12 วิธีดื่มน้ำเปล่าอย่างไรให้ได้ประโยชน์ที่สุด
หลีกเลี่ยงไม่ได้ค่ะว่าการดื่ม “น้ำเปล่า” นั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายและดีอย่างไรนั้นเราได้เขียนไว้ในโพสก่อนๆไปแล้วในโพส “12 ประโยชน์แสนมหัศจรรย์ของการดื่มน้ำปล่า” และวันนี้เราเลยอยากจะมาพูดถึง 12 วิธีดื่มน้ำเปล่าอย่างไรให้ได้ประโยชน์ที่สุด เราจะได้ทราบกันว่าเราได้ดื่มน้ำผิดวิธีกันอยู่หรือเปล่า อย่างที่ทราบกันอ่ะเนอะว่า “น้ำ” เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกายซึ่งขาดไม่ได้ แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ไม่ชอบดื่มน้ำกัน บ้างก็กลัวว่าดื่มน้ำมาก ๆ จะทำให้เข้าห้องน้ำบ่อย หรือเหตุผลอีกต่างๆ นานา แต่ขอบอกเลยว่าการที่ไม่ดื่มน้ำจะทำให้คุณพลาดประโยชน์ที่แสนจะอัศจรรย์พันแปดของการดื่มน้ำไปอย่างไม่น่าให้อภัยเลยล่ะค่ะ เพราะ น้ำ คือสารอาหารที่สำคัญที่สุดของร่างกาย เพราะว่า 4/5 ส่วนของน้ำหนักตัวก็คือน้ำ มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้หลายสัปดาห์หากขาดอาหารแต่จะอยู่ได้เพียงไม่กี่วันหากขาดน้ำ โดยน้ำทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายหลักสำหรับอาหารที่ผ่านกระบวนการย่อยในกระเพาะ แต่ยังไม่มีปริมาณที่ให้ดื่มเฉพาะเจาะจงในแต่ละวัน เพราะการสูญเสียน้ำของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไปแล้วการดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วต่อวัน วันละประมาณ 2 ลิตร แต่ที่จริงแล้วเวลาและปริมาณในการดื่มหรือความถี่ของการดื่มเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันค่ะ “น้ำเปล่า” นับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะในร่างกายของมนุษย์ประกอบไปด้วยน้ำถึง 70% ซึ่งระบบภายในของร่างกายมนุษย์ ต้องใช้น้ำในการทำหน้าที่ของระบบร่างกาย เช่น ย่อยอาหาร ทำให้ระบบเลือดหมุนเวียนไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้เป็นอย่างดี ขับสารพิษออกจากร่างกาย แต่หากร่างกายของมนุษย์ได้รับน้ำเปล่าในแต่ละวันน้อยจนเกินไปก็จะส่งผลเสียให้กับร่างกาย เช่น เลือดจะมีความเข้มข้นหนืด จนทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกายไม่เพียง จะส่งผลให้เส้นเลือดตีบตัน สมองเสื่อมเพราะเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ในแต่ละวันร่างกายจะเสียน้ำวันละ 2 ลิตร จากการหายใจ ขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ ทำให้ร่างกายต้องได้รับน้ำจากการดื่มน้ำเปล่าให้ได้วันละประมาณ 2-3 ลิตร ซึ่งประโยชน์จากการดื่มน้ำเปล่าจะช่วยทำให้สุขภาพผิวดูมีน้ำมีนวลผิวพรรณไม่แห้งหยาบกร้าน ป้องกันการเกิดริ้วรอยที่ผิวหน้า เพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย และช่วยให้ระบบสมองทำงานได้ดีขึ้นเพราะสมองมีองค์ประกอบที่เป็นน้ำถึง 85%
ภาวะร่างกายขาดน้ำ ภาวะที่ร่างกายขาดน้ำ หมายถึง ภาวะที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากกว่าที่ร่างกายได้รับ ซึ่งถ้าหากขาดน้ำมากๆ และไม่ได้รับการทดแทนอย่างเพียงพอในเวลาที่เหมาะสม ก็อาจจะก่อให้เกิดผลเสียตามมาได้ หรือถ้าหากร่างกายได้รับน้ำมากเกินไปก็จะส่งผลเสียได้เหมือนกัน ปกติร่างกายเราจะสูญเสียน้ำจากทางเหงื่อ ลมหายใจ และการขับถ่าย นอกจากนี้เรายังสูญเสียเกลือแร่ออกจากร่างกายอีกด้วยในเวลาที่เราขับเหงื่อออกจากร่างกาย โดยเฉพาะในบ้านเราที่มีอากาศร้อนร่างกายก็ยิ่งต้องการน้ำมากขึ้น
ถ้าดื่มน้ำมากหรือน้อยไปจะเป็นอย่างไร?
ของทุกสิ่งทุกอย่างถ้ามากไปหรือน้อยไปนั้นก็เป็นผลไม่ดีทั้งสิ้น เช่น บางคนบอกดื่มน้ำเยอะๆแล้วจะดี ดื่มที 8-10 ลิตรต่อวันนั้นก็มีผลเสียเช่นกัน เพราะว่าจะทำให้สมดุลเกี่ยวกับน้ำและเกลือแร่ของร่างกายมันผิดไปจากที่ควร ซื่งอาจจะส่งผลทำให้เกิดอาการจากการที่มีเกลือแร่ต่ำได้ อย่างเช่น อาจจะมีอาการคลื่นใส้ อาเจียน เวียนศรีษะได้ เป็นต้น
สำหรับคนที่ดื่มน้ำน้อยไป ปัญหาก็คือ น้ำก็ไม่เพียงพอที่จะเอาไปใช้ในกระบวนการเผาผลานของร่างกาย เพราะฉะนั้นระบบต่างๆ ของร่างกายก็ไม่ดี รวมถึงอาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ทำให้เกิดโรคนิ่วต่างๆได้ เพราะฉะนั้นการดื่มน้ำให้เพียงพอ และเหมาะสมในแต่ละวันนั้น จะเป็นเรื่องดีต่อสุขภาพ
หน้าร้อนไม่ควรดื่มเครื่องดื่มประเภท กาแฟ ชาหรือว่าแอลกอฮอล์ ถือว่าเป็นข้อห้ามในอากาศที่ร้อนมาก เพราะสิ่งเหล่านี้จะดึงน้ำออกไปจากร่างกาย เพราะถ้าเราดื่มกาแฟจะทำให้เราปัสสาวะบ่อย ในการปัสสาวะหนึ่งครั้งเราจะเสียน้ำไปประมาณ 200 มิลลิลิตร ดื่มกาแฟเท่าใหร่มันก็จะดึงน้ำออกไปเป็นสองเท่า ยิ่งดื่มมากยิ่งทำให้เสียน้ำมาก
การดื่มน้ำเย็นๆ ในอากาศที่ร้อนมากๆ พอดื่มเข้าไปร่างกายเราจะใช้เวลาในการปรับอุณหภูมิให้เท่ากับอุณหภูมิของร่างกายเพื่อที่จะดูดซึมเอาไปใช้ได้ดี แต่ถ้าอุณหภูมิมันปรับไม่ได้ จะทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำได้แค่บางส่วนและน้ำก็จะออกไปทางระบบทางเดินอาหารและทางปัสสาวะ ทำให้ร่างกายเสียน้ำ และเกิดปากแห้ง ผิวแห้ง ปัสสาวะเหลืองขึ้นได้
ดื่มน้ำยังไงให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุด?
การดื่มน้ำที่ถูกวิธี โดยปกติเราควรที่จะดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วก็คือประมาณ 2 ลิตร หรือเราอาจจะคิดตาม น้ำหนักตัวคูณด้วย 33 เช่น คุณน้ำหนัก 60 kg นั้นคือ 60 X 33 = 1,980 ซีซี หรือประมาณ 2 ลิตร แต่ที่จริงแล้วเวลาและปริมาณในการดื่ม หรือความถี่ของการดื่มเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน การดื่มน้ำที่ฉลาดถูกวิธีและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายเรามากที่สุดง่ายๆ คือ
1.น้ำที่ดื่มถ้าจะให้ดีต้องเป็นน้ำอุณหภูมิปกติสะอาดหรือต้มสุก ไม่ควรที่จะร้อนมากหรือเย็นจัดเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่ก็ยกเว้นในบางกรณี เช่น ตอนเช้าถ้าเป็นไปได้ควรดื่มน้ำอุ่นเพราะจะช่วยในการขับถ่ายให้ดียิ่งขึ้น ลำไส้ก็จะสะอาดมากขึ้นตามไปด้วย
2.การดื่มนั้นที่ถูกต้องนั้นควรดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว หรือจะให้ดีก็วันละ 14 แก้ว หรือโดยเฉลี่ยแล้วควรดื่มน้ำให้เพียงพอกับน้ำหนักตัวของคุณ เช่น ถ้าคุณมีน้ำหนัก 60 kg. ก็ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร หรือประมาณ 10 แก้วนั่นเอง (กรณีนี้ให้นับรวมปริมาณอื่นๆด้วย เช่น น้ำจากผักผลไม้ แกง ก๋วยเตี๋ยวต่าง ๆด้วย)
3.เมื่อรู้สึกกระหายน้ำควรดื่มน้ำทันที ไม่ควรดื่มเร็วเกินไปเพราะอาจทำให้จุกหรืออาจเสียชีวิตได้ในกรณีที่เหนื่อยจัด
4.การดื่มน้ำควรดื่มครั้งละแก้ว และที่สำคัญไม่ควรดื่มรวดเดียวหลาย ๆแก้ว เพราะจะไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะ “น้ำเป็นพิษได้” เนื่องจากเลือดเจือจาง และอาจทำให้เป็นตะคริวหรือกล้ามเนื้อเกร็งได้
5.ไม่ควรดื่มน้ำมากเกินไปเพราะจะทำให้ระบบไตและระบบย่อยอาหารทำงานหนัก รวมทั้งอาจทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะปัสสะวะอักเสบได้อีกด้วย ยกเว้นในช่วงเวลาเพิ่งตื่นนอนหรือดื่มเพื่อบำบัด
6.ควรดื่มน้ำในปริมาณที่เพิ่มขึ้นกว่าปรกติ วันไหนที่ต้องกินอาหารรสจัดมากไม่ว่า เค็ม เผ็ด เปรี้ยว หรือมัน โดยเฉพาะขนมกรุบกรอบ
7.การดื่มน้ำเย็นบ่อยๆ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่อากาศเย็นจัดทำให้ระบบร่างกายต้องทำงานหนักเพื่อปรับอุณหภูมิของน้ำเย็นให้เท่ากับอุณหภูมิของร่างกาย และส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ การย่อยอาหารไม่ดีเท่าที่ควรถ้าต้องการดื่มน้ำเย็นให้ได้ประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุด
8.ควรดื่มหลังจากเพิ่งตื่นนอนหรือก่อนแปรงฟัน ควรดื่มน้ำ 2-4 แก้ว เป็นน้ำอุ่นๆ ได้ก็จะดีมากจากนั้นก่อนอาหาร 1 ชั่วโมงและหลังอาหาร 1 ชั่วโมงในแต่ละมื้อสุดท้ายก่อนนอน 1 ชั่วโมง คือ ในระหว่างวันควรดื่มน้ำ 1 แก้วทั้งก่อนและหลังมื้ออาหารทุก ๆมื้อ และในระหว่างช่วง สาย บ่าย เย็น ก็ควรดื่มน้ำอีกครั้งละ 1 แก้วนั่นเองค่ะ
9.อย่าดื่มน้ำมากเกินไปก่อนที่จะรับประทานอาหาร หรือถ้าจะดื่มก็ควรดื่มน้ำก่อนสักประมาณครึ่งชั่วโมง หรือ 45 นาที และในระหว่างรับประทานอาหารไม่ควรดื่มน้ำตลอดเวลา เพราะจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารเจือจาง ทำให้ระบบย่อยทำงานได้ไม่ดี
10.ภายหลังจากรับประทานอาหารเสร็จไม่ควรดื่มน้ำทันที เพราะจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะเจือจางลง ส่งผลให้การย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยควรดื่มหลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้วครึ่งชั่วโมง
11.หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็นและน้ำอัดลม เพราะน้ำเย็นจะไปดึงความร้อนในร่างกายมาทำให้น้ำที่เราดื่มเข้าไปมีอุณหภูมิเท่ากับร่างกาย จึงจะดูดซึมได้ ทำให้ร่างกายเสียเวลาในการปรับสมดุลและสูญเสียพลังงาน
12.ช่วงที่มีประจำเดือนควรงดดื่มน้ำเย็น สำหรับผู้หญิงที่มักมีอาการปวดประจำเดือนควรงดการดื่มน้ำเย็น เพราะการดื่มน้ำเย็นจะทำให้อาการปวดทวีความรุนแรงมากขึ้น
เห็นไหมล่ะคะ ว่าการดื่มน้ำเปล่าที่เราดื่มกันทุกวี่ทุกวันก็มีวิธีการดื่มด้วยเหมือนกัน หลายๆคนอาจเคยทำแบบที่ไม่ควรทำมาก่อน วันนี้ก็หวังว่าเรื่องนี้จะช่วยให้เข้าใจและปรับเปลี่ยนวิธีการดื่มน้ำกันได้มากขึ้นนะคะ เพื่อสุขภาพที่ดีของเราอย่าได้มองข้ามวิธีที่ถูกต้องในการดื่มน้ำเลยนะคะ 🙂
www.flickr.com/photos/kstepanoff/15113565826/
Leave a Reply