Browse Tag: โพแทสเซียม

15 ชนิดของอาหารที่มีแร่ธาตุโพแทสเซียมสูง

Source: Flickr (click image for link)

“โพแทสเซียม (Potassium)’’ แร่ธาตุหรือเกลือแร่อีกตัวที่มีบทบาทและหน้าที่สำคัญต่อสุขภาพรวมถึงร่างกายของคนเราค่ะ โพแทสเซียมนั้นเป็นแร่ธาตุที่มีมากเป็นอันดับ 3 ในร่างกายรองจากแคลเซียมและฟอสฟอรัส โพแทสเซียมนั้นเป็นอิเล็กโตรไลต์ซึ่งเป็นตัวปรับสมดุลของประจุบวกหรือลบในเลือด ดังนั้นร่างกายของคนเราจึงต้องได้รับแร่ธาตุทั้ง 3 ชนิดนี้ในปริมาณที่สมดุลจึงจะทำหน้าที่ต่างๆ ได้ดี  โดยโพแทสเซียมมีบทบาทสำคัญในการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายของเราให้เป็นปกติ อย่างเช่น แร่ธาตุโพแทสเซียมมีการช่วยควบคุมสมดุลของอิเล็กโตรไลต์และสมดุลย์ของกรดและเบสในร่างกาย ควบคุมความดันของโลหิตรวมถึงป้องกันภาวะกรดเกิน (hyperacidity)  อีกทั้งโพแทสเซียมยังช่วยระบบประสาทและกล้ามเนื้ออีกด้วยค่ะ โดยเฉพาะหน้าที่เกี่ยวกับการยืดและหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ   

หากระดับโพแทสเซียมในร่างกายมากเกินไปจะถูกไตขับออกมา และสำหรับผู้ที่ไตทำงานได้ไม่ดีก็ไม่ควรรับประทานโพแทสเซียมเสริมในปริมาณที่สูงมากจนเกินไปค่ะ

  • โพแทสเซียมในเลือดที่มีค่าปกติ คือ 3.5 – 5.0 mEq/L
  • โพแทสเซียมในเลือดที่มีค่าต่ำ คือ  < 3.5 mEq/L จะมีอาการซึม อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ตะคริว
  • โพแทสเซียมในเลือดที่มีค่าสูง คือ  > 5.0 mEq/L จะทำให้เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

บางครั้งถ้าเรารู้สึกว่าร่างกายขาดโพแทสเซียมอยู่ วิธีการเติมโพแทสเซียมที่ง่ายก็คือการทราบว่าเราควรจะรับประทานอาหารชนิดไหน ดังนั้นเราอาจจะเริ่มโดยการปรับเรื่องของการรับประทานอาหารเป็นอันดับแรกค่ะ

 

 

15 ชนิดของอาหารที่มีแร่ธาตุโพแทสเซียมสูง

Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.ผงโกโก้

ผงโกโก้ที่ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบช็อกโกแลตหรือแบบเครื่องดื่มอย่างโก้โก้ร้อนหรือเย็นก็ตามแต่ ยกให้เขาเป็นอาหารชนิดที่ให้แร่ธาตุโพแทสเซียมสูงไปเลยค่ะ โดยผงโกโก้ 100 กรัม มีปริมาณโพแทสเซียมถึง 1,600 มิลลิกรัม เลยทีเดียวเชียว ใครที่ขาดอยู่ก็อย่าได้พลาดอาหารชนิดนี้ไปเด็ดขาดค่ะ

 

2.ลูกพรุนอบแห้ง

โดยปรกติแล้วผลไม้แห้งหลายๆ ชนิดก็ให้แร่ธาตุโพแทสเซียมที่สูงปรี๊ดอยู่แล้วค่ะ โดยเฉพาะลูกพรุนอบแห้ง ซึ่งลูกพรุน(อบแห้ง) 100 กรัม มีปริมาณโพแทสเซียมถึง 1,100 มิลลิกรัม เลยล่ะค่ะ

 

3.อะโวคาโด

ถ้าพูดถึงอะโวคาโดจะเห็นได้ว่าเป็นอาหารที่มีสารอาหารที่สำคัญอยู่หลากหลายมากค่ะ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือแร่ธาตุโพแทสเซียมที่ถือว่าสูงเลยทีเดียวติดอันดับ 1 ใน 3 เลยที่เดียว โดยอะโวคาโด 1 ลูก มีปริมาณโพแทสเซียมอยู่ถึง 1,067 มิลลิกรัม ค่ะ

 

4.ฟักทองอะคอน สครอช (Acorn Squash)

ฟักทองอะคอน สครอช (Acorn Squash) เป็นผักตระกูลเดียวกันกับฟักทองบ้านเราค่ะแต่ลูกจะเล็กกว่าฟักทองที่บ้านเรา โดยฟักทองอะคอน สครอช 1 ถ้วย มีปริมาณโพแทสเซียมอยู่ถึง 896 มิลลิกรัม

 

5.ลูกเกด

ลูกเกดอบแห้งที่ใครหลายคนชอบทานเล่นเป็นอาหารหว่าง หรือจะพบเห็นได้ตามขนมเค้กหรือขนมอบทั่วไปที่มีส่วนผสมของลูกเกดที่ทั้งแบบโรยหน้าขนม ซึ่งลูกเกด 100 กรัม มีปริมาณโพแทสเซียม 892 มิลลิกรัม

 

6.มันหวาน

มันหวานเป็นพืชประเภทหัวที่เมื่อนำมาอบหรือนึ่งมีรสชาติหวาน มัน เหมาะกับการรับประทานแบบอาหารว่างหรือประกอบอาหาร ของหวาน ของคาวก็เหมาะค่ะ โดยมันหวาน 1 หัวใหญ่ มีปริมาณโพแทสเซียม 855 มิลลิกรัม

 

7.เมล็ดทานตะวัน

ธัญพืชอย่างเมล็กทานตะวันซึ่งปรกติก็มีสารอาหารและแร่ธาตุอยู่หลากหลาย ส่วนใหญ่คนเราจะไม่นำมาประกอบอาหารแต่จะทานเล่นซะส่วนใหญ่ โดยเมล็ดทานตะวัน 100 กรัม มีปริมาณโพแทสเซียม 850 มิลลิกรัม

 

8.ผักปวยเล้ง

ผักปวยเล้งเป็นผักใบสีเขียวที่มากคุณค่าทางโภชนาการนอกจากมีประโยชน์หลากหลาย สารอาหารที่ซ่อนอยู่ก็มีเต็มเปี่ยมอย่างแร่ธาตุโพแทสเซียมก็มีมากในผักโขมเช่นกันค่ะ โดยผักปวยเล้ง 1 ถ้วย มีปริมาณโพแทสเซียม 839 มิลลิกรัม

 

9.ผลแอปริค็อตแห้ง

ในผลแอปริค็อตโดยเฉพาะผลแอปริค็อตแห้งมีแร่ธาตุโพแทสเซียมอยู่สูงมากค่ะ ใครกำลังมองหาผลไม้แห้งที่ให้แร่ธาตุตัวนี้อยู่สูงอยู่แล้วล่ะก็ อย่ารอช้าไปเลือกหาผลแอปริค็อตแห้งมารับประทานได้เลยค่ะ ซึ่งผลแอปริค็อตแห้งปริมาณครึ่งถ้วย จะมีปริมาณโพแทสเซียม 756 มิลลิกรัม

 

10.ปลาแซลมอล

ปลาแซลมอลที่เรารู้จักกันในสารอาหารที่เด่นๆ อาจจะเป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 แต่ปลาแซลมอลก็ยังมีแร่ธาตุอื่นๆ อยู่ด้วยค่ะ และที่มีอยู่สูงก็คือโพแทสเซียม ปลาแซลมอล 100 กรัม มีปริมาณโพแทสเซียม 628 มิลลิกรัม

 

11.ทับทิม

ผลไม้ที่หารับประทานได้ไม่ค่อยง่ายทั่วไปนัก เมล็ดสีแดงๆ สดใสเปี่ยมไปด้วยแร่ธาตุโพแทสเซียมอยู่สูงค่ะ โดยทับทิม 1 ลูก มีปริมาณโพแทสเซียม 600 มิลลิกรัม

 

12.น้ำมะพร้าว

ในน้ำมะพร้าวมีแร่ธาตุอยู่เยอะพอสมควรค่ะถือเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทาวโภชนาการถ้าดื่มอย่างถูกวิธี และในน้ำมะพร้าวก็มีแร่ธาตุโพแทสเซียมอยู่สูงอย่างน้ำมะพร้าว 1 ถ้วย จะมีปริมาณโพแทสเซียมอยู่ถึง 600 มิลลิกรัม

 

13.ถั่วขาว

เมล็ดธัญพืชถั่วขาวเป็นอีกธัญพืชที่มีแร่ธาตุโพแทสเซียมอยู่สูง และถั่วขาวปริมาณครึ่งถ้วย จะมีปริมาณโพแทสเซียมอยู่ 502 มิลลิกรัม

 

14.กล้วย

กล้วยเป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณที่ไม่กล้วยเลยค่ะ เมื่อเราได้รับประทานกล้วยเพียงแค่หนึ่งผลก็ได้รับสารอาหารมากมายซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีแร่ธาตุโพแทสเซียมที่อยู่สูงเช่นกัน โดยกล้วย 1 ลูกใหญ่ มีปริมาณโพแทสเซียม 487 มิลลิกรัม

 

15.เห็ด

เห็ดก็เป็นอีกหนึ่งชนิดของอาหารที่มีคุณค่าและแร่ธาตุสูง และแร่ธาตุโพแทสเซียมก็มีอยู่ในเห็ดสูงด้วยเหมือนกันค่ะ โดยเห็ดปริมาณ 100 กรัม มีปริมาณโพแทสเซียม 484 มิลลิกรัม

 

 

www.flickr.com/photos/personalcreations/15691960879/

www.flickr.com/photos/reid-bee/5239565357/

โซเดียม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

himalayan-salt-1
Source: Flickr (click image for link)

โซเดียม (Sodium) เป็นอีกหนึ่งเกลือแร่หรือแร่ธาตุที่ใครๆก็น่าจะรู้จักกันในรูปของรสชาติความเค็มจากเครื่องปรุงติดบ้านของเราจำพวกน้ำปลา เกลือ หรือเครื่องปรุงอาหารรสชาติต่างๆ แต่ความเป็นจริงแล้วโซเดียมเป็นแร่ธาตุที่พบได้ทั้งในสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันในหลายรูปแบบ และเป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย เช่น การควบคุมความดันกระแสเลือด การทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท ช่วยรักษาสมดุลของของเหลวที่อยู่ภายในร่างกาย โดยมีหน้าที่ควบคู่ไปกับโพแทสเซียมและคลอไรด์ หรือพูดง่ายๆเลยว่า โซเดียมก็คือ เกลือแร่ (สารอาหาร) ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยโซเดียมจะทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ (รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจด้วย) ตลอดจนการดูดซึมสารอาหาร บางอย่างในไตและลำไส้เล็กค่ะ โดยโซเดียมในรูปแบบที่เราบริโภคกันเป็นประจำ ก็จะเป็นโซเดียมที่อยู่ในรูปแบบของ ‘’เกลือแกง’’ โดยที่เกลือมีส่วนประกอบอยู่ 2 อย่างก็คือ โซเดียมกับคลอไรด์และก็น้ำปลา ซึ่งรสชาตินั้นจะต้องมีความเค็มอย่างแน่นอน และจากการสำรวจพบว่าคนไทยกินเกลือที่มีอยู่ในอาหารและเครื่องปรุงรส โดยเฉลี่ยอยู่ที่วันละประมาณ 7 กรัมค่ะ

 

เกี่ยวกับโซเดียม หรือ Sodium

 

  • โซเดียม คือ เกลือแร่ (สารอาหาร) ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย
  • โซเดียม เป็นเกลือแร่ที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง มีความจำเป็นเกี่ยวกับของเหลวภายในร่างกาย
  • โซเดียม เป็นแร่ธาตุที่ทำงานร่วมกับโปตัสเซียมและคลอไรด์ที่ของเหลวภายนอกเซลล์ เพื่อควบคุมดุลยภาพของแรงออสโมติคและปริมาตรของของเหลว
  • โซเดียม ช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ (รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจด้วย)
  • โซเดียม ในรูปแบบที่เราบริโภคกันเป็นประจำ ก็จะเป็นโซเดียมที่อยู่ในรูปแบบของ ‘’เกลือแกง’’
  • โซเดียม จากอาหารธรรมชาติที่มีโซเดียมสูงคือพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ
  • โซเดียม จากอาหารธรรมชาติที่มีโซเดียมต่ำ ได้แก่ ผลไม้ทุกชนิด ผัก เนื้อปลา ธัญพืชและถั่วเมล็ดแห้ง ซึ่งปริมาณโซเดียมจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายโดยไม่จำเป็นต้อง เรียกหาเครื่องปรุงรสใดๆ เลย
  • โซเดียม จากอาหารแปรรูปหรือการถนอมอาหาร ได้แก่ อาหารกระป๋องทุกชนิด อาหารหมักดอง อาหารเค็ม อาหารตากแห้ง เนื้อเค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า ผักดอง ผลไม้ดอง เป็นต้น
  • โซเดียม จากเครื่องปรุงรส เช่น เกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรสที่มีรสเค็ม (เช่น ซีอิ๊วขาว เต้าเจี้ยว น้ำบูดู กะปิ ปลาร้า ปลาเจ่า เต้าหู้ยี้ รวมทั้งซอสหอยนางรม) ซอสปรุงรสที่ไม่มีรสเค็มหรือเค็มน้อย เช่น ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก น้ำจิ้มต่างๆ
  • โซเดียม ในผงชูรสถึงแม้ไม่มีรสชาติเค็ม แต่ก็มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยประมาณร้อยละ 15
  • โซเดียม ในอาหารกระป๋องและอาหารกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งอาหารเหล่านี้มีการเติมเกลือหรือสารกันบูด ซึ่งมีโซเดียมในปริมาณที่สูงมาก
  • โซเดียม จากขนมต่างๆ ที่มีการเติมผงฟู ซึ่งผงฟูที่ใช้ในการทำขนมเหล่านี้มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ (โซเดียมไบคาร์บอเนต) เช่น ขนมเค้ก คุกกี้ แพนเค้ก ขนมปัง
  • โซเดียม ในน้ำฝนเป็นน้ำที่ปราศจากโซเดียม
  • โซเดียม มีปนอยู่ในน้ำบาดาลและน้ำประปาอยู่บ้าง ในจำนวนไม่มากนัก
  • โซเดียม ในเครื่องดื่มเกลือแร่ยี่ห้อต่างๆ มีการเติมสารประกอบของโซเดียมลงไปด้วย เพราะมีจุดประสงค์จะให้เป็นเครื่องดื่มสำหรับนักกีฬาหรือผู้ที่สูญเสียเหงื่อมาก
  • โซเดียม ในน้ำผลไม้บรรจุกล่องขวดหรือกระป๋อง มักจะมีการเติมสารกันบูด (โซเดียมเบนโซเอต) ลงไปด้วย ทำให้น้ำผลไม้เหล่านี้ มีโซเดียมสูง
  • โซเดียม เป็นส่วนประกอบของเกลือ ซึ่งเกลือ 1 กรัม จะมีโซเดียมประมาณ  400 กรัม
  • โซเดียม ที่ร่างกายคนเรามีความต้องการ ประมาณ 2400 มิลลิกรัมต่อวัน
  • โซเดียม ที่เกินความต้องการ ไตจะขับออกทางปัสสาวะและจะออกทางเหงื่อเป็นที่น่าสังเกตอย่างยิ่งว่าโซเดียม ที่ขับออกทางปัสสาวะจะเป็นตัวชี้ระดับของโซเดียมในร่างกาย
  • โซเดียม เกี่ยวข้องกับการซึมผ่านของสารและการดูดซึมสารอาหารเข้าเซลล์
  • โซเดียม ช่วยฟอกคาร์บอนไดออกไซด์จากร่างกายและช่วยในการย่อย
  • โซเดียม จำเป็นสำหรับการผลิตกรดไฮโดรคลอริคในกระเพาะอาหารและช่วยระบบการย่อยอาหาร
  • โซเดียม ช่วยในการขนส่งกลูโคสผ่านเยื่อเซลล์
  • โซเดียม กระตุ้นประสาทให้ทำงาน และเป็นตัวเก็บเกลือแร่อื่นๆให้อยู่ในร่างกาย

 

 

ประโยชน์ของโซเดียม (Sodium)

 

การรักษาสมดุลกรดด่าง โดยโซเดียมไบคาร์บอเนตและโซเดียมฟอสเฟต ทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ที่สำคัญของเลือด ช่วยรักษาความเป็นกรดด่างของเลือดให้คงที่ค่ะ

 

การควบคุมสมดุลน้ำและสมดุลของเหลวภายในร่างกาย โดยที่โซเดียมนั้นไปทำหน้าที่ร่วมกับโปตัสเซียมในการควบคุมสมดุลน้ำและสมดุลของเหลวภายในร่างกาย โดยโซเดียมในรูปแคทไออนจะรักษาความดันออสโมติคภายนอกเซลล์และโปตัสเซียมใน รูปแคทไออนรักษาความดันออสโมติคภายในเซลล์ รวมถึงช่วยรักษาให้แร่ธาตุอื่นที่มีอยู่ในเลือดละลาย เพื่อจะได้ไม่เกิดการจับเกาะตัวภายในเลือด

 

การควบคุมหัวใจให้ทำหน้าที่ปกติและสม่ำเสมอ โดยโซเดียมจะไปควบคุมสมดุลระหว่างแคลเซียมและโปตัสเซียม เพื่อควบคุมหัวใจให้ทำหน้าที่ปกติและสม่ำเสมอ

 

เกี่ยวข้องกับการหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยโซเดียมช่วยการส่งผ่านสัญญาณประสาท ( nerve impulse ) ไปยังกล้ามเนื้อเพื่อให้หดตัว

 

ช่วยชำระล้างคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากระบบ โดยทำงานร่วมกับคลอรีน ช่วยชำระล้างคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากระบบ ส่งเสริมสุขภาพของเลือด น้ำเหลือง ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

 

 

ปริมาณของโซเดียมที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน

โดยจากการวิจัยทางการแพทย์และโภชนาการเรื่องปริมาณที่เหมาะสมของโซเดียมที่ควรได้รับจากอาหารในแต่ละวัน ยังผลให้องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดปริมาณโซเดียมที่ แนะนำให้บริโภคต่อวัน (Recommended Daily Intakes : RDI) อยู่ที่น้อยกว่า 2,400 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอแก่ความต้องการในบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป และเป็นปริมาณที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในด้านสุขภาพใดๆ
สำหรับในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แนะนำให้บริโภคโซเดียมไม่เกินวันละ 2,400 มิลลิกรัมเช่นเดียวกัน แต่หากจะเปรียบเทียบภาวะความเสี่ยงของการได้รับโซเดียมเกินระหว่างประเทศไทย กับประเทศสหรัฐอเมริกา จะพบว่าคนไทยเราบริโภคโซเดียมเฉลี่ยอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมคือปริมาณ 2,320 มิลลิกรัมต่อวัน ในขณะที่ชาวอเมริกันรับประทานโซเดียมจากอาหารเฉลี่ย 3,200 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน ดังนั้นสำหรับคนไทยที่ไม่ได้เป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการตามปกติและรสชาติที่ไม่เค็มจนเกินไป ก็เพียงพอที่จะควบคุมปริมาณโซเดียมจากอาหารในระดับที่เหมาะสมได้แล้ว

 

 

www.flickr.com/photos/julajp/5904468562/

โพแทสเซียม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

yoghurt-breakfast-1
Source: Flickr (click image for link)

โพแทสเซียม (Potassium) เป็นแร่ธาตุที่มีมากเป็นอันดับ 3 ในร่างกาย รองจากแคลเซียมและฟอสฟอรัส โพแทสเซียมนั้นเป็นอิเล็กโตรไลต์ซึ่งเป็นตัวปรับสมดุลของประจุบวกหรือลบในเลือด โซเดียมกับคลอไรด์ก็เป็นอิเล็กโตรไลต์เช่นกันค่ะ ร่างกายของเราต้องได้รับแร่ธาตุทั้ง 3 ชนิดนี้ในปริมาณที่สมดุลจึงจะทำหน้าที่ต่างๆ ได้ดี โพแทสเซียมเกือบทั้งหมดในร่างกายจะอยู่ในเซลล์ต่างๆ โพแทสเซียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเป็นปกติ เช่น ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โปแทสเซียมช่วยควบคุมสมดุลของอิเล็กโตรไลต์และสมดุลของกรด-เบสในร่างกาย ป้องกันภาวะกรดเกิน (hyperacidity) และยังช่วยควบคุมความดันโลหิตที่สูงและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย มีรายงานวิจัยจำนวนมากที่ระบุว่าในกลุ่มประชากรที่ได้รับโปแทสเซียมจากอาหารในปริมาณที่สูงมีค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตและอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงต่ำกว่ากลุ่มประชากรที่ได้รับโปแทสเซียมจากอาหารในปริมาณที่น้อย และยังพบว่าการได้รับโปแทสเซียมจากอาหารอย่างเพียงพอ มีผลช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเรื้อรังชนิดอื่น ๆ โดยในงานวิจัยของ Ascherio และคณะ ได้รายงานว่าสามารถลดความเสี่ยงของภาวะการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง (Stroke) ได้ถึง 30%

 

เกี่ยวกับโพแทสเซียม (Potassium)

  • โพแทสเซียม เกลือแร่ชนิดหนึ่ง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ
  • โพแทสเซียม รักษาสมดุลของน้ำ กรด-ด่างในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต
  • โพแทสเซียม ในผู้ป่วยโรงใตเรื้อรัง จะมีประสิทธิภาพในการขับโพแทสเซียมลดลง ซึ่งทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด
  • โพแทสเซียม จะทำงานร่วมกับโซเดียมในการควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกายและช่วยทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ
  • ความเครียดทางด้านร่างกายและจิตใจ อาจส่งผลให้ขาดโพแทสเซียมได้
  • หากโพแทสเซียมและโซเดียมในร่างกายเสียสมดุลจะทำให้การทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเสียไป
  • ไฮโปไกลซีเมีย (ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ) จะส่งผลให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมได้ เหมือนกับการอดอาหารเป็นเวลานาน ท้องร่วงอย่างรุนแรง
  • แหล่งที่พบโพแทสเซียมตามธรรมชาติ ได้แก่ โยเกิร์ต ผลไม้รสเปรี้ยว กล้วย ลูกพีช มันฝรั่ง แคนตาลูป มะเขือเทศ ผักวอเตอร์เครส ผักใบเขียวทุกชนิด สะระแหน่ เมล็ดทานตะวัน ถั่ว เป็นต้น
  • ศัตรูของธาตุโพแทสเซียม ก็ได้แก่ น้ำตาล กาแฟ แอลกอฮอล์ และยาขับปัสสาวะ
  • ผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำและมีอาการอ่อนล้า อาจเกิดจากการสูญเสียโพแทสเซียมเพราะกาแฟ
  • ผู้ที่ชอบรับประทานของหวานและชอบดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ระดับของโพแทสเซียมในร่างกายอาจจะต่ำได้
  • ผู้ที่กำลังลดความอ้วนด้วยการรับประทานประเภทคาร์โบไฮเดรตน้อย จะส่งผลให้ระดับโพแทสเซียมในร่างกายลดลง ซึ่งจะส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดอาการอ่อนล้าหรือตอบสนองช้า
  • หากระดับโพแทสเซียมในร่างกายมากเกินไปจะถูกไตขับออกมา และสำหรับผู้ที่ไตทำงานได้ไม่ดีก็ไม่ควรรับประทานโพแทสเซียมเสริมในปริมาณที่สูงมากจนเกินไป
  • โพแทสเซียม ในรูปแบบอาหารเสริม มักพบได้ในรูปแบบของวิตามินรวมและแร่ธาตุรวม
  • โพแทสเซียม ในเลือดที่มีค่าปกติคือ 3.5 – 5.0 mEq/L
  • โพแทสเซียม  ในเลือดที่มีค่าต่ำคือ  < 3.5 mEq/L จะมีอาการซึม อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ตะคริว
  • โพแทสเซียม ในเลือดที่มีค่าสูงคือ  > 5.0 mEq/L จะทำให้เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • โพแทสเซียมสูงในอาหารประเภท (กลุ่มผักสีเข้ม) ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม ทุเรียน กล้วย ลำไย ผลไม้แห้งต่างๆ เช่น ลูกเกด ลูกพรุน แครอท มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า หัวปลี ผักชี มันฝรั่ง
  • โพแทสเซียมปานกลางในอาหารประเภท  สับปะรด ฝรั่ง แอปเปิ้ล เงาะ ส้ม องุ่น ลิ้นจี่ แคนตาลูป ส้มโอ มะม่วงดิบ มะเขือยาว หอมหัวใหญ่ ผักบุ้งจีน มะละกอดิบ ถั่วพู(ฝักอ่อน) พริกหวาน
  • โพแทสเซียมต่ำในอาหาร (กลุ่มผักสีซีด) ได้แก่ ชมพู่ องุ่นเขียว แตงโม บวบเหลี่ยม เห็ดหูหนู ฟักเขียว แฟง ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา
  • การจำกัดผัก-ผลไม้ขึ้นอยู่กับระดับโพแทสเซียมในเลือด ถ้าผลเลือดอยู่ในระดับปกติ ไม่จำเป็นต้องงดผัก ผลไม้ ควรเลือกรับประทานผักผลไม้หมุนเวียนได้ตามปกติ สีเข้ม-อ่อน สลับกันไป

จะเห็นได้ว่าเราสามารถเลือกรับประทานอาหารได้หลากชนิดเพื่อให้ได้รับโปแทสเซียมในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน แต่ทั้งนี้ เราควรบริโภคอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการ โดยคำนึงถึงปริมาณน้ำตาล ไขมัน คอเลสเตอรอล ฯลฯ ที่มีอยู่ในอาหารด้วย เพื่อป้องกันความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ และเพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง

 

ประโยชน์ของโพแทสเซียม (Potassium)

 

โพแทสเซียมและอิเล็กโตรไลต์ชนิดอื่นๆ ช่วยในการนำกระแสประสาท ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจและความดันเลือด โพแทสเซียมยังควบคุมปริมาณของเหลวภายในเซลล์ ขณะที่โซเดียมควบคุมปริมาณของเหลวภายนอกเซลล์ แร่ธาตุ 2 ชนิดนี้จึงทำงานร่วมกันเพื่อรักษาสมดุลของของเหลวในร่างกาย

 

โพแทสเซียมยังช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนน้ำตาล (กลูโคส) ในเลือด ไปเป็นพลังงานสะสม (ไกลโคเจน) ในกล้ามเนื้อและตับ โพแทสเซียมเป็นสารขับปัสสาวะธรรมชาติ จึงช่วยขับสารพิษที่เกิดจากการเผาผลาญพลังงานด้วย

 

โพแทสเซียม จะทำงานร่วมกับ ธาตุโซเดียม ในการควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกายและช่วยทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ โดยความเครียดทางด้านร่างกายและจิตใจ อาจส่งผลให้ขาดโพแทสเซียมได้ หากโพแทสเซียมและโซเดียมในร่างกายเสียสมดุลจะทำให้การทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเสียไป ไฮโปไกลซีเมีย (ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ) จะส่งผลให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมได้ เหมือนกับการอดอาหารเป็นเวลานาน ท้องร่วงอย่างรุนแรง

 

โพแทสเซียมช่วยควบคุม Osmolality ส่วนใหญ่ของ ICF จึงมีความสำคัญในการรักษาปริมาตรของเซลล์ให้คงที่ ซึ่งมีผลต่อความสำคัญของปริมาตรน้ำในร่างกาย

 

โพแทสเซียมเป็น Cofactor ที่สำคัญในกระบวนการเมทาบอลิซึม เช่น การสังเคราะห์โปรตีน และไกลโคเจน และการทำงานของอินซูลิน เป็นต้น

 

โพแทสเซียมในอัตราส่วนของโพแทสเซียมที่อยู่ระหว่าง ICF และ ECF จะเป็นตัวกำหนดความต่างศักย์ที่ผนังเซลล์ ที่มีความสำคัญในการทำงานของกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท

 

โพแทสเซียมที่ร่างกายได้รับในแต่ละวันจะได้รับจากอาหาร และมีการขับถ่ายออกนอกร่างกายทางปัสสาวะประมาณวันละ 50-90 มิลลิโมล ส่วนที่เหลือประมาณ 5-10 มิลลิโมล จะขับถ่ายออกทางอุจจาระ และเหงื่อ

 

 

www.flickr.com/photos/california_bakery/8102163622/

ดื่มน้ำมะเขือเทศยังไงให้ได้ประโยชน์ที่สุด

small-tomatoes-1 กระแสการดื่ม “น้ำมะเขือเทศ” ในบ้านเราตอนนี้บอกเลยว่ามาแรงเหลือเกิน จนกลายเป็นว่าน้ำมะเขือเทศเป็นเครื่องดื่มที่ตอนนี้สาวๆคนไหนไม่ดื่มนี่ถือว่าเอ๊าท์แรงมาก ไม่ต้องถามหากับคนรักสุขภาพหรอกค่ะ สมัยนี้สาวๆอย่างเราๆก็ให้ความสำคัญและอยากจะดื่มกันทั้งนั้น ถึงแม้ว่ารสชาติเวลาที่แตะเข้าปากโดนแค่ปลายลิ้นยังไม่ทันจะกลืนก็กระอึกกระอักอยากจะคายออกมาละ แต่นั่นก็ไม่สามารถทำให้คุณผู้หญิงยอมแพ้ค่ะเราก็ยังกล้ำกลืนฝืนทนกลืนมันลงไป เพราะอะไรถึงต้องทำขนาดนั้นล่ะก็เพราะเชื่อว่าถ้าดื่มน้ำมะเขือเทศทุกวันแล้วจะทำให้ผิวเราดี๊ดีนั่นเอง แต่รู้กันมั้ยคะสาวๆว่าน้ำมะเขือเทศไม่ใช่แค่ทำให้เราสวยอย่างเดียวนะแต่ยังดีต่อสุขภาพเราอีกด้วย เราไม่มีทางรู้เลยว่าแค่ลูกกลมๆสีแดงสดหนึ่งลูกนี้จะมีคุณค่าอะไรบ้างนะที่ทำให้สาวๆยอมที่จะกลั้นใจดื่มมันลงไป วันนี้มีข้อมูลของเจ้ากลมกิ๊กแดงสดมาบอกเล่าสู่กันฟัง และวันนี้้สาวๆก็จะได้ทั้งความรู้และความสวยจากภายในสู่ภายนอกกันค่ะ

 

สาวๆรู้กันมั้ยคะว่าในมะเขือเทศผลกลม ๆ สีแดงแปร๊ดนี้มีสารอาหารอยู่มากมายทีเดียวเลยค่ะ ลองมาดูข้อมูลทางโภชนาการของมะเขือเทศ 100 กรัมกัน

 พลังงาน 18 กิโลแคลอรี่

  • น้ำ 94.34 กรัม
  • โปรตีน 0.95 กรัม
  • ไขมัน 0.11 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 4.01 กรัม
  • ไฟเบอร์ 0.7 กรัม
  • น้ำตาล 2.49 กรัม
  • แคลเซียม 11 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 0.68 มิลลิกรัม
  • แมกนีเซียม 9 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 28 มิลลิกรัม
  • โพแทสเซียม 218 มิลลิกรัม
  • โซเดียม 11 มิลลิกรัม
  • สังกะสี 0.14 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 22.8 มิลลิกรัม
  • โฟเลต 13 µg
  • วิตามินเอ 489 IU
  • วิตามินอี 0.56 มิลลิกรัม
  • วิตามินเค 2.6 µg
  • ลูทีนและซีแซนทีน 123 µg

 

นอกจากนี้ยังมีเบต้าแคโรทีน ไลโคปีน วิตามินอีกหลายชนิดปแต่ตัวพระเอกที่อยู่ในเจ้ามะเขือเทศกลมกิ๊กนั้นคือ ไลโคปีน นั่นเอง

แล้วไลโคปีนคืออะไรล่ะนี่? “ไลโคปีน” (lycopene) เป็นสารอีกตัวในกลุ่มแคโรทีนอยด์ พบในผักผลไม้ที่มีสีส้มสีแดง อย่างเช่น แตงโม มะละกอ แครอท ฟักข้าว เกรปฟรุต ถือเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ชั้นยอด และในมะเขือเทศสด 100 กรัม จะมีปริมาณไลโคปีนอยู่ประมาณ 0.9 –9.30 มิลลิกรัมค่ะ ซึ่งไลโคปีนและวิตามินแร่ธาตุอื่นๆ ในมะเขือเทศมีส่วนช่วยบำรุงสุขภาพแทบจะทุกส่วนของร่างกาย โดยมีงานวิจัยมากมายให้คำยืนยันถึงสรรพคุณชั้นเลิศของพืชสีแดงชนิดนี้ อย่างเช่น

   –  ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ข้อนี้ถือเป็นสรรพคุณเด่นมากของพืชสีแดงชนิดนี้เลย

   –  ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ เพราะมะเขือเทศมีไฟเบอร์และน้ำมาก จึงช่วยดูแลระบบขับถ่ายให้เป็นไปอย่างปกติ

   –  ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งปอด มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับอ่อน

   –  ชะลอความแก่ ริ้วรอยแห่งวัย เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง  บำรุงผิวพรรณให้สดใส ชุ่มชื้น  

   –  ช่วยกำจัดคอเลสเตอรอลไม่ดีที่อยู่ในผนังหลอดเลือด จึงลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด  

   –  บำรุงสายตา เพราะมีวิตามินเอสูง  

   –  รักษาโรคลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟัน  

   –  ควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือด  

   –  เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน เพราะมีวิตามินเคสูง  

   –  ช่วยลดอาการบวมน้ำในร่างกาย เพราะมะเขือเทศจะช่วยควบคุมสมดุลของเหลวในเซลล์และเนื้อเยื่อ  

   –  ช่วยทำความสะอาดคอเลสเตอรอลไม่ดีที่อยู่ในผนังหลอดเลือด ลดคอเลสเตอรอลไม่ดีในกระแสเลือด  

   –  ทานเป็นประจำทุกวันช่วยลดความเครียดได้  

   –  บำรุงผมให้เงางาม แข็งแรง ดูมีสุขภาพดี

 

หลายคนคิดว่าการทานผักแบบสดๆ นั้นต้องดีกว่า เพราะถ้าทานผักที่ผ่านความร้อนแล้วผักนั้นจะสูญเสียสารอาหารสำคัญไปเกือบหมด แต่เรื่องนี้ใช้ไม่ได้กับมะเขือเทศนะคะ เพราะถ้าอยากรับประโยชน์จากมะเขือเทศให้มากที่สุดต้องทานแบบที่ผ่านการปรุงสุกมาแล้วเนื่องจากมะเขือเทศที่ผ่านความร้อนจะทำให้การยึดจับของไลโคปีนกับเนื้อเยื่อของมะเขือเทศอ่อนตัวลง ทำให้ไลโคปีนถูกร่างกายนำไปใช้ได้ดีกว่าค่ะ นอกจากนี้ไลโคปีนยังเป็นสารอาหารที่ละลายได้ดีในไขมัน ดังนั้น ถ้าใช้น้ำมันปรุงมะเขือเทศด้วยจะยิ่งทำให้ร่างกายดึงไลโคปีนไปใช้ได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม มีคำแนะนำให้ “ผู้หญิง” ทานมะเขือเทศสดด้วย เพราะมะเขือเทศสดมีวิตามินซีสูง และมีใยอาหาร ทำให้ผิวพรรณดี ส่วน “ผู้ชาย” ควรทานแบบสุก เพื่อให้ร่างกายได้รับสารไลโคปีนที่จะช่วยป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก

 

ดื่มน้ำมะเขือเทศช่วยให้ผิวขาว ?

สาว ๆ เริ่มนิยมมาดื่มน้ำมะเขือเทศกันมากขึ้นเพราะเชื่อว่าจะทำให้ผิวขาวได้ แต่จริง ๆแล้วแค่บำรุงผิวพรรณให้ดีขึ้นเท่านั้นเองค่ะ โดยมีข้อมูลจาก รองศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ รัชนี คงคาฉุยฉาย อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ระบุไว้ว่า ในน้ำมะเขือเทศมีเบต้าแคโรทีน สารไลโคปีน และเม็ดสีส้มแดงของมะเขือเทศ เมื่อทานเข้าไปเป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน ๆ และมากเพียงพอ ก็ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ดูอมชมพูได้ แต่ไม่ใช่สีผิวที่แท้จริง และไม่ได้อยู่คงทนถาวรเพราะถ้าหากหยุดรับประทานไปเพียงแค่ 1 สัปดาห์ สีผิวเดิมของเราก็จะกลับมาแล้ว

 

ควรดื่มน้ำมะเขือเทศยังไงให้ได้ประโยชน์และคุณค่าที่คู่ควร

อย่างที่บอกไปแล้วว่า การจะทานมะเขือเทศให้ได้ประโยชน์ต้องทานแบบสุกให้ลืมความเชื่อที่ว่าของสดนั้นดีกว่าของที่ปรุงแล้ว มันไม่ได้จริงเสมอไปสำหรับเจ้ามะเขือเทศลูกกลมกิ๊กลูกนี้ค่ะ แต่สำหรับคนที่อยากดื่มน้ำมะเขือเทศล่ะ ? การจะดื่มน้ำมะเขือเทศให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั้นทำได้ 2 แบบคือ

  • ดื่มก่อนอาหาร คือตอนท้องว่าง โดยหยดน้ำมันลงในน้ำมะเขือเทศเพื่อช่วยในการดูดซึมของร่างกาย
  • ดื่มหลังอาหาร หลังจากทานอาหารก็สามารถดื่มน้ำมะเขือเทศตามได้ทันที โดยไขมันในอาหารที่กินเข้าไปจะช่วยในการดูดซึมไลโคปีนได้ดีมากขึ้น

ต้องดื่มแค่ไหนถึงจะเหมาะสม? อาหารทุกชนิดถ้าทานมากเกินไปก็เป็นอันตรายได้ไม่ต่างจากน้ำมะเขือเทศ ถ้าดื่มมากเกินไปก็ต้องระวังว่าร่างกายจะได้รับวิตามินซีมากเกินไป อาจทำให้กลายเป็นโรคนิ่วได้ นอกจากนี้มะเขือเทศมีโพแทสเซียมสูงมาก แนะนำว่าในคนปกติควรดื่มน้ำมะเขือเทศไม่เกิน 2 แก้ว หรือ 2 กล่องต่อวัน เพราะเป็นปริมาณที่ร่างกายจะสามารถขับโพแทสเซียมออกมาได้หมด เพราะงั้นใครที่ชอบดื่มน้ำมะเขือเทศแบบกล่องยังต้องเลือกดื่มอย่างระมัดระวังด้วยเพราะอาจมีการเพิ่มโซเดียมลงไป ดังนั้นควรเช็คสักนิดข้างกล่องน้ำมะเขือเทศนั้นมีปริมาณโซเดียมเท่าไหร่ ไม่เช่นนั้นร่างกายเราอาจได้รับโซเดียมมากเกินไป ทั้งจากในมะเขือเทศเองและจากโซเดียมที่เติมเข้ามาทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอื่นๆ ตามมาเช่น ความดันโลหิตสูง โรคไต

 

ฝึกกิน “มะเขือเทศ”

สำหรับคนที่ไม่ชอบกินมะเขือเทศ มีวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยฝึกให้เริ่มกินได้ โดยการทำน้ำมะเขือเทศด้วยตัวเอง เริ่มต้นจากการนำมะเขือเทศมาผ่านความร้อน ด้วยการจุ่มน้ำร้อน ประมาณ 20 – 30 วินาที แล้วลอกเปลือกออก จากนั้นนำไปปั่นใส่น้ำแข็งหรือโยเกิร์ตตามความชอบ หรืออาจจะผสมน้ำส้มสด น้ำมะนาว น้ำผลไม้อื่นๆ หรือน้ำผึ้งนิดหน่อยให้มีรสเปรี้ยว รสหวาน เข้ามาผสม ก็จะทำให้กินง่ายขึ้น

“ส่วนเด็กๆ นั้น ต้องฝึกกันหน่อย  เพราะเด็กส่วนใหญ่ที่ไม่ชอบกินผักจะต่อต้าน และทำให้ติดนิสัยมาจนโต ดังนั้นมีวิธีแก้ง่ายๆ คือ นำเอาเมล็ดมะเขือเทศออกก่อน แล้วทำอาหารอะไรก็ได้ที่เด็กชอบ สำคัญที่สุดเลยพ่อแม่ควรจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกนะคะ ในการรับประทานอาหารทุกครั้งอย่าเขี่ยผักออกให้ลูกเห็นเด็ดขาด เพราะถ้าพ่อแม่ไม่กินผักลูกก็จะไม่อยากกินผักแน่นอน ดังนั้นเรารู้ดีว่าผักมีประโยชน์ การที่เราปลูกฝังลูกตั้งแต่ยังเล็กจะช่วยให้เขาได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์จริงๆ ไปจนโต”   

 

ข้อควรระวังในการรับประทานมะเขือเทศ

จะเห็นได้ว่ามะเขือเทศ 1 ผล ให้พลังงานน้อยมากและมีน้ำตาลน้อยอยู่แล้ว หากนำมาคั้นแล้วไม่เติมน้ำตาลลงไป คนอ้วน หรือคนที่อยากลดน้ำหนักก็สามารถดื่มได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกลัวอ้วนเลย ส่วนคนป่วยโรคเบาหวานก็สามารถดื่มได้เช่นกัน  แต่ที่ต้องระวังคือ ผู้ป่วย “โรคไต” เพราะข้อมูลโภชนาการเห็นแล้วว่า มะเขือเทศมี “โพแทสเซียม” สูงมาก จึงไม่เหมาะกับคนป่วยโรคไต หรือผู้ที่มีภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง เพราะร่างกายอาจขับโพแทสเซียมออกไม่หมด นอกจากนี้ คนที่มีภาวะกรดไหลย้อนไม่ควรทานมะเขือเทศมากเกินไป เพราะมะเขือเทศมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งถ้าทานมากอาจทำให้เกิดอาการได้

 

ประโยชน์มากมายขนาดนี้ ก็อย่าลังเลที่จะทาน “มะเขือเทศ” กันเลยนะคะ ถึงแม้บางคนอาจจะรู้สึกยี๊เวลาทานหรือดื่มก็ตาม แต่ถ้าคิดถึงประโยชน์ที่เราจะได้รับแล้วล่ะก็รับรองได้เลยว่าคุ้มมากค่ะ จะว่าไปสมัยนี้ใครๆก็เริ่มหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพกันมากขึ้น แค่เรื่องทานมะเขือเทศมันยังเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นแต่ก็ต้องยอมรับนะคะว่าได้ประโยชน์จากเจ้ากลมกิ๊กแดงสดนี้เยอะพอสมควร สำหรับคนที่ไม่ชอบทานลองหัดทานดูสักครั้งค่ะ อาจจะเริ่มจากกันผัดใส่ผักหรือแบบดื่มจากกล่องทุกวัน วันละนิดวันละหน่อย เริ่มต้นจากภายในรับรองสวยอย่างสุขภาพดีแน่นอนค่าาา