Browse Tag: สมดุล

เมลาโทนิน (Melatonin) คืออะไร

sleeping-night-1
Source: Flickr (click image for link)

คนเราใช้เวลาในการนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อยที่สุด 8 ชั่วโมงต่อวัน ทำไมน่ะหรอ…ก็เพราะว่าเป็นวัฐจักรของธรรมชาติที่สร้างขึ้นมา ให้ร่างกายมนุษย์มีเวลาหยุดพักเพื่อให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานให้สมดุล บางคนคิดว่าเวลา 8 ชั่วโมงนั้นช่างยาวนานเหลือเกินเสียดายที่จะทิ้งไปกับการนอน จึงได้ทำสิ่งอื่นที่คิดว่าสำคัญกว่าการนอนจนทำให้เวลาในการนอนน้อยลง แต่เมื่อถึงเวลาที่ควรจะนอนเราก็จะจำเป็นจะต้องนอนค่ะ ความรู้สึกง่วง หงาว หาว นอนนั้นช่างโหดร้ายและทรมานเหลือเกิน ก็อาการเหล่านี้แหละค่ะที่กำลังจะบอกคุณว่าเรากำลังฝืนธรรมชาติอยู่ ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่จะต้องนอน เราก็จะมีอาการดังกล่าวมาคอยเตือนอยู่ตลอดเวลาว่า ได้เวลาที่ต้องนอนแล้วนะ นั่นก็เกิดจาก เมลาโทนิน หรือ “ฮอร์โมนแห่งรัตติกาล (The darkness hormone)” นั่นเองค่ะ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับเจ้าฮอร์โมนตัวนี้กันให้มากขึ้นนะคะ

 

เมลาโทนิน (Melatonin) คืออะไร

“เมลาโทนิน” (Melatonin) เป็นฮอร์โมนในระบบประสาทที่ร่างกายเราสร้างขึ้นได้เองตามธรรมชาติค่ะ เมลาโทนินนั้นได้ถูกค้นพบครั้งแรกโดยดอกเตอร์เลอร์เนอร์ (Aaron Bunsen Lerner) แพทย์ชาวอเมริกัน ในปีค.ศ.1958 เมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งได้ถูกสร้างโดย Pineal gland ที่สมอง การหลั่งของฮอร์โมนชนิดนี้จะถูกกระตุ้นโดยความมืดและถูกยับยั้งโดยแสง ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นหรอคะ ? ก็เนื่องจากการถูกค้นพบครั้งแรกโดยการสกัดสารจากต่อม ไพเนียล(Pineal gland) ของวัวมาทำให้บริสุทธิ์ได้เป็นสารใน กลุ่ม indole ซึ่งมีผลต่อเมลานิน (Melanin) บนผิวหนังของกบ ทำให้สีผิวจางลงและเนื่องจากสารที่สกัดจากต่อมไพเนียล มีสูตรโครงสร้างทางเคมีคล้ายซีโรโทนิน (Serotonin) จึงเรียก สารในกลุ่ม indole ซึ่งไปฟอกสีเมลานินนี้ว่า เมลาโทนิน ค่ะ

light-1
Source: Flickr (click image for link)

เกี่ยวกับเมลาโทนิน (Melatonin)

เมลาโทนินถูกสังเคราะห์ขึ้นจากกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) ที่มีอยู่ในกระแสเลือดของเรา โดยมีการสร้างขึ้นที่ลำไส้ใหญ่ จอตาและต่อมไพเนียล โดยมีความมืดเป็นตัวกระตุ้นและหยุดหลั่งเมื่อเจอแสงสว่าง ปริมาณของเมลาโทนินจะเพิ่มสูงขึ้นในตอนกลางคืนเริ่มตั้งแต่ประมาณ 22 นาฬิกา ปริมาณสูงสุดประมาณ 3 นาฬิกา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤดูกาลด้วย การที่เรามีความรู้สึกเฉื่อยชาลงและมีความรู้สึกตื่นตัวน้อยลงนั้น ก็เป็นผลของการหลั่งของเมลาโทนินนั้นเพิ่มขึ้นนั่นเองค่ะ อีกทั้งร่างกายของเราจะมีอุณหภูมิเริ่มมีการลดต่ำลงจึงทำให้เหมาะแก่การนอนหลับมากขึ้นค่ะ และในช่วงเวลาเช้ามืดของวันต่อมาระดับของเมลาโทนินก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งในระหว่างวัน เมลาโทนิน จะลดระดับลงต่ำมากจนกระทั่งนักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถตรวจวัดได้ เนื่องจากระดับของ เมลาโทนินนั้นขึ้นลงตามวงจรของความมืดและความสว่าง (light-dark cycle) จึงทำให้ทั้งมนุษย์หรือแม้กระทั่งพืชนั้นที่ก็มีฮอร์โมนนี้อยู่เช่นกัน ซึ่งมีความตื่นตัวในระหว่างวัน โดยที่ระดับของเมลาโทนินจะเพิ่มขึ้นสูงสุดที่เวลา 2.00 น.ในเด็กที่มีสุขภาพดีทั่วไป อีกทั้งจะเพิ่มขึ้นสูงที่สุดที่เวลา 3.00 น.ในผู้สูงอายุ นอกจากนี้แล้วปริมาณการผลิตเมลาโทนินในร่างกายนั้นลดลงเมื่อเราอายุมากขึ้นค่ะ ซึ่งจะเห็นได้ทำไมผู้สูงอายุต้องพบกับปัญหาในการนอนไม่หลับมากกว่าผู้ที่อายุยังน้อยค่ะ

 

ประโยชน์ของเมลาโทนิน
เชื่อกันว่าช่วยบรรเทาอาการเพลียหลังการโดยสารเครื่องบิน (Jet-Lag) และการทำงานเป็นกะซึ่งยังมีข้อโต้แย้งเรื่องคุณสมบัตินี้กันอยู่ เมลาโทนินถือว่าเป็นสารที่ช่วยปรับสภาพร่างกายในรอบวันเพราะคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับความสว่างและความมืด (circadian rhythm) เมลาโทนินเหนี่ยวนำให้เกิดการนอนหลับลึก ช่วยกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth hormone) ความผิดปกติเรื้อรังของการนอน อาจทำให้หยุดการเจริญเติบโตก่อนเวลาอันควร อีกทั้งประโยชน์ด้านอื่น ๆ ของเมลาโทนินยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ แต่ก็ไม่สามารถรักษาโรคได้ ที่สำคัญยังมีผลต่อการควบคุมกระบวนการทางชีวภาพและการเกิดอนุมูลอิสระ ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงการใช้เมลาโทนิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลด (หรือเพิ่มขึ้น) ของปริมาณของเมลาโทนินในเลือดทำให้เกิดปัญหาการนอนหลับหรือความผิดปกติของวงจรการหลับและการตื่นในรอบวันค่ะ

 

www.flickr.com/photos/zubrow/5404957877/

www.flickr.com/photos/bennyseidelman/5103679082/

โซเดียม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

himalayan-salt-1
Source: Flickr (click image for link)

โซเดียม (Sodium) เป็นอีกหนึ่งเกลือแร่หรือแร่ธาตุที่ใครๆก็น่าจะรู้จักกันในรูปของรสชาติความเค็มจากเครื่องปรุงติดบ้านของเราจำพวกน้ำปลา เกลือ หรือเครื่องปรุงอาหารรสชาติต่างๆ แต่ความเป็นจริงแล้วโซเดียมเป็นแร่ธาตุที่พบได้ทั้งในสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันในหลายรูปแบบ และเป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย เช่น การควบคุมความดันกระแสเลือด การทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท ช่วยรักษาสมดุลของของเหลวที่อยู่ภายในร่างกาย โดยมีหน้าที่ควบคู่ไปกับโพแทสเซียมและคลอไรด์ หรือพูดง่ายๆเลยว่า โซเดียมก็คือ เกลือแร่ (สารอาหาร) ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยโซเดียมจะทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ (รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจด้วย) ตลอดจนการดูดซึมสารอาหาร บางอย่างในไตและลำไส้เล็กค่ะ โดยโซเดียมในรูปแบบที่เราบริโภคกันเป็นประจำ ก็จะเป็นโซเดียมที่อยู่ในรูปแบบของ ‘’เกลือแกง’’ โดยที่เกลือมีส่วนประกอบอยู่ 2 อย่างก็คือ โซเดียมกับคลอไรด์และก็น้ำปลา ซึ่งรสชาตินั้นจะต้องมีความเค็มอย่างแน่นอน และจากการสำรวจพบว่าคนไทยกินเกลือที่มีอยู่ในอาหารและเครื่องปรุงรส โดยเฉลี่ยอยู่ที่วันละประมาณ 7 กรัมค่ะ

 

เกี่ยวกับโซเดียม หรือ Sodium

 

  • โซเดียม คือ เกลือแร่ (สารอาหาร) ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย
  • โซเดียม เป็นเกลือแร่ที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง มีความจำเป็นเกี่ยวกับของเหลวภายในร่างกาย
  • โซเดียม เป็นแร่ธาตุที่ทำงานร่วมกับโปตัสเซียมและคลอไรด์ที่ของเหลวภายนอกเซลล์ เพื่อควบคุมดุลยภาพของแรงออสโมติคและปริมาตรของของเหลว
  • โซเดียม ช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ (รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจด้วย)
  • โซเดียม ในรูปแบบที่เราบริโภคกันเป็นประจำ ก็จะเป็นโซเดียมที่อยู่ในรูปแบบของ ‘’เกลือแกง’’
  • โซเดียม จากอาหารธรรมชาติที่มีโซเดียมสูงคือพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ
  • โซเดียม จากอาหารธรรมชาติที่มีโซเดียมต่ำ ได้แก่ ผลไม้ทุกชนิด ผัก เนื้อปลา ธัญพืชและถั่วเมล็ดแห้ง ซึ่งปริมาณโซเดียมจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายโดยไม่จำเป็นต้อง เรียกหาเครื่องปรุงรสใดๆ เลย
  • โซเดียม จากอาหารแปรรูปหรือการถนอมอาหาร ได้แก่ อาหารกระป๋องทุกชนิด อาหารหมักดอง อาหารเค็ม อาหารตากแห้ง เนื้อเค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า ผักดอง ผลไม้ดอง เป็นต้น
  • โซเดียม จากเครื่องปรุงรส เช่น เกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรสที่มีรสเค็ม (เช่น ซีอิ๊วขาว เต้าเจี้ยว น้ำบูดู กะปิ ปลาร้า ปลาเจ่า เต้าหู้ยี้ รวมทั้งซอสหอยนางรม) ซอสปรุงรสที่ไม่มีรสเค็มหรือเค็มน้อย เช่น ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก น้ำจิ้มต่างๆ
  • โซเดียม ในผงชูรสถึงแม้ไม่มีรสชาติเค็ม แต่ก็มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยประมาณร้อยละ 15
  • โซเดียม ในอาหารกระป๋องและอาหารกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งอาหารเหล่านี้มีการเติมเกลือหรือสารกันบูด ซึ่งมีโซเดียมในปริมาณที่สูงมาก
  • โซเดียม จากขนมต่างๆ ที่มีการเติมผงฟู ซึ่งผงฟูที่ใช้ในการทำขนมเหล่านี้มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ (โซเดียมไบคาร์บอเนต) เช่น ขนมเค้ก คุกกี้ แพนเค้ก ขนมปัง
  • โซเดียม ในน้ำฝนเป็นน้ำที่ปราศจากโซเดียม
  • โซเดียม มีปนอยู่ในน้ำบาดาลและน้ำประปาอยู่บ้าง ในจำนวนไม่มากนัก
  • โซเดียม ในเครื่องดื่มเกลือแร่ยี่ห้อต่างๆ มีการเติมสารประกอบของโซเดียมลงไปด้วย เพราะมีจุดประสงค์จะให้เป็นเครื่องดื่มสำหรับนักกีฬาหรือผู้ที่สูญเสียเหงื่อมาก
  • โซเดียม ในน้ำผลไม้บรรจุกล่องขวดหรือกระป๋อง มักจะมีการเติมสารกันบูด (โซเดียมเบนโซเอต) ลงไปด้วย ทำให้น้ำผลไม้เหล่านี้ มีโซเดียมสูง
  • โซเดียม เป็นส่วนประกอบของเกลือ ซึ่งเกลือ 1 กรัม จะมีโซเดียมประมาณ  400 กรัม
  • โซเดียม ที่ร่างกายคนเรามีความต้องการ ประมาณ 2400 มิลลิกรัมต่อวัน
  • โซเดียม ที่เกินความต้องการ ไตจะขับออกทางปัสสาวะและจะออกทางเหงื่อเป็นที่น่าสังเกตอย่างยิ่งว่าโซเดียม ที่ขับออกทางปัสสาวะจะเป็นตัวชี้ระดับของโซเดียมในร่างกาย
  • โซเดียม เกี่ยวข้องกับการซึมผ่านของสารและการดูดซึมสารอาหารเข้าเซลล์
  • โซเดียม ช่วยฟอกคาร์บอนไดออกไซด์จากร่างกายและช่วยในการย่อย
  • โซเดียม จำเป็นสำหรับการผลิตกรดไฮโดรคลอริคในกระเพาะอาหารและช่วยระบบการย่อยอาหาร
  • โซเดียม ช่วยในการขนส่งกลูโคสผ่านเยื่อเซลล์
  • โซเดียม กระตุ้นประสาทให้ทำงาน และเป็นตัวเก็บเกลือแร่อื่นๆให้อยู่ในร่างกาย

 

 

ประโยชน์ของโซเดียม (Sodium)

 

การรักษาสมดุลกรดด่าง โดยโซเดียมไบคาร์บอเนตและโซเดียมฟอสเฟต ทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ที่สำคัญของเลือด ช่วยรักษาความเป็นกรดด่างของเลือดให้คงที่ค่ะ

 

การควบคุมสมดุลน้ำและสมดุลของเหลวภายในร่างกาย โดยที่โซเดียมนั้นไปทำหน้าที่ร่วมกับโปตัสเซียมในการควบคุมสมดุลน้ำและสมดุลของเหลวภายในร่างกาย โดยโซเดียมในรูปแคทไออนจะรักษาความดันออสโมติคภายนอกเซลล์และโปตัสเซียมใน รูปแคทไออนรักษาความดันออสโมติคภายในเซลล์ รวมถึงช่วยรักษาให้แร่ธาตุอื่นที่มีอยู่ในเลือดละลาย เพื่อจะได้ไม่เกิดการจับเกาะตัวภายในเลือด

 

การควบคุมหัวใจให้ทำหน้าที่ปกติและสม่ำเสมอ โดยโซเดียมจะไปควบคุมสมดุลระหว่างแคลเซียมและโปตัสเซียม เพื่อควบคุมหัวใจให้ทำหน้าที่ปกติและสม่ำเสมอ

 

เกี่ยวข้องกับการหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยโซเดียมช่วยการส่งผ่านสัญญาณประสาท ( nerve impulse ) ไปยังกล้ามเนื้อเพื่อให้หดตัว

 

ช่วยชำระล้างคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากระบบ โดยทำงานร่วมกับคลอรีน ช่วยชำระล้างคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากระบบ ส่งเสริมสุขภาพของเลือด น้ำเหลือง ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

 

 

ปริมาณของโซเดียมที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน

โดยจากการวิจัยทางการแพทย์และโภชนาการเรื่องปริมาณที่เหมาะสมของโซเดียมที่ควรได้รับจากอาหารในแต่ละวัน ยังผลให้องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดปริมาณโซเดียมที่ แนะนำให้บริโภคต่อวัน (Recommended Daily Intakes : RDI) อยู่ที่น้อยกว่า 2,400 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอแก่ความต้องการในบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป และเป็นปริมาณที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในด้านสุขภาพใดๆ
สำหรับในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แนะนำให้บริโภคโซเดียมไม่เกินวันละ 2,400 มิลลิกรัมเช่นเดียวกัน แต่หากจะเปรียบเทียบภาวะความเสี่ยงของการได้รับโซเดียมเกินระหว่างประเทศไทย กับประเทศสหรัฐอเมริกา จะพบว่าคนไทยเราบริโภคโซเดียมเฉลี่ยอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมคือปริมาณ 2,320 มิลลิกรัมต่อวัน ในขณะที่ชาวอเมริกันรับประทานโซเดียมจากอาหารเฉลี่ย 3,200 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน ดังนั้นสำหรับคนไทยที่ไม่ได้เป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการตามปกติและรสชาติที่ไม่เค็มจนเกินไป ก็เพียงพอที่จะควบคุมปริมาณโซเดียมจากอาหารในระดับที่เหมาะสมได้แล้ว

 

 

www.flickr.com/photos/julajp/5904468562/

โพแทสเซียม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

yoghurt-breakfast-1
Source: Flickr (click image for link)

โพแทสเซียม (Potassium) เป็นแร่ธาตุที่มีมากเป็นอันดับ 3 ในร่างกาย รองจากแคลเซียมและฟอสฟอรัส โพแทสเซียมนั้นเป็นอิเล็กโตรไลต์ซึ่งเป็นตัวปรับสมดุลของประจุบวกหรือลบในเลือด โซเดียมกับคลอไรด์ก็เป็นอิเล็กโตรไลต์เช่นกันค่ะ ร่างกายของเราต้องได้รับแร่ธาตุทั้ง 3 ชนิดนี้ในปริมาณที่สมดุลจึงจะทำหน้าที่ต่างๆ ได้ดี โพแทสเซียมเกือบทั้งหมดในร่างกายจะอยู่ในเซลล์ต่างๆ โพแทสเซียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเป็นปกติ เช่น ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โปแทสเซียมช่วยควบคุมสมดุลของอิเล็กโตรไลต์และสมดุลของกรด-เบสในร่างกาย ป้องกันภาวะกรดเกิน (hyperacidity) และยังช่วยควบคุมความดันโลหิตที่สูงและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย มีรายงานวิจัยจำนวนมากที่ระบุว่าในกลุ่มประชากรที่ได้รับโปแทสเซียมจากอาหารในปริมาณที่สูงมีค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตและอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงต่ำกว่ากลุ่มประชากรที่ได้รับโปแทสเซียมจากอาหารในปริมาณที่น้อย และยังพบว่าการได้รับโปแทสเซียมจากอาหารอย่างเพียงพอ มีผลช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเรื้อรังชนิดอื่น ๆ โดยในงานวิจัยของ Ascherio และคณะ ได้รายงานว่าสามารถลดความเสี่ยงของภาวะการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง (Stroke) ได้ถึง 30%

 

เกี่ยวกับโพแทสเซียม (Potassium)

  • โพแทสเซียม เกลือแร่ชนิดหนึ่ง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ
  • โพแทสเซียม รักษาสมดุลของน้ำ กรด-ด่างในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต
  • โพแทสเซียม ในผู้ป่วยโรงใตเรื้อรัง จะมีประสิทธิภาพในการขับโพแทสเซียมลดลง ซึ่งทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด
  • โพแทสเซียม จะทำงานร่วมกับโซเดียมในการควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกายและช่วยทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ
  • ความเครียดทางด้านร่างกายและจิตใจ อาจส่งผลให้ขาดโพแทสเซียมได้
  • หากโพแทสเซียมและโซเดียมในร่างกายเสียสมดุลจะทำให้การทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเสียไป
  • ไฮโปไกลซีเมีย (ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ) จะส่งผลให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมได้ เหมือนกับการอดอาหารเป็นเวลานาน ท้องร่วงอย่างรุนแรง
  • แหล่งที่พบโพแทสเซียมตามธรรมชาติ ได้แก่ โยเกิร์ต ผลไม้รสเปรี้ยว กล้วย ลูกพีช มันฝรั่ง แคนตาลูป มะเขือเทศ ผักวอเตอร์เครส ผักใบเขียวทุกชนิด สะระแหน่ เมล็ดทานตะวัน ถั่ว เป็นต้น
  • ศัตรูของธาตุโพแทสเซียม ก็ได้แก่ น้ำตาล กาแฟ แอลกอฮอล์ และยาขับปัสสาวะ
  • ผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำและมีอาการอ่อนล้า อาจเกิดจากการสูญเสียโพแทสเซียมเพราะกาแฟ
  • ผู้ที่ชอบรับประทานของหวานและชอบดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ระดับของโพแทสเซียมในร่างกายอาจจะต่ำได้
  • ผู้ที่กำลังลดความอ้วนด้วยการรับประทานประเภทคาร์โบไฮเดรตน้อย จะส่งผลให้ระดับโพแทสเซียมในร่างกายลดลง ซึ่งจะส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดอาการอ่อนล้าหรือตอบสนองช้า
  • หากระดับโพแทสเซียมในร่างกายมากเกินไปจะถูกไตขับออกมา และสำหรับผู้ที่ไตทำงานได้ไม่ดีก็ไม่ควรรับประทานโพแทสเซียมเสริมในปริมาณที่สูงมากจนเกินไป
  • โพแทสเซียม ในรูปแบบอาหารเสริม มักพบได้ในรูปแบบของวิตามินรวมและแร่ธาตุรวม
  • โพแทสเซียม ในเลือดที่มีค่าปกติคือ 3.5 – 5.0 mEq/L
  • โพแทสเซียม  ในเลือดที่มีค่าต่ำคือ  < 3.5 mEq/L จะมีอาการซึม อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ตะคริว
  • โพแทสเซียม ในเลือดที่มีค่าสูงคือ  > 5.0 mEq/L จะทำให้เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • โพแทสเซียมสูงในอาหารประเภท (กลุ่มผักสีเข้ม) ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม ทุเรียน กล้วย ลำไย ผลไม้แห้งต่างๆ เช่น ลูกเกด ลูกพรุน แครอท มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า หัวปลี ผักชี มันฝรั่ง
  • โพแทสเซียมปานกลางในอาหารประเภท  สับปะรด ฝรั่ง แอปเปิ้ล เงาะ ส้ม องุ่น ลิ้นจี่ แคนตาลูป ส้มโอ มะม่วงดิบ มะเขือยาว หอมหัวใหญ่ ผักบุ้งจีน มะละกอดิบ ถั่วพู(ฝักอ่อน) พริกหวาน
  • โพแทสเซียมต่ำในอาหาร (กลุ่มผักสีซีด) ได้แก่ ชมพู่ องุ่นเขียว แตงโม บวบเหลี่ยม เห็ดหูหนู ฟักเขียว แฟง ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา
  • การจำกัดผัก-ผลไม้ขึ้นอยู่กับระดับโพแทสเซียมในเลือด ถ้าผลเลือดอยู่ในระดับปกติ ไม่จำเป็นต้องงดผัก ผลไม้ ควรเลือกรับประทานผักผลไม้หมุนเวียนได้ตามปกติ สีเข้ม-อ่อน สลับกันไป

จะเห็นได้ว่าเราสามารถเลือกรับประทานอาหารได้หลากชนิดเพื่อให้ได้รับโปแทสเซียมในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน แต่ทั้งนี้ เราควรบริโภคอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการ โดยคำนึงถึงปริมาณน้ำตาล ไขมัน คอเลสเตอรอล ฯลฯ ที่มีอยู่ในอาหารด้วย เพื่อป้องกันความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ และเพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง

 

ประโยชน์ของโพแทสเซียม (Potassium)

 

โพแทสเซียมและอิเล็กโตรไลต์ชนิดอื่นๆ ช่วยในการนำกระแสประสาท ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจและความดันเลือด โพแทสเซียมยังควบคุมปริมาณของเหลวภายในเซลล์ ขณะที่โซเดียมควบคุมปริมาณของเหลวภายนอกเซลล์ แร่ธาตุ 2 ชนิดนี้จึงทำงานร่วมกันเพื่อรักษาสมดุลของของเหลวในร่างกาย

 

โพแทสเซียมยังช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนน้ำตาล (กลูโคส) ในเลือด ไปเป็นพลังงานสะสม (ไกลโคเจน) ในกล้ามเนื้อและตับ โพแทสเซียมเป็นสารขับปัสสาวะธรรมชาติ จึงช่วยขับสารพิษที่เกิดจากการเผาผลาญพลังงานด้วย

 

โพแทสเซียม จะทำงานร่วมกับ ธาตุโซเดียม ในการควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกายและช่วยทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ โดยความเครียดทางด้านร่างกายและจิตใจ อาจส่งผลให้ขาดโพแทสเซียมได้ หากโพแทสเซียมและโซเดียมในร่างกายเสียสมดุลจะทำให้การทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเสียไป ไฮโปไกลซีเมีย (ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ) จะส่งผลให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมได้ เหมือนกับการอดอาหารเป็นเวลานาน ท้องร่วงอย่างรุนแรง

 

โพแทสเซียมช่วยควบคุม Osmolality ส่วนใหญ่ของ ICF จึงมีความสำคัญในการรักษาปริมาตรของเซลล์ให้คงที่ ซึ่งมีผลต่อความสำคัญของปริมาตรน้ำในร่างกาย

 

โพแทสเซียมเป็น Cofactor ที่สำคัญในกระบวนการเมทาบอลิซึม เช่น การสังเคราะห์โปรตีน และไกลโคเจน และการทำงานของอินซูลิน เป็นต้น

 

โพแทสเซียมในอัตราส่วนของโพแทสเซียมที่อยู่ระหว่าง ICF และ ECF จะเป็นตัวกำหนดความต่างศักย์ที่ผนังเซลล์ ที่มีความสำคัญในการทำงานของกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท

 

โพแทสเซียมที่ร่างกายได้รับในแต่ละวันจะได้รับจากอาหาร และมีการขับถ่ายออกนอกร่างกายทางปัสสาวะประมาณวันละ 50-90 มิลลิโมล ส่วนที่เหลือประมาณ 5-10 มิลลิโมล จะขับถ่ายออกทางอุจจาระ และเหงื่อ

 

 

www.flickr.com/photos/california_bakery/8102163622/