HealthGossip

carrot

15 ชนิดของอาหารที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูง

“เบต้าแคโรทีน’’ (Beta-carotene) เป็นสารแคโรทีนอยด์ที่เป็นหนึ่งในกลุ่มของสารสีในพืชผักที่เรียกว่า สารพฤกษเคมี Phytochemical หรือ Phytonutrients (ไฟโตนิวเทรียนท์ ) ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระจากปัจจัยต่างๆ จริงๆ แล้วเบต้าแคโรทีนเป็นสารตั้งต้นของโปรวิตามินเอ (Pro-vitamin A) ที่จัดอยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ซึ่งเป็นสารประกอบตามธรรมชาติที่พบในผักผลไม้สีสดใส โดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีสารสีเหลือง ส้ม และเขียวค่ะ สารเบต้าแคโรทีนในพืชจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกายได้อย่างรวดเร็วเมื่อร่างกายเราต้องการค่ะ แต่ถ้าร่างกายยังมีวิตามินเอเหลืออยู่เพียงพอ เบต้าแคโรทีนก็จะไปทำหน้าที่ยับยั้งอนุมูลอิสระ สร้างภูมิต้านทาน ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจรวมถึงโรคหัวใจ และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด การมีระดับวิตามินเอในระดับปกติเป็นกุญแจสำคัญต่อการมองเห็นที่ดีรวมถึงมีภูมิคุ้มกันและสุขภาพที่แข็งแรงค่ะ อย่างไรก็ตามเบต้าแคโรทีนเป็นสารอาหารที่ร่างกายเราไม่สามารถสังเคราะห์ได้เองค่ะจึงต้องได้รับมาจากอาหาร ซึ่งร่างกายเราต้องการสารเบต้าแคโรทีนวันละ 15 มิลลิกรัม ดังนั้นเราไปดูแหล่งอาหารที่ดีของเบต้าแคโรทีนกันดีกว่าว่ามีอะไรกันบ้าง   15 ชนิดของอาหารที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูง 1.มันหวาน มันหวานที่มีเนื้อข้างในสีส้ม รสชาติหวานมันนี้จัดเป็นแหล่งของเบค้าแคโรทีนเลยค่ะ ซึ่งมันหวานปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ถึง 11.5 มิลลิกรัม   2.แครอท ขึ้นชื่อว่าแครอทใครๆ ก็คงทราบว่าเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนอย่างแน่นอนใช่ไหมล่ะคะ โดยแครอทปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ถึง 8.3 มิลลิกรัม   […]

16 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินเอสูง

วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา ร่างกายของเราสามารถสะสมวิตามินเอได้นานมากอาจนานได้ถึง 1 หรือ 2 ปี โดยเก็บไว้ในชั้นเซลล์ไขมัน ด้วยวิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันดังนั้นวิตามินเอจะถูกดูดซึมไปใช้ในร่างกายได้ดีที่สุดเมื่อกินร่วมกับอาหารที่มีน้ำมันหรือไขมันเป็นส่วนประกอบนั่นเองค่ะ และเมื่อร่างกายของเราใช้วิตามินเอไม่หมดก็จะถูกเก็บสะสมไว้ที่ตับ และวิตามินเอมีหน้าที่ช่วยในการมองเห็น การเจริญเติบโตของกระดูก การแบ่งตัวของเซลล์ การกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคซ่อมแซมผิวของตาและหลอดลมทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายยากขึ้น อีกทั้งวิตามินเอยังช่วยกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาวโดยเฉพาะ lymphocyte ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตได้อย่างปกติไม่ชะงักหรือหยุดการเจริญเติบโตก่อนวัย วิตามินเอจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) หรือเรียกว่า Retinol ซึ่งได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา อาหารประเภทเนื้อ ไข่ ตับและเครื่องใน 2.กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือเรียกว่า เบต้า แคโรทีน (Beta-Carotene) เป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกายจึงได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ พบมากในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม […]

สารพฤกษเคมี (Phytonutrients) คืออะไร

วันนี้มีเรื่องราวข้อมูลที่น่าสนใจและด้วยตัวเองก็สนใจอยู่เหมือนกันมานำเสนอค่ะ ยังคงเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพอยู่เหมือนเดิม การดูแลสุขภาพให้ดีนั้นเป็นพื้นฐานของคนเราที่ต้องหมั่นดูแล แต่การจะรักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอๆ นั้นยากยิ่งกว่าอ่ะเนอะ ถ้าพูดถึงการดูแลสุขภาพแล้วก็คงไม่พ้นเรื่องการใส่ใจเรื่องของการเลือกรับประทานอาหาร อาหารชนิดไหนอะไรที่ว่าดีเราก็ตามเพื่อสุขภาพที่ดีทั้งผลไม้เอย ผักเอย ขาดไม่ได้นั่นคือปัจจัยสำคัญที่ไม่ว่าใครๆ ก็แนะนำกัน ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็จะทราบกันว่าเมื่อเรารับประทานผักและผลไม้ในทุกๆ วันแล้ว จะทำให้สุขภาพดีไม่ว่าจะเป็นวิตามินต่างๆ แร่ธาตุมากมายที่ช่วยให้สุขภาพเราดีขึ้น จริงๆ แล้วแค่พวกวิตามินและแร่ธาตุในผักผลไม้เท่านั้นหรือที่ช่วยให้เราแข็งแรง เอาล่ะ วันนี้มีข้อมูลมาเล่าสู่กันฟัง อาจจะทำให้เราได้เรียนรู้และรู้จักเพิ่มขึ้น ซึ่งในผักผลไม้ที่เราเลือหรับประทานนั้นมีสารที่สำคัญอยู่นอกเหนือจากวิตามินต่างๆ นั่นเองค่ะ และสารนั้นเรียกว่า ‘’สารพฤกษเคมี’’ แล้วสารที่ว่านี้มันคืออะไรล่ะ งั้นไปดูคำตอบกันเลยค่ะ สารพฤกษเคมี (Phytonutrients) คืออะไร สารพฤกษเคมี Phytochemical หรือ Phytonutrients (ไฟโตนิวเทรียนท์ ) คือ สารเคมีธรรมชาติหรือสารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบเฉพาะในพืชจำพวกผักผลไม้ โดยสารกลุ่มนี้อาจเป็นสารที่ทำให้พืชผักชนิดนั้นๆ มีสี กลิ่น หรือ รสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว อีกทั้งสารแต่ละตัวมีหน้าที่ต่างกันในกลไกของพืชและเป็นต้นกำเนิดของสีของผักผลไม้นั้นๆด้วยค่ะ สารพฤกษเคมีเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นสารที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ โดยสารพฤกษเคมีหลายชนิดมีฤทธิ์ต่อต้านส่งเสริมระบบภูมคุ้มกันและต้านการอักเสบตลอดจนมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ สารนี้จัดเป็นสารอาหารตามธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ จะต้องได้รับจากการบริโภคอาหารเท่านั้นค่ะ โดยสารพฤกษเคมีสร้างประโยชน์ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้ ต้านออกซิเดชั่น ทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับดีเอ็นเอ เป็นกลไกสำคัญ ที่ทำให้สารพฤกษเคมีลดการเกิดโรคมะเร็งได้ เพิ่มภูมิต้านทานโรค […]

โพแทสเซียม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

โพแทสเซียม (Potassium) เป็นแร่ธาตุที่มีมากเป็นอันดับ 3 ในร่างกาย รองจากแคลเซียมและฟอสฟอรัส โพแทสเซียมนั้นเป็นอิเล็กโตรไลต์ซึ่งเป็นตัวปรับสมดุลของประจุบวกหรือลบในเลือด โซเดียมกับคลอไรด์ก็เป็นอิเล็กโตรไลต์เช่นกันค่ะ ร่างกายของเราต้องได้รับแร่ธาตุทั้ง 3 ชนิดนี้ในปริมาณที่สมดุลจึงจะทำหน้าที่ต่างๆ ได้ดี โพแทสเซียมเกือบทั้งหมดในร่างกายจะอยู่ในเซลล์ต่างๆ โพแทสเซียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเป็นปกติ เช่น ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โปแทสเซียมช่วยควบคุมสมดุลของอิเล็กโตรไลต์และสมดุลของกรด-เบสในร่างกาย ป้องกันภาวะกรดเกิน (hyperacidity) และยังช่วยควบคุมความดันโลหิตที่สูงและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย มีรายงานวิจัยจำนวนมากที่ระบุว่าในกลุ่มประชากรที่ได้รับโปแทสเซียมจากอาหารในปริมาณที่สูงมีค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตและอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงต่ำกว่ากลุ่มประชากรที่ได้รับโปแทสเซียมจากอาหารในปริมาณที่น้อย และยังพบว่าการได้รับโปแทสเซียมจากอาหารอย่างเพียงพอ มีผลช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเรื้อรังชนิดอื่น ๆ โดยในงานวิจัยของ Ascherio และคณะ ได้รายงานว่าสามารถลดความเสี่ยงของภาวะการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง (Stroke) ได้ถึง 30%   เกี่ยวกับโพแทสเซียม (Potassium) โพแทสเซียม เกลือแร่ชนิดหนึ่ง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ โพแทสเซียม รักษาสมดุลของน้ำ กรด-ด่างในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต โพแทสเซียม ในผู้ป่วยโรงใตเรื้อรัง จะมีประสิทธิภาพในการขับโพแทสเซียมลดลง ซึ่งทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด โพแทสเซียม จะทำงานร่วมกับโซเดียมในการควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกายและช่วยทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ ความเครียดทางด้านร่างกายและจิตใจ อาจส่งผลให้ขาดโพแทสเซียมได้ หากโพแทสเซียมและโซเดียมในร่างกายเสียสมดุลจะทำให้การทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเสียไป ไฮโปไกลซีเมีย […]

10 ชนิดของอาหารที่มีเอสโตรเจนสูง

หลายคนคงมึนงงกับหัวข้อบล็อควันนี้กันว่าเอ๊ะ ชนิดของอาหารเอสโตรเจนคืออะไร? และมีประโยชน์ยังไง แต่อย่าเพิ่งกังวลไปค่ะวันนี้ผู้หญิงอย่างเราๆจะได้รับรู้ข้อมูลที่มีประโยชน์มากมายจากหัวข้อนี้แน่นอนค่ะ ทุกวันนี้การที่จะหาเวลารับประทานอาหารที่ว่ายากแล้วยังไม่เท่ากับการที่จะกินอะไรดีเพื่อให้ได้ประโยชน์และคุณค่าต่อร่างกาย และก็ดูเหมือนว่าสมัยนี้โรคต่างๆนั้นอยู่ไม่ห่างจากเราสักเท่าไหร่ อาหารที่ว่าดีบางทีกินไปแล้วยังทำให้เกิดโรค เอ๊ะทำไมโลกเรามันช่างอยู่ยากขึ้นทุกวันนะ นอกจากอาหารที่เป็นปัจจัยหลักในการดำรงค์ชีวิตของเราแล้ว มลภาวะรอบด้านในแต่ละวันก็ยังก่อปัญหาให้เราอีกอยู่ร่ำไป… เอาล่ะเรามาเข้าเรื่องของเรากันดีกว่าเนอะ เลยเถิดไปใหญ่แล้ว อิอิ  อาหารที่เรารับประทานในแต่ละวันนั้นมีผลต่อร่างกายเราโดยตรงเพราะในอาหารนั้นมีสารอาหารที่แตกต่างกันไป แต่วันนี้เราจะมารู้จักกับสารตัวหนึ่งที่อยู่ในอาหารและทำให้เราแก่ช้าลงค่ะ นั่นก็คืออาหารที่มีฮอร์โมนเพศหญิงหรืออาหารที่มีเอสโตรเจนสูงนั่นเองค่ะ เหมาะกับสุขภาพผู้หญิงที่ต้องการปรับฮอร์โมนเพศหญิงให้อยู่ในระดับสมดุลกับร่างกาย คืนความสดใสและ healthy ดีดี๊ที่ผู้หญิงคู่ควรกันค่ะ ก็ยังคงมีความงุนงงกันไปอีกว่าเอ..เจ้าฮอร์โมนที่ว่านี้มันคืออะไรกันนะ งั้นก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเจ้าฮอร์โมนตัวนี้กันก่อนเลยค่ะ ฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ ฮอร์โมนเพศหญิงที่มีความสำคัญกับสุขภาพผู้หญิงทุกคน เพราะฮอร์โมนเพศหญิงจะช่วยในเรื่องการบำรุงดูแลผิวพรรณ เป็นสารสำคัญของความดูม ๆ ที่หน้าอกหน้าใจ โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ เอสโตรเจนก็จะช่วยในการผลิตน้ำนม อีกทั้งยังมีความสำคัญกับการทำงานของมดลูกและรังไข่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายก็จะลดระดับลง ยิ่งเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เจ้าเอสโตรเจนของสาว ๆ ก็จะหายหน้าหายตาไปซะเฉย ๆ ส่งผลให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น ผมร่วง หัวล้าน เป็นต้น โอ๊ย ตาย ๆ ถ้าชีวิตเดินไปถึงจุดนั้นขึ้นมา สาว ๆจะหาเอสโตรเจนมาเติมเต็มร่างกายได้จากที่ไหนกันบ้างล่ะ หรือจะเติมเอสโตรเจนให้ร่างกายจากอาหารเหล่านี้ดีนะ เห็นไม่ผิดหรอกค่ะ ในอาหารบางประเภทที่เราไม่เคยทราบมาก่อนเนี่ยแหละค่ะ […]

Vitamin A คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

“วิตามินเอ” (Vitamin A) เป็นวิตามินอีกตัวที่สำคัญและมีประโยชน์ไม่แพ้กับวิตามินชนิดอื่นๆ แต่ถึงจะมีประโยชน์มากมายเพียงใด การที่ได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอก็จะส่งผลต่อร่างกายของเราโดยเฉพาะดวงตา ผิวหนัง และระบบภูมิต้านทานโรค แล้วทำอย่างไรจึงจะไม่ขาดวิตามินเอจนร่างกายเจ็บป่วยล่ะและถ้าหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไปอีกล่ะ ดังนั้นเราจึงต้องมาทำความรู้จักกับประโยชน์และโทษของวิตามินชนิดนี้กันให้กระจ่างแจ้งกันค่ะ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ร่างกายของเราได้รับวิตามินชนิดนี้อย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุดและก็จะได้มั่นใจว่าจะไม่ก่อโทษต่อร่างกายตามมาในภายหลัง… วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา ร่างกายของเราสามารถสะสมวิตามินเอได้นานมากอาจนานได้ถึง 1 หรือ 2 ปี โดยเก็บไว้ในชั้นเซลล์ไขมัน   วิตามินเอจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) หรือเรียกว่า Retinol ซึ่งได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา อาหารประเภทเนื้อ ไข่ ตับและเครื่องใน กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือเรียกว่า เบต้า แคโรทีน (Beta-Carotene) เป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกายจึงได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ […]