Browse Tag: ปวดท้อง

แมกนีเซียม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

green-drink-1
Source: Flickr (click image for link)

แมกนีเซียม (Magnesium) เป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่หรือแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งก็จัดอยู่ในกลุ่มของเกลือแร่ที่มีอยู่มากมายในร่างกายแต่น้อยกว่าแคลเซียม และฟอสฟอรัส ผู้ใหญ่มีแมกนีเซียมประมาณ 20-28 กรัม พบอยู่ในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆ ประมาณ 40% พบอยู่ในน้ำภายนอกเซลล์(Extracellular fluid)ประมาณ 1% และที่เหลืออีกประมาณ 50% พบอยู่ในกระดูกและฟัน โดยอยู่ในรูปเกลือฟอสเฟตหรือคาร์บอเนต ในเด็กแรกเกิดจะมีแมกนีเซียมต่ำและเมื่อโตขึ้นจะมีแมกนีเซียมเพิ่มมากขึ้น โดยแมกนีเซียมจะพบทั้งในพืชและสัตว์ ในพืชนั้นแมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ แมกนีเซียม เปรียบเสมือนคนงานที่ทำงานแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพียงเพื่อจะสังเคราะห์โปรตีนให้กับร่างกาย และเป็นโคเอนไซม์ที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่งในร่างกายที่จะทำงานร่วมกับแคลเซียมอันเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในระบบต่างๆ ของร่างกายค่ะ

อาการของผู้ที่ขาดแมกนีเซียม จะมีอาการเบื่ออาหาร กล้ามเนื้อกระตุก สับสน หัวใจเต้นผิดปกติ บางรายอาจจะมีอาการชัก

สาเหตุของการขาดแมกนีเซียม

ความเครียด ทำให้แมกนีเซียมถูกใช้มากขึ้นหลายเท่า

เนื้อและอาหารที่ผ่านกรรมวิธีปรุงแต่ง น้ำอัดลม ล้วนแต่มีส่วนผสมของฟอสฟอรัสเยอะซึ่งก็จะไปขัดขวางการดูดซึมของแมกนีเซียมค่ะ

การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก มีส่วนทำให้ขาดแมกนีเซียมได้

การใช้ยาขับปัสสาว ก็มีส่วนทำให้ขาดแมกนีเซียมได้เช่นกัน

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน มีโอกาสขาดแมกนีเซียมได้ง่าย

 

เกี่ยวกับแมกนีเซียม หรือ (Magnesium)

  • แมกนีเซียม เป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่หรือแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งก็จัดอยู่ในกลุ่มของเกลือแร่ที่มีอยู่มากในร่างกาย
  • แมกนีเซียม จะพบทั้งในพืชและสัตว์
  • แมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ที่เป็นสารสีเขียวในพืช
  • แมกนีเซียม พบมากในผักใบเขียวทุกชนิด
  • แมกนีเซียม พบมากผลไม้สดและยังพบในเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง วอลนัท แป้งข้าวสาลี หอยนางรม ถั่วดำ เต้าหู้ ถั่วลิสง เมล็ดทานตะวัน แอลมอนด์ รำข้าว ปวยเล้ง และข้าวโพด
  • แมกนีเซียม พบในน้ำนมและเนื้อสัตว์น้อย
  • แมกนีเซียม ปริมาณแมกนีเซียมในอาหารจะลดลงได้มาก จากการประกอบอาหารที่เทน้ำทิ้งไป
  • แมกนีเซียม ในกระบวนการแปรรูปอาหารประเภทธัญพืชด้วยการขัดสี จะทำให้สูญเสียแมกนีเซียม  เช่น ข้าวสารที่ขัดสีจนขาว
  • แมกนีเซียม เป็นโคแฟกเตอร์ (Co-factor) ที่สำคัญของเอ็นไซม์ในร่างกายไม่น้อยกว่า 300 ชนิด เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีนต่างๆในร่างกาย
  • แมกนีเซียม เป็นเกลือแร่ที่มีโอกาสขาดได้ง่ายรองจากแคลเซียม
  • แมกนีเซียม ช่วยให้การผลิตฮอร์โมนต่างๆ เป็นปกติ
  • แมกนีเซียม หากร่างกายได้รับไม่เพียงพอจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากขึ้น
  • แมกนีเซียม ทำหน้าที่ในการส่งผ่านกระแสประสาท จึงช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับสมองได้ เช่น ซึมเศร้า ไมเกรน เครียด เป็นต้น
  • แมกนีเซียม เป็นตัวช่วยในการสะสม แคลเซียม เข้ากระดูก และลดความรุนแรงของ โรคหัวใจ วายเรื้อรัง
  • แมกนีเซียม มีหลายรูปแบบเช่น แมกนีเซียมซิเตรด แมกนีเซียมแอสพาเตรด แมกนีเซียมคาร์บอเนต แมกนีเซียมกลูคอเนต แมกนีเซียมออกไซต์ และแมกนีเซียมซัลเฟต
  • แมกนีเซียม  ช่วยบรรเทาและป้องกัน อาการปวดประจำเดือนโดยการคลายกล้ามเนื้อมดลูก
  • แมกนีเซียม ช่วยในการการเติบโตของกระดูกและฟัน
  • แมกนีเซียม ช่วยป้องกันการแข็งตัวของเลือด
  • แมกนีเซียม ช่วยในการควบคุมสมดุลของกรด-ด่างในร่างกาย

 

 

ประโยชน์ของแมกนีเซียม (Magnesium)

 

ช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย  เกี่ยวข้องกับขบวนการเผาผลาญที่จำเป็นหลายขบวนการ ซึ่งส่วนมากแมกนีเซียมจะอยู่ในเซลล์และจะไปกระตุ้นน้ำย่อย โดยเป็น co-factor ของน้ำย่อยหลายชนิดซึ่งจำเป็นสำหรับการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต และกรดอะมิโนให้เป็นพลังงาน

 

ช่วยส่งเสริมการดูดซึมและการเผาผลาญของแร่ธาตุต่างๆ เกี่ยวข้องกับการคลายตัว ( relaxation ) ของกล้ามเนื้อช่วยส่งเสริมการดูดซึม และการเผาผลาญของแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม และโพแทสเซียม

 

ช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรน ลดอาการซึมเศร้า เครียดและช่วยให้นอนหลับ โดยเป็นตัวที่ไปช่วยในการสร้างสารเมลาโทนิน เมื่อแมกนีเซียมรวมกับแคลเซียมแล้วจะทำงานคล้ายเป็นยาระงับประสาทจากธรรมชาติ ช่วยให้รู้สึกสงบ สำหรับแคลเซียมและแมกนีเซียม แร่ธาตุทั้ง 2 ตัวจะช่วยในการทำงานของระบบประสาท ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ การขาดแร่ธาตุนี้จะทำให้เกิดตะคริวและรบกวนการทำงานของเส้นประสาทมีผลทำให้นอนไม่หลับ

 

ช่วยร่างกายในการใช้วิตามินบีรวม วิตามินซี และวิตามินอี ซึ่งจำเป็นสำหรับการส่งสัญญาณประสาท( nerve impulse) และป้องกันกล้ามเนื้อหดเกร็ง

 

ช่วยป้องกันอาการทางด้านโครงกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น ฟันผุ กระดูกพรุน อ่อนเพลียเรื้อรัง ตะคริว กล้ามเนื้อกระตุก อาการสั่น

 

ช่วยลดไขมันในเลือดและป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

 

ช่วยป้องกันอาการปวดก่อนมีประจำเดือนของสตรี

 

 

ปริมาณของแมกนีเซียมที่ร่างกายควรได้รับ

ปริมาณที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน (RDA) ของแมกนีเซียมสำหรับผู้ใหญ่อยู่ระหว่าง 200-700 มิลลิกรัม ซึ่งในแต่ละวันร่างกายคนแต่ละช่วงอายุต้องการแมกนีเซียมแตกต่างกัน ดังนี้

ผู้ชายควรได้รับวันละ                                                 350      มิลลิกรัม

ผู้หญิงควรได้รับวันละ                                                300      มิลลิกรัม

หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตรควรได้รับวันละ           450      มิลลิกรัม

เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี ควรได้รับวันละ                      60-70    มิลลิกรัม

เด็กอายุ 2-7 ปี ควรได้รับวันละ                                   150      มิลลิกรัม

เด็กอายุ 7-10 ปี ควรได้รับวันละ                                 250      มิลลิกรัม

 

 

www.flickr.com/photos/elmastudio/6886053387/

11 อาหารที่ควรรับประทานในช่วงเป็นประจำเดือน

girls-gang-1
Source: Flickr (click image for link)

ผู้หญิงกับเรื่องของการประจำเดือนที่ต้องเจอและต้องเกิดขึ้นเป็นประจำทุกๆเดือน หลีกเลี่ยงการเป็นประจำเดือนคงไม่ได้เพราะอย่างนี้เรามาเตรียมรับมือโดยการเลือกรับประทานอาหารกันดีกว่าค่ะ ในหัวข้อที่ผ่านมาเราได้พูดถึง “อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงเป็นปรจำเดือน” ไปแล้วนะคะ มีมากมายหลายหลากจนคิดว่ากินอะไรได้บ้างเนี่ย ความจริงแล้วการรับประทานอาหารที่ถูกต้องไม่ได้เป็นแค่การช่วยบรรเทาอาการแย่ๆที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างเป็นประจำเดือน้ท่านั้นหรอกนะคะ แต่อาหารดีดีที่เราจะเลือกรับประทานต่อไปนี้ยังช่วยในเรื่องของสุขภาพร่างกายของเราอีกด้วยค่ะ ในช่วงระหว่างรอบเดือนของผู้หญิงในระหว่างที่มีประจำเดือนนั้นช่างเป็นช่วงเวลาแห่งความไม่สุขสบายเอาซะเลย ใช่ไหมล่ะคะ ในบางคนจะต้องมีอาการปวดท้อง ปวดหลัง มีความหงุดหงิดง่าย อารมณ์ก็ขึ้นๆลงๆ แถมยังรู้สึกว่าตัวเองอ้วนขึ้นอีก ความอึดอัดจากฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายในระยะนั้นของเราเกิดการบวมน้ำ และไหนจะยังปวดหัวไม่สบายอ่อนเพลีย บางทีหนักจนไม่สามารถทำกิจกรรมใดๆได้เลย แน่นอนล่ะเจอแบบนี้เข้าก็คงไม่มีใครแฮปปี้หรอกจริงไหมคะ เนื่องจากอาการไม่สุขสบายเหล่านี้เรียกรวมๆว่า PMS (Pre-menstrual syndrome) อาการเหล่านี้เกิดขึ้นประมาณ 7-10 วันก่อนมีประจำเดือน จากผลการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความเครียด การรับประทานอาหารด้วยเช่นกัน โดยอาการของ PMS จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

  1. อาการทางด้านอารมณ์ นับว่าเป็นปัญหาหลักของผู้หญิงเลยล่ะค่ะ เนื่องจาก PMS จะไปทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด ขี้เหวี่ยงขี้วีนง่ายมากกว่าปกตินั่นเอง นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการเครียดและอาการซึมเศร้าก็ส่งผลเสียต่อตัวเองและยังทำให้คนรอบข้างไม่กล้าเข้าใกล้อีกค่ะ
  2. อาการทางกาย อาการอาจมากหรือน้อยไม่เท่ากันในแต่ละบุคคล เช่น คัดตึงเต้านม ปวดท้องน้อย ปวดหลัง ปวดหรือเวียนศีรษะ คลื่นไส้ สิวขึ้น น้ำหนักขึ้น ตัวบวม แน่นอนว่าอาการเหล่านี้ลดประสิทธิภาพการทำงานในผู้หญิงวัยทำงานเป็นอย่างมาก

และการเลือกรับประทานอาหารที่่เหมาะสมก็เป็นอีกปัจจัยที่ช่วยบรรเทาอาการต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาของการเป็นประจำเดือนได้ค่ะ เดี๋ยวเรามาดูกันว่าเราควรรับประทานอะไรบ้าง 😀

 

 

11 อาหารที่ควรรับประทานในช่วงเป็นประจำเดือน

mix-berry-1
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.ผลไม้

แน่นอนค่ะ ว่าผลไม้คงเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆอย่างแน่นอน นอกจากจะช่วยเรื่องต่างๆอย่างที่เราก็ทราบกันดีอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ใช่ว่าขึ้นชื่อว่าผลไม้ก็สามารถทานได้หมดเพราะบางอย่างก็ไม่ไหวมั้งคะที่่จะทานในช่วงนี้ ดังนั้น ผลไม้ที่อยากจะแนะนำให้เลือกรับประทานในช่วงที่เป็นประจำเดือนก็คือ แอปเปิ้ล องุ่น กล้วย ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ วิตามินซีและน้ำตาลธรรมชาติจากผลไม้จะทำให้คุณผ่อนคลาย อารมณ์ดีไม่หงุดหงิดง่ายอีกทั้งลดอาการปวดเกร็งตามร่างกาย ผลไม้เหล่านี้นอกจากให้พลังงานแคลอรี่ต่ำ วิตามินซีและเส้นใยสูงแล้ว ในส่วนของแอปเปิ้ลและองุ่นยังมีแมงกานีสที่สูงจะไปช่วยลดปริมาณฮอร์โมน เอสโตรเจน ซึ่งจะทำให้ช่วยลดอาการฮอร์โมนแปรปรวนในช่วงปลายของรอบวงจรประจำเดือนลง ลดการปวดท้องและปวดหลังในช่วงเป็นประจำเดือนได้ดีขึ้น และในขณะที่โพแทสเซียมและวิตามินบี 6 ที่อยู่ในกล้วยก็ยังช่วยฟื้นฟูร่างกายจากความอ่อนเพลียได้ค่ะ

 

2.เนื้อปลา

เนื้อปลา นอกจากเป็นเนื้อสัตว์ประเภทไขมันต่ำและมีกรดอะมิโนจำเป็นสูงยังเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายโดยเฉพาะปลาทะเลน้ำลึก เช่นปลาทูน่า และ ปลาแซลมอน เป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณค่าที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง ซึ่งกรด EPA และ DHA ที่มีคุณสมบัติช่วยสร้างสารที่จะช่วยลดอาการบวมน้ำภายในร่างกาย รวมถึงช่วยลดอาการปวดเกร็งภายในช่องท้องซึ่งเกิดจากการบีบตัวของมดลูกได้เป็นอย่างดี อีกทั้งทำให้ย่อยง่าย ช่วยลดปัญหาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ หรืออาการท้องเสียในช่วงประจำเดือนมาวันแรกๆค่ะ

 

3.น้ำ

‘’น้ำเปล่า’’ ที่เราดื่มกันนี่แหละค่ะ จะเป็นตัวช่วยที่ดีในเรื่องของอาการบวมน้ำรวมถึงการเติมน้ำให้กับร่างกายที่มีการสูญเสียเลือดในช่วงของวันนั้นค่ะ ถึงแม้ว่าในช่วงก่อนและหลังมีประจำเดือนฮอร์โมนเอสโตรเจนจะทำให้ตัวบวม อึดอัด และนั่นก็คือเหตุผลที่น้ำเปล่ามีประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง เพราะไหนจะเป็นตัวที่ขับโซเดียม หรือเกลือที่เป็นสาเหตุให้ตัวบวมออกมา เราจึงควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวันค่ะ

 

4.ผักใบเขียวเข้ม

ผักใบเขียวเข้มจำพวก ผักคะน้า กวางตุ้ง สาหร่าย ตำลึง ผักโขม ผักปวยเล้ง นั้นจะให้ธาตุเหล็ก วิตามินบี 6, บี 12, บีรวม และกรดโฟลิก ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้างเลือดสูงเนื่องจากช่วงที่เราเป็นประจำเดือนนั้นร่างกายของเราต้องการธาตุเหล็กสูง ในขณะที่ผักใบเขียวอย่างตำลึงนอกจากจะมีวิตามินเอ ยังมีแมกนีเซียมที่มีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดเกร็งภายในช่องท้องช่วงมีประจำเดือนได้อีกด้วย และเส้นใยจากผักจะไปช่วยในเรื่องของอาการท้องผูกในระหว่างที่เป็นประจำเดือนค่ะ

 

5.ธัญพืช

อาหารประเภทธัญพืชต่างๆ นานาชนิด จำพวก ข้าวบาเลย์ ข้าวโอ้ต คีนัว นอกจากจะทำให้ร่างกายได้รับไฟเบอร์อย่างเพียงพอที่จะทำให้อยู่ท้องได้นานขึ้น ลดอาการหิวบ่อยกินจุบจิบทั้งยังช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ อาหารดังกล่าวยังมีส่วนช่วยในการดักจับฮอร์โมนเอสโตรเจนส่วนเกินให้หมดไปจากร่างกายได้ด้วยค่ะ

 

6.ไข่  

อาหารที่มีแมกนีเซียมสูงอย่าง ไข่ ควรเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของอาหารที่ควรรับประทานในช่วงระหว่างเป็นประจำเดือนค่ะ ได้ทั้งโปรตีนที่ดีจากไข่และไขมันต่ำสามารถประกอบอาหารได้หลากหลายนี้ ความที่เป็นโปรตีนย่อยง่ายจึงลดลมในกระเพาะลำไส้ ลดอาการปวดท้องได้ค่ะ

 

7.ข้าวและขนมปังไม่ขัดสี

ข้าวและขนมปังจำพวก ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอรร์รี่ หรือขนมปังโฮลวีต เนื่องจากเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนจึงทำให้ร่างกายค่อยๆย่อยสลายน้ำตาลได้อย่างช้าๆ ทำให้ระดับน้ำตาลในร่างกายคงที่ อาหารกลุ่มนี้จึงช่วยลดอาการหงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน และลดอาการซึมเศร้า วิตกกังวล อ่อนเพลียได้ค่ะ

 

8.น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง

น้ำเต้าหู้หรือนมถั่วเหลืองที่เราเห็นตามท้องตลาด หาซื้อง่ายๆแค่เดินออกมาปากซอย อาหารที่หารับประทานได้้ง่ายและมีประโยชน์อย่างนี้ อย่าได้มองข้ามไปเชียวค่ะโดยเฉพาะสาวๆที่มีอาการปวดท้องประจำเดือน เนื่องจากน้ำเต้าหู้และนมถั่วเหลืองมีสารไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) ที่ชื่อ เจนนิสทีน (Genistein) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศหญิง (Anti-Estrogen) อย่างอ่อน จึงช่วยลดและบรรเทาาอาการปวดท้องประจำเดือนได้ค่ะ

 

9.ปลาเล็กปลาน้อย

ปลาเล็กปลาน้อยเป็นอาหารกลุ่มแคลเซียม (Calcium) ที่ควรเลือกรับประทานในช่วงเป็นประจำเดือน โดยที่ไม่ใช่กลุ่มชีสหรือนมวัวนะคะ อาหารแคลเซียมจากปลาเล็กปลาน้อยจะทำงานคู่กับวิตามินบี 12 (Cobalamin) อาหารในกลุ่มนี้ลดอาการอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หรือซึมเศร้าอีกทั้งช่วงก่อนและระหว่างมีประจำเดือนนั้นร่างกายของเราจะสูญเสียแคลเซียมทำให้เป็นตะคริวได้ง่าย ดังนั้นควรเพิ่มการรับประทานแคลเซียมเพื่อลดอาการเป็นตะคริวค่ะ

 

10.ช็อกโกแลต

สาวๆหลายคนน่าจะยิ้มกันใหญ่เมื่อเห็นว่า ’’ช็อกโกแลต’’ นั้นอยู่ในลิสของหัวข้อนี้ เห็นไม่ผิดค่ะแต่ก็ขอให้เป็น ดาร์กช็อกโกแลตนะคะเนื่องจากดาร์กช็อกโกแลตเป็นอาหารที่อุดมด้วยแมกนีเซียมและยังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นกับรอบประจำเดือนของผู้หญิง ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนของคุณสาว ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยขณะที่สารต้านอนุมูลอิสระในช็อกโกแลตก็ยังเข้าไปช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) ฮอร์โมนที่ทำให้คุณรู้สึกอารมณ์ดี๊ดี แถมยังช่วยลดอาการเหวี่ยงวีนในช่วงเป็นประจำเดือนได้อีกด้วยแน่ะ

 

11.ถั่วเมล็ดเปลือกแข็ง

ในช่วงของการเป็รประจำเดือน ช่างเป็นช่วงที่อะไรๆ ก็อยากกินไปหมด สามารถกินได้ทั้งวันหิวได้ทั้งวันยันก่อนนอน เพราะอย่างนี้เราก็ควรที่จะเลือกอาหารมื้อว่างแก้อารมณ์หิวบ่อยโดยการเลือกรับประทานของทานเล่นประเภทถั่วกันค่ะ เช่น เมล็ดอัลมอลด์ แมคคาดีเมีย ถั่วพิชตาชิโอ หรือ ถั่วปากอ้าต่างๆ เนื่องจากถั่วเปลือกแข็งและเมล็ดพืชต่าง ๆ นั้นอุดมไปด้วยสารอาหารแบบจัดเต็ม รับประทานสัก 1 กำมือ ก็เพียงพอ และควรเลี่ยงถั่วอบเกลือ หรือเคลือบน้ำตาล เพราะจะยิ่งทำให้อ้วนได้ง่ายขึ้นนะคะสาวๆ

 

 

www.flickr.com/photos/michaeljzealot/8187468390/

www.flickr.com/photos/68711844@N07/15204309883/

10 อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงเป็นประจำเดือน

screming-lady-1
Source: Flickr (click image for link)

“ประจำเดือน” สำหรับผู้หญิงถือว่าเป็นของคู่กัน เกิดเป็นผู้หญิงก็ต้องมีประจำเดือนและไหนช่วงที่จะมีประจำเดือนจะต้องมาตัวบวม หิวบ่อย อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หลายสิ่งหลายอย่าง กระนั้นแล้วยังมาเจ็บท้องในช่วงประจำเดือนมาถึงอีก ถ้าถามว่าคิดไหมว่าทำไมถึงยากเย็นขนาดนี้ เชื่อเถอะค่ะผู้หญิงอย่างเราก็คงมีวิธีรับมือได้อยู่แล้วถึงแม้บางเดือนก็แอบคิดว่าข้ามไปได้ไหมเดือนนี้ ไม่อยากจะเป็นประจำเดือนเลย แต่คิดไปคิดมา…เอ เป็นดีกว่าเนอะ ใครจะไปเลี่ยงธรรมชาติได้ล่ะ 😉 วันนี้ทาง HealthGossip จึงขอนำเสนออาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงที่เป็นประจำเดือนกันค่ะ ไหนๆก็จะต้องเป็นประจำเดือน เราก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยังไงมันก็ต้องเป็นอย่างนี้ไปอีกนาน เราเลยมาหาวิธีดูแลสุขภาพของเรากันดีกว่าค่ะ บางคนอาจไม่เคยรู้เลยด้วยซ้ำว่าอาหารการกินนี่แหละตัวดีที่ส่งผลต่อการเป็นประจำเดือนด้วยเหมือนกัน

 

 

10 อาหารที่ควรลดและเลี่ยงในช่วงเป็นประจำเดือน

 

1.อาหารประเภทรสจัด

ส่วนใหญ่แล้วผู้หญิงในช่วงที่เป็นประจำเดือนจะเกิดอาการเปรี้ยวปากอยากจะรับประทานแต่อาหารรสจัดๆ เผ็ดจัดจ้านสะท้านทรวงถึงจะสมใจ แต่ทราบกันหรือเปล่าคะนอกจากปรกติที่มีอาการปวดท้องประจำเดือนอยู่แล้วก็อาจจะทำให้เราปวดท้องเพิ่มขึ้นอีกก็เป็นได้ เนื่องจากอาจเกิดการย่อยยากและทำให้เกิดแก๊สลมในกระเพาะลำไส้นั่นเองค่ะ

 

2.คาเฟอีน

พูดถึงคาเฟอีน กาแฟก็ปิ๊งขึ้นมาในหัว แต่อย่าลืมนะคะว่ากาแฟไม่ใช่เครื่องดื่มอย่างเดียวที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน ไม่ว่าจะอยู่ในชารวมไปถึงน้ำอัดลมอีกแน่ะ โดยที่สารคาเฟอีนจะเข้าไปกระตุ้นอาการต่างๆของ PMS (Pre-menstrual syndrome) และอาการบีบรัดตัวของมดลูกให้มากขึ้น ทำให้รู้สึกเหนื่อย เมื่อยเนื้อตัว หงุดหงิดง่าย และปวดท้องมากยิ่งขึ้นค่ะ ช่วงนี้คนที่ติดเครื่องดื่มประเภทคาเฟอีนก็เลี่ยงไปก่อนละกันนะคะ

 

3.เนื้อสัตว์ไขมันสูง

เนื้อสัตว์ประเภทไขมันสูงจำพวกเนื้อสัตว์ติดมันต่างๆ เช่น หมูสามชั้นมันเยิ้มทอด เนื้อติดมัน ซึ่งเนื้อสัตว์ที่ติดมันจะมีไขมันอิ่มตัวอยู่ในปริมาณที่มาก นอกจากจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เราปวดตามข้อต่างๆ ซึ่งเกิดจากการอักเสบทั่วร่างกายทำให้รู้สึกเจ็บปวดไม่สุขสบายเพิ่มขึ้นแล้วยังทำให้มีส่วนเกินจากไขมันอีกด้วยค่ะ

 

4.ไอศกรีม

เคยได้ยินและก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่าทำไมช่วงเวลาที่เป็นปะจำเดือนจึงไม่สามารถรับประทานไอศกรีมได้ สาเหตุที่ไม่ควรรับประทานไอศกรีมในช่วงมีประจำเดือนก­­­็เนื่องมาจากไอศกรีมทำมาจากนมและในนมก็มีไขมันอยู่สูง นอกจากนี้ ไม่ว่าจะเนย ครีม ชีส หรืออาหารที่มีส่วนประกอบของครีมและชีสต่างๆ ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้อยู่ในกลุ่มของไขมันอิ่มตัวเช่นกันจึงส่งผลไปเพิ่มอาการปวดเมื่อยตามร่างกายนั่นเองค่ะ

 

5.ของหวานต่างๆ

บางคนช่วงเวลาที่เป็นประจำเดือนก็รู้สึกอยากจะทานขนมหวานๆ ของหวานอยู่ตลอดๆ ความจริงแล้วทราบหรือปล่าวคะว่าเจ้าขนมหวาน ของหวานที่แสนโปรดปรานของเราเนี่ยช่างไม่เหมาะเลยจริงๆ ก็เพราะว่าจะยิ่งไปทำให้เราปวดท้องประจำเดือนมากขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง ใช่อยู่ว่าของหวานๆเรานี้เมื่อรับประทานไปแล้วจะทำให้อารมณ์ของเราดี๊ดีก็ตาม แต่ยังไงอาหารกลุ่มพวกนี้ก็จะไปเพิ่มการอักเสบทำให้ปวดเมื่อยตามร่างกายอีกด้วยค่ะ ถ้าอยากรับประทานอะไรที่หวานๆก็หันมาเลือกรับประทานผลไม้สดๆแทนกันดีกว่าค่ะ

 

6.อาหารหมักดอง

ไม่ต้องสงสัยเลยค่ะว่าทำไมฉันดูบวม อืด อ้วนจังช่วงเวลาเป็นประจำเดือนเนี้ย ลองหันมาดูพฤติกรรมการรับประทานของตัวเองให้ไวเลยค่ะ ว่าได้เผลอไปรับประทานของหมักดองอะไรบ้างหรือเปล่า! ส่วนใหญ่แล้วของหมักของดองมีรสเค็มจากการหมักของเกลือรวมถึงอาหารที่ใส่ผงชูรส อาหารเหล่านี้ยิ่งทำให้ตัวบวมเพิ่มความรู้สึกอึดอัดให้ร่างกายจากตัวบวมก่อนการมีประจำเดือนฮอร์โมนเอสโตรเจนนั้นจะทำให้ตัวบวมอยู่แล้วค่ะ ช่วงนี้ก็ลดๆอาหารที่เค็มจัด หรืออาหารที่ใส่เกลือมากๆ และดื่มน้ำให้มากเพียงพอ จะช่วยลดอาการบวมน้ำ หรือตัวบวมในช่วงประจำเดือนได้ค่ะ

 

7.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

สาวๆคนไหนที่เป็นนักดื่มแล้วล่ะก็…ให้คิดอีกทีเลยค่ะ เนื่องจาก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงมีประจำเดือนจะส่งผลให้อาการ­ช่วงมีประจำเดือนหนักขึ้น ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ รวมทั้งส่งผลให้เลือดจางและกระดูกพรุนอีกด้วย แถมยังส่งผลให้ปวดท้องประจำเดือนเข้าไปอีก เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์เช่นเดียวกับยาลดความเข้มข้นของเลือด และทำให้ระบบไหลเวียนเลือดเพิ่มขึ้น อันเป็นสาเหตุของความรู้สึกอัดอัดไม่สบายตัว โดยอาการเหล่านี้จะเริ่มเกิดขึ้นหลังจากแค่คุณดื่มเข้าไป ถ้าไม่อยากให้ช่วงมีประจำเดือนของคุณเลวร้ายจนทำอะไรไม่ได้ เลี่ยงไว้ก่อนดีกว่าค่ะ

 

8. เค้ก เบเกอรี่

อยากจะร้องกรี๊ดขึ้นมาเลยใช่ไหมล่ะคะในทันทีที่เห็นหัวข้อนี้ นึกว่าจะรอดหรอ จะให้มางดเค้กและขนมปังเบเกอรี่อร่อยๆ แต่งหน้าตาสวยงามในร้าน แต่เอาน่าหักห้ามใจสักนิดชีวิตจะได้ไม่พังในช่วงเป็นประจำเดือน อิอิ เนื่องจากพวกขนมอบต่างๆเหล่านี้ นอกจากจะมีน้ำตาลแล้วก็ยังเป็นอาหารที่มีไขมันทรานส์ซึ่งเป็นอันตรายอยู่ในปริมาณมากอีกด้วย และไขมันทรานส์ก็เป็นตัวที่จะไปเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายให้สูงขึ้น ซึ่งการผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินจำเป็นก็อาจจะเป็นอันตรายต่อมดลูกได้ค่ะ

 

9. อาหารแปรรูป     

อาหารที่ผ่านการแปรรูปต่างๆตามร้านสะดวกซื้อ ถึงแม้จะสะดวกในการจับจ่ายใช้สอยและสะวดในการรับประทานกัน แต่รู้ไหมคะสำหรับคนที่กำลังอยู่ในช่วงมีประจำเดือน อาหารประเภทแปรรูปต่างๆนี้ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่งค่ะ เนื่องจากอาหารแปรรูปเหล่านี้มีส่วนผสมของโซเดียมอยู่สูงเและก็ะจะไปทำให้เราเกิดอาการท้องอืดรู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว เพราะฉะนั้นช่วงระหว่างนี้เราก็ควรเลือกรับประทานอาหารสด ถือซะว่าได้รักษาสุขภาพไปในตัวอีกด้วยค่ะ

 

10.อาหารกลุ่มจั๊งก์ฟู้ดส์ และขนมกรุบกรอบ

อาหารในกลุ่มจำพวกอาหาร Junk Foods ก็คือพวกพิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ ชีส ต่างๆ เพราะอาหารเหล่านี้มีทั้งน้ำตาล ไขมันอิ่มตัวจากสัตว์และไขมันทรานส์ โดยน้ำตาลและไขมันอิ่มตัวทำให้เกิดการอักเสบตามร่างกายทำให้มีอาการปวดเมื่อตามร่างกาย ส่วนไขมันทรานส์จะเพิ่มระดับการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มอาการปวดทั้งก่อนและระหว่างมีประจำเดือน รวมถึงขนมจำพวกกรุบกรอบบรรจุถุงตามท้องตลาดที่เราชอบทานแบบจุบจิบระหว่างวันเพลินๆ ซึ่งขนมกรุบกรอบเหล่านี้อุดมไปด้วยเกลือ โซเดียม ไขมันทรานส์ คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว ขนมกลุ่มนี้ยังเพิ่มน้ำหนักตัว ทำให้ตัวบวมรู้สึกอึดอัดไม่สบายตัวและยังเพิ่มอาการปวดประจำเดือนอีกด้วยค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/raychelnbits/3227900601/