Browse Tag: ฟันผุ

ฟลูออรีน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

brush-teeth-1
Source: Flickr (click image for link)

ฟลูออรีน (Fluorine) เป็นเกลือแร่ที่จำเป็นอีกหนึ่งตัวค่ะ ที่จะพบได้ในเนื้อหนังเกือบทั่วร่างกายของเรา แต่จำนวนที่พบมากกว่าที่อื่นๆ คือที่โครงสร้างของกระดูกและฟัน อีกทั้งฟลูออลีนที่พบในร่างกายของเราจะอยู่ในลักษณะเป็นสารผสมเรียกว่า ฟลูออไรด์ ที่ส่วนใหญ่พวกเราจะทราบเรียกกันในชื่อนี้ค่ะ ซึ่งฟลูออไรด์มีอยู่ 2 ชนิดก็คือ โซเดียมฟลูออไรด์ ที่เขาใช้เจือปนกับน้ำดื่มซึ่งต่างกันกับแคลเซียมฟลูออไรด์ที่พบกันตามธรรมชาติค่ะ หรือเข้าใจกันง่ายว่า ฟลูออไรด์ เป็นสารประกอบของ “ฟลูออรีน” ที่มีมากเป็นอันดับที่ 17 ของโลกในจำนวนธาตุต่างๆ ที่พบบนโลก และเราสามารถพบฟลูออไรด์ได้ตามธรรมชาติ เช่น ในหิน ซึ่งส่วนมากเป็นฟลูออไรด์ในรูปของแคลเซียม นอกจากนั้นแล้วในชีวิตประจำวันเราสามารถได้รับฟลูออไรด์จากน้ำดื่มอย่างที่ได้กล่าวกันข้างต้น อีกทั้งในอากาศที่เราหายใจและก็พบฟลูออไรด์ได้ในอาหารอีกด้วยค่ะ

 

เกี่ยวกับฟลูออรีน หรือ  Fluorine

  • ฟลูออรีน เป็นธาตุที่มีอยู่ทั่วไปในร่างกาย พบมากที่สุดในกระดูกและฟัน โดยเฉพาะในส่วนเคลือบฟัน
  • ฟลูออรีน เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสโลหิต แล้วกระจายไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น เลือด หัวใจ ของเหลวที่บริเวณไขสันหลัง กระดูก และฟัน
  • ฟลูออรีน เกลื่อแร่ชนิดนี้เป็นเป็นตัวสำคัญที่ทำให้ไข่แดงมีสีแดง เปลือกสีสวยและมีคุณค่าอาหารครบถ้วน
  • ฟลูออรีน ก้อนกรวด ก้อนหินเป็นแหล่งกำเนิดที่ดีของฟลูออรีน
  • ฟลูออรีน จำเป็นสำหรับการทำให้ฟันและกระดูกแข็งแรง
  • ฟลูออรีน ในแหล่งอาหารตามธรรมชาติจำพวก ข้าวต่างๆ ผลไม้ เช่น แอปเปิล องุ่น ลูกแพร์ กล้วย และเชอร์รี่ ผักต่างๆ เช่น หัวแครอท กระเทียม หัวบีท ผักใบเขียว กระจับ ถั่ว ข้าวโพด หัวไชเท้า มะเขือ หัวหอม มันฝรั่ง เนย เนยแข็ง เนยเหลว ไข่  เมล็ดทานตะวัน  อื่นๆ เช่น อาหารทะเล ถั่วเหลือง ปลา น้ำทะเล น้ำกระด้าง น้ำผึ้ง ชาดำ
  • ฟลูออรีน แหล่งอาหารที่ดีที่สุดคือในชา อาหารทะเล
  • ฟลูออรีน ปริมาณของฟลูออรีนในพืชผักนั้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ดินฟ้าอากาศ พื้นที่ดินปลูกปุ๋ยที่ใช้
  • ฟลูออรีน ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง และทำให้ฟันทนต่อการผุมากขึ้น
  • ฟลูออรีน องค์การอนามัยโลก กำหนดความเข้มข้นมาตรฐานของน้ำปะปาไว้ให้มีฟลูออรีนประมาณ 1 PPM ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่ปลอดภัย
  • ฟลูออรีน หรือฟลูออไรด์ในยาสีฟัน อาจช่วยลดฟันผุได้ประมาณร้อยละ 20-30
  • ฟลูออรีน น้ำยาบ้วนปากชนิดฟลูออไรด์ พบว่าฟลูออไรด์บนผิวเคลือบฟันมักจะหลุดออกไปอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการสึกหรอของฟัน โดยการใช้บดเคี้ยว ขัดฟันและแปรงฟัน
  • ฟลูออรีน ช่วยลดการเกิดกรดในปากเนื่องจากคาร์โบไฮเดรต จึงไปลดการเสียของเคลือบฟัน ( tooth enamel )
  • ฟลูออรีน ช่วยในการดูดซึมของเหล็ก
  • ฟลูออรีน ช่วยในการเจริญเติบโต และบำรุงระบบสืบพันธุ์
  • ฟลูออรีน ส่วนใหญ่ดูดซึมที่ลำไส้เล็กแต่ก็มีบางส่วนถูกดูดซึมที่กระเพราะ ประมาณร้อยละ 90 ของฟลูออไรด์ที่กินเข้าไปจะเข้าไปในกระแสโลหิต ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งจะขับออกทางปัสสาวะ และอีกครึ่งหนึ่งจะไปจับที่ฟันและกระดูก

 

 

ประโยชน์ของฟลูออรีน หรือ Fluorine

 

ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรงและทำให้ฟันทนต่อการผุมากขึ้น พบว่า ฟลูออไรด์จะเพิ่มการจับเกาะของแคลเซียมจึงทำให้กระดูกและฟันแข็งแรงและช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ ( osteoporosis ) และความผิดปรกติของกระดูกที่จะถูกสร้างขึ้น

 

ทำให้นัยน์ตาดำ มีสีเข้มขึ้น มีสุขภาพดีและสวยงาม ซึ่งเกลือแร่ฟลูออรีนมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่มาก สำหรับผู้รักสวยรักงามจะขาดเลยไม่ได้

 

 

ปริมาณของฟลูออรีนที่ร่างกายควรได้รับ

การขาดเกลือแร่ฟลูออรีน จะทำให้ฟันผุ โรคกระดูกพรุน ถ้ามากเกินไปจะทำให้เกิดโรคฟลูออโรซิส ซึ่งมีลักษณะของอาการฟันเป็นลายจุดๆ และทำให้หินปูน เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อได้ ไต ตับ ต่อมอะดรีนัล หัวใจ ประสาทส่วนกลาง อวัยวะสืบพันธุ์ถูกทำลายหรือกระทบกระเทือน

ปริมาณที่แนะนำ ควรแนะนำให้เด็กอายุเกินกว่า 3 ปี กินประมาณวันละ 0.5 มก. และเด็กอายุ 2-3 ปี กินประมาณวันละ 0.3 มก. ถ้าอายุต่ำกว่า 1 ปี กินประมาณวันละ 0.2 มก. การได้รับฟลูออไรด์ 1 ส่วนต่อน้ำล้านส่วนจะช่วยป้องกันฟันผุในเด็กจนอายุถึง 8-12 ปีได้ และในผู้ใหญ่บางรายอาจมีประโยชน์บ้างในการช่วยรักษาฟันให้แข็งแรง ในคนปรกติจะได้รับฟลูออไรด์จากอาหารต่างๆประมาณ 1.8 มก. ต่อวัน และถ้าดื่มน้ำที่มีสารนี้ 1 ส่วนต่อล้านส่วนจะได้รับฟลูออไรด์เพิ่มขึ้นเป็น 3.2 มก. ต่อวัน ร่างกายจะเก็บไว้ในกระดูก 2-3 มก. ต่อวัน ในปริมาณดังกล่าวนี้จะไม่อันตรายต่อร่างกาย แต่ในคนที่ทำงานกลางแจ้งหรือนักกีฬาที่ต้องดื่มน้ำมากๆ จะได้รับฟลูออไรด์จากน้ำมากขึ้น จนถึงขีดอันตรายต่อร่างกายได้ค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/steeljam/16424848778/

9 เหตุผลที่ควรหลีกเลี่ยงไกลห่างจากน้ำตาล

brown-sugar-1
Source: Flickr (click image for link)

ถ้าพูดถึงรสชาติของอาหารไทย รสชาติอร่อยคืออาหารที่มีรสชาติครบรส นั่นก็คือรสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด โดยเฉพาะอาหารรสจัด ไม่ว่าจะเป็นเปรี้ยวจัด หวานจัด เค็มจัด เผ็ดจัด ล้วนแต่อร่อยทั้งนั้น รสชาติจืดชืดน่ะหรอแล้วมันจะไปมีรสชาติอร่อยอะไรล่ะ จริงไหมคะ? แต่ทว่าอาหารรสจัดที่กล่าวมานั้นส่วนใหญ่เราก็ไม่ได้อยากที่จะแนะนำสักเท่าไหร่ ทั้งหมดทั้งปวงก็อยากจะให้รับประทานแต่พอดี…ในบ้านเรานั้นตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาวกรรมวิธีส่วนใหญ่จะปรุงอาหารด้วยกะทิ แกงกะทิต่างๆ ส่วนอาหารหวานก็นิยมกะทิเช่นกันและขนมหวานในบ้านเราต่างๆนั้นก็จะมีรสชาติที่หวานจับใจ จนกระทั่งปัจจุบันนวัตกรรมใหม่ๆเริ่มพัฒนาขึ้นมากมีขนมขบเคี้ยวกรุบกรอบมากมายให้เลือกเกลื่อนเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด แค่ตื่นตอนเช้าเดินไปซื้อกาแฟ หรือเดินออกมาจากปากซอยก็จะมีขนมให้เลือกหลากหลายง่ายดายเหลือเกิน และส่วนผสมส่วนใหญ่ก็คือน้ำตาลทั้งนั้น แม้แต่เครื่องดื่มที่เคลมกันว่า healthy เหลือเกินวางเรียงรายให้จับจ่ายในร้านสะดวกซื้อ ส่วนผสมหลักก็ยังเป็นน้ำตาลอยู่ดี ไม่ต้องพูดถึงการเติมน้ำตาลเพื่อปรุงอาหารจานเดียวเลยค่ะ อาหารบางอย่างถูกปรุงมาเรียบร้อยแล้วแต่เราก็ยังปรุงเพิ่มอยู่เสมอ แล้วเราทราบกันหรือไม่คะว่า ‘’น้ำตาล’’ หรือ ‘’sugar’’ ที่เรารู้จักกันดีเนี่ย มันไม่มีประโยชน์อื่นใดๆเลย นอกจากให้พลังงาน (Empty Calorie) เนื่องจากน้ำตาลจัดเป็นอาหารที่อยู่ในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ไม่ซับซ้อน คือให้แต่พลังงานเท่านั้นไม่มีคุณค่าทางโภชนาการใดๆทั้งสิ้นนั่นเองค่ะ โดยที่น้ำตาล 1 กรัม จะให้พลังงาน 4 แคลอรี่ เพราะฉะนั้น น้ำตาล  1 ช้อนชา ก็จะให้พลังงานโดยประมาณ 15 แคลอรี่ค่ะ โดยที่องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า แต่ละวันควรใช้น้ำตาลในการปรุงแต่งรสชาติอาหารไม่เกินร้อยละ 10 ของปริมาณพลังงานทั้งหมด ดังนั้นเพื่อสุขภาพที่ดีจึงแนะนำว่า เด็กเล็กควรได้รับประทานน้ำตาลไม่เกินวันละ 4 ช้อนชา (16 กรัม) และผู้ใหญ่ควรรับประทานไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา (24 กรัม) ส่วนปัจจุบัน พบว่าคนไทยบริโภคน้ำตาลเฉลี่ยประมาณ 23 ช้อนชา (92 กรัม) ต่อวันซึ่งถือเป็นปริมาณที่มากเกินกว่าที่แนะนำถึงเกือบ 4 เท่า โดยในชีวิตประจำวันนั้นเราได้รับ แหล่งอาหารคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนจากพวกข้าว แป้ง ซึ่งมีสารอาหารอื่นที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นประจำอยู่แล้ว และได้รับน้ำตาล ธรรมชาติจากผลไม้เป็นแหล่งพลังงานและวิตามินแร่ธาตุอีกด้วยค่ะ   

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับประเภทของน้ำตาลกันค่ะ !

น้ำตาล ก็คือ คาร์โบไฮเดรตที่มีรสหวาน ประกอบด้วยคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน โดยหลักๆแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (simple sugar) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลเล็กที่สุด เมื่อรับประทานเข้าไปร่างกายจึงสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้เลยโดยไม่ต้องผ่านการย่อย ได้แก่
  • น้ำตาลกลูโคส (glucose) มีอยู่ในธรรมชาติทั่วไปในพืช ผัก ผลไม้ เป็นน้ำตาลที่มีความหวานน้อยกว่ารองลงมาจากน้ำตาลฟรักโทสและสามารดูดซีมได้อย่างรวดเร็ว
  • น้ำตาลฟรุกโตส (fructose) เป็นน้ำตาลที่มีรสหวานกว่าน้ำตาลชนิดอื่น พบมากในน้ำผึ้งและผลไม้ที่มีรสหวาน
  • น้ำตาลกาแล็กโตส (galactose) คล้ายน้ำตาลกลูโคสมากที่สุด ไม่พบในธรรมชาติ มีอยู่เฉพาะในอาหารพวกนมและผลิตผลของนมทั่วๆไป
  1. น้ำตาลโมเลกุลคู่ (double sugar) เป็นกลุ่มของคาร์โบไฮเดรตที่ให้รสหวาน เมื่อรับประทานเข้าไป จะต้องผ่านการย่อยโดยเอนไซม์ในระบบย่อยอาหารจนได้น้ำตาลเชิงเดียวก่อนจึงจะดูดซึมต่อไปได้ ได้แก่
  • น้ำตาลซูโครส (sucrose) (กลูโคส + ฟรุกโตส) คือน้ำตาลทรายหรือน้ำตาลอ้อย น้ำตาลชนิดนี้พบมากในอ้อย หัวบีต และผลไม้ที่มีรสหวานเกือบทุกชนิด
  • น้ำตาลมอลโทส (moltose) (กลูโคส + กลูโคส) คือน้ำตาลพบมากในเมล็ดข้าวที่กำลังงอกหรือน้ำที่สกัดจากข้าวงอก (malt-liquors)
  • น้ำตาลแล็กโทส (lactose) (กลูโคส + กาแลกโตส) พบอยู่ในน้ำนม เราจึงรู้จักในชื่อน้ำตาลนม มีความหวานน้อย ละลายน้ำได้น้อยกว่า ย่อยได้ช้ากว่าและบูด (ferment) ได้ยากกว่าซูโครส และมอลโทส

 

9 เหตุผลที่ควรหลีกเลี่ยงไกลห่างจากน้ำตาล

sugar-sweet-1
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.น้ำตาลทำให้อ้วน

สำหรับคนอ้วนทั้งที่กำลังเริ่มจะอ้วนหรือได้ทำการอ้วนไปแล้วเรียบร้อยนั้น รู้กันหรือเปล่าคะว่าสิ่งที่น่ากลัวที่สุดในการควบคุมน้ำหนักไม่ใช่ไขมันนะคะ แต่เป็นน้ำตาลตัวดีนี่เองล่ะค่ะ เพราะต่อให้ระมัดระวังในการควบคุมไขมันมากแค่ไหน แต่ถ้าคุณยังเติมน้ำตาลไม่ยั้งมือก็จะส่งผลต่อสุขภาพได้เช่นกันค่ะ หลายคนคงพยายามที่จะควบคุมการรับประทานอาหารโดยการเลือกรับประทานอาหารพวกไขมันต่ำหรือไม่มีไขมัน แต่ก็อย่าลืมกันนะคะว่าอาหารพวกนี้ก็สามารถทำให้คุณอ้วนได้ ถ้ามีน้ำตาลฟรุกโตสอยู่ในปริมาณมาก เพราะร่างกายเราดูดซึมอาหารพวกนี้ได้เร็ว ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วยค่ะ ตามกลของไกร่างกายแล้ว ตับอ่อนจะผลิตอินซูลินออกมาเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่ความจริงที่แสนจะโหดร้ายก็คือ ถ้าร่างกายของเราไม่ได้ใช้พลังงานมากพอ น้ำตาลที่เหลือก็จะถูกเปลี่ยนไปเป็นไขมันสะสมไว้ตามร่างกาย เราจึงเห็นได้ง่ายๆ ว่าทำไมเราถึงได้มีไขมันส่วนเกินโผล่มาตามหน้าท้อง ต้นขา และสะโพกได้ถึงเพียงนี้ แต่นั่นก็อีกแหละค่ะ มันเป็นสัญญาณเตือนแบบนัยๆ ว่าจะมีอีกสารพัดโรครอเข้ามารุมเร้าโดยที่เราไม่รู้ตัวด้วยเช่นกันค่ะ

 

2. น้ำตาลทำให้แก่เร็ว

เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นประจำ จะเกิด ปฏิกิริยาไกลเคชั่น (Glycation) ที่จะไปเร่งกระบวนการเสื่อมของร่างกาย หรือเรียกง่ายๆว่าทำให้แก่เร็วขึ้นนั่นเองค่ะ ไกลเคชั่น เกิดจากโมเลกุลของน้ำตาลไปทำปฏิกิริยากับโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบของเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกายเรา ทำให้เกิดสารขึ้นมากลุ่มหนึ่ง ที่เรียกว่า AGEs (Advanced Glycation End-Products) ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย เจ้า AGEs นี้ ถ้าไปยุ่งเกี่ยวกับเซลล์ร่างกายบริเวณไหนเมื่อไหร่แล้วล่ะก็จะทำให้เซลล์บริเวณนั้นเสื่อมหรือมีการทำงานที่แย่ลง เมื่อมี AGEs มาก และนานวันเข้าก็จะทำให้เกิดการทำลายคอลลาเจนและใยโปรตีนที่ผิวหนังทำให้เกิดริ้วรอยและจุดด่างดำ แถมยังทำให้เซลล์สมองเสื่อมจนเกิดเป็นโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) และส่วนของผนังหลอดเลือดแดงก็จะแข็ง เปราะบาง และยืดหยุ่นน้อยลง ทำให้ เกิดโรคในระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular disease) ได้ เกิดความเสื่อมของตับอ่อน ทำให้ผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอ หรือผลิตได้แต่ไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน = โรคเบาหวาน ถ้าไปทำปฏิกริยากับสายพันธุกรรม ก็จะทำให้การแบ่งตัวของเซลล์ผิดไปจากเดิม ทำให้ร่างกายเสื่อมอย่างถาวร

 

3. น้ำตาลทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ

คนที่ชอบกินอาหารหวานบ่อย ๆ สมดุลของแร่ธาตุชนิดต่างๆ จะรวนจนหาสมดุลไม่ได้ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ติดเชื้อได้ง่าย มีรายงานกล่าวว่าการกินหวานมากทำให้เลือดมีธาตุแคลเซียมสูงขึ้น ฟอสฟอรัสลดลง ซึ่งอาจไปตกตะกอนสร้างปัญหานิ่วในไต นอกจากนี้การเผาผลาญน้ำตาลในร่างกายบ่อย ๆ ยังเร่งให้เกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดทั้งโรคหัวใจและมะเร็ง ทั้งนี้น้ำตาลยังทำให้อาการของโรคติดเชื้อที่เป็นอยู่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น เพราะเชื้อโรคทุกชนิดใช้น้ำตาลเป็นอาหารนั่นเองค่ะ

 

4. น้ำตาลทำให้ฟันผุ

การรับกระทานอาหารไม่ว่าจะเป็นพวกข้าว แป้ง เมื่อร่างกายได้ทำการย่อยแล้วก็จะถูกกลายเป็นน้ำตาลแล้วก็จะถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือดเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลใดๆ ในอาหาร แบคทีเรียในปากจะยังคงมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการย่อยสลายแป้ง และน้ำตาลที่คั่งค้างอยู่ในช่องปากทำให้เกิดกรดแล็กติก กรดแล็กติกนี้เองที่จะเป็นตัวทำลายเคลือบฟัน (enamel) ให้กร่อนและบางลงจนเกิดฟันผุในที่สุด

 

5. น้ำตาลทำให้ปวดท้อง ท้องอืด

การที่กระเพาะอาหารมีน้ำตาลมากเกิน ก็จะทำให้เกิดการหมักหมม มีส่วนที่ทำให้แบคทีเรียกลุ่มแล็กติกที่อยู่ในทางเดินอาหารผลิตกรดและแก๊สขึ้น จึงสามารถทำให้เกิดอาการท้องอืดหรือปวดท้องได้ค่ะ  

 

6. น้ำตาลทำให้ซึมเศร้า ไม่กระปรี้ประเปร่า

การกินน้ำตาลเยอะๆ จะส่งผลทำให้กรดอะมิโนที่ชื่อ “ทริปโตเฟน” ถูกเร่งให้ผ่านเข้าสู่สมองมากเกินไป สมดุลของฮอร์โมนในสมองเปลี่ยนแปลง ผลที่ตามมาคือเกิดอาการเหนื่อย เซ็ง ซึมเซา ง่วงหงาวหาวนอน ไม่กระฉับกระเฉงกระปรี้กระเปร่า

 

7. น้ำตาลก่อให้เกิดโรคเบาหวาน

คงจะหนีไม่พ้นโรคเบาหวาน เนื่องจากเมื่อน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายก็จะถูกเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่เล็กพอจะเข้าสู่กระแสเลือด ทั้งนี้ก็เพื่อให้ร่างกายสามารถนำไปใช้เป็นพลังงานได้ ถ้าเราได้รับน้ำตาลในปริมาณสูง ระดับของน้ำตาลในเลือดก็จะสูงขึ้น ฮอร์โมนอินซูลินที่ถูกสร้างโดยตับอ่อนก็จะออกมาทำหน้าที่คอยลดปริมาณน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ การที่เรากินน้ำตาลมากๆ ทุกวัน ตับอ่อนก็ต้องทำงานหนักเพื่อเร่งการสร้างอินซูลิน และเมื่อนานๆเข้า ตับอ่อน ก็จะกลายเป็น ตับอ่อนล้า คือตับอ่อนเกิดภาวะเสื่อมจนผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอที่จะไปคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ น้ำตาลในเลือดเลยสูงขึ้นจนเกิดเป็นโรคเบาหวานในที่สุด

 

8. น้ำตาลส่งผลต่อระดับคลอเรสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์

น้ำตาลฟรุกโตสที่ได้จากอาหารหลังจากถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปไขมันแล้วจะถูกส่งออกจากตับและส่วนมากจะถูกส่งออกในรูปของ Very Low Denstiry Lipoprotein (VLDL) ซึ่งไขมันชนิดนี้เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดจะถูกเปลี่ยนเป็นคลอเลสเตอรอลชนิด LDL (คลอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี) มีผลทำให้ไตรกลีเซอไรด์และคลอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้นค่ะ

 

9. น้ำตาลทำให้มีอารมณ์ดุร้ายได้ง่าย

“น้ำตาล” ที่มีรสหวานอร่อยลื่นลิ้นนั้น รู้หรือเปล่าคะว่าจะมีผลร้ายต่อระบบประสาทและภาวะอารมณ์ของคนเราค่ะ โดยจะก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น ซึมเศร้า ก้าวร้าว ต่อต้านสังคม หรือ อาจจะรุนแรงถึงขั้นก่ออาชญากรรมไปเลยก็ว่าได้ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ ได้อธิบายถึงการทำงานของน้ำตาลที่ไปมีผลต่ออารมณ์เอาไว้ว่า เมื่อน้ำตาลจำนวนมากเข้าไปในร่างกาย มันจะถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือดภายในเวลาเพียง 10 นาทีเท่านั้น แล้วตับอ่อนก็จะหลั่งอินซูลินออกมา เพื่อขับน้ำตาลในเลือดส่วนเกินออกไป จนกระทั่งระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง ก่อให้เกิดภาวะที่เรียกว่า Hypoglycemia ในภาวะดังกล่าว Cerebrum ซึ่งเป็นสมองส่วนที่สัมพันธ์กับการเรียนรู้ การคิดค้น พฤติกรรม จิตสำนึก และสติสัมปชัญญะ ก็จะปิดตัวลง พลังงานของสมองก็จะส่งผ่านไปยังก้านสมองซึ่งควบคุมสัญชาติญาณและกิริยาอาการดั้งเดิมของมนุษย์ที่เต็มไปด้วยความก้าวร้าว รุนแรง ไร้เหตุผล ทำให้คนที่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำนั้นสามารถทำอะไรโดยไม่ทันยั้งคิดได้ง่ายขึ้นเลยล่ะค่ะ

 

เหมือนอย่างที่คำโบราณได้บอกไว้ว่า “หวานเป็นลม ขมนั้นเป็นยา” ก็อย่างว่า อาหารที่มีรสชาติหวานละมุนก็ย่อมที่จะอร่อยกว่ารสชาติที่ขมเป็นไหนๆ แต่ก็อีกนั่นแหละค่ะ ว่าคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยุคสมัยเปลี่ยนไปตามการเวลา การผลิตเครื่องดื่ม ขนมหวาน สำเร็จรูป เกลื่อนกลาดเต็มท้องตลาดพร้อมให้จับจ่ายเลือกซื้อกัน ได้แต่หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยทำให้เข้าใจยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางในการเลือกรับประทานอาหารมากขึ้นนะคะ 🙂

 

www.flickr.com/photos/zh3us/4774497262/

www.flickr.com/photos/andrein/5556815064/