Browse Tag: คลอเลสเตอรอล

7 คุณประโยชน์จากคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน

whole-wheat-bread-1
Source: Flickr (click image for link)

‘’คาร์โบไฮเดรตชนิดที่ดี’’ มีด้วยหรอ? หลายคนที่กำลังอยู่ในช่วงควบคุมน้ำหนักก็คงจะทราบกันดีว่าตัวการที่ทำให้เรามีสัดส่วนเกินนั้น ส่วนหนึ่งก็มาจากอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตนั่นเอง โดยเฉพาะในสาวๆ คงจะทำใจยากซักหน่อยที่จะต้องจำกัดหรือหลีกเลี่ยงอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เนื่องจากอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเปรียบเสมือนอาหารหลักของเราเลยทีเดียว ไหนจะข้าว ขนมหวาน เครื่องดื่มชา กาแฟปั่นทั้งหลายมันช่างหอมหวานยั่วยวนใจเราเหลือเกิน การควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรตเป็นสิ่งที่ดีค่ะ แต่จะให้ไม่รับประทานเลยก็ไม่ได้เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตนั้นเป็นสารอาหารหลักที่ให้พลังงานแก่ร่างกายของเราค่ะ เพราะฉะนั้นเราก็ควรที่จะเลือกรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ดีให้แก่ร่างกายของเราดีกว่า ไม่เพียงแต่ช่วยในเรื่องของการควบคุมน้ำหนักเท่านั้นแต่ยังช่วยในเรื่องของสุขภาพของเราอีกด้วยค่ะ หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าคาร์โบไฮเดรตนั้นจำแนกออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 2 กลุ่มค่ะ นั่นก็คือ กลุ่มคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว (Simple Carbohydrate) และ กลุ่มคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Complex Carbohydrates) ดังนี้

  1. คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว (Simple Carbohydrate) เป็นคาร์โบไฮดรตย่อยง่าย จำพวก แป้งขัดขาว ข้าวขาว ขนมปังขาว น้ำตาล รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ผ่านการแปรรูป โดยเมื่อเรารับประทานเข้าไปแล้วกระบวนการทำงานของคาร์โบไฮเดรตจะทำการเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้ง่ายและรวดเร็ว หรือเกือบจะทันทีที่เรารับประทานเข้าไป โดยจะไปเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างฉับพลัน ทำให้รู้สึกมีพลังงานขึ้นทันที อย่างไรก็ตามถ้าเกิดน้ำตาลที่เข้าสู่ร่างกายในรูปแบบของพลังงานมากเกินความจำเป็น พลังงานส่วนที่เหลือก็จะถูกจัดเก็บและแปรเปลี่ยนเป็นไขมันที่สะสมตามร่างกายของเราในที่สุด อีกทั้งถ้าระดับในเลือดสูงเกินไปก็จะไปทำให้ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมาเพื่อลดระดับน้ำตาลให้อยู่ในภาวะปกติซึ่งจะไปทำให้ตับอ่อนของเราทำงานหนักจนเกินไป และเมื่อถึงจุดที่ฮอร์โมนอินซูลินถูกผลิตออกมามากจนเกินไปจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างรวดเร็วและทำ ให้รู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าเดิม หากเป็นมากอาจหน้ามืดเป็นลม ซึ่งเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การเป็นโรคเบาหวาน นั่นก็คือการผลิตฮอร์โมนอินซูลินบกพร่องค่ะ
  2. คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Complex Carbohydrates) เป็นคาร์โบไฮเดรตย่อยยาก ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตหรืออาหารประเภทแป้งที่ไม่ผ่านกระบวนการขัดสี หรือแทบไม่จะไม่ผ่านกรรมวิธีดัดแปลงใด ๆ มาเลย จำพวก แป้งไม่ขัดขาว ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังธัญพืช (โฮลวีต) เมล็ดพืช ธัญพืชเผือก มัน ข้าวโอ๊ต ถั่ว ผักสีเขียวและเหลือง มันหวาน และผักที่มีแป้งสูง ได้แก่ ผักหัวต่างๆ ผลไม้บางชนิด เนื่องจากเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทที่ไม่ผ่านการขัดสีใดๆ จึงคงคุณค่าสารอาหารไว้อย่างเต็มเปี่ยมจำพวก วิตามิน แร่ธาตุบางชนิดรวมถึงเส้นใยอาหาร ร่างกายจึงได้รับคุณประโยชน์จากแป้งชนิดนี้เข้าไปเต็มๆ โดยที่แทบไม่กระทบไปถึงระดับน้ำตาลในเลือด อีกทั้งร่างกายจะค่อยๆ ดูดซึมสารอาหารจากแป้งที่ไม่ผ่านการขัดสี และในกระบวนการเปลี่ยนจากแป้งเป็นน้ำตาลก็จะช้ากว่าแป้งขัดขาว ทำให้ร่างกายได้พลังงานต่อเนื่องยาวนานรวมทั้งระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มคงที่สม่ำเสมอทำให้มีพลังงานต่อเนื่อง ไม่หิวบ่อยค่ะ

 

 

7 ประโยชน์จากคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน

 

1.ช่วยในการขับถ่ายและป้องกันมะเร็งลำใส้

สำหรับคาร์โบไฮเดรตเซิงซ้อนหรืออาหารในกลุ่มแป้งชนิดที่ดี มักจะรู้จักกันในคำว่า “ใยอาหาร” พบอยู่มากในเยื่อหุ้มเมล็ดและพืชผัก จึงมีประโยชน์ช่วยในเรื่องของการขับถ่าย ช่วยขับถ่ายสารพิษในร่างกายผ่านของเสียได้มากขึ้น และด้วยคาร์โบไฮเดรตเซิงซ้อน เป็นกลุ่มแป้งที่ไม่ผ่านกระบวนการดัดแปลง, ขัดสี หรืออย่างน้อย ๆ ก็ควรผ่านกระบวนการเหล่านี้มาเบาที่สุด จึงทำให้ร่างกายทำการย่อยคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อที่จะได้ดูดซึมแร่ธาตุและวิตามินได้อย่างครบถ้วนที่สุดค่ะ

 

2.ทำให้อิ่มนาน ไม่หิวบ่อย

เนื่องด้วยกระบวนการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลของคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนเกิดขึ้นช้า ดังนั้นจึงทำให้ร่างกายมีพลังงานต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเรารับประทานเข้าไปก็ก็จะทำให้อิ่มอยู่ท้องได้นาน ทำให้ไม่รู้สึกหิวบ่อย อีกทั้งยังให้พลังงานสูงในขณะที่ให้แคลอรี่น้อยด้วยค่ะ

 

3.ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่

คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนนั้นเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะค่อยๆ ถูกย่อย คือร่างกายต้องใช้เวลาในการย่อยให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก่อนที่จะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายที่ผนังเซลล์ลำไส้เล็กและเข้าสู่กระแสเลือดต่อไป เนื่องจากในแป้งไม่ขัดขาวยังมีคุณค่าอย่างอื่นอีกเช่นวิตามิน แร่ธาตุบางชนิดรวมถึงเส้นใยอาหาร ดังนั้นร่างกายจึงค่อยๆ ดูดซึมสารอาหารจากแป้งที่ไม่ผ่านการขัดสี ในกระบวนการเปลี่ยนจากแป้งเป็นน้ำตาลจึงช้ากว่าแป้งขัดขาว ทำให้ร่างกายได้พลังงานต่อเนื่องยาวนาน และระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มคงที่สม่ำเสมอค่ะ

                                                                                                                       

4.ช่วยป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง

เนื่องจากในในคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนนี้อุดมไปด้วยวิตามินจากธรรมชาติ, เกลือแร่, เอนไซม์, และไฟโตนิวเทรียนท์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งจะไปช่วยป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังและบำรุงสุขภาพร่างกายให้ฟิตเฟิร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ

 

5.ให้แคลอรี่ต่ำเหมาะกับคนที่ควบคุมน้ำหนัก

ด้วยค่าความหนาแน่นของพลังงานในอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (ยกเว้นถั่วและธัญพืช) จะค่อนข้างต่ำ ถึงแม้ว่าเราจะรับประทานเข้าไปเยอะแต่ก็ยังให้พลังงานแคลอรี่กับร่างกายน้อย อีกทั้งยังอิ่มและอยู่ท้องมากกว่า ไม่เหมือนอาหารที่มีความหนาแน่นของพลังงานสูง เช่น ของหวานหรือน้ำหวานต่าง ๆ ที่กินยังไม่ทันอิ่มก็ให้แคลอรี่ที่สูงและยังทำให้อยากกินเพิ่มอีกเรื่อยๆ เพราะเหตุนี้อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน จึงเป็นเหมาะกับคนที่กำลังลดน้ำหนักหรือควบคุมอาหารอยู่แต่ยังอยากที่จะเลือกทานอาหารพวกข้าว แป้งบ้าง

 

6.ช่วยลดคอเลสเตอรอล

คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนมี “เส้นใยอาหาร” อยู่สูง พบมากในเยื่อหุ้มเมล็ดและพืชผัก อาหารในกลุ่มนี้นอกจากให้พลังงานกับร่างกายน้อยแล้ว ใยอาหารบางชนิดที่สามารถละลายในน้ำได้เกิดเป็นเจล ก็จะช่วยทำให้อาหารที่รับประทานพร้อมกันนั้นถูกย่อยช้าลง และลดการดูดซึมของน้ำตาล คอเลสเตอรอลที่เข้าสู่ร่างกายด้วยค่ะ

 

7.ช่วยระบบการเผาผลาญในร่างกาย

คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนจะไปช่วยกระตุ้นกระบวนการเมตาบอลิซึมในร่างกายให้ทำงานเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นบรรดาไขมันส่วนเกินก็จะถูกเบิร์นออกไปอย่างง่ายดายค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/eltpics/9138316252/

ไขมัน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

oil-1
Source: Flickr (click image for link)

ไขมัน (Fat) คือ สารประกอบหลายชนิดซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือ ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์แต่ไม่ละลายน้ำ คำว่าไขมัน (fat) ทางเคมีอาหาร นั้นหมายถึง ลิพิด (lipid) ประเภทไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ที่มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้องขณะที่ น้ำมัน (oil) เป็นไตรกลีเซอไรด์ที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง คำว่าไขมัน (fat) และน้ำมัน (oil) มักใช้แทนกันหรือใช้คู่กัน โดยทั่วไป “น้ำมัน” ใช้กับไขมันที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง “ไขมัน” หมายถึง ไขมันที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง “ลิพิด” หมายรวมไขมันทั้งที่เป็นของเหลวและของแข็งตลอดจนสสารที่เกี่ยวข้องอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ในบริบททางการแพทย์หรือชีวเคมี ดังนั้น กรดไขมัน (fatty acid) ที่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ในไขมัน (fat) จึงเป็นกรดไขมันที่มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าอุณหภูมิห้อง ได้แก่ กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) ขณะที่น้ำมัน (oil) มีองค์ประกอบหลักคือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) ซึ่งมีจุดหลอมเหลวต่ำค่ะ ส่วนไขมันในทางโภชนาการนั้นหมายถึงสารอาหาร (nutrient) ที่ให้พลังงาน และก็มีส่วนประกอบหลักคือไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) โดยไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี (Kcalorie) ในขณะที่โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี ค่ะ

ไขมัน (fat) ที่ใช้ในอาหาร ได้แก่ ไขมันจากสัตว์ รวมทั้งน้ำมันพืช (vegetable oil) ที่ผ่านกระบวนการ hydrogenation เพื่อทำให้มีสถานะเป็นของแข็ง ได้แก่ เนย (butter), เนยโกโก้ (cocoa butter) และเนยโกโก้เทียม (cocoa butter equivalent), ไขมันวัว (tallow), ไขมันหมู (lard), ไขมันจากไก่ (schmaltz), มาร์การีน (margarine) หรือ เนยขาว (shortening) เป็นต้น

 

เกี่ยวกับไขมัน (Fat)

อาหารที่เราบริโภคทุกวันนี้ มีสารอาหารที่เป็นประกอบที่สำคัญคือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรทและไขมัน ไขมัน (Lipids) เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานมากที่สุดคือประมาณ 9 แคลอรี่ต่อ 1 กรัม ไขมันมีในอาหารทั่วไปทั้งในพืชและเนื้อสัตว์จะมากน้อยตามชนิดของอาหารแตกต่างกันไป ไขมันยังมีส่วนสำคัญในด้านเนื้อสัมผัส, กลิ่นรส, ความชุ่มเนื้อและรสชาติของอาหารอีกด้วย และเนื่องจากร่างกายของเราย่อยไขมันได้ช้ากว่าสารอาหารชนิดอื่น เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมันจึงทำให้เรารู้สึกอิ่ม หลังจากที่ได้รับอาหารเข้าไปในประมาณที่เพียงพอแล้ว

ไขมัน (LIPIDS) แบ่งตามวิทยาศาสตร์เคมีได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)และฟอสโฟไลปิดส์ (Phospholipids) และอื่นๆ อีกที่ไม่ค่อยสำคัญมากแต่ที่เรามักจะได้ยินคุ้นหูจากแพทย์บ่อยๆ ก็คือคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งแพทย์จะบอกแก่คนไข้ว่า ตรวจไขมันในเลือดให้นั้นก็คือ การตรวจค่าของทั้งสองชนิดนั่นเอง

คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อใช้ในการสร้างฮอร์โมน วิตามินอี และกรดน้ำดีซึ่งช่วยย่อยอาหาร ถ้าร่างกายมีคอเลสเตอรอลสูงเกินกว่าปกติ (มากกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ก็จะก่อให้เกิดผลเสียจากการที่คอเลสเตอรอลไปพอกตามผนังหลอดเลือดแดงทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย เป็นต้น เราจะพบคอเลสเตอรอลเฉพาะในสัตว์ และพบมากในอาหารที่มาจากเครื่องในสัตว์รวมทั้งไข่แดง

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) คือ ไขมันและน้ำมันที่ได้จากพืชและสัตว์มีสารประกอบส่วนใหญ่เป็นไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้ไตรกลีเซอไรด์ยังเกิดขึ้นได้จากกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท เช่น น้ำตาล ดังนั้นถ้าหากรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรทในปริมาณที่มากเกินไปจะมีผลทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ค่าปกติของไตรกลีเซอไรด์ควรอยู่ระหว่าง 35-160 mg/dl

ฟอสโฟลิปิด (Phospholipid) เป็นไขมันที่มีคุณสมบัติละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน

เรามาทำความเข้าใจกับโครงสร้างอย่างง่ายๆ ของกรดไขมันกันก่อน คือกรดไขมันจะประกอบด้วยธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน ซึ่งโมเลกุลของธาตุทั้งสามนี้ จะเกาะกันเป็นลูกโซ่มากน้อยตามแต่ละชนิด ซึ่งมีประมาณ 40 ชนิด

ไขมันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1.กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated Fatty Acids) คือเป็นไขมันเต็มตัวแล้ว คือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจนจับกันเป็นลูกโซ่โดยสมบูรณ์ และไม่มีช่องว่างเหลือที่จะทำปฏิกิริยากับสารใดๆ ในร่างกายได้ ดังนั้น ไขมันชนิดนี้จะอยู่ในรูปของแข็งในอุณหภูมิปกติ ไขมันจำพวกนี้จะพบมากใน ไขมันสัตว์ เช่น เนื้อหมู วัว และไขมันจากกะทิ มะพร้าว เนย ไข่แดงและอื่นๆไขมันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

2.กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fatty Acids) คือไขมันที่ธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจนจับกันยังไม่สมบูรณ์ นั่นคือ ยังมีช่องว่างในลูกโซ่เหลืออยู่และพร้อมที่จะทำปฏิกิริยาและจับกับสารอื่นๆ ในร่างกายได้และพร้อมจะเปลี่ยนแปรสภาพเป็นสารอื่นๆ ได้ พบมากในน้ำมันปลาแซลมอน น้ำมันเมล็ดพันธุ์บอเรจ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส น้ำมันจมูกข้าวสาลีและอื่นๆ ซี่งกรดไขมันไม่อิ่มตัวแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ไขมันชนิดนี้แทบไม่มีบทบาทอะไรกับปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา เป็นต้น
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง กรดไขมันชนิดนี้สำคัญต่อร่างกายมาก ช่วยในการทำงานของอวัยวะสำคัญในร่างกาย มีลักษณะเหลวแม้ในอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่ได้จากพืชและสัตว์น้ำบางชนิด เช่น น้ำมันทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด

 

ประโยชน์ของไขมันที่มีต่อร่างกาย

 

ให้พลังงานแก่ร่างกาย ไขมันเป็นอาหารสำคัญที่มีความจำเป็นต่อร่างกายและเป็น 1 ในอาหาร 5 หมู่ที่มีประโยชน์ ทั้งไขมันในอาหารยังช่วยทำให้อาหารนุ่ม และยังช่วยให้ผู้บริโภครู้สึกอิ่มได้นาน เนื่องจากไขมันย่อยได้ช้ากว่าโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ไขมันให้พลังงานแก่ร่างกายได้มากกว่าสารอาหารชนิดอื่น ช่วยทำให้ร่างกายมีพลังงานที่จะทำงานและประกอบกิจวัตรประจำวัยได้ตามปกติ

 

ช่วยในการละลายและการดูดซึมวิตามิน ไขมันจะไปช่วยในการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน (Fat soluble Vitamins) เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย

 

ช่วยปกป้องและกันความร้อน รวมทั้งคอยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ โดยไขมันทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน(Thermal Insulator) ของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย ช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อน ทำให้ผิวชุ่มชื่นไม่แตกแห้ง

 

ไขมันช่วยเป็นเสมือนกันชนให้ร่างกาย ไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย ช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนของอวัยวะภายในได้ คือช่วยป้องกันการกระเทือนของอวัยวะภายในร่างกาย ที่เกิดจากแรงกระแทกหรือการเคลื่อนไหวอย่างแรงของร่างกาย ซึ่งคอยป้องกันการบาดเจ็บของอวัยวะภายในร่างกาย 

 

เป็นองค์ประกอบของเซลล์เมมเบรนทุกชนิด ไขมันเป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อประสาท นั่นก็คือเส้นประสาทของคนเราจะมีไขมันเป็นส่วนประกอบในอัตราที่สูง โดยเฉพาะจะหุ้มเส้นประสาทช่วยในการป้องกันเส้นประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อถูกสั่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

 

เป็นส่วนประกอบของเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกาย ไขมันเมื่อรวมตัวกับโปรตีนก็คือ ไลโปโปรตีน (Lipoproteins) จะเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะผนังเซลล์และไมโตคอนเดรีย ส่วนนี้มีประโยชน์สำหรับคนเรามาก เพราะร่างกายของเราประกอบเป็นตัวตนด้วยเซลล์หลายๆ ล้านเซลล์ และเซลล์ของร่างกายเราจะผลิตทุกวันเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ นั่นก็คือถ้าร่างกายเราขาดไขมันผนังเซลล์ของร่างกายเราก็จะอ่อนแอ เซลล์ที่ตายไปก็ไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ค่ะ

 

ให้กรดไขมันจำเป็นแก่ร่างกาย คือ กรดลิโนเลอิก ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดผิวหนังอักเสบ และมีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของทารก นอกจากนั้นกรดไขมันจำเป็นยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดด้วย โดยจะไปรวมกับคอเลสเตอรอลอิสระได้เป็นคอเลสเตอรอลเอสเทอร์ ทำให้ละลายในเลือดได้ง่าย

 

 

www.flickr.com/photos/chiotsrun/4255041466/

7 ประโยชน์สุดยอดจากแอปเปิ้ลเขียว

green-apple-1
Source: Flickr (click image for link)

วันนี้มาถึงคิวของผลไม้ที่เราเรียกว่า แอปเปิ้ล กันค่ะ แต่วันนี้จะเป็นแอปเปิ้ลสีเขียวค่ะ จากโพสที่แล้วเป็นเรื่องเกี่ยวกับประโยชน์ของแอปเปิ้ลสีแดง และด้วยประโยชน์ที่มีมากมายจากแอปเปิ้ลสีแดงอีกทั้งส่วนข้อมูลของแอปเปิ้ลเขียววันนี้ก็มีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการที่ดีไม่แตกต่างกันเลยค่ะ อย่างไรก็ดีขึ้นชื่อว่าแอปเปิ้ลแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสีไหนประโยชน์และคุณค่าก็ไม่ได้แพ้กันเลยทีเดียวค่ะ และหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์และก็เพื่อทำให้ทุกๆคนได้ทราบกันว่าแอปเปิ้ลแต่ละสีนั้นเป็นอย่างไร มีคุณค่าทางโภชนาการแตกต่างกันอย่างไรบ้างและมีอย่างไหนที่มีความโดดเด่นจากผลไม้อื่นๆหรือเปล่า ข้อมูลที่กีเหล่านี้รวมถึงสิ่งดีๆเราก็อยากเอามาแชร์และแบ่งปันเผื่อใครที่กำลังเลือกหนทางรักษาสุขภาพโดยการเลือกรับประทานอาหารหรืออยากให้ร่างกายได้รับแต่สิ่งดีๆ เราก็ขอให้ข้อมูลของเราสามารถช่วยคุณได้บ้างนะคะ ถ้าอย่างนั้นเราก็ไปพบและเข้าใจกับข้อมูลที่เกี่ยวกับประโยชน์ต่างๆ ของแอปเปิ้ลเขียวกันให้มากขึ้นกันเลยดีกว่าค่ะ

 

 

7 ประโยชน์สุดยอดที่คุณควรเลือกกินแอปเปิ้ลเขียว

green-apple-2
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก

ปฎิเสธไม่ได้เลยที่จะยกให้เป็นผลประโยชน์ข้อแรกของแอปเปิ้ลเขียวค่ะ จากข้อมูลของ USDA Nutrient database ของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา พบว่าแอปเปิ้ลเขียวมีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้ โดยคุณค่าทางอาหารต่อแอปเปิ้ลเขียว 100 กรัม มีปริมาณพลังงาน 58 กิโลแคลอรี่, น้ำ 85.46 กรัม, น้ำตาล 9.59 กรัม, ไฟเบอร์ 2.8 กรัม และโพแทสเซียม 120 กรัม ค่ะ จากแอปเปิ้ลเขียวที่ให้พลังงานน้อยแล้ว ในแอปเปิ้ลเขียวนั้นมีเอ็นไซม์ที่สามารถช่วยในการลดน้ำหนักได้ค่ะ อีกทั้งยังมีเอ็นไซม์ที่จะเผาผลาญสารอาหารช่วยทำให้ระบบย่อยและระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น นอกเหนือไปจากวิตามินและเกลือแร่ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว กรดผลไม้ที่มีอยู่ในแอปเปิ้ลสามารถช่วยควบคุมและยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนแห่งความอยากอาหาร ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลังจากคุณรับประทานแอปเปิ้ลไปซักผลสองผลคุณจะไม่มีความรู้สึกอยากรับประทานอาหารอื่นใดอีกเลย กรดผลไม้ของแอปเปิ้ลยังสามารถช่วยพยุงไม่ให้ระดับของโปรตีนในร่างกายลดต่ำลงและขณะเดียวกันก็ยังช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันถูกดึงมาเก็บสะสมไว้ในร่างกายเพิ่มขึ้นอีกค่ะ

 

2.ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลำใส้

เปลือกสีเขียว ๆ ของแอปเปิ้ลเขียวก็ยังอัดแน่นไปด้วยประโยชน์มากมายไม่ว่าจะเป็นใ­­­ยอาหารที่มีสูงที่ช่วยในระบบการขับถ่ายและทำให้ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเอ็นไซม์ที่จะเผาผลาญสารอาหารช่วยทำให้ระบบย่อยและระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น พร้อมกันนั้นก็อุดมไปด้วยเพกติกสารคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งซึ่งสามารถต่อต้านเชื้อแบคทีเรียร้ายในระบบทางเดินอาหารตัวการที่ทำให้คุณเกิดอาการท้องร่วงค่ะ

 

3.ช่วยเรื่องของผิวพรรณ

นอกจากเรื่องของสุขภาพร่างกายแล้ว เรื่องของความสวยความงามนั้นแอปเปิ้ลเขียวก็ไม่พลาดที่จะมีบทบาทสำคัญอยู่เหมือนกันค่ะ เนื่องจากแอปเปิ้ลเขียวมีวิตามินที่จำเป็นสำหรับผิวพรรณและด้วยที่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยในการบำรุงผิวพรรณ อย่างเช่น วิตามิน C ซึ่งก็ได้พบว่าในแอปเปิ้ลเขียวจะมีมากกว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ บางประเภทเสียอีกค่ะ และก็พบว่าถ้าเรารับประทานแอปเปิ้ลเขียวทั้งเปลือกนั้นสาร “โพลีฟีนอล” ที่มักจะอยู่ตามเปลือกหรือเนื้อที่อยู่ติดกับเปลือก จะไปช่วยป้องกันผิวพรรณไม่ให้โดนแดดเผาทำลาย ป้องกันยูวีเอและยูวีบีจากแสงแดด เวลาที่เรากัดแอปเปิ้ลทิ้งไว้แล้วสีของเนื้อแอปเปิ้ลเปลี่ยนไปนั่นแสดงว่ามีสาร “โพลีฟีนอล” นั่นเอง ดังนั้นจึงเข้าใจได้ว่าที่ไหนมีสารโพลีฟีนอล พอโดนอากาศก็จะเกิดสนิมเป็นสีน้ำตาลขึ้นมาทันที ไม่ว่าจะเป็นผักหรือผลไม้ค่ะ

 

4.ช่วยลดคอเลสเตอรอล

แอปเปิ้ลมีสารเพคตินซึ่งเป็นไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ เมื่อกรดในทางเดินอาหารย่อยสลายไขมันแยกคอเลสเตอรอลออกมาแล้ว เพคตินจากแอปเปิ้ลจะไปคอยดักจับคอเลสเตอรอลเหล่านั้นและนำไปทิ้งก่อนที่จะถูกดูดกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้งค่ะ ง่ายๆก็คือช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันถูกดึงมาเก็บสะสมไว้ในร่างกายเพิ่มเติมอีกนั่นเองค่ะและยังพบว่าแอปเปิ้ลลดคอเลสเตอรอลในผู้หญิงได้ดีกว่าผู้ชายด้วยค่ะ

 

5.ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลในเลือด เมื่อรับประทานอาหารเข้าไป อาหารแต่ละชนิดก็จะถูกย่อยสลายและดูดซึมผ่านผนังกระเพาะลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดจะเพิ่มช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของอาหารนั้นๆ คนที่รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์มากๆ จะมีโอกาสเกิดเบาหวานต่ำกว่าคนที่รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์น้อย และสำหรับคนที่เป็นเบาหวานอยู่แล้ว ไฟเบอร์จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยและแอปเปิ้ลมีไฟเบอร์ชนิดที่ละลายน้ำสูงมาก จึงเหมาะสำหรับคนที่เป็นเบาหวานค่ะ

 

6.ช่วยลดการสูญเสียกล้ามเนื้อจากการป่วย

ในคนที่ชอบออกกำลังกายเป็นประจำอยู่เสมอนั้นมักจะมีกล้ามเนื้อที่เฟิร์มและแข็งแรง แต่ถ้าเกิดวันหนึ่งคุณได้เกิดล้มป่วยขึ้นมานั้น อาจจะทำให้คุณต้องหยุดพักร่างกายจนออกกำลังกายไม่ได้เป็นช่วงเวลาหนึ่ง แน่นอนว่าในขณะที่คุณหยุดพักกล้ามเนื้อส่วนที่ได้เพิ่มเติมขึ้นมาจากการออกกำลังกาย อาจจะมีน้อยลงหรือหายไปบ้าง ซึ่งในจุดนี้เองที่ผู้ชายส่วนใหญ่มักจะกังวล เพราะการที่กล้ามเนื้อหายไปก็มักจะทำให้รูปร่างที่เคยดูดีนั้นเปลี่ยนไปด้วย แต่สิ่งเหล่านี้สามารถป้องกันได้ โดยการบริโภคแอปเปิ้ลสีเขียวเป็นประจำเพราะในแอปเปิ้ลสีเขียวนั้นประกอบไปด้วยกรดบางชนิดที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ในการเพิ่มพลังและสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อของเราโดยตรงนั่นเองค่ะ

 

7.ช่วยบรรเทาโรคภัยไข้เจ็บ

ด้วยที่ว่าในแอปเปิ้ลนั้นมีวิตามินซีและเบต้าแคโรทีนอยู่มาก จึงสามารถช่วยบรรเทาหรือป้องกันโรคหวัดและโรคเลือดออกตามไรฟันได้ และแอปเปิ้ลยังช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้นจึงช่วยได้ทั้งอาการท้องผูกและท้องเสีย ใครที่มีอาการท้องผูกแอปเปิ้ลจึงเป็นผลไม้ในตัวเลือกหนึ่งเลยก็ว่าได้ค่ะ อีกทั้งยังทำให้ความดันโลหิตค่อยๆ ลดลง เหมาะสำหรับผู้ที่ความดันโลหิตสูงอีกด้วยค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/36328518@N07/3384100342/

www.flickr.com/photos/63723146@N08/8482731764/

6 ประโยชน์สุดยอดจากแอปเปิ้ลแดง

red-apple-1
Source: Flickr (click image for link)

แอปเปิ้ล (Apple) ถือเป็นผลไม้ที่เรียกได้ว่าเป็นสุดยอดอาหารเพื่อสุขภาพแล้วก็ยังมีอยู่หลากหลายสีและหลากหลายสายพันธุ์ตามท้องตลาดให้เลือกจับจ่ายกันค่ะ และภายใต้สีต่างๆของแอปเปิ้ลนั้นก็มีคุณค่าทางโภชนาการและประโยชน์ที่มากมายแตกต่างกันไป นอกจากจะให้รสชาติที่อร่อยแล้วยังถือว่าเป็นผลไม้ที่หารับประทานได้ง่ายถ้าเทียบกับคุณค่าทางโภชนาการที่มากล้นก็ถือว่าเป็นผลไม้ที่อยากจะแนะนำให้เลือกซื้อมาติดตู้เย็นไว้กันเลยทีเดียวค่ะ เราก็คงจะเคยเห็นกันตามซูปเปอร์มาเก็ตทั่วไปกันใช่ไหมล่ะคะว่าผลไม้ที่มีชื่อว่าแอปเปิ้ลนั้นมีอยู่หลากหลายสี เช่น สีแดง สีชมพู สีเขียวและสีเหลือง ดังนั้นวันนี้ HealthGossip จึงขอหยิบเอาข้อมูลของแอปเปิ้ลสีแดงมานำเสนอเป็นอันดับแรกก่อนเลยละกันค่ะ แอปเปิ้ลสีแดงสด 1 ลูก มีรสชาติที่อร่อยและราคาถูกนี้ พลังงานต่อหนึ่งผลก็ให้พลังงานที่ไม่มากถ้าเปรียบเทียบกับผลไม้อื่นๆ และก็เต็มไปด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มากมายแล้วก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีค่ะ อย่างไรก็ตามเราไปดูกันเลยดีกว่าค่ะว่าเจ้าแอปเปิ้ลสีแดงนี้จะมีประโยชน์อย่างไรบ้างค่ะ

 

6 ประโยชน์สุดยอดที่คุณควรเลือกกินแอปเปิ้ลแดง

bite-apple-1
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก

ถือเป็นประโยชน์ข้อแรกเลยเมื่อนึกถึงแอปเปิ้ล ในส่วนของแอปเปิ้ลแดงนั้นคุณค่าทางโภชนาการของแอปเปิ้ลแดง ต่อแอปเปิ้ล 100 กรัม ข้อมูลของ USDA Nutrient database  ของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกาพบว่าแอปเปิลแดงมีคุณค่าทางโภ­­­ชนาการดังนี้  แอปเปิ้ลแดง 100 กรัม มีปริมาณของพลังงาน = 59 Kcal, มีน้ำ 85.33 กรัม, น้ำตาล 10.48 กรัม, ไฟเบอร์ 2.3 กรัม, โพแทสเซียม 104 กรัม นั่นเองค่ะ ด้วยปริมาณของพลังงานที่น้อยและมีไฟเบอร์ที่สูงและน้ำตาลในแอปเปิ้ลนั้นเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่ร่างกายดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ในเวลาไม่เกิน 10 นาที ดังนั้นความอยากอาหารจึงลดลงทั้งทำให้ไม่รู้สึกหงุดหงิดและอ่อนเพลียระหว่างรอเวลาอาหารมื้อใหญ่ค่ะ

 

2.ช่วยให้มีผิวที่สุขภาพดี นุ่ม ชุ่มชื้น

แอปเปิ้ลสีแดงเข้มที่เราเห็นกันอยู่นี้ เป็นแอปเปิ้ลสายพันธุ์ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดเลยล่ะ โดยสารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในผิวแอปเปิ้ลสีแดง ๆ มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระมากเทียบเท่ากับวิตามินซีถึง 1,500 มิลลิกรัม ! และยังช่วยป้องกันไม่ให้ผิวพรรณเกิดริ้วรอยแห่งวัยค่ะด้วยที่ว่า แอปเปิ้ลแดง นั้นมีจุดเด่นที่ดีต่อสุขภาพคือมีสารแอนตี้ออกซิแดนต์มากที่สุด และยังมีอิลาสตินและคอลลาเจนที่ดีต่อสุขภาพผิวด้วย

 

3.ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง

ด้วยความที่แอปเปิ้ลสีแดงสดนี้มีปริมาณของสารแอนโทไซยานิน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มฟลาโวนอยด์อยู่นั่นเองค่ะ ซึ่งเจ้าสารต้านอนุมูลอิสระตัวนี้จะไปทำหน้าที่ขัดขวางการเติ­­­บโตของเซลล์มะเร็งในร่างกาย ทำให้ความเสี่ยงของโรคมะเร็งลดลงค่ะ

 

4.ช่วยบำรุงหัวใจ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

อย่างที่ทราบกันดีว่าแอปเปิ้ลแดงนั้นมีคุณค่าโภชนาการมากมาย และมีสารสำคัญคือ เบต้าแคโรทีน วิตามินซี และเส้นใยไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ โดยเพคตินมีกรด 2 ชนิด คือ กรดมาลิคและกรดทาร์ทาริกช่วยในการย่อยอาหารจำพวกโปรตีนและไขมันค่ะ เราจะได้รับสารต่างๆนี้ได้เต็มที่ก็ต่อเมื่อเราเลือกรับประทานแอปเปิ้ลแดงทั้งลูกโดยไม่ปอกเปลือกค่ะ ก็เพราะถ้าหากเรารับประทานโดยการปอกเปลือกปริมาณของสารสำคัญต่างๆ ก็จะลดลงไปนั่นเองค่ะ

 

5.ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด

แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานและผู้ต้องการควบคุมน้ำตาลในเลือด ปกติเมื่อกินอาหารเข้าไปอาหารแต่ละชนิดจะย่อยสลายและดูดซึมผ่านผนังกระเพาะลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดจะเพิ่มช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของอาหารนั้น เช่น ถ้ากินน้ำผึ้งน้ำตาลในเลือดจะขึ้นฮวบฮาบทันที แต่สำหรับแอปเปิ้ลถึงจะมีน้ำตาลธรรมชาติในเนื้อแอปเปิ้ลมากแต่ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ เท่านั้น และยังพบว่าคนที่กินอาหารที่มีไฟเบอร์มาก ๆ มีโอกาสเกิดเบาหวานต่ำกว่าคนที่กินน้อยและสำหรับคนที่เป็นเบาหวานอยู่แล้วไฟเบอร์จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดด้วย แอปเปิ้ลมีไฟเบอร์ชนิดที่ละลายน้ำสูงมากนั่นเองค่ะ

 

6.ช่วยให้คลอเลสเตอรอลในเลือดลดลง

กินแอปเปิ้ลวันละ 2-3 ผลช่วยลดปริมาณคลอเลสเตอรอลในเส้นเลือด เนื้องจากแอปเปิ้ลมีสารสำคัญคือ เบต้าแคโรทีน วิตามินซี และเส้นใยไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ โดยที่เพคตินมีกรด 2 ชนิด คือ กรดมาลิคและกรดทาร์ทาริกช่วยในการย่อยอาหารจำพวกโปรตีนและไขมัน เมื่อกรดในทางเดินอาหารย่อยสลายไขมันแยกคลอเลสเตอรอลออกมาแล้ว เพคตินจะคอยดักจับคลอเลสเตอรอลเหล่านั้นนำไปทิ้งก่อนจะถูกดูดกลับเข้าสู่ร่างกายเป็นการขจัดคลอเรสเตอรอลออกไป แต่จะได้ผลมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยจะลดคลอเลสเตอรอลในผู้หญิงได้ดีกว่าผู้ชาย

 

 

www.flickr.com/photos/xcbiker/441025698/

www.flickr.com/photos/neogabox/3969921829/