Browse Tag: คลอเรสเตอรอล

โครเมี่ยม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

yeast-1
Source: Flickr (click image for link)

โครเมียม (Chromium) เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อการเจริญเติบโตและสุขภาพที่ดี ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในขบวนการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคส คาร์โบไฮเดรต และไขมัน เพื่อให้ได้พลังงานไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆในร่างกาย  รองจากแคลเซียมแล้ว โครเมียม เป็นแร่ธาตุที่ได้รับความนิยมมากสำหรับคนอเมริกันที่รับประทานเป็นประจำ และยังเป็นที่ร่างกายต้องการโครเมียมในปริมาณ 50 – 200 ไมโครกรัมต่อวัน โครเมียม มีความสำคัญอย่างยิ่งกับขบวนการเมตาลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และช่วยเสริมการทำงานของอินซูลินในร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่ในการนำน้ำตาลกลูโคสในเลือดเข้าไปในเซลล์ เพื่อนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานสำรอง โครเมียม มีส่วนในการช่วยรักษาปริมาณน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ (ในขบวนการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต) ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติและช่วยลดความอยากน้ำตาล นอกจากนั้นโครเมียมยังสามารถควบคุมระดับของปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดได้ โดยจะไปเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลชนิด HDL ซึ่งเป็นชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และลดการสร้าง LDL ได้ เมื่อเรามีอายุมากขึ้นร่างกายเราจะค่อยๆขาดโครเมี่ยมไปเรื่อยๆ นั่นอาจจะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุให้คุณเสี่ยงต่อโรคร้ายอย่างโรคเบาหวานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โครเมียมที่อยู่ในรูปของโครเมียม พิโคลิเนต (Chromium Picolinate) หรือ โครเมียม โพลีนิโคไทเนต (Chromium Polynicotinate) มีบทบาทสำคัญในเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และไขมัน การเสริมโครเมียมทำให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายมีประสิทธิภาพในการนำกลูโคสไปใช้ได้เพิ่มขึ้นค่ะ

ภาวะการขาดโครเมียม

จะทำให้ระดับกลูโคส อินซูลิน คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ สูงขึ้น และระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (high density lipoproteins, HDL)ลดลง

การขาดโครเมียมอย่างรุนแรงมีความผิดปกติของประสาทและสมอง อาการผิดปกตินี้กลับสู่ปกติได้โดยการให้โครเมียมเสริม การเสริมโครเมียมในเด็กขาดอาหาร ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดเป็นเวลานาน ช่วยให้ความทนต่อกลูโคสดีขึ้น

การขาดโครเมียมเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคผนังเส้นเลือดแข็งตัว และโรคเบาหวาน

 

เกี่ยวกับโครเมียม หรือ Chromium

  • โครเมียม เป็นแร่ธาตุจำเป็นที่ร่างกายต้องการในปริมาณเล็กน้อย
  • โครเมียม ในร่างกายของคนเรามีอยู่ประมาณ 6 มิลลิกรัม และปริมาณนี้ก็จะลดลงเรื่อยๆ เมื่ออายุเรามากขึ้น
  • โครเมียม เกี่ยวข้องกับเมตาบอริซึม ของคาร์โบไฮเดรต และไขมัน โดยเฉพาะการใช้กลูโคสในร่างกาย
  • โครเมียม มีผลในเรื่องของการลดน้ำหนัก คือ มันไปช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันในร่างกาย และไปเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ
  • โครเมียม มีส่วนในการช่วยรักษาปริมาณน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ (ในขบวนการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต)
  • โครเมียม เป็นส่วนประกอบของสารที่เรียกว่า GTF (Glucose Tolerance Factor) โดยทำงานร่วมกับ ไนอาซิน และ กรดอะมิโนอีกหลายชนิด
  • โครเมียม เมื่อขาดจะทำให้เกิดอาการเหมือนกับคนที่มีภาวะต้านอินซูลิน และเบาหวานชนิดที่ 2 ระดับโครเมียมในเลือดที่ต่ำ สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • โครเมียม วิตามินซีจะเพิ่มการดูดซึมของโครเมียม
  • โครเมียม แหล่งที่พบโครเมียมที่ดีที่สุด คือ ในยีสต์ (Brewer’s yeast)
  • โครเมียม แหล่งที่พบโครเมียมในธรรมชาติ พบมากใน น้ำมันข้าวโพด หอยกาบ เนื้อไก่ บริวเวอร์ยีสต์ จมูกข้าวสาลี ตับ ไข่แดง เห็ด เนยแข็ง กากน้ำตาล และในข้าวชนิดต่างๆ เช่น ข้าวกล้อง
  • โครเมียม ช่วยการเจริญเติบโต
  • โครเมียม ช่วยป้องกันพิษจากตะกั่ว
  • โครเมียม ป้องกันหลอดเลือดแข็ง
  • โครเมียม ทำงานเป็นเกราะป้องกันโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันอาการขาดน้ำตาล และอ่อนล้าหมดเรี่ยวแรงเฉียบพลัน
  • โครเมียม ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้
  • โครเมียม ช่วยนำโปรตีนไปยังส่วนที่ต้องการใช้
  • โครเมียม ช่วยป้องกันความดันโลหิตสูงและช่วยลดความดันโลหิต
  • โครเมียม เป็นตัวที่มีบทบาทร่วมกับ RNA ในการสังเคราะห์โปรตีน
  • โครเมียม ทั้งหมดที่รับประทาน ส่วนที่เหลือจะถูกขับออกทางปัสาวะและอุจจาระบางส่วน

 

ประโยชน์ของโครเมียม หรือ Chromium

 

ลดระดับคลอเรสเตอรอลในร่างกาย จากหลักฐานการศึกษาวิจัยพบว่า โครเมียม (ทั้งในรูปแบบพิกโคลิเนตและอื่นๆ) พบว่ามีผลในการลดระดับคลอเลสเตอรอลในร่างกาย โดยการมีบทบาทไปเพิ่ม HDL หรือ คลอเรสเตอรอลชนิดดี และลดระดับ คลอเรสเตอรอลทั้งหมด

 

ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและโรคเบาหวาน จะทำงานร่วมกับอินซูลินในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการเผาผลาญน้ำตาล โครเมียมทำหน้าที่เสริมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน โดยเป็นส่วนประกอบของ glucose tolerance factor ซึ่งมีความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินต่อตัวรับอินซูลิน (insulin receptor)

 

ช่วยเรื่องการลดน้ำหนัก โครเมียมพิกโคลิเนต จะไปช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันในร่างกายและไปเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ มีการศึกษาเมื่อปี 1998 โดยมีอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 122 คนที่เป็นสมาชิกของเฮลท์คลับต่างๆ ในเทกซัสได้รับ โครเมียมจำนวน 400 ไมโครกรัมต่อวันของ โครเมียมพิกโคลิเนต หรือยาหลอกเป็นระยะเวลติดต่อกัน 3 เดือน คนที่ได้รับ โครเมียม มีไขมันในร่างกายลดลง 6 ปอนด์ (2.7 กิโลกรัม) ขณะที่คนที่ได้รับยาหลอกลดลงเพียง 3 ปอนด์ (1.3 กิโลกรัม)

 

ปริมาณของโครเมียมที่ร่างกายควรได้รับ

การขาดโครเมียม ทำให้เกิดอาการเหมือนกับคนที่มีภาวะต้านอินซูลิน และเบาหวานชนิดที่ 2 ระดับโครเมียมในเลือดที่ต่ำ สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ป่วยเบาหวานจะมีระดับโครเมียมในพลาสมาลดลง จากการศึกษาวิจัยในคนและสัตว์ทดลองพบว่า ระดับโครเมียมในร่างกายต่ำมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติในเมตาบอลิซึมของอินซูลิน กลูโคส และไขมัน ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

ปริมาณที่แนะนำ ร่างกายมนุษย์ปกติคนทั่วไปควรได้รับโครเมียมปริมาณที่แนะนำโดยแพทย์ทั่วไป คือ 200 ไมโครกรัมต่อวัน

(ขนาดที่ อย. อเมริกัน US FDA ได้แนะนำไว้คือ 50-200 ไมโครกรัมต่อวัน)

 

www.flickr.com/photos/cgc/4755952861/

9 สุดยอดประโยชน์จากการดื่มไวน์

pouring-wine-1
Source: Flickr (click image for link)

ไวน์ (wine) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เกิดจากการหมักขององุ่นโดยเปลี่ยนน้ำตาลจากองุ่นให้เป็นแอลกอฮอล์ เป็นเครื่องดื่มที่นิยมดื่มกันไม่ใช่แค่เฉพาะคนที่อยู่ในเมืองอากาศหนาวเท่านั้น แต่ยังนิยมดื่มกันไปทั่วโลก ไวน์จะมีรสชาติค่อนข้างฝาดๆ เฝื่อนๆ โดยที่ไวน์มีหลายชนิดและประเภท ส่วนใหญ่จะนิยมดื่มไวน์แดงกันในโต๊ะอาหารที่มีอาหารประเภทเนื้อแดง หรือจะดื่มเป็นไวน์ขาวกับอาหารประเภทซีฟู้ดส์ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องราวของไวน์นั้นมีประโยชน์จริงหรือ ทำไมเห็นมีงานวิจัยออกมามากมายว่าดื่มไวน์แล้วจะให้ประโยชน์กับเราอย่างไรบ้างค่ะ แต่เอะ…ไวน์มันเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นี่นา จะมีประโยชน์ได้ยังไง วันนี้ HealthGossip จึงขอหยิบข้อมูลมานำเสนอให้หายคลายกังวลกันค่ะ คนที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์จะได้ไม่ต้องดีใจหาข้ออ้างในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และมาไขข้อกับเรื่องการดื่มไวน์แล้วจะได้รับประโยชน์จากข้อมูลที่เราได้รับมาจริงหรือไม่ เพราะถึงอย่างไรเราก็ควรทราบไว้ว่าไวน์ไม่ใช่ยา  เพราะอย่างนั้นเราไปดูกันเลยค่ะ…

หลายคนสงสัยว่าไวน์จะมีประโยชน์ได้อย่างไร ทั้งๆที่เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็เพราะว่าในไวน์แดงนั้นประกอบไปด้วยสารที่มีชื่อว่าเรสเวอราทรอล (Resveratrol), คาเทชิน (Catechin), เอพิคาเทชิน (Epicatechin) และโปรแอนโทไซยานิดิน (Proanthocyanidin) นั่นเองค่ะ ซึ่งเรสเวอราทรอล (Resveratrol) เป็นสารประกอบที่สกัดจากพืช (phytoalexin) ซึ่งจัดเป็นโพลีฟีนอล (polyphenol) ชนิดหนึ่งในกลุ่ม stilbene และสารชนิดนี้ก็จะพพบอยู่ในไวน์ขาวเช่นกันนะคะแต่จะมีอยู่ในปริมาณที่น้อยกว่าไวน์แดงเท่านั้นเองค่ะ ก็เพราะว่าในระหว่างกระบวนการผลิตไวน์นั้น ยิ่งเปลือกขององุ่นเนี่ยอยู่กับตัวองุ่นนานเท่าไหน ความเข้มข้นของเรสเวอราทรอลในไวน์ก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น แต่ในส่วนของการผลิตไวน์ขาว เปลือกขององุ่นจะถูกกำจัดออกไปและเราก็จะคัดเอาเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำองุ่นไปใช้ในการหมัก เพราะอย่างนั้นในไวน์ขาวจึงมีปริมาณเรสเวอราทรอลน้อยกว่าไวน์แดงนั่นเองค่ะ ส่วนโปรแอนโทไซยานิดิน (Proanthocyanidin) ที่อยู่ในเมล็ดองุ่นนั้นใครจะรู้ล่ะว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ต้านอักเสบได้อย่างเหลือเชื่อเชียวแหละ เพราะงั้นจึงลดความเสียหายต่อดีเอ็นเอ ไหนจะช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ และป้องกันเนื้อเยื่อสมองและตับจากปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ดีกว่าสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆเชียวล่ะค่ะ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไวน์ก็ยังคงเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ดี ถึงจะบอกว่าไวน์นั้นดีต่อสุขภาพของเรายังไงนั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเรานั้นจะดื่มกันอย่างเมามันส์จนเมามาย เพราะฉะนั้นการดื่มเพื่อให้ได้ประโยชน์ก็ต้องขึ้นอยู่กับปริมาณที่เรานั้นควรที่ดื่มเข้าไป ถ้าดื่มมากไปก็จะสามารถสร้างความเสียหายต่อสุขภาพของเราได้เช่นกันค่ะ และในส่วนที่แนะนำของปริมาณในการดื่มที่เหมาะสมก็คือ สำหรับผู้ชาย ควรที่จะดื่มไวน์ในปริมาณ 1-2 แก้ว และในผู้หญิงควรที่จะดื่มในปริมาณ 1 แก้ว อย่าลืมว่าสรีระร่างกายของผู้หญิงและผู้ชายนั้นแตกต่างกันด้วยนะคะ   

 

9 สุดยอดประโยชน์จากการดื่มไวน์

drinking-wine-1
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1. ชะลอความแก่ Anti Aging

คงจะเป็นประโยชน์ข้อแรกที่ทำให้อยากจะรีบวิ่งไปหาซื้อมาดื่มกันเลยทีเดียวค่ะ ก็เนื่องด้วยสารต้านอนุมูลอิสระในไวน์แดงช่วยป้องกันร่างกายจากความเสียหายจากอนุมูลอิสระและจะชะลอกระบวนการชรา ไวน์แดงมีความเข้มข้นของสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่าโพลีมากกว่า เมื่อเทียบกับน้ำองุ่น  นักวิจัยสเปนแนะว่าการดื่มไวน์แดงอาจช่วยชะลอความแก่ หลังพบสารเมลาโทนินในผิวองุ่น รวมถึงอาหารอีกหลายชนิด เช่น หอมหัวใหญ่ ข้าว และเชอรี่ สามารถปกป้องเซลล์จากการถูกทำลายตามอายุขัยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งควรจะเริ่มกินตั้งแต่อายุย่างเข้า 30 ปี และถึงแม้ว่าจะแสดงให้เห็นว่าการดื่มไวน์แดงนั้นอาจมีประโยชน์มากมาย เช่น การชะลอความแก่ชรา ช่วยปรับปรุงสุขภาพหัวใจ แต่คุณก็ควรที่จะดื่มในปริมาณที่เหมาะสมเช่นกันค่ะ

 

  2. ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ

หนึ่งในผลการศึกษาส่วนใหญ่ของไวน์แดงคือการป้องกันโรคหัวใจ การศึกษาจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าไวน์แดงมีสาร Resveratrol (ที่พบในผิวหนังและเมล็ดองุ่น) ที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด โดยการไปเพิ่ม HDL (ไขมันตัวดี) และเป็นการป้องกันไม่ให้เลือดเกาะกันเป็นก้อน เพราะฉะนั้นการดื่มไวน์แดงหนึ่งแก้ว (สำหรับผู้หญิง) หรือสองแก้ว (สำหรับผู้ชาย) จะทำให้ลดความเสี่ยงที่เกิดโรคหัวใจได้ 30-40 เปอร์เซ็นต์ การดื่มไวน์แดงในปริมาณที่พอเหมาะ อย่างสม่ำเสมอทุกวันเหมือนที่ชาวฝรั่งเศสปฏิบัติกันเป็นปกตินิสัย ทำให้ชาวฝรั่งเศสมีอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และโรคหัวใจล้มเหลวลดลงถึง 50 % แม้ชาวฝรั่งเศสจะบริโภคอาหารชนิดมีไขมันมากบ่อย ๆ เช่นเนื้อ หนัง เครื่องใน นมเนย แป้งต่าง ๆ เป็นปริมาณมากตลอดเวลาก็ตาม คอไวน์อย่างชาวฝรั่งเศสนั้นมีอัตราการเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจวาย หรือ Angina ต่ำมากเมื่อเทียบกับชนชาติอื่น ๆ ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนไวน์ขาวนอกจากจะเป็นเครื่องดื่มที่สร้างความสดชื่นให้กับร่างกายแล้ว ยังทำให้อาหารทะเลมีรสชาติถูกปากอร่อยลิ้น ที่สำคัญมีสรรพคุณช่วยย่อยอาหารและ สามารถกำจัดพิษจากอาหารทะเลที่เป็นอันตรายต่อระบบย่อยอาหารได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง

 

  3. ลดและป้องกันมะเร็ง

สาร Reservatrol เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งซึ่งพบได้ในองุ่น ผลราสเบอร์รี ถั่วลิสง และพืชอื่นๆ มีหลักฐานว่า เรสเวราทรอลนั้นลดอนุมูลอิสระและลดอัตราการเกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง รวมทั้งลดการเจริญเติบโตของมะเร็งในถาดเพาะเชื้อได้ นอกจากนั้นยังลดสารเอ็นเอฟ แคปปา บี (NF kappa B) ซึ่งเป็นโปรตีนที่สร้างโดยระบบภูมิคุ้มกันที่ถูกกระตุ้นอีกด้วยค่ะ    

 

  4. ลดปริมาณคอเลสเตอรอล

เป็นที่ทราบกันดีว่าในไวน์แดง มีแทนนินหรือความฝาดที่มีสารบางชนิด ซึ่งนอกจากจะป้องกันการเกิดโรคหัวใจแล้ว ยังช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ซึ่งคอเลสเตอรอลนี้เมื่อมีอยู่ในเส้นเลือดมาก ๆ จะทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงหัวใจไม่สะดวก โดยเฉพาะคนที่อ้วนมากๆ

 

  5. ช่วยในการย่อย

อาหารประเภททอด อาหารแปรรูป จะมีสาร malonaldehydes ซึ่งสารเหล่านี้อาจทำให้เกิดปัญหาทางเดินอาหารและเพิ่มความเป็นพิษของร่างกาย มีการศึกษาพบว่าการดื่มไวน์แดงกับอาหารดังกล่าวช่วยลบล้างสารเหล่านี้ในอาหารได้ถึงร้อยละ 60-70 ดังนั้นความสามารถในการช่วยการทำลายสารเหล่านี้ก็เป็นประโยชน์ในการย่อยอาหาร

 

  6. ช่วยในลดและคลายความเครียด

ไวน์แดงเป็นยากล่อมประสาทชนิดหนึ่ง และสามารถช่วยผู้ที่มีความผิดปกติทางประสาทหรือผู้ที่ประสบความวิตกกังวลต่างๆ และลดความเครียด นอกจากนี้ยังสามารถช่วยให้คุณนอนหลับดีขึ้นอีกด้วยค่ะ    

 

  7. ป้องกันโรคความจำเสื่อม

นักวิจัยพบว่าไวน์แดงช่วยลดความจำเสื่อมได้ โดยสาร resveratrol ในไวน์แดง มีผลในการป้องกันการเสื่อมของสมอง ทีมงานวิจัยได้ศึกษาคอไวน์ 7,983 คน ซึ่งดื่มไวน์เป็นประจำ วันละ 1 – 3 แก้ว ระหว่างปี1990 – 1999 พบว่าบุคคลดังกล่าวไม่เป็นโรคอัลไซเมอร์ และ โรคพาร์กินสันแต่อย่างใด      

 

  8. สุขภาพเหงือกและฟัน

ไวน์แดงมีคุณสมบัติต่อต้านแบคทีเรียในช่องปาก และนอกจากนี้งานวิจัย แสดงให้เห็นว่า สารโพลีฟีน เป็นสารธรรมชาติที่พบในเมล็ดองุ่นและไวน์แดงจะมีคุณสมบัติช่วยในการต้านการอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียของเหงือก หรือบอกได้ว่าจะป้องกันเหงือกอักเสบนั่นเองค่ะ

 

  9. ช่วยป้องกันหวัด

นักวิจัยสเปนได้พบว่าประโยชน์ของไวน์แดงนั้นดีต่อสุขภาพอีกอย่างหนึ่งคือ สามารถช่วยป้องกันหวัดได้ นักวิจัยได้กล่าวอีกว่าส่วนประกอบที่มีอยู่ในไวน์แดงนั่นแหละที่อาจมีคุณสมบัติช่วยป้องกันหวัด โดยก่อนหน้านั้นศูนย์โรคหวัดแห่งมหาวิทยาลัย คาร์ดีฟ เคยมีรายงานว่า คุณสมบัติของสารต้านอนุมูลอิสระ หรือสารแอนตี้ออกซิแดนท์อาจทำให้ไวน์แดง สามารถป้องกันหวัดได้นอกจากนี้ปัจจัยด้านการดำรงชีวิต เช่น การจิบไวน์แดงที่บ้าน แทนที่จะเป็นตามผับที่มีผู้คนมากมายก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยป้องกันหวัดได้  ซึ่งในขณะที่คุณสมบัติเหล่านี้ไม่มีในพวกเบียร์และน้ำอื่นๆ โดยที่ผลการศึกษาดังกล่าวนี้ได้มาจากการศึกษาอาสาสมัคร 4,000 คน เป็นเวลา 1 ปีโดยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย 5 แห่งพบว่า ผู้ที่ดื่มไวน์แดงมากกว่าวันละ 2 แก้ว เป็นหวัดน้อยกว่าคนที่ไม่ได้ดื่มไวน์เลยถึงร้อยละ 44 และการดื่มไวน์แดงเพียงวัน 1 แก้วก็สามารถป้องกันหวัดได้แล้วค่ะ

 

ในวันนี้อย่างน้อยเราก็ได้ทราบถึงเรื่องราวมหัศจรรย์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทที่เราเรียกว่า ”ไวน์” ถึงแม้ว่าไวน์จะไม่ใช่ยาวิเศษที่เมื่อดื่มเข้าไปแล้วจะช่วยเยียวยาทุกสิ่งอย่าง แต่ก็ทำให้เราได้ทราบว่าการดื่มไวน์ในปริมาณที่เหมาะสมก็สามารถส่งผลที่ดีต่อสุภาพเราได้เช่นกันค่ะ 😀

 

www.flickr.com/photos/wojtekszkutnik/7395684972/

www.flickr.com/photos/littlekim/219620954/

Vitamin C คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

orange-lemon-1
Source: Flickr (click image for link)

HealthGossip วันนี้จะมาบอกเล่าสู่กันฟังถึงเรื่องเราของ “วิตามินซี” หลายๆคนคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักวิตามินซีกันใช่ไหมล่ะคะ ส่วนใหญ่ก็คงจะทราบกันว่าวิตามินซีนั้นช่วยให้ผิวของเราขาวใสหรือจะป้องกันอาการไข้หวัดอะไรทำนองนั้น แต่ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับวิตามินซีแบบลึกซึ้งให้เข้าใจแจ่มแจ้งกันไปเลยทีเดียวค่ะ ขอเท้าความจากประวัติการค้นพบ วิตามินซี กันก่อนเลยนะคะ วิตามินซีนั้นเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 18 ได้มีการสังเกตว่าพวกทหารเรือที่มีการรอนแรมออกเดินเรือไปในทะเลเป็นเวลานานๆ ซึ่งมักจะขาดแคลนพวกผักสดผลไม้สด มักจะป่วยเป็นโรคลักปิดลักเปิดและสุขภาพไม่ค่อยดีมีอาการอ่อนเพลียอยู่บ่อยๆ แต่ก็มีคนสังเกตเห็นว่าจะไม่พบอาการดังกล่าวในทหารเรือที่รับประทานมะนาวเป็นประจำ ดังนั้นต่อมาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก้าวหน้ามากขึ้นในปี 1982 ก็สามารถหาสารอาหารสำคัญที่เป็นต้นเหตุของโรคดังกล่าวได้ว่าสารที่พวกทหารเรือขาดไปคือ “กรดแอสคอร์บิค (Ascorbic acid)” ซึ่งมันมีฤทธิ์สามารถช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิดได้ ในปัจจุบัน กรดแอสคอร์บิค ก็ถูกรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อของ “วิตามินซี” และมีนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งซึ่งเคยได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้ง และมีอายุยืนยาวมากกว่า 90 ปีแม้จะป่วยเป็นโรคมะเร็งมายาวนานถึง 20 ปีก็ตาม ท่านนั้นก็คือ Dr.Linus Pauling ชาวเมืองพอรต์แลนด์ ได้เคยพูดไว้ว่า เหตุที่เขาสามารถมีสุขภาพดีและสามารถชะลอการลุกลามของโรคมะเร็งในตัวได้นานกว่า 20 ปี ก็เนื่องจากวิตามินและเกลือแร่ ที่เขารับประทานเข้าไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินซีซึ่งหลังจากที่เขารับประทานขนาดสูงทุกวัน เขาก็ไม่เคยเป็นหวัดอีกเลย Dr.Linus Pauling เริ่มรับประทาน วิตามินซี ชนิดเม็ดตั้งแต่อายุ 40 ปี และเพิ่มขนาดสูงถึง 18,000 มิลลิกรัม เมื่อรู้ว่าตนเองเป็น มะเร็ง ตั้งแต่อายุได้ 64 ปี เขายืนยันว่ามันช่วยให้มะเร็งในร่างกายสงบลงนั่นเอง

 

เกี่ยวกับวิตามินซี หรือ กรดแอสคอร์บิก

  • วิตามินซีนั้นเป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ร่างกายไม่สามารถที่จะสร้างขึ้นเองได้จึงจำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานเข้าไป
  • วิตามินซีมีมากในผักสดและผลไม้สด โดยเฉพาะส้ม มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว รสเปรี้ยว
  • เมื่อละลายน้ำมีฤทธิ์เป็นกรดและเป็นวิตามินที่ลสลายตัวได้เร็วที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวต่อออกซิเจนมาก
  • วิตามินซีรูปที่ออกฤทธิ์ (Active) ในร่างกายคือ Dihydroascorbic acid มีคุณสมบัติเป็นสารรีดิวซ์ (Reducing agent) ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)
  • วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถป้องกันและรักษาการอักเสบอันเนื่องมาจากแบคทีเรีย และไวรัสได้
  • วิตามินซีมีบทบาทที่สำคัญในการสร้าง คอลลาเจน เพื่อช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย และวิตามินซีช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดียิ่งขึ้น
  • วิตามินซีจะถูกใช้หมดไปอย่างรวดเร็วเมื่อคุณตกอยู่ในสภาวะเครียด
  • การขาดวิตามินซีอาจทำให้เกิดโรคเลือดออกตามไรฟันได้
  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันอยู่ที่ 60 mg. และสำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรที่ประมาณ 70-96 mg.
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ควรได้รับวิตามินซีเพิ่มมากขึ้น เพราะร่างกายจะสูญเสียวิตามินซี 25 – 100 mg. ต่อการสูบบุหรี่หนึ่งมวน
  • ช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของคอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL)
  • หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้เกิดนิ่ว บางครั้งการรับประทานในปริมาณที่สูงหรือมากกว่า 10,000 mg. ขึ้นไปอาจก่อให้เกิดผลเสีย เช่น อาการท้องร่วง ปัสสาวะบ่อย มีผื่นผิวหนัง ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวคุณควรรับประทานในปริมาณที่น้อยลง คนไข้โรคมะเร็งที่กำลังฉายรังสีหรือเคมีบำบัด ไม่ควรรับประทานวิตามินซีเพราะผลตรวจอาจแปรปรวนได้
  • ศัตรูของวิตามินซี ได้แก่ แสง, ออกซิเจน, น้ำ, ความร้อน, การสูบบุหรี่, การปรุงอาหาร

 

ประโยชน์ของ วิตามินซี

เราทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า วิตามินซี มีประโยชน์มากมากหลายอย่าง ไม่ว่าจะช่วยปกป้องเซลล์ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สุขภาพและความแข็งแรงของเนื้อเยื่อในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับ เส้นเอ็น และคอลลาเจน ก็มีผลมาจากปริมาณ วิตามินซี ในร่างกาย และ วิตามินซี ยังมีฤทธิ์ในการเป็นสารแอนตี้อ๊อกซิแดนท์ที่ดี จึงสามารถป้องกันการทำลายเซลจากอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี และมันช่วยให้ร่างกายสามารถรีไซเคิลสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ ดังนั้นเพื่อประโยชน์สูงสุดจึงควรที่จะรับประทาน วิตามินซี ร่วมกับสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ เช่น วิตามินอี แคโรทีน ฟลาโวนอย เป็นต้น

 

วิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ซึ่งจะป้องกันร่างกายจากอนุมูลอิสระ ที่เกิดจากขบวนการสันดาบในร่างกาย หรือจากมลพิษ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา โดยจะทำให้เซลล์ต่างๆ เสื่อม หรืออาจเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ที่ผิดปกติได้

 

วิตามินซี ช่วยบรรเทาความรุนแรงและระยะเวลาของการเป็นโรคหวัด หากเริ่มรับประทาน วิตามินซี ตั้งแต่เริ่มแรกที่เห็นอาการของโรคหวัด จะช่วยให้อาการป่วยลดความรุนแรงและหายได้เร็วขึ้น มีการศึกษาเมื่อปี 1995 พบว่าหากรับประทาน วิตามินซี 1,000 ถึง 6,000 มิลลิกรัมต่อวันตั้งแต่เริ่มมีอาการของโรคหวัด จะช่วยให้หายได้เร็วขึ้น 21% แต่ก็ยังไม่มีรายงานว่า วิตามินซี สามารถช่วยป้องกันโรคหวัดได้

 

วิตามินซี ช่วยให้แผลหายได้เร็วขึ้น เนื่องจาก วิตามินซี ช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมและรักษาตัวเองโดยการไปเสริมสร้างผนังเซล ทำให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรง และต่อต้านอาการอักเสบ จึงทำให้แผลหายได้เร็วขึ้น ในทางกลับกันการขาด วิตามินซี ก็สงผลให้แผลให้ได้ช้าลงเช่นกัน

 

วิตามินซี ช่วยให้เหงือกมีสุขภาพแข็งแรง หากรับประทานวิตามินซีเป็นประจำทุกวัน นั้นจะช่วยให้เหงือกมีสุขภาพแข็งแรง โดย วิตามินซี จะไปช่วยรักษาเซลที่ถูกทำลายและช่วยให้แผลที่เหงือกหายเร็ว

 

วิตามินซี ช่วยเพิ่มความต้านทานต่อโรคหัวใจ โดยการไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมระดับคลอเรสเตอรอล ในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรับประทานร่วมกับ วิตามินอี โดยมันจะไปลดการเกาะตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด

 

วิตามินซี ช่วยในการป้องกันและต่อสู้กับโรคมะเร็ง เนื่องจาก วิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี มันจึงอาจจะช่วยในการป้องกันและต่อสู้กับโรคมะเร็งได้ มีการศึกษาอย่างมากในเรื่องนี้แต่ก็ยังไม่ข้อสรุปที่ชัดเจน โดยยังมีการถกเถียงกันอย่างมากเกี่ยว วิตามินซี กับการป้องกันและต่อสู้กับโรค มะเร็ง

 

วิตามินซี ช่วยในการป้องกันโรคต้อกระจก เนื่องจาก วิตามินซี สามารถช่วยปกป้องเลนส์ตาจากอันตรายต่างๆ เช่น ควันบุหรี่ แสงอุลตร้าไวโอเลต ที่เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดโรคต้อกระจก มีการศึกษาอันหนึ่งพบว่าผู้หญิงที่รับประทานวิตามินซีมาอย่างน้อย 10 ปี พบว่ามีความเสี่ยงที่จะมีอาการเลนส์ตาขุ่นมัวซึ่งเป็นอาการเริ่มแรกของโรคต้อกระจกลดลงถึง 77%

 

วิตามินซี ช่วยบรรเทาอาการแพ้ หอบหืด ไซนัส ทั้งนี้เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้ว วิตามินซี มีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านภูมิแพ้ต่างๆ เช่น ฝุ่นละออง เกษรดอกไม้ ซึ่งอาการแพ้เหล่านี้ก็เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของโรคไซนัส นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า วิตามินซี ช่วยป้องกันและทำให้อาการหอบหืดดีขึ้น

 

วิตามินซี ช่วยป้องกันอาการไมเกรน เมื่อรับประทานร่วมกับ pantothenic acid โดย วิตามินซี จะไปช่วยร่างกายในการต่อสู้กับความเครียดได้ดีขึ้น

 

วิตามินซี ช่วยเรื่องความจำ โดยวิตามินซีจะไปช่วยรักษาสภาพของเซลประสาทและจะได้ผลดียิ่งขึ้นหากรับประทานร่วมกับอาหารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ เช่น วิตามินอี แคโรทีน กิงโกะไบโลบ้า และโคเอนไซม์ Q10

 

ปริมาณที่ควรรับประทาน

ในสภาวะปกติปริมาณที่แนะนำให้รับประทานคือ 60 มิลลิกรัมต่อวัน (แต่ในคนที่สูบบุหรี่ 200 มิลลิกรัมต่อวัน) อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเสริมสุขภาพได้แนะนำว่าเพื่อประสิทธิภาพที่ดีต่อสุขภาพควรจะต้องรับประทานอย่างน้อย 100-200 มิลลิกรัมต่อวัน คนที่มีความเครียดควรรับประทานวันละ 500 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากต้องการผลในด้านการป้องกันโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง ความชรา ควรจะรับประทาน 250 – 1,000 มิลลิกรัม  การทานขนาดสูงมากกว่า 1,000 มิลลิกรัม อาจจะทำให้เกิดท้องเสีย และถ้าทานตอนท้องว่าง จะทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินอาหาร เนื่องจากความเป็นกรด อาจจะเกิดอาการท้องอืด เฟ้อ บางครั้งถึงขั้น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว และแน่นอนเนื่องจากวิตามินซี ขับทางปัสสาวะ จึงทำให้ปัสสาวะมีสภาพเป็นกรด ดังนั้น จึงเพิ่มโอกาสเกิดการตกตะกอนของผลึก ต่างๆ กลายเป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้ จึงแนะนำให้ทานวิตามินซี พร้อมดื่มน้ำมากๆ 
หากเราได้รับ วิตามินซี น้อยกว่าที่ร่างกายควรจะได้รับ ก็จะเกิดลักปิดลักเปิด ซึ่งจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นหากขาดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานและไม่ต้องกังวัลว่าจะได้รับมากเกินไป เนื่องจาก วิตามินซี สามารถละลายน้ำได้ดี หากร่างกายไม่ได้ใช้ก็จะมีการขับออกมาได้ทางปัสสาวะ อีกทั้งยังไม่เคยมีรายงานเกี่ยวกับพิษที่เกิดจากการรับประทาน วิตามินซี แม้จะรับประทานในปริมาณที่สูงกว่า 6,000 – 18,000 มิลลิกรัม

 

www.flickr.com/photos/mrjorgen/5739569464/