HealthGossip

ประโยชน์

14 ชนิดสุดยอดอาหารที่มีกรดอะมิโนจำเป็นสูง

ปัจจุบันการเลือกรับประทานอาหารไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้ามหรือเป็นเรื่องที่ยุ่งยากอีกต่อไป เมื่อเทียบกับผลของการเกิดโรคร้ายต่างๆ มากมายให้เห็นอยู่ในทุกวัน การรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการนั้นจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญและไม่ควรมองข้าม คุณจะรับประทานอาหารอะไรก็ได้ถ้าในอาหารนั้นมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ไม่จำเป็นต้องเป็นชนิดของอาหารที่มีราคาแพงถึงจะการันตีว่านั่นคืออาหารที่ดีเสมอไปค่ะ แค่เพียงคุณอยากรู้อะไรก็ต้องได้รู้จากความสะดวกสบายตามยุคตามสมัยที่มีเทคโนโลยีที่กดคลิ๊กเดียวก็สามารถทราบข้อมูลที่คุณอยากรู้ได้ดั่งใจ ดังนั้นวันนี้ทางบล็อคของเราก็เลยเลือกนำเสนอหัวข้อของ “ชนิดของอาหารที่มีกรดอะมิโนจำเป็นสูง” ทำไมต้องเป็นกรดอะมิโนจำเป็นล่ะ? เนื่องจากกรดอะมิโนก็คือ โปรตีนที่ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กที่สุดเพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้ เมื่อร่างกายของเราได้ทำการย่อยโปรตีนแล้วโปรตีนเหล่านั้นจะอยู่ในรูปแบบของกรดอะมิโนค่ะ โดยกรดอะมิโนจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการต่างๆ ของร่างกายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนของเซลล์กล้ามเนื้อรวมถึงเนื้อเยื่อส่วนใหญ่ก็ประกอบไปด้วยกรดอะมิโน ซึ่งก็หมายความว่าเซลล์เหล่านี้ไปทำหน้าที่สำคัญในร่างกายของมนุษย์เราหลายอย่างนั่นเอง นอกจากคาร์โบไฮเดรต ไขมัน ที่เป็นสารอาหารหลักๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายเราแล้วนั้น โปรตีนก็เป็นอีกหนึ่งของสารอาหารหลักที่ร่างกายเราต้องการค่ะ โดยร่างกายของเราต้องใช้กรดอะมิโนที่แตกต่างกันถึง 20 ชนิด เพื่อความสมบูรณ์ในการทำหน้าที่ต่อร่างกายและสุขภาพของเรา จาก 20 ชนิดของกรดอะมิโนที่ร่างกายของเราต้องการ ซึ่งมีกรดอะมิโนที่ร่างกายของเราสามารถสร้างขึ้นมาเองได้อยู่ 11 ชนิด และมีอีก 9 ชนิดที่ร่างกายของเราไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้นอกจากจะได้รับจากอาหารที่เรากินเข้าไปค่ะ จึงเรียกกรดอะมิโนนี้ว่า กรดอะมิโนที่จำเป็น (essential amino acid) และนี่เองที่เป็นไฮไลท์ของหัวข้อที่สำคัญของวันนี้ค่ะ กรดอะมิโนที่จำเป็น เป็นกรดอะมิโนที่ได้รับจากอาหารที่เรากินเข้าไป ซึ่งมีกรดอะมิโนที่จำเป็นอยู่ 9 ชนิด คือ histidine, isoleucine, leucine, lysine, methionine, phenylalanine, threonine, tryptophan […]

16 ประโยชน์ต่อสุขภาพจากผักปวยเล้ง (Spinach)

“ผักปวยเล้ง (Spinach)” ผักปวยเล้งที่หลายคนมักสับสนว่านั่นคือผักโขมจากการ์ตูนเรื่องป๊อบอายที่เคยดูกันตอนเด็กๆ กันเมื่อตัวป๊อบอายได้กินผักที่ชื่อว่า Spinach เข้าไปจะทำให้ร่างกายแข็งแรงตัวโตขึ้น แต่จริงๆ แล้วผักโขมมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า ผักโขม (Amaranth) และผักใบเขียวทั้งสองชนิดนี้ก็เป็นพืชที่อยู่ตระกูลเดียวกันมีประโยชน์เหมือนกันค่ะ ผักปวยเล้งที่มีใบสีเขียวเข้มนี้ได้มีต้นกำเนิดมาจากทางตะวันออกกลางและแถบเปอร์เซียในสมัยโบราณนับพันๆ ปีมาแล้วค่ะ อีกทั้งยังเป็นผักที่ชาวอิหร่านนิยมรับประทานกันมากจนได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “Prince of Vegetables” กันเลยทีเดียว โดยจากชื่อที่นิยมเรียกกันว่าผักปวยเล้งออกเสียงเหมือนภาษาจีน ก็คงจะคิดว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน แต่ความจริงแล้วการเพาะปลูกผักโขมได้มีการแพร่กระจายไปยังประเทศเนปาล ซึ่งในศตวรรษที่สิบเจ็ดได้นำไปเผยแพร่ที่ประเทศจีนและในขณะนั้นก็ยังคงเรียกกันว่า “เปอร์เซียกรีน” เหตุผลที่มีชื่อว่าผักปวยเล้ง ซึ่งดูเหมือนว่ามาจากประเทศจีน ก็เนื่องจากว่าผักปวยเล้งได้มีการบันทึกชื่อเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ถังจึงได้มีชื่อเป็นภาษาจีนไปโดยปริยายค่ะ นอกจากประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจจากผักปวยเล้งนี้แล้วประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการจากผักปวยเล้งก็ไม่ธรรมดาเลยค่ะ ดังนั้นวันนี้เราเลยอยากนำข้อมูลของประโยชน์ทางสุขภาพจากผักปวยเล้งมาบอกกัน   16 ประโยชน์ต่อสุขภาพจากผักปวยเล้ง (Spinach) 1.ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง การที่ผักปวยเล้งมีปริมาณโพแทสเซียมที่สูงมากอีกทั้งยังมีปริมาณโซเดียมต่ำ จึงส่งผลที่ประโยชน์ต่อผู้ที่ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อีกทั้งโฟเลตที่มีอยู่ในผักปวยเล้งยังช่วยลดความดันโลหิตสูงและช่วยผ่อนคลายหลอดเลือดในขณะที่ยังรักษาระดับการไหลเวียนของโลหิตได้ดี จากการลดความดันโลหิตและผ่อนคลายความตึงของหลอดเลือด 2.บำรุงสายตา เนื่องด้วยผักปวยเล้งมีวิตามินเอและสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่เรียกว่าเบต้าแคโรทีนที่สูง จึงไปช่วยสร้างสารโรดอปซินที่ส่งผลดีต่อการมองเห็นในเวลากลางคืนให้ดีขึ้นค่ะ  อีกทั้งยังเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระโดยไปต่อต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นซึ่งจะทำลายส่วนต่างๆ ของเซลล์ และทำให้เซลล์แบ่งตัวผิดปกติจนกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย   3.มีประโยชน์ต่อระบบประสาท ส่วนประกอบของผักปวยเล้ง จำพวก โปแตสเซียม โฟเลต และสารแอนตี้ออกซิแดนท์ต่าง ๆ เป็นประโยชน์ต่อระบบประสาทเมื่อเรารับประทานเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยเฉพาะโฟเลตสามารถช่วยบำรุงสมองเพิ่มความจำลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ อีกทั้งโพแทสเซียมยังเป็นส่วนสำคัญของสมองเช่นกันซึ่งมีความเชื่อมโยงเกี่ยวพันกับการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้เพิ่มขึ้น   […]

ผักเคล (Kale) คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร

“ผักเคล” (Kale) อีกหนึ่งชนิดของผักใบสีเขียวเข้มที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นสุดยอดของอาหารหรือ Super Food นั่นเองค่ะ ถ้าได้ถูกยกให้ไปอยู่ในลำดับของสุดยอดของอาหารแล้วถือว่าเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง และเชื่อว่ามีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้จักกับผักใบเขียวเข้มชนิดนี้กันมากนัก จึงอยากจะนำข้อมูลรายละเอียดทั้งผักเคลมีความเป็นมาและมีประโยชน์อย่างไรบ้างมานำเสนอกันในวันนี้ค่ะ ด้วยคำที่เราเคยได้ยินมาแต่เด็กๆ ว่า “กินผักแล้วจะได้แข็งแรง” วันนร้เราจะมารู้กันว่ากินผักแล้วจะแข็งแรงยังไง บางคนจะทานผักทีแสนยากเย็นโดยเฉพาะผักที่มีสีเขียวเข้ม ไหนจะบอกว่าเหม็นเขียวบ้าง ขมบ้าง ไม่อร่อยเอาซะเลย แต่ถ้าคุณได้มารู้จักและเห็นคุณค่ากับประโยชน์ที่ได้รับแล้ว ต้องบอกได้เลยว่าคุณค่าทางโภชนาการที่คุณจะได้รับจะต้องทำให้เปลี่ยนใจอย่างแน่นอน ลักษณะของผักเคลจะมีใบที่หยิกสีเขียวเข้มหลายคนเรียก ผักคะน้าใบหยิก ด้วยรสชาติที่คล้ายคลึงกับผักคะน้าแต่ก็ไม่แปลกใจเลยเนื่องจากผักเคลเป็นพืชผักที่อยู่สายพันธุ์เดียวกับผักคะน้า โดยผักเคลเป็นผักที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับกะหล่ำปลีเช่นเดียวกับบล็อคโคลี่ จะเห็นได้ว่าผักที่อยู่ในตระกูลนี้จะมีคุณค่าทางอาหารจะไม่แตกต่างกันมาก ความเป็นมาของผักเคล เมื่อถึงสิ้นยุคกลางได้มีการถูกค้นพบของผักเคลและผักเคลก็เป็นพืชผักสีเขียวเข้มที่เห็นได้ทั่วไปในทวีปยุโรป จริงๆ แล้วพืชผักใบหยิกสายพันธุ์ของกะหล่ำปลีกับผักสายพันธุ์ใบเรียบแบนได้มีอยู่แล้วตั้งแต่ศตวรรษที่สี่ในกรีซ อีกทั้งยังถูกใช้เป็นยารักษาในรูปแบบของอาหารซึ่งใช้เพื่อรักษาโรคลำใส้ ถึงขนาดที่ชาวโรมันได้ขนานนามว่า “Sabellian Kale” โดยผักเคลได้ถูกยกให้เป็นบรรพบุรุษสมัยใหม่ ต่อมาผักเคลได้เข้าไปยังทวีปอเมริกาเหนือโดยอาณานิคมในศตวรรษที่ 16 หลังจากนั้นผักเคลของรัสเซียได้ถูกนำเข้าสู่ประเทศแคนาดาจนเข้าสู่สหรัฐอเมริกาโดยพ่อค้าชาวรัสเซียในศตวรรษที่ 19 และคงไม่ต้องสงสัยเลยว่ามาสมัยนี้คนรักสุขภาพหันมานิยมรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะจาก Super Food อย่างผักเคลที่ส่วนใหญ่จะนำมาปั่นเป็นสมูทตี้แบบ Green Smoothies ดื่มน้ำผักกันให้เห็นทั่วไป ด้วยความเบื่อหน่ายของสุขภาพที่ย่ำแย่ ขับถ่ายไม่ปกติ รู้สึกสุขภาพที่แย่ หลายคนยอมเปลี่ยนการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพนั่นเป็นสิ่งที่ดีและควรเป็นอย่างยิ่ง สมัยนี้มีอาหารมากมายหลายร้อยชนิดให้เลือกรับประทานแต่ถ้าคุณเลือกรับประทานที่ถูกและเหมาะสมต่อร่างกาย รับรองสุขภาพที่ดีไม่ไกลเกินเอื้อมค่ะ   ผักเคล (Kale) คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร […]

ขมิ้นชัน คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร

ขมิ้น “Tumeric” เป็นหัวข้อที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียวค่ะ แต่ทว่าคนไทยเราอาจจะรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอยู่แล้วกับขมิ้นที่เราใช้เป็นสมุนไพรในการนำมาขัดผิว พอกผิว รวมถึงการนำไปประกอบอาหารประเภทเครื่องแกงเผ็ดร้อนแกงกะหรี่ ซึ่งจะทำให้แกงนั้น ๆ เกิดลักษณะและสีเฉพาะที่ออกสีเหลืองๆ ส้มๆ โดยขมิ้นมาจากพืช Curcuma longa ซึ่งเติบโตในอินเดียและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่น ๆ รากแห้งของพืช Curcuma longa เป็นผงขมิ้นสีเหลืองที่โดดเด่นโดยมีสารเคมีหลายชนิดที่พบในขมิ้นหรือที่เรียกว่า curcuminoids ซึ่งสารที่อยู่ในขมิ้นนั่นก็คือ curcumin นั่นเองค่ะ มาถึงตรงนี้เราเลยจะมาพูดถึงเกี่ยวกับสารตัวนี้ที่อยู่ในขมิ้นที่เราเรียกกันว่า “ขมิ้นชัน” ค่ะ อยู่ที่บ้านเราหลายๆ คนอาจจะยังไม่ค่อยให้ความสนใจเกี่ยวกับการรับประทานขมิ้นชันเพื่อสุขภาพกันมากนัก แต่ทราบกันหรือไม่คะว่าขมิ้นชันที่ต่างประเทศอย่างประเทศสหรัฐอเมริกานั้นนำมาทำเป็นยาอาหารเสริมรับประทานและสามารถหาเจอง่ายๆ ตามร้านขายยาทั่วไปกันเลยทีเดียว และนี่แหล่ะค่ะที่ทำให้เกิดความสนใจและอยากจะนำข้อมูลมานำเสนอให้ทราบกันว่า ขมิ้นชัน นั้นมันมีประโยชน์อย่างไรบ้างต่อสุขภาพของเรา ไปดูข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมและทำความเข้าใจกันมากขึ้นกับขมิ้นชันกันเลยค่ะ     ประโยชน์ของขมิ้นชัน (Tumeric) ด้านโภชนาการขั้นพื้นฐานของขมิ้นมีคุณค่าต่อวันอยู่ที่ 26% ในแมงกานีสและธาตุเหล็กอยู่ที่ 16% นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งที่ดีของเส้นใยอาหาร วิตามินบี 6 โพแทสเซียม รวมถึงเป็นแหล่งที่ดีของวิตามินซีและแมกนีเซียมอีกด้วยค่ะ ใครจะรู้กันล่ะคะว่าขมิ้นชันจะนำมาเป็นยารักษาและให้ประโยชน์ต่อสุขภาพเราไม่น้อยเลยล่ะค่ะ ซึ่งสารที่ได้จากขมิ้นชันเรียกว่า curcuminoids และสารสำคัญที่สุดก็คือ curcumin โดย curcumin เป็นสารออกฤทธิ์หลักในขมิ้น […]

14 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินเคสูง

“วิตามินเค (Vitamin K)” เป็นวิตามินในกลุ่มที่ละลายได้ดีในไขมัน ซึ่งเราจะทราบกันดีเมื่อพูดถึงบทบาทของวิตามินเคนั้นมีความสำคัญต่อการแข็งตัวของเลือดนั่นเองค่ะ จริงๆ แล้ววิตามินเคมีทั้งหมด 3 ชนิด และรูปแบบที่พบในธรรมชาติจะมีอยู่ 2 รูปแบบ ดังนี้่ค่ะ วิตามินเค I (Vitamin K I) หรือ ฟิลโลควิโนน (phylloquinone) เป็นรูปแบบที่พบในพืชผักใบเขียวและสัตว์ วิตามินเค II (Vitamin K II) หรือ เมนาควิโนน (menaquinone) เป็นรูปแบบที่พบในเนื้อเยื่อตับและยังสามารถสร้างได้โดยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในร่างกาย วิตามินเค III (Vitamin K III) หรือ เมนาไดโอน (menadione) นั้น เป็นโมเลกุลที่สังเคราะห์ขึ้น ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น เมนาควิโนน โดยตับ นอกจากร่างกายจะได้รับวิตามินเคจากอาหารที่รับประทานแล้ว เชื้อแบคทีเรียในลำไส้ของเราก็สามารถสังเคราะห์วิตามินเคได้เองค่ะ ด้วยเหตุนี้ระดับวิตามินเคของเราจึงขึ้นอยู่กับสุขภาพของลำไส้ของเรานั่นเอง และส่วนใหญ่พบว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดการขาดวิตามินเคนั้น ดังนี้ เกิดจากความผิดปกติของตับให้ทำงานได้ไม่เต็มที่ คนที่มีความผิดปกติของท่อน้ำดี การใช้ยาปฏิชีวนะนานๆ หรือมากเกินไป เมื่อร่างกายเกิดการขาดวิตามินเคจะทำให้เกิดภาวะขาดวิตามินเค ที่เรียกว่า […]

13 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินอีสูง

“วิตามินอี (Vitamin E)” เป็นวิตามินชนิดที่ละลายได้ในไขมัน (fat soluble vitamin) มีลักษณะเป็นของเหลวคล้ายน้ำมันที่มีสีเหลืองอ่อนๆ วิตามินอีทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีหน้าที่เบื้องต้นเสมือนฟองน้ำที่คอยดูดซับอนุมูลอิสระซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เซลล์หรือเนื้อเยื่อถูกทำลาย ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งนั่นเองค่ะ จะพบว่ามีวิตามินอีอยู่มากในพืชส่วนในสัตว์นั้นจะพบค่อนข้างน้อยมากค่ะ เพราะฉะนั้นการบริโภคผักหรือผลไม้สดจึงช่วยเพิ่มปริมาณวิตามินอีให้กับร่างกายของเรานั่นเอง นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำนมของคุณแม่โดยเฉพาะจากคุณแม่หลังคลอด (colostrum) ก็เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ให้วิตามินอีในปริมาณที่สูงมากเช่นกันค่ะ ดังนั้นการขาดวิตามินอีเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากนอกเสียจากในเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดเนื่องได้วิตามินจากแม่ไม่พอ หรือคนที่มีปัญหาจากโรคของระบบย่อยอาหารที่ผิดปกติจึงทำให้ได้รับวิตามินไม่เพียงพอค่ะ อาการบ่งบอกเมื่อร่างกายขาดวิตามินอี ดังนี้ ถ้าขาดมากจะทำให้เกิดโลหิตจาง มีความผิดปกติของสมอง มือสั้น เดินเซ และการได้รับวิตะมินอีมากเกินไปอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ค่ะ การเสริมและบริโภคอาหารที่อุดมด้วยวิตามินอีจะให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ คอเลสเตอรอลมีความสมดุล ซ่อมแซมผิวที่เสื่อมสภาพ ป้องกันผมร่วง ปรับฮอร์โมนให้มีความสมดุล กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ผู้ใหญ่ไทยกินวิตะมินอีวันละประมาณ 8-10 มิลลิกรัม และไม่ควรกินเกินวันละ 30 มิลลิกรัม หรือ 1,500 IU   13 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินอีสูง 1.อัลมอลด์ เมล็ดอัลมอลด์เป็นอาหารทานเล่นที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งของวิตามินอีชั้นเยี่ยมเลยก็ว่าได้ค่ะ โดยอัลมอลด์ปริมาณแค่ 1 ออนซ์ แต่มีวิตามินอีอยู่สูงถึง 7.3 มิลลิกรัม […]

16 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินบี 5 สูง

“วิตามินบี 5” (Vitamin B5) หรือ Pantothenic Acid (กรดแพนโทเทนิก) เป็นอีกหนึ่งชนิดของวิตามินบีและก็เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ซึ่งร่างกายของเราสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้จากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ วิตามินบี 5 หรือกรดแพนโทเทนิกจะถูกทำลายได้ง่ายมากจากความร้อน กรด และด่าง เช่น กรดน้ำส้มหรือด่างที่เป็นโซดาทำขนมที่เราเรียกกันว่า Baking Soda ค่ะ ในส่วนของหน้าที่ที่สำคัญของวิตามินบี 5 ที่มีต่อร่างกายของเราก็จะคล้ายๆ กับวิตามินบีตัวอื่นๆ โดยจะมีบทบาทในการเผาผลาญพลังงาน คือจะทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ต่อปฏิกิริยาเคมีที่ก่อให้เกิดพลังงาน และนอกจากนี้ยังมีบทบาทในการสังเคราะห์ไขมัน ฮอร์โมนที่ช่วยในการสร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตในการบรรเทาอาการเครียดและสารสื่อประสาทในสมอง รวมทั้งช่วยในกระบวนการสร้างเซลล์ต่างๆ ที่มีผลในการเจริญเติบโตของร่างกายด้วยค่ะ โดยปกติแล้ววิตามินบี 5 หรือกรดแพนโทเทนิกจะมีอยู่ทั่วไปในอาหารจึงไม่ค่อยพบการขาดวิตามินบี 5 นัก ถ้าจะขาดก็คงเป็นคนที่มีภาวะทุพโภชนาการหรือขาดสารอาหารอย่างรุนแรงนั่นเองค่ะ โดยอาการเมื่อขาดวิตามินบี 5 มีดังนี้ เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไม่มีแรง กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ชาที่มือและเท้า เบื่ออาหาร หงุดหงิดง่าย ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ นอนหลับไม่สนิท รู้สึกปวดแสบปวดร้อนที่เท้าหรือที่เรียกว่า “Burning Feet Syndrome” ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ […]

16 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินเอสูง

วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา ร่างกายของเราสามารถสะสมวิตามินเอได้นานมากอาจนานได้ถึง 1 หรือ 2 ปี โดยเก็บไว้ในชั้นเซลล์ไขมัน ด้วยวิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันดังนั้นวิตามินเอจะถูกดูดซึมไปใช้ในร่างกายได้ดีที่สุดเมื่อกินร่วมกับอาหารที่มีน้ำมันหรือไขมันเป็นส่วนประกอบนั่นเองค่ะ และเมื่อร่างกายของเราใช้วิตามินเอไม่หมดก็จะถูกเก็บสะสมไว้ที่ตับ และวิตามินเอมีหน้าที่ช่วยในการมองเห็น การเจริญเติบโตของกระดูก การแบ่งตัวของเซลล์ การกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคซ่อมแซมผิวของตาและหลอดลมทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายยากขึ้น อีกทั้งวิตามินเอยังช่วยกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาวโดยเฉพาะ lymphocyte ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตได้อย่างปกติไม่ชะงักหรือหยุดการเจริญเติบโตก่อนวัย วิตามินเอจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) หรือเรียกว่า Retinol ซึ่งได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา อาหารประเภทเนื้อ ไข่ ตับและเครื่องใน 2.กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือเรียกว่า เบต้า แคโรทีน (Beta-Carotene) เป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกายจึงได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ พบมากในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม […]

15 ชนิดของอาหารที่มีแร่ธาตุโพแทสเซียมสูง

“โพแทสเซียม (Potassium)’’ แร่ธาตุหรือเกลือแร่อีกตัวที่มีบทบาทและหน้าที่สำคัญต่อสุขภาพรวมถึงร่างกายของคนเราค่ะ โพแทสเซียมนั้นเป็นแร่ธาตุที่มีมากเป็นอันดับ 3 ในร่างกายรองจากแคลเซียมและฟอสฟอรัส โพแทสเซียมนั้นเป็นอิเล็กโตรไลต์ซึ่งเป็นตัวปรับสมดุลของประจุบวกหรือลบในเลือด ดังนั้นร่างกายของคนเราจึงต้องได้รับแร่ธาตุทั้ง 3 ชนิดนี้ในปริมาณที่สมดุลจึงจะทำหน้าที่ต่างๆ ได้ดี  โดยโพแทสเซียมมีบทบาทสำคัญในการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายของเราให้เป็นปกติ อย่างเช่น แร่ธาตุโพแทสเซียมมีการช่วยควบคุมสมดุลของอิเล็กโตรไลต์และสมดุลย์ของกรดและเบสในร่างกาย ควบคุมความดันของโลหิตรวมถึงป้องกันภาวะกรดเกิน (hyperacidity)  อีกทั้งโพแทสเซียมยังช่วยระบบประสาทและกล้ามเนื้ออีกด้วยค่ะ โดยเฉพาะหน้าที่เกี่ยวกับการยืดและหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ    หากระดับโพแทสเซียมในร่างกายมากเกินไปจะถูกไตขับออกมา และสำหรับผู้ที่ไตทำงานได้ไม่ดีก็ไม่ควรรับประทานโพแทสเซียมเสริมในปริมาณที่สูงมากจนเกินไปค่ะ โพแทสเซียมในเลือดที่มีค่าปกติ คือ 3.5 – 5.0 mEq/L โพแทสเซียมในเลือดที่มีค่าต่ำ คือ  < 3.5 mEq/L จะมีอาการซึม อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ตะคริว โพแทสเซียมในเลือดที่มีค่าสูง คือ  > 5.0 mEq/L จะทำให้เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ บางครั้งถ้าเรารู้สึกว่าร่างกายขาดโพแทสเซียมอยู่ วิธีการเติมโพแทสเซียมที่ง่ายก็คือการทราบว่าเราควรจะรับประทานอาหารชนิดไหน ดังนั้นเราอาจจะเริ่มโดยการปรับเรื่องของการรับประทานอาหารเป็นอันดับแรกค่ะ     15 ชนิดของอาหารที่มีแร่ธาตุโพแทสเซียมสูง     […]

เมล็ดเจียคืออะไร มีคุณค่าและประโยชน์อย่างไร

ปัจจุบันคนหันมารักสุขภาพกันมากขึ้นและในคนที่รักสุขภาพก็ต่างค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารหรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพมารับประทานอยู่เสมอๆ จะไม่มีใครไม่รู้จักอาหารที่ถูกยกให้เป็นซูปเปอร์ฟู้ดส์อย่าง เมล็ดเจีย หรือ เมล็ดเชีย (Chia Seed) อย่างแน่นอน และจากที่พบประสบมาไม่ใช่แค่ในคนที่รักสุขภาพเลือกรับประทานแต่อาหารเพื่อสุขภาพเท่านั้น ในคนที่กำลังควบคุมอาหารหรืออยู่ในช่วงลดน้ำหนักก็ให้ความสนใจต่อเมล็ดตัวนี้เช่นกัน ได้มีการถามไถ่เข้ามาว่าเมล็ดตัวนี้คืออะไร ช่วยในเรื่องอะไรบ้างและเจ้าตัวเมล็ดเชียนี้มีความดีความชอบอย่างไรกันถึงได้ถูกยกให้เป็นหนึ่งในอาหารที่เรียกว่า สุดยอดอาหาร (Super Foods) กันได้ล่ะ ด้วยความสนอกสนใจของเจ้าเมล็ดตัวนี้กันถ้วนหน้ารวมถึงตัวเองด้วย เลยขออนุญาตินำข้อมูลมาแบ่งปันกันค่ะ สมัยนี้ใครๆ ก็รักสุขภาพตัวเองกันทั้งนั้นแหละค่ะ การไม่เจ็บป่วยนั้นเป็นสิ่งที่หลายคนโหยหาและเป็นชีวิตที่ใครๆ ก็ปราถนากันทั้งนั้น ไม่ว่าจะโรคภัยไข้เจ็บจากการรับประทานอาหารไม่ถูกต้อง หรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เรามีสุขภาพที่อ่อนแอลง ในเมื่อเราเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ไม่ได้แต่รู้ไหมคะว่าการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องนั้นช่วยได้ค่ะ เราห้ามสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวไม่ว่าจะจากคนอื่นหรือจากสิ่งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติได้ไม่ง่าย แต่เราก็สามารถหันมาปรับและเปลี่ยนแก้ไขตัวเราเองได้และยังง่ายกว่าด้วยค่ะ ในคนที่ดูแลตัวเองดีอยู่แล้วก็เป็นสิ่งที่ดีค่ะแต่ใครที่ยังคิดว่าค่อยเริ่มพรุ่งนี้ละกันก็ยังไม่สาย ถ้าคุณเริ่มต้นทำมันจริงๆ อย่าเพิ่งไปคิดว่าทำเพื่อลดน้ำหนักแล้วทำให้ท้อซะก่อน คิดแค่ว่าเราทำก็เพื่อสุขภาพของเราเองแค่นี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีแล้วค่ะ เอาล่ะตอนนี้ไปทำความรู้จักกับเจ้าเมล็ดเจียกันเลยดีกว่าค่ะ   เมล็ดเจียคืออะไร มาจากไหนและมีประโยชน์อย่างไร เมล็ดเจีย หรือ เมล็ดเชีย (Chia Seed) ที่หลายๆ คนรู้จักนั้นมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Salvia Hispanica L. ซึ่งทราบหรือเปล่าคะว่าเมล็ดเจียเป็นพืชที่มีมายาวนานมากแล้วค่ะ เป็นพืชที่มีอายุมากกว่า 3,500 ปี ก่อนคริสตกาลตั้งแต่สมัยอาณาจักรแอซแท็กและอาณาจักรมายันในทวีปอเมริกา และก็แน่นอนว่าเจ้าพืชตัวนี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณแถบที่มีอากาศหนาว ซึ่งอเมริกาก็เป็นทวีปที่ปลูกเมล็ดเจียกันเยอะอีกด้วย แต่เมล็ดเจียนี้กลับมีถิ่นต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศเม็กซิโกและโบลิเวีย โดยชาวพื้นเมืองเขาพากันรับประทานมานานแล้วกว่าพันๆ ปีเลยค่ะ […]