Browse Tag: hormone

16 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินบี 5 สูง

Source: Flickr (click image for link)

“วิตามินบี 5” (Vitamin B5) หรือ Pantothenic Acid (กรดแพนโทเทนิก) เป็นอีกหนึ่งชนิดของวิตามินบีและก็เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ซึ่งร่างกายของเราสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้จากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ วิตามินบี 5 หรือกรดแพนโทเทนิกจะถูกทำลายได้ง่ายมากจากความร้อน กรด และด่าง เช่น กรดน้ำส้มหรือด่างที่เป็นโซดาทำขนมที่เราเรียกกันว่า Baking Soda ค่ะ ในส่วนของหน้าที่ที่สำคัญของวิตามินบี 5 ที่มีต่อร่างกายของเราก็จะคล้ายๆ กับวิตามินบีตัวอื่นๆ โดยจะมีบทบาทในการเผาผลาญพลังงาน คือจะทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ต่อปฏิกิริยาเคมีที่ก่อให้เกิดพลังงาน และนอกจากนี้ยังมีบทบาทในการสังเคราะห์ไขมัน ฮอร์โมนที่ช่วยในการสร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตในการบรรเทาอาการเครียดและสารสื่อประสาทในสมอง รวมทั้งช่วยในกระบวนการสร้างเซลล์ต่างๆ ที่มีผลในการเจริญเติบโตของร่างกายด้วยค่ะ โดยปกติแล้ววิตามินบี 5 หรือกรดแพนโทเทนิกจะมีอยู่ทั่วไปในอาหารจึงไม่ค่อยพบการขาดวิตามินบี 5 นัก ถ้าจะขาดก็คงเป็นคนที่มีภาวะทุพโภชนาการหรือขาดสารอาหารอย่างรุนแรงนั่นเองค่ะ โดยอาการเมื่อขาดวิตามินบี 5 มีดังนี้

  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ชาที่มือและเท้า
  • เบื่ออาหาร
  • หงุดหงิดง่าย
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • นอนหลับไม่สนิท
  • รู้สึกปวดแสบปวดร้อนที่เท้าหรือที่เรียกว่า “Burning Feet Syndrome”
  • ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้

โดยส่วนใหญ่เราถ้าเราได้รับวิตามินบี 5 มากเกินไป ร่างกายของเราจะทำการขับออกทางปัสสาวะและส่วนน้อยจะขับออกทางเหงื่อ

ขนาดของวิตามินบี 5 ที่ร่างกายต้องการและแนะนำให้รับประทาน คือ 10 มิลลิกรัมต่อวัน

 

16 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินบี 5 หรือ กรดแพนโทเทนิกสูง

Source: Flickr (click image for link)

1.ตับไก่

ตับไก่ที่เป็นส่วนเครื่องในของไก่เป็นแหล่งของกรดแพนโทเทนิกชั้นดีเยี่ยมเลยล่ะค่ะ ซึ่งแค่ตับไก่ปริมาณ 3 ออนซ์ มีวิตามินบี 5 อยู่มากถึง 8.3 มิลลิกรัม

 

2.เมล็ดทานตะวัน

ธัญพืชส่วนใหญ่จะมีสารอาหารและวิตามินอยู่เยอะค่ะ อย่างเมล็ดทานตะวันก็เป็นอีกหนึ่งของธัญพืชที่เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 5 อยู่ไม่น้อย โดยเมล็ดทานตะวันแค่เพียง 1 ออนซ์ มีวิตามินบี 5 อยู่มากถึง 1.98 มิลลิกรัม

 

3.เห็ด

ใครหลายคนชอบนำเห็ดมาประกอบอาหารไม่ว่าจะเป็นประเภท ผัด ต้ม ทอด ยำ แบบไหนก็ล้วนแต่เป็นประโยชน์และรวยคุณค่าทางโภชนาการ และเห็ดปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินบี 5 อยู่มากถึง 1.3 มิลลิกรัม

 

4.ชีส

ชีสเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมซึ่งคนไทยก็หันมานิยมรับประทานกันมากขึ้น โดยชีส ปริมาณ 100 กรัม จะมีวิตามินบี 5 อยู่มากถึง 3.35 มิลลิกรัม

 

5.อะโวคาโด

ผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงอย่างอะโวคาโดก็เป็นอีกหนึ่งลิสในอาหารที่ให้วิตามินบี 5 สูง ค่ะ อะโวคาโดปริมาณ 1 ผล จะมีวิตามินบี 5 อยู่มากถึง 2 มิลลิกรัม

 

6.ปลาแซลมอล

ยอมรับได้ว่าอาหารประเภทโปรตีนสูงแต่ไขมันต่ำอย่างปลาเป็นอีกทางเลือกของคนที่รักสุขภาพค่ะ นอกจากมีกรดไขมันที่ดีเลิศอย่างโอเมก้า 3 แล้วยังเต็มไปด้วยสารอาหารที่ทรงคุณค่าอย่างวิตามินบี 5 อีด้วย ปลาแซลมอล ปริมาณ 3 ออนซ์ จะมีวิตามินบี 5 อยู่ถึง 1.9 มิลลิกรัม

 

7.ไข่

ไข่เป็นอาหารที่ให้โปรตีนสูงหาง่ายและราคาถูก นอกจากคุณค่าทางโภชนาการสูงแล้วยังทำอาหารได้หลากหลายเมนู ไข่ ปริมาณ 50 กรัม เท่ากับ 1 ฟอง จะมีวิตามินบี 5 อยู่ถึง 0.77 มิลลิกรัม

 

8.บล็อคโคลี่

ผักใบเขียวเข้มมากคุณประโยชน์และแสนจะอร่อยอย่างบล็อคโคลี่ รวมไปถึงเป็นแหล่งของกรดแพนโทเทนิกอย่างดี โดยบล็อคโคลี่ปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินบี 5 อยู่มากถึง 0.52 มิลลิกรัม

 

9.เนื้อหมูไม่ติดมัน

เนื้อหมูโดยเฉพาะเนื้อหมูที่ไม่ติดมันนอกจากได้วิตามินบี 5 เน้นๆ แล้วยังได้รับโปรตีนสูงอีกด้วยค่ะ เนื้อหมูที่ไม่ติดมัน ปริมาณ 100 กรัม จะมีวิตามินบี 5 อยู่มากถึง 1.65 มิลลิกรัม

 

10.มันหวาน

มันหวานค่อนข้างหารับประทานได้ง่ายทั่วไปนอกจากรสชาติอร่อยหวานมันแล้ว ยังให้คุณค่าทางโภชนาการสูง ซึ่งมันหวานปริมาณ 100 กรัม จะมีวิตามินบี 5 อยู่ 0.88 มิลลิกรัม

 

11.ข้าวโพด

ธัญพืชแสนอร่อยอย่างข้าวโพดก็เป็นแหล่งชั้นดีของกรดแพนโทเทนิกหรือวิตามินบี 5 ค่ะ ข้าวโพดปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินบี 5 อยู่มากถึง 1.18 มิลลิกรัม

 

12.โยเกิร์ต

รู้หรือเปล่าคะว่าโยเกิร์ตแค่ 1 ถ้วย เราจะได้รับปริมาณของกรดแพนโทเทนิกมากขนาดไหน ซึ่งโยเกิร์ตปริมาณ 1 ถ้วย จะมีวิตามินบี 5 อยู่ถึง 1.45 มิลลิกรัม เลยทีเดียวค่ะ

 

13.ไก่งวง

เนื้อไก่งวงก็เป็นอีกหนึ่งชนิดของเนื้อสัตว์ที่ให้กรดแพนโทเทนิกอยู่ไม่น้อยเช่นเดียวกับเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ค่ะ ไก่งวงปริมาณ 100 กรัม จะมีวิตามินบี 5 อยู่มากถึง 1.1 มิลลิกรัม

 

14.เนื้อวัว

จะสังเกตุเห็นว่าส่วนใหญ่แล้วกรดแพนโทเทนิกหรือวิตามินบี 5 จะมีมากอยู่ในเนื้อสัตว์แทบทุกชนิด และในเนื้อวัวก็คือหนึ่งในนั้นค่ะ เนื้อวัวปริมาณ 100 กรัม จะมีวิตามินบี 5 อยู่มากถึง 1.61 มิลลิกรัม

 

15.ปลาเทราท์

ปลาเทราท์ก็เป็นอีกหนึ่งชนิดที่มีกรดแพนโทเทนิกอยู่สูงค่ะ เราอาจจะไม่ค่อยเห็นหรือรับประทานกันมากนักแต่ถ้ามีโอกาสก็ไม่ควรพลาดค่ะ ปลาเทราท์ปริมาณ 100 กรัม จะมีวิตามินบี 5 อยู่มากถึง 2.24 มิลลิกรัม

 

16.กะหล่ำ

ผักอย่างกะหล่ำก็มีกรดแพนโทเทนิกอยู่ไม่น้อยค่ะ เป็นอีกทางเลือกของผักที่หลายคนกำลังมองหา โดยกะหล่ำปริมาณ 1 ถ้วย จะมีวิตามินบี 5 อยู่ 0.71 มิลลิกรัม

 

 

www.flickr.com/photos/mealmakeovermoms/18314003841/

www.flickr.com/photos/torange-biz/15171785597/

สารอาหาร คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

eating-healthy-1
Source: Flickr (click image for link)

วันนี้ทาง HealthGossip อยากนำข้อมูลของ สารอาหาร มานำเสนอกันค่ะ เคยสงสัยหรือเปล่าคะว่าทำไมร่างกายของเราถึงต้องการสารอาหาร ก่อนที่จะได้สารอาหารก็ต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เข้าไปก่อน อาหารก็มีหลากหลายอย่างและเราจะรู้ได้ยังไงว่าอาหารแบบไหนถึงจะเรียกว่าอาหารที่มีประโยชน์ และอาหารแบบไหนที่เราเลือกรับประทานเข้าไปจะให้สารอาหารที่ดีต่อร่างกาย ตอนนี้เราจึงควรที่จะไปทำความเข้าใจความหมายของอาหารและสารอาหารกันก่อนเลยค่ะ 

อาหาร คือ สิ่งที่รับประทานเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่เป็นโทษต่อร่างกายและมีประโยชน์ โดยทำให้ร่างกายดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขและให้พลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งพลังงานเหล่านี้นำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย

สารอาหาร คือ องค์ประกอบของสารประกอบทางเคมีของธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหารที่เรากินเข้าไป สารอาหารมีโครงสร้างโมเลกุลเฉพาะตัวเรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อาหารแต่ละชนิดประกอบด้วยโมเลกุลของสารอาหารหลายๆ ตัว ร่างกายเรานั้นต้องการสารอาหารกว่า 40 ชนิดเลยค่ะ และก็เพื่อให้ง่ายยิ่งขึ้นจึงจัดสารอาหารออกเป็นพวกๆ ที่สำคัญมีอยู่ 6 จำพวก การจำแนกสารอาหารตามหลักโภชนาการจะพิจารณาจากปริมาณของสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารนั้นๆ มากที่สุดเป็นหลัก ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 5 หมู่ ได้แก่สารอาหาร คาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่หรือแร่ธาตุ สารอาหารแต่ละชนิดมีหน้าที่เด่นเฉพาะแตกต่างกัน และเมื่อรับประทานเข้าไปจะถูกเผาผลาญให้เกิดเป็นพลังงานและความร้อนเพื่อนำไปใช้ควบคุมการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น การเดิน การวิ่ง การยืน การนอน การหายใจ เป็นต้น ซึ่งหากแบ่งสารอาหารโดยใช้เกณฑ์การให้พลังงานของสารอาหารจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1.กลุ่มสารอาหารที่ให้พลังงาน

กลุ่มสารอาหารที่ห้พลังงาน คือ สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน อาหารทั้งหมดในกลุ่มนี้จัดเป็นสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อร่างกาย และร่างกายจะขาดไม่ได้ค่ะ

คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) คาร์โไฮเดรตเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานและความร้อน เช่นเดียวกับโปรตีนและไขมัน โดยคาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลลอรี่ (calorie) หน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของคาร์โบไฮเดรต คือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคไซด์ (glycosidic linkage) ทำให้โมเลกุลใหญ่ขึ้น เกิดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่หลากหลายชนิดกันค่ะ คาร์โบไฮเดรตบางชนิดเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคไซด์ ที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ จะเป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน เช่น เซลลูโลส (cellulose)

โปรตีน (protein) โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีในร่างกายมากเป็นสองรองจากน้ำ เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานและความร้อน เช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรตและไขมัน โดยโปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลลอรี่ (calorie) หน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของโปรตีน คือ กรดอะมิโน (amino acid) แบ่งเป็น กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย (essential amino acid) และกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย (non essential amino acid) โปรตีนมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างสารควบคุมการทำงานของร่างกาย เช่น ฮอร์โมนและเอนไซม์ สร้างภูมิคุ้มกันโรค รักษาดุลยภาพของสารต่างๆ ในร่างกาย

ไขมัน (fat) เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานและความร้อน ซึ่งให้พลังงานสูงกว่าคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน โดยไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 แคลลอรี่ (calorie) ไขมันเกิดจากการรวมตัวของกลีเซอรอล และโมเลกุลของกรดไขมัน (fatty acid) 3 โมเลกุล เป็นไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglyceride)

 

2.กลุ่มสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน

กลุ่มสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน คือ สารอาหารที่ร่างกายของเราต้องการในปริมาณน้อยแต่ก็ไม่สามารถขาดได้ ถ้าขาดจะทำให้ระบบร่างกายของเราผิดปกติ หรือเกิดโรคต่างๆได้ ได้แก่ เกลือแร่ และวิตามินต่างๆ

วิตามิน (Vitamin) แบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่

  • วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี เค
  • วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินซี และวิตามินบีรวม

เกลือแร่(Mineral) ร่างกายมีเกลือแร่ 4% ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  • แร่ธาตุหลัก (Macro minerals) คือแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณมาก เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายมีความต้องการในหนึ่งวันมากว่า 100 mg ขึ้นไป ได้แก่ แคลเซียม (Calcium), ฟอสฟอรัส (Phosphorous), โพแทสเซียม (Potassium), แมกเนเซียม (Magnesium), โซเดียม (Sodium), กำมะถัน (Sulphor) และคลอไรด์ (Chloride) ซึ่งในร่างกายของเราจะพบแร่ธาตุแคลเซียมมากที่สุด รองลงมาได้แก่ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม และโซเดียม
  • แร่ธาตุรอง (Trace minerals) คือแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายมีความต้องการในหนึ่งวันในปริมาณน้อยกว่า 100 mg ต่อวัน แต่ถึงแม้ร่างกายจะต้องการแร่ธาตุประเภทนี้ในปริมาณน้อยก็ใช่ว่าจะไม่มีความสำคัญ ซึ่งแร่ธาตุในกลุ่มนี้ได้แก่ เหล็ก (Iron), สังกะสี (Zinc), ซีลีเนียม (Selenium), แมงกานิส (Manganese), ทองแดง (Copper), ไอโอดีน (Iodine), โครเมียม (Chromium), โคบอลท์ (Cobalt), ฟลูออไรด์ (Fluoride), โมลิบดินัม (molybdenum) และ วานาเดียม (Vanadium)

 

 

www.flickr.com/photos/electrolux-design-lab/14921194033/

www.flickr.com/photos/arselectronica/14063329988/

แมกนีเซียม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

green-drink-1
Source: Flickr (click image for link)

แมกนีเซียม (Magnesium) เป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่หรือแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งก็จัดอยู่ในกลุ่มของเกลือแร่ที่มีอยู่มากมายในร่างกายแต่น้อยกว่าแคลเซียม และฟอสฟอรัส ผู้ใหญ่มีแมกนีเซียมประมาณ 20-28 กรัม พบอยู่ในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆ ประมาณ 40% พบอยู่ในน้ำภายนอกเซลล์(Extracellular fluid)ประมาณ 1% และที่เหลืออีกประมาณ 50% พบอยู่ในกระดูกและฟัน โดยอยู่ในรูปเกลือฟอสเฟตหรือคาร์บอเนต ในเด็กแรกเกิดจะมีแมกนีเซียมต่ำและเมื่อโตขึ้นจะมีแมกนีเซียมเพิ่มมากขึ้น โดยแมกนีเซียมจะพบทั้งในพืชและสัตว์ ในพืชนั้นแมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ แมกนีเซียม เปรียบเสมือนคนงานที่ทำงานแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพียงเพื่อจะสังเคราะห์โปรตีนให้กับร่างกาย และเป็นโคเอนไซม์ที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่งในร่างกายที่จะทำงานร่วมกับแคลเซียมอันเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในระบบต่างๆ ของร่างกายค่ะ

อาการของผู้ที่ขาดแมกนีเซียม จะมีอาการเบื่ออาหาร กล้ามเนื้อกระตุก สับสน หัวใจเต้นผิดปกติ บางรายอาจจะมีอาการชัก

สาเหตุของการขาดแมกนีเซียม

ความเครียด ทำให้แมกนีเซียมถูกใช้มากขึ้นหลายเท่า

เนื้อและอาหารที่ผ่านกรรมวิธีปรุงแต่ง น้ำอัดลม ล้วนแต่มีส่วนผสมของฟอสฟอรัสเยอะซึ่งก็จะไปขัดขวางการดูดซึมของแมกนีเซียมค่ะ

การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก มีส่วนทำให้ขาดแมกนีเซียมได้

การใช้ยาขับปัสสาว ก็มีส่วนทำให้ขาดแมกนีเซียมได้เช่นกัน

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน มีโอกาสขาดแมกนีเซียมได้ง่าย

 

เกี่ยวกับแมกนีเซียม หรือ (Magnesium)

  • แมกนีเซียม เป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่หรือแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งก็จัดอยู่ในกลุ่มของเกลือแร่ที่มีอยู่มากในร่างกาย
  • แมกนีเซียม จะพบทั้งในพืชและสัตว์
  • แมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ที่เป็นสารสีเขียวในพืช
  • แมกนีเซียม พบมากในผักใบเขียวทุกชนิด
  • แมกนีเซียม พบมากผลไม้สดและยังพบในเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง วอลนัท แป้งข้าวสาลี หอยนางรม ถั่วดำ เต้าหู้ ถั่วลิสง เมล็ดทานตะวัน แอลมอนด์ รำข้าว ปวยเล้ง และข้าวโพด
  • แมกนีเซียม พบในน้ำนมและเนื้อสัตว์น้อย
  • แมกนีเซียม ปริมาณแมกนีเซียมในอาหารจะลดลงได้มาก จากการประกอบอาหารที่เทน้ำทิ้งไป
  • แมกนีเซียม ในกระบวนการแปรรูปอาหารประเภทธัญพืชด้วยการขัดสี จะทำให้สูญเสียแมกนีเซียม  เช่น ข้าวสารที่ขัดสีจนขาว
  • แมกนีเซียม เป็นโคแฟกเตอร์ (Co-factor) ที่สำคัญของเอ็นไซม์ในร่างกายไม่น้อยกว่า 300 ชนิด เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีนต่างๆในร่างกาย
  • แมกนีเซียม เป็นเกลือแร่ที่มีโอกาสขาดได้ง่ายรองจากแคลเซียม
  • แมกนีเซียม ช่วยให้การผลิตฮอร์โมนต่างๆ เป็นปกติ
  • แมกนีเซียม หากร่างกายได้รับไม่เพียงพอจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากขึ้น
  • แมกนีเซียม ทำหน้าที่ในการส่งผ่านกระแสประสาท จึงช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับสมองได้ เช่น ซึมเศร้า ไมเกรน เครียด เป็นต้น
  • แมกนีเซียม เป็นตัวช่วยในการสะสม แคลเซียม เข้ากระดูก และลดความรุนแรงของ โรคหัวใจ วายเรื้อรัง
  • แมกนีเซียม มีหลายรูปแบบเช่น แมกนีเซียมซิเตรด แมกนีเซียมแอสพาเตรด แมกนีเซียมคาร์บอเนต แมกนีเซียมกลูคอเนต แมกนีเซียมออกไซต์ และแมกนีเซียมซัลเฟต
  • แมกนีเซียม  ช่วยบรรเทาและป้องกัน อาการปวดประจำเดือนโดยการคลายกล้ามเนื้อมดลูก
  • แมกนีเซียม ช่วยในการการเติบโตของกระดูกและฟัน
  • แมกนีเซียม ช่วยป้องกันการแข็งตัวของเลือด
  • แมกนีเซียม ช่วยในการควบคุมสมดุลของกรด-ด่างในร่างกาย

 

 

ประโยชน์ของแมกนีเซียม (Magnesium)

 

ช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย  เกี่ยวข้องกับขบวนการเผาผลาญที่จำเป็นหลายขบวนการ ซึ่งส่วนมากแมกนีเซียมจะอยู่ในเซลล์และจะไปกระตุ้นน้ำย่อย โดยเป็น co-factor ของน้ำย่อยหลายชนิดซึ่งจำเป็นสำหรับการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต และกรดอะมิโนให้เป็นพลังงาน

 

ช่วยส่งเสริมการดูดซึมและการเผาผลาญของแร่ธาตุต่างๆ เกี่ยวข้องกับการคลายตัว ( relaxation ) ของกล้ามเนื้อช่วยส่งเสริมการดูดซึม และการเผาผลาญของแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม และโพแทสเซียม

 

ช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรน ลดอาการซึมเศร้า เครียดและช่วยให้นอนหลับ โดยเป็นตัวที่ไปช่วยในการสร้างสารเมลาโทนิน เมื่อแมกนีเซียมรวมกับแคลเซียมแล้วจะทำงานคล้ายเป็นยาระงับประสาทจากธรรมชาติ ช่วยให้รู้สึกสงบ สำหรับแคลเซียมและแมกนีเซียม แร่ธาตุทั้ง 2 ตัวจะช่วยในการทำงานของระบบประสาท ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ การขาดแร่ธาตุนี้จะทำให้เกิดตะคริวและรบกวนการทำงานของเส้นประสาทมีผลทำให้นอนไม่หลับ

 

ช่วยร่างกายในการใช้วิตามินบีรวม วิตามินซี และวิตามินอี ซึ่งจำเป็นสำหรับการส่งสัญญาณประสาท( nerve impulse) และป้องกันกล้ามเนื้อหดเกร็ง

 

ช่วยป้องกันอาการทางด้านโครงกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น ฟันผุ กระดูกพรุน อ่อนเพลียเรื้อรัง ตะคริว กล้ามเนื้อกระตุก อาการสั่น

 

ช่วยลดไขมันในเลือดและป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

 

ช่วยป้องกันอาการปวดก่อนมีประจำเดือนของสตรี

 

 

ปริมาณของแมกนีเซียมที่ร่างกายควรได้รับ

ปริมาณที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน (RDA) ของแมกนีเซียมสำหรับผู้ใหญ่อยู่ระหว่าง 200-700 มิลลิกรัม ซึ่งในแต่ละวันร่างกายคนแต่ละช่วงอายุต้องการแมกนีเซียมแตกต่างกัน ดังนี้

ผู้ชายควรได้รับวันละ                                                 350      มิลลิกรัม

ผู้หญิงควรได้รับวันละ                                                300      มิลลิกรัม

หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตรควรได้รับวันละ           450      มิลลิกรัม

เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี ควรได้รับวันละ                      60-70    มิลลิกรัม

เด็กอายุ 2-7 ปี ควรได้รับวันละ                                   150      มิลลิกรัม

เด็กอายุ 7-10 ปี ควรได้รับวันละ                                 250      มิลลิกรัม

 

 

www.flickr.com/photos/elmastudio/6886053387/

10 ชนิดของอาหารที่มีเอสโตรเจนสูง

eating-strawberry-1
Source: Flickr (click image for link)

หลายคนคงมึนงงกับหัวข้อบล็อควันนี้กันว่าเอ๊ะ ชนิดของอาหารเอสโตรเจนคืออะไร? และมีประโยชน์ยังไง แต่อย่าเพิ่งกังวลไปค่ะวันนี้ผู้หญิงอย่างเราๆจะได้รับรู้ข้อมูลที่มีประโยชน์มากมายจากหัวข้อนี้แน่นอนค่ะ ทุกวันนี้การที่จะหาเวลารับประทานอาหารที่ว่ายากแล้วยังไม่เท่ากับการที่จะกินอะไรดีเพื่อให้ได้ประโยชน์และคุณค่าต่อร่างกาย และก็ดูเหมือนว่าสมัยนี้โรคต่างๆนั้นอยู่ไม่ห่างจากเราสักเท่าไหร่ อาหารที่ว่าดีบางทีกินไปแล้วยังทำให้เกิดโรค เอ๊ะทำไมโลกเรามันช่างอยู่ยากขึ้นทุกวันนะ นอกจากอาหารที่เป็นปัจจัยหลักในการดำรงค์ชีวิตของเราแล้ว มลภาวะรอบด้านในแต่ละวันก็ยังก่อปัญหาให้เราอีกอยู่ร่ำไป… เอาล่ะเรามาเข้าเรื่องของเรากันดีกว่าเนอะ เลยเถิดไปใหญ่แล้ว อิอิ  อาหารที่เรารับประทานในแต่ละวันนั้นมีผลต่อร่างกายเราโดยตรงเพราะในอาหารนั้นมีสารอาหารที่แตกต่างกันไป แต่วันนี้เราจะมารู้จักกับสารตัวหนึ่งที่อยู่ในอาหารและทำให้เราแก่ช้าลงค่ะ นั่นก็คืออาหารที่มีฮอร์โมนเพศหญิงหรืออาหารที่มีเอสโตรเจนสูงนั่นเองค่ะ เหมาะกับสุขภาพผู้หญิงที่ต้องการปรับฮอร์โมนเพศหญิงให้อยู่ในระดับสมดุลกับร่างกาย คืนความสดใสและ healthy ดีดี๊ที่ผู้หญิงคู่ควรกันค่ะ ก็ยังคงมีความงุนงงกันไปอีกว่าเอ..เจ้าฮอร์โมนที่ว่านี้มันคืออะไรกันนะ งั้นก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเจ้าฮอร์โมนตัวนี้กันก่อนเลยค่ะ ฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ ฮอร์โมนเพศหญิงที่มีความสำคัญกับสุขภาพผู้หญิงทุกคน เพราะฮอร์โมนเพศหญิงจะช่วยในเรื่องการบำรุงดูแลผิวพรรณ เป็นสารสำคัญของความดูม ๆ ที่หน้าอกหน้าใจ โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ เอสโตรเจนก็จะช่วยในการผลิตน้ำนม อีกทั้งยังมีความสำคัญกับการทำงานของมดลูกและรังไข่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายก็จะลดระดับลง ยิ่งเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เจ้าเอสโตรเจนของสาว ๆ ก็จะหายหน้าหายตาไปซะเฉย ๆ ส่งผลให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น ผมร่วง หัวล้าน เป็นต้น โอ๊ย ตาย ๆ ถ้าชีวิตเดินไปถึงจุดนั้นขึ้นมา สาว ๆจะหาเอสโตรเจนมาเติมเต็มร่างกายได้จากที่ไหนกันบ้างล่ะ หรือจะเติมเอสโตรเจนให้ร่างกายจากอาหารเหล่านี้ดีนะ เห็นไม่ผิดหรอกค่ะ ในอาหารบางประเภทที่เราไม่เคยทราบมาก่อนเนี่ยแหละค่ะ สามารถที่จะเติมเต็มส่วนของเอสโตรเจนที่หายไปของเราได้ อย่างที่ทราบกัน “การ ลดลงของฮอร์โมนของผู้หญิงและของผู้ชายจะมีความแตกต่างกัน ผู้หญิงมีการลดลงของฮอร์โมนมากกว่าผู้ชาย เห็นได้ว่าในช่วงอายุใกล้กัน ผู้หญิงจะดูแก่กว่า เพราะเวลาฮอร์โมนลดลงจะลดเร็ว แต่สำหรับผู้ชายจะค่อยๆ ลดลง จึงทำให้การเปลี่ยนแปลงของผู้ชายช้ากว่า แต่ของผู้หญิงจะชัดมาก” คงไม่ต้องเสียเวลาสงสัยกันล่ะค่ะ เราไปดูกันดีกว่าว่ามีอาหารชนิดไหนบ้างไปดูกันเลยค่ะ 

เอสโตรเจนจำเป็นต่อทั้งชายและหญิง เพราะเป็นตัวการสำคัญในการสร้างกระดูก และ มีผลต่ออารมณ์ แต่ถ้าจะเน้นเรื่องหน้าใสผิวพรรณผ่องใส เอสโตรเจนนี่แหละค่ะที่สำคัญกว่าการใช้เครื่องสำอางค์เป็นไหนๆ

เอสโตรเจนได้มาจาก
1. จิตใจ : จิตใจที่ไม่เครียด ไม่รีบร้อน เย็น ๆ รักของสวยงาม มีสมาธิ  จิตแบบนี้ก็จะสร้างเอสโตรเจนได้เอง

2. อาหาร : อาหารต่างๆเหล่านี้แหละที่ให้เอสโตรเจนสูง

 

 

10 ชนิดของอาหารที่ช่วยปรับฮอร์โมนเอสโตรเจน

 

1.น้ำมะพร้าว

น้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้างคอลลาเจน และอีลาสติน ช่วยกระชับผิวพรรณให้เต่งตึง มีความยืดหยุ่น ชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัย อีกทั้งน้ำมะพร้าวยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ขับของเสียหรือสารพิษออกจากร่างกาย คล้ายกับการทำดีท็อกซ์ จึงช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใส อีกทั้งความเป็นด่างของน้ำมะพร้าวยังช่วยปรับสมดุลของร่างกายในช่วงที่มีความเป็นกรดสูง ทำให้กลไกการทำงานของระบบภายในร่างกายเป็นปกติ ส่งผลให้มีสุขภาพดีทั้งภายในและภายนอก

 

2.ลูกพรุน

ในลูกพรุนมีไฟโตเอสโตรเจน สารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิงอยู่พอสมควร แถมยังเปี่ยมไปด้วยไฟเบอร์ ที่จะช่วยในเรื่องการขับถ่าย การปรับสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด จะจัดเป็นของว่างอาหารคลีนที่กินแล้วไม่ต้องกลัวอ้วนก็เวิร์ก หรือกินเพื่อเติมฮอร์โมนเอสโตรเจนเข้าไปปรับสมดุลร่างกายก็เด็ด

 

3.เมล็ดแฟลกซ์

เมล็ดแฟลกซ์ก็เป็นซูเปอร์ฟู้ดที่อุดมไปด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนเช่นกัน โดยนอกจากจะช่วยเติมเต็มฮอร์โมนแห่งความเป็นเพศหญิงให้สาว ๆ แล้ว เมล็ดแฟลกซ์ยังมีดีในเรื่องช่วยลดน้ำหนัก ปรับสมดุลการทำงานของระบบย่อยอาหาร และช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกายได้อีกต่างหาก ประโยชน์สุดจี๊ดของเมล็ดแฟลกซ์แบบนี้สาว ๆ จะพลาดได้ยังไงล่ะเนอะ

 

4.งา

ธัญพืชมากประโยชน์อย่างงาก็มีโฟโตเอสโตรเจนสูงไม่แพ้ใคร โดยอยู่ในรูปสารลิกแนน โฟโตเอสโตเจนชนิดหนึ่ง ที่ออกฤทธิ์ไม่ต่างจากฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายเลยสักนิด ซึ่งเมื่อบวกกับปริมาณไฟเบอร์ที่สูง แร่ธาตุต่าง ๆ โดยเฉพาะธาตุเหล็กและแมกนีเซียม ธัญพืชอย่างงาจึงเป็นอาหารบำรุงสุขภาพผู้หญิงที่หากไม่กินก็ถือว่าพลาดเชียวล่ะ

 

5.ถั่วชนิดต่างๆ

โฟโตเอสโตรเจนคือสารที่เราหาได้จากถั่วหลาย ๆ ชนิด ซึ่งแปลได้ว่าหากอยากกินอาหารเพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง ถั่วก็เป็นอาหารที่ควรคู่กับครัวบ้านคุณพอสมควร นอกจากนี้ถั่วยังอุดมไปด้วยโปรตีน และไฟเบอร์สูง ดังนั้นสาว ๆ สามารถกินถั่วหมุนเวียนกันไป ในแต่ละวันได้ชิล ๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นถั่วชนิดฝัก ถั่วลิสง ถั่วพิตาชิโอ ถั่วแระ ถั่วลันเตา ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว หรือแม้กระทั่งถั่วงอก

 

6.เต้าหู้

เต้าหู้มีไอโซฟลาโวน ฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดหนึ่งจากธรรมชาติ ที่ร่างกายจะดูดซึมได้ดี ที่สำคัญในเต้าหู้ยังอุดมไปด้วยธาตุเหล็กและโปรตีนที่สูงเทียบเท่าเนื้อสัตว์ได้ชิล ๆ แถมกินแล้วไม่อ้วนด้วยนะ

 

7.น้ำเต้าหู้

ทั้งถั่วเหลืองและเต้าหู้ก็เป็นอาหารมีเอสโตรเจนอยู่แล้ว น้ำเต้าหู้เลยไม่ขอยอมแพ้ แอบมีโฟโตเอสโตรเจนแฝงอยู่ในน้ำเต้าหู้สีขาวนวลด้วย และข้อดีของการรับฮอร์โมนเอสโตรเจนจากน้ำเต้าหู้ก็คือ น้ำเต้าหู้แอบแฝงเอสโตรเจนมาในรูปของเหลว ทีนี้ร่างกายก็จะดูดซึมและนำฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ได้ไปใช้ได้อย่างรวดเร็วนั่นเองนะคะ

 

8.ข้าวสาลีและโฮลเกรน

ข้าวสาลีและโฮลเกรนทุกชนิดมีฮอร์โมนเอสโตรเจนธรรมชาติชนิดไอโซฟลาโวน ซึ่งช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายได้อีกทาง โดยนอกจากข้าวสาลีและโฮลเกรนแล้ว ผักอย่างบรอกโคลีและกะหล่ำม่วงก็มีโฟโตเอสโตรเจนด้วยเช่นกัน

 

9.แครอท

แครอทมีสารลิกแนน โฟโตเอสโตรเจนชนิดหนึ่งที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ทางโภชนาการจึงจัดแครอทให้เป็นอาหารที่มีฮอร์โมนเพศหญิงด้วย ซึ่งนอกจากแครอทแล้ว ยังมีกะหล่ำ สตรอเบอร์รี แอปริคอต และซูกินี ที่เป็นอาหารมีเอสโตรเจนด้วยเหมือนกัน

 

10.องุ่นและผลไม้ตระกูลเบอร์รี่

ผลไม้ตระกูลเบอร์รีมีสารเรสเวอราทรอล (Resveratrol) ซึ่งการศึกษาจาก Experimental and Therapeutic Medicine พบว่า สารเรสเวอราทรอลมีหน้าที่คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน มีวิตามินซีสูง ดีต่อสุขภาพผิว และเป็นผลไม้ที่กินแล้วไม่อ้วนด้วยนะจ๊ะ

 

อย่างไรก็ตาม ก่อนรับประทานอาหารที่มีเอสโตรเจนเหล่านี้ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือนักโภชนาการด้วยนะคะ เพราะการมีฮอร์โมนเพศหญิงมากเกินไป อาจส่งผลให้ระบบฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน จนส่งผลกระทบและความเสี่ยงทางด้านสุขภาพมากกว่าผลดี ดังนั้นเราจึงควรแน่ใจก่อนว่า ร่างกายของเราขาดแคลนฮอร์โมนเพศหญิงจนต้องรับประทานอาหารเสริมเหล่านี้หรือเปล่า 🙂

 

www.flickr.com/photos/anabadili/3375657138/