Browse Tag: Oil

15 ชนิดสุดยอดของอาหารที่ช่วยต้านมะเร็ง

Source: Flickr (click image for link)

“โรคมะเร็ง (Cancer)” ถือเป็นปัญหาและภัยเงียบต่อสุขภาพของคนในปัจจุบันทั่วโลกเป็นอย่างมากเลยทีเดียวค่ะ ใครจะรู้ว่าในเวลาเพียงแค่หนึ่งปีโรคมะเร็งได้คร่าชีวิตของมนุษย์ไปกี่ล้านชีวิตได้อย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าโรคมะเร็งจะไม่ใช่โรคชนิดที่ติดต่อกันได้แต่ทว่าทำไมคนเราถึงได้เสียชีวิตจากโรคนี้เพิ่มขึ้นมากมายอย่างไม่น่าเชื่อ มะเร็งบางชนิดกว่าจะแสดงอาการก็สายไปเสียแล้วหรือในบางคนคิดว่าดูแลสุขภาพตนเองเป็นอย่างดีแล้วแต่ไฉนแจ็กพอร์ตถึงได้มาตกที่ตัวเองเสียได้ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งมีหลากหลายสาเหตุทั้งรวมไปถึงรอบๆ ใกล้ตัวเราโดยที่เราอาจจะมองข้ามไปอย่างเช่นอาหารที่เราได้รับประทานอยู่ทุกวันนี่แหละค่ะ ด้วยเทคโนโลยีตามยุคตามสมัยได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอเพื่อตอบสนองความสะดวกสบายให้แก่มนุษย์อย่างเราๆ ให้มีการดำเนินชีวิตที่ง่ายและเร็วขึ้น ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าบางอย่างนั้นก็เป็นสิ่งที่ดีและช่วยให้การดำเนินชีวิตของเราดีขึ้นอย่างเหมาะสม แต่ใครจะรู้ว่าบางอย่างกลับช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพของเราหรือกำลังเกาะกินชีวิตเราไปอย่างช้าๆ โดยที่เราไม่ทันได้รู้ตัวด้วยซ้ำไปค่ะ ดังนั้นการรู้และป้องกันในการต้านทานโรคมะเร็งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และการป้องกันที่สำคัญคือคุณค่าทางโภชนาการจากการที่ได้รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงสิ่งต่างๆ ที่จะเป็นตัวไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งค่ะ หลายคนอาจจะทราบเป็นอย่างดีแล้วว่ามีอาหารชนิดไหนบ้างที่ควรรับประทานเพื่อสุขภาพที่ดีและป้องกันการเกิดมะเร็งได้ แต่สิ่งท่ี่ควรถามตัวเองอีกครั้งคือ ในแต่ละวันคุณได้รับสารอาหารจากอาหารเหล่านั้นเพียงพอต่อการต้านมะเร็งแล้วหรือยัง หลายๆ คนคงจะคิดถึงคำว่า มะเร็ง เป็นเพียงโรคชนิดหนึ่ง จริงๆ แล้วโรคนี้เกิดจากความผิดปกติของเซลล์มากกว่า 100 เซลล์ในร่างกาย ซึ่งมะเร็งก็หมายถึงการแบ่งเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้และนำไปสู่การเกิดเนื้องอกหรือการเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ เมื่อเซลล์เกิดผิดปกติขึ้นมาและยังแบ่งเซลล์โดยไม่มีการควบคุมอีก มันก็เกิดเหตุที่สามารถลุกลามไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงและแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายรวมทั้งระบบเลือดและน้ำเหลืองค่ะ ฟังแล้วดูไม่น่าฟังเลยนะคะแต่เชื่อเถอะว่าการป้องกันไว้ก่อนนั้นสำคัญและสมควรที่จะทำเป็นอย่างยิ่งค่ะ

แล้วจะทำยังไงล่ะ? เพื่อที่จะลดการอักเสบและต่อสู้กับอนุมูลอิสระ สิ่งสำคัญคือการบริโภคอาหารที่ต่อสู้กับโรคมะเร็งโดยอาหารเหล่านั้นมีสารต้านอนุมูลอิสระและ สารพฤษเคมี (phytonutrients) ที่ต้านการอักเสบตามธรรมชาติ รวมถึงการหลีกเลี่ยงอาหารแบบสำเร็จรูป แปรรูป และพวกที่มีส่วนผสมของสารปฏิชีวนะ สารเคมี รวมถึงสารพิษ ควรที่จะเลือกซื้ออาหารประเภทอินทรีย์ (Organic) มารับประทาน ต่อไปนี้จะเป็นชนิดของอาหารที่ช่วยต้านมะเร็ง เราไปดูกันค่ะว่ามีอะไรบ้าง

  

15 ชนิดสุดยอดของอาหารที่ช่วยต้านมะเร็ง

Source: Flickr (click image for link)

1.กระเทียม

ใครที่ชอบว่าเราทานอาหารที่มีกลิ่นเหม็น รีบบอกเขาไปดังๆ เลยค่ะว่ากระเทียมเนี่ยมีสารยับยั้งการเจริญเติบโตของไนโตรซามีนที่เป็นสารก่อมะเร็งที่เกิดขึ้นในกระเพาะอาหาร (และในลำไส้ในบางสภาวะ) และต้านการอักเสบในร่างกายอีกด้วยนะจ๊ะ อีกทั้งกรดของกระเทียมยังเป็นสารต้านเชื้อรารวมถึงสร้างภูมิคุ้มกันโดยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ และยีสต์ ซึ่งพบว่าหลังจากรับประทานยาและยาปฏิชีวนะร่างกายมักจะอ่อนแอต่อสิ่งเหล่านี้นั่นเอง โชคดีที่ส่วนประกอบของอาหารส่วนใหญ่ในประเทศไทยเรามีแต่กระเทียมเป็นส่วนผสมและก็พบว่าเลือกรับประทานกระเทียมแบบสดๆ จะได้รับสารที่เข้มข้นมีประสิทธิภาพดีกว่าอีกด้วยค่ะ

 

2.บล็อกโคลี่

บล็อกโคลี่จัดเป็นผักตระกูลกะหล่ำ (กะหล่ำปลีและผักคะน้า) มีคุณสมบัติในการต่อต้านกับมะเร็ง แต่บล็อกโคลี่ยังเป็นผักชนิดที่เป็นสารอาหารเพียงอย่างเดียวที่มีปริมาณซัลฟอร์เฟล ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ที่ช่วยให้ร่างกายสามารถย่อยสลายสารเคมีที่ก่อให้เกิดโรคได้ค่ะ

 

3.ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่

พบว่าผลไม้ตระกูลเบอร์รี่เกือบทั้งหมดมีสารต้านอนุมูลอิสระที่สูงมากในโลก ไม่ว่าจะเป็น บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ เชอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ โกจิเบอร์รี่ และแบล็กเบอรี่ โดยผลไม้ตระกูลเบอร์รี่นั้นอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า proanthocyanidin ซึ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านริ้วรอยในสัตว์หลายชนิดและสามารถลดความเสียหายของอนุมูลอิสระได้ ฟีนอลซีแซนทีนไลโคปีน cryptoxanthin lutein และ polysaccharides

 

4.ผักใบเขียว

ถ้าพูดถึงผักใบสีเขียวแล้วเราจะนึกถึงอาหารประเภทเพื่อสุขภาพและถือเป็นรากฐานของอาหารที่ทำให้สุขภาพดี เนื่องจากอุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ สารต้านอนุมูลอิสระ และเอนไซม์ โดยมีค่าปริมาณแคลอรี่ ไขมัน โซเดียม และสารพิษอื่นๆ ต่ำมาก ผักใบเขียวมีประโยชน์ทุกชนิด อย่างเช่น ผักโขม ผักปวยเล้ง ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก ผักคะน้า ผักหม่อน ผักสลัด และอื่นๆ อีกมากมายนี้อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่รู้จักกันในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง ได้แก่ วิตามินซีและเบต้าแคโรทีน(ที่เป็นชนิดของวิตามินเอ) นั่นเองค่ะ โดยผักใบเขียวเหล่านี้เป็นแหล่งธรรมชาติของ glucosinolates และยังมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ขจัดสารก่อมะเร็งช่วยยับยั้งการสร้างเซลล์มะเร็งให้ตายและป้องกันไม่ให้เกิดการก่อตัวของเนื้องอกรวมถึงการแพร่กระจายลุกลามของเนื้อร้ายอีกด้วยค่ะ

 

5.เมล็ดพืช

เมล็ดพันธุ์พืชที่ถึงกับได้เรียกว่าเป็นสุดยอดอาหาร Super Food คือ เมล็ดพันธุ์เจียและเมล็ดแฟลกซ์จัดเป็นเมล็ดพืชที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในโลก โดยมีเส้นใยอาหารที่สูง มีกรดไขมันโอเมก้า 3 และเต็มเปี่ยมไปด้วยแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายอีกมากมายเลยค่ะ นอกจากนี้ยังรวมไปถึง เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง และเมล็ดงาด้วยค่ะ

 

6.ขมิ้น

ขมิ้นจัดเป็นสมุนไพรหรือเครื่องเทศชนิดหนึ่งซึ่งในขมิ้นมีสาร curcumin ที่เป็นหนึ่งในส่วนผสมที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในอาหารต้านมะเร็ง โดยสามารถลดขนาดของเนื้องอก ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านม อีกทั้งยังพบว่าพริกไทยดำยังสามารถช่วยให้การดูดซึมของขมิ้นให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นอีกด้วยค่ะ

 

7.เมล็ดอัลมอลด์และวอลนัท

อย่างที่ทราบกันดีว่าเมล็ดอัลมอลด์และวอลนัทถือเป็นอาหารทานเล่นที่มีประโยชน์และเต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยเมล็ดอัลมอลด์และวอลนัทนั้นมีกรดไขมันที่ดีรวมไปถึงมีเส้นใยอาหารที่สูง ไฟโตสเตอรอลในวอลนัท (โมเลกุลของคอเลสเตอรอลที่พบในพืช) แสดงให้เห็นถึงการยับยั้งการรับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเซลล์มะเร็งเต้านม ซึ่งอาจจะไปทำให้การเจริญเติบโตของเซลล์ช้าลง

 

8.เห็ด

เห็ดมีหลากหลายชนิดและหลายสายพันธุ์รวมถึงมีลักษณะและรสชาติไม่เหมือนกัน ในส่วนของประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการก็จะเห็นได้ในปัจจุบันคนนิยมนำมารับประทานเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันมาเป็นเวลายาวนานหลายศตวรร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้ต่อสู้กับการเจริญเติบโตของเนื้องอกและช่วยในการฟื้นฟูเซลล์ได้ดีอีกด้วยค่ะ

 

9.เนื้อสัตว์อินทรีย์

เนื้อสัตว์อินทรีย์หรือเนื้อสัตว์ออร์แกนิกที่รวมไปถึงเนื้อวัวและตับไก่ด้วยนั้น จัดได้ว่าเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยแหล่งของสารอาหารที่มีมากที่สุดในโลก รวมถึงมีวิตามินบี 12 อยู่สูงมากเช่นกัน ดังนั้นการที่เราบริโภคเนื้อสัตว์แบบอินทรีย์เป็นส่วนหนึ่งของวิธีในการได้รับโปรตีนจากสัตว์และทำให้ได้รับแร่ธาตุต่างๆ ที่จะไปช่วยทำความสะอาดตับและเพิ่มความสามารถในการขจัดสารพิษออกจากเลือดรวมถึงระบบทางเดินอาหารค่ะ เนื้อสัตว์เป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยซีลีเนียม สังกะสี และวิตามินบีจะไปช่วยทำให้เลือดสะอาด อีกทั้งยังช่วยผลิตน้ำดีที่จำเป็นในการย่อยไขมัน ช่วยสร้างความสมดุลของฮอร์โมนตามธรรมชาติ และเก็บวิตามิน เกลือแร่ และธาตุเหล็กที่จำเป็นค่ะ

 

10.ปลาทะเล

ปลาที่เกิดจากแหล่งธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นปลาขนาดเล็กหรือรวมไปถึง ปลาแซลมอล ปลาทู และปลาซาร์ดีน ล้วนแต่เป็นแหล่งอาหารชั้นดีของกรดไขมันโอเมก้า 3 เลยทีเดียว่ค่ะ ซึ่งจะไปช่วยในเรื่องของระบบคุ้มกันและต่อต้านการอักเสบที่มีส่วนเกี่ยวข้องและมีความสำคัญต่อสุขภาพของสมองฮอร์โมนรวมถึงระบบประสาทที่ดีขึ้น ด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ดังนั้นจึงมีส่วนเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับการป้องกันโรคมะเร็ง อีกทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพของการบำบัดด้วยยาต้านมะเร็งอีกด้วยค่ะ

 

11.น้ำมันที่ไม่ผ่านการกลั่น

น้ำมันเพื่อสุขภาพ คือ น้ำมันที่ไม่ผ่านการกลั่นจำพวก น้ำมันมะพร้าว น้ำมันแฟลกซ์ และน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ทราบหรือไม่คะว่าน้ำมันตามท้องตลาดที่เราใช้กันทั่วไปส่วนใหญ่เป็นน้ำมันที่เต้มไฮโดรเจน ซึ่งเป็นพิษและสามารถไปทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของเราที่จะนำไปสู่เซลล์และทำให้เกิดโรค โดยไขมันที่ผ่านก่านกลั่นและหืนจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นทั่วร่างกายของเรา ทำให้ระบบคุ้มกันลดต่ำลงเกิดความแออัดของเซลล์และการอัดเสบนำไปสู่การเกิดโรคได้ค่ะ แทนที่เราจะเลือกน้ำมันพืชที่ผ่านการกลั่น เดิมไฮโดรเจน รวมถึงไขมันทรานส์ มาเลือกน้ำมันที่มีคุณภาพและดีต่อสุขภาพอย่าง น้ำมันแฟลกซ์ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปลา และน้ำมันมะกอกที่มีสาร phytonutrients จะไปช่วยลดการอักเสบในร่างกาย อาจช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วยค่ะ ดูเหมือนว่าน้ำมันจะไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่จริงไหมคะ แต่ระบบประสาทและสมองของคนเราถูกควบคุมการทำงานและถูกสร้างขึ้นจากกรดไขมันถึงประมาณ 60 เปอร์เซนต์เลยล่ะค่ะ ดังนั้นการเลือกน้ำมันในการประกอบอาหารก็สำคัญและไม่ควรมองข้ามค่ะ

 

12.มะเขือเทศ

มะเขือเทศผลสีแดงสดใสนี้จัดเป็นแหล่งอาหารที่ดีของไลโคปีน และยังอยู่ในกลุ่มของผักผลไม้สี้ส้มสดใสของสารแคโรทีนอยด์อีกด้วยค่ะ พบว่าไลโคปีนมีการหยุดและยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งและยังช่วยยับยั้งสารต้านอนุมูลอิสระที่ทำให้ผิวเราเสียง่ายอีกด้วยค่ะ

 

13.ชีสและโยเกิร์ต

ชีสและโยเกิร์ตจัดเป็นผลิตภัณฑ์จากนมที่ได้จากการบ่มเพาะที่เป็นแหล่งอุดมไปด้วยโปรไบโอติก โดยเป็นแบคทีเรียชนิดที่ดีซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ส่งเสริมความสมดุลของแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ในลำไส้ของเรา อีกทั้งยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันได้กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของระบบภูมิคุ้มกันของเรา ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่าอาหารเสริมและโปรไบโอติกสามารถหยุดการเจริญเติบโตของเนื้องอกและช่วยต่ออายุให้เซลล์ได้อีกด้วย

 

14.ผักและผลไม้ที่มีสีส้มสดใส

ผักและผลไม้ที่มีสีส้มที่เกิดจากเม็ดสีธรรมชาติที่เกิดในพืชผักเพื่อให้มีสีเฉพาะที่เรียกว่าสาร phytochemicals และสารที่ให้สีส้มเราจะเรียกมันว่า สารแคโรทีนอยด์ (alpha-carotene, beta-carotene, lycopene, lutein, cryptoxanthin) เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระอีกชนิดของพืชผัก ดังนั้นการเลือกรับประทานผักและผลไม้หลากหลายสีก็เท่ากับคุณได้เพิ่มสารต่อต้านอนุมูลอิสระได้มากเท่านั้น โดยผักและผลไม้ที่มีสีส้มจำพวก แครอท ฟักทอง มันหวานจะมีสารเบต้าแคโรทีนซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ล้างพิษ และการต่อสู้กับโรคมะเร็งผิวหนังตาและอวัยวะต่างๆ ค่ะ

 

15.ชาเขียว

ชาเขียวมัทฉะ ที่เป็นชาแบบดั้งเดิมไม่มีการปรุงแต่งรสใดๆ และดูเหมือนว่าการเริ่มดื่มชาหลังจากชงเสร็จใหม่ๆ ก็ยิ่งจะทำให้มีประสิทธิภาพดีที่สุดเลยก็ว่าได้ เนื่องจากในชาเขียวสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อมะเร็งได้ ชาเขียวมีสารประกอบโพลีฟีนอลรวมทั้ง epigallocatechin-3-gallate ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการยับยั้งการแพร่กระจายหรือลุกลามของเนื้องอกและ angiogenesis ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเติบโตของเนื้องอกและการแพร่กระจายของเนื้อร้าย สาร catechin, gallocatechin และ EGCG ที่เป็นสารต่อต้านอนุมูอิสระซึ่งมีศักยภาพมากที่สุดและส่งผลการต่อต้านมะเร็งโดยมีฤทธิ์ประมาณ 25-100 เท่าของประสิทธิภาพจากวิตามินซีและอีเลยทีเดียวค่ะ

 

www.flickr.com/photos/paulrysz/9274206972/

www.flickr.com/photos/nestle/13058324015/

13 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินอีสูง

Source: Flickr (click image for link)

“วิตามินอี (Vitamin E)” เป็นวิตามินชนิดที่ละลายได้ในไขมัน (fat soluble vitamin) มีลักษณะเป็นของเหลวคล้ายน้ำมันที่มีสีเหลืองอ่อนๆ วิตามินอีทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีหน้าที่เบื้องต้นเสมือนฟองน้ำที่คอยดูดซับอนุมูลอิสระซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เซลล์หรือเนื้อเยื่อถูกทำลาย ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งนั่นเองค่ะ จะพบว่ามีวิตามินอีอยู่มากในพืชส่วนในสัตว์นั้นจะพบค่อนข้างน้อยมากค่ะ เพราะฉะนั้นการบริโภคผักหรือผลไม้สดจึงช่วยเพิ่มปริมาณวิตามินอีให้กับร่างกายของเรานั่นเอง นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำนมของคุณแม่โดยเฉพาะจากคุณแม่หลังคลอด (colostrum) ก็เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ให้วิตามินอีในปริมาณที่สูงมากเช่นกันค่ะ ดังนั้นการขาดวิตามินอีเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากนอกเสียจากในเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดเนื่องได้วิตามินจากแม่ไม่พอ หรือคนที่มีปัญหาจากโรคของระบบย่อยอาหารที่ผิดปกติจึงทำให้ได้รับวิตามินไม่เพียงพอค่ะ

อาการบ่งบอกเมื่อร่างกายขาดวิตามินอี ดังนี้

  • ถ้าขาดมากจะทำให้เกิดโลหิตจาง
  • มีความผิดปกติของสมอง มือสั้น เดินเซ

และการได้รับวิตะมินอีมากเกินไปอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ค่ะ

การเสริมและบริโภคอาหารที่อุดมด้วยวิตามินอีจะให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้

  • คอเลสเตอรอลมีความสมดุล
  • ซ่อมแซมผิวที่เสื่อมสภาพ
  • ป้องกันผมร่วง
  • ปรับฮอร์โมนให้มีความสมดุล

กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ผู้ใหญ่ไทยกินวิตะมินอีวันละประมาณ 8-10 มิลลิกรัม และไม่ควรกินเกินวันละ 30 มิลลิกรัม หรือ 1,500 IU

 

13 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินอีสูง

Source: Flickr (click image for link)

1.อัลมอลด์

เมล็ดอัลมอลด์เป็นอาหารทานเล่นที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งของวิตามินอีชั้นเยี่ยมเลยก็ว่าได้ค่ะ โดยอัลมอลด์ปริมาณแค่ 1 ออนซ์ แต่มีวิตามินอีอยู่สูงถึง 7.3 มิลลิกรัม เลยล่ะค่ะ

 

2.ผักปวยเล้ง

ในพืชหรือผักใบสีเขียวเข้มมากคุณค่าทางอาหารอย่างผักปวยเล้งก็จัดเป็นแหล่งของวิตามินอีที่ดีอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งผักปวยเล้งปริมาณ 1 ช่อ มิวิตามินอีอยู่มากถึง 6.9 มิลลิกรัม

 

3.มันหวาน

มันหวานเนื้อสีส้มรสชาติหวานมันที่อาจจะเป็นของโปรดของใครหลายคน นอกจากอร่อยแล้วยังให้วิตามินอีสูงอีกด้วย มันหวานปริมาณแค่ 1 ช้อนโต๊ะ กลับมีวิตามินอีอยู่มากถึง 4.2 มิลลิกรัม

 

4.อะโวคาโด

จะนำมาทานเล่นหรือนำมาประกอบอาหารแถมให้ประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างผลอะโวคาโดก็ถือว่าวินวินเลยทีเดียวค่ะ อีกทั้งอะโวคาโดปริมาณ 1 ผล มีวิตามินอีอยู่  2.7 มิลลิกรัม

 

5.จมูกข้าวสาลี

จมูกข้าวสาลีคือเมื่อนำข้าวสาลีมาขัดสี ในส่วนที่เรียกว่าจมูกข้าวนี้จะหลุดออกจากเมล็ดข้าวปนไปกับรำข้าว จมูกข้าวสาลีนับเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของเมล็ดข้าวสาลี โดยติดอยู่ตรงหัวของเมล็ดข้าวที่จะงอกเป็นต้นใหม่ต่อไปค่ะ จมูกข้าวสาลีปริมาณ 1 ออนซ์ มีวิตามินอีอยู่ถึง 4.5 มิลลิกรัม

 

6.เมล็ดทานตะวัน

จะเห็นได้ว่าเมล็ดทานตะวันจะให้คุณค่าทางอาหารและประโยชน์มากมายนั้นก็รวมไปถึงวิตามินอีด้วยค่ะ โดยเมล็ดทานตะวันปริมาณแค่เพียง 2 ช้อนโต๊ะ แต่มีวิตามินอีอยู่มากมายถึง 4.2 มิลลิกรัม

 

7.น้ำมันปาล์ม

ในน้ำมันปาล์มมีสารอาหารอย่างวิตามินอีอยู่ก็จริงค่ะ แต่ก็ควรที่จะรับประทานอย่างระมัดระวัง เนื่องจากในน้ำมันปาล์มนั้นมีไขมันอิ่มตัวสูง ถ้ากินมากๆ โอกาสที่คอเลสเตอรอลจะเพิ่มมากขึ้นได้สูงค่ะ อีกทั้งยังไปเพิ่มในส่วนของไขมันแอลดีแอลที่เป็นไขมันชนิดไม่ดีทำให้มีปัญหาหลอดเลือดที่จะไปเลี้ยงหัวใจได้อีกเช่นกันค่ะ โดยน้ำมันปาล์ม 1 ช้อนโต๊ะ มีวิตามินอีอยู่ 2.2 มิลลิกรัม

 

8.ฟักทอง

ส่วนใหญ่คนไทยจะนิยมนำฟักทองมาประกอบทั้งอาหารหวานและอาหารคาว ฟักทองนอกจากจะให้สารเบต้าแคโรทีนที่สูงแล้วยังเป็นแหล่งของวิตามินอีอีกด้วยค่ะ ฟักทองสับ 1 ถ้วย มีวิตามินอีอยู่ 3.2 มิลลิกรัม

 

9.ปลาเทราท์

วิตามินอีที่พบมากในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ก็คงเป็นปลาเทราท์นี่แหละค่ะ โดยปลาเทราท์ ปริมาณ 100 กรัม จะมีวิตามินอีอยู่ 2.8 มิลลิกรัม

 

10.น้ำมันมะกอก

น้ำมันมะกอกมีหลายชนิดเนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีต่อร่างกายทั้งภายในภายนอกค่ะ อีกทั้งยังเป็นแหล่งของวิตามินอีอีกด้วย น้ำมันมะกอกปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ มีวิตามินอีอยู่ 2 มิลลิกรัม

 

11.กีวี่

ผลไม้สีเขียวรสเปรี้ยวอย่างกีวี่ก็จัดเป็นแหล่งของวิตามินอีชั้นเยี่ยมอีกหนึ่งชนิดค่ะ ใครกำลังมองหาผลไม้ทานเล่นสักชนิดก็จัดกีวี่ไปสักลูกสองลูกได้เลยค่ะ กีวี่ปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินอีอยู่ 1.5 มิลลิกรัม

 

12.กุ้ง

อีกชนิดของเนื้อสัตว์ที่เป็นแหล่งของวิตามินอีก็คือกุ้งนั่นเองค่ะ โดยกุ้งปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินอีอยู่ 2.2 มิลลิกรัม

 

13.บลอคโคลี่

ผักใบเขียวเข้มมากคุณค่าทางโภชนาการอย่างบลอคโคลี่ก็จัดว่าเป็นแหล่งวิตามินอีเช่นกันค่ะ บลอคโคลี่ 100 กรัม มีวิตามินอีอยู่ 1.5 มิลลิกรัม

 

www.flickr.com/photos/stone-soup/4302330208/

www.flickr.com/photos/spilt-milk/3757087582/

ไขมัน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

oil-1
Source: Flickr (click image for link)

ไขมัน (Fat) คือ สารประกอบหลายชนิดซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือ ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์แต่ไม่ละลายน้ำ คำว่าไขมัน (fat) ทางเคมีอาหาร นั้นหมายถึง ลิพิด (lipid) ประเภทไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ที่มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้องขณะที่ น้ำมัน (oil) เป็นไตรกลีเซอไรด์ที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง คำว่าไขมัน (fat) และน้ำมัน (oil) มักใช้แทนกันหรือใช้คู่กัน โดยทั่วไป “น้ำมัน” ใช้กับไขมันที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง “ไขมัน” หมายถึง ไขมันที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง “ลิพิด” หมายรวมไขมันทั้งที่เป็นของเหลวและของแข็งตลอดจนสสารที่เกี่ยวข้องอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ในบริบททางการแพทย์หรือชีวเคมี ดังนั้น กรดไขมัน (fatty acid) ที่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ในไขมัน (fat) จึงเป็นกรดไขมันที่มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าอุณหภูมิห้อง ได้แก่ กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) ขณะที่น้ำมัน (oil) มีองค์ประกอบหลักคือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) ซึ่งมีจุดหลอมเหลวต่ำค่ะ ส่วนไขมันในทางโภชนาการนั้นหมายถึงสารอาหาร (nutrient) ที่ให้พลังงาน และก็มีส่วนประกอบหลักคือไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) โดยไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี (Kcalorie) ในขณะที่โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี ค่ะ

ไขมัน (fat) ที่ใช้ในอาหาร ได้แก่ ไขมันจากสัตว์ รวมทั้งน้ำมันพืช (vegetable oil) ที่ผ่านกระบวนการ hydrogenation เพื่อทำให้มีสถานะเป็นของแข็ง ได้แก่ เนย (butter), เนยโกโก้ (cocoa butter) และเนยโกโก้เทียม (cocoa butter equivalent), ไขมันวัว (tallow), ไขมันหมู (lard), ไขมันจากไก่ (schmaltz), มาร์การีน (margarine) หรือ เนยขาว (shortening) เป็นต้น

 

เกี่ยวกับไขมัน (Fat)

อาหารที่เราบริโภคทุกวันนี้ มีสารอาหารที่เป็นประกอบที่สำคัญคือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรทและไขมัน ไขมัน (Lipids) เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานมากที่สุดคือประมาณ 9 แคลอรี่ต่อ 1 กรัม ไขมันมีในอาหารทั่วไปทั้งในพืชและเนื้อสัตว์จะมากน้อยตามชนิดของอาหารแตกต่างกันไป ไขมันยังมีส่วนสำคัญในด้านเนื้อสัมผัส, กลิ่นรส, ความชุ่มเนื้อและรสชาติของอาหารอีกด้วย และเนื่องจากร่างกายของเราย่อยไขมันได้ช้ากว่าสารอาหารชนิดอื่น เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมันจึงทำให้เรารู้สึกอิ่ม หลังจากที่ได้รับอาหารเข้าไปในประมาณที่เพียงพอแล้ว

ไขมัน (LIPIDS) แบ่งตามวิทยาศาสตร์เคมีได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)และฟอสโฟไลปิดส์ (Phospholipids) และอื่นๆ อีกที่ไม่ค่อยสำคัญมากแต่ที่เรามักจะได้ยินคุ้นหูจากแพทย์บ่อยๆ ก็คือคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งแพทย์จะบอกแก่คนไข้ว่า ตรวจไขมันในเลือดให้นั้นก็คือ การตรวจค่าของทั้งสองชนิดนั่นเอง

คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อใช้ในการสร้างฮอร์โมน วิตามินอี และกรดน้ำดีซึ่งช่วยย่อยอาหาร ถ้าร่างกายมีคอเลสเตอรอลสูงเกินกว่าปกติ (มากกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ก็จะก่อให้เกิดผลเสียจากการที่คอเลสเตอรอลไปพอกตามผนังหลอดเลือดแดงทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย เป็นต้น เราจะพบคอเลสเตอรอลเฉพาะในสัตว์ และพบมากในอาหารที่มาจากเครื่องในสัตว์รวมทั้งไข่แดง

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) คือ ไขมันและน้ำมันที่ได้จากพืชและสัตว์มีสารประกอบส่วนใหญ่เป็นไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้ไตรกลีเซอไรด์ยังเกิดขึ้นได้จากกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท เช่น น้ำตาล ดังนั้นถ้าหากรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรทในปริมาณที่มากเกินไปจะมีผลทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ค่าปกติของไตรกลีเซอไรด์ควรอยู่ระหว่าง 35-160 mg/dl

ฟอสโฟลิปิด (Phospholipid) เป็นไขมันที่มีคุณสมบัติละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน

เรามาทำความเข้าใจกับโครงสร้างอย่างง่ายๆ ของกรดไขมันกันก่อน คือกรดไขมันจะประกอบด้วยธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน ซึ่งโมเลกุลของธาตุทั้งสามนี้ จะเกาะกันเป็นลูกโซ่มากน้อยตามแต่ละชนิด ซึ่งมีประมาณ 40 ชนิด

ไขมันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1.กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated Fatty Acids) คือเป็นไขมันเต็มตัวแล้ว คือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจนจับกันเป็นลูกโซ่โดยสมบูรณ์ และไม่มีช่องว่างเหลือที่จะทำปฏิกิริยากับสารใดๆ ในร่างกายได้ ดังนั้น ไขมันชนิดนี้จะอยู่ในรูปของแข็งในอุณหภูมิปกติ ไขมันจำพวกนี้จะพบมากใน ไขมันสัตว์ เช่น เนื้อหมู วัว และไขมันจากกะทิ มะพร้าว เนย ไข่แดงและอื่นๆไขมันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

2.กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fatty Acids) คือไขมันที่ธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจนจับกันยังไม่สมบูรณ์ นั่นคือ ยังมีช่องว่างในลูกโซ่เหลืออยู่และพร้อมที่จะทำปฏิกิริยาและจับกับสารอื่นๆ ในร่างกายได้และพร้อมจะเปลี่ยนแปรสภาพเป็นสารอื่นๆ ได้ พบมากในน้ำมันปลาแซลมอน น้ำมันเมล็ดพันธุ์บอเรจ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส น้ำมันจมูกข้าวสาลีและอื่นๆ ซี่งกรดไขมันไม่อิ่มตัวแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ไขมันชนิดนี้แทบไม่มีบทบาทอะไรกับปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา เป็นต้น
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง กรดไขมันชนิดนี้สำคัญต่อร่างกายมาก ช่วยในการทำงานของอวัยวะสำคัญในร่างกาย มีลักษณะเหลวแม้ในอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่ได้จากพืชและสัตว์น้ำบางชนิด เช่น น้ำมันทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด

 

ประโยชน์ของไขมันที่มีต่อร่างกาย

 

ให้พลังงานแก่ร่างกาย ไขมันเป็นอาหารสำคัญที่มีความจำเป็นต่อร่างกายและเป็น 1 ในอาหาร 5 หมู่ที่มีประโยชน์ ทั้งไขมันในอาหารยังช่วยทำให้อาหารนุ่ม และยังช่วยให้ผู้บริโภครู้สึกอิ่มได้นาน เนื่องจากไขมันย่อยได้ช้ากว่าโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ไขมันให้พลังงานแก่ร่างกายได้มากกว่าสารอาหารชนิดอื่น ช่วยทำให้ร่างกายมีพลังงานที่จะทำงานและประกอบกิจวัตรประจำวัยได้ตามปกติ

 

ช่วยในการละลายและการดูดซึมวิตามิน ไขมันจะไปช่วยในการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน (Fat soluble Vitamins) เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย

 

ช่วยปกป้องและกันความร้อน รวมทั้งคอยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ โดยไขมันทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน(Thermal Insulator) ของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย ช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อน ทำให้ผิวชุ่มชื่นไม่แตกแห้ง

 

ไขมันช่วยเป็นเสมือนกันชนให้ร่างกาย ไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย ช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนของอวัยวะภายในได้ คือช่วยป้องกันการกระเทือนของอวัยวะภายในร่างกาย ที่เกิดจากแรงกระแทกหรือการเคลื่อนไหวอย่างแรงของร่างกาย ซึ่งคอยป้องกันการบาดเจ็บของอวัยวะภายในร่างกาย 

 

เป็นองค์ประกอบของเซลล์เมมเบรนทุกชนิด ไขมันเป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อประสาท นั่นก็คือเส้นประสาทของคนเราจะมีไขมันเป็นส่วนประกอบในอัตราที่สูง โดยเฉพาะจะหุ้มเส้นประสาทช่วยในการป้องกันเส้นประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อถูกสั่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

 

เป็นส่วนประกอบของเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกาย ไขมันเมื่อรวมตัวกับโปรตีนก็คือ ไลโปโปรตีน (Lipoproteins) จะเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะผนังเซลล์และไมโตคอนเดรีย ส่วนนี้มีประโยชน์สำหรับคนเรามาก เพราะร่างกายของเราประกอบเป็นตัวตนด้วยเซลล์หลายๆ ล้านเซลล์ และเซลล์ของร่างกายเราจะผลิตทุกวันเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ นั่นก็คือถ้าร่างกายเราขาดไขมันผนังเซลล์ของร่างกายเราก็จะอ่อนแอ เซลล์ที่ตายไปก็ไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ค่ะ

 

ให้กรดไขมันจำเป็นแก่ร่างกาย คือ กรดลิโนเลอิก ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดผิวหนังอักเสบ และมีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของทารก นอกจากนั้นกรดไขมันจำเป็นยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดด้วย โดยจะไปรวมกับคอเลสเตอรอลอิสระได้เป็นคอเลสเตอรอลเอสเทอร์ ทำให้ละลายในเลือดได้ง่าย

 

 

www.flickr.com/photos/chiotsrun/4255041466/

Vitamin A คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

carotene-fruits-1“วิตามินเอ” (Vitamin A) เป็นวิตามินอีกตัวที่สำคัญและมีประโยชน์ไม่แพ้กับวิตามินชนิดอื่นๆ แต่ถึงจะมีประโยชน์มากมายเพียงใด การที่ได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอก็จะส่งผลต่อร่างกายของเราโดยเฉพาะดวงตา ผิวหนัง และระบบภูมิต้านทานโรค แล้วทำอย่างไรจึงจะไม่ขาดวิตามินเอจนร่างกายเจ็บป่วยล่ะและถ้าหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไปอีกล่ะ ดังนั้นเราจึงต้องมาทำความรู้จักกับประโยชน์และโทษของวิตามินชนิดนี้กันให้กระจ่างแจ้งกันค่ะ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ร่างกายของเราได้รับวิตามินชนิดนี้อย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุดและก็จะได้มั่นใจว่าจะไม่ก่อโทษต่อร่างกายตามมาในภายหลัง… วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา ร่างกายของเราสามารถสะสมวิตามินเอได้นานมากอาจนานได้ถึง 1 หรือ 2 ปี โดยเก็บไว้ในชั้นเซลล์ไขมัน  

วิตามินเอจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) หรือเรียกว่า Retinol ซึ่งได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา อาหารประเภทเนื้อ ไข่ ตับและเครื่องใน
  2. กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือเรียกว่า เบต้า แคโรทีน (Beta-Carotene) เป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกายจึงได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ พบมากในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม

 

เกี่ยวกับวิตามินเอ หรือ Retinol

  • วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน
  • วิตามินเอจะถูกดูดซึมไปใช้ในร่างกายได้ดีที่สุดเมื่อกินร่วมกับอาหารที่มีน้ำมันหรือไขมันเป็นส่วนประกอบ
  • เมื่อร่างกายใช้ไม่หมดก็จะเก็บสะสมไว้ที่ตับ
  • ถ้าได้รับวิตามินเอจากอาหารปกติ ไม่จำเป็นต้องกังวลว่าร่างกายจะได้รับอันตรายแต่อย่างใดเพราะมันไม่เข้มข้น
  • การไดรับวิตามินเอจากอาหารเสริมต่างๆ มักจะมีความเข้มข้นสูง ซึ่งหากได้รับเป็นระยะเวลานาน ก็ส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าประโยชน์
  • วิตามินเอมีหน้าที่ช่วยในการมองเห็น การเจริญเติบโตของกระดูก การแบ่งตัวของเซลล์ การกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค ซ่อมแซมผิวของตาและหลอดลมทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายยากขึ้น
  • วิตามินเอยังช่วยกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาวโดยเฉพาะ lymphocyte ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และระบบสืบพันธุ์
  • วิตามินเอ จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ Retinol และ Beta-carotene
  • วิตามินเอพบมากในอาหารประเภทเนื้อ ไข่ นม ตับและเครื่องใน ในรูปแบบของสารวิตามินที่ออกฤทธิ์ได้ทันที่ ที่เราเรียกว่า Retinal
  • ผักผลไม้ที่ให้วิตามินเอส่วนใหญ่จะมีสีเหลือง ส้ม แดง และเขียวเข้ม เช่น ผักปวยเล้ง  ผักโขม ข้าวโพด มันฝรั่ง ฟักทอง คะน้า เป็นต้น เพราะมีเบต้าแคโรทีนและแคโรนอยด์ที่อยู่ในรูปแบบสารตั้งต้น โดยร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอต่อไป
  • นมพร่องมันเนยจะมีวิตามินเอต่ำเพราะวิตามินเอละลายในไขมัน โดยในขณะที่วิตามินเอจากเนื้อสัตว์จะดูดซึมได้ดี
  • เนื่องด้วยวิตามินเอในผักผลไม้มีความไวต่อออกซิเจนมาก ดังนั้นวิธีการต้มที่ป้องกันการสูญเสียวิตามินได้ดีทีสุดคือ ควรปิดฝาภาชนะขณะต้มและใส่น้ำน้อยๆ
  • ร่ายกายคนเราต้องการวิตามินเอในแต่ละวันอยู่ที่วันละ 4,000-5,000 IU
  • การได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอจะส่งผลต่อร่างกายของเราโดยเฉพาะดวงตา ผิวหนัง และระบบภูมิต้านทานโรค
  • วิตามินเอ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตได้อย่างปกติ ไม่ชะงัก หรือหยุดการเจริญเติบโตก่อนวัย
  • วิตามินเอ ช่วยป้องกันอาการเบื่ออาหาร (แต่ถ้าได้รับมากเกินไปก็จะมีผลตรงกันข้าม)

 

 

ประโยชน์ของวิตามินเอ

คุณค่าของ “วิตามินเอ” เป็นที่รู้กันดีว่า คุณค่าทางโภชนาการของวิตามินเอนั้นที่เราต่างก็จะรู้จักกันในนามของวิตามินที่บำรุงสายตาที่สำคัญตัวหนึ่งนั้น โดยจะมีส่วนประกอบที่สำคัญของ “คอร์เนีย” ช่วยให้มีสายตาที่เป็นปรกติ เนื่องจากวิตามินเอจะช่วยในการบำรุงสายตา ช่วยให้ตาปรับสภาพในที่มืดได้ดี หรือช่วยป้องกันโรคตามัวตอนกลางคืนที่เราเรียกกันว่า Night Blindness ทำให้มองเห็นในที่มืดได้ดีขึ้น แต่นอกจากในเรื่องของการบำรุงสายตาแล้ววิตามินเอยังมีประโยชน์อีกมากมายที่เราอาจจะยังไม่ทราบกันค่ะ

 

วิตามินเอ ช่วยให้ไม่เป็นโรคตาฟาง คนที่เป็นโรคนี้จะมองเห็นในที่มืดได้ไม่ค่อยชัดทั้งๆที่มีแสงพอที่จะมองเห็นได้ ถ้าขาดวิตามินเอมากๆ ก็จะทำให้ไม่สามารถมองเห็นในที่มืดได้เลย ซึ่งมักเรียกคนที่มีอาการเหล่านี้ว่า “พวกตาบอดกลางคืน” โดย Retinol จะรวมตัวกับโปรตีนชื่อ ออพซิน (opsin) เป็นสารประกอบโรดอพซิน (rhodopsin) ซึ่งมีคุณสมบัติดูดแสงและปรับสายตาให้มองเห็น สารประกอบนี้จะสลายไปเมื่อถูกใช้แล้ว ดังนั้น การบริโภคอาหารที่ให้วิตามินเอที่เพียงพอในการสร้างโรดอพซินได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

 

วิตามินเอ ช่วยให้ตาสู้แสงในเวลากลางวัน คนที่ขาดวิตามินชนิดนี้ จะทำให้ตาไม่ค่อยสู้แสงในเวลากลางวัน ตาไวต่อแสงทำให้แสบตาง่าย และทำให้น้ำตาไหลได้ง่ายด้วย

 

วิตามินเอ ช่วยป้องกันเยื้อบุนัยน์ตาแห้ง คนที่ขาดวิตามินเอมากๆ เยื่อบุนัยน์ตาจะแห้งและมีโอกาสอักเสบได้ง่าย เปลือกตาบวม มีจุดขาวๆ ที่ตาเหมือนมีฟองน้ำเกาะที่เยื่อบุตา และมีเม็ดขึ้นบนผิวกระจกตา ซึ่งถ้าไม่รักษาและปล่อยให้ขาดวิตามินเอนานๆ อาจทำให้ตาบอดได้

 

วิตามินเอ ช่วยป้องกันผิวหนังแห้ง หยาบ และพุพอง คนที่ขาดวิตามินชนิดนี้ขั้นรุนแรงจะเป็นโรคหนังคางคก ซึ่งเป็นโรคที่ผิวหนังจะมีลักษณะเป็นตุ่มๆ สากๆ เกิดได้ทุกบริเวณของร่างกาย เช่น แขน ขา หลัง หน้าอกและหน้าท้อง เป็นต้น

 

วิตามินเอเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ช่วยไม่ให้เกิดสิวได้ง่าย เนื่องจากวิตามินชนิดนี้ เป็นวิตามินที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีผลช่วยให้ลดการเกิดสิวได้ง่าย บางคนที่รักษาสิวมาหลากหลายวิธีแต่สิวก็ยังคงไม่หายซักที อาจเป็นเพราะมีสาเหตุมาจากการขาดวิตามินชนิดนี้ก็เป็นได้

 

วิตามินเอช่วยให้เหงื่อไม่ออกง่าย เนื่องจากวิตามินเอ ทำให้รูปขุมขนที่ผิวหนังชั้นนอกมีการสะสมของเคราติน ทำให้เยื่อบุเป็นเกล็ดหนาและไม่ค่อยมีเหงื่อ

 

วิตามินเอ ช่วยป้องกันผิวแห้งแตกลายงา ถ้าหากไม่อยากให้ผิวแห้งแตกลายงาเหมือนดินที่ขาดน้ำ หรือแตกเป็นเกล็ดคล้ายคนขาดไขมัน ก็หมายความว่า คุณกำลังขาดวิตาเอ และไขมัน (เพราะวิตามินชนิดนี้ละลายในไขมัน)

 

วิตามินเอ ช่วยป้องกันเซลล์ชนิดเยื่อบุต่างๆ ของร่างกายไม่ให้เกิดการผิดปกติ ซึ่งถ้าเยื่อบุต่างๆ ของร่างกายผิดปกติ ก็จะทำให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเกิดผิดปกติไปด้วย เช่น มีการอักเสบของทางเดินหายใจ เพราะเยื่อบุบริเวณช่องจมูกเกิดผิดปกติ เป็นต้น

 

วิตามินเอเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย มีบทบาทสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยต่อสู้กับโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และปรสิต จึงทำให้ไม่ติดเชื้อง่าย ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยง่ายจนเกินไป

 

วิตามินเอกับผิวพรรณ ในแง่ของสุขภาพผิวและความสมดุลของฮอร์โมนนั้น วิตามินเอ มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยได้มีงานวิจัยยืนยันว่าผู้ที่เป็นสิวรุนแรงนั้นมีระดับวิตามินเอในเลือดต่ำ มีรายงานว่า หญิงที่มีภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลและเป็นสิว เมื่อได้รับได้รับอาหารเสริมวิตามินเอ สิวก็สามารถหายภายในไม่กี่สัปดาห์ รวมถึงรอยแผลสิวก็เริ่มลดลงหลังจากได้รับอาหารเสริมวิตามินเอ 2 สัปดาห์

 

 

อันตรายจากการขาดวิตามินเอ

โรคผิวหนัง เนื่องจากวิตามินเอมีส่วนสำคัญในการรักษาสภาพเยื่อบุผิวหนัง ขาดวิตามินเอทำให้ผิวพรรณขาดความชุ่มชื้น หยาบกร้าน แห้งแตก โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณข้อศอก ตาตุ่มและข้อต่อด่างๆ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคผิวหนัง เช่น สิวและโรคติดเชื้ออื่นๆ ได้

ตาฟาง หน้าที่ของวิตามินเอคือช่วยในการสร้างสารที่ใช้ในการมองเห็น หากขาดจะทำให้มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืนหรือในที่แสงสว่างน้อย และทำให้เยื่อบุตาแห้ง กระจกตาเป็นแผล ในกรณีที่ร่างกายขาดวิตามินเออย่างรุนแรงอาจทำให้ตาบอดได้

ความต้านทานโรคต่ำ วิตามินเอเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราทำงานตามปกติ การขาดวิตามินเอจึงทำให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ง่าย อีกทั้งยังทำให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูก ช่องปาก คอ และที่ต่อมน้ำลาย

อันตรายจากการได้รับวิตามินเอเกิน

แท้งลูกหรือพิการ หญิงมีครรภ์ที่ได้รับวิตามินเอมากเกินไปมีความเสี่ยงต่อภาวะทารกในครรภ์คลอดออกมาพิการหรือแท้งได้ เนื่องจากวิตามินเอมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้เด็กมีความผิดปกติที่ทางเดินปัสสาวะ กระดูกผิดรูป หรือมีติ่งปูดออกมาที่บริเวณหู

อ่อนเพลีย หากร่างกายได้รับวิตามินเอเกินครั้งละ 15,000 ไมโครกรัม จะมีผลทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและอาเจียนได้

เจ็บกระดูกและข้อต่อ เบื่ออาหาร เซื่องซึม นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ผมร่วง ปวดศีรษะ ท้องผูก ทั้งหมดนี้เป็นโทษในระยะยาวที่เกิดจากการรับประทานวิตามินเอมากเกินไป

ในสัตว์กระเพาะเดี่ยว เมื่อได้รับเกินความต้องการ 4-10 เท่า จะทำให้โครงกระดูกผิดปกติ

ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง เมื่อได้รับเกิน 30 เท่า จะเกิดอาการผิดปกติ

 

www.flickr.com/photos/jalb/117560810/

  • 1
  • 2