Browse Tag: ธาตุเหล็ก

14 ชนิดของอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง

Source: Flickr (click image for link)

สวัสดีค่ะ วันนี้มาจั่วหัวข้อกันกับ “อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง” ซึ่งแน่นอนว่าอาหารแต่ละชนิดของวันนี้จะต้องเพิ่มความสนใจและใส่ใจกันมากขึ้น อย่างน้อยก็เพื่อตัวเองก่อนเลยและก็ค่อยเผื่อแผ่ไปยังคนรอบตัวที่เข้าข่ายเสี่ยงของการขาดธาตุเหล็ก หลายๆ คนคงไม่คิดว่าการขาดธาตุเหล็กนั้นจะสำคัญต่อร่างกายแค่ไหน และก็ไม่ว่าจะวัยไหนๆ ร่างกายของเรานั้นก็ต้องได้รับบทบาทที่สำคัญของธาตุเหล็กด้วยกันทั้งนั้นค่ะ โดยเฉพาะสาวๆ วัยใสจนไปถึงคนที่กำลังจะเป็นคุณแม่กันเลยทีเดียว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าร่างกายจะขาดอะไรก็แล้วแต่ แต่ก็ไม่ควรที่จะได้รับมากจนเกินความจำเป็นนะคะ ความพอดีต่างหากล่ะที่คือสิ่งสำคัญ ก็เพื่อความสมดุลย์ที่ร่างกายสามารถนำเอาไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีต่อร่างกายตัวเรานั่นเอง และก็หวังว่าหัวข้อนี้จะเหมาะสำหรับคนที่กำลังมองหาอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ไม่ว่าจะเพื่อสุขภาพหรืออะไรก็แล้วแต่ และก็อย่าลืมเลือกรับประทานอาหารที่หลากหลายและให้พอดีต่อความต้องการของร่างกายนะคะ

 

14 ชนิดของอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง

โดยทั่วไปแล้วธาตุเหล็กที่มีในอาหารจะมีอยู่ 2 รูปแบบ คืออยู่ในรูปแบบ สารประกอบฮีม (heam iron) และ สารประกอบที่ไม่ใช่ฮีม (nonheam iron) ค่ะ ซึ่งธาตุเหล็กที่อยู่ในรูปแบบของสารประกอบฮีมจะพบมากอยู่ในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์และดูดซึมได้ประมาณ 20% ส่วนธาตุเหล็กที่อยู่ในรูปแบบของสารประกอบที่ไม่ใช่ฮีม จะพบมากในอาหารจำพวกธัญพืชและผัก ซึ่งก็ดูดซึมได้ประมาณ 3-5% และถ้าเมื่อใดที่ร่างกายของเราได้รับอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอหรือธาตุเหล็กในร่างกายของเราที่สะสมไว้นั้นเริ่มลดน้อยลง ก็จะทำให้ร่างกายของเรามีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ มีอาการสับสนมึนงง ไม่มีสมาธิ ผมร่วง ร่างกายซีดเซียว และอาจจะทำให้เกิดเลือดจางได้ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในที่สุด ซึ่งในบ้านเราก็มีไม่น้อยเลยล่ะค่ะสำหรับคนที่เป็นโรคโลหิตจาง เพราะฉะนั้นถ้าเหมือนจะมีอาการเหล่านี้เราก็ควรที่จะรีบหุงหาอาหารเหล่านี้มารับประทานด่วนๆ เลยค่า

 

1.เนื้อไก่บ้าน

เนื้อแดงๆ ของเนื้อสัตว์จำพวกเนื้อวัว เนื้อหมู เป็นแหล่งของธาตุเหล็กชั้นดีที่เรียกว่า สารประกอบฮีม (heam iron) ซึ่งร่างกายของเราสามารถดูดซึมไปใช้งานได้ 20-30 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียวค่ะ แต่ใครจะรู้ว่าเนื้อไก่บ้านส่วนปีกและสะโพกนั้นให้ธาตุเหล็กสูงถึง 16.9 มิลลิกรัมต่อปริมาณ 100 กรัม และในขณะที่เนื้อหมูในปริมาณที่เท่ากันนั้นให้ธาตุเหล็ก 14 มิลลิกรัม และเนื้อวัวที่ 8.1 มิลลิกรัมค่ะ

 

2.บลอคโคลี่

นอกจากเนื้อสัตว์แล้วในพืชผักโดยเฉพาะผักใบเขียวเข้มอย่างบลอคโคลี่แสนอร่อยก็เป็นแหล่งของธาตุเหล็กเช่นกันค่ะ แต่อยู่ในรูปแบบของ สารประกอบที่ไม่ใช่ฮีม (nonheam iron) คือ ร่างกายสามารถดูดซึม 3 – 5 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากอาหารประเภทนี้ต้องอาศัยกรดเกลือในกระเพาะอาหาร ไปช่วยทำให้ธาตุเหล็กออกมาจากอาหารก่อนและร่างกายของเราจึงจะดูดซึมไปใช้ได้ค่ะ

 

3.ไข่ไก่(แดง)

ไข่แดงที่ไม่ว่าจะจากไข่ไก่หรือไข่เป็ดล้วนแต่เป็นแหล่งธรรมชาติของธาตุเหล็กสูง ในประเภท สารประกอบฮีม (heam iron) ที่ร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ดี มีประโยชน์และหารับประทานได้แบบง่ายๆ ซึ่งธาตุเหล็กที่มีอยู่ในไข่ไก่โดยเฉพาะไข่แดงมีปริมาณ 6.3 มิลลิกรัม ส่วนในไข่แดงของไข่เป็ดนั้นมีธาตุเหล็กอยู่ 5.6 มิลลิกรัมค่ะ

 

4.ผักคะน้า

ผักคะน้าเป็นผักที่จัดอยู่ในพืชผักสีเขียวเข้มที่จัดเป็นผักที่มีธาตุเหล็กพอๆกันกับบลอคโคลี่กันเลยทีเดียวค่ะ ใครที่ไม่ชอบทานผักก็น่าเสียดายนะคะ ผัดผักคะน้าหมูกรอบเป็นเมนูที่น่าจะสั่งมารับประทานเลยแหละ

 

5.คีนัว

คีนัวที่เรารู้จักกันในนามข้าวคีนัวที่จัดให้เป็นสุดยอดของอาหาร ที่นอกจากจะให้คุณค่าและประโยชน์มากมายแล้วยังให้ธาตุเหล็กอีกด้วย อย่าให้พูดถึงสรรพคุณเลยแค่บอกว่าอยู่ในกลุ่ม Super Foods แล้วล่ะก็ เป็นหนึ่งอาหารที่ไม่ควรพลาดเลยล่ะค่ะ

 

6.ตับอ่อนหมู

เครื่องในสัตว์ที่ให้ธาตุเหล็กสูงอย่างตับอ่อนนี้คงจะเป็นอาหารลำดับต้นๆ ที่หลายคนคงจะนึกออกได้เป็นอย่างแน่นอน เพราะถ้าพูดถึงอาหารอะไรที่ให้ธาตุเหล็กสูงอย่างตับอ่อนของสัตว์โดยเฉพาะตับอ่อนหมู 100 กรัม ให้ธาตุเหล็กสูงถึง 65.5 มิลลิกรัมเลยล่ะค่ะ นอกจากเป็นธาตุเหล็กประเภท สารประกอบฮีม (heam iron) แล้ว ร่างกายยังสามารถดูดซึมได้เป็นอย่างดีด้วย

 

7.ถั่วแดง

นอกจากเนื้อสัตว์และผักใบเขียวเข้มจะมีธาตุเหล็กแล้ว ธัญพืชอย่างถั่วแดงก็มีธาตุเหล็กไม่น้อยค่ะ ใครที่ชอบรับประทานเป็นชีวิตจิตใจก็ขอบอกว่ายินดีด้วยค่ะคุณมาถูกทางแล้ว ซึ่งในถั่วแดงดิบในปริมาณ 100 กรัม มีธาตุเหล็กอยู่ถึง 44.6 มิลลิกรัมเลยล่ะค่ะ

 

8.เลือดวัว

ถ้าพูดถึงเลือดของสัตว์แล้วในบรรดา หมู วัว ไก่ เป็ด แล้ว ถือว่าเลือดวัวให้ธาตุเหล็กสูงที่สุดดังนี้ค่ะ ในปริมาณที่เท่ากันของเลือดสัตว์แต่ละชนิดเท่ากับ 100 กรัม เลือดวัวจะมีธาตุเหล็กอยู่ 44.1 มิลลิกรัม ซึ่งมีธาตุเหล็กสูงกว่าเลือดหมูโดยเลือดหมูมีธาตุเหล็กอยู่ที่ 25.9 มิลลิกรัม และเลือดไก่มีธาตุเหล็ก 23.9 มิลลิกรัม ส่วนเลือดเป็ดมีธาตุเหล็กอยู่ 10.2 มิลลิกรัม ค่ะ

 

9.ขมิ้นขาว

ขมิ้นขาวของเราก็ไม่แพ้ผักใบเขียวเข้มชนิดไหนๆ แน่นอน ก็มีธาตุเหล็กอยู่ถึง 26 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม อย่ามองข้ามเด็ดขาดเลยนะ

 

10.ผักกูด

ผักกูดถือเป็นพืชผักที่ให้ธาตุเหล็กที่สูงและไม่ควรมองข้ามค่ะ ในปริมาณผักกูด 100 กรัม มีธาตุเหล็กอยู่ถึง 36.3 มิลลิกรัมเลยทีเดียวค่ะ

 

11.งาดำ

งาดำเป็นธัญพืชที่มีธาตุเหล็กอยู่เยอะไม่แพ้ถั่วแดงเช่นกัน โดยเฉพาะงาดำคั่วปริมาณ 100 กรัม มีธาตุเหล็กซ่อนอยู่ 22 มิลลิกรัมค่ะ

 

12.หอยนางรม

หอยนางรมจัดเป็นอาหารทะเลที่มีธาตุเหล็กอยู่สูงค่ะ จึงเป็นอาหารอีกชนิดที่อยากแนะนำให้เลือกรับประทานเพื่อเสริมธาตุเหล็ก

 

13.ส้ม

ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงอย่างส้ม ถือเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกายของเราเลยล่ะค่ะ  

 

14.ผักปวยเล้ง

ผักใบเขียวเข้มอีกหนึ่งชนิดที่จัดอยู่ในผักที่มีธาตุเหล็กไม่แพ้ชนิดอื่นๆ เป็นอีกตัวเลือกให้ได้เลือกรับประทานกันค่ะ

 

www.flickr.com/photos/spicybear/2539171765/

ธาตุเหล็ก คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

cereal-breakfast-1
Source: Flickr (click image for link)

ธาตุเหล็ก (iron) เป็นธาติอาหารที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นที่สุดชนิดหนึ่งต่อร่างกายของคนเราในทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะวัยที่อยู่ในช่วงการเจริญเติบโตสูง เช่นวัยทารก เด็กวัยรุ่น และในคุณผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ ในส่วนของผู้หญิงที่อยู่ในวัยของการเจริญพันธุ์ที่มีการสูญเสียธาตุเหล็กไปกับการเป็ประจำเดือน ทุกๆเดือนนั้น ถึงแม้จะมีปริมาณที่ไม่มากแต่ก็ควรที่จะได้รับธาตุเหล็กมากกว่าผู้ชายที่อยู่ในวัยเดียวกัน ธาตุเหล็กมีความจำเป็นในเรื่องของการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย และถ้าใครเกิดอาการที่ขาดธาตุเหล็กขึ้นมาแล้วล่ะก็อาจจะมีภาวะที่ซีดได้ ธาตุเหล็กมีมากในเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นธาตุเหล็กที่มีคุณภาพ และเป็นชนิดที่ร่างกายดูดซึมได้ดี (Heme iron) ส่วนธาตุเหล็กที่มีในพืช ซึ่งราคาถูกกว่า เป็นธาตุเหล็กชนิดที่ดูดซึมได้ไม่ดีนัก (Nonheme iron) การขาดอาหารเนื้อสัตว์จึงเป็นสาเหตุของการขาดธาตุเหล็ก จนก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็กได้ค่ะ โดยภาวะขาดธาตุเหล็ก มักพบได้ในผู้หญิงสูงกว่าในผู้ชาย เนื่องจาก

  • ร่างกายผู้ชายเก็บสะสมธาตุเหล็กได้สูงกว่าในผู้หญิง
  • ไม่ต้องเสียเลือดจากประจำเดือน
  • ไม่มีการตั้งครรภ์
  • ไม่ได้ให้นมบุตร

ซึ่งทั้งสองภาวะหลัง เป็นภาวะที่ทำให้ร่างกายต้องการธาตุเหล็กสูงกว่าปกติ จึงก่อให้เกิดการขาดธาตุเหล็กได้ง่ายนั่นเองค่ะ

ผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็ก คือ

  • หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร
  • ทารกในครรภ์ และวัยเด็ก
  • หญิงที่มีประจำเดือนมากทุกเดือน
  • มีเลือดออกเรื้อรัง เช่น โรคริดสีดวงทวาร
  • มีโรคเรื้อรังของทางเดินอาหาร เช่น ลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ลองสังเกตุจากตัวเองก่อนเลยนะคะ ว่าเรามีอาการเหล่านี้บ้างหรือเปล่า

 

เกี่ยวกับ ธาตุเหล็ก หรือ Iron

  • ธาตุเหล็ก เป็นธาตุอาหารสำคัญที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ จึงจำเป็นที่จะต้องได้จากอาหารอย่างเพียงพอ
  • ธาตุเหล็ก เป็นแร่ธาตุหนึ่งที่มีความจำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดง
  • ธาตุเหล็ก เหล็กมีความจำเป็นกับคนทุกวัย โดยเฉพาะวัยที่มีการเจริญเติบโตสูง เช่น ทารก เด็กวัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์
  • ธาตุเหล็ก คนปกติมีธาตุเหล็กประมาณ 3-5 กรัม ร้อยละ 70 ของเหล็กอยู่ในเม็ดเลือดแดงหรือฮีโมโกลบิน ที่เหลืออยู่ในตับ ม้าม ไขกระดูก และกล้ามเนื้อ
  • ธาตุเหล็ก ในเลือด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีธาตุเหล็กประมาณ 40-50 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ปลา เป็ด ไก่ ตับ ม้าม ไข่แดง อาหารเช้าซีเรียล (Cereal) หรือนมที่เสริมอาหารด้วยธาตุเหล็ก ในพืช เช่น ผักที่มีใบเขียวเข้มทุกชนิด เช่น ใบตำลึง ผักปวยเล้ง ผักโขม ถั่วแดง ถั่วดำ ข้าวโอต
  • ธาตุเหล็ก จะถูกดูดซึมในส่วนของลำไส้เล็ก
  • ธาตุเหล็ก จากแหล่งอาหารที่มาจากสัตว์ จะถูกดูดซึมได้ดีกว่าจากแหล่งอาหารที่มาจากพืช
  • ธาตุเหล็ก ยังดูดซึมได้ดีในภาวะที่น้ำย่อยอาหารมีความเป็นกรด (ดังนั้น ยาเคลือบกระเพาะอาหาร และยาลดกรด จึงลดการดูดซึมของธาตุเหล็ก) และวิตามินซี และอาหารที่มีวิตามินซีสูง จะช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กด้วย
  • ธาตุเหล็ก จะถูกขัดขวางการดูดซึมเมื่อดื่มชา กาแฟ ในปริมาณที่สูง เนื่องจากสาร Tannin จะไปลดการดูดซึมของธาตุเหล็ก และอาหารที่มีใยอาหารสูงกับอาหารที่มีแคลเซียมสูง
  • ธาตุเหล็ก เมื่อดูดซึมแล้ว ส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้งาน บางส่วนร่างกายจะสะสมไว้ใน ตับ ม้าม และไขกระดูก
  • ธาตุเหล็ก ร่างกายของเราจะกำจัดธาตุเหล็กส่วนเกินออกทางตับ (ทางน้ำ ดี) และทางไต (กำจัดออกทางปัสสาวะ แต่ในปริมาณน้อยมาก)

 

ประโยชน์ของธาตุเหล็ก หรือ (Iron)

 

ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันอาการโรคโลหิตจาง โดยเป็นตัวนำออกซิเจนจากปอดไปสู่เซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย เพื่อการทำงาน การใช้พลังงานของเซลล์ทุกๆเซลล์ของร่างกาย ธาตุเหล็กจึงมีความสำคัญต่อไขกระดูกในการสร้างเม็ดเลือดแดงเป็นอย่างมาก ดังนั้นเมื่อขาดธาตุเหล็ก จะเป็นสาเหตุหลักให้เกิดภาวะซีด หรือภาวะโลหิตจาง (โลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก)

 

ช่วยให้ร่างกายเติบโตเป็นปกติ ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อต่างๆ ให้มีความแข็งแรง

 

ธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบของโปรตีนหลายชนิด ที่ช่วยสร้างกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ต่างๆในการสันดาปพลังงานและการนำพลังงานต่างๆไปใช้

 

ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย โดยช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต้านโรคทำให้เจ็บป่วยยากขึ้น

 

ช่วยกำจัดโลหะหนักที่เป็นพิษออกจากร่างกาย เช่น แคดเมี่ยม

 

ช่วยให้เซลล์สมองเจริญเติบโตได้ดี ช่วยการเจริญเติบโตของเซลล์สมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจและความจำ (Cognitive development)

 

อาการของภาวะผู้ที่ขาดธาตุเหล็ก

– ร่างกายซีด เหลือง

– เป็นโรคโลหิตจาง

– ร่างกายไม่เจริญเติบโตสมบูรณ์ตามวัย

– ตั้งครรภ์ยาก

– ประจำเดือนมาไม่ปกติ

– อ่อนเพลียง่าย เหนื่อยง่าย วิงเวียนศีรษะบ่อย

– ผมร่วงมาก

– สมองคิดช้า ตอบสนองช้า สับสนง่าย

– ติดเชื้อต่างๆได้ง่าย

 

ปริมาณของธาตุเหล็กที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน

สำหรับปริมาณธาตุเหล็กที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป (Thai Recommended Daily Intakes (Thai-RDI)) มีค่าเท่ากับ 15 มิลลิกรัม โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี จะเห็นได้ว่าร่างกายของเราต้องการในปริมาณไม่มาก แต่ธาตุเหล็กจัดเป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นกับคนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กทารก เด็กวัยรุ่น และหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโต ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายซึ่งปริมาณธาตุเหล็กที่ร่างกายควรได้รับจะแตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคล เพศ อายุ นั่นเองค่ะ

 

www.flickr.com/photos/charlotte90t/15600597901/