Browse Tag: beta carotene

15 ชนิดของอาหารที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูง

Source: Flickr (click image for link)

“เบต้าแคโรทีน’’ (Beta-carotene) เป็นสารแคโรทีนอยด์ที่เป็นหนึ่งในกลุ่มของสารสีในพืชผักที่เรียกว่า สารพฤกษเคมี Phytochemical หรือ Phytonutrients (ไฟโตนิวเทรียนท์ ) ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระจากปัจจัยต่างๆ จริงๆ แล้วเบต้าแคโรทีนเป็นสารตั้งต้นของโปรวิตามินเอ (Pro-vitamin A) ที่จัดอยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ซึ่งเป็นสารประกอบตามธรรมชาติที่พบในผักผลไม้สีสดใส โดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีสารสีเหลือง ส้ม และเขียวค่ะ สารเบต้าแคโรทีนในพืชจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกายได้อย่างรวดเร็วเมื่อร่างกายเราต้องการค่ะ แต่ถ้าร่างกายยังมีวิตามินเอเหลืออยู่เพียงพอ เบต้าแคโรทีนก็จะไปทำหน้าที่ยับยั้งอนุมูลอิสระ สร้างภูมิต้านทาน ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจรวมถึงโรคหัวใจ และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด

การมีระดับวิตามินเอในระดับปกติเป็นกุญแจสำคัญต่อการมองเห็นที่ดีรวมถึงมีภูมิคุ้มกันและสุขภาพที่แข็งแรงค่ะ อย่างไรก็ตามเบต้าแคโรทีนเป็นสารอาหารที่ร่างกายเราไม่สามารถสังเคราะห์ได้เองค่ะจึงต้องได้รับมาจากอาหาร ซึ่งร่างกายเราต้องการสารเบต้าแคโรทีนวันละ 15 มิลลิกรัม ดังนั้นเราไปดูแหล่งอาหารที่ดีของเบต้าแคโรทีนกันดีกว่าว่ามีอะไรกันบ้าง

 

15 ชนิดของอาหารที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูง

Source: Flickr (click image for link)

1.มันหวาน

มันหวานที่มีเนื้อข้างในสีส้ม รสชาติหวานมันนี้จัดเป็นแหล่งของเบค้าแคโรทีนเลยค่ะ ซึ่งมันหวานปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ถึง 11.5 มิลลิกรัม

 

2.แครอท

ขึ้นชื่อว่าแครอทใครๆ ก็คงทราบว่าเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนอย่างแน่นอนใช่ไหมล่ะคะ โดยแครอทปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ถึง 8.3 มิลลิกรัม

 

3.ผักปวยเล้ง

นอกจากผักผลไม้ที่มีสีส้ม สีเหลือง จะเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนแล้ว ผักใบสีเขียวเข้มอย่างผักปวยเล้งก็ให้เบต้าแคโรทีนที่ไม่น้อยเลยล่ะค่ะ ผักปวยเล้งปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ถึง 6.2 มิลลิกรัม

 

4.ผักกาดหอม

ผักกาดหอมที่เรานิยมมาทำสลัดรับประทานกันก็จัดเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนอีกด้วย โดยผักกาดหอมปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ถึง 5.2 มิลลิกรัม

 

5.สควอช

ผลสควอชที่มีเนื้อสัมผัส สีและรสชาติคล้ายกับฟักทองนั้นเป็นหนึ่งในแหล่งของเบต้าแคโรทีนด้วยค่ะ สควอชปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ถึง 4.5 มิลลิกรัม

 

6.บลอคโคลี่

ผักใบเขียวเข้มอีกหนึ่งชนิดคือบลอคโคลี่ก็จัดว่ามีสารเบต้าแคโรทีนไม่น้อยเลยล่ะค่ะ ซึ่งบลอคโคลี่สุกปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่มากถึง 9.2 มิลลิกรัม

 

7.แคนตาลูป

ผลไม้รสชาตแสนหวานและชุ่มฉ่ำอย่างแคนตาลูป นำไปแช่เย็นแล้วมาทานเล่นในฤดูร้อนก็รับไปเต็มๆ กับเบต้าแคโรทีน แคนตาลูปปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 2 มิลลิกรัม

 

8.พริกหยวกสีแดง

พริกหยวกมีหลากหลายสีให้เลือกนำมาประกอบอาหาร โดยเฉพาะพริกหยวกสีแดงจดว่าเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนเลยล่ะค่ะ พริกหยวกปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 1.6 มิลลิกรัม

 

9.เมล็ดถั่วลันเตา

ถั่วลันเตาฝักสีเขียวเช้มและมีเมล็ดสีเขียวเข้มที่หลายคนนิยมนำมาปรุงอาหารเพื่อรับประทานกัน ใครจะรู้ว่ามีสารเบต้าแคโรทีนอยู่ไม่น้อยอีกด้วย เมล็ดถั่วลันเตาสุกปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 1.2 มิลลิกรัม

 

10.ฟักทอง

ฟักทองถือเป็นพระเอกที่ขาดไม่ได้สำหรับอาหารที่เป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีน โดยฟักทองบดปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 5.1 มิลลิกรัม

 

11.แอปปริคอทอบแห้ง

ผลแอปปริคอทแบบอบแห้งเป็นแหล่งชั้นดีของเบต้าแคโรทีนเช่นกันค่ะ โดยแอปปริคอทอบแห้งปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 2.1 มิลลิกรัม

 

12.มะม่วงสุก

ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่โชคดีมีผลไม้ให้รับประทานตลอดทั้งปี หนึ่งในผลไม้ที่ขึ้นชื่อก็จะเป็นอะไรไม่ได้นอกจากมะม่วงแสนหวานอมเปรี้ยวนิดๆ อย่างมะม่วงสุก โดยมะม่วงสุกหั่นปริมาณ 1 ถ้วย มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 1.1 มิลลิกรัม

 

13.มะละกอสุก

นอกจากจะนำมาประกอบอาหารได้รสชาติเลิศแล้วยังสามารถเป็นผลไม้ทานเล่นได้อย่างอร่อยเชียวแหละ ด้วยไฟเบอร์ที่ช่วยเรื่องของระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดีแล้วก็ยังเต็มไปด้วยสารเบต้าแคโรทีน มะละกอสุกหั่นปริมาณ 1 ถ้วย มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 0.4 มิลลิกรัม

 

14.มะเขือเทศ

ที่จะขาดไม่ได้ก็คงจะเป็นมะเขือเทศนี่แหละค่ะ อร่อยดีมีประโยชน์อย่างนี้ก็รับเบต้าแคโรทีนไปเต็มๆ เลยค่ะ มะเขือเทศปริมาณ 1 ถ้วย มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 0.8 มิลลิกรัม

 

15.ส้ม

ผลไม้ตระกูลส้มนอกจากวิตามินซีแล้วก็ยังมีเบต้าแคโรทีนด้วยเช่นกัน ส้มหนึ่งผลขนาดกลาง มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 1.7 มิลลิกรัม

 

 

www.flickr.com/photos/hendry/2975907342/

www.flickr.com/photos/koadmunkee/4585625864/

สารพฤกษเคมี (Phytonutrients) คืออะไร

antioxidant-foods-1
Source: Flickr (click image for link)

วันนี้มีเรื่องราวข้อมูลที่น่าสนใจและด้วยตัวเองก็สนใจอยู่เหมือนกันมานำเสนอค่ะ ยังคงเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพอยู่เหมือนเดิม การดูแลสุขภาพให้ดีนั้นเป็นพื้นฐานของคนเราที่ต้องหมั่นดูแล แต่การจะรักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอๆ นั้นยากยิ่งกว่าอ่ะเนอะ ถ้าพูดถึงการดูแลสุขภาพแล้วก็คงไม่พ้นเรื่องการใส่ใจเรื่องของการเลือกรับประทานอาหาร อาหารชนิดไหนอะไรที่ว่าดีเราก็ตามเพื่อสุขภาพที่ดีทั้งผลไม้เอย ผักเอย ขาดไม่ได้นั่นคือปัจจัยสำคัญที่ไม่ว่าใครๆ ก็แนะนำกัน ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็จะทราบกันว่าเมื่อเรารับประทานผักและผลไม้ในทุกๆ วันแล้ว จะทำให้สุขภาพดีไม่ว่าจะเป็นวิตามินต่างๆ แร่ธาตุมากมายที่ช่วยให้สุขภาพเราดีขึ้น จริงๆ แล้วแค่พวกวิตามินและแร่ธาตุในผักผลไม้เท่านั้นหรือที่ช่วยให้เราแข็งแรง เอาล่ะ วันนี้มีข้อมูลมาเล่าสู่กันฟัง อาจจะทำให้เราได้เรียนรู้และรู้จักเพิ่มขึ้น ซึ่งในผักผลไม้ที่เราเลือหรับประทานนั้นมีสารที่สำคัญอยู่นอกเหนือจากวิตามินต่างๆ นั่นเองค่ะ และสารนั้นเรียกว่า ‘’สารพฤกษเคมี’’ แล้วสารที่ว่านี้มันคืออะไรล่ะ งั้นไปดูคำตอบกันเลยค่ะ

สารพฤกษเคมี (Phytonutrients) คืออะไร

สารพฤกษเคมี Phytochemical หรือ Phytonutrients (ไฟโตนิวเทรียนท์ ) คือ สารเคมีธรรมชาติหรือสารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบเฉพาะในพืชจำพวกผักผลไม้ โดยสารกลุ่มนี้อาจเป็นสารที่ทำให้พืชผักชนิดนั้นๆ มีสี กลิ่น หรือ รสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว อีกทั้งสารแต่ละตัวมีหน้าที่ต่างกันในกลไกของพืชและเป็นต้นกำเนิดของสีของผักผลไม้นั้นๆด้วยค่ะ สารพฤกษเคมีเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นสารที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ โดยสารพฤกษเคมีหลายชนิดมีฤทธิ์ต่อต้านส่งเสริมระบบภูมคุ้มกันและต้านการอักเสบตลอดจนมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ สารนี้จัดเป็นสารอาหารตามธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ จะต้องได้รับจากการบริโภคอาหารเท่านั้นค่ะ

โดยสารพฤกษเคมีสร้างประโยชน์ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

  • ต้านออกซิเดชั่น ทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ
  • ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับดีเอ็นเอ เป็นกลไกสำคัญ ที่ทำให้สารพฤกษเคมีลดการเกิดโรคมะเร็งได้
  • เพิ่มภูมิต้านทานโรค
  • ควบคุมการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน

การผสมผสานของสารต้านอนุมูลอิสระที่พบในผักและผลไม้ชนิดต่างๆหลากชนิดจะให้คุณภาพการต้านอนุมูลอิสระที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากแหล่งอาหารเพียงแหล่งเดียว สมัยนี้คนไทยเราส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยรับประทานผักผลไม้กันมากนักหรือรับประทานในปริมาณที่ไม่เพียงพอในแต่ละวัน ซึ่งผักและผลไม้นั้นถือว่าเป็นแหล่งที่ดีที่สุดของสารต้านอนุมูลอิสระ เมื่อรับประทานไม่เพียงพอก็อาจจะมีสารต้านอนุมูลอิสระในระดับที่ต่ำ ดังนั้นการบริโภคผักและผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน จะช่วยให้ประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระเพียงพอในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้นั่นเองค่ะ

ประเภทของสารพฤกษเคมี มีดังนี้

สารพฤกษเคมีที่ถูกค้นพบและนำมาใช้ประโยชน์แล้วนั้นมีมากกว่า 25,000 ชนิด ทั้งยังไม่มีการศึกษาค้นพบอีกเป็นจำนวนมากค่ะ ด้วยสารพฤกษเคมีนั้นมีหลายชนิดและแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ดังนั้นจึงจำแนกสารพฤกษเคมีคร่าวๆ ที่พบได้บ่อยดังต่อไปนี้ค่ะ

1.แคโรทีนอยด์ (Carotenoids)  

2.กลูโคไซโนเลท (Glucosinolate), ไอโซโธโอไซยาเนท (Isothiocynate))

3.โพลีฟินอล (Polyphenols) : ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) , แอนโธไซยานินส์ (Anthocyanins) , ไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoids)

4.ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogens)

5.ซาโปนินส์ (Saponins)

6.เฟนโนลิก (Phenolics), สารประกอบซีสติก (Cystic Compound)

7.ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol)

8.ซัลไฟด์ (Sulfide) และไธออล (Thiols)

 

healthy-drink-1
Source: Flickr (click image for link)

Phytonutrients (ไฟโตนิวเทรียนท์ ) ที่พบในผักและผลไม้ นั้นมีอะไรบ้าง

เมล็ดองุ่น ฟักทอง มะเขือเทศ บลอคโคลี่ กระเทียม ส้ม มะม่วงสุก มะละกอสุก ข้าวโพด ผักปวยเล้ง ผักโขม มิกซ์เบอร์รี่ แครอท ชาเขียว เมล็ดกาแฟ ธัญพืช ถั่วต่างๆ พริก ผักตำลึง มะกอก เป็นต้น

 

ประโยชน์ของสารพฤกษเคมี

– ทำให้พืชผักมีสี กลิ่น และรสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะ

– มีฤทธิ์ทางชีวภาพอาจต่อต้านหรือป้องกันโรคบางชนิดได้

– ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ DNA

– เป็นกลไกลที่สำคัญในการลดการเกิดมะเร็งได้

– ทำให้ร่างกายทำงานประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ

– ช่วยกำจัดสารพิษ

– ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ ควบคุมการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน

 

 

www.flickr.com/photos/usdagov/8455814259/

www.flickr.com/photos/143951935@N07/27976911001/

อนุมูลอิสระ(free radical) คืออะไร

smoking-1
Source: Flickr (click image for link)

อนุมูลอิสระ คืออะไร?

“อนุมูลอิสระ” นั้นเป็นตัวทำลายภูมิคุ้มกันและเซลล์ต่างๆ ทำให้เกิดการเสื่อมถอยของร่างกาย ซึ่งจะแสดงออกมาในรูปแบบของริ้วรอยที่ทำให้แก่ก่อนวัย รวมถึงโรคความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายของเรา  และที่หนักสุดก็คือ การก่อตัวเป็นเนื้อร้ายหรือเซลล์มะเร็งนั้นเองค่ะ ร่างกายเรามีสารอนุมูลอิสระมาตั้งแต่เกิด แต่ในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น ร่างกายเรายังสามารถกำจัดตัวอนุมูลอิสระได้ดีอยู่ แต่เมื่อเริ่มเข้าวัยทำงานหรือเมื่อเราอายุมากขึ้นหรือร่างกายของเราอ่อนแอ มีความเครียด ภูมิคุ้มกันก็จะไม่สามารถต่อสู้กับอนุมูลอิสระได้ อนุมูลอิสระจะโจมตีเนื้อหุ้มเซลล์ทำให้เซลล์ทำงานผิดปกติ และในช่วงนี้เองที่เราไม่ควรที่จะละเลยและควรใส่ใจในสุขภาพเรามากขึ้น

อนุมูลอิสระหรืออนุมูลเสรี (free radical) หมายถึง อะตอมหรือโมเลกุลที่มีอิเล็กตรอนไม่เป็นคู่ (unpaired electron) อย่างน้อย 1 ตัวโคจรรอบวงนอกสุด อนุมูลอิสระเกิดขึ้นได้เมื่อพันธะระหว่างอะตอมแตกออก ทำให้อนุมูลอิสระไม่เสถียรและไวต่อการเกิดปฏิกิริยาอย่างรวดเร็ว จึงทำปฏิกิริยากับโมเลกุลที่อยู่รอบๆ โดยดึงหรือให้อิเล็กตรอนโมเลกุลข้างเคียงเพื่อให้ตัวมันเสถียร โมเลกุลข้างเคียงที่สูญเสียหรือรับอิเล็กตรอนจะกลายเป็นอนุมูลอิสระตัวใหม่ที่ไม่เสถียรและเข้าทำปฏิกิริยากับโมเลกุลอื่นต่อไปเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ (chain reaction)

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้น

ในกระบวนการเผาผลาญสารอาหาร ร่างกายของเราจำเป็นต้องอาศัยออกซิเจนช่วยในกระบวนการนี้ทำให้ได้ออกซิเจนที่มีประจุลบ ซึ่งก็คือ อนุมูลอิสระ สารตัวนี้นอกจากจะรวมตัวกับไขมันไม่ดีแล้ว ยังสามารถรวมตัวกับสารบางชนิดในร่างกายเราแล้วก่อให้เกิดเป็นสารพิษที่ทำลายเนื้อเยื่อ หรืออาจไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางพันธุกรรมภายในเซลล์ ทำให้เซลล์ปกติแปรสภาพเป็นเซลล์มะเร็งได้ในที่สุด การปรับตัวในการใช้ชีวิตตามยุคให้เข้ากับสมัยใหม่ วิถีชีวิตที่เร่งรีบจึงได้มีสิ่งที่อำนวยความสะดวกต่างๆ มาให้เรามากมาย ไหงสุขภาพของเราถึงกลับมีปัญหามากขึ้น ด้วยการที่ต้องใช้ชีวิตแข่งกับเวลา อยู่ท่ามกลางสังคมที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบและมลภาวะที่เป็นพิษรอบตัวมากมาย อาหารสำเร็จรูปที่ผ่านการใช้สารเคมีหาซื้อรับประทานได้ง่ายตามท้องตลาดจึงกลายเป็นตัวเลือกของคนส่วนใหญ่ในยุคสมัยนี้ การเกิดอนุมูลอิสระในอาหารและสิ่งมีชีวิต เกิดขึ้นจากการกระตุ้นโมเลกุลของสารด้วยปฏิกิริยาเคมี เช่น

  • ปฏิกิริยาการเกิดลิพิดออกซิเดชัน lipid oxidation
  • เกิดจากพลังงาน เช่น การฉายรังสีอาหาร (food irradiation) แสงอัลตราไวโอเลต ultraviolet
  • มลพิษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางอากาศ  ควันรถ ควันบุหรี่ สารเคมีปนเปื้อน ยาฆ่าแมลง ควันไฟ
  • ร่างกายขาดวิตามินและเกลือแร่บางชนิด
  • รังสียูวี จะเป็นตัวทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระ ทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควร
  • การรับประทานอาหารที่ผ่านการทอดด้วยอุณหภูมิสูง อาหารปิ้ง ย่าง และสารปรุ่งแต่งอาหาร
  • การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารเคมีต่างๆ
  • ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ออกกำลังกาย

 

สารต้านอนุมูลอิสระ

antioxidant-fruits-1
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปกติแล้วร่างกายของเราจะมีกลไกการกำจัดตัวอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกาย เราเรียกสารตัวนั้นว่า สารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งร่างกายเราสามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่ด้วยอายุที่มากขึ้น ความเครียด และวิถีการใช้ชีวิตในปัจจุบันทำให้สารต้านอนุมูลอิสระลดน้อยลง ทำให้ไม่เพียงพอต่อการต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในแต่ละวันนั่นเองค่ะ แต่ถ้าร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่มากพอ จากอาหารและน้ำดื่มมาช่วยเสริมการทำงาน ร่างกายของเราก็จะอยู่ในสภาพปกติไม่เสื่อมเร็วก่อนเวลาอันควร จำเป็นต้องพึ่งพาจำพวกกลุ่มของสารต้านอนุมูลอิสระที่ได้มาจากอาหาร เช่น วิตามินเอ (vitamin A) วิตามินซี (vitamin C) วิตามินอี (vitamin E) บีตา-แคโรทีน ที่มีในอาหาร รวมทั้งกลุ่มพอลิฟีนอล (polyphenols) ฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ที่พบมากอยู่ในพืช ผักและผลไม้ เพื่อเข้าไปช่วยเสริมสร้างระบบต้านออกซิเดชัน (antioxidant) ในร่างกายให้มีประสิทธิภาพในการทำลายอนุมูลอิสระได้ดียิ่งขึ้น

 

 

www.flickr.com/photos/jurek_durczak/16945606802/

www.flickr.com/photos/jocelyndurston/49098318/

6 ประโยชน์สุดยอดจากแอปเปิ้ลสีเหลือง

yellow-apple-1
Source: Flickr (click image for link)

มาถึงแอปเปิ้ลสีสุดท้ายกันค่ะ นั่นก็คือ แอปเปิ้ลสีเหลือง แอปเปิ้ลสีนี้เราอาจจะไม่ค่อยได้พบเห็นกันบ่อยนักตามท้องตลาด ส่วนใหญ่เราจะเห็นแอปเปิ้ลสีแดง สีเขียว หรือสีขมพูกันซะส่วนใหญ่ใช่ไหมล่ะค่ะ แต่ทราบหรือไม่คะว่าประโยชน์ของแอปเปิ้ลสายพันธุ์นี้นั้นมีมากมายเลยทีเดียวค่ะ แอปเปิ้ล ผลไม้ขึ้นชื่อเรื่องของรสชาติความอร่อย เปลือกสีสดน่ากิน เนื้อในหวานหอมกรอบ แถมยังเปี่ยมล้นไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น เบตาแคโรทีน วิตามินซี และเส้นใยไฟเบอร์ จะเห็นได้ว่าแอปเปิ้ลแต่ละสีจะมีประโยชน์เมือนๆกันเกือบทุกข้อ แต่เห็นได้ชัดว่าจะมีประโยชน์บางข้อของแต่ละสีที่มีความโดดเด่นแตกต่างตามเฉพาะของแต่ละสีค่ะ อย่างของแอปเปิ้ลสีเหลืองนี้ก็เหมือนกันค่ะ เพราะอย่างนี้วันนี้เราจึงขอนำเสนอข้อมูลของประโยชน์จากแอปเปิ้ลสีเหลืองมาให้ได้อ่านกันค่ะ

 

 

ประโยชน์ที่คุณควรเลือกกินแอปเปิ้ลสีเหลือง

yellow-apple-2
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.ช่วยบำรุงสายตาและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อกระจก

ยกให้เป็นประโยชน์เด่นข้อแรกของแอปเปิ้ลสีเหลืองเลยค่ะ เนื่องด้วยแอปเปิ้ลสีเหลืองนี้มีสารเบต้าแคโรทีนที่ช่วยในเรื่องของการบำรุงสายตาที่อยู่สูงกว่าชนิดอื่น และแอปเปิ้ลสีเหลืองยังอุดมไปด้วยสารเควอร์ซิติน โดยสารนี้จะไปช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อกระจกด้วยค่ะ

 

2.ช่วยกำจัดสารพิษในร่างกาย  

แอปเปิ้ลสีเหลืองนั้นเป็นผลไม้ที่ดีที่สุดสำหรับการขจัดของเสียออกจากร่างกาย สารเปกตินในแอปเปิ้ลจะช่วยนำสารพิษไปกำจัดทิ้ง ส่วนของเปลือกแอปเปิ้ลนั้นก็มีความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากมีสารฟลาโวนอยด์ที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ กำจัดสารพิษในร่างกาย การกัดกินแอปเปิ้ลทั้งผลพร้อมเปลือกร่างกายจะได้ประโยชน์มากกว่าปอกเอาเปลือกออก แต่ก่อนกินควรล้างน้ำให้สะอาดเพื่อลดสารพิษที่ติดอยู่ที่ผิวเปลือกด้วยค่ะ

 

3.ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก

แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานต่ำ และมีใยอาหารอยู่ไม่น้อย มีส่วนประกอบของแป้งและน้ำตาลกว่า 75% ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่ร่างกายดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ในเวลาไม่เกิน 10 นาที จึงทำให้เกิดความอยากอาหารลดลง จะเห็นได้จากข้อมูลของ USDA Nutrient database  ของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกาพบว่าแอปเปิลแต่ล่ะสีมีคุณค่าทางโภ­­­ชนาการดังนี้  คุณค่าทางอาหารต่อแอปเปิ้ล 100 กรัม แอปเปิ้ลสีเหลืองให้พลังงาน 57 กิโลแคลอรี่  น้ำ 85.81 กรัม, น้ำตาล 10.4 กรัม, ไฟเบอร์ 2.4 กรัม และโพแทสเซียม 100 กรัม ดังนั้นการเลือกทานผลไม้แอปเปิ้ลนั้นก็ไม่ตัวเลือกที่ดีค่ะ

 

4.ช่วยให้อิ่มนานและไม่หิวบ่อย

น้ำตาลฟรักโทสที่อยู่ในแอปเปิ้ลเป็นน้ำตาลที่เปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานอย่างช้าๆ โดยที่ร่างกายก็สามารถดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ภายในสิบนาที ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น ไม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนเวลาที่เรากินขนมหวานอื่นๆ ทำให้รู้สึกอิ่มนานและไม่หิวบ่อยค่ะ

 

5.ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งและป้องกันโรคมะเร็งลำไส้

เปลือกและเนื้อของแอปเปิ้ลมีเส้นใยอาหารที่ชื่อว่าเพคติน และเส้นใยตัวนี้มีคุณสมบัติพองตัว จึงช่วยเพิ่มกากใยในทางเดินอาหารช่วยให้ขับถ่ายได้ดี และช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ค่ะ

 

6.ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและลดคอเลสเตอรอล

สารเบต้าแคโรทีนและเส้นใยไฟเบอร์ ช่วยในเรื่องของการบำรุงหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล แอปเปิ้ลมีสารเพคตินซึ่งเป็นไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ เมื่อกรดในทางเดินอาหารย่อยสลายไขมันแยกคอเลสเตอรอลออกมาแล้ว เพคตินจากแอปเปิ้ลจะไปคอยดักจับคอเลสเตอรอลเหล่านั้นและนำไปทิ้งก่อนที่จะถูกดูดกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้งค่ะ ง่ายๆก็คือช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันถูกดึงมาเก็บสะสมไว้ในร่างกายเพิ่มเติมอีกนั่นเองค่ะและยังพบว่าแอปเปิ้ลลดคอเลสเตอรอลในผู้หญิงได้ดีกว่าผู้ชายด้วยค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/bernardoramonfaur/25870828710/

www.flickr.com/photos/calliope/24625088606/

  • 1
  • 2