Browse Tag: น้ำมันรำข้าว

Omega 6 คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

vegetable-oil-1
Source: Flickr (click image for link)

โอเมก้า 6 (Omega 6) หลายๆคนคงคุ้นหูคุ้นตากันแค่ Omega 3 มากกว่าใช่ไหมล่ะคะ แต่ไม่ทราบกันใช่ไหมล่ะว่ามีโอเมก้า 6 ด้วยเหมือนกันค่ะ โอเมก้า 6 หรือกรดไขมันโอเมก้า 6 ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ทั้งที่จริงแล้ว กรดไขมันโอเมก้า 6 คือตัวถ่วงสมดุลของกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งร่างกายเรานั้นจะใช้ประโยชน์จากกรดไขมันทั้ง 2 ชนิดด้วยกัน นั่นแหละคะเพราะฉะนั้นเราจึงไม่ควรที่จะมองข้ามเจ้าตัวโอเมก้า 6 นี้ไปและมาทำความเข้าใจกับเจ้ากรดไขมันตัวนี้ซักนิด เพราะว่ากรดไขมันทั้งสองตัวนี้มีความสำคัญและมีประโยชน์ไม่แพ้กันเลยค่ะ  และเราก็อาจจะยังไม่ทราบว่าถ้าขาดตัวใดตัวหนึ่งไปอาจจะมีผลดีหรือเสียกันแน่ เจ้าโอเมก้า 6 นี้มาจากไหนกันนะ สงสัยกันใช่ไหมล่ะคะ… ร่างกายของมนุษย์อย่างเราๆไม่มีตัวใดตัวหนึ่งที่ต้องทำงานหนักเพียงคนเดียว สารอาหารที่เราได้รับก็เช่นกันดูภายนอกเราคิดว่าได้รับอย่างเดียว ชนิดเดียวก็เพียงพอแล้วแหละ แต่ความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีความพอดี สมดุลกันอย่างเหมาะสม เพื่อให้มาซึ่งความสมบูรณ์และเพียงพอนั่นเองค่ะ เพราะฉะนั้นวันนี้เราถึงต้องมาทำความรู้จักกับเจ้าโอเมก้า 6 กันหน่อย HealthGossip เลยไม่พลาดที่จะนำความรู้เหล่านี้มาเล่าสู่กันฟังค่ะ

 

โอเมก้า 6 คืออะไร

กรดไขมันโอเมก้า 6 เป็นกรดไขมันชนิดที่ดีอีกชนิดหนึ่ง คือเป็นแบบไขมันห่วงโซ่ยาวที่มีอะตอมของคาร์บอนมากและมีพันธะคู่มากกว่าหนึ่งแห่งในห่วงโซ่ และมีพันธะคู่ตัวแรกอยู่ที่อะตอมของคาร์บอนตัวที่ 6 ของสายห่วงโซ่ (เลยเรียกว่าโอเมก้า 6 ไงล่ะคะ) โดยที่ร่างกายของเราไม่สามารถสร้างพันธะคู่ที่ตำแหน่งอะตอมของคาร์บอนตัวที่ 3 (ในกรณีของโอเมก้า 3) หรือตัวที่ 6 (ในกรณีของ โอเมก้า 6 นี้) จึงจำเป็นที่เราจะต้องรับประทานเข้าไปโดยตรงจากภายนอก โอเมก้า 6 นั้นเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) ซึ่งมีพันธะคู่หลายอัน polyunsaturated fatty acids (PUFA) โดยมีตำแหน่งของพันธะคู่ที่ตำแหน่งโอเมกา 6 ซึ่งนับจากคาร์บอนของกรดไขมันด้านปลายที่มีหมู่เมทิล (CH3-) กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวที่เป็นกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-6 ได้แก่กรดลิโนเลอิก (linoleic acid, C 18:2) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง ในกลุ่มโอเมก้า 6 (Omega 6) เป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น ซึ่งมีประโยชน์ คือ เป็นสารตั้งต้นของการสร้างสารพรอสตาแกลนดิน PG1 ซึ่งมีผลดีต่อสุขภาพ โดย
– ลดการทำงานของเกร็ดเลือด ทำให้การเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือดลดน้อยลงช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และหัวใจทำงานน้อยลงนั่นเองค่ะ
– ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) เพิ่มโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL)
– ช่วยลดอาการปวดและอาการอักเสบต่างๆ
– ช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้เซลล์ผิวหนัง ลดอาการแห้งกร้าน แตกขุย ริ้วรอยต่างๆ บนผิวรวมถึงรักษาอาการทางผิวหนังบางชนิด เช่น ผื่นผิวหนังเรื้อรัง ผิวแห้งลอกเป็นเกล็ด รังแค ผมร่วง เป็นต้น
– มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดและชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง
– ลดอาการแทรกซ้อนทางประสาทของผู้ป่วยเบาหวาน อาทิ อาการชาตามปลายมือและปลายเท้า
ช่วยรักษาอาการผิดปกติของชายหญิงวัยเจริญพันธุ์ และสตรีวัยทอง

กรดอะราคิโดนิก (arachidonic acid, C 20:4) โอเมก้า 6 นั้นร่างกายของเราไม่สามารถผลิตขึ้นมาเองได้นะคะ จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร ในอาหารที่พบโอเมก้า 6 ได้นั้นจะอยู่ในน้ำมันพืช ถั่วเหลือง ทานตะวัน อิฟนิ่งพริมโรส คาโนล่า รำข้าว, จมูกข้าว น้ำมันรำข้าว และถั่วชนิดต่างๆ 

– โอเมก้า 6 มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย การทำงานของสมองและหัวใจ ช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนให้อยู่ในระดับปกติ ลดภาวะความเครียดของสตรีในช่วงก่อนมีประจำเดือน คืนความชุ่มชื่นให้กับผิวที่แห้งกร้าน ตลอดจนบรรเทาอาการอักเสบของสิว ผื่นแดงที่ผิวหนัง (โรคเรื้อนกวาง) ผิวหนังอักเสบ หนังศีรษะอักเสบ ผมร่วง แผลหายช้า

– โอเมก้า 6 มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ช่วยลดและชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง ลดอาการแทรกซ้อนทางประสาทของผู้ป่วยเบาหวาน อาทิ อาการชาตามปลายมือและปลายเท้าช่วยรักษา อาการผิดปกติของชายหญิงวัยเจริญพันธุ์และสตรีวัยทอง  

– โอเมก้า 6 เป็นไขมันแบบไม่อิ่มตัว ที่ช่วยป้องกันโรคภัยต่างๆ ได้ แต่โดยทั่วไปที่เราไม่ค่อยได้พูดถึงเพราะว่าในการรับประทานอาหารตามปกติของเรา เรามักจะได้รับกรดไขมันชนิดโอเมก้า 6 นี้อย่างเพียงพออยู่แล้วและดูเหมือนจะมากเกินไปด้วยในบางครั้ง

รู้ไหมคะ ว่าร่างกายของเราจะใช้ประโยชน์ของกลุ่มกรดโอเมก้า 3 กับโอเมก้า 6 คล้ายคลึงกัน คือ กรดไขมันโอเมก้า 3 จะสร้างไอโคซานอยด์ ทำให้เลือดไหล ยับยั้งการอักเสบ แต่กลุ่มของกรดไขมันโอเมก้า 6 จะทำให้ เลือดแข็งตัว ซึ่งจะทำงานตรงข้ามและถ่วงดุลกันนั่นเองค่ะ  ทั้งนี้ ในความเป็นจริงแล้วคนเราต้องกินทั้ง 2 กลุ่มกรดไขมันให้สมดุลกัน ซึ่งร่างกายเราต้องการกรดไขมันโอเมก้า 6 มากกว่ากรดไขมันโอเมก้า 3 ประมาณ 3 : 1 จนถึง 5 : 1 ดังนั้น แท้จริงแล้วร่างกายมีความต้องการทั้งกรดไขมันโอเมก้า 3 และกรดไขมันโอเมก้า 6 การโฆษณาความสำคัญของกรดไขมันโอเมก้า 3 ซะเป็นส่วนมากนั้น อาจทำให้ผู้บริโภคลืมความสำคัญของกรดไขมันโอเมก้า 6 ไปก็เป็นได้ค่ะ

 

โอเมก้า 6 พบได้จากไหน

ไขมันโอเมก้า 6 หลักๆ ในอาหารก็คือกรดไลโนเลอิก (Linoleic acid, LA) และได้มาจากน้ำมันพืชต่างๆ เมื่อเรารับประทานน้ำมันพืชเข้าไป ร่างกายจะสามารถเปลี่ยนกรดไลโนเลอิกไปเป็นกรดแกมมา-ไลโนเลอิก (Gamma-linolenic acid, GLA) และกรดอะราคิโดนิก (Arachidonic acid, AA) กรดทั้งสองตัวนี้ก็ยังถือว่าเป็นกรดไขมันโอเมก้า 6 อยู่ และมีในน้ำมันพิเศษบางอย่างเช่นพริมโรส (Primrose oil) ก็มีกรดแกมมา-ไลโนเลอิกอยู่เช่นกันค่ะ

  • ควรกินทั้งปลาน้ำจืด และปลาทะเล ถ้าเรามีความสามารถที่จะกินปลาทะเลที่มาจากต่างประเทศก็ได้ แต่ผู้ที่ไม่สามารถซื้อหาได้ก็ไม่มีความจำเป็น
  • กินปลาให้สม่ำเสมอ อย่างน้อย ๒-๓ ครั้งต่อสัปดาห์ ควรกินผักต่างๆ ในแต่ละมื้อเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนทุกหมู่
  • กินอาหารให้พอดี ออกกำลังกาย ควบคุมดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน
  • กินให้พอดีและมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นผัก พืชน้ำมัน เนื้อสัตว์ หรือปลา เราควรกินให้หลากหลายชนิด และให้ได้ปริมาณ ซึ่งผักอาจแตกต่างจากเนื้อสัตว์ตรงไขมันต่ำยกเว้นนำไปทอดหรือผัดรวมถึงปลา ซึ่งกรรมวิธีการทำอาหาร เช่น การทอด การนึ่ง อาจทำให้คุณค่าทางสารอาหารหายไปเล็กน้อย เพราะน้ำมันที่ทอดจะดูดซับไขมันที่เราทอดออกมาด้วย จึงต้องเลือกน้ำมันที่มีคุณภาพในการประกอบอาหาร

ที่จริงแล้วไม่แนะนำว่ากินอะไรดีที่สุด เพราะทำให้คนที่ไม่ได้รู้ลึก นั้นนำไปปฏิบัติซ้ำๆ กันและนั่นก็อาจจะส่งผลเสียได้ค่ะ เพราะว่าอาหารหรือสารอาหารทุกชนิดนั้นล้วนมีทั้งประโยชน์และมีทั้งโทษในตัวของมัน เช่นกันนั้นไขมันดีๆ เวลากินมากเกินพอดีมันก็มีโทษเพราะฉะนั้นต้องเดินทางสายกลาง เช่น ปลามีกรดไขมันโอเมก้า 3 ต้องกินสลับประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือกินวันเว้นวัน อาจสลับเป็นอาหารทะเลเพราะอาหารทะเลก็มีกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่นกัน เช่น กุ้ง หอย ปลาหมึก ฯลฯ

ส่วนในคนที่สูงอายุนั้นก็ควรทานให้มากขึ้น 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือ 4-5 ต่อสัปดาห์ก็ยังได้ โดยกินสลับกันไม่จำเป็นต้องไปเน้นชนิดว่าอย่างใดมีประโยชน์มากกว่ากัน ปลาอะไรก็กินได้หมดค่ะแล้วก็จะทำให้เราไม่ต้องไปควบคุมหรือกังวลว่าจะได้กรดไขมันครบถ้วนหรือไม่

 

ทั้งนี้เมื่อเรารู้จักแล้วว่าไขมันโอเมก้า 6 คืออะไร ซึ่งจะเห็นได้ว่ามันมีทั้งประโยชน์ (เมื่อรับประทานพอดี มีพอดี) และมีโทษ (เมื่อรับประทานมากเกินไป)  เราก็คงสงสัยกันใช่ไหมคะว่าแล้วเราจะทำอะไรกับมันได้บ้าง ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะผลการศึกษาวิจัยบอกไว้ว่า ถ้าเราสามารถรักษาระดับของสัดส่วนการรับประทานโอเมก้า 6 ต่อ โอเมก้า 3 เป็นระหว่าง 1:1 ถึง 4:1 อย่าให้เกินนั้น ก็จะเป็นการดีต่อสุขภาพ แต่โดยทั่วไป สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยได้รับประทานไขมันจากปลา (โอเมก้า 3) สัดส่วนนี้อาจจะแย่กว่ามาก เช่นเป็น 20:1 ซึ่งหมายถึงร่างกายได้รับโอเมก้า 3 น้อยไป และได้รับโอเมก้า 6 มากเกินไป ก็จะเป็นสภาวะที่ไม่ดีต่อร่างกายของเราค่ะการกินกรดไขมันโอเมก้า 6 ก็มีสำคัญเช่นกันหากเห็นว่ากรดไขมันโอเมก้า 3 สำคัญแล้ว กรดไขมันโอเมก้า 6 ก็สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันเลยค่ะ

     

www.flickr.com/photos/cottonseedoiltour/5052424228/