Browse Tag: อาหารโซเดียมสูง

12 ชนิดของอาหารโซเดียมสูงที่ควรหลีกเลี่ยง

Source: Flickr (click image for link)

ถ้าพูดถึงรสชาติของอาหารที่ขึ้นชื่อว่าคนไทยนิยมชมชอบที่จะรับประทานเป็นประจำ นั่นก็คงไม่พ้นอาหารรสจัด หลักๆจะเป็นอาหารที่เป็นรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด และอีกชนิดที่ดันบังเอิญเป็นส่วนประกอบหลักของอาหารไทยนั่นก็คือรสชาติเค็ม ซึ่งปกติแล้วในอาหารอย่างเดียวก็มีโซเดียมอยู่แล้ว และเมื่อเรานำมาปรุงเป็นอาหารยิ่งจะเพิ่มโซเดียมเข้าไปอีก อีกทั้งคนไทยก็รับประทานรสชาติแบบนี้จนเคยชินคิดว่านั่นคือรสชาติปกติ แถมยังบอกว่ากลมกล่อมซะอีกถ้าไม่ได้ปรุงนี่สิรสชาติยิ่งจะจืดชืดไม่อร่อยไปซะอย่างนั้น กลับกลายเป็นว่าเราได้ชินและคุ้นเคยกับรสชาตินั้นไปซะแล้ว พอได้ลดปริมาณการปรุงรสลงก็จะกลายเป็นว่าไม่อร่อยและจืดชืด แต่ก็ไม่ใช่ว่าอาหารที่มีรสเค็มจะต้องมีโซเดียมสูงซะอย่างเดียมอาหารบางอย่างที่รสชาติไม่เค็มกลับให้โซเดียวสูงก็มีนะจ๊ะแบบนั้นเขาเรียกกันว่าโซเดียมแฝงนั่นเอง ทำให้เราได้รับโซเดียมมาเต็มๆแบบไม่รู้ตัว โซเดียมที่เราบริโภคกันเป็นประจำก็คือโซเดียมที่อยู่ในรูปของ”เกลือแกง” (เกลือมีส่วนประกอบอยู่ 2 อย่างคือโซเดียมและคลอไรด์) และก็ได้พบว่าคนไทยกินเกลือที่มีอยู่ในอาหารและเครื่องปรุงรสโดยเฉลี่ยวันละประมาณ 7 กรัม ซึ่งนั่นจึงเป็นสาเหตุที่ได้นำพาโรคต่างๆ มาสู่คนไทยโดยไม่รู้ตัว โดยส่งผลเสียต่ออวัยวะภายในร่างกาย เช่น หัวใจหรือไต ถึงแม้ว่าโซเดียม (Sodium) จะเป็นเกลือแร่หรือแร่ธาตุที่ได้จัดว่าเป็นสารอาหารที่ร่างกายจำเป็นที่จะต้องนำไปใช้งาน โดยการทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติหรือช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อรวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจ ตลอดจนการดูดซึมสารอาหารบางอย่างในไตและลำไส้เล็ก อีกทั้งยังใช้รักษาสภาพความเป็นกรดด่างของร่างกายอีกด้วย

 

12 ชนิดของอาหารโซเดียมสูงที่ควรหลีกเลี่ยง

โดยปริมาณที่ร่างกายควรได้รับโซเดียมต่อวันคือ ไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน  (เทียบเท่าเกลือ 1 ช้อนชา หรือน้ำปลา 4-5 ช้อนชา) 

 

1.เครื่องปรุงรสที่ให้รสเค็ม

สิ่งที่ทำให้นึกถึงเป็นอันดับแรกถ้าพูดถึงโซเดียม ก็เป็นเครื่องปรุงรสต่างๆ ที่ทำให้เกิดรสเค็มอย่างเช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ้วขาว ซีอิ้วดำ ซอสหอยนางรม เป็นแน่แท้ จะสังเกตุได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภท ผัด แกง ทอด เผา ยำ ต้ม ตุ๋น ล้วนแต่ปรุงรสด้วยน้ำปลาโรยด้วยเกลือกันทั้งนั้น ซึ่งในคนที่จำกัดปริมาณโซเดียมนั้นต้องระวังและเบามือในการปรุงด้วยนะคะ

 

2.ซอสปรุงรสที่ให้รสชาติเปรี้ยว หวาน

รู้หรือเปล่าล่ะว่าบางที่ซอสที่ไม่จำเป็นต้องมีรสเค็มเท่านั้นที่จะให้โซเดียมสูง แต่ซอสจำพวก ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ เต้าเจี้ยว น้ำจิ้มสุกี้ พวกนี้ก็มีโซเดียมอยู่ไม่น้อย ใครที่เวลารับประทานอาหารและขาดไม่ได้โดยชอบที่จะต้องปรุงรสด้วยซอสจำพวกนี้ก็ให้รู้ไว้สักนิดว่านั่นก็มีโซเดียมนะ

 

3.น้ำผลไม้สำเร็จรูป

ส่วนน้ำผลไม้ไม่ว่าจะเป็นแบบบรรจุกล่อง ขวด หรือกระป๋อง ส่วนใหญ่ล้วนแต่มีการเติมสารกันบูด (โซเดียมเบนโซเอต) ลงไปด้วย และนั่นจึงเป็นเหตุทำให้น้ำผลไม้เหล่านี้มีโซเดียมสูง ถ้าหากต้องการดื่มน้ำผลไม้เป็นไปได้ก็ควรดื่มน้ำผลไม้สดจะดีกว่าเนอะ ได้ทั้งกากใยและวิตามิน

 

4.อาหารกึ่งสำเร็จรูป

อาหารกึ่งสำเร็จรูปถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่คนไทยนิยมรับประทานกันบ่อย ด้วยความที่สะดวกและรสชาติอร่อย ไม่ว่าจะเป็น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปต่างๆ หรือคัพโจ้กทุกแบบทุกชนิดล้วนแต่เป็นอาหารที่มีโซเดียมสูงทั้งสิ้น

 

5.ขนมเบเกอรี่

ขนมเบเกอรี่ที่ว่านี้ไม่ว่าจะเป็น เค้ก คุกกี้ ขนมปัง แพนเค้ก แปลกใจล่ะสิ่ กินอยู่ทุกวันทุกวี่ซะด้วย ซึ่งขนมของหวานทั้งหลายเหล่านี้ได้มีการเติม Baking Powder หรือ Baking Soda เข้าไป ที่เราเรียกกันว่า ผงฟู และผงฟูนั้นมีส่วนผสมของโซเดียมไบคาร์บอเนตเป็นส่วนประกอบนั่นเองค่ะ

 

6.เนื้อแดง

ปกติแล้วโซเดียมจะแทรกและแซมอยู่ในเนื้อสัตว์อยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และจะมีมากในเนื้อแดงจำพวกเนื้อวัว เนื้อหมู ดังนั้นการเลือกรับประทานเนื้อสัตว์ก็เป็นสิ่งสำคัญของคนที่จำกัดปริมาณการทานโซเดียม

 

7.อาหารกระป๋อง

อาหารที่แปรรูปอย่างอาหารกระป๋องจำพวก ปลากระป๋อง หมูกระป๋อง หรือแม้แต่ผลไม้กระป๋อง ซึ่งอาหารเหล่าได้นี้มีการเติมเกลือหรือสารกันบูดเข้าไป และนั่นจึงทำให้มีโซเดียมในปริมาณที่สูงและควรระมัดระวังในการเลือกประทานค่ะ

 

8.อาหารหมักดอง

ถือเป็นของโปรดใครหลายคนไม่ว่าจะเป็น ผักดอง ผลไม้ดอง ปลาร้า กะปิ ปลาส้ม แหนม แฮม หรือใส้กรอก ล้วนแต่เป็นการถนอมอาหารแปรรูปแบบดองเค็มทั้งนั้น รสชาติอาจจะแซ่บนัวแต่ถ้าเผลอทานแบบไม่กลัวก็อาจจะเจ็บไตเอาได้นะคะ

 

9.ผงปรุงรส

ผงปรุงรสชาติที่เราทราบกันดีในชื่อที่เราเรียกกันว่าผงนัว รสอร่อยแบบนัวๆ อย่างผงชูรส ซุปก้อน ผงปรุงรสแบบสำเร็จรูปชนิดต่างๆ ถึงแม้ว่าผงชูรสเป็นสารปรุงรสที่ไม่มีรสเค็ม แต่ก็มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณร้อยละ 15 ของส่วนประกอบ

 

10.อาหารตากแห้ง

การถนอมอาหารชนิดตากแห้งก็ถือว่าเป็นอาหารที่มีโซเดียมสูงอย่างหนึ่งและควรที่จะหลีกเลี่ยงไม่แพ้กับชนิดอื่นๆ เลยอย่างเช่น ปลาแห้ง เนื้อตากแห้งต่างๆ เนื้อเค็ม กุ้งแห้ง ปลาเค็ม เป็นต้น

 

11.เครื่องดื่มเกลือแร่

เครื่องดื่มหรือน้ำดื่มที่เรียกว่า น้ำดื่มเกลือแร่ต่างๆ ที่เราเห็นตามร้านค้านั้นทราบหรือไม่ว่าได้มีการเติมสารประกอบของโซเดียมลงไปด้วยนั่นเองค่ะ รวมถึงเครื่องดื่มเกลือแร่แบบสปร์ตดริ้งค์ด้วยที่ต้องเติมโซเดียมเข้าไป ก็เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มสำหรับนักกีฬาหรือทดแทนเกลือแร่สำหรับผู้ที่สูญเสียเหงื่อมากนั่นเอง

 

12.ขนมกรุบกรอบ

ขนมที่เป็นอาหารว่างทานเล่นเพลิดเพลินอุราจำพวก มันฝรั่งทอดกรอบ ขนมกรุบกรอบที่บรรจุแบบถุง ซอง ที่หลายคนเสพติดเป็นต้องซื้อมาติดห้องไว้ตลอดๆ ขนมจำพวกนี้อาจจะอร่อยแต่ก็มีโซเดียมอยู่ไม่น้อยเลย

 

 

www.flickr.com/photos/jolives/3017953556