HealthGossip

น้ำตาล

22 ชนิดของอาหารที่ส่งผลทำให้อารมณ์ไม่ดี

Photo by Priscilla Du Preez on Unsplash ในทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นสภาพสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราต่างๆ อีกทั้งสภาพอากาศหรือรวมไปถึงผู้คนที่เราต้องพบเจออยู่รอบตัวเองก็ตาม เชื่อหรือไม่ว่าสิ่งเหล่านี้นั้นสามารถส่งผลกระทบต่อสภาวะอารมณ์ของเราได้ นอกจากปัจจัยต่างๆ ที่ได้กล่าวมานั้นเคยสงสัยกันไหมคะว่า “อาหาร“ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะอารมณ์ของเราให้ไม่คงนิ่ง ทำให้เกิดการสวิงขึ้นลง เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาวได้เหมือนกัน บางครั้งจนถึงกับสบสนและงุนงงกับตัวเองว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเองเนี่ย วันนั้นของเดือนก็ยังไม่มา สภาพอากาศก็ดี แถมไม่มีคนกวนใจอีก ถ้าเราได้ลองคิดทบทวนดูแล้วว่าก็ไม่ได้มีปัจจัยไหนมารบกวนเรานี่นา ดังนั้นเราจึงต้องกลับมาย้อนดูตัวเองว่าการรับประทานอาหารของเราช่วงนี้เนี่ยแหละว่าเป็นยังไงบ้าง ช่วงนี้เราชอบทานอาหารแบบไหนอยู่บ่อยๆ กันนะ จะว่าไปแล้วหลายคนคงสงสัยกันล่ะสิว่าอาหารนี่สามารถส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของเราได้ด้วยหรอ มันส่งผลกระทบต่อสภาวะอารมณ์ของเรายังไง อาหารที่เรารับประทานมันมีส่วนช่วยส่งผลกระทบทำให้อารมณ์ของเราเสียได้จริงๆ หรอ? ซึ่งก็พบว่าในร่างกายของเราโดยรวมแล้ว ระบบย่อยอาหารมีส่วนที่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์และสุขภาพของเรานั่นเองค่ะ โดยการจับคู่ของพลังงานอาหารต่างๆ อย่างเช่น ไขมันกับโซเดียม โดยเฉพาะอาหารที่เต็มไปด้วยไขมันอิ่มตัวกับโซเดียมจะส่งผลกระทบทำให้อารมณ์ขุ่นมัวไปตลอดทั้งวันเลยล่ะค่ะ นอกจากนี้ในส่วนของแบคทีเรียตัวที่ดีและตัวที่ไม่ดีในระบบย่อยอาหารนั้นก็มีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลด้วยค่ะ แม้แต่คนในครอบครัวที่มีสายเลือดเดียวกันยังมีความแตกต่างกันไปค่ะ คือจะบอกได้ว่าจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้นอาหารที่รับประทานเข้าไปสามารถทำให้ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของเราได้นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าจะส่งผลแบบนั้นๆ กับทุกๆ คนได้ทั้งหมด อย่างเช่น หมอกควันในอากาศก็สามารถส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่ได้ค่ะ บางครั้งอาหารที่คุณรับประทานเข้าไปอาจจะต้องใช้เวลา 1 ถึง 2 วันเพื่อย่อยให้เสร็จสิ้น เพราะฉะนั้นในช่วงเวลาที่อาหารไม่ได้ถูกการย่อยและค้างอยู่ในระบบของร่างกายช่วงนี้นี่เองก็อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายและสภาวะทางอารมณ์ของเราทั้งวันเลยก็ว่าได้ค่ะ ด้วยระบบร่างกายของคนเราจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาซึ่งระบบลำใส้ของเราก็ไม่คงที่เช่นกันค่ะ เพราะอย่างนี้เองสิ่งที่ดูเหมือนจะกวนใจเราในวันนี้แต่พอวันถัดมาอาจจะไม่รู้สึกอะไรแล้วก็ได้ค่ะ เราสามารถทดสอบและสังเกตจากตัวเราเองได้ค่ะ โดยการเช็คความรู้สึกของเราก่อนรับประทานอาหาร ระหว่างรับประทานอาหาร และหลังจากการรับประทานอาหาร และถามตัวเองว่าอารมณ์ในแต่ละช่วงเป็นยังไงบ้างค่ะ เดี๋ยวเราไปดูกันเลยว่าอาหารชนิดไหนบ้างที่มีผลกระทบต่ออารมณ์ทำให้อารมณ์ไม่ดี วีน เหวี่ยง หงุดหงิดง่าย […]

คาร์โบไฮเดรตชนิดที่ดีเและชนิดที่ไม่ดี

“คาร์โบไฮเดรต” เป็นสารอาหารหลักที่ให้พลังงานแก่ร่างกายของเรา ถ้าพูดถึงอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตในกลุ่มของคนที่กำลังลดน้ำหนักอยู่ก็คงจะคิดว่าอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม และถ้าอยู่ในกลุ่มของคนที่รักสุขภาพนั้นอาจจะให้ความสนใจในการรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ และจะให้ข้ามหมู่ใดหมู่นึงก็คงจะยาก แล้วทราบกันหรือปล่าวล่ะคะว่าคาร์โบไฮเดรตนั้นมีอยู่ 2 กลุ่ม ซึ่งก็มีกลุ่มที่ควรรับประทานและกลุ่มที่ไม่ควรรับประทาน หรือเรียกง่ายๆว่ากลุ่มที่ดีและไม่ดี วันนี้เลยอยากให้มาทำความเข้าใจกันหน่อยว่าอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่สามารถเลือกรับประทานได้ แม้เราจะอยู่ในช่วงที่กำลังควบคุมน้ำหนักอยู่ก็ตามแถมยังดีต่อสุขภาพของเรานั้นมีอยู่จริงค่ะ ดังนั้นวันนี้เลยนำข้อมูลมาแชร์และอยากให้ทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันค่ะ แล้วเมื่อเราเข้าใจมากขึ้นก็จะได้เลือกและปรับให้เข้ากับไลฟ์สไตล์การรับประทานของเรา อย่างไรก็ดีการรับประทานอาหารที่ครบและหลากหลายนั้นเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพเรามากกว่าค่ะ เพราะงั้นเราไปทำความเข้าใจกับชนิดของ อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต กันเลยค่ะ   คาร์โบไฮเดรตชนิดที่ดีและคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ไม่ดี                         โดยทางวิทยาศาสตร์ได้แบ่งคาร์โบไฮเดรตออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามโครงสร้างทางเคมีก็คือ “คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว” และ ‘’คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน’’ ดังนี้   1.คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว (Simple Carbohydrates) หรือ คาร์โบไฮเดรตย่อยง่าย คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว มีโครงสร้างทางเคมีเป็นน้ำตาล 1-2 โมเลกุล เป็นคาร์โบไฮเดรตพื้นฐาน เมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกายจะมีการย่อยเพียงเล็กน้อยหรือบางชนิดร่างกายเราก็สามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและนำไปใช้ได้เลยทันทีและจะไปเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างฉับพลัน ทำให้รู้สึกมีพลังงานขึ้นทันที ได้แก่จำพวก […]

คาร์โบไฮเดรต คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) เป็นสารชีวโมเลกุลชนิดที่สำคัญที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดและมีความจำเป็นต่อร่างกายของเราอย่างยิ่งค่ะ ซึ่งเป็นสารชีวโมเลกุลที่ทำหน้าที่สะสมพลังงานที่พบในชีวิตประจำวันทั่วไปได้แก่ น้ำตาล แป้ง เซลลูโลส  และไกลโคเจน โดยที่ส่วนใหญ่พบแป้งและเซลลูโลสในพืช ส่วนไกลโคเจนพบในเซลล์เนื้อเยื่อ น้ำไขข้อและผนังเซลล์ของสัตว์ คำว่าคาร์โบไฮเดรตมีรากศัพท์มาจากคำว่า คาร์บอน (carbon) และคำว่าไฮเดรต (hydrate) อิ่มตัวไปด้วยน้ำ ซึ่งรวมกันก็หมายถึงคาร์บอนที่อิ่มตัวไปด้วยน้ำ โดยคาร์โบไฮเดรตจัดเป็นสารประกอบแอลดีไฮด์ (aldehyde) หรือคีโทน (ketone) ที่มีหมู่ไฮดรอกซิลเกาะอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเรียกว่าสารประกอบโพลีไฮดรอกซีแอลดีไฮด์ (polyhydroxyaldehyde) หรือ โพลีไฮดรอกซีคีโทน (polyhydroxyketone) คาร์โบไฮเดรตมีความหลากหลายทั้งในด้านของโครงสร้างทางเคมีและบทบาททางชีวภาพอีกด้วย หน่วยที่เล็กทีสุดของคาร์โบไฮเดรตก็คือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือโมโนแซคคาร์ไรด์ค่ะ ประเทศไทยที่อุดมไปด้วยพืชผักและพรรณไม้นานาชนิดซึ่งเป็นแหล่งสำคัญของคาร์โบไฮเดรต เมื่อพืชสร้างอาหารโดยการสังเคราะห์แสง เพื่อนำอาหารไปสร้างเป็นส่วนของลำต้น ราก ใบ ดอก ผล และเมล็ด อาหารส่วนที่เหลือจะถูกนำไปเก็บสะสมไว้ในส่วนต่าง ๆ ในรูปของแป้งและน้ำตาล จึงกล่วไดว่าพืชเป็นแหล่งสำคัญของคาร์โบไฮเดรต ข้าวเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งและเป็นอาหารหลักของคนไทยส่วนใหญ่   เกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) ในทางเคมี คาร์โบไฮเดรตทุกประเภทประกอบด้วยอะตอมต่างๆของคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน โดยเรียงตัวในลักษณะที่ต่างกันไป และคาร์โบไฮเดรตทุกประเภทมีบทบาทสำคัญทางโภชนาการ คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารที่พบมากในอาหารประเภท ข้าว แป้ง […]

โครเมี่ยม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

โครเมียม (Chromium) เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อการเจริญเติบโตและสุขภาพที่ดี ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในขบวนการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคส คาร์โบไฮเดรต และไขมัน เพื่อให้ได้พลังงานไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆในร่างกาย  รองจากแคลเซียมแล้ว โครเมียม เป็นแร่ธาตุที่ได้รับความนิยมมากสำหรับคนอเมริกันที่รับประทานเป็นประจำ และยังเป็นที่ร่างกายต้องการโครเมียมในปริมาณ 50 – 200 ไมโครกรัมต่อวัน โครเมียม มีความสำคัญอย่างยิ่งกับขบวนการเมตาลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และช่วยเสริมการทำงานของอินซูลินในร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่ในการนำน้ำตาลกลูโคสในเลือดเข้าไปในเซลล์ เพื่อนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานสำรอง โครเมียม มีส่วนในการช่วยรักษาปริมาณน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ (ในขบวนการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต) ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติและช่วยลดความอยากน้ำตาล นอกจากนั้นโครเมียมยังสามารถควบคุมระดับของปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดได้ โดยจะไปเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลชนิด HDL ซึ่งเป็นชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และลดการสร้าง LDL ได้ เมื่อเรามีอายุมากขึ้นร่างกายเราจะค่อยๆขาดโครเมี่ยมไปเรื่อยๆ นั่นอาจจะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุให้คุณเสี่ยงต่อโรคร้ายอย่างโรคเบาหวานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โครเมียมที่อยู่ในรูปของโครเมียม พิโคลิเนต (Chromium Picolinate) หรือ โครเมียม โพลีนิโคไทเนต (Chromium Polynicotinate) มีบทบาทสำคัญในเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และไขมัน การเสริมโครเมียมทำให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายมีประสิทธิภาพในการนำกลูโคสไปใช้ได้เพิ่มขึ้นค่ะ ภาวะการขาดโครเมียม จะทำให้ระดับกลูโคส อินซูลิน คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ สูงขึ้น และระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (high […]

9 เหตุผลที่ควรหลีกเลี่ยงไกลห่างจากน้ำตาล

ถ้าพูดถึงรสชาติของอาหารไทย รสชาติอร่อยคืออาหารที่มีรสชาติครบรส นั่นก็คือรสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด โดยเฉพาะอาหารรสจัด ไม่ว่าจะเป็นเปรี้ยวจัด หวานจัด เค็มจัด เผ็ดจัด ล้วนแต่อร่อยทั้งนั้น รสชาติจืดชืดน่ะหรอแล้วมันจะไปมีรสชาติอร่อยอะไรล่ะ จริงไหมคะ? แต่ทว่าอาหารรสจัดที่กล่าวมานั้นส่วนใหญ่เราก็ไม่ได้อยากที่จะแนะนำสักเท่าไหร่ ทั้งหมดทั้งปวงก็อยากจะให้รับประทานแต่พอดี…ในบ้านเรานั้นตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาวกรรมวิธีส่วนใหญ่จะปรุงอาหารด้วยกะทิ แกงกะทิต่างๆ ส่วนอาหารหวานก็นิยมกะทิเช่นกันและขนมหวานในบ้านเราต่างๆนั้นก็จะมีรสชาติที่หวานจับใจ จนกระทั่งปัจจุบันนวัตกรรมใหม่ๆเริ่มพัฒนาขึ้นมากมีขนมขบเคี้ยวกรุบกรอบมากมายให้เลือกเกลื่อนเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด แค่ตื่นตอนเช้าเดินไปซื้อกาแฟ หรือเดินออกมาจากปากซอยก็จะมีขนมให้เลือกหลากหลายง่ายดายเหลือเกิน และส่วนผสมส่วนใหญ่ก็คือน้ำตาลทั้งนั้น แม้แต่เครื่องดื่มที่เคลมกันว่า healthy เหลือเกินวางเรียงรายให้จับจ่ายในร้านสะดวกซื้อ ส่วนผสมหลักก็ยังเป็นน้ำตาลอยู่ดี ไม่ต้องพูดถึงการเติมน้ำตาลเพื่อปรุงอาหารจานเดียวเลยค่ะ อาหารบางอย่างถูกปรุงมาเรียบร้อยแล้วแต่เราก็ยังปรุงเพิ่มอยู่เสมอ แล้วเราทราบกันหรือไม่คะว่า ‘’น้ำตาล’’ หรือ ‘’sugar’’ ที่เรารู้จักกันดีเนี่ย มันไม่มีประโยชน์อื่นใดๆเลย นอกจากให้พลังงาน (Empty Calorie) เนื่องจากน้ำตาลจัดเป็นอาหารที่อยู่ในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ไม่ซับซ้อน คือให้แต่พลังงานเท่านั้นไม่มีคุณค่าทางโภชนาการใดๆทั้งสิ้นนั่นเองค่ะ โดยที่น้ำตาล 1 กรัม จะให้พลังงาน 4 แคลอรี่ เพราะฉะนั้น น้ำตาล  1 ช้อนชา ก็จะให้พลังงานโดยประมาณ 15 แคลอรี่ค่ะ โดยที่องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า […]