ะ

 

16.ดีต่อการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ดีอย่างไรน่ะหรอ? พบว่าผักปวยเล้งมีประสิทธิภาพในการต่อต้านการรุกลามของมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยเกี่ยวข้องกับสาร Epoxyxanthophylls (อีพ็อกซี่แซนโทฟิล) ที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มของคาโรทีนอยด์ เช่นเดียวกับสาร neoxanthin และ violaxanthin ซึ่งสารสำคัญนี้จะไปช่วยยับยั้งและต่อต้านการเจริญเติบโตของเนื้องอกที่ทำการแพร่กระจายของมะเร็งตามทั่วร่างกายได้อย่างรวดเร็ว

 

จะเห็นได้ว่าผักปวยเล้งมีคุณค่าทางโภชนาการมากมายและดีต่อสุขภาพหลายอย่างจนอยากจะซื้อมารับประทานให้ได้ทุกวันยิ่งดี แต่อย่างไรก็ดีการเลือกรับประทานแบบพอดีพอเหมาะจะเป็นทางเลือกที่ดีเสมอ เนื่องจากข้อควรระวังของการเลือกรับประทานผักปวยเล้งคือ เมื่อได้รับประทานมากเกินไปกรดออกซาลิกที่อยู่ในผักปวยเล้งอาจจะไปรวมตัวกับแคลเซียมแล้วเกิดการตกตะกอนจนก่อให้เกิดโรคนิ่วเอาได้ โดยเฉพาะอาจจะต้องพึงระวังกันเป็นพิเศษสำหรับคนที่เป็นโรคนิ่วหรือโรคเกาต์ค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/smiteme/8256262560/

www.flickr.com/photos/joeyz51/39014341550/

16 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินเอสูง

Source: Flickr (click image for link)

วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา ร่างกายของเราสามารถสะสมวิตามินเอได้นานมากอาจนานได้ถึง 1 หรือ 2 ปี โดยเก็บไว้ในชั้นเซลล์ไขมัน ด้วยวิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันดังนั้นวิตามินเอจะถูกดูดซึมไปใช้ในร่างกายได้ดีที่สุดเมื่อกินร่วมกับอาหารที่มีน้ำมันหรือไขมันเป็นส่วนประกอบนั่นเองค่ะ และเมื่อร่างกายของเราใช้วิตามินเอไม่หมดก็จะถูกเก็บสะสมไว้ที่ตับ และวิตามินเอมีหน้าที่ช่วยในการมองเห็น การเจริญเติบโตของกระดูก การแบ่งตัวของเซลล์ การกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคซ่อมแซมผิวของตาและหลอดลมทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายยากขึ้น อีกทั้งวิตามินเอยังช่วยกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาวโดยเฉพาะ lymphocyte ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตได้อย่างปกติไม่ชะงักหรือหยุดการเจริญเติบโตก่อนวัย

วิตามินเอจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1.อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) หรือเรียกว่า Retinol ซึ่งได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา อาหารประเภทเนื้อ ไข่ ตับและเครื่องใน

2.กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือเรียกว่า เบต้า แคโรทีน (Beta-Carotene) เป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกายจึงได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ พบมากในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม

โดยร่ายกายคนเราต้องการวิตามินเอในแต่ละวันอยู่ที่วันละ 4,000-5,000 IU ซึ่งการได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอจะส่งผลต่อร่างกายของเราโดยเฉพาะดวงตา ผิวหนัง และระบบภูมิต้านทานโรค อีกทั้งยังช่วยป้องกันอาการเบื่ออาหาร (แต่ในทางกลับกันถ้าได้รับมากเกินไปก็จะมีผลตรงกันข้าม)

 

16 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินเอสูง

 

1.มันหวาน

มันหวานที่มีเนื้อข้างในออกสีเหลืองๆ ส้มๆ เวลาเอาไปนึ่ง ต้ม หรือเผา เมื่อนำมารับประทานจะมีรสชาติหวานมัน ของโปรดของใครหลายคนเลยล่ะค่ะ ซึ่งในมันหวานอุดมไปด้วยวิตามินเอที่ถือว่าอยู่สูงเป๋นอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ โดยมันหวานปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 19218 IU เลยล่ะค่ะ

 

2.ผักตำลึง

ผักที่หารับประทานง่ายๆ ตามบ้านเรือนอย่างผักตำลึงของเราก็ไม่แพ้ผักใดๆ ในโลกที่ให้วิตามินสูง ซึ่งผักตำลึงปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 18608 IU เลยล่ะค่ะ

 

3.แครอท

แครอทเป็นอีกหนึ่งชนิดของอาหารที่เป็นแหล่งวิตามินเอชั้นยอด ถ้านึกไม่ออกว่าจะเสริมวิตามินเอจากการรับประทานอาหารชนิดไหน เปิดตู้เย็นจัดแครอทมาทานกันได้เลยค่ะ ซึ่งแครอทปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 17033 IU

 

4.ตับวัว

วิตามินเอไม่ได้มีแค่ในผักหรือผลไม้เท่านั้นโดยมีอยู่ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์อย่าง ตับวัวอีกด้วย ซึ่งวิตามินเอที่อยู่ในตับวัวนั้นเป็นวิตามินเออยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) คือสามารถออกฤทธิ์ได้ทันที หรือเรียกว่า Retinol นั่นเองค่ะ ซึ่งตับวัวปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 13621 IU

 

5.ผักเคล (Kale)

ผักเคลเป็นผักคล้ายกับผักตระกูลเดียวกับผักคะน้าอีกทั้งรสชาติก็คล้ายคลึงกันอีกด้วย และกูถูกยกให้เป็นราชินีแห่งผักใบเขียวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและหนึ่งในสารอาหารที่มีอยู้สูงก็คือวิตามินเอค่ะ ผักเคลปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 13621 IU

 

6.ฟักทอง

ส่วนใหญ่หลายคนจะจำได้ว่าถ้าอยากบำรุงสายตาต้องกินฟักทองและนั่นก็ถูกค่ะ เนื่องจากฟักทองมีวิตามินเออยู่สูงนั่นเอ จะเห็นได้ว่าฟักทองปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 11155 IU

 

7.ผักกาดหวาน

ผักกาดหวานก็เป็นอีกผักใบเขียวที่มีวิตามินและเกลือแร่อยู่สูงค่ะซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีวิตามินอย่างวิตามินเอที่อยู่สูง ผักกาดหวานปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 8710 IU

 

8.เอพริคอตแห้ง

ผลเอพริคอตแห้งให้วิตามินที่สูงมากถ้าใครกำลังมองหาผลไม้แห้งทานเล่นแถมยังให้วิตามินเออีกก็อย่ามองข้ามผลไม้แห้งอย่างเอพริคอตแห้งนะคะ เอพริคอตแห้งปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 12669 IU

 

9.แคนตาลูป

ผลไม้ที่มีรสชาติหวานฉ่ำอย่างแคนตาลูปไม่ได้ให้แค่ความอร่อยสดชื่นอย่างเดียว กินแคนตาลูปไปปริมาณ 100 กรัม ก็จะได้วิตามินเอสูงถึง 3382 IU

 

10.พริกหวานสีแดง

พริกหวานที่เราเห็นกันบ่อยๆ จากการนำมาประกอบอาหารประเภทผัดโดยเฉพาะพริกหวานสีแดงที่มีวิตามินเออยู่ไม่ใช่น้อยเลยค่ะ โดยพริกหวานสีแดงปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 3131 IU

 

11.ปลาทูน่า

อาหารประเภทเนื้อสัตว์อีกหนึ่งชนิดอย่างปลาทูน่าก็มีวิตามินเอสูงซ่อนอยู่ค่ะ โดยปลาทูน่าปลาทูน่าปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเอสูงถึง 2520 IU

 

12.ผักปวยเล้ง

ผักใบสีเขียวเข้มอีกหนึ่งชนิดอย่างผักปวยเล้งที่มากประโยชน์ก็ให้วิตามินเอที่สูงปริ๊ดเช่นเดียวกันค่ะ ผักปวยเล้งปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินเออสูงถึง 2813 IU

 

13.มะม่วง

ที่บ้านเราดีหน่อยหารับประทานผักและผลไม้ง่ายเพราะเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อน ผลไม้ตามฤดูมีมากมาย โดยเฉพาะมะม่วงค่ะและมะม่วงปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินเออยู่ 1082 IU

 

14.เนย

ในประเทศไทยโดยเฉำาพอาหารไทยไม่ค่อยนิยมใช้เนยมาเป็นส่วนประกอบ แต่จะมีซะมากคงเป็นขนมอบหรือเบเกอร์รี่ เนยก็ให้วิตามินเอได้ไม่น้อยเลยค่ะ ซึ่งเนยปริมาณเพียงแค่ 1 ช้อนโต๊ะ มีวิตามินเออยู่ถึง 1082 IU

 

15.บลอคโคลี่

พืชผักประเภทสีเขียวเข้มอย่างบลอคโคลี่ก็ถูกนับเป็นอาหารที่มีวิตามินเอสูงเช่นกัน ใครที่ชอบทานผักผลไม้อยู่แล้ว แค่เลือกรับประทานให้ถูนิดก็จะได้รับวิตามินเอที่เพียงพอแล้วค่ะ โดยบลอคโคลี่ดิบ ปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินเออยู่ 567 IU

 

16.ไข่

ไข่เป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีวิตามินเออยู่สูงด้วยเช่นกันค่ะ โดยไข่ปริมาณ 1 ลูกใหญ่ จะมีวิตามินเออยู่ถึง 302 IU

 

จะสังเกตุเห็นได้ว่าหน่วยปริมาณของวิตามินเอเป็น IU ซึ่งทำความเข้าใจได้ง่ายๆ ดังนี้

IU มาจาก International Unit และเรียกแบบย่อว่า I.U. เป็นหน่วยวัดมาตรฐานสากลซึ่งเป็นหน่วยที่ใช้อ้างอิงเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพสารออกฤทธิ์แต่ละชนิด เช่น เมื่อวิตามิน (vitamin) ออกฤทธิ์ในร่างกาย ซึ่งกำหนดโดย World Health Organization (WHO)

Vitamin A 1 I.U. = 0.3 microgram retinol.

                              = 0.6 microgram beta-carotene.

Vitamin C 1 I.U. = 50 microgram ascobic acid.

Vitamin D 1 I.U. = 0.025 micorgram cholecalciferol.

Vitamin E 1 I.U. = 0.666 milligram D-alpha-Tocopherol.

                              = 1 milligram DL-alpha-Tocopherol acetate.

 

 

www.flickr.com/photos/wwworks/28439880283/

11 ชนิดของผลไม้ที่ช่วยระบบย่อยอาหาร

painful-2
Source: Flickr (click image for link)

“อาหารไม่ย่อย” เกิดจากระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้มีแก๊สในระบบย่อยและเกิดกรดเกินในกระเพาะ ทำให้เกิดอาการจุก เสียด แน่น บริเวณลิ้นปี่ ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อยก็มีอยู่มากมาย อย่างเช่น การที่เรารีบเร่งในการรับประทานอาหาร ทานในปริมาณที่มากเกินไป หรือรับประทานอาหารบางประเภทที่ทำให้ท้องอืดเกิดอาการจุกแน่นเสียด เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรืออัดแก๊สบางชนิดก็จะไปทำให้นเกิดแก๊สในระบบทางเดินอาหาร อีกทั้งยังรวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวันของเราด้วย อย่างการออกกำลังกายเร็วเกินไปหลังการรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง และการเกิดความเครียดจะไปมีผลกระตุ้นให้กล้ามเนื้อกระเพาะอาหารบีบรัดตัว ซึ่งเป็นการสร้างกรดในกระเพาะ นอกจากนี้การดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนและแอลกอฮอล์ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กรดในกระเพาะอาหารหลั่งมากขึ้น ดังนั้นวันนี้ทาง HealthGossip จึงนำเอาชนิดของผลไม้ที่สามารถช่วยในเรื่องของระบบย่อยอาหารมาแนะนำกันค่ะ แต่ยังไงการทานผลไม้ก็ไม่ควรที่จะเลือกทานหลังการรับประทานอาหารที่มีไขมัน เนื่องจากไขมันย่อยช้า ผลไม้จะเกิดการบูดก่อนที่จะได้ทำการย่อย และจะทำให้เกิดแก๊สขึ้นในที่สุดฉะนั้นอาจจะแย่กว่าเดิมแทนที่จะไปช่วยนั่นเองค่ะ

 

11 ชนิดของผลไม้ที่ช่วยระบบย่อยอาหาร

fruits-1
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1. มะละกอ

มีสารปาปาอินช่วยย่อยโปรตีนและช่วยการดูดซึมสารอาหาร และยังเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการท้องเสีย ช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยในเรื่องของการย่อยอาหารให้ดีขึ้น ทั้งยังช่วยละลายไขมันและช่วยบรรเทาอาการแพ้อาหารอีกด้วยค่ะ

 

2. บลูเบอรี่

เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยกากใยและวิตามินซี ยังมีสารช่วยต้านเซลล์มะเร็ง และควรรับประทานทั้งลูก เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด

 

3. บีทรูท

บีทรูทนั้นเต็มไปด้วยกากใย โพแทสเซียมและแมกนีเซียม ช่วยในเรื่องของการย่อยอาหารและดูดซึมอาหารได้เป็นอย่างดี

 

4. กีวี่

กีวี่เป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวและมีเนื้อเป็นสีเขียวที่เต็มไปด้วยกรดไลโนเลนิก วิตามินซี วิตามินอี แมกนีเซียม โพแทสเซียม กรดไขมันที่ดีหลายชนิด และเปปซินซึ่งช่วยระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

5. มะม่วงสุก

ถึงแม้ว่าทุกวันนี้จะมีมะม่วงให้กินได้ตลอดทั้งปี แต่โดยธรรมชาติมะม่วงจะออกผลในช่วงฤดูร้อน และถ้าได้กินมะม่วงสุกคาต้นล่ะก็หวานอร่อยกว่ามะม่วงนอกฤดู ถึงมะม่วงจะไม่ได้สรรพคุณช่วยย่อยโดยตรงแต่ก็มีสารเพกทินที่ทำให้อุจจาระของเรานุ่มขึ้นค่ะ

 

6. สับปะรด

สับปะรดมีเอนไซม์ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของกรดไฮโดรคลอริกในกระเพาะอาหาร ทำให้ของเสียที่เป็นโปรตีนแตกตัวเร็วขึ้น สับปะรดช่วยรักษาอาการอักเสบในทางเดินอาหารและช่วยในการทำงานของต่อมไร้ท่อค่ะ

 

7. แอปเปิ้ล

แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่ทั้งมีวิตามินซี วิตามินเอ โฟเลท โพแทสเซียม และฟอสฟอรัสสูง และยังช่วยเสริมสร้างแบคทีเรียชนิดดี ช่วยให้การย่อยอาหารและการดูดซึมให้ทำงานได้ดีอีกด้วย

 

8. อโวคาโด

อโวคาโดเป็นผลไม้ที่เต็มไปด้วยกากใย ยังร่างกายสามารถย่อยได้ง่าย และยังมีไขมันชนิดดีที่ช่วยให้การย่อยอาหารมีเบต้าแคโรทีนและวิตามินเอซึ่งช่วยให้ผิวสวยอีกด้วย

 

9. กล้วย

กล้วยเป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับรับประทานเวลาท้องว่าง จะช่วยฟื้นฟูประจุไฟฟ้าและโพแทสเซียมในร่างกาย และยังมีกากใยอาหารที่ช่วยการย่อยอาหาร

 

10. ส้ม

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าส้มนั้นอุดมไปด้วยวิตามินซี โพแทสเซียมและกรดโฟลิก ดังนั้นจึงช่วยให้กระเพาะอาหารและลำไส้เคลื่อนตัว ลดอาการอาหารไม่ย่อย บำรุงกระเพาะอาหารและม้าม และถ้าเราดื่มแบบน้ำส้มคั้นเป็นประจำจะช่วยในเรื่องของปัสสาวะได้ดี

 

11. แคนตาลูป

แคนตาลูปเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินเอและวิตามินซี และยังมีเอนไซม์ที่ช่วยการย่อยอาหาร ช่วยต้านมะเร็งในลำไส้ และช่วยบรรเทาอาการกระวนกระวาย นอนไม่หลับได้อีกด้วย

 

นอกจากนี้ยังมีอาหารที่ให้กากใยและวิตามินดีสูงที่ช่วยในเรื่องของระบบการย่อยอาหารให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นมาแนะนำค่ะ

ข้าวโอ๊ต เป็นอาหารที่เต็มไปด้วยกากใยอาหารที่เหมาะกับระบบย่อยอาหาร และยังเต็มไปด้วยสารอาหารมากมาย เช่นฟอสฟอรัส วิตามินอี เซเลเนียม และสังกะสี

น้ำมันตับปลา ซึ่งเต็มไปด้วยวิตามินเอและวิตามินดี ช่วยระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยป้องกันไม่ให้ระบบย่อยอาหารมีปัญหาอีกด้วย

 

www.flickr.com/photos/white_ribbons/7004688988/

www.flickr.com/photos/johndecember/16140278728/

สังกะสี คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

beauty-face-1
Source: Flickr (click image for link)

สังกะสี (Zinc) ถือเป็นแร่ธาตุหรือเกลือแร่ที่ร่างกายของเราต้องการ หรือบางคนจะนึกถึงในรูปแบบอาหารเสริมช่วยของเรื่องผิวพรรณ ในคนที่ใช้รักษาเรื่องของการเป็นสิวกันใช่ไหมล่ะคะ แต่ในส่วนของความสำคัญในเรื่องอื่นๆโดยเฉพาะการทำงานของร่างกายให้เป็นปกตินั้นก็ต่อเมื่อถ้าเราได้รับในสัดส่วนที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ถึงแม้ว่าสังกะสีจะเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อย แต่ก็ไม่สามารถขาดได้เลยค่ะ สังกะสี จัดเป็นแร่ธาตุในกลุ่ม (Trace Minerals) มีชื่ออีกอย่างหนึ่งที่เราทราบกันดีว่า ซิงค์ (Zinc) ร้อยละ 90 ของสังกะสีในร่างกายอยู่ที่กระดูกและกล้ามเนื้อ อีกร้อยละ 10 อยู่ที่ ตับอ่อน ตับ เลือด โดยร้อยละ 80 นั้นอยู่ในเม็ดเลือดแดงและร้อยละ 20 อยู่ในน้ำเหลือง สังกะสี มีลักษณะเหมือนกับแร่ธาตุและวิตามินอื่นๆ คือ เป็นสารอาหารทีไม่ให้พลังงาน แต่ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกำกับการทำงานของร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์กรดนิวคลิอิกและโปรตีนเอนไซม์ในร่างกายมากกว่า 100 ชนิด อาจจะพูดได้ว่าเอนไซม์ที่เป็นสารสำคัญในการเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกายเกือบทุกชนิดต้องการ สังกะสี เป็นส่วนประกอบจึงจะทำหน้าที่ได้ดี ดังนั้น สังกะสี จึงมีความสำคัญต่อการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกายเรา

ปัจจัยที่ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณ สังกะสี ไม่เพียงพอได้แก่

การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น อาหารที่มีปริมาณสังกะสีต่ำ, อาหารที่มีแร่ธาตุทองแดง (Copper) มากเกินไป, พวกไฟเบอร์, ไฟเตต (Phytates), แอลกอฮอล์ (Alcohol), ฟอสเฟต (Phosphate) เพราะสารเหล่านี้จะไปลดการดูดซึม สังกะสี ผ่านผนังลำไส้ของคนเราได้

อายุที่มากขึ้น ประสิทธิภาพการดูดซึมสังกะสีลดลง

หญิงในระยะตั้งครรภ์  ต้องการสังกะสีมากเป็นพิเศษ

การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ทำให้ขาดธาตุสังกะสีได้

ภาวะโรคต่างๆ ที่ต้องการแร่ธาตุสังกะสีเป็นพิเศษ เช่น การติดเชื้อเรื้อรัง (Chronic infections) พิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism) ผิวหนังอักเสบ (Psoriasis) ตับแข็ง (Cirrhosis)

โรคพันธุกรรม ที่ทำให้การดูดซึมสังกะสีไม่ดี พบในเด็กเล็กเรียกว่า Acrodermatitis Enteropathica (โรคผิวหนังอักเสบและผิดปกติทางจิตใจ)

 

เกี่ยวกับสังกะสี หรือ ซิงค์ (Zinc)

  • สังกะสี จัดเป็นแร่ธาตุในกลุ่มแร่ธาตุปริมาณน้อย (Trace Minerals) มีชื่ออีกอย่างว่า ซิงค์ (Zinc)
  • สังกะสี เป็นแร่ธาตุหรือเกลือแร่ที่ร่างกายของเราต้องการในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ
  • สังกะสี เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อยแต่ก็ไม่สามารถขาดได้
  • สังกะสี ร่างกายไม่สามารถสร้างหรือสังเคราะห์ขึ้นเองได้
  • สังกะสี เป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานแต่ทำหน้าที่เป็นตัวกำกับการทำงานของร่างกาย
  • สังกะสี มีความสำคัญต่อการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกาย
  • สังกะสี มีส่วนในการสร้างโครงสร้างของร่างกายและการสร้างเครือข่ายของเซลล์ เช่นเดียวกับการสร้างเอนไซม์ต่างๆมากกว่า 200 ชนิด
  • สังกะสี มีส่วนสำคัญในการสมานแผล
  • สังกะสี แหล่งของอาหารตามธรรมชาติได้มาจาก หอยนางรม เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อปู ตับวัว ตับหมูและปลายรำข้าว (Wheat germ)
  • สังกะสี หอยนางรม เป็นแหล่งสังกะสีที่ดี เพราะดูดซึมง่ายกว่าพวกพืชผัก
  • สังกะสี ถ้าขาดสารอาหารพวกนี้ไป ร่างกายก็จะผิดปกติไป
  • สังกะสี ส่วนใหญ่ที่รับประทานเข้าไปจะถูกขับถ่ายออกทางอุจจาระ
  • สังกะสี ที่บริโภคเข้าไปแล้วไม่ถูกดูดซึมจากน้ำย่อยของลำไส้เล็ก นอกจากนี้ร่างกายยังขับถ่ายสังกะสี ออกทางปัสสาวะโดยจับกับกรดอะมิโน
  • สังกะสี ในคนปกติจะขับถ่ายสังกะสีออกประมาณวันละ 300 – 600 ไมโครกรัม
  • สังกะสี อาหารจำพวกเนื้อเมื่อถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนจะมีส่วนช่วยให้ร่างกายดูดซึมสังกะสีได้ดีขึ้น
  • สังกะสี ในธัญพืชประเภท ข้าว ข้าวโพด มีสังกะสีอยู่ปริมาณน้อย ส่วนผักและผลไม้แทบไม่มีปริมาณสังกะสีอยู่เลย
  • สังกะสี การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ทำให้ขาดธาตุสังกะสี
  • สังกะสี  ช่วยเสริมสร่างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ช่วยต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บที่จะมาแผ้วพานร่างกายคนเรา

 

 

ประโยช์ของสังกะสี หรือ ซิงค์ (Zinc)

 

ช่วยกระตุ้นการทำงานของ T – Lymphocyte ซึ่ง T-Lymphocyte เป็นส่วนประกองที่อยู่ในเม็ดเลือดขาวสำหรับการต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย มีบทบาทต่อภูมิคุ้มกันในร่างกาย

 

ช่วยป้องกันไม่ให้ตาบอดในผู้สูงอายุ การสูญเสียการมองเห็นในผู้สูงอายุที่เรียกว่า macular degeneration นั้นพบว่าเกิดจากการขาดธาตุสังกะสี โดยสังกะสีจะไปช่วยให้เซลล์จับกับวิตามิน A ได้ดีขึ้นและเซลล์สามารถนำวิตามิน A ไปใช้ได้ดีขึ้น รวมถึงเซลล์บริเวณประสาท ซึ่งวิตามิน A เป็นวิตามินที่ช่วยบำรุงสายตา

 

ช่วยป้องกันและรักษาโรคหวัด พบว่าเมื่อเริ่มเป็นหวัดถ้ารีบรับประทานธาตุสังกะสี ทันที จะช่วยให้อาการหวัดรุนแรงน้อยลงและจำนวนวันที่ป่วยก็ลดลงด้วย

 

ช่วยในผู้ป่วยเบาหวาน โดยผู้ป่วยเบาหวานมักเป็นแผลและติดเชื้อง่าย สังกะสีจะช่วยให้แผลที่เป็นนั้นหายเร็วขึ้นและช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรคด้วย และยังไปช่วยควบคุมในการเผาผลาญน้ำตาลในร่างกายอีกทั้งยังควบคุมการทำงานของอินซูลินในร่างกายให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ทำให้การเปลี่ยนแปลงน้ำตาลในกระแสเลือดมาเป็นพลังงานได้มากยิ่งขึ้น

 

กระตุ้นให้แผลหายเร็วขึ้น คนที่มีบาดแผลต่างๆ หรือเป็นแผลในกระเพาะอาหาร การให้ธาตุสังกะสี โดยจะไปช่วยสร้างกรดนิวคลีอิค ซึ่งเป็นกรดที่ช่วยสร้างเซลล์ใหม่จึงช่วยให้แผลผ่าตัดหายเร็วขึ้น รวมถึงแผลที่อักเสบเรื้อรังมานานให้หายเร็วขึ้น จะทำให้แผลหายเร็วขึ้นกว่าคนที่ไม่ได้รับธาตุสังกะสี

 

ช่วยเพิ่มความรู้สึกทางเพศในผู้ชายและช่วยรักษาและป้องกันการเป็นหมัน มีส่วนสำคัญในการสร้างสเปิร์มและฮอร์โมนเพศชาย การให้ธาตุสังกะสีวันละ 50 มก. จะทำให้ปริมาณน้ำเชื้อเพิ่มมากขึ้นได้ จะเห็นได้ว่า ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่มี สังกะสีมาก การสร้างฮอร์โมนเพศชายก็ต้องการธาตุสังกะสีเช่นกัน  

 

ช่วยในการรักษาสิว คนที่มีปัญหาเรื่องสิว ฝ้า โดยเฉพาะเวลาที่เป็นสิวอักเสบก็จะยิ่งเป็นกังวล ไม่แปลกใจเลยทำไมหลายๆคนถึงต้องเข้าไปในร้านขายยาเพื่อจะซื้อยาที่มีส่วนผสมของธาตุสังกะสีหรือซิงค์มารับประทานกัน ด้วยคุณสมบัติของการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและภูมิคุ้มกันของธาตุสังกะสีรวมถึงการควบคุมการผลิตน้ำมันบริเวณต่อมน้ำมันใต้ผิวหนังให้เป็นปกติ จึงสามารถต่อต้านแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวได้

 

ช่วยป้องกันผมร่วงรวมถึงช่วยเล็บแข็งแรงขึ้น สังกะสีจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ของร่างกายของเส้นผม บางรายผมหลุดร่วงไปและเมื่อได้ทานสังกะสีก็จะช่วยให้เส้นผมใหม่งอกขึ้นได้เร็วขึ้น แต่ในรายหัวล้านตามอายุนั้นใช้ไม่ได้ผลเพราะไม่มีรากผม

 

ปริมาณของสังกะสีที่ร่างกายควรได้รับ

ถ้าร่างกายมีอาการขาดแร่ธาตุสังกะสีเป็นเวลานาน จะเป็นผลให้เกิดอาการต่างๆ มากมาย ดังนี้

  • การเจริญเติบโตในเด็กล่าช้า ตัวเล็ก แคระแกรน
  • ผิวหนังมีการอักเสบ โดยระยะแรกจะเป็นรอบปากและอวัยวะเพศ ต่อมาจะลามไปที่แขนและขา เริ่มแรกอาจเป็นแค่ผื่นแดงต่อมาจะมีลักษณะเป็นเม็ดพุพอง
  • มีอาการเบื่ออาหาร การรู้รสลดน้อยลง
  • มีอาการซึมเศร้า หงุดหงิด ขาดสมาธิ เหม่อลอย และมีอาการตาบอดแสงได้
  • ระบบต่อมไร้ท่อ คือ ทำให้อวัยวะเพศเด็กเล็ก ไม่โตขึ้นตามวัย
  • มีอาการผมร่วง แตกปลาย เล็บเปราะ ผิวแห้ง

ปริมาณสังกะสีที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน (Daily RDAs For Zinc)

อายุน้อยกว่า 1 ปี ปริมาณที่แนะนำ               3 – 5        มิลลิกรัม/วัน

อายุ 1 –10 ปี ปริมาณที่แนะนำ                       10          มิลลิกรัม/วัน

อายุ 11 ปีขึ้นไป ปริมาณที่แนะนำ                   15          มิลลิกรัม/วัน

สตรีในระยะตั้งครรภ์ ปริมาณที่แนะนำ          20 – 25     มิลลิกรัม/วัน

สตรีในระยะให้นมบุตร ปริมาณที่แนะนำ       25 – 30     มิลลิกรัม/วัน

 

www.flickr.com/photos/58842866@N08/5388146683/

  • 1
  • 2