HealthGossip

สีแดง

15 ชนิดของอาหารที่มีแอนโธไซยานินสูง

อาหารที่ส่วนใหญ่ใครหลายคนได้รับประทานกันแล้วให้ประโยชน์ต่อสุขภาพส่วนใหญ่จะเป็นสารที่ได้รับจากอาหารนั้นๆ โดยสารที่ว่านั้นจะเป็นสารที่เราทราบกันดีว่าเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ วันนี้เลยมีข้อมูลของอีกสารชนิดหนึ่งมาบอกกันค่ะ สารตัวนี้ชื่อว่า “แอนโทไซยานิน” (Anthocyanins) ซึ่งแอนโทไซยานินเป็นกลุ่มของเม็ดสีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในพืช เม็ดสีเหล่านี้ทำให้พืชมีสีสันสดใสนั่นเองค่ะ โดยสารแอนโทไซยานินที่ว่านี้จะเป็นรงควัตถุหรือสารสี (pigment) ที่ให้สีแดง สีม่วงและสีน้ำเงิน ซึ่งมีมากกว่า 600 ชนิดของสีที่ได้แสดงการเปลี่ยนสี ทั้งนี้ทั้งนั้นจะขึ้นอยู่กับค่า pH ของพืชและพืชเหล่านี้ก็จะสามารถแสดงสีออกมา เช่นสีแดง สีฟ้า หรือสีม่วง แอนโทไซยานิน (anthocyanins) จัดอยู่ในกลุ่มสารประกอบฟีนอล (phenolic compounds) กลุ่มพอลิฟีนอล (polyphenol) สีของแอนโทไซยานิน ดังนั้นถ้าอยู่ในสภาพที่เป็นกรดมีค่า pH ต่ำกว่า 3 (เป็นกรดสูง) จะทำให้แอนโทไซยานินมีสีแดง ในสภาพที่ค่อนข้างเป็นกลาง หรือมีค่า pH ประมาณ 7-8 แอนโทไซยานินจะมีสีม่วง และเมื่อสภาพเป็นเบสหรือมีค่า pH มากกว่า 11 (เป็นเบสสูง) แอนโทไซยานินก็จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน สารสกัดแอนโทไซยานินนั้นมีประโยชน์ทางด้านสุขภาพมากมายเลยล่ะค่ะ โดยสารแอนโธไซยานินมีสมบัติเป็นโภชนะเภสัช (nutraceutical) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยลดการเติบโตของเซลล์มะเร็งและชะลอการก่อตัวของเนื้องอก อีกทั้งในสมัยก่อนสารสกัดจากแอนโธไซยานินก็ได้ถูกนำมาใช้เพื่อรักษาปัญหาสุขภาพมากมายรวมทั้งปัญหาทางเดินปัสสาวะนิ่วในไต […]

Vitamin A คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

“วิตามินเอ” (Vitamin A) เป็นวิตามินอีกตัวที่สำคัญและมีประโยชน์ไม่แพ้กับวิตามินชนิดอื่นๆ แต่ถึงจะมีประโยชน์มากมายเพียงใด การที่ได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอก็จะส่งผลต่อร่างกายของเราโดยเฉพาะดวงตา ผิวหนัง และระบบภูมิต้านทานโรค แล้วทำอย่างไรจึงจะไม่ขาดวิตามินเอจนร่างกายเจ็บป่วยล่ะและถ้าหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไปอีกล่ะ ดังนั้นเราจึงต้องมาทำความรู้จักกับประโยชน์และโทษของวิตามินชนิดนี้กันให้กระจ่างแจ้งกันค่ะ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ร่างกายของเราได้รับวิตามินชนิดนี้อย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุดและก็จะได้มั่นใจว่าจะไม่ก่อโทษต่อร่างกายตามมาในภายหลัง… วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา ร่างกายของเราสามารถสะสมวิตามินเอได้นานมากอาจนานได้ถึง 1 หรือ 2 ปี โดยเก็บไว้ในชั้นเซลล์ไขมัน   วิตามินเอจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) หรือเรียกว่า Retinol ซึ่งได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา อาหารประเภทเนื้อ ไข่ ตับและเครื่องใน กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือเรียกว่า เบต้า แคโรทีน (Beta-Carotene) เป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกายจึงได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ […]