Browse Tag: คอลลาเจน

โปรตีน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

protein-foods-1
Source: Flickr (click image for link)

โปรตีน (Protein) เป็นสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งเป็นพอลิเมอร์สายยาวของกรดอะมิโน (amino acid) ส่วนในทางของโภชนาการโปรตีนนั้นเป็นสารอาหารที่ให้พลังงาน โดยโปรตีน 1 กรัมจะให้พลังงาน 4 แคลอรี (calorie) โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายของมนุษย์และสัตว์ ร่วมไปถึงสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นอย่างพืชด้วย โปรตีนเป็นส่วนประกอบของร่างกายที่มีปริมาณมากเป็นอันดับสองรองจากน้ำ โดยเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของเซลล์ของสิ่งที่มีชีวิตทุกชนิด เช่น เอนไซม์ (enzyme) ฮอร์โมน ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานและการดำรงชีวิต คำว่า Proteins เป็นคำที่มีจากภาษากรีก โปรตีนนั้นมีความสำคัญต่อร่างกายเนื่องจากมีหน้าที่สร้างเนื้อเยื่อ ควมคุมเมตาบอลิซึมของร่างกายและการเคลื่อนไหวของร่างกาย ในส่วนของพืชนั้นสามารถสังเคราะห์โปรตีนได้จากแหล่งไนโนโตเจนอนินทรีย์ แต่สัตว์ทั่วไปต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น

โปรตีนประกอบไปด้วยธาตุต่างๆ คือ คาร์บอน 50% ออซิเจน 20% ไนโตเจโดรเจน 6% และกำมะถันอยู่เล็กน้อย น้ำหนักของโมเลกุลโปรตีนมีน้อยมากจะถูกสังเคราะห์ในเซลล์ไรโบโซม ซึ่งมีหน่วยเล็กที่สุดของโปรตีนคือ กรดอะมิโน โดยกรดอะมิโนหลายโมเลกุลมาเรียงต่อกันเรียกว่าพันธะแปปไทด์ เมื่อเกิดการเรียงตัวกันก็จะกลายมาเป็นโปรตีน โดยโปรตีนในแต่ละชนิดจะให้ประโยชน์ที่แตกต่างกันค่ะ

กรดอะมิโน เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีน สามารถสร้างขึ้นเองในร่างกายของมนุษย์ในบางชนิดเท่านั้น และบางไม่สามารถสร้างเองได้ต้องอาศัยการรับประทานเข้าไป โปรตีนจะประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 12 -22 ชนิดเป็นโปรตีนที่อยู่ในอาหาร ส่วนโปรตีนที่อยู่ในร่างกายมี 20 ชนิดมีความจำเป็นสำหรับผู้ใหญ่ 8 ชนิด สำหรับเด็ก 9 ชนิด

กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายคือ กรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ต้องได้รับจากสารอาหารเท่านั้นได้แก่ ไอโชลูซีน ลูซีน ไลซีน เมโทรอนิน เฟนิลอะ ลานีน ทรูไอนิน ทรับโตเฟน วาลีน เด็กต้องการเพิ่ม อาร์จินิน ฮีสติดิน หากขาดกรดอะมิโนเหล่านี้จะทำให้เนื้อเยื่อไม่สามารถเจริญเติบโตได้

กรดอะมิโนไม่จำเป็นต่อร่างกาย ร่างกายสามารถสร้างได้เองโดยสร้างจากคาร์โบไฮเดรต ไขมัน ได้แก่ อะลานิน แอสพาร์ติก ซีสเอทีน กรดกลูดามิก อาร์จิมีน โพนลิน เซริน ไทโรซิน กลูตามีน

 

เกี่ยวกับโปรตีน (Protein)

ลักษณะของโปรตีน โปรตีนมีความสำคัญต่อร่างกายแต่ไม่สามารถสังเคราะห์ได้เองจึงต้องได้รับจากการรับประทานอาหารเข้าไป พืชสามารถสังเคราะห์จากไนโตรเจนและแอมโมเนียมที่อยู่ในดิน ดังนั้นสัตว์จะได้จากพืชกว่ากินเนื้อสัตว์เข้าไป โดยจะเปิดจากอะมิโนที่มีหลายชนิดที่เรียงต่อกันเป็นโปรตีน

แหล่งอาหารของโปรตีน จะพบได้จากพืชและสัตว์ แต่สัตว์จะให้โปรตีนที่สูงกว่าพืช แต่ถั่วเหลือถือว่ามีโปรตีนมากที่สุดและมีราคาถูกด้วย โดยในเนื้อสัตว์จะมีมากในเนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อหมู ไข่และเนื้อปลา ในส่วนที่ได้จากพืชจะเป็นพวกข้าวทั้งหลาย ข้าวสาลี ข้าวโพด  โปรตีนจากเนื้อสัตว์จะมีกรดอะมิโนที่ครบและสามารถนำไปใช้งานได้ทันที ในส่วนของโปรตีนที่ได้จากพืชนั้นก็จะเป็นถั่วเหลือง โดยถั่วเหลือง 34%  เนื้อไก่ 23.4%  ไข่ 13%

protein-foods-2
Source: Flickr (click image for link)

โปรตีนแบ่งได้ 2 แบบคือ แบ่งตามสมบัติทางเคมีและแบ่งตามสมบัติทางโภชนาการ

(แบบที่1) แบ่งตามสมบัติทางเคมี

1.Simple Proteins เป็นโปรตีนที่เกิดจากกรดอะมิโนมาเรียงต่อกัน และมีการย่อยสลายออกมาเป็นกรดอะมิโนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

2.Conjusgated Protein หรือเรียกอย่างว่าโปรตีนประกอบเป็นการรวมตัวของ Simple Proteins และสารชนิดอื่นที่ไม่ใช่โปรตีน เรียกว่า พรอสเททิก (Prosthetic Group) มักพบในเม็ดเลือดและตามต่อมต่างๆ

3.Derived Proteins เป็นโปรตีนที่ย่อยสลายโปรตีน 2 กลุ่มแรก โดยการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มากระทบ อย่างเช่น แสง ปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้โมเลกุลมีการเรียงตัวใหม่เป็นโครงสร้างจากเดิมแต่มีน้ำหนักเท่าเดิม

(แบบที่2) แบ่งตามสมบัติโภชนาการ

1.โปรตีนสมบูรณ์ (Complete protein) เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบทุกชนิดในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายมีความเจริญเติบโต แข็งแรง จะมีอยู่ในเนื้อนม ไข่

2.โปรตีนไม่สมบูรณ์ (Incomplete protein) เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมีโนที่จำเป็นอยู่ไม่ครบหรือว่ามีมากกว่า ไม่มีประโยชน์และความจำเป็นต่อร่างกายได้ มักจะอยู่ในข้าว ผัก

 

ประโยชน์ของโปรตีนที่มีต่อร่างกาย

 

สร้างและซ่อมแซมส่วนที่ศึกหรอ เสริมสร้างเนื้อเยื้อให้กับส่วนต่างๆของร่างกาย โปรตีนจะถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนก่อนที่จะถูกซึมผ่านลำไส้เล็กไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย

 

สร้างโปรตีน เอนไซม์ ฮอร์โมน ควบคุมการทำงานของร่างกาย ในการสร้างเอนไซม์หรือนำไปย่อยอาหารและปฏิกิริยาต่างๆ สร้างฮอร์โมนในการควบคุมการทำงานของร่างกายและแอนติบอดี้ของร่างกายและโปรตีนยังช่วยในการสร้างเซลล์ผิว เพราะในบริเวณใต้ผิวหนังจะมีใยคอลลาเจนที่สร้างจากโปรตีน ช่วยให้ผิวหนังเกิดความหยุ่ยนุ่ม ไม่แข็งกระด้าง นอกจากนั้นโปรตีนสามารถเพิ่มความแข็งแรงของเล็บ เส้นผม และเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสาททั้งหมดของร่างกายเข้าด้วยกัน

 

รักษาสมดูลของกรด – ด่างในร่างกาย เนื่องจากร่างกายของเราเกิดกรดขึ้นตลอดเวลา เนื่องจากการเมตาบริซึมของร่างกายอย่างเช่น กรดกำมะถัน กรดแลดติก เป็นต้น โปรตีนจะเป็นได้ทั้งกรดและด่างจึงทำให้ร่างกายได้รับทั้งสองอย่าง ซึ่งเป็นการสร้างบัฟเฟอร์ในการสร้างความสมดุลของกรดด่างไว้

 

รักษาสมดุลน้ำในร่างกาย โปรตีนจะทำหน้าที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนที่ของเหลวกับเซลล์ทั้งนำภายในเซลล์และรอบๆเซลล์ จึงทำให้น้ำสามารถเข้าออกของเซลล์ได้ โปรตีนจึงทำหน้าที่ควบคุมน้ำในการออสโมติกให้สมดุล

 

ให้พลังงานแก่ร่างกาย โปรตีนนั้นจะถูกเผาผลาญและให้พลังงานออกมา โดยโปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลลอลี ในกรณีที่เหลือจากการที่ร่างกายนำไปใช้ซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อ

 

การแข็งตัวของเลือด เมื่อเกิดบาดแผลจะมีการสร้างไฟบริด โดยโปรตีนในการอุดที่บาดแผลทำให้เลือดนั้นหลุดไหลได้

 

 

www.flickr.com/photos/artizone/6788516807/

www.flickr.com/photos/arepb/3085141320/

ทองแดง คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

copper-foods-1
Source: Flickr (click image for link)

ทองแดง (Copper) เป็นเกลือแร่หรือแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายอีกหนึ่งตัวค่ะ เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย โดยในร่างกายของคนเรานั้นจะมีทองแดงประมาณ 70-150 มิลลิกรัม และส่วนใหญ่อยู่ในตับ สมอง หัวใจและ ไตนั่นเอง ซึ่งทองแดงนั้นมีประโยชน์มากมาย เช่น ในการช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และยังเป็นตัวประกอบสำคัญที่ช่วยในการขนส่งธาตุเหล็กในเลือดของเรา ทำให้เราไม่เป็นโรคโลหิตจางนอกจากนี้ นอกจากนี้ ทองแดง ยังเป็นแร่ธาตุที่ช่วยปรับระดับออกซิเจนในเนื้อเยื่อให้อยู่ในภาวะสมดุล ไม่มากหรือน้อยจนทำให้เกิดปัญหาต่อร่างกาย สร้างเม็ดเลือดสีหรือเมลานินให้กับผิวหนัง และทองแดงก็ช่วยสร้างคอลลาเจนและช่วยทำให้กระดูกและผนังหลอดเลือดมีความแข็งแรง ที่สำคัญทองแดงเป็นตัวช่วยลดความอันตรายที่เกิดจากสารตะกั่วและแคดเมียม ซึ่งอาจจะทำให้ร่างกายของเราเจ็บป่วยได้นั่นเองค่ะ ทองแดงเป็นแร่ธาตุ ที่ไม่ว่าเราจะได้รับจากอาหารตามธรรมชาติหรือจากรูปแบบอาหารเสริมก็สามารถเป็นพิษได้ทั้งนั้น ซึ่งหากได้รับในปริมาณมากๆก็จะทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดกระเพาะอาหาร ปวดกล้ามเนื้อ และอาจทำให้เป็นโรคโลหิตจางได้เช่นกันเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกสลาย นอกจากนี้หากว่าได้รับการสะสมเป็นระยะเวลานานๆก็อาจทำให้ตับมีปัญหา และอาจจะร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้นะคะ

ภาวะการขาดธาตุทองแดง จะมีผลต่อความเจิรญเติบโตและกระบวนการสร้างและสลายของร่างกายอย่างรุนแรง และที่สำคัญคือจะพบความผิดปกติของการสร้างเม็ดลือดแดง ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง และเอนไซม์ที่มีทองแดงเป็นองค์ประกอบ ก็จะทำงานได้ไม่ดี

       

เกี่ยวกับทองแดง หรือ Copper

  • ทองแดง  เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นของเนื้อเยื่อทุกชนิดที่ร่างกายต้องการ แต่ในปริมาณน้อยมากต่อวัน
  • ทองแดง  ในร่างกายคนเราจะมีทองแดงประมาณ 70-150 มิลลิกรัม ส่วนใหญ่อยู่ในตับ สมอง หัวใจและไต
  • ทองแดง เป็นส่วนประกอบในเอนไซม์หลายตัวในร่างกาย เช่น การสร้างพลัง งานให้แก่ร่างกาย
  • ทองแดง จำเป็นสำหรับการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและการสร้างพังผืดเนื้อเยื่อ และมันยังเกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดสีในผิวหนัง
  • ทองแดง ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี
  • ทองแดง การมีธาตุเหล็กและสังกะสีในร่างกายมากเกินไปก็จะไปขัดขวางการดูดซึมทองแดงได้
  • ทองแดง ร่างกายต้องการทองแดงเพื่อใช้ในการเปลี่ยนธาตุเหล็กให้เป็นเฮโมโกลบิน (ส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง) มีความสำคัญในการนำพาออกซิเจนไปยังเซลล์
  • ทองแดง เป็นแร่ธาตุ 1 ใน 18 ตัว ที่ร่างกายต้องมี
  • ทองแดง เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีธาตุทองแดงอยู่ด้วย และเมื่ออาหารนั้นถูกย่อยแล้ว ทองแดงจะเข้าไปสู่สายเลือดได้ภายใน 15 นาที
  • ทองแดง ร่างกายจะดูดซึมทองแดงที่บริเวณลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือดได้เล็กน้อยที่เหลือก็จะถูกขับถ่ายไปกับอุจจาระและทองแดงบางส่วนจะไปสะสมอยู่ที่เม็ดเลือดแดง สมอง และตับ
  • ทองแดง การขาดธาตุทองแดง จะมีผลต่อความเจิรญเติบโตและกระบวนการสร้างและสลายของร่างกายอย่างรุนแรง
  • ทองแดง เมื่อขาดจะทำให้ เหนื่อยง่าย โลหิตจาง ผมแข็งและขดเป็นเกลียว สีผมและสีผิวจาง ติดเชื้อง่าย การหายใจผิดปกติ บวมน้ำ กระดูกพรุน เป็นแผลที่ผิวหนัง ต่อมไทรอยด์ หัวใจ และระบบประสาททำงานผิดปกติ
  • ทองแดง หน้าที่อีกส่วนหนึ่งของทองแดง ทำให้เส้นผมดกดำและผิวหนังดูมีผิวพรรณดีขึ้น
  • ทองแดง มีหน้าที่ส่งเสริมการทำงานของวิตามิน C ให้ดีขึ้นด้วย
  • ทองแดง ช่วยในการสร้างโปรตีน
  • ทองแดง ช่วยสร้างความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อ
  • ทองแดง แหล่งอาหารที่พบธาตุทองแดง พบใน ตับ หอยนางรม อาหารทะเล ผลไม้เปลือกแข็ง เมล็ดพืช ถั่วที่ยังไม่ขัดสี ผลไม้แห้ง มะม่วง ลูกพรุน กล้วย เห็ด มันแกว หัวบีท นม เนื้อวัว ไข่ มันฮ่อ เมล็ดงา เมล็ดทานตะวัน เมล็ดถั่วลันเตา ถั่วอัลมอนด์ บริวเวอร์ยีสต์ เลซิติน โมลาส( MOLASSES )หรือน้ำเหลืองอ้อย น้ำดื่ม ผักใบเขียว และผลไม้สดโดยเฉพาะผลไม้ที่ปลูกในดินซึ่งมีธาตุทองแดง
  • ทองแดง สามารถพบทองแดงได้ในน้ำประปาอีกด้วย
  • ทองแดง การปรุงอาหารด้วยกระทะทองแดงเองก็จะมีทองแดงปนออกมา
  • ทองแดง มักพบว่าอาหารที่มีเหล็กจะมีทองแดงด้วย
  • ทองแดง ส่วนใหญ่ร่างกายมักไม่ขาดทองแดงค่ะ เพราะในอาหารที่รับประทานแต่ละวันจะได้รับทองแดงถึง 2000 ไมโครกรัมขึ้นไป
  • ทองแดง อาจจะพบการขาดทองแดงในเด็กที่คลอดก่อนกำหนดที่น้ำหนักต่ำกว่า 1500 กรัม
  • ทองแดง พบว่าเด็กที่ขาดธาตุทองแดงมาจากการเลี้ยงด้วยนมวัวเพียงอย่างเดียวไม่ให้นมมารดา
  • ทองแดง ปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันก็คือประมาณ 1000 ไมโครกรัม

 

 

ประโยชน์ของทองแดง หรือ copper

 

มีความสำคัญต่อเมแทบอลิซึมของธาตุเหล็ก โดยที่ทองแดงในพลาสมาที่อยู่ในรูปของ เซรูโรพลาสมิน (Ceruloplasmin) จะเปลี่ยนเหล็กจาก เหล็กเฟอรัสไปเป็นเหล็กเฟอริค แล้วเหล็กเฟอริคจะรวมตัวกับอะโพทรานส์เฟอริน (Apotransferrin) กลายเป็น ทรานส์เฟอร์ริน (Transferrin) ซึ่งทำหน้าที่ขนถ่ายเหล็กในร่างกาย

 

เป็นส่วนหนึ่งของน้ำย่อยไทโรซีเนส (Tyrosinase) ซึ่งจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลง ไทโรซีนไปเป็นเมลานิน(Melanin) ซึ่งเป็นสีคล้ำของผมและผิวคน เป็นส่วนประกอบในน้ำย่อยไซโตโครม ซี ออกซิเดส (Cytochrome C Oxidase) น้ำย่อยแคแทเลส (Catalase) ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบหายใจ และการปล่อยพลังงานในเซลล์

 

เป็นสิ่งจำเป็นในการเผาผลาญโปรตีนและผลิต RNA (RIBONUCLEIC ACID) ซึ่งควบคุมการสร้างเซลล์ต่างๆ ให้เป็นไปอย่างปรกติและถูกต้อง และมีความสำคัญเกี่ยวกับระบบโครงสร้างเนื้อเยื่อ รวมทั้งการผลิต ฟอสโฟไลปิด (PHOSPHOLIPID) เป็นสารสำคัญในการสร้างแผ่นหุ้มรอบเส้นประสาท

 

ช่วยในการใช้กรดอะมิโนและไทโรซีน ( โปรตีน ) ให้มีประสิทธิผล และช่วยในการเกิดสีของผม และสีของผิวหนัง

 

ทองแดงและวิตามินซีจะร่วมมือกันในการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกายที่ช่วยบำรุงรักษาผิวหนังและทำให้ผิว หนังเกิดความยืดหยุ่น

 

ช่วยในขบวนการสร้างเนื้อหนังขึ้นใหม่ในรายที่เป็นแผล

 

ช่วยในการสร้างฮีโมโกลบินและเม็ดโลหิตแดง

 

เป็นตัวสำคัญในการสร้างกระดูกให้เป็นไปตามปรกติ และรักษาให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

 

ปริมาณของทองแดงที่ร่างกายควรได้รับ

องค์กรที่เกี่ยวข้องด้านอาหารของสหรัฐอเมริกา (Institute of Medicine) ได้แนะนำปริมาณทองแดงที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันดังนี้

เด็กแรกเกิด – 6 เดือน                               200   ไมโครกรัม/วัน (Micrograms/mcg)

อายุ 7 – 12 เดือน                                     220   ไมโครกรัม/วัน

อายุ 1 – 3 ปี                                             340   ไมโครกรัม/วัน

อายุ 4 – 8 ปี                                             440   ไมโครกรัม/วัน

อายุ 9 – 13 ปี                                           700   ไมโครกรัม/วัน

อายุ 14-18 ปี                                           890   ไมโครกรัม/วัน

อายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป                               900   ไมโครกรัม/วัน

 

www.flickr.com/photos/usdagov/8453560535/

10 ชนิดของอาหารที่มีเอสโตรเจนสูง

eating-strawberry-1
Source: Flickr (click image for link)

หลายคนคงมึนงงกับหัวข้อบล็อควันนี้กันว่าเอ๊ะ ชนิดของอาหารเอสโตรเจนคืออะไร? และมีประโยชน์ยังไง แต่อย่าเพิ่งกังวลไปค่ะวันนี้ผู้หญิงอย่างเราๆจะได้รับรู้ข้อมูลที่มีประโยชน์มากมายจากหัวข้อนี้แน่นอนค่ะ ทุกวันนี้การที่จะหาเวลารับประทานอาหารที่ว่ายากแล้วยังไม่เท่ากับการที่จะกินอะไรดีเพื่อให้ได้ประโยชน์และคุณค่าต่อร่างกาย และก็ดูเหมือนว่าสมัยนี้โรคต่างๆนั้นอยู่ไม่ห่างจากเราสักเท่าไหร่ อาหารที่ว่าดีบางทีกินไปแล้วยังทำให้เกิดโรค เอ๊ะทำไมโลกเรามันช่างอยู่ยากขึ้นทุกวันนะ นอกจากอาหารที่เป็นปัจจัยหลักในการดำรงค์ชีวิตของเราแล้ว มลภาวะรอบด้านในแต่ละวันก็ยังก่อปัญหาให้เราอีกอยู่ร่ำไป… เอาล่ะเรามาเข้าเรื่องของเรากันดีกว่าเนอะ เลยเถิดไปใหญ่แล้ว อิอิ  อาหารที่เรารับประทานในแต่ละวันนั้นมีผลต่อร่างกายเราโดยตรงเพราะในอาหารนั้นมีสารอาหารที่แตกต่างกันไป แต่วันนี้เราจะมารู้จักกับสารตัวหนึ่งที่อยู่ในอาหารและทำให้เราแก่ช้าลงค่ะ นั่นก็คืออาหารที่มีฮอร์โมนเพศหญิงหรืออาหารที่มีเอสโตรเจนสูงนั่นเองค่ะ เหมาะกับสุขภาพผู้หญิงที่ต้องการปรับฮอร์โมนเพศหญิงให้อยู่ในระดับสมดุลกับร่างกาย คืนความสดใสและ healthy ดีดี๊ที่ผู้หญิงคู่ควรกันค่ะ ก็ยังคงมีความงุนงงกันไปอีกว่าเอ..เจ้าฮอร์โมนที่ว่านี้มันคืออะไรกันนะ งั้นก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเจ้าฮอร์โมนตัวนี้กันก่อนเลยค่ะ ฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ ฮอร์โมนเพศหญิงที่มีความสำคัญกับสุขภาพผู้หญิงทุกคน เพราะฮอร์โมนเพศหญิงจะช่วยในเรื่องการบำรุงดูแลผิวพรรณ เป็นสารสำคัญของความดูม ๆ ที่หน้าอกหน้าใจ โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ เอสโตรเจนก็จะช่วยในการผลิตน้ำนม อีกทั้งยังมีความสำคัญกับการทำงานของมดลูกและรังไข่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายก็จะลดระดับลง ยิ่งเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เจ้าเอสโตรเจนของสาว ๆ ก็จะหายหน้าหายตาไปซะเฉย ๆ ส่งผลให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น ผมร่วง หัวล้าน เป็นต้น โอ๊ย ตาย ๆ ถ้าชีวิตเดินไปถึงจุดนั้นขึ้นมา สาว ๆจะหาเอสโตรเจนมาเติมเต็มร่างกายได้จากที่ไหนกันบ้างล่ะ หรือจะเติมเอสโตรเจนให้ร่างกายจากอาหารเหล่านี้ดีนะ เห็นไม่ผิดหรอกค่ะ ในอาหารบางประเภทที่เราไม่เคยทราบมาก่อนเนี่ยแหละค่ะ สามารถที่จะเติมเต็มส่วนของเอสโตรเจนที่หายไปของเราได้ อย่างที่ทราบกัน “การ ลดลงของฮอร์โมนของผู้หญิงและของผู้ชายจะมีความแตกต่างกัน ผู้หญิงมีการลดลงของฮอร์โมนมากกว่าผู้ชาย เห็นได้ว่าในช่วงอายุใกล้กัน ผู้หญิงจะดูแก่กว่า เพราะเวลาฮอร์โมนลดลงจะลดเร็ว แต่สำหรับผู้ชายจะค่อยๆ ลดลง จึงทำให้การเปลี่ยนแปลงของผู้ชายช้ากว่า แต่ของผู้หญิงจะชัดมาก” คงไม่ต้องเสียเวลาสงสัยกันล่ะค่ะ เราไปดูกันดีกว่าว่ามีอาหารชนิดไหนบ้างไปดูกันเลยค่ะ 

เอสโตรเจนจำเป็นต่อทั้งชายและหญิง เพราะเป็นตัวการสำคัญในการสร้างกระดูก และ มีผลต่ออารมณ์ แต่ถ้าจะเน้นเรื่องหน้าใสผิวพรรณผ่องใส เอสโตรเจนนี่แหละค่ะที่สำคัญกว่าการใช้เครื่องสำอางค์เป็นไหนๆ

เอสโตรเจนได้มาจาก
1. จิตใจ : จิตใจที่ไม่เครียด ไม่รีบร้อน เย็น ๆ รักของสวยงาม มีสมาธิ  จิตแบบนี้ก็จะสร้างเอสโตรเจนได้เอง

2. อาหาร : อาหารต่างๆเหล่านี้แหละที่ให้เอสโตรเจนสูง

 

 

10 ชนิดของอาหารที่ช่วยปรับฮอร์โมนเอสโตรเจน

 

1.น้ำมะพร้าว

น้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้างคอลลาเจน และอีลาสติน ช่วยกระชับผิวพรรณให้เต่งตึง มีความยืดหยุ่น ชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัย อีกทั้งน้ำมะพร้าวยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ขับของเสียหรือสารพิษออกจากร่างกาย คล้ายกับการทำดีท็อกซ์ จึงช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใส อีกทั้งความเป็นด่างของน้ำมะพร้าวยังช่วยปรับสมดุลของร่างกายในช่วงที่มีความเป็นกรดสูง ทำให้กลไกการทำงานของระบบภายในร่างกายเป็นปกติ ส่งผลให้มีสุขภาพดีทั้งภายในและภายนอก

 

2.ลูกพรุน

ในลูกพรุนมีไฟโตเอสโตรเจน สารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิงอยู่พอสมควร แถมยังเปี่ยมไปด้วยไฟเบอร์ ที่จะช่วยในเรื่องการขับถ่าย การปรับสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด จะจัดเป็นของว่างอาหารคลีนที่กินแล้วไม่ต้องกลัวอ้วนก็เวิร์ก หรือกินเพื่อเติมฮอร์โมนเอสโตรเจนเข้าไปปรับสมดุลร่างกายก็เด็ด

 

3.เมล็ดแฟลกซ์

เมล็ดแฟลกซ์ก็เป็นซูเปอร์ฟู้ดที่อุดมไปด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนเช่นกัน โดยนอกจากจะช่วยเติมเต็มฮอร์โมนแห่งความเป็นเพศหญิงให้สาว ๆ แล้ว เมล็ดแฟลกซ์ยังมีดีในเรื่องช่วยลดน้ำหนัก ปรับสมดุลการทำงานของระบบย่อยอาหาร และช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกายได้อีกต่างหาก ประโยชน์สุดจี๊ดของเมล็ดแฟลกซ์แบบนี้สาว ๆ จะพลาดได้ยังไงล่ะเนอะ

 

4.งา

ธัญพืชมากประโยชน์อย่างงาก็มีโฟโตเอสโตรเจนสูงไม่แพ้ใคร โดยอยู่ในรูปสารลิกแนน โฟโตเอสโตเจนชนิดหนึ่ง ที่ออกฤทธิ์ไม่ต่างจากฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายเลยสักนิด ซึ่งเมื่อบวกกับปริมาณไฟเบอร์ที่สูง แร่ธาตุต่าง ๆ โดยเฉพาะธาตุเหล็กและแมกนีเซียม ธัญพืชอย่างงาจึงเป็นอาหารบำรุงสุขภาพผู้หญิงที่หากไม่กินก็ถือว่าพลาดเชียวล่ะ

 

5.ถั่วชนิดต่างๆ

โฟโตเอสโตรเจนคือสารที่เราหาได้จากถั่วหลาย ๆ ชนิด ซึ่งแปลได้ว่าหากอยากกินอาหารเพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง ถั่วก็เป็นอาหารที่ควรคู่กับครัวบ้านคุณพอสมควร นอกจากนี้ถั่วยังอุดมไปด้วยโปรตีน และไฟเบอร์สูง ดังนั้นสาว ๆ สามารถกินถั่วหมุนเวียนกันไป ในแต่ละวันได้ชิล ๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นถั่วชนิดฝัก ถั่วลิสง ถั่วพิตาชิโอ ถั่วแระ ถั่วลันเตา ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว หรือแม้กระทั่งถั่วงอก

 

6.เต้าหู้

เต้าหู้มีไอโซฟลาโวน ฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดหนึ่งจากธรรมชาติ ที่ร่างกายจะดูดซึมได้ดี ที่สำคัญในเต้าหู้ยังอุดมไปด้วยธาตุเหล็กและโปรตีนที่สูงเทียบเท่าเนื้อสัตว์ได้ชิล ๆ แถมกินแล้วไม่อ้วนด้วยนะ

 

7.น้ำเต้าหู้

ทั้งถั่วเหลืองและเต้าหู้ก็เป็นอาหารมีเอสโตรเจนอยู่แล้ว น้ำเต้าหู้เลยไม่ขอยอมแพ้ แอบมีโฟโตเอสโตรเจนแฝงอยู่ในน้ำเต้าหู้สีขาวนวลด้วย และข้อดีของการรับฮอร์โมนเอสโตรเจนจากน้ำเต้าหู้ก็คือ น้ำเต้าหู้แอบแฝงเอสโตรเจนมาในรูปของเหลว ทีนี้ร่างกายก็จะดูดซึมและนำฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ได้ไปใช้ได้อย่างรวดเร็วนั่นเองนะคะ

 

8.ข้าวสาลีและโฮลเกรน

ข้าวสาลีและโฮลเกรนทุกชนิดมีฮอร์โมนเอสโตรเจนธรรมชาติชนิดไอโซฟลาโวน ซึ่งช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายได้อีกทาง โดยนอกจากข้าวสาลีและโฮลเกรนแล้ว ผักอย่างบรอกโคลีและกะหล่ำม่วงก็มีโฟโตเอสโตรเจนด้วยเช่นกัน

 

9.แครอท

แครอทมีสารลิกแนน โฟโตเอสโตรเจนชนิดหนึ่งที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ทางโภชนาการจึงจัดแครอทให้เป็นอาหารที่มีฮอร์โมนเพศหญิงด้วย ซึ่งนอกจากแครอทแล้ว ยังมีกะหล่ำ สตรอเบอร์รี แอปริคอต และซูกินี ที่เป็นอาหารมีเอสโตรเจนด้วยเหมือนกัน

 

10.องุ่นและผลไม้ตระกูลเบอร์รี่

ผลไม้ตระกูลเบอร์รีมีสารเรสเวอราทรอล (Resveratrol) ซึ่งการศึกษาจาก Experimental and Therapeutic Medicine พบว่า สารเรสเวอราทรอลมีหน้าที่คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน มีวิตามินซีสูง ดีต่อสุขภาพผิว และเป็นผลไม้ที่กินแล้วไม่อ้วนด้วยนะจ๊ะ

 

อย่างไรก็ตาม ก่อนรับประทานอาหารที่มีเอสโตรเจนเหล่านี้ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือนักโภชนาการด้วยนะคะ เพราะการมีฮอร์โมนเพศหญิงมากเกินไป อาจส่งผลให้ระบบฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน จนส่งผลกระทบและความเสี่ยงทางด้านสุขภาพมากกว่าผลดี ดังนั้นเราจึงควรแน่ใจก่อนว่า ร่างกายของเราขาดแคลนฮอร์โมนเพศหญิงจนต้องรับประทานอาหารเสริมเหล่านี้หรือเปล่า 🙂

 

www.flickr.com/photos/anabadili/3375657138/

Vitamin C คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

orange-lemon-1
Source: Flickr (click image for link)

HealthGossip วันนี้จะมาบอกเล่าสู่กันฟังถึงเรื่องเราของ “วิตามินซี” หลายๆคนคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักวิตามินซีกันใช่ไหมล่ะคะ ส่วนใหญ่ก็คงจะทราบกันว่าวิตามินซีนั้นช่วยให้ผิวของเราขาวใสหรือจะป้องกันอาการไข้หวัดอะไรทำนองนั้น แต่ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับวิตามินซีแบบลึกซึ้งให้เข้าใจแจ่มแจ้งกันไปเลยทีเดียวค่ะ ขอเท้าความจากประวัติการค้นพบ วิตามินซี กันก่อนเลยนะคะ วิตามินซีนั้นเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 18 ได้มีการสังเกตว่าพวกทหารเรือที่มีการรอนแรมออกเดินเรือไปในทะเลเป็นเวลานานๆ ซึ่งมักจะขาดแคลนพวกผักสดผลไม้สด มักจะป่วยเป็นโรคลักปิดลักเปิดและสุขภาพไม่ค่อยดีมีอาการอ่อนเพลียอยู่บ่อยๆ แต่ก็มีคนสังเกตเห็นว่าจะไม่พบอาการดังกล่าวในทหารเรือที่รับประทานมะนาวเป็นประจำ ดังนั้นต่อมาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก้าวหน้ามากขึ้นในปี 1982 ก็สามารถหาสารอาหารสำคัญที่เป็นต้นเหตุของโรคดังกล่าวได้ว่าสารที่พวกทหารเรือขาดไปคือ “กรดแอสคอร์บิค (Ascorbic acid)” ซึ่งมันมีฤทธิ์สามารถช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิดได้ ในปัจจุบัน กรดแอสคอร์บิค ก็ถูกรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อของ “วิตามินซี” และมีนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งซึ่งเคยได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้ง และมีอายุยืนยาวมากกว่า 90 ปีแม้จะป่วยเป็นโรคมะเร็งมายาวนานถึง 20 ปีก็ตาม ท่านนั้นก็คือ Dr.Linus Pauling ชาวเมืองพอรต์แลนด์ ได้เคยพูดไว้ว่า เหตุที่เขาสามารถมีสุขภาพดีและสามารถชะลอการลุกลามของโรคมะเร็งในตัวได้นานกว่า 20 ปี ก็เนื่องจากวิตามินและเกลือแร่ ที่เขารับประทานเข้าไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินซีซึ่งหลังจากที่เขารับประทานขนาดสูงทุกวัน เขาก็ไม่เคยเป็นหวัดอีกเลย Dr.Linus Pauling เริ่มรับประทาน วิตามินซี ชนิดเม็ดตั้งแต่อายุ 40 ปี และเพิ่มขนาดสูงถึง 18,000 มิลลิกรัม เมื่อรู้ว่าตนเองเป็น มะเร็ง ตั้งแต่อายุได้ 64 ปี เขายืนยันว่ามันช่วยให้มะเร็งในร่างกายสงบลงนั่นเอง

 

เกี่ยวกับวิตามินซี หรือ กรดแอสคอร์บิก

  • วิตามินซีนั้นเป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ร่างกายไม่สามารถที่จะสร้างขึ้นเองได้จึงจำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานเข้าไป
  • วิตามินซีมีมากในผักสดและผลไม้สด โดยเฉพาะส้ม มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว รสเปรี้ยว
  • เมื่อละลายน้ำมีฤทธิ์เป็นกรดและเป็นวิตามินที่ลสลายตัวได้เร็วที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวต่อออกซิเจนมาก
  • วิตามินซีรูปที่ออกฤทธิ์ (Active) ในร่างกายคือ Dihydroascorbic acid มีคุณสมบัติเป็นสารรีดิวซ์ (Reducing agent) ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)
  • วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถป้องกันและรักษาการอักเสบอันเนื่องมาจากแบคทีเรีย และไวรัสได้
  • วิตามินซีมีบทบาทที่สำคัญในการสร้าง คอลลาเจน เพื่อช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย และวิตามินซีช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดียิ่งขึ้น
  • วิตามินซีจะถูกใช้หมดไปอย่างรวดเร็วเมื่อคุณตกอยู่ในสภาวะเครียด
  • การขาดวิตามินซีอาจทำให้เกิดโรคเลือดออกตามไรฟันได้
  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันอยู่ที่ 60 mg. และสำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรที่ประมาณ 70-96 mg.
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ควรได้รับวิตามินซีเพิ่มมากขึ้น เพราะร่างกายจะสูญเสียวิตามินซี 25 – 100 mg. ต่อการสูบบุหรี่หนึ่งมวน
  • ช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของคอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL)
  • หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้เกิดนิ่ว บางครั้งการรับประทานในปริมาณที่สูงหรือมากกว่า 10,000 mg. ขึ้นไปอาจก่อให้เกิดผลเสีย เช่น อาการท้องร่วง ปัสสาวะบ่อย มีผื่นผิวหนัง ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวคุณควรรับประทานในปริมาณที่น้อยลง คนไข้โรคมะเร็งที่กำลังฉายรังสีหรือเคมีบำบัด ไม่ควรรับประทานวิตามินซีเพราะผลตรวจอาจแปรปรวนได้
  • ศัตรูของวิตามินซี ได้แก่ แสง, ออกซิเจน, น้ำ, ความร้อน, การสูบบุหรี่, การปรุงอาหาร

 

ประโยชน์ของ วิตามินซี

เราทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า วิตามินซี มีประโยชน์มากมากหลายอย่าง ไม่ว่าจะช่วยปกป้องเซลล์ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สุขภาพและความแข็งแรงของเนื้อเยื่อในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับ เส้นเอ็น และคอลลาเจน ก็มีผลมาจากปริมาณ วิตามินซี ในร่างกาย และ วิตามินซี ยังมีฤทธิ์ในการเป็นสารแอนตี้อ๊อกซิแดนท์ที่ดี จึงสามารถป้องกันการทำลายเซลจากอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี และมันช่วยให้ร่างกายสามารถรีไซเคิลสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ ดังนั้นเพื่อประโยชน์สูงสุดจึงควรที่จะรับประทาน วิตามินซี ร่วมกับสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ เช่น วิตามินอี แคโรทีน ฟลาโวนอย เป็นต้น

 

วิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ซึ่งจะป้องกันร่างกายจากอนุมูลอิสระ ที่เกิดจากขบวนการสันดาบในร่างกาย หรือจากมลพิษ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา โดยจะทำให้เซลล์ต่างๆ เสื่อม หรืออาจเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ที่ผิดปกติได้

 

วิตามินซี ช่วยบรรเทาความรุนแรงและระยะเวลาของการเป็นโรคหวัด หากเริ่มรับประทาน วิตามินซี ตั้งแต่เริ่มแรกที่เห็นอาการของโรคหวัด จะช่วยให้อาการป่วยลดความรุนแรงและหายได้เร็วขึ้น มีการศึกษาเมื่อปี 1995 พบว่าหากรับประทาน วิตามินซี 1,000 ถึง 6,000 มิลลิกรัมต่อวันตั้งแต่เริ่มมีอาการของโรคหวัด จะช่วยให้หายได้เร็วขึ้น 21% แต่ก็ยังไม่มีรายงานว่า วิตามินซี สามารถช่วยป้องกันโรคหวัดได้

 

วิตามินซี ช่วยให้แผลหายได้เร็วขึ้น เนื่องจาก วิตามินซี ช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมและรักษาตัวเองโดยการไปเสริมสร้างผนังเซล ทำให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรง และต่อต้านอาการอักเสบ จึงทำให้แผลหายได้เร็วขึ้น ในทางกลับกันการขาด วิตามินซี ก็สงผลให้แผลให้ได้ช้าลงเช่นกัน

 

วิตามินซี ช่วยให้เหงือกมีสุขภาพแข็งแรง หากรับประทานวิตามินซีเป็นประจำทุกวัน นั้นจะช่วยให้เหงือกมีสุขภาพแข็งแรง โดย วิตามินซี จะไปช่วยรักษาเซลที่ถูกทำลายและช่วยให้แผลที่เหงือกหายเร็ว

 

วิตามินซี ช่วยเพิ่มความต้านทานต่อโรคหัวใจ โดยการไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมระดับคลอเรสเตอรอล ในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรับประทานร่วมกับ วิตามินอี โดยมันจะไปลดการเกาะตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด

 

วิตามินซี ช่วยในการป้องกันและต่อสู้กับโรคมะเร็ง เนื่องจาก วิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี มันจึงอาจจะช่วยในการป้องกันและต่อสู้กับโรคมะเร็งได้ มีการศึกษาอย่างมากในเรื่องนี้แต่ก็ยังไม่ข้อสรุปที่ชัดเจน โดยยังมีการถกเถียงกันอย่างมากเกี่ยว วิตามินซี กับการป้องกันและต่อสู้กับโรค มะเร็ง

 

วิตามินซี ช่วยในการป้องกันโรคต้อกระจก เนื่องจาก วิตามินซี สามารถช่วยปกป้องเลนส์ตาจากอันตรายต่างๆ เช่น ควันบุหรี่ แสงอุลตร้าไวโอเลต ที่เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดโรคต้อกระจก มีการศึกษาอันหนึ่งพบว่าผู้หญิงที่รับประทานวิตามินซีมาอย่างน้อย 10 ปี พบว่ามีความเสี่ยงที่จะมีอาการเลนส์ตาขุ่นมัวซึ่งเป็นอาการเริ่มแรกของโรคต้อกระจกลดลงถึง 77%

 

วิตามินซี ช่วยบรรเทาอาการแพ้ หอบหืด ไซนัส ทั้งนี้เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้ว วิตามินซี มีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านภูมิแพ้ต่างๆ เช่น ฝุ่นละออง เกษรดอกไม้ ซึ่งอาการแพ้เหล่านี้ก็เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของโรคไซนัส นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า วิตามินซี ช่วยป้องกันและทำให้อาการหอบหืดดีขึ้น

 

วิตามินซี ช่วยป้องกันอาการไมเกรน เมื่อรับประทานร่วมกับ pantothenic acid โดย วิตามินซี จะไปช่วยร่างกายในการต่อสู้กับความเครียดได้ดีขึ้น

 

วิตามินซี ช่วยเรื่องความจำ โดยวิตามินซีจะไปช่วยรักษาสภาพของเซลประสาทและจะได้ผลดียิ่งขึ้นหากรับประทานร่วมกับอาหารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ เช่น วิตามินอี แคโรทีน กิงโกะไบโลบ้า และโคเอนไซม์ Q10

 

ปริมาณที่ควรรับประทาน

ในสภาวะปกติปริมาณที่แนะนำให้รับประทานคือ 60 มิลลิกรัมต่อวัน (แต่ในคนที่สูบบุหรี่ 200 มิลลิกรัมต่อวัน) อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเสริมสุขภาพได้แนะนำว่าเพื่อประสิทธิภาพที่ดีต่อสุขภาพควรจะต้องรับประทานอย่างน้อย 100-200 มิลลิกรัมต่อวัน คนที่มีความเครียดควรรับประทานวันละ 500 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากต้องการผลในด้านการป้องกันโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง ความชรา ควรจะรับประทาน 250 – 1,000 มิลลิกรัม  การทานขนาดสูงมากกว่า 1,000 มิลลิกรัม อาจจะทำให้เกิดท้องเสีย และถ้าทานตอนท้องว่าง จะทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินอาหาร เนื่องจากความเป็นกรด อาจจะเกิดอาการท้องอืด เฟ้อ บางครั้งถึงขั้น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว และแน่นอนเนื่องจากวิตามินซี ขับทางปัสสาวะ จึงทำให้ปัสสาวะมีสภาพเป็นกรด ดังนั้น จึงเพิ่มโอกาสเกิดการตกตะกอนของผลึก ต่างๆ กลายเป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้ จึงแนะนำให้ทานวิตามินซี พร้อมดื่มน้ำมากๆ 
หากเราได้รับ วิตามินซี น้อยกว่าที่ร่างกายควรจะได้รับ ก็จะเกิดลักปิดลักเปิด ซึ่งจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นหากขาดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานและไม่ต้องกังวัลว่าจะได้รับมากเกินไป เนื่องจาก วิตามินซี สามารถละลายน้ำได้ดี หากร่างกายไม่ได้ใช้ก็จะมีการขับออกมาได้ทางปัสสาวะ อีกทั้งยังไม่เคยมีรายงานเกี่ยวกับพิษที่เกิดจากการรับประทาน วิตามินซี แม้จะรับประทานในปริมาณที่สูงกว่า 6,000 – 18,000 มิลลิกรัม

 

www.flickr.com/photos/mrjorgen/5739569464/