Browse Tag: อีลาสติน

10 ชนิดของอาหารที่มีเอสโตรเจนสูง

eating-strawberry-1
Source: Flickr (click image for link)

หลายคนคงมึนงงกับหัวข้อบล็อควันนี้กันว่าเอ๊ะ ชนิดของอาหารเอสโตรเจนคืออะไร? และมีประโยชน์ยังไง แต่อย่าเพิ่งกังวลไปค่ะวันนี้ผู้หญิงอย่างเราๆจะได้รับรู้ข้อมูลที่มีประโยชน์มากมายจากหัวข้อนี้แน่นอนค่ะ ทุกวันนี้การที่จะหาเวลารับประทานอาหารที่ว่ายากแล้วยังไม่เท่ากับการที่จะกินอะไรดีเพื่อให้ได้ประโยชน์และคุณค่าต่อร่างกาย และก็ดูเหมือนว่าสมัยนี้โรคต่างๆนั้นอยู่ไม่ห่างจากเราสักเท่าไหร่ อาหารที่ว่าดีบางทีกินไปแล้วยังทำให้เกิดโรค เอ๊ะทำไมโลกเรามันช่างอยู่ยากขึ้นทุกวันนะ นอกจากอาหารที่เป็นปัจจัยหลักในการดำรงค์ชีวิตของเราแล้ว มลภาวะรอบด้านในแต่ละวันก็ยังก่อปัญหาให้เราอีกอยู่ร่ำไป… เอาล่ะเรามาเข้าเรื่องของเรากันดีกว่าเนอะ เลยเถิดไปใหญ่แล้ว อิอิ  อาหารที่เรารับประทานในแต่ละวันนั้นมีผลต่อร่างกายเราโดยตรงเพราะในอาหารนั้นมีสารอาหารที่แตกต่างกันไป แต่วันนี้เราจะมารู้จักกับสารตัวหนึ่งที่อยู่ในอาหารและทำให้เราแก่ช้าลงค่ะ นั่นก็คืออาหารที่มีฮอร์โมนเพศหญิงหรืออาหารที่มีเอสโตรเจนสูงนั่นเองค่ะ เหมาะกับสุขภาพผู้หญิงที่ต้องการปรับฮอร์โมนเพศหญิงให้อยู่ในระดับสมดุลกับร่างกาย คืนความสดใสและ healthy ดีดี๊ที่ผู้หญิงคู่ควรกันค่ะ ก็ยังคงมีความงุนงงกันไปอีกว่าเอ..เจ้าฮอร์โมนที่ว่านี้มันคืออะไรกันนะ งั้นก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเจ้าฮอร์โมนตัวนี้กันก่อนเลยค่ะ ฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ ฮอร์โมนเพศหญิงที่มีความสำคัญกับสุขภาพผู้หญิงทุกคน เพราะฮอร์โมนเพศหญิงจะช่วยในเรื่องการบำรุงดูแลผิวพรรณ เป็นสารสำคัญของความดูม ๆ ที่หน้าอกหน้าใจ โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ เอสโตรเจนก็จะช่วยในการผลิตน้ำนม อีกทั้งยังมีความสำคัญกับการทำงานของมดลูกและรังไข่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายก็จะลดระดับลง ยิ่งเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เจ้าเอสโตรเจนของสาว ๆ ก็จะหายหน้าหายตาไปซะเฉย ๆ ส่งผลให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น ผมร่วง หัวล้าน เป็นต้น โอ๊ย ตาย ๆ ถ้าชีวิตเดินไปถึงจุดนั้นขึ้นมา สาว ๆจะหาเอสโตรเจนมาเติมเต็มร่างกายได้จากที่ไหนกันบ้างล่ะ หรือจะเติมเอสโตรเจนให้ร่างกายจากอาหารเหล่านี้ดีนะ เห็นไม่ผิดหรอกค่ะ ในอาหารบางประเภทที่เราไม่เคยทราบมาก่อนเนี่ยแหละค่ะ สามารถที่จะเติมเต็มส่วนของเอสโตรเจนที่หายไปของเราได้ อย่างที่ทราบกัน “การ ลดลงของฮอร์โมนของผู้หญิงและของผู้ชายจะมีความแตกต่างกัน ผู้หญิงมีการลดลงของฮอร์โมนมากกว่าผู้ชาย เห็นได้ว่าในช่วงอายุใกล้กัน ผู้หญิงจะดูแก่กว่า เพราะเวลาฮอร์โมนลดลงจะลดเร็ว แต่สำหรับผู้ชายจะค่อยๆ ลดลง จึงทำให้การเปลี่ยนแปลงของผู้ชายช้ากว่า แต่ของผู้หญิงจะชัดมาก” คงไม่ต้องเสียเวลาสงสัยกันล่ะค่ะ เราไปดูกันดีกว่าว่ามีอาหารชนิดไหนบ้างไปดูกันเลยค่ะ 

เอสโตรเจนจำเป็นต่อทั้งชายและหญิง เพราะเป็นตัวการสำคัญในการสร้างกระดูก และ มีผลต่ออารมณ์ แต่ถ้าจะเน้นเรื่องหน้าใสผิวพรรณผ่องใส เอสโตรเจนนี่แหละค่ะที่สำคัญกว่าการใช้เครื่องสำอางค์เป็นไหนๆ

เอสโตรเจนได้มาจาก
1. จิตใจ : จิตใจที่ไม่เครียด ไม่รีบร้อน เย็น ๆ รักของสวยงาม มีสมาธิ  จิตแบบนี้ก็จะสร้างเอสโตรเจนได้เอง

2. อาหาร : อาหารต่างๆเหล่านี้แหละที่ให้เอสโตรเจนสูง

 

 

10 ชนิดของอาหารที่ช่วยปรับฮอร์โมนเอสโตรเจน

 

1.น้ำมะพร้าว

น้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้างคอลลาเจน และอีลาสติน ช่วยกระชับผิวพรรณให้เต่งตึง มีความยืดหยุ่น ชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัย อีกทั้งน้ำมะพร้าวยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ขับของเสียหรือสารพิษออกจากร่างกาย คล้ายกับการทำดีท็อกซ์ จึงช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใส อีกทั้งความเป็นด่างของน้ำมะพร้าวยังช่วยปรับสมดุลของร่างกายในช่วงที่มีความเป็นกรดสูง ทำให้กลไกการทำงานของระบบภายในร่างกายเป็นปกติ ส่งผลให้มีสุขภาพดีทั้งภายในและภายนอก

 

2.ลูกพรุน

ในลูกพรุนมีไฟโตเอสโตรเจน สารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิงอยู่พอสมควร แถมยังเปี่ยมไปด้วยไฟเบอร์ ที่จะช่วยในเรื่องการขับถ่าย การปรับสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด จะจัดเป็นของว่างอาหารคลีนที่กินแล้วไม่ต้องกลัวอ้วนก็เวิร์ก หรือกินเพื่อเติมฮอร์โมนเอสโตรเจนเข้าไปปรับสมดุลร่างกายก็เด็ด

 

3.เมล็ดแฟลกซ์

เมล็ดแฟลกซ์ก็เป็นซูเปอร์ฟู้ดที่อุดมไปด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนเช่นกัน โดยนอกจากจะช่วยเติมเต็มฮอร์โมนแห่งความเป็นเพศหญิงให้สาว ๆ แล้ว เมล็ดแฟลกซ์ยังมีดีในเรื่องช่วยลดน้ำหนัก ปรับสมดุลการทำงานของระบบย่อยอาหาร และช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกายได้อีกต่างหาก ประโยชน์สุดจี๊ดของเมล็ดแฟลกซ์แบบนี้สาว ๆ จะพลาดได้ยังไงล่ะเนอะ

 

4.งา

ธัญพืชมากประโยชน์อย่างงาก็มีโฟโตเอสโตรเจนสูงไม่แพ้ใคร โดยอยู่ในรูปสารลิกแนน โฟโตเอสโตเจนชนิดหนึ่ง ที่ออกฤทธิ์ไม่ต่างจากฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายเลยสักนิด ซึ่งเมื่อบวกกับปริมาณไฟเบอร์ที่สูง แร่ธาตุต่าง ๆ โดยเฉพาะธาตุเหล็กและแมกนีเซียม ธัญพืชอย่างงาจึงเป็นอาหารบำรุงสุขภาพผู้หญิงที่หากไม่กินก็ถือว่าพลาดเชียวล่ะ

 

5.ถั่วชนิดต่างๆ

โฟโตเอสโตรเจนคือสารที่เราหาได้จากถั่วหลาย ๆ ชนิด ซึ่งแปลได้ว่าหากอยากกินอาหารเพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง ถั่วก็เป็นอาหารที่ควรคู่กับครัวบ้านคุณพอสมควร นอกจากนี้ถั่วยังอุดมไปด้วยโปรตีน และไฟเบอร์สูง ดังนั้นสาว ๆ สามารถกินถั่วหมุนเวียนกันไป ในแต่ละวันได้ชิล ๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นถั่วชนิดฝัก ถั่วลิสง ถั่วพิตาชิโอ ถั่วแระ ถั่วลันเตา ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว หรือแม้กระทั่งถั่วงอก

 

6.เต้าหู้

เต้าหู้มีไอโซฟลาโวน ฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดหนึ่งจากธรรมชาติ ที่ร่างกายจะดูดซึมได้ดี ที่สำคัญในเต้าหู้ยังอุดมไปด้วยธาตุเหล็กและโปรตีนที่สูงเทียบเท่าเนื้อสัตว์ได้ชิล ๆ แถมกินแล้วไม่อ้วนด้วยนะ

 

7.น้ำเต้าหู้

ทั้งถั่วเหลืองและเต้าหู้ก็เป็นอาหารมีเอสโตรเจนอยู่แล้ว น้ำเต้าหู้เลยไม่ขอยอมแพ้ แอบมีโฟโตเอสโตรเจนแฝงอยู่ในน้ำเต้าหู้สีขาวนวลด้วย และข้อดีของการรับฮอร์โมนเอสโตรเจนจากน้ำเต้าหู้ก็คือ น้ำเต้าหู้แอบแฝงเอสโตรเจนมาในรูปของเหลว ทีนี้ร่างกายก็จะดูดซึมและนำฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ได้ไปใช้ได้อย่างรวดเร็วนั่นเองนะคะ

 

8.ข้าวสาลีและโฮลเกรน

ข้าวสาลีและโฮลเกรนทุกชนิดมีฮอร์โมนเอสโตรเจนธรรมชาติชนิดไอโซฟลาโวน ซึ่งช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายได้อีกทาง โดยนอกจากข้าวสาลีและโฮลเกรนแล้ว ผักอย่างบรอกโคลีและกะหล่ำม่วงก็มีโฟโตเอสโตรเจนด้วยเช่นกัน

 

9.แครอท

แครอทมีสารลิกแนน โฟโตเอสโตรเจนชนิดหนึ่งที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ทางโภชนาการจึงจัดแครอทให้เป็นอาหารที่มีฮอร์โมนเพศหญิงด้วย ซึ่งนอกจากแครอทแล้ว ยังมีกะหล่ำ สตรอเบอร์รี แอปริคอต และซูกินี ที่เป็นอาหารมีเอสโตรเจนด้วยเหมือนกัน

 

10.องุ่นและผลไม้ตระกูลเบอร์รี่

ผลไม้ตระกูลเบอร์รีมีสารเรสเวอราทรอล (Resveratrol) ซึ่งการศึกษาจาก Experimental and Therapeutic Medicine พบว่า สารเรสเวอราทรอลมีหน้าที่คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน มีวิตามินซีสูง ดีต่อสุขภาพผิว และเป็นผลไม้ที่กินแล้วไม่อ้วนด้วยนะจ๊ะ

 

อย่างไรก็ตาม ก่อนรับประทานอาหารที่มีเอสโตรเจนเหล่านี้ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือนักโภชนาการด้วยนะคะ เพราะการมีฮอร์โมนเพศหญิงมากเกินไป อาจส่งผลให้ระบบฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน จนส่งผลกระทบและความเสี่ยงทางด้านสุขภาพมากกว่าผลดี ดังนั้นเราจึงควรแน่ใจก่อนว่า ร่างกายของเราขาดแคลนฮอร์โมนเพศหญิงจนต้องรับประทานอาหารเสริมเหล่านี้หรือเปล่า 🙂

 

www.flickr.com/photos/anabadili/3375657138/

Omega 3 คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

salmon-salad-1
Source: Flickr (click image for link)

“โอเมก้า 3” (Omega 3) คืออะไรกันนะ สาวๆหลายคนรวมไปถึงคนที่รักสุขภาพนั้นต่างก็ให้ความสนอกสนใจเกี่ยวกับอาหารที่มีโอเมก้า 3 กันเยอะพอสมควร แต่เราจะรู้ดีแค่ไหนกันนะว่าเจ้าโอเมก้า 3 มันมีบทบาทและความสำคัญอย่างไร ดีต่อสุขภาพของเราแค่ไหนช่วยอะไรบ้างต่อร่างกายของเรา มีอีกหลายคนเลยล่ะค่ะที่ยังไม่ค่อยรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเจ้าโอเมก้า 3 กันมากนักรู้ก็แค่ว่ามันคือกรดไขมันอย่างหนึ่งและมีประโยชน์ แต่ไม่ใช่แค่มีประโยชน์เท่านั้นนะคะมันยังมีความสำคัญอย่างที่ร่างกายของเรานั้นในขนาดที่ขาดไม่ได้เช่นกัน ถ้าเรารู้จักกับเจ้าโอเมก้า 3 กันสักนิดเราก็จะได้ทั้งความรู้ สุขภาพที่ดีและความสวยเพิ่มขึ้นอีกค่ะ อยากรู้แล้วล่ะสิว่าทำให้สวยขึ้นได้ด้วยหรอแล้วจะได้ยังไงกันนั้น วันนี้ HealthGossip มีคำตอบค่ะและอาจจะทำให้สาวๆมีความเข้าใจกับเจ้าโอเมก้า 3 มากขึ้นอีกด้วยนะคะ และหลังจากนี้เวลาเดินไป supermarket จะได้เลือกชนิดของอาหารที่มีส่วนผสมของโอเมก้า 3 ได้ถูกและสร้างสรรค์เมนูสุขภาพให้แก่ตนเองและคนที่เรารักได้รับประทานกันค่ะ….. งั้นก่อนอื่นเลยเรามารู้จักกับ ไขมัน กันก่อนเลยค่ะ ทราบกันหรือไม่ว่าไขมันที่มีอยู่ในอาหารนั้นมีส่วนประกอบของกรดไขมัน (fatty acid) มีธาตุคาร์บอน ธาตุไฮโดรเจน และธาตุออกซิเจน เรียงจับกันในลักษณะต่างๆ สามารถแบ่งตามโครงสร้างทางเคมี ได้ดังนี้  

ไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acid) คือไขมันที่มีโครงสร้างคาร์บอนเรียงจับกันครบไขมันชนิดนี้ร่างกายสามารถสร้างได้เองถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำให้เกิดคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเกิดการอุดตันของเส้นเลือดเป็นต้นเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด

ไขมันไม่อิ่มตัว (Unsatuarated fatty acid) คือไขมันที่ธาตุคาร์บอนยังมี เหลือสามารถจับกับธาตุไฮโดรเจนได้ แบ่งออกเป็น  

  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว(Monounsaturated fatty acid) ได้แก่ กรดโอเลอิก (Oleic acid) เป็นกรดไขมันที่ร่างกายสามารถสร้างได้เอง แต่ถ้ารับประทานเข้าไปมากก็ไม่ทำให้เกิดโรคหัวใจและมีแนวโน้มที่จะช่วยลดไขมันในเลือดด้วย
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหลายตำแหน่ง(Polyunsaturated fatty acid) เป็นกรดไขมันที่ร่างกายไม่สามารถสร้างได้เองจำเป็นต้องรับจากอาหาร ไขมันที่สำคัญคือ Omega-3 (Alpha-linolenic acid) และ Omega-6 (linolenic acid)และในหมู่ไขมันในอาหารมีไขมันที่เป็นมิตรต่อสุขภาพนั้นช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจจะเป็นไขมันที่อยู่ในกลุ่มไขมันไม่อิ่มตัวนั่นเองค่ะ

ทำไมถึงเรียกว่าโอเมก้า 3 ล่ะ ? เนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFAs) ที่มีพันธะคู่ (Double Bond) ของอะตอมคาร์บอน (C = C) ที่เริ่มจากอะตอมของคาร์บอนตัวที่สามจากปลายคาร์บอน คือ ปลายของกรดคาร์บอกซิลิก (COOH) ส่วนที่เป็นจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่ และส่วนที่เป็นหางของห่วงโซ่คือ ปลายของ “อัลฟา” และ methyl (-CH3) โดยพันธะคู่แรกจะอยู่ที่ตำแหน่งของคาร์บอนตัวที่ 3 นับจากปลายโมเลกุลด้านที่มีกลุ่มเมธิล (methyl group) เข้าไป ส่วนพันธะคู่ต่อไปจะอยู่ตรงตำแหน่งคาร์บอนถัดไปครั้งละ 3 ตำแหน่ง อย่างไรก็ตามระบบการตั้งชื่อสารเคมีตามมาตรฐาน (IUPAC) จะเริ่มจากจุดปลายของคาร์บอกซิล

โดยสารสำคัญเด่นๆ ในตัวมีอยู่ 2 ตัว คือ Eicosopentaenoic (EPA) และ Docosahexaenoic (DHA) แต่ความจริงแล้วกรดไขมันโอเมก้า 3 นั้นมีอยู่สามชนิดที่สำคัญ คือ

– กรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก (Alpha linolenic acid : ALA)

– กรดไขมันอีพีเอ (Eicosapentaenic acid : EPA)

– กรดไขมันดีเอชเอ (Docosahexaenoic acid : DHA)

โดย EPA และ DHA ส่วนใหญ่พบในปลาบางชนิด ส่วน ALA (alpha-linolenic acid) จะพบได้ในแหล่งของพืช เช่นถั่วและเมล็ดพืชค่ะ

 

โอเมก้า 3 คืออะไรนะ ? ทำความเข้าใจกันก่อนนะคะว่าร่างกายของเราเนี่ยต้องการสารพัดสารอาหารและสารเคมีเลยล่ะค่ะ เพราะอะไรน่ะหรอก็เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องนั่นเอง และในขณะที่สารเคมีบางอย่างก็เป็นคุณแก่ร่างกายของเราส่วนบางอย่างก็เป็นโทษซึ่งเราก็จะต้องหลีกเลี่ยงที่จะรับเข้ามาสู่ร่างกาย คือกำลังจะบอกว่าไขมันก็เช่นเดียวกันค่ะมีทั้งไขมันชนิดที่ดีและก็ชนิดที่ไม่ดีไม่พอแถมยังสร้างปัญหาให้ร่างกายเราอีกแหน่ะ แล้วรู้ไหมคะว่าร่างกายเราก็ไม่ได้อัศจรรย์พันแปดขนาดที่จะสามารถสร้างสารอาหารที่จำเป็นทั้งหมดได้เองรวมทั้งกรดไขมันที่จำเป็นบางตัวด้วยยังต้องอาศัยการได้รับจากภายนอกอีก ไม่ว่าจะด้วยการทานอาหารหรือการรับประทานในรูปแบบของยาที่สกัดมาแล้ว เพราะงั้นร่างกายของคนเราก็ต้องการกรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty Acid) 2 ชนิด แล้วกรดไขมันกลุ่ม Omega-3 เป็นหนึ่งในกรดไขมันที่ร่างกายมนุษย์ขาดไม่ได้ สารสำคัญที่อยู่ในกลุ่ม Omega 3 แบ่งเป็น 2 ชนิดที่เด่นๆ เลย  คือ  EPA (Eicosapantaenoic acid) และ DHA (Docosahexanoic acid) ซึ่งร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้เราจึงต้องการจากที่อื่นเพื่อเสริมให้กับร่างกายของเราได้รับเพียงพอนั่นเอง

โอเมก้า 3 มาจากไหน ? ในเมื่อร่างกายไม่สามารถสร้างโอเมก้า 3 ได้เองอย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอเราก็ต้องหาแหล่งของไขมันชนิดนี้ที่ได้จากปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาแซลมอน ปลาแม็คเคอเรล ปลาทูน่า หรือปลาน้ำจืดบางชนิดสำหรับคนที่แพ้อาหารทะเลแต่ยังคงต้องการโปรตีนจากเนื้อสัตว์ หรือปลาทะเลนั้นมีราคาที่ค่อนข้างสูงเนื่องจากต้องนำเข้าและบางทีอาจจะไม่สดอีก แล้วรู้ไหมละคะว่าสำหรับประเทศไทยเรานั้นยังมีปลาน้ำจืด ที่มีโอเมก้า 3 สูงและหาทานได้ง่ายทั่วไปอย่างเช่น ปลาสวาย ปลาช่อน ปลาดุก เป็นต้น  นอกจากนั้นก็ยังสามารถพบโอเมก้า 3 ได้ในเมล็ดวอลนัท บรอคโคลี่ ดอกกะหล่ำ เต้าหู้ ผักขม กุ้ง หอยแครง ปลาเฮริง ถั่วเหลือง เป็นต้น ส่วนในจำพวกพืชหรือผ้กที่มีใบสีเขียวเข้มส่วนใหญ่ก็จะมีกรด ALA ซึ่่งในขณะที่อาหารประเภทเนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อปลาจะมีกรด EPA และ DHA ที่นำไปใช้ได้โดยตรง

 

โอเมก้า 3 มีประโยชน์ยังไง ?

จุดเด่นของ Omega-3 มีคุณสมบัติป้องกันและรักษา การรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อย่างเหมาะสมจะทำให้ร่างกายทำงานเป็นปกติและร่างกายของเรานั้นจำเป็นต้องมีระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีอย่างเหมาะสม กรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันจำเป็นแต่ไม่สามารถสร้างเองได้ภายในร่างกาย ดังนั้นจำเป็นต้องรับจากการบริโภคอาหารเท่านั้น และแทบทุกระบบการทำงานภายในร่างกาย จำเป็นที่จะต้องใช้ประโยชน์จากกรดไขมันจำเป็นทั้งนั้น อาทิเช่น

  • ระบบหลอดเลือดหัวใจ(ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอล ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน และ โรคอัมพาต)
  • ระบบประสาท(ช่วยเพิ่มความจำ)
  • สายตา(ช่วยในการมองเห็น)
  • ระบบภูมิคุ้มกัน(ลดอาการภูมิแพ้)
  • ระบบไหลเวียนโลหิต
  • ระบบสืบพันธุ์
  • ระบบข้อกระดูก

นอกจากนี้แล้วกรดไขมัน Omega-3 ยังมีคุณสมบัติ ต่อต้านการอักเสบ(ช่วยบรรเทาอาการข้ออักเสบ) และที่สำคัญที่สุด กรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยให้ผิวเปล่งประกายและสุขภาพดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการเข้าไปสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ช่วยคงความชุ่มชื้นและแข็งแรง ช่วยกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนและเส้นใยอีลาสติน จึงส่งผลให้ผิวพรรณแลดูอ่อนเยาว์และสดใส ทั้งนี้หากมีการรัปทานร่วมกับ วิตามินเอ ดี และอี จะยิ่งช่วยปกป้องการเกิดสิว ไม่ว่าจะเป็น สิวหัวขาวและหัวดำ

โอเมก้า 3 มีประโยชน์ต่อสตรีมีครรภ์ กรดไขมันโอเมก้า-3 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง DHA มีความสำคัญในการพัฒนาและการทำหน้าที่ของระบบประสาท ระบบสายตา และระบบสมอง ของทารกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด และในช่วง 6 เดือนแรกหลังจากคลอดแล้ว ดังนั้น มารดาของทารกที่เสริมกรดไขมันโอเมก้า 3 จะเป็นทางเดียวที่จะทำให้ ทารกในครรภ์ได้รับกรดไขมันจำเป็นไปด้วย (ทั้งนี้ควรบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ โดยควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนทุกครั้ง)

โอเมก้า 3 มีประโยชน์สำหรับเด็ก น้ำมันปลาโอเมก้า 3 มีประโยชน์อย่างมากมายในการช่วยการเจริญเติบโตของเด็ก เช่น ช่วยพัฒนาการทำงานของสมองและจิตใจ เพิ่มสมาธิ ความจำระยะสั้นและ ทักษะในการอ่าน นอกเหนือจากนี้ ยังมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ช่วยปกป้องกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กๆ ควรจะได้รับปริมาณโอเมก้า 3 ในระดับสมดุลกับอาหารของพวกเขา

โอเมก้า 3 กับความสวยความงาม ผิวสวยหน้าใส สมองสดใส หัวใจแข็งแรง อย่างที่เราทราบกันดีนะคะว่าโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันจำเป็นที่ไม่สามารถสร้างเองได้ภายในร่างกายต้องรับจากอาหารเท่านั้น แทบทุกระบบภายในร่างกายของเราจำเป็นจะต้องใช้ประโยชน์จากกรดไขมันจำเป็นเหล่านี้ ในส่วนของความสวยความงามนั้นกรดไขมันโอเมก้า 3 ยังช่วยให้ผิวเปล่งประกายและสุขภาพดีขึ้น โดยเป็นส่วนหนึ่งในการใช้สร้างเยื่อหุ้มเซลล์ช่วยคงความชุ่มชื้นและแข็งแรง ช่วยกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนและเส้นใยอีลาสติน จึงส่งผลให้ผิวดูอ่อนเยาว์และสดใสรวมไปถึงเส้นผมที่แห้งแตกปลาย ในขณะที่ EPA ที่อยู่ในปลานั้นจะช่วยปกป้องการเกิดสิว ไม่ว่าจะเป็นสิวหัวขาวและหัวดำค่ะ เห็นอย่างนี้แล้วสาวๆไม่ควรมองข้ามอาหารที่มีโอเมก้า 3 กันนะคะ

 

จะเห็นได้ว่า โอเมก้า 3 มีความสำคัญต่อสุขภาพของเรามากมายเลยนะคะ หลายคนพอได้ยินว่าเป็น ไขมัน ก็กลัวแทบไม่อยากแตะ แต่อย่าลืมนะคะว่าไขมันมีทั้งตัวที่ดีและตัวที่ไม่ดีและไขมันก็ยังคงมีความจำเป็นต่อร่างกายเราอยู่ดีค่ะ และหว้งว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพกันได้มากขี้นและเมื่อสุขภาพภายในของเรานัันดีแล้วนั้นมันก็ส่งผลให้สุขภาพภายนอกของเราสวยสดใสตามมาอีกด้วยค่ะ 

www.flickr.com/photos/jeffchristiansen/4822568694/