Browse Tag: เผาผลาญ

กรดอะมิโน (amino acid) คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

Source: Flickr (click image for link)

“กรดอะมิโน (amino acid)” เป็นหัวข้อที่จะนำเสนอหลังจากได้ทำความรู้จักกับกรดอะมิโนจำเป็นที่สำคัญไป เลยทำให้คิดได้ว่าหลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าแล้วกรดอะมิโนจริงๆ แล้วมันคืออะไรกันนะ วันนี้เลยไม่รีรอที่จะนำเอาข้อมูลและรายละเอียดที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกรดอะมิโนมาเขียนและนำเสนอให้หลายๆ ท่านที่อาจจะยังไม่รู้จัก หรือรู้จักบ้างแต่ยังไม่ค่อยเข้าใจกันเท่าไหร่ จะว่าไปแล้วพวกเราอาจจะคุ้นเคยกับชื่อนี้กันเป็นอย่างดีถ้าเราตั้งใจเรียน พยายามนั่งอยู่หน้าสุดในชั้น หรือแม้แต่แอบหลับในพวกคาบวิชาชีววิทยา วิชาเคมี ก็คงจะคุ้นหูผ่านตามาบ้าง อาจจะพอทำให้รู้มาบ้างว่า กรดอะมิโน (amino acid) คือ ชีวโมเลกุลที่มีทั้งหมู่ฟังก์ชันอะมิโนและคาร์บอกซิลเป็นส่วนประกอบ กรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด โดยในวิชาชีวเคมี คำว่า “กรดอะมิโน” มักหมายความถึงกรดอะมิโนแบบแอลฟา (alpha animo acids) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทั้งหมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิลติดอยู่กับคาร์บอนอะตอมเดียวกัน เรียกว่า แอลฟาคาร์บอนค่ะ ด้วยแค่เนื้อหาที่กล่าวมาก็คงทำให้หลายๆ คนเกิดอาการง่วงรวมถึงผู้เขียนด้วย ดังนั้นการที่เราจะมาเขียนเรื่องราวของกรดอะมิโนในวันนี้ เราจึงจะเน้นไปในทางด้านของสุขภาพและความสำคัญต่อร่างกายยังไงบ้างแบบมีสาระสำคัญเน้นๆ กันไปเลย ก่อนที่เราจะพากันง่วงไปกว่านี้ไปเข้าเรื่องเลยดีกว่าค่ะ

 

กรดอะมิโน (amino acid) คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

Source: Flickr (click image for link)

ในด้านของสุขภาพและความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์อย่างเราๆ กรดอะมิโน คือ โปรตีนที่ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กที่สุดเพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้ ความจริงแล้วรองจากน้ำที่เป็นส่วนประกอบใหญ่ที่สุดในร่างกายของมนุษย์เราก็จะเป็นโปรตีนที่ประกอบอยู่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ และแน่นอนว่าโปรตีนมีบทบาทสำคัญในเกือบทุกระบบของกระบวนการทางชีววิทยาที่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหลายโครงสร้างรวมทั้งหน้าที่ในร่างกายของเราด้วยค่ะ และเมื่อร่างกายของเราได้ทำการย่อยโปรตีนแล้วโปรตีนเหล่านั้นจะอยู่ในรูปของกรดอะมิโน โดยกรดอะมิโนจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการต่างๆ ของร่างกายนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนของเซลล์กล้ามเนื้อรวมถึงเนื้อเยื่อส่วนใหญ่ก็ประกอบไปด้วยกรดอะมิโนค่ะ ซึ่งก็หมายความว่าเซลล์เหล่านี้ทำหน้าที่สำคัญในร่างกายของมนุษย์เราหลายอย่างมากมาย กรดอะมิโนที่พบในอาหาร พบว่า ไข่ มีกรดอะมิโนจำเป็นที่สมบูรณ์ครบถ้วนต่อความต้องการของร่างการวมถึงโปรตีนจากสัตว์ทั่วไป จำพวก เนื้อสัตว์ เนื้อปลา นม และอื่นๆ ก็มีปริมาณกรดอะมิโนที่เพียงพอค่ะ ส่วนแหล่งที่มาของกรดอะมิโนในที่พบในพืช ได้แก่ พืชตระกูลถั่ว เมล็ดธัญพืช ถั่ว และเมล็ดพืช แต่ถ้าว่าเลือกรับประทานแค่เพียงชนิดใดชนิดหนึ่งก็จะได้รับปริมาณกรดอะมิโนที่ไม่เพียงพอ  ดังนั้นคนที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์หรืออยากได้รับโปรตีนและกรดอะมิโนจากพืชก็ควรสามารถตรวจสอบปริมาณของชนิดอาหารนั้นๆ เลือกรับประทานอาหารที่หลากหลายของอาหารประเภทพืชตระกูลถั่วต่างๆ และธัญพืชค่ะ

วามสำคัญของกรดอะมิโน (amino acid)

  • สร้างโครงสร้างของเซลล์
  • มีบทบาทสำคัญในการขนส่งและการจัดเก็บสารอาหาร
  • กรดอะมิโนมีอิทธิพลต่อหน้าที่ของอวัยวะ ต่อม เส้นเอ็น และเส้นเลือด
  • มีความจำเป็นในการสร้างเอนไซม์หรือน้ำย่อยต่างๆ ร่วมถึงฮอร์โมน และสารสื่อประสาท
  • มีความจำเป็นสำหรับการรักษาบาดแผลและการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
  • ซ่อมแซมกล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนังและเส้นผมตลอดจนการกำจัดของเสียประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญ
  • กระบวนการย่อยสลายของสารอาหารภายในเซลล์ทั่วร่างกาย

กรดอะมิโนมีบทบาทสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาผลาญของร่างกายของเราและเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต การซ่อมแซม การขนส่ง การจัดเก็บ และการใช้งาน กรดอะมิโนมีผลต่อองค์ประกอบต่างๆ มากมาย รวมไปถึงกล้ามเนื้อ อวัยวะ ระบบการย่อย เลือด และระบบการทำงานของสมอง เนื่องด้วยร่างกายของเราต้องใช้กรดอะมิโนที่แตกต่างกันถึง 20 ชนิด เพื่อความสมบูรณ์ในการทำหน้าที่ต่อสุขภาพและร่างกายของเรา จาก 20 ชนิดของกรดอะมิโนที่ร่างกายของเราต้องการ ซึ่งมีกรดอะมิโนที่ร่างกายของเราสามารถสร้างขึ้นมาเองได้อยู่ 11 ชนิด และมีอีก 9 ชนิดที่ร่างกายของเราไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้โดยจะได้รับจากอาหารที่เรากินเข้าไป จะเรียกกรดอะมิโนนี้ว่า กรดอะมิโนที่จำเป็น ปริมาณของกรดอะมิโนแต่ละชนิดที่ร่างกายของเราต้องการจะแตกต่างกันไป จากกรดอะมิโน 20 ชนิดซึ่งเป็นโปรตีนในร่างกายของเราจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทที่สำคัญ ดังนี้

1.กรดอะมิโนที่จำเป็น เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายของเราไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับจากอาหารที่เรากินเข้าไป มีกรดอะมิโนที่จำเป็น 9 ชนิด คือ histidine, isoleucine, leucine, lysine, methionine, phenylalanine, threonine, tryptophan valine และ arginine โดย arginine จะจัดอยู่ในกลุ่มของเด็กทารกเท่านั้นเนื่องจากเด็กทารกไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ร่างกายจึงสามารถสร้างขึ้นเองได้ ดังนั้นเด็กทารกจะต้องการกรดอะมิโนจำเป็นจำนวน 10 ชนิด ส่วนวัยผู้ใหญ่ที่สามารถสร้างอาร์จีนีนได้แล้วจะมีกรดอะมิโนจำเป็นเหลือเพียง 9 ชนิดค่ะ

2. กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายของเราสามารถสร้างหรือสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ เช่น alanine, asparagine, aspartic acid, cysteine, glutamic acid, glutamine, glycine, proline, serine, and tyrosine

 

อย่างไรก็ตามการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมและหลากหลายก็ยังคงเป็นแนวทางการเลือกปฎิบัติที่สำคัญ แค่เพียงเราทราบว่าอาหารแต่ชนิดแต่ละประเภทคืออะไร มาจากไหน มีอะไรบ้าง เราก็สามารถเลือกและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมต่อสุขภาพและตัวเราเองได้ค่ะ  หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยทำให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของกรดอะมิโน (amino acid) มากขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อยนะคะ

 

www.flickr.com/photos/149561324@N03/25388616628/

www.flickr.com/photos/_sk/5086171972/

15 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินบี 1 สูง

Source: Flickr (click image for link)

“วิตามินบี 1” (Vitamin B1) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไธอะมีน (Thiamine) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ (water soluble vitamine) ซึ่งจะถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อนที่อยู่ในสารละลายมีฤทธิ์เป็นด่างหรือเป็นกลาง และสามารถทนได้ถึง 120 องศาเซลเซียสถ้าอยู่ในสารละลายที่เป็นกรดค่ะ โดยร่างกายของมนุษย์เราไม่สามารถสังเคราะห์ไธอะมินได้เพราฉะนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับจากอาหารและจะถูกนำไปใช้จนหมดอย่างรวดเร็วถ้าไม่ได้รับเพิ่มจากอาหาร ในส่วนของหน้าที่สำคัญในการทำงานของไธอะมีนที่มีต่อร่างกายของเราคือ จะไปช่วยร่างกายของเราให้เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตมาเป็นพลังงาน โดยการเร่งการเผาผลาญอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเป็นหลักรวมถึงโปรตีนและไขมันอีกด้วยค่ะ เนื่องด้วยร่างกายของเราไม่สามารถสังเคราะห์ไธอะมีนได้นอกเสียจากได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้นอีกทั้งยังถูกนำไปใช้หมดอย่างรวดเร็ว ในบางคนจึงไม่เกิดอาการขาดวิตามินบี 1 ได้ง่ายอาจจะเพราะได้รับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอ เมื่อร่างกายเราได้รับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอก็จะทำให้เป็น โรคเหน็บชา ได้ง่ายและก็เกิดได้กับบุคคลทุกกลุ่ม ทุกอายุ เด็กทารกถ้าเป็นโรคเหน็บชา (Infantile beriberi) จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันต่อโรค ซึ่งพบได้มากในประเทศที่รับประทานข้าวที่ผ่านการขัดสีเป็นอาหารหลัก โดยที่ไม่ได้รับอาหารอย่างอื่นที่มีวิตามินบี 1 มาเสริมเพิ่มเติมอย่างเพียงพอ เมื่อร่างกายของเราได้รับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอก็จะมีสัญญาณเตือนว่าเรามีอาการขาดวิตามินบี 1 โดยที่เราจะรู้สึกเหนื่อยเมื่อยล้าง่าย เริ่มเบื่ออาหารการกิน นอนก็ไม่ค่อยจะหลับ อารมณ์แปรปรวน สมองมึนงงความคิดสับสนวกวนจากการเสื่อมสภากของระบบประสาท หากขาดรุนแรงก็อาจจะทำให้เกิดอาการทางการเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน ชาตามปลายมือปลายเท้า รุนแรงมากขึ้นอาจเป็นอัมพาตและโรคหัวใจวายได้ และการขาดหรือได้รับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอก็เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้ค่ะ

  • รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 ในปริมาณที่ไม่เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 น้อยหรือไม่มีเลย
  • รับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมากเกินไปจนไปทำให้ร่างกายต้องใช้ วิตามินบี 1 ไปเยอะในการเผาผลาญสารอาหารคาร์โบไฮเดรตจนทำให้ร่างกายขาด
  • วิตามินบี 1 สามารถถูกทำลายได้จากความร้อนที่เกิดจากการประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนนานเกินไป
  • วิตามินบี 1 จะถูกทำลายและถูกขัดขวางในการดูดซึมเมื่อดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

15 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินบี 1 (Vitamin B1) สูง

Source: Flickr (click image for link)

1.เนื้อหมู

ในเนื้อสัตว์ก็มีวิตามินบี 1 หรือไธอะมีนซึ่งจะมีเยอะมากในเนื้อหมูล้วนๆ ยิ่งเลือกรับประทานส่วนที่มีไขมันน้อยยิ่งได้ไธอมีนสูงและได้ประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย ซึ่งเนื้อหมูปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 1.12 มิลลิกรัม

 

2.ปลาเทราท์

เนื้อปลาที่มีวิตามินบี 1 หรือไธอะมีนอยู่มากจะเป็นปลาเทราท์ ถ้าใครไม่ทานเนื้อสัตว์ใหญ่ก็เลือกรับประทานปลาแทนได้ค่ะ เนื้อปลาเทราท์ปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.43 มิลลิกรัม

 

3.ข้าวกล้อง

วิตามินบี 1 หรือไธอะมีนจะมีเยอะอยู่ในธัญพืชประเภทข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี แต่บ้านเรานิยมรับประทานข้าวขาวกันซะมากกว่าจึงได้รับวิตามินบี 1 น้อย ลองเปลี่ยนมาทานข้าวกล้องกันดูค่ะ ซึ่งข้าวกล้องปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.55 มิลลิกรัม

 

4.เมล็ดทานตะวัน

ธัญพืชตรกูลถั่วมีไธอะมีนอยู่สูงด้วยกันหลายชนิดและเมล็ดทานตะวันเป็นอีกหนึ่งในธัญพืชตระกูลถั่วที่มีไธอะมีนอยู่สูง เมล็ดทานตะวันปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 1.48 มิลลิกรัม

 

5.แมคคาเดเมีย

แมคคาเดเมียเป็นถั่วเมล็ดกลมๆ สีขาวนวล รสชาติกลมกล่อมเหมาะกับเป็นอาหารว่างทานเล่นเพลินๆ แต่หารู้ไม่ว่าแมคคาเดเมียปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.71 มิลลิกรัม

 

6.ถั่วลันเตา

ถั่วลันเตาสีเขียมลูกกลมกลิ้งก็เป็นอีกตัวเลือกสำหรับคนที่กำลังมองหาอาหารชนิดที่มีไธอะมีนสูงค่ะ ถั่วลันเตาปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.386 มิลลิกรัม

 

7.ขนมปังโฮลวีท

ขนมปังชนิดโฮลวีทนอกจากจะมีประโยชน์ในด้านไฟเบอร์สูงแล้วยังมีวิตามินบี 1 อยู่สูงด้วยเช่นกัน ขนมปังโฮลวีทปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.47 มิลลิกรัม

 

8.งาดำ

งาทุกชนิดมีประโยชน์และไธอะมีนอยู่สูงเช่นกันโดยเฉพาะงาดำ ซึ่งงาดำปริมาณ 2 ช้อนโต๊ะ มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.142 มิลลิกรัม

 

9.สควอช

ผลสควอชเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับฟักทองและก็มีลักษณะรสชาติคล้ายกับฟักทองด้วยเช่นกันค่ะ สควอชปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.17 มิลลิกรัม

 

10.หน่อไม้ฝรั่ง

พืชผักอย่างหน่อไม้ฝรั่งก็ถือเป็นแหล่งไธอะมีนด้วยเหมือนกันค่ หน่อไม้ฝรั่งปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.19 มิลลิกรัม

 

11.ถั่วแระ

ถั่วแระถือเป็นอาหารทานเล่นของชาวญี่ปุ่นที่อุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย และรสชาติของถั่วแระก็ถูกปากคนไทยบ้านเราอยู่ไม่น้อย ซึ่งถั่วแระปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.40 มิลลิกรัม

 

12.ถั่วเหลือง

ถั่วเหลืองเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีโปรตีนสูงและสารอาหารมากมายรวมถึวิตามิบี 1 ด้วยค่ะ ถั่วเหลืองดิบปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.73 มิลลิกรัม

 

13.ข้าวเหนียวดำ

บ้านเรามีข้าวหลากหลายประเภทให้เลือกรับประทานถือว่าโชคดีค่ะ และข้าวเหนียวดำถือว่ามีประโยชน์สูงโดยเฉพาะเป็นแหล่งวิตามินบี 1 โดยข้าวเหนียวดำปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.55 มิลลิกรัม

 

14.ผักปวยเล้ง

ผักปวยเล้งเป็นพืชที่ประโยชน์ล้นเหลือจริงๆค่ะ ไม่น่าเชื่อว่าผักปวยเล้งก็จัดอยู่ในผักที่ให้ไธอมีนสูงเช่นกัน โดยผักปวยเล้งปริมาณ 1 ช่อ มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.265 มิลลิกรัม

 

15.ถั่วพิตาชิโอ

ใครที่ชอบกินถั่วเป็นของว่างทานเล่นนี้ถือว่ามาถูกทางค่ะ พืชตระกูลถั่วนี้ถือว่าเป็นแหล่งไธอะมีนเลยทีเดียว ถั่วพิตาชิโอปริมาณ 1 ออนซ์ มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.247 มิลลิกรัม

 

 

 

www.flickr.com/photos/sierravalleygirl/1603076490/

www.flickr.com/photos/97513256@N06/9042013683/

คาร์โบไฮเดรต คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

carbohydrate-foods-1
Source: Flickr (click image for link)

คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) เป็นสารชีวโมเลกุลชนิดที่สำคัญที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดและมีความจำเป็นต่อร่างกายของเราอย่างยิ่งค่ะ ซึ่งเป็นสารชีวโมเลกุลที่ทำหน้าที่สะสมพลังงานที่พบในชีวิตประจำวันทั่วไปได้แก่ น้ำตาล แป้ง เซลลูโลส  และไกลโคเจน โดยที่ส่วนใหญ่พบแป้งและเซลลูโลสในพืช ส่วนไกลโคเจนพบในเซลล์เนื้อเยื่อ น้ำไขข้อและผนังเซลล์ของสัตว์ คำว่าคาร์โบไฮเดรตมีรากศัพท์มาจากคำว่า คาร์บอน (carbon) และคำว่าไฮเดรต (hydrate) อิ่มตัวไปด้วยน้ำ ซึ่งรวมกันก็หมายถึงคาร์บอนที่อิ่มตัวไปด้วยน้ำ โดยคาร์โบไฮเดรตจัดเป็นสารประกอบแอลดีไฮด์ (aldehyde) หรือคีโทน (ketone) ที่มีหมู่ไฮดรอกซิลเกาะอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเรียกว่าสารประกอบโพลีไฮดรอกซีแอลดีไฮด์ (polyhydroxyaldehyde) หรือ โพลีไฮดรอกซีคีโทน (polyhydroxyketone) คาร์โบไฮเดรตมีความหลากหลายทั้งในด้านของโครงสร้างทางเคมีและบทบาททางชีวภาพอีกด้วย หน่วยที่เล็กทีสุดของคาร์โบไฮเดรตก็คือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือโมโนแซคคาร์ไรด์ค่ะ ประเทศไทยที่อุดมไปด้วยพืชผักและพรรณไม้นานาชนิดซึ่งเป็นแหล่งสำคัญของคาร์โบไฮเดรต เมื่อพืชสร้างอาหารโดยการสังเคราะห์แสง เพื่อนำอาหารไปสร้างเป็นส่วนของลำต้น ราก ใบ ดอก ผล และเมล็ด อาหารส่วนที่เหลือจะถูกนำไปเก็บสะสมไว้ในส่วนต่าง ๆ ในรูปของแป้งและน้ำตาล จึงกล่วไดว่าพืชเป็นแหล่งสำคัญของคาร์โบไฮเดรต ข้าวเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งและเป็นอาหารหลักของคนไทยส่วนใหญ่

 

เกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)

ในทางเคมี คาร์โบไฮเดรตทุกประเภทประกอบด้วยอะตอมต่างๆของคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน โดยเรียงตัวในลักษณะที่ต่างกันไป และคาร์โบไฮเดรตทุกประเภทมีบทบาทสำคัญทางโภชนาการ คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารที่พบมากในอาหารประเภท ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน และพืชผักผลไม้ที่มีรสหวานค่ะ

carbohydrate-foods-2
Source: Flickr (click image for link)

คาร์โบไฮเดรตมี 2 ประเภทใหญ่ๆ โดยคาร์โบไฮเดรตสามารถจำแนกตามจำนวนโมเลกุลของน้ำตาลที่เชื่อมโยงกันได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

1.คาร์โบไฮเดรตประเภทน้ำตาลชนิดต่างๆ เราเรียกว่าเป็น ”คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว”

กลุ่มน้ำตาลชั้นเดียว (monosacharide,simple sugar) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กที่สุด ร่างกายไม่สามารถย่อยให้เล็กลงกว่านี้ได้อีก เมื่อรับประทานเข้าและไปสามารถดูดซึมได้ทันที ได้แก่

  • กลูโคส ( มีอยู่ในธรรมชาติทั่วไป ในพืช ผัก ผลไม้ต่างๆ เช่น องุ่น ข้าวโพด น้ำผึ้ง)
  • ฟรุคโทส (มีรสหวานกว่าน้ำตาลชนิดอื่น พบในเกสรดอกไม้ ผลไม้ ผัก น้ำผึ้ง กากน้ำตาล ปนอยู่ในกลูโคส ในร่างกายได้จากการย่อยน้ำตาลทราย)
  • กาแลกโทส (ไม่เกิดในรูปอิสระในธรรมชาติ ได้จากการย่อยแลกโทส หรือน้ำตาลนม ซึ่งมีอยู่ในอาหารพวกนมและผลิตผลของนมทั่วๆไป)

กลุ่มน้ำตาลสองชั้น (disaccharide, double sugar) เป็นน้ำตาลที่ได้จากการรวมน้ำตาลชั้นเดียว 2 โมเลกุล เมื่อกินน้ำตาล 2 ชั้นเข้าไป ต้องถูกย่อยโดยเอนไซม์ในทางเดินอาหารได้น้ำตาลชั้นเดียวก่อนจึงจะดูดซึมได้ คาร์โบไฮเดรตประเภทนี้ ได้แก่

  • ซูโครส (น้ำตาลทราย)
  • มอสโทส (ในเมล็ดข้าวที่งอกแล้ว)
  • แลกโทส (ในนม หรือ น้ำตาลนม)

2.คาร์โบไฮเดรตประเภทแป้ง เราเรียกว่าเป็น “คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน

กลุ่มน้ำตาลหลายชั้น หรือพวกไม่ใช่น้ำตาล (Polysaccharide) เป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่และซับซ้อน ประกอบด้วยน้ำตาลชั้นเดียวเป็นจำนวนมาก มารวมกัน ไม่มีรสหวาน ได้แก่

  • แป้ง (starch) พบในพืช สะสมอยู่ในเมล็ด ราก หัว ลำต้น เมล็ดเป็นแหล่งธัญพืชสำคัญ โมเลกุลของแป้งเกิดจากน้ำตาลกลูโคสต่อกันเป็นจำนวนมากในรูปที่เป็นเส้นตรง อะมิโลส (amylose) และกิ่งก้านอะมิโลเพกทิน (amylopectin) เมื่อแป้งถูกย่อยถึงขั้นสุดท้ายจะได้น้ำตาลกลูโคส
  • ไกลโคเจน (glycogen) เป็นน้ำตาลหลายชั้น พบในตับและกล้ามเนื้อสัตว์ บางทีเรียกว่า แป้งสัตว์ มีส่วนประกอบคล้ายแป้ง แต่มีกิ่งก้านมากกว่าเมื่อแตกตัวออกจะได้กลูโคสและมักไม่พบในพืช
  • เดกซ์ทริน (dextrin) ได้จากการย่อยแป้ง อาหารที่มีเดกซ์ทรินอยู่บ้าง ได้แก่ น้ำผึ้ง โดยมากปนอยู่กับคาร์โบไฮเดรตอย่างอื่น เดกซ์ทรินเมื่อแตกตัวหรือถูกย่อยต่อไปจะให้มอลโทสและท้ายที่สุดจะให้กลูโคส แป้ง เดกซ์ทริน มอลโทส กลูโคส
  • เซลลูโลส (cellulose) บางทีเรียกว่าใยหรือกาก เป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์พืช มีมากในใบ ก้าน เปลือก คนไม่สามารถย่อยเซลลูโลสได้ และเซลลูโลสเองยังช่วยป้องกันการท้องผูกค่ะ

 

 

ประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรตที่มีต่อร่างกาย

 

ให้พลังงานและความร้อน หรือให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย โดยคาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงานประมาณ 4 แคลอรี่ และเป็นพลังงานที่จะถูกร่างกายนำมาใช้ก่อนสารอาหารประเภทไขมันและโปรตีนตามลำดับ

 

ช่วยให้ร่างกายนำสารอาหารโปรตีนไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ กล่าวคือ ถ้าร่างกายได้ พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตมาใช้ไม่เพียงพอ ร่างกายจะนำเอาโปรตีนมาสลายให้เกิดพลังงาน แทนร่างกายก็จะผอมลงได้

 

ใช้เป็นพลังงานสำรองของร่างกาย ถ้าร่างกายรับประทานพวกคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป ส่วนเกินนี้จะถูกปลี่ยนเป็นไขมันสะสมไว้ตามเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย และจะถูกนำมาใช้เมื่อร่างกายขาดแคลนพลังงาน

 

ช่วยทำลายพิษและขจัดสารพิษ สารเคมีบางอย่างเมื่อเข้าไปในร่างกายโดยบังเอิญหรือติดไปกับอาหาร ตับจะกำจัดสารพิษโดยทำปฎิกิริยากับสารพวกคาร์โบไฮเดรตให้กลายเป็นสารที่ไม่มีพิษ โดยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของตับ ซึ่งเป็นอวัยวะส่วนสำคัญของร่างกายในการขจัดสารพิษในเลือด

 

ช่วยในการขับถ่าย เซลลูโลสช่วยกระตุ้นในการทำงานของลำไส้และ ป้องกันการท้องผูก แลกโทสเป็นอาหารที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดกรดในลำไส้ของทารกการเกิดกรด ช่วยการดูดซึมของแคลเซียมทำให้ทารกเจริญเติบโตได้ดี เดกซ์ทรินเป็นอาหารที่เหมาะแก่แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียพวกนี้ใช้พลังงานจากเดกซ์ทรินในการสังเคราะห์วิตามินบีต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

 

ช่วยให้ไขมันเผาไหม้สมบูรณ์ ไขมันในร่างกายจะเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ถ้ารับประทานคาร์โบไฮเดรตไม่พอ ทำให้เกิดสารที่เป็นโทษแก่ร่างกายขึ้นในเลือดและ ในปัสสาวะ (ketone bodies) ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้นานๆในรายที่เป็นเบาหวานขั้นรุนแรง จะทำให้ความเป็นกรดด่างของร่างกายเปลี่ยนไป ร่างกายมีความเป็นกรดมากไปอวัยวะต่างๆทำงานผิดปกติ อาจรุนแรงถึงขั้นหมดสติ และตายได้

 

ช่วยรักษาสภาพสภาวะน้ำตาลในเลือดให้คงที่ คือ 70-100 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร ทำงานปกติ ซึ่งคนปกติระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติเป็นอาการของโรคเบาหวาน ถ้าต่ำผิดปกติทำให้เกิดอาการชักหรือช็อกหรือหมดสติ ดังนั้นถ้าน้ำตาลไปเลี้ยงสมองไม่พอจะทำให้เกิดอาการช็อก หรือหมดสติได้ ระดับน้ำตาลในเลือดยังช่วยควบคุมการบริโภคอาหารของมนุษย์ ถ้าระดับน้ำตาลในเส้นเลือดแดงสูงกว่าในเส้นเลือดดำมากแสดงว่ามีคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายใช้ประโยชน์ได้อยู่เป็นจำนวนมาก (vailable หรือ utilization) จะรู้สึกอิ่ม แต่ถ้าระดับน้ำตาลในเส้นเลือดแดงต่ำเกือบเท่าเส้นเลือดดำ แสดงว่ามีคาร์โบไฮเดรตที่ใช้ได้น้อยหรือเก็บไว้น้อยในร่างกาย จะทำให้รู้สึกหิว (hunger)

 

 

www.flickr.com/photos/omnia_mutantur/17581308424/

www.flickr.com/photos/arepb/3084304765/

โครเมี่ยม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

yeast-1
Source: Flickr (click image for link)

โครเมียม (Chromium) เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อการเจริญเติบโตและสุขภาพที่ดี ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในขบวนการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคส คาร์โบไฮเดรต และไขมัน เพื่อให้ได้พลังงานไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆในร่างกาย  รองจากแคลเซียมแล้ว โครเมียม เป็นแร่ธาตุที่ได้รับความนิยมมากสำหรับคนอเมริกันที่รับประทานเป็นประจำ และยังเป็นที่ร่างกายต้องการโครเมียมในปริมาณ 50 – 200 ไมโครกรัมต่อวัน โครเมียม มีความสำคัญอย่างยิ่งกับขบวนการเมตาลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และช่วยเสริมการทำงานของอินซูลินในร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่ในการนำน้ำตาลกลูโคสในเลือดเข้าไปในเซลล์ เพื่อนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานสำรอง โครเมียม มีส่วนในการช่วยรักษาปริมาณน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ (ในขบวนการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต) ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติและช่วยลดความอยากน้ำตาล นอกจากนั้นโครเมียมยังสามารถควบคุมระดับของปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดได้ โดยจะไปเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลชนิด HDL ซึ่งเป็นชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และลดการสร้าง LDL ได้ เมื่อเรามีอายุมากขึ้นร่างกายเราจะค่อยๆขาดโครเมี่ยมไปเรื่อยๆ นั่นอาจจะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุให้คุณเสี่ยงต่อโรคร้ายอย่างโรคเบาหวานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โครเมียมที่อยู่ในรูปของโครเมียม พิโคลิเนต (Chromium Picolinate) หรือ โครเมียม โพลีนิโคไทเนต (Chromium Polynicotinate) มีบทบาทสำคัญในเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และไขมัน การเสริมโครเมียมทำให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายมีประสิทธิภาพในการนำกลูโคสไปใช้ได้เพิ่มขึ้นค่ะ

ภาวะการขาดโครเมียม

จะทำให้ระดับกลูโคส อินซูลิน คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ สูงขึ้น และระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (high density lipoproteins, HDL)ลดลง

การขาดโครเมียมอย่างรุนแรงมีความผิดปกติของประสาทและสมอง อาการผิดปกตินี้กลับสู่ปกติได้โดยการให้โครเมียมเสริม การเสริมโครเมียมในเด็กขาดอาหาร ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดเป็นเวลานาน ช่วยให้ความทนต่อกลูโคสดีขึ้น

การขาดโครเมียมเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคผนังเส้นเลือดแข็งตัว และโรคเบาหวาน

 

เกี่ยวกับโครเมียม หรือ Chromium

  • โครเมียม เป็นแร่ธาตุจำเป็นที่ร่างกายต้องการในปริมาณเล็กน้อย
  • โครเมียม ในร่างกายของคนเรามีอยู่ประมาณ 6 มิลลิกรัม และปริมาณนี้ก็จะลดลงเรื่อยๆ เมื่ออายุเรามากขึ้น
  • โครเมียม เกี่ยวข้องกับเมตาบอริซึม ของคาร์โบไฮเดรต และไขมัน โดยเฉพาะการใช้กลูโคสในร่างกาย
  • โครเมียม มีผลในเรื่องของการลดน้ำหนัก คือ มันไปช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันในร่างกาย และไปเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ
  • โครเมียม มีส่วนในการช่วยรักษาปริมาณน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ (ในขบวนการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต)
  • โครเมียม เป็นส่วนประกอบของสารที่เรียกว่า GTF (Glucose Tolerance Factor) โดยทำงานร่วมกับ ไนอาซิน และ กรดอะมิโนอีกหลายชนิด
  • โครเมียม เมื่อขาดจะทำให้เกิดอาการเหมือนกับคนที่มีภาวะต้านอินซูลิน และเบาหวานชนิดที่ 2 ระดับโครเมียมในเลือดที่ต่ำ สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • โครเมียม วิตามินซีจะเพิ่มการดูดซึมของโครเมียม
  • โครเมียม แหล่งที่พบโครเมียมที่ดีที่สุด คือ ในยีสต์ (Brewer’s yeast)
  • โครเมียม แหล่งที่พบโครเมียมในธรรมชาติ พบมากใน น้ำมันข้าวโพด หอยกาบ เนื้อไก่ บริวเวอร์ยีสต์ จมูกข้าวสาลี ตับ ไข่แดง เห็ด เนยแข็ง กากน้ำตาล และในข้าวชนิดต่างๆ เช่น ข้าวกล้อง
  • โครเมียม ช่วยการเจริญเติบโต
  • โครเมียม ช่วยป้องกันพิษจากตะกั่ว
  • โครเมียม ป้องกันหลอดเลือดแข็ง
  • โครเมียม ทำงานเป็นเกราะป้องกันโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันอาการขาดน้ำตาล และอ่อนล้าหมดเรี่ยวแรงเฉียบพลัน
  • โครเมียม ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้
  • โครเมียม ช่วยนำโปรตีนไปยังส่วนที่ต้องการใช้
  • โครเมียม ช่วยป้องกันความดันโลหิตสูงและช่วยลดความดันโลหิต
  • โครเมียม เป็นตัวที่มีบทบาทร่วมกับ RNA ในการสังเคราะห์โปรตีน
  • โครเมียม ทั้งหมดที่รับประทาน ส่วนที่เหลือจะถูกขับออกทางปัสาวะและอุจจาระบางส่วน

 

ประโยชน์ของโครเมียม หรือ Chromium

 

ลดระดับคลอเรสเตอรอลในร่างกาย จากหลักฐานการศึกษาวิจัยพบว่า โครเมียม (ทั้งในรูปแบบพิกโคลิเนตและอื่นๆ) พบว่ามีผลในการลดระดับคลอเลสเตอรอลในร่างกาย โดยการมีบทบาทไปเพิ่ม HDL หรือ คลอเรสเตอรอลชนิดดี และลดระดับ คลอเรสเตอรอลทั้งหมด

 

ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและโรคเบาหวาน จะทำงานร่วมกับอินซูลินในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการเผาผลาญน้ำตาล โครเมียมทำหน้าที่เสริมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน โดยเป็นส่วนประกอบของ glucose tolerance factor ซึ่งมีความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินต่อตัวรับอินซูลิน (insulin receptor)

 

ช่วยเรื่องการลดน้ำหนัก โครเมียมพิกโคลิเนต จะไปช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันในร่างกายและไปเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ มีการศึกษาเมื่อปี 1998 โดยมีอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 122 คนที่เป็นสมาชิกของเฮลท์คลับต่างๆ ในเทกซัสได้รับ โครเมียมจำนวน 400 ไมโครกรัมต่อวันของ โครเมียมพิกโคลิเนต หรือยาหลอกเป็นระยะเวลติดต่อกัน 3 เดือน คนที่ได้รับ โครเมียม มีไขมันในร่างกายลดลง 6 ปอนด์ (2.7 กิโลกรัม) ขณะที่คนที่ได้รับยาหลอกลดลงเพียง 3 ปอนด์ (1.3 กิโลกรัม)

 

ปริมาณของโครเมียมที่ร่างกายควรได้รับ

การขาดโครเมียม ทำให้เกิดอาการเหมือนกับคนที่มีภาวะต้านอินซูลิน และเบาหวานชนิดที่ 2 ระดับโครเมียมในเลือดที่ต่ำ สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ป่วยเบาหวานจะมีระดับโครเมียมในพลาสมาลดลง จากการศึกษาวิจัยในคนและสัตว์ทดลองพบว่า ระดับโครเมียมในร่างกายต่ำมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติในเมตาบอลิซึมของอินซูลิน กลูโคส และไขมัน ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

ปริมาณที่แนะนำ ร่างกายมนุษย์ปกติคนทั่วไปควรได้รับโครเมียมปริมาณที่แนะนำโดยแพทย์ทั่วไป คือ 200 ไมโครกรัมต่อวัน

(ขนาดที่ อย. อเมริกัน US FDA ได้แนะนำไว้คือ 50-200 ไมโครกรัมต่อวัน)

 

www.flickr.com/photos/cgc/4755952861/

  • 1
  • 2