Browse Tag: เส้นผม

ทองแดง คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

copper-foods-1
Source: Flickr (click image for link)

ทองแดง (Copper) เป็นเกลือแร่หรือแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายอีกหนึ่งตัวค่ะ เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย โดยในร่างกายของคนเรานั้นจะมีทองแดงประมาณ 70-150 มิลลิกรัม และส่วนใหญ่อยู่ในตับ สมอง หัวใจและ ไตนั่นเอง ซึ่งทองแดงนั้นมีประโยชน์มากมาย เช่น ในการช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และยังเป็นตัวประกอบสำคัญที่ช่วยในการขนส่งธาตุเหล็กในเลือดของเรา ทำให้เราไม่เป็นโรคโลหิตจางนอกจากนี้ นอกจากนี้ ทองแดง ยังเป็นแร่ธาตุที่ช่วยปรับระดับออกซิเจนในเนื้อเยื่อให้อยู่ในภาวะสมดุล ไม่มากหรือน้อยจนทำให้เกิดปัญหาต่อร่างกาย สร้างเม็ดเลือดสีหรือเมลานินให้กับผิวหนัง และทองแดงก็ช่วยสร้างคอลลาเจนและช่วยทำให้กระดูกและผนังหลอดเลือดมีความแข็งแรง ที่สำคัญทองแดงเป็นตัวช่วยลดความอันตรายที่เกิดจากสารตะกั่วและแคดเมียม ซึ่งอาจจะทำให้ร่างกายของเราเจ็บป่วยได้นั่นเองค่ะ ทองแดงเป็นแร่ธาตุ ที่ไม่ว่าเราจะได้รับจากอาหารตามธรรมชาติหรือจากรูปแบบอาหารเสริมก็สามารถเป็นพิษได้ทั้งนั้น ซึ่งหากได้รับในปริมาณมากๆก็จะทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดกระเพาะอาหาร ปวดกล้ามเนื้อ และอาจทำให้เป็นโรคโลหิตจางได้เช่นกันเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกสลาย นอกจากนี้หากว่าได้รับการสะสมเป็นระยะเวลานานๆก็อาจทำให้ตับมีปัญหา และอาจจะร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้นะคะ

ภาวะการขาดธาตุทองแดง จะมีผลต่อความเจิรญเติบโตและกระบวนการสร้างและสลายของร่างกายอย่างรุนแรง และที่สำคัญคือจะพบความผิดปกติของการสร้างเม็ดลือดแดง ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง และเอนไซม์ที่มีทองแดงเป็นองค์ประกอบ ก็จะทำงานได้ไม่ดี

       

เกี่ยวกับทองแดง หรือ Copper

  • ทองแดง  เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นของเนื้อเยื่อทุกชนิดที่ร่างกายต้องการ แต่ในปริมาณน้อยมากต่อวัน
  • ทองแดง  ในร่างกายคนเราจะมีทองแดงประมาณ 70-150 มิลลิกรัม ส่วนใหญ่อยู่ในตับ สมอง หัวใจและไต
  • ทองแดง เป็นส่วนประกอบในเอนไซม์หลายตัวในร่างกาย เช่น การสร้างพลัง งานให้แก่ร่างกาย
  • ทองแดง จำเป็นสำหรับการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและการสร้างพังผืดเนื้อเยื่อ และมันยังเกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดสีในผิวหนัง
  • ทองแดง ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี
  • ทองแดง การมีธาตุเหล็กและสังกะสีในร่างกายมากเกินไปก็จะไปขัดขวางการดูดซึมทองแดงได้
  • ทองแดง ร่างกายต้องการทองแดงเพื่อใช้ในการเปลี่ยนธาตุเหล็กให้เป็นเฮโมโกลบิน (ส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง) มีความสำคัญในการนำพาออกซิเจนไปยังเซลล์
  • ทองแดง เป็นแร่ธาตุ 1 ใน 18 ตัว ที่ร่างกายต้องมี
  • ทองแดง เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีธาตุทองแดงอยู่ด้วย และเมื่ออาหารนั้นถูกย่อยแล้ว ทองแดงจะเข้าไปสู่สายเลือดได้ภายใน 15 นาที
  • ทองแดง ร่างกายจะดูดซึมทองแดงที่บริเวณลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือดได้เล็กน้อยที่เหลือก็จะถูกขับถ่ายไปกับอุจจาระและทองแดงบางส่วนจะไปสะสมอยู่ที่เม็ดเลือดแดง สมอง และตับ
  • ทองแดง การขาดธาตุทองแดง จะมีผลต่อความเจิรญเติบโตและกระบวนการสร้างและสลายของร่างกายอย่างรุนแรง
  • ทองแดง เมื่อขาดจะทำให้ เหนื่อยง่าย โลหิตจาง ผมแข็งและขดเป็นเกลียว สีผมและสีผิวจาง ติดเชื้อง่าย การหายใจผิดปกติ บวมน้ำ กระดูกพรุน เป็นแผลที่ผิวหนัง ต่อมไทรอยด์ หัวใจ และระบบประสาททำงานผิดปกติ
  • ทองแดง หน้าที่อีกส่วนหนึ่งของทองแดง ทำให้เส้นผมดกดำและผิวหนังดูมีผิวพรรณดีขึ้น
  • ทองแดง มีหน้าที่ส่งเสริมการทำงานของวิตามิน C ให้ดีขึ้นด้วย
  • ทองแดง ช่วยในการสร้างโปรตีน
  • ทองแดง ช่วยสร้างความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อ
  • ทองแดง แหล่งอาหารที่พบธาตุทองแดง พบใน ตับ หอยนางรม อาหารทะเล ผลไม้เปลือกแข็ง เมล็ดพืช ถั่วที่ยังไม่ขัดสี ผลไม้แห้ง มะม่วง ลูกพรุน กล้วย เห็ด มันแกว หัวบีท นม เนื้อวัว ไข่ มันฮ่อ เมล็ดงา เมล็ดทานตะวัน เมล็ดถั่วลันเตา ถั่วอัลมอนด์ บริวเวอร์ยีสต์ เลซิติน โมลาส( MOLASSES )หรือน้ำเหลืองอ้อย น้ำดื่ม ผักใบเขียว และผลไม้สดโดยเฉพาะผลไม้ที่ปลูกในดินซึ่งมีธาตุทองแดง
  • ทองแดง สามารถพบทองแดงได้ในน้ำประปาอีกด้วย
  • ทองแดง การปรุงอาหารด้วยกระทะทองแดงเองก็จะมีทองแดงปนออกมา
  • ทองแดง มักพบว่าอาหารที่มีเหล็กจะมีทองแดงด้วย
  • ทองแดง ส่วนใหญ่ร่างกายมักไม่ขาดทองแดงค่ะ เพราะในอาหารที่รับประทานแต่ละวันจะได้รับทองแดงถึง 2000 ไมโครกรัมขึ้นไป
  • ทองแดง อาจจะพบการขาดทองแดงในเด็กที่คลอดก่อนกำหนดที่น้ำหนักต่ำกว่า 1500 กรัม
  • ทองแดง พบว่าเด็กที่ขาดธาตุทองแดงมาจากการเลี้ยงด้วยนมวัวเพียงอย่างเดียวไม่ให้นมมารดา
  • ทองแดง ปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันก็คือประมาณ 1000 ไมโครกรัม

 

 

ประโยชน์ของทองแดง หรือ copper

 

มีความสำคัญต่อเมแทบอลิซึมของธาตุเหล็ก โดยที่ทองแดงในพลาสมาที่อยู่ในรูปของ เซรูโรพลาสมิน (Ceruloplasmin) จะเปลี่ยนเหล็กจาก เหล็กเฟอรัสไปเป็นเหล็กเฟอริค แล้วเหล็กเฟอริคจะรวมตัวกับอะโพทรานส์เฟอริน (Apotransferrin) กลายเป็น ทรานส์เฟอร์ริน (Transferrin) ซึ่งทำหน้าที่ขนถ่ายเหล็กในร่างกาย

 

เป็นส่วนหนึ่งของน้ำย่อยไทโรซีเนส (Tyrosinase) ซึ่งจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลง ไทโรซีนไปเป็นเมลานิน(Melanin) ซึ่งเป็นสีคล้ำของผมและผิวคน เป็นส่วนประกอบในน้ำย่อยไซโตโครม ซี ออกซิเดส (Cytochrome C Oxidase) น้ำย่อยแคแทเลส (Catalase) ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบหายใจ และการปล่อยพลังงานในเซลล์

 

เป็นสิ่งจำเป็นในการเผาผลาญโปรตีนและผลิต RNA (RIBONUCLEIC ACID) ซึ่งควบคุมการสร้างเซลล์ต่างๆ ให้เป็นไปอย่างปรกติและถูกต้อง และมีความสำคัญเกี่ยวกับระบบโครงสร้างเนื้อเยื่อ รวมทั้งการผลิต ฟอสโฟไลปิด (PHOSPHOLIPID) เป็นสารสำคัญในการสร้างแผ่นหุ้มรอบเส้นประสาท

 

ช่วยในการใช้กรดอะมิโนและไทโรซีน ( โปรตีน ) ให้มีประสิทธิผล และช่วยในการเกิดสีของผม และสีของผิวหนัง

 

ทองแดงและวิตามินซีจะร่วมมือกันในการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกายที่ช่วยบำรุงรักษาผิวหนังและทำให้ผิว หนังเกิดความยืดหยุ่น

 

ช่วยในขบวนการสร้างเนื้อหนังขึ้นใหม่ในรายที่เป็นแผล

 

ช่วยในการสร้างฮีโมโกลบินและเม็ดโลหิตแดง

 

เป็นตัวสำคัญในการสร้างกระดูกให้เป็นไปตามปรกติ และรักษาให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

 

ปริมาณของทองแดงที่ร่างกายควรได้รับ

องค์กรที่เกี่ยวข้องด้านอาหารของสหรัฐอเมริกา (Institute of Medicine) ได้แนะนำปริมาณทองแดงที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันดังนี้

เด็กแรกเกิด – 6 เดือน                               200   ไมโครกรัม/วัน (Micrograms/mcg)

อายุ 7 – 12 เดือน                                     220   ไมโครกรัม/วัน

อายุ 1 – 3 ปี                                             340   ไมโครกรัม/วัน

อายุ 4 – 8 ปี                                             440   ไมโครกรัม/วัน

อายุ 9 – 13 ปี                                           700   ไมโครกรัม/วัน

อายุ 14-18 ปี                                           890   ไมโครกรัม/วัน

อายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป                               900   ไมโครกรัม/วัน

 

www.flickr.com/photos/usdagov/8453560535/

กำมะถัน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

dark-hair-1
Source: Flickr (click image for link)

มาถึงแร่ธาตุหรือเกลือแร่อีกตัวหนึ่งที่สำคัญค่ะ นั่นก็คือ กำมะถัน หรือ ซัลเฟอร์ (Sulfur หรือ Sulphur) นั่นเอง ซึ่งเป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ S และเลขอะตอม 16 เป็นอโลหะที่มีอยู่ทั่วไป ไม่มีรสหรือกลิ่น และมีวาเลนซ์ได้มากมาย กำมะถันในรูปแบบปกติเป็นของแข็งสีเหลืองที่เป็นผลึก ในธรรมชาติ สามารถพบได้ในรูปธาตุเองหรือแร่ซัลไฟด์และซัลเฟต เป็นธาตุจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต และพบในกรดอะมิโนหลายชนิด ตอนสมัยที่เราเรียนหนังสือ มีแร่ธาติมากมายที่เราต้อจดจำ ถ้าจะให้เราจำให้หมดก็คงจะยาก แร่ธาติเหล่านี้ ถีงแม้จะเป็นแร่ธาตุที่เราคิดว่ามันมีประโยชน์น้อยนิดต่อร่างกายของเรา แต่ก็ใช่ว่าจะถูกต้องทั้งหมด เพราะแร่ธาตุบางตัวก็ไม่ได้อยู่ในอาหารทุกชนิด และถึงมีในอาหารชนิดนั้นเราอาจไม่ค่อยได้รับประทานสักเท่าไหร่นัก จึงอาจจะได้รับไม่เพียงพอที่จะทำให้ร่างกายของเราขับเคลื่อนได้สมบูรณ์ ในวันนี้จึงขอนำเสนอแร่ธาตุตัวนี้กัน ว่าถ้าร่างกายเราขาดไปหรือได้รับมากเกินไปจะเกิดผลอย่างไร และแร่ธาตุตัวนี้เราสามารถพบเห็นในอาหารประเภทใด เพื่อที่จะสามารถรู้และเข้าใจใช้เป็นแนวทางในการเลือกรับประทารอาหารมากขึ้น เอาล่ะ เราไปดูกันดีกว่าค่ะ

 

เกี่ยวกับ กำมะถัน หรือซัลเฟอร์ (Sulfur)

  • กำมะถัน เป็นแร่ธาตุที่มีคุณสมบัติเป็นกรด
  • กำมะถัน พบได้ในทุกเซลล์ของร่างกายมนุษย์ สัตว์ และพืช
  • กำมะถัน พบในมนุษย์ 0.25 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว
  • กำมะถัน แบคทีเรียในลำไส้ก็สามารถดูดซึมได้ ถ้าหากร่างกายได้รับมากเกินไปจะถูกขับออกทางปัสสาวะ และเหงื่อ
  • กำมะถัน เป็นแร่ธาตุชนิดที่รู้จักกันในชื่อ “Beauty mineral”
  • กำมะถัน จะถูกดูดซึมในรูปของกรดอะมิโน 3 ชนิด คือ เมไทโอนีน ซีสทีน และซีสเทอีน
  • กำมะถัน แร่ธาตุชนิดนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญของเล็บ ผม และผิวหนัง ให้มีสุขภาพดี ผมสวยเป็นเงางาม ผิวเรียบเกลี้ยงเกลาดูเปล่งปลั่ง
  • กำมะถัน มีความใกล้ชิดกับโปรตีน และนอกจากนี้ยังเป็นแร่ธาตุสังคมที่ต้องทำงานร่วมกับวิตามิน และแร่ธาตุอื่นๆ จึงจะได้ผลดี เช่น ทำหน้าที่ร่วมกับวิตามินบี1 วิตามินบี5 (กรดแพนโทเทนิก) ไบโอติน และกรดไลโนเลอิคในร่างกาย
  • กำมะถัน มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อชีวิตในการผลิตสาร “เคราติน”
  • กำมะถัน ยังจำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล
  • กำมะถัน จำเป็นต่อการผลิตเฮปพารินซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการแข็งตัวของเลือด
  • กำมะถัน มีบทบาทในการฟอกพิษแอลกอฮอล์ สารไซยาไนต์ที่ได้รับจากอาหาร สารพิษที่สูดดมจากอากาศรวมถึงพิษจากบุหรี่
  • กำมะถัน มีศัตรูเป็นทองแดง ถ้ามีในอาหารมากเกินไป อาจจะจับกับกำมะถันทำให้ดูดซึมได้ยากขึ้น
  • กำมะถัน มีในกรดอะมิโนบางตัวซึ่งเป็นแหล่งที่ร่างกายสามารถดูดซึมใช้ประโยชน์ได้ดี วิตามินอีช่วยป้องกันไม่ให้กำมะถันจับกับกรดอะมิโนในร่างกาย ทำให้เซลล์ทั่วร่างกายพร้อมที่จะนำไปใช้ได้ทันที
  • กำมะถัน พบในอาหารพวกโปรตีน เช่น เนื้อไม่ติดมัน กุ้ง หอย ปู ปลา ถั่ว นม ตับ น้ำมันปลา  และโดยเฉพาะพบมากที่สุดใน ไข่
  • กำมะถัน พบในอาหารประเภทผลไม้ เช่น สับปะรด อะโวคาโด นอกจากนี้ยังสามารถพบ แร่ธาตุกำมะถันได้ในนำผึ้ง อีกด้วย
  • กำมะถัน พบในอาหารประเภทผัก เช่น กะหล่ำปลี หอมหัวใหญ่ หัวไชเท้า กระเทียม สาหร่ายทะเล รำข้าว เป็นต้น

 

ประโยชน์ของ กำมะถัน หรือซัลเฟอร์ (Sulfur)

  • เป็นส่วนประกอบของเคราติน

ช่วยในการสังเคราะห์คอลลาเจน ช่วยในเรื่องผิวหนังนวลเนียน เล็บ และเส้นผมเป็นเงางาม

  • ช่วยให้การทำงานของข้อต่อ

และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • มีความสำคัญต่อการทำงานของสมอง

และสุขภาพของระบบประสาท ใช้ในกระบวนการหายใจของเนื้อเยื่อ

  • รักษาสมดุลออกซิเจน และสมดุลของร่างกายมีบทบาทในการฟอกพิษแอลกอฮอล์

สารไซยาไนต์ที่ได้รับจากอาหาร สารพิษที่สูดดมจากอากาศรวมถึงพิษจากบุหรี่

  • ทำงานร่วมกับตับเพื่อขับน้ำดี
  • ช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อแบคทีเรีย

 

การรับประทานอาหาร จำพวกโปรตีนในปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวัน พบว่าจะได้รับกำมะถันอย่างเพียงพอตามไปด้วย

ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร MSM (Methysulferfonylmethane) เป็นซัลเฟอร์หรือกำมะถัมแบบอินทรีย์ มีจำหน่ายในขนาด 1,000 มิลลิกรัม ร่วมกับวิตามินบีรวม และยังมีโลชั่นที่ผสม MSM สำหรับแก้ปัญหาผิว

การรับประทาน MSM ร่วมกับกลูโคซามีน ซึ่งเป็นสารในกลุ่มซัลเฟอร์อีกตัวหนึ่ง จะช่วยลดอาการปวดตึงจากข้ออักเสบได้ดีมาก

สำหรับอาการภูมิแพ้ โรคติดเชื้อพยาธิ หรือต้องการฟื้นฟูร่างกายจากการออกกำลังกายอย่างรวดเร็ว แนะนำให้รับประทาน MSM ร่วมกับวิตามินซีคอมเพล็กซ์ 1,000-3,000 มิลลิกรัม พร้อมอาหาร วันละ 2-3 เวลา ในช่วงที่อาการกำเริบจะดีมาก และในครีมที่มีซัลเฟอร์เป็นส่วนประกอบ ให้รักษาปัญหาผิวหนังต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยม

อาการขาด กำมะถัน จะเกิดอาการผิดปกติที่ผิวหนัง เล็บเปราะ ผมร่วง

การได้รับ กำมะถัน มากเกินไป ยังไม่พบอันตรายใดๆ จากการได้รับกำมะถันแบบอินทรีย์(MSM) แต่การได้รับกำมะถันในรูปอนินทรีย์จะเป็นพิษต่อร่างกาย

 

 www.flickr.com/photos/david_martin_foto/17083665265/

11 สุดยอดอาหารที่ทำให้ผมสวยสุขภาพดี

pretty-hair-1
Source: Flickr (click image for link)

สาวหลายๆคน นอกจากรูปร่างหน้าตาที่เราต้องดูแลเป็นพิเศษแล้วนั้นเรื่องของเส้นผมหรือการมีผมที่สลวยสวยสุขภาพดีก็เป็นความใฝ่ฝันของผู้หญิงอย่างเราๆกันทั้งนั้น เพราะมันคือเสน่ห์สำคัญอย่างหนึ่งของเราเลยจริงไหมคะ บางคนมีผมที่บาง แห้ง เสีย อ่อนแอ หลุดร่วงง่าย หรือผมไม่มีน้ำหนัก เบาฟูฟ่อง หรือมีปัญหายาวช้าบ้างแหละ  แต่ถึงแม้ว่าคุณจะลงทุนไปมากมายกับผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมต่าง ๆ แชมพู คอนดิชั่นเนอร์ มาส์ก อบไอน้ำทุกสัปดาห์ ฯลฯ แต่ถ้ายังพบว่าผมยังคงแห้งและไม่มีชีวิตชีวา การดูแลเส้นผมของเราไม่ใช่แค่สรรหาผลิตภัณฑ์ต่างๆมาเพื่อบำรุงก็บำรุงได้แค่ภายนอกเท่านั้น ไม่ว่าจะใช้ราคาแพงแค่ไหนแล้วคุณจะมั่นใจได้ยังไงว่าไม่มีสารเคมีปนเปื้อน? ยังไงไม่ว่าอะไรก็ตามการที่เราบำรุงจากภายในนั้นย่อมเป็นปัจจัยที่สำคัญและเป็นพื้นฐานของความสวยสู่ภายนอกเสมอ  การเลือกรับประทานอาหารยังไงก็ยังเป็นวิธีที่ง่ายและไม่เสียเวลา เพราะฉะนั้นสเต็ปแรกเราควรทราบก่อนว่าเส้นผมของเรานั้นต้องการสารอาหารอะไรบ้าง และหลังจากนั้นเรามาปรับพฤติกรรมการกินของเรากันค่ะ

เส้นผม หมายถึง ขนที่งอกปกคลุมหนังศีรษะของมนุษย์ เป็นเคราตินที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน และแร่ธาตุ C, H, N, P และ S ผมถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เส้นผม (hair shaft) เป็นส่วนที่งอกเหนือหนังศีรษะ และรากผม (hair root) เป็นส่วนที่ฝังอยู่ใต้หนังศีรษะ

ริคาร์โด วิลา โนวา นักเกศาโลมาวิทยา (Trichologist) หรือผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านเส้นผมและหนังศีรษะ จากร้าน Urban Retreat ในห้างแฮร์รอด ประเทศอังกฤษ แจงว่า การมีผมที่สุขภาพดีนั้นจะอาศัยการบำรุงจากภายนอกเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องใส่ใจในอาหารที่บริโภคเข้าไปด้วย หากคุณกินอาหารที่มีสารอาหารสำหรับเส้นผมไม่เพียงพอก็จะทำให้ผมแห้งบาง ขาดง่าย ไร้ประกาย มีภาวะผมแห้งมากหรือผมมันง่าย และหากเกิดอาการเช่นนี้ขึ้นกับเส้นผมแล้ว อาจต้องใช้เวลามากที่สุดถึง 4 ปีทีเดียว กว่าเส้นผมจะค่อย ๆ ฟื้นฟูสู่สภาพเดิม

 

กินอะไรผมถึงสวยสุขภาพดี

 

1. แซลมอน (Salmon Fish) : ผมแข็งแรงไม่ขาดร่วง
เนื่องจากปลาแซลมอน มีกรดไขมันที่จำเป็นโอเมก้า 3 (omega – 3 fatty acid) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพดี และยังมี วิตามิน บี 12 และธาตุเหล็กอยู่ในปริมาณมาก ประชากรของประเทศญี่ปุ่นมีอัตราการเป็นผมร่วง ผมบาง ต่ำกว่าประชากรในประเทศแถบตะวันตก และต่ำสุดในเอเซีย การนิยมบริโภคปลาแซลมอนมากเป็นเหตุผลสนับสนุนสถิตินี้ส่วนหนึ่ง แม้ในปัจจุบันจะพบว่าวัยรุ่นชาวญี่ปุ่นนิยมทำแฟชั่นเกี่ยวกับทรงผมมากเป็น พิเศษทั้งการใช้สารเคมีต่างๆกับเส้นผม ทั้งยืดผม ดัดผม เปลี่ยนสีผมนานาสี ก็ยังพบว่าชาวญี่ปุ่นมีอัตราการเกิดปัญหาผมร่วง ผมบางต่ำมาก นั่นแสดงว่าอาหารการกินมีส่วนทำให้เส้นผมมีความแข็งแรงได้จริงๆ

2. ดาร์กช็อกโกแลต (Dark Chocolate) : ผมหงอกก่อนวัย

ยับยั้งได้ด้วยการกินช็อกโกแลต โดยเฉพาะดาร์กช็อกโกแลต เพราะในช็อกโกแลตมีสาร “เมลานิน” ซึ่งเป็นเม็ดสีในผิวและผม จะช่วยทำให้ผมดกดำและเป็นประกายมากขึ้น

3. ผักใบเขียว (Dark green vegetables) : ผมนุ่มสวย ไม่ต้องพึ่งครีมนวด

จำพวกบล็อกโคลี่ ผักโขม คะน้า ผักบุ้ง เป็นแหล่งของวิตามินเอ วิตามินซีและธาตุเหล็ก ซึ่งธาตุเหล็กมีส่วนช่วยสร้างไขมัน เพื่อทำหน้าที่สร้างความชุ่มชื้นปกป้องผิว และผม เสมือนเป็นคอนดิชันเนอร์จากธรรมชาติ และป้องกันไม่ให้เส้นผมเปราะบาง 

4. ไข่ (Egg) : ผมแตกปลาย

เพราะไข่สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายรูปแบบ ได้หลายเมนู ทำง่าย กินก็ง่าย แถมอุดมไปด้วยสารอาหาร ทั้งโปรตีน ไบโอติน และวิตามินบี12 ที่ทำให้เส้นผมแข็งแรง และยังช่วยบำรุงไม่ให้เส้นผมแตกปลายนั่นเองค่ะ

5. ธัญพืช (Whole Grains) เช่น ขนมปังที่มีกาก (Whole – wheat bread), ซีเรียล (cereals) : ผมดำเงางามด้วยพืชตระกูลถั่ว

สามารถหาได้จากขนมปังโฮลวีท ซีเรียลผสมธัญพืช (นำมากินกับนมเป็นอาหารเช้า เข้าท่ามากๆ เลยจ้า^^) ธัญพืชนี้อุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยบำรุงสุขภาพเส้นผม ได้แก่ ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินบี และ ซีลีเนียม และซีลิเนียมถือเป็นอาหารผมที่สำคัญอีกตัว ที่ช่วยเสริมสร้างเส้นผมให้แข็งแรง มีสุขภาพดี  ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะทำให้เส้นผมหนานุ่ม เป็นเงางามและมีสุขภาพดีด้วยค่ะ

6. หอยนางรม (Oyster) : รังแคไม่มากวนใจ

หอยนางรมนี้อุดมไปด้วยสังกะสี (แถมยังมีสารต้านอนุมูลอิสระด้วยนะเออ) นอกจากนี้หอยนางรมยังช่วยป้องกันรังแคและการขาดร่วงของเส้นผมด้วยค่ะ ถ้าสาวๆ คนไหนไม่ได้รับประทานหอยนางรมบ่อยๆ ก็ไม่ต้องกังวลไปค่ะ จมูกข้าว งา เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน ถั่วลิสง และในเนื้อวัวหรือเนื้อแกะก็มีสังกะสีเช่นเดียวกันจ้า เพราะงั้นสามารถเลือกรับประทานอาหารข้างต้นแทนหอยนางรมได้ตามสะดวกเลยจ้า

7. นม และผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต, ชีส  :  เส้นผมแข็งแรง

เพราะในนมนอกจากมีแคลเซียมเป็นหลักแล้วซึ่งแคลเซียมจะช่วยบำรุงเส้นผมให้มีสุขภาพดี มีชีวิตชีวา และนมยังประกอบไปด้วย เคซีน (Casein) และเวย์ (Whey) ซึ่งเป็นสารอาหารประเภทโปรตีน มีส่วนสำคัญมากที่ช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตของเส้นผม และช่วยบำรุงให้เส้นผมแข็งแรง สาวๆ ห้ามละเลยการดื่มนมเด็ดขาดจ้า เพราะนอกจะหาซื้อดื่มได้ง่ายแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายและเส้นผมของเราด้วยนะเออ (ชีสกับโยเกิร์ตก็มีประโยชน์คล้ายๆ นมเหมือนกันจ้า)

8. แครอท (Carrots) : สุขภาพดี เส้นผมแข็งแรง

แครอทเป็นแหล่งรวมของวิตามินเอ ซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงให้หนังศีรษะมีสุขภาพดีและแข็งแรง ช่วยให้ผมเป็นประกายเงางามและบำรุงรากผมให้แข็งแรง เพราะฉะนั้นสาวๆ คนไหนไม่ชอบแครอท งานนี้ก็ห้ามงอแงแล้วจ้า ต้องหัดกินแครอทได้แล้วนะ

9. กล้วย (Banana) : เส้นผมไม่ขาดหลุดร่วง

กล้วยเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินบี6 และแร่ซิลาก้า ช่วยบำรุงเส้นผมให้แข็งแรง นอกจากนี้กล้วยยังช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงซึ่งเป็นส่วนช่วยทำให้หนังศีรษะแข็งแรง ป้องกันการขาดหลุดร่วงของเส้นผม ใครที่ผมร่วงเยอะๆ ต้องหันมารับประทานกล้วยกันได้แล้วน้า

10. เนื้อไก่ (Chicken meat)  : เส้นผมสีสวย

เนื้อไก่อุดมไปด้วยโปรตีนไบโอตินและธาตุเหล็ก สังกะสี  ซึ่ง ไบโอตินช่วยลดอาการผมขาดร่วง ช่วยในกระบวนการการสร้างเซลล์ใหม่ของเส้นผม ช่วยบำรุงผมให้แข็งแรง ไม่เปราะบางและขาดง่าย และยังช่วยรักษาสีของเส้นผมสำหรับคนที่ทำสีผมด้วยค่ะ

11. น้ำ (Water) : ผมแห้งขาดความชุ่มชื้น

ใครจะรู้ล่ะคะ ว่าน้ำเปล่าที่เราดื่มทุกวันนี่แหละมีประโยชน์มากมายดื่มกันง่ายๆได้ทุกวัน แค่เพียงอย่ามองข้ามกันก็พอค่ะ เพราะเส้นผมของเราขาดน้ำไม่ได้เป็นอันขาด ก็เพราะว่าเส้นผมมีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่ถึง 1 ใน 4 ของน้ำหนักเส้นผม ดังนั้น จึงควรดื่มน้ำประมาณ 8 – 10 แก้วต่อวัน เพื่อให้เส้นผมมีความชุ่มชื้นในระดับที่พอเหมาะ และป้องกันไม่ให้ผมแห้ง

 

การดูแลสุขภาพตัวเองเป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้วค่ะ แต่ยังไงการดูแลเส้นผมให้มีสุขภาพดีก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน แค่เราลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารกันสักหน่อยแค่นี้เราก็จะมีสุขภาพผมที่ดีจากภายในแล้วใยภายนอกจะไม่ดีตามล่ะคะ หวังว่า HealthGossip มาบอกเล่ากันวันนี้จะช่วยสาวๆกันได้นะคะ

 

www.flickr.com/photos/martinaphotography/7062111723/

  • 1
  • 2