Browse Tag: health

ไขมันทรานส์ (Trans Fat) คืออะไร

eat-burger-1
Source: Flickr (click image for link)

ไขมันทรานส์ (Trans fat)

ไขมันทรานส์ (Trans fat) เป็นไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งพบได้ไม่บ่อยในธรรมชาติ แต่สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้จากกระบวนการแปรรูปกรดไขมันไม่อิ่มตัวให้กลายเป็นกรดไขมันอิ่มตัวสูง ตัวอย่างเช่น การทำน้ำมันพืช จะมีการเติมไฮโดรเจนลงไปในน้ำมันพืช เรียกว่า กระบวนการไฮโดรจีเนชั่น (hydrogenation) เช่น น้ำมันถั่วเหลือง หรือแม้กระทั่งการแปรรูปให้มีลักษณะเป็นกึ่งของแข็ง เช่น มาร์การีนหรือเนยเทียม เนยขาว ครีมเทียม เป็นต้น โดยวัตถุดิบเหล่านี้จะมีชื่อบนฉลากอาหาร คือ กรดไขมันชนิดทรานส์ หรือ hydrogenated oil หรือ partially hydrogenated oil

“ไขมันทรานส์” คือ ไขมันที่ผ่านกระบวนการเพิ่มอะตอมไฮโดรเจนเข้าไปในโมเลกุล ทำให้คุณสมบัติของไขมันเปลี่ยนแปลงไป โดยจะแข็งตัวมีทรงมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลง เสื่อมเสีย เหม็นหืนช้าลง ดังนั้นจึงทำให้ไขมันทรานส์สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยไม่เหม็นหืน ไม่เป็นไข ทนความร้อนได้สูงและมีรสชาติใกล้เคียงกับไขมันจากสัตว์แต่จะมีราคาที่ถูกกว่า​ บรรดาผู้ประกอบกิจการอาหารต่างๆ จึงมักนิยมนำไขมันทรานส์มาใช้ประกอบอาหารมากมาย เพื่อประโยชน์ในด้านการลดต้นทุนการผลิตลง เช่น กลุ่มอาหารฟาสต์ฟูดที่ใช้เป็นน้ำมันสำหรับทอดไก่ มันฝรั่ง โดนัท หรือการนำมาใช้ในการประกอบกิจการเบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว ครีมเทียมและวิปปิ้งครีม เป็นต้น ดังนั้นอุตสาหกรรมอาหารจึงนิยมนำาใช้ผสมในอาหารและขนมค่ะ

 

cracker-1
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

ผลร้ายจากไขมันทรานส์

ถึงแม้ว่าไขมันทราน์จะสามารถทานได้ แต่การที่เราได้รับประทานอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์มากๆ จะไปมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ cholesterol acyltranferase ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในการเมตาบอลิซึมของคอเลสเตอรอล ทำให้ระดับ LDL ที่เป็นคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีในเลือดเพิ่มขึ้น และจะไปลดระดับ HDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีในเลือดลง อีกทั้งยังไปเพิ่มไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดและเพิ่มการอักเสบทั่วร่างกาย เนื่องจากไขมันทรานส์เป็นไขมันที่เกิดจากการแปรรูปจึงย่อยสลายได้ยากกว่าไขมันชนิดอื่น เป็นผลทำให้ตับต้องสลายไขมันทรานส์ด้วยวิธีการที่แตกต่างไปจากการย่อยสลายไขมันตัวอื่น จึงอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ผิดปกติกับร่างกาย คือจะทำให้ร่างกายมีน้ำหนักและไขมันส่วนเกินเพิ่มมากขึ้น มีภาวะการทำงานของตับที่ผิดปกติ มีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โดยความเสี่ยงที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นผลจากงานวิจัยหลายชิ้นที่ศึกษาถึงเรื่องไขมันทรานส์

ถึงตอนนี้แล้วพูดได้เลยว่าไขมันทรานส์นั้นได้กลายเป็นศัตรูตัวร้ายและอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาวอย่างแน่นอน และก็มีในหลายๆ ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ได้มีการออกข้อบังคับเกี่ยวกับการระบุปริมาณไขมันทรานส์บนฉลากโภชนาการ และให้คำแนะนำแก่ประชาชนในการจำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์แล้วด้วย

โดยสถาบันทางการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา (Institute of Medicine) มีข้อแนะนำเมื่อปี 2548 ว่า ให้บริโภคไขมันทรานซ์น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของพลังงาน หรือ 2 กรัมต่อพลังงาน 1,800 กิโลแคลอรีต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณไขมันทรานซ์ที่คนเราได้รับจากการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นม และปัจจุบันในประเทศสหรัฐอเมริกาก็มีข้อบังคับให้ระบุปริมาณไขมันทรานซ์บนฉลากอาหาร ทำให้ผู้ผลิตหันมาใช้กรดไขมันอิ่มตัวแทน ซึ่งถ้าไม่อ่านฉลากให้ละเอียดเราอาจจะพลาดได้ แม้ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่ากรดไขมันอิ่มตัวจะเป็นอันตรายต่อร่างกายเพียงไหน แต่ทางที่ดีที่สุดคือ ควรจำกัดปริมาณไขมันรวมที่บริโภค จะช่วยให้จำกัดไขมันทุกชนิดไปในตัว แต่น่าเสียใจที่บ้านเรายังไม่มีมาตรการทางกฎหมาย มาควบคุมการใช้หรือบังคับให้ระบุปริมาณไขมันทรานส์บนฉลากโภชนาการ

 

ในคนที่รักสุขภาพและคนที่ใส่ใจสุขภาพไม่ควรที่จะมองข้ามกันนะคะ และควรที่จะระมัดระวังในเรื่องการเลือกทานอาหารมากขึ้น โดยการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณไขมันทรานส์เยอะ เช่น อาหารประเภทของทอด (ไก่ทอด, เฟรนซ์ฟรายส์, นักเก็ต) ซึ่งมักจะใช้น้ำมันทอดซ้ำๆ จนหนืด รวมทั้งแฮมเบอเกอร์ หรือขนมขบเคี้ยวที่เก็บไว้นานๆ แต่ก็ยังกรุบกรอบ นอกจากนี้ยังรวมถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของเนยขาวและมาร์การีน จำพวก คุ้กกี้ พาย พัฟ หรือขนมขบเคี้ยวชนิดแท่งด้วย

 

 

www.flickr.com/photos/mr_t_in_dc/4722400577/

www.flickr.com/photos/eplewis/7435456486/

ไขมัน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

oil-1
Source: Flickr (click image for link)

ไขมัน (Fat) คือ สารประกอบหลายชนิดซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือ ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์แต่ไม่ละลายน้ำ คำว่าไขมัน (fat) ทางเคมีอาหาร นั้นหมายถึง ลิพิด (lipid) ประเภทไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ที่มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้องขณะที่ น้ำมัน (oil) เป็นไตรกลีเซอไรด์ที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง คำว่าไขมัน (fat) และน้ำมัน (oil) มักใช้แทนกันหรือใช้คู่กัน โดยทั่วไป “น้ำมัน” ใช้กับไขมันที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง “ไขมัน” หมายถึง ไขมันที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง “ลิพิด” หมายรวมไขมันทั้งที่เป็นของเหลวและของแข็งตลอดจนสสารที่เกี่ยวข้องอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ในบริบททางการแพทย์หรือชีวเคมี ดังนั้น กรดไขมัน (fatty acid) ที่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ในไขมัน (fat) จึงเป็นกรดไขมันที่มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าอุณหภูมิห้อง ได้แก่ กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) ขณะที่น้ำมัน (oil) มีองค์ประกอบหลักคือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) ซึ่งมีจุดหลอมเหลวต่ำค่ะ ส่วนไขมันในทางโภชนาการนั้นหมายถึงสารอาหาร (nutrient) ที่ให้พลังงาน และก็มีส่วนประกอบหลักคือไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) โดยไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี (Kcalorie) ในขณะที่โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี ค่ะ

ไขมัน (fat) ที่ใช้ในอาหาร ได้แก่ ไขมันจากสัตว์ รวมทั้งน้ำมันพืช (vegetable oil) ที่ผ่านกระบวนการ hydrogenation เพื่อทำให้มีสถานะเป็นของแข็ง ได้แก่ เนย (butter), เนยโกโก้ (cocoa butter) และเนยโกโก้เทียม (cocoa butter equivalent), ไขมันวัว (tallow), ไขมันหมู (lard), ไขมันจากไก่ (schmaltz), มาร์การีน (margarine) หรือ เนยขาว (shortening) เป็นต้น

 

เกี่ยวกับไขมัน (Fat)

อาหารที่เราบริโภคทุกวันนี้ มีสารอาหารที่เป็นประกอบที่สำคัญคือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรทและไขมัน ไขมัน (Lipids) เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานมากที่สุดคือประมาณ 9 แคลอรี่ต่อ 1 กรัม ไขมันมีในอาหารทั่วไปทั้งในพืชและเนื้อสัตว์จะมากน้อยตามชนิดของอาหารแตกต่างกันไป ไขมันยังมีส่วนสำคัญในด้านเนื้อสัมผัส, กลิ่นรส, ความชุ่มเนื้อและรสชาติของอาหารอีกด้วย และเนื่องจากร่างกายของเราย่อยไขมันได้ช้ากว่าสารอาหารชนิดอื่น เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมันจึงทำให้เรารู้สึกอิ่ม หลังจากที่ได้รับอาหารเข้าไปในประมาณที่เพียงพอแล้ว

ไขมัน (LIPIDS) แบ่งตามวิทยาศาสตร์เคมีได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)และฟอสโฟไลปิดส์ (Phospholipids) และอื่นๆ อีกที่ไม่ค่อยสำคัญมากแต่ที่เรามักจะได้ยินคุ้นหูจากแพทย์บ่อยๆ ก็คือคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งแพทย์จะบอกแก่คนไข้ว่า ตรวจไขมันในเลือดให้นั้นก็คือ การตรวจค่าของทั้งสองชนิดนั่นเอง

คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อใช้ในการสร้างฮอร์โมน วิตามินอี และกรดน้ำดีซึ่งช่วยย่อยอาหาร ถ้าร่างกายมีคอเลสเตอรอลสูงเกินกว่าปกติ (มากกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ก็จะก่อให้เกิดผลเสียจากการที่คอเลสเตอรอลไปพอกตามผนังหลอดเลือดแดงทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย เป็นต้น เราจะพบคอเลสเตอรอลเฉพาะในสัตว์ และพบมากในอาหารที่มาจากเครื่องในสัตว์รวมทั้งไข่แดง

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) คือ ไขมันและน้ำมันที่ได้จากพืชและสัตว์มีสารประกอบส่วนใหญ่เป็นไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้ไตรกลีเซอไรด์ยังเกิดขึ้นได้จากกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท เช่น น้ำตาล ดังนั้นถ้าหากรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรทในปริมาณที่มากเกินไปจะมีผลทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ค่าปกติของไตรกลีเซอไรด์ควรอยู่ระหว่าง 35-160 mg/dl

ฟอสโฟลิปิด (Phospholipid) เป็นไขมันที่มีคุณสมบัติละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน

เรามาทำความเข้าใจกับโครงสร้างอย่างง่ายๆ ของกรดไขมันกันก่อน คือกรดไขมันจะประกอบด้วยธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน ซึ่งโมเลกุลของธาตุทั้งสามนี้ จะเกาะกันเป็นลูกโซ่มากน้อยตามแต่ละชนิด ซึ่งมีประมาณ 40 ชนิด

ไขมันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1.กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated Fatty Acids) คือเป็นไขมันเต็มตัวแล้ว คือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจนจับกันเป็นลูกโซ่โดยสมบูรณ์ และไม่มีช่องว่างเหลือที่จะทำปฏิกิริยากับสารใดๆ ในร่างกายได้ ดังนั้น ไขมันชนิดนี้จะอยู่ในรูปของแข็งในอุณหภูมิปกติ ไขมันจำพวกนี้จะพบมากใน ไขมันสัตว์ เช่น เนื้อหมู วัว และไขมันจากกะทิ มะพร้าว เนย ไข่แดงและอื่นๆไขมันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

2.กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fatty Acids) คือไขมันที่ธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจนจับกันยังไม่สมบูรณ์ นั่นคือ ยังมีช่องว่างในลูกโซ่เหลืออยู่และพร้อมที่จะทำปฏิกิริยาและจับกับสารอื่นๆ ในร่างกายได้และพร้อมจะเปลี่ยนแปรสภาพเป็นสารอื่นๆ ได้ พบมากในน้ำมันปลาแซลมอน น้ำมันเมล็ดพันธุ์บอเรจ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส น้ำมันจมูกข้าวสาลีและอื่นๆ ซี่งกรดไขมันไม่อิ่มตัวแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ไขมันชนิดนี้แทบไม่มีบทบาทอะไรกับปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา เป็นต้น
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง กรดไขมันชนิดนี้สำคัญต่อร่างกายมาก ช่วยในการทำงานของอวัยวะสำคัญในร่างกาย มีลักษณะเหลวแม้ในอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่ได้จากพืชและสัตว์น้ำบางชนิด เช่น น้ำมันทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด

 

ประโยชน์ของไขมันที่มีต่อร่างกาย

 

ให้พลังงานแก่ร่างกาย ไขมันเป็นอาหารสำคัญที่มีความจำเป็นต่อร่างกายและเป็น 1 ในอาหาร 5 หมู่ที่มีประโยชน์ ทั้งไขมันในอาหารยังช่วยทำให้อาหารนุ่ม และยังช่วยให้ผู้บริโภครู้สึกอิ่มได้นาน เนื่องจากไขมันย่อยได้ช้ากว่าโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ไขมันให้พลังงานแก่ร่างกายได้มากกว่าสารอาหารชนิดอื่น ช่วยทำให้ร่างกายมีพลังงานที่จะทำงานและประกอบกิจวัตรประจำวัยได้ตามปกติ

 

ช่วยในการละลายและการดูดซึมวิตามิน ไขมันจะไปช่วยในการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน (Fat soluble Vitamins) เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย

 

ช่วยปกป้องและกันความร้อน รวมทั้งคอยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ โดยไขมันทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน(Thermal Insulator) ของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย ช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อน ทำให้ผิวชุ่มชื่นไม่แตกแห้ง

 

ไขมันช่วยเป็นเสมือนกันชนให้ร่างกาย ไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย ช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนของอวัยวะภายในได้ คือช่วยป้องกันการกระเทือนของอวัยวะภายในร่างกาย ที่เกิดจากแรงกระแทกหรือการเคลื่อนไหวอย่างแรงของร่างกาย ซึ่งคอยป้องกันการบาดเจ็บของอวัยวะภายในร่างกาย 

 

เป็นองค์ประกอบของเซลล์เมมเบรนทุกชนิด ไขมันเป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อประสาท นั่นก็คือเส้นประสาทของคนเราจะมีไขมันเป็นส่วนประกอบในอัตราที่สูง โดยเฉพาะจะหุ้มเส้นประสาทช่วยในการป้องกันเส้นประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อถูกสั่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

 

เป็นส่วนประกอบของเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกาย ไขมันเมื่อรวมตัวกับโปรตีนก็คือ ไลโปโปรตีน (Lipoproteins) จะเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะผนังเซลล์และไมโตคอนเดรีย ส่วนนี้มีประโยชน์สำหรับคนเรามาก เพราะร่างกายของเราประกอบเป็นตัวตนด้วยเซลล์หลายๆ ล้านเซลล์ และเซลล์ของร่างกายเราจะผลิตทุกวันเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ นั่นก็คือถ้าร่างกายเราขาดไขมันผนังเซลล์ของร่างกายเราก็จะอ่อนแอ เซลล์ที่ตายไปก็ไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ค่ะ

 

ให้กรดไขมันจำเป็นแก่ร่างกาย คือ กรดลิโนเลอิก ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดผิวหนังอักเสบ และมีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของทารก นอกจากนั้นกรดไขมันจำเป็นยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดด้วย โดยจะไปรวมกับคอเลสเตอรอลอิสระได้เป็นคอเลสเตอรอลเอสเทอร์ ทำให้ละลายในเลือดได้ง่าย

 

 

www.flickr.com/photos/chiotsrun/4255041466/

6 ประโยชน์สุดยอดจากแอปเปิ้ลสีเหลือง

yellow-apple-1
Source: Flickr (click image for link)

มาถึงแอปเปิ้ลสีสุดท้ายกันค่ะ นั่นก็คือ แอปเปิ้ลสีเหลือง แอปเปิ้ลสีนี้เราอาจจะไม่ค่อยได้พบเห็นกันบ่อยนักตามท้องตลาด ส่วนใหญ่เราจะเห็นแอปเปิ้ลสีแดง สีเขียว หรือสีขมพูกันซะส่วนใหญ่ใช่ไหมล่ะค่ะ แต่ทราบหรือไม่คะว่าประโยชน์ของแอปเปิ้ลสายพันธุ์นี้นั้นมีมากมายเลยทีเดียวค่ะ แอปเปิ้ล ผลไม้ขึ้นชื่อเรื่องของรสชาติความอร่อย เปลือกสีสดน่ากิน เนื้อในหวานหอมกรอบ แถมยังเปี่ยมล้นไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น เบตาแคโรทีน วิตามินซี และเส้นใยไฟเบอร์ จะเห็นได้ว่าแอปเปิ้ลแต่ละสีจะมีประโยชน์เมือนๆกันเกือบทุกข้อ แต่เห็นได้ชัดว่าจะมีประโยชน์บางข้อของแต่ละสีที่มีความโดดเด่นแตกต่างตามเฉพาะของแต่ละสีค่ะ อย่างของแอปเปิ้ลสีเหลืองนี้ก็เหมือนกันค่ะ เพราะอย่างนี้วันนี้เราจึงขอนำเสนอข้อมูลของประโยชน์จากแอปเปิ้ลสีเหลืองมาให้ได้อ่านกันค่ะ

 

 

ประโยชน์ที่คุณควรเลือกกินแอปเปิ้ลสีเหลือง

yellow-apple-2
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.ช่วยบำรุงสายตาและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อกระจก

ยกให้เป็นประโยชน์เด่นข้อแรกของแอปเปิ้ลสีเหลืองเลยค่ะ เนื่องด้วยแอปเปิ้ลสีเหลืองนี้มีสารเบต้าแคโรทีนที่ช่วยในเรื่องของการบำรุงสายตาที่อยู่สูงกว่าชนิดอื่น และแอปเปิ้ลสีเหลืองยังอุดมไปด้วยสารเควอร์ซิติน โดยสารนี้จะไปช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อกระจกด้วยค่ะ

 

2.ช่วยกำจัดสารพิษในร่างกาย  

แอปเปิ้ลสีเหลืองนั้นเป็นผลไม้ที่ดีที่สุดสำหรับการขจัดของเสียออกจากร่างกาย สารเปกตินในแอปเปิ้ลจะช่วยนำสารพิษไปกำจัดทิ้ง ส่วนของเปลือกแอปเปิ้ลนั้นก็มีความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากมีสารฟลาโวนอยด์ที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ กำจัดสารพิษในร่างกาย การกัดกินแอปเปิ้ลทั้งผลพร้อมเปลือกร่างกายจะได้ประโยชน์มากกว่าปอกเอาเปลือกออก แต่ก่อนกินควรล้างน้ำให้สะอาดเพื่อลดสารพิษที่ติดอยู่ที่ผิวเปลือกด้วยค่ะ

 

3.ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก

แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานต่ำ และมีใยอาหารอยู่ไม่น้อย มีส่วนประกอบของแป้งและน้ำตาลกว่า 75% ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่ร่างกายดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ในเวลาไม่เกิน 10 นาที จึงทำให้เกิดความอยากอาหารลดลง จะเห็นได้จากข้อมูลของ USDA Nutrient database  ของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกาพบว่าแอปเปิลแต่ล่ะสีมีคุณค่าทางโภ­­­ชนาการดังนี้  คุณค่าทางอาหารต่อแอปเปิ้ล 100 กรัม แอปเปิ้ลสีเหลืองให้พลังงาน 57 กิโลแคลอรี่  น้ำ 85.81 กรัม, น้ำตาล 10.4 กรัม, ไฟเบอร์ 2.4 กรัม และโพแทสเซียม 100 กรัม ดังนั้นการเลือกทานผลไม้แอปเปิ้ลนั้นก็ไม่ตัวเลือกที่ดีค่ะ

 

4.ช่วยให้อิ่มนานและไม่หิวบ่อย

น้ำตาลฟรักโทสที่อยู่ในแอปเปิ้ลเป็นน้ำตาลที่เปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานอย่างช้าๆ โดยที่ร่างกายก็สามารถดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ภายในสิบนาที ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น ไม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนเวลาที่เรากินขนมหวานอื่นๆ ทำให้รู้สึกอิ่มนานและไม่หิวบ่อยค่ะ

 

5.ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งและป้องกันโรคมะเร็งลำไส้

เปลือกและเนื้อของแอปเปิ้ลมีเส้นใยอาหารที่ชื่อว่าเพคติน และเส้นใยตัวนี้มีคุณสมบัติพองตัว จึงช่วยเพิ่มกากใยในทางเดินอาหารช่วยให้ขับถ่ายได้ดี และช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ค่ะ

 

6.ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและลดคอเลสเตอรอล

สารเบต้าแคโรทีนและเส้นใยไฟเบอร์ ช่วยในเรื่องของการบำรุงหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล แอปเปิ้ลมีสารเพคตินซึ่งเป็นไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ เมื่อกรดในทางเดินอาหารย่อยสลายไขมันแยกคอเลสเตอรอลออกมาแล้ว เพคตินจากแอปเปิ้ลจะไปคอยดักจับคอเลสเตอรอลเหล่านั้นและนำไปทิ้งก่อนที่จะถูกดูดกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้งค่ะ ง่ายๆก็คือช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันถูกดึงมาเก็บสะสมไว้ในร่างกายเพิ่มเติมอีกนั่นเองค่ะและยังพบว่าแอปเปิ้ลลดคอเลสเตอรอลในผู้หญิงได้ดีกว่าผู้ชายด้วยค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/bernardoramonfaur/25870828710/

www.flickr.com/photos/calliope/24625088606/

7 ประโยชน์สุดยอดจากแอปเปิ้ลสีชมพู

pink-apple-1
Source: Flickr (click image for link)

วันนี้มาถึงประโยชน์ของ แอปเปิ้ลสีชมพู กันบ้าง จากโพสที่แล้วเป็นแอปเปิ้ลสีเขียวไป ผลไม้ที่เป็นผลไม้ยอดนิยมอย่างแอปเปิ้ลนี้นอกจากรสชาติที่แสนอร่อยแล้วยังมีหลากหลายสีให้เลือกจับจ่ายกันหาได้ทั่วไปตามท้องตลาด กับประโยชน์ที่มากมายล้นเหลือและในหลายๆคนอาจจะชอบปอกเปลือกก่อนรับประทานเพื่อความสะอาดหรือสวยงามหรือยังไงก็ตามแต่ แต่ทราบหรือไม่ว่าสารสำคัญต่างๆส่วนใหญ่จะอยู่ที่เปลือกแอปเปิ้ลนั่นเองค่ะ จากข้อมูลของแอปเปิ้ลโพสก่อนๆ เราก็ได้บอกกันไปแล้วยังไงก็เลือกรับประทานแอปเปิ้ลทั้งผลจะดีกว่าเนื่องจากได้รับประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการอย่างเต็มที่นะคะ จากข้อมูลของ USDA Nutrient database ของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกาพบว่าแอปเปิ้ลสีชมพูนั้นมีคุณค่าทางโภ­­­ชนการดังนี้ แอปเปิ้ลสีชมพู มีพลังงาน 63 กิโลแคลอรี่ มีน้ำ 84.16 กรัม น้ำตาล 11.68 กรัม ไฟเบอร์ 2.1 กรัม และโพแทสเซียม 109 กรัม ยังมีแร่ธาตุที่มีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกายเช่น วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินเอ กรดโฟลิก วิตามินซี แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส สังกะสีและเหล็ก ยังไม่หมดแค่นั้นในแอปเปิ้ลยังประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ที่สำคัญในแอปเปิ้ลแต่ละสียังมีประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไปค่ะ

 

 

7 ประโยชน์สุดยอดที่คุณควรเลือกกินแอปเปิ้ลสีชมพู

pink-apple-2
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.ชะลอความแก่

ให้เป็นประโยชน์ข้อแรกของแอปเปิ้ลสีขมพูกันเลยค่ะ เนื่องจากจุดเด่นของแอปเปิ้ลสีชมพูนั้นก็คือ แอปเปิ้ลสีชมพูจะมีกรดโฟลิคมากที่สุดในบรรดาแอปเปิ้ลด้วยกัน ซึ่งเจ้ากรดโฟลิคจะไปช่วยชะลอความแก่กระตุ้นกระบวนการสร้างคอลาเจน และยังช่วยทำให้ผิวแข็งแรงไม่ต้องกลัวแดด และลดริ้วรอยก่อนวัยชะลอวัยแก่ รวมถึงสาวๆที่มีปัญหาการเกิดฝ้าค่ะ ผลไม้ที่เรียกว่าแอปเปิ้ลสีชมพูตัวนี้นี่แหละค่ะที่จะช่วยตอบโจทย์คุณได้มากเลยทีเดียวค่ะ

 

2.ข่วยให้อิ่มนานและไม่หิวบ่อย

น้ำตาลฟรักโทสที่อยู่ในแอปเปิ้ลเป็นน้ำตาลที่เปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานอย่างช้าๆ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น ไม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนเวลาที่เรากินขนมหวานอื่นๆ ทำให้รู้สึกอิ่มนานและไม่หิวบ่อยค่ะ

 

3.ผิวพรรณเปล่งปลั่ง

แอปเปิ้ลชมพูส่วนใหญ่แล้วแอปเปิ้ลสีนี้จะออกสีชมพูอมแดง และแอปเปิ้ลสีชมพูนี้มีปริมาณวิตามินซีมากถึง 1 ใน 4 ของปริมาณของวิตามินซีที่ควรได้รับต่อวัน โดยวิตามินซีนั้นมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี ผิวพรรณจึงเปล่งปลั่งเรียบเนียน ซึ่งวิตามินซีและสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ที่พบในแอปเปิ้ลสีชมพูนั้นจะไปช่วยเพิ่มการดูดซึมวิตามินซี ทำให้ผนังหลอดเลือดฝอยแข็งแรง ลดการอักเสบ ลดไข้ รวมทั้งช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟันได้ด้วย เนื่องจากแอปเปิลสีชมพูจะมีแคลเซียมและวิตามินซีมากกว่าพวกจึงช่วยในด้านสุขภาพทางช่องปากลดอาการเลือดออกตามไรฟันได้ดีอีกด้วยค่ะ

 

4.ช่วยในการควบคุมน้ำตาลในเลือด

ถึงแม้ว่าแอปเปิ้ลจะมีน้ำตาลธรรมชาติมาก แต่น้ำตาลนี้จะเพิ่มขึ้นในเลือดอย่างช้าๆ ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ นอกจากนั้นยังพบว่าคนที่กินอาหารที่มีใยอาหารมากๆ มีโอกาสเป็นเบาหวานต่ำกว่าคนที่กินใยอาหารน้อย

 

5.ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้

เปลือกและเนื้อของแอปเปิ้ลมีเส้นใยอาหารที่ชื่อว่าเพคติน และเส้นใยตัวนี้มีคุณสมบัติพองตัว จึงช่วยเพิ่มกากใยในทางเดินอาหาร ช่วยให้ขับถ่ายได้ดี ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ แถมยังช่วยจับคอเลสเตอรอลไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย จึงช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ลดความดันโลหิตสูงและป้องกันโรคหัวใจได้

 

6.ช่วยกำจัดสารพิษ  

โดยเปลือกของแอปเปิ้ลก็มีความสำคัญ เพราะมีสารฟลาโวนอยด์ที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ กำจัดสารพิษในร่างกาย การกัดกินแอปเปิลทั้งผลพร้อมเปลือกร่างกายจะได้ประโยชน์มากกว่าปอกเอาเปลือกออก แต่ก่อนกินควรล้างน้ำให้สะอาดเพื่อลดสารพิษที่ติดอยู่ที่ผิวเปลือกด้วย

 

7.ช่วยบำรุงปอดทำให้ปอดแข็งแรง

เนื่องจากในผลแอปเปิ้ลมีสารเคอร์ซีทิน ที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดอย่างได้ผลช่วยให้ปอดแข็งแรง และยังช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วยค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/vegan-baking/4107712628/

www.flickr.com/photos/lindaaslund/6149877082/