Browse Tag: EGCG

ดื่มชาเขียวอย่างไรให้ได้คุณประโยชน์มากที่สุด

tea-time-1
Source: Flickr (click image for link)

เครื่องดื่มที่ไม่มีใครไม่รู้จักแล้วก็ยังให้ความนิยมชมชอบกันเป็นชีวิตจิตใจก็คงจะหนีไม่พ้นเครื่องดื่มที่มีชื่อว่า “ชาเขียว” (Green tea) ชาเขียว คือ ชาที่ได้มาจากต้นชา ซึ่งชาชนิดนี้จะไม่ผ่านขั้นตอนการหมักเลย เตรียมได้โดยการนำใบชาสดมาผ่านความร้อนเพื่อทำให้ใบชาแห้งอย่างรวดเร็ว ซึ่งวิธีการก็คือเมื่อเก็บใบชามาแล้วก็นำมาทำให้แห้งอย่างรวดเร็วในหม้อทองแดงโดยใช้ความร้อนไม่สูงเกินไปและใช้มือคลึงเบา ๆก่อนแห้งหรืออบไอน้ำในระยะเวลาสั้น ๆแล้วนำไปอบแห้งเพื่อยับยั้งการทำงานเอนไซม์ (ความร้อนจะช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทำให้ไม่เกิดการสลายตัว) จึงได้ใบชาที่แห้งแต่ยังสดอยู่และมีสีที่ค่อนข้างเขียว จึงเรียกกันว่า “ชาเขียว” และการที่ใบชาที่ได้นั้นไม่ผ่านขั้นตอนการหมักจึงทำให้ใบชามีสารประกอบฟีนอล (Phenolic compound) หลงเหลืออยู่มากกว่าในอู่หลงและชาดำ (สองชนิดนี้คือชาที่ผ่านการหมัก) จึงทำให้ชาเขียวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาทั้งสอง โดยชาเขียวจะมี สารพฤกษเคมี ชื่อ EGCG ตัวนี้เป็นแชมป์เปี้ยนของสารต้านอนุมูลอิสระเลยทีเดียว จึงสามารถช่วยป้องกันมะเร็งและต้านมะเร็งได้ด้วย และมีบางงานวิจัยยังบอกว่าช่วยลดการดูดซึมไขมันและคอเลสเตอร์รอลที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดตีบตันและโรคหัวใจได้อีกด้วยค่ะ และในชาเขียวนั้นจะมีเจ้าสาร EGCG อยู่ถึงประมาณ 35-50% กันเลยทีเดียว โดยขณะที่ชาอู่หลงมีประมาณ 8-20% และชาดำจะมี EGCG อยู่เพียง 10% เท่านั้นเองค่ะ ชาเขียวที่มีคุณภาพจะได้จากใบชาคู่ที่หนึ่งและใบชาคู่ที่สองที่เก็บจากยอด (ชาวจีนเรียกว่า “บู๋อี๋”) ส่วนใบชาคู่ที่สามและสี่จากยอดจะให้ชาชั้นสอง (ชาวจีนเรียกว่า “อันเคย”) ส่วนใบชาคู่ที่ห้าและหกจากปลายยอดจะเป็นชาชั้นเลว (ชาวจีนเรียกว่า “ล่ำก๋อง”)สำหรับสี กลิ่น และรสชาติของชานั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณของสารคาเทชินที่มีอยู่ในชา โดยฤดูการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว จะมีผลต่อระดับของสารคาเทชิน ซึ่งในใบชาฤดูใบไม้ผลิจะมีสารคาเทชินประมาณ 12-13% ในขณะที่ชาในฤดูร้อนจะมีสารคาเทชินประมาณ 13-14% (ใบชาอ่อนจะมีสารคาเทชินมากกว่าใบชาแก่) สารสำคัญที่พบได้ในชาเขียวจะประกอบไปด้วย กรดอะมิโน วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี สารในกลุ่ม xanthine alkaloids คือ คาเฟอีน (caffeine) และธิโอฟิลลีน (theophylline) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ที่เรียกว่า คาเทชิน (catechins) โดยเราสามารถแยกสารคาเทชินออกได้เป็น 5 ชนิด คือ gallocatechin (GC), epicatechin (EC), epigallocatechin (EGC), epicatechin gallate (ECG), และ epigallocatechin gallate (EGCG) โดยคาเทชินที่พบได้มากและมีฤทธิ์ทรงพลังที่สุดในชาเขียว คือ สารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (epigallocatechin gallate – EGCG) ซึ่งมีความสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

ชาเขียวมี 2 ประเภทใหญ่ๆคือ ชาเขียวแบบญี่ปุ่นและชาเขียวแบบจีน ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้จะต่างกันโดยชาเขียวแบบจีนจะมีการคั่วด้วยกระทะร้อนแต่ชาเขียวแบบญี่ปุ่นไม่ต้องคั่วใบชา ชาเขียวแบบญี่ปุ่นจำแนกออกเป็นหลายเกรดตามคุณภาพใบชาแต่ที่รู้จักและเป็นที่นิยมในหมู่ชาวญี่ปุ่น ได้แก่ บันฉะ เซ็นฉะ เกียวกุโระฉะ และมัทฉะ

  • บันฉะ (Bancha) ใบชาแก่และคุณภาพต่ำที่สุด มักมีก้านใบติดมาด้วย เนื้อหยาบ รสค่อนข้างฝาด สีเขียวอมเหลือง เป็นชาที่ร้านอาหารญี่ปุ่นให้บริการฟรี บันฉะมีรสอ่อน สีไม่สวย จึงไม่นิยมนำมาปรุงอาหาร
  • เซ็นฉะ (Sencha) เป็นชาแก่เกรดกลางที่คนใช้ทั่วไป ประมาณ 80% ของใบชาที่เก็บเกี่ยวได้ผลิตเป็นใบชาเกรดนี้ ใบเซ็นฉะไม่มีก้านติดมาด้วย น้ำเซ็นฉะสีเขียวสด รสเข้มแต่ละเมียดละไม จับแล้วรสชายังติดที่ปลายลิ้นเป็นชาที่ชาวญี่ปุ่นเสิร์ฟรับรองแขกที่บ้าน ตามงานเลี้ยงรับรอง และตามที่ประชุมต่างๆ เซ็นฉะมีหลายเกรดตั้งแต่แบบธรรมดาแลัแบบพรีเมี่ยม ราคาก็ต่างกัน นำมาใช้ทำอาหารได้หลากหลายเพราะให้ทั้งกลิ่นและรสชาเขียวที่เข้มกว่าชนิดอื่น
  • เกียวกุโระฉะ (Gyukurocha) เป็นใบชาที่เก็บจากพุ่มต้นชาที่ดีที่สุด เนื่องจากผลผลิตน้อยราคาจึงค่อนข้างสูง น้ำชาสีเขียวอ่อนหอมหวานมาก ปกติการชงชาเขียวทั่วไปใช้น้ำร้อนที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียสเท่านั้น เมื่อมิได้ความร้อนไปทำลายรสชาติชา ชาชนิดนี้แพงเกินกว่าจะนำมาผสมใส่อาหารหรือผลิตภัณฑ์อื่นได้
  • มัทฉะ (Matcha) เป็นผงชาเขียว สมัยก่อนได้จากการนำใบชาชั้นดี ‘’เกียวกุโระฉะ’’ มาบดจนละเอียดเป็นผงเพื่อใช้ในพิธีชงชา มัทฉะที่ได้จะมีลักษณะข้นสีเขียวเข้ม ปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตโดยนำใบชา’’เซ็นฉะ’’ มาสกัดเป็นน้ำแล้วจึงพ่นโดยการฉีดผ่านไอความร้อนสูงให้ไอระเหยออกเหลือแต่ผงสีเขียวเข้มกลิ่นหอม มัทฉะเป็นชาที่นิยมใช้ใส่อาหารเพราะสะดวกในการใช้ให้สีสวยกลิ่นหอมและราคาไม่แพง มัทฉะจะมีสีเขียวสดคล้ายเขียวมะนาว ในใบชาเขียวมีสารสำคัญหลายๆชนิด คือ คาเฟอีน, แทนนิน, สารคาเทซิน, เกลือฟลูออไรด์

      จากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พบว่า สารคาเฟอีน และ สารคาเทชินใน ชาเขียวญี่ปุ่นแท้มีคุณสมบัติในการช่วยเพิ่มเมทาบอลิซึ่มของร่างกายนั่นก็หมายถึง การเพิ่มอัตราการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต และการออกซิเดชันของไขมันนั่นเอง นอกจากนี้ชาเขียวญี่ปุ่นแท้ ยังช่วยให้แบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ทำงานดีมากยิ่งขึ้น แต่เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรจะออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย จะทำให้การเผาผลาญดีขึ้น และเพื่อให้ได้ผลดีต้องดื่มชาเขียวญี่ปุ่นแท้ แบบปราศน้ำตาล หรือสารปรุงแต่งอื่นๆ โดยในแต่ละวันไม่ควรดื่มเกิน 10 – 12 ถ้วย หรือ ชงใบชา 1-2 ช้อนชา ในน้ำร้อน ดื่มวันละ 3 ถ้วย ระหว่างมื้ออาหาร จะได้ประโยชน์ต่อสุขภาพสูงสุด ดังนั้น ควรจะดื่มชาเขียวญี่ปุ่นแท้ เท่านั้น ซึ่งจะผลิตออกมาในรูปแบบของ ใบชา ชาซอง มัทฉะ เพื่อให้เราได้รับสารที่มีประโยชน์อย่างเต็มที่เพียงเติมน้ำร้อน ถึงชาเขียวญี่ปุ่นแท้ จะมีสารคาเฟอีน (ซึ่งอาจจะทำให้นอนไม่หลับถ้าดื่มเยอะเกิน) แต่ยังมีสารสำคัญที่มีประโยชน์อีกเพียบ ไม่ว่าจะเป็น กรดอะมิโน วิตามินบี, วิตามินซี, วิตามินอี, สารในกลุ่ม xanthine alkaloids หรือ คาเฟอีน (caffeine) และ ธิโอฟิลลีน (theophylline) ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้สดชื่น คึกคัก และสารใน กลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ที่เรียกว่า แคทีชิน (catechins) ตัวนี้แหละที่สำคัญ

ประโยชน์ของวิตามินที่อยู่ในชาเขียว

  • วิตามินซี ช่วยลดความเครียด ต่อต้านภาวะติดเชื้อและเสริมการทำงานของระบบ
  • วิตามินบีรวม ช่วยเสริมการทำงานในกระบวนการเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
  • วิตามินอี มีสรรพคุณเป็นสารแอนติออกซิแดนซ์ ชะลอความแก่
  • ฟลูออไรด์ ช่วยเสริมความแข็งแรงให้แก่เคลือบฟัน ป้องกันฟันผุ
  • GABA  ช่วยลดระดับความดันเลือด และประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย
  • แร่ธาตุ ได้แก่ โซเดียม, โปแตสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียมและฟอสฟอรัส และอื่นๆ

 

และด้วยคุณประโยชน์มากล้นของชาเขียวนั้น เราเคยสงสัยกันหรือไม่ว่าบางทีการที่เราดื่มชาเขียวทุกวันๆ นั้นได้ประโยชน์จากสารต่างๆที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระจากจากเขียวนั้นเราได้รับมาเต็มๆเลยหรือเปล่า? วันนี้ HealthGossip ไม่พลาดค้นหาข้อมูลมาบอกกันค่ะ ว่าวิธีการดื่มชาเขียวแบบที่เราดื่มกันทุกวันนั้นจะได้ประโยชน์จากชาเขียวมากน้อยเพียงใด 🙂

 

วิธีดื่มชาเขียวอย่างไรให้ได้ประโยชน์ที่สุด

รู้กันหรือเปล่าคะว่าการดื่มชาร้อนนั้นให้คุณ แต่ถ้าเป็นชาเขียวเย็นนั้นจะให้โทษ! แม้ว่าการดื่มชาจะไม่ใช่วัฒนธรรมดั้งเดิมของคนไทย แต่ในยุคหลังๆมานี้คนไทยเราเริ่มนิยมการจิบชากันมากขึ้นไม่ว่าจะในคนที่หันมาใส่ใจกับสุขภาพมากขึ้นหรือจะเป็นความหลงไหลในกลิ่นและรสชาติก็ตาม โดยเฉพาะชาเขียวที่ขี้นชื่อเรื่องของสรรพคุณที่มีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ ซึ่งเรียกได้ว่าญี่ปุ่นเป็นต้นตำรับทางด้านนี้เพราะได้รู้จักรสชาติและคุณค่าของชาเขียวมานานนับ 100 ปี ด้วยญี่ปุ่นเป็นเมืองที่มีอากาศหนาวเย็นและชาวญี่ปุ่นก็มักจะจิบชาอุ่นๆกันเป็นกิจวัตรประจำวันเลยก็ว่าได้ในขณะที่ประเทศไทยเรานัันมีอากาศที่ร้อนแทบทั้งปีจะมามัวนั่งชงชาดื่มแบบร้อนๆก็กะไรอยู่คงจะร้อนทั้งข้างในและข้างนอกเป็นแน่แท้ เพราะงั้นพี่ไทยเราเลยเลือกดื่มชาเขียวแบบเย็นๆแบบชื่นอกชื่นใจกันซะมากกว่า แต่ทว่าดื่มไปเราจะได้รับประโยชน์แค่ไหนกันนะ? อย่างที่ทราบกันดีนะคะว่าชาเขียวมีคุณสมบัติลดและต้านอนุมูลอิสระที่เป็นพิษต่อร่างกายของเรา โดยจะขับออกมาทางอุจจาระ และขับไขมันส่วนเกินออกมาทางปัสสาวะและอุจจาระ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น นั่นเป็นคุณสมบัติเฉพาะของชาเขียวร้อน ที่คนญี่ปุ่นนิยมดื่มกันตั้งแต่เด็กจนแก่แต่คนไทยส่วนมากด้วยความที่ไม่รู้จักคุณสมบัติที่แท้จริงของชาเขียว เลยทำให้คิดเอาเองว่าแค่ดื่มชาเขียวก็ได้ประโยชน์แล้วไม่ว่าจะเป็นร้อนหรือเย็นก็ตาม อย่างเช่น จากการวิจัยชี้ว่า ชาเขียวที่ชงใหม่ๆ ร้อนๆ จะมีปริมาณแอนติออกซิแดนท์สูงสุด วัฒนธรรมการดื่มชาเขียวกำหนดให้ดื่มหลังจากชงชาไปประมาณ 1 นาที หากปล่อยไว้นานกว่านี้น้ำชาจะเริ่มเสียรสชาติ เมื่อชาเย็นลงแอนติออกซิแดนท์ในน้ำชาก็จะลดลง ยิ่งไปกว่านั้นการที่ชาเขียวเย็นสำเร็จรูปผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรมหลายขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการพาสเจอไรซ์ ใส่สารกันบูดและแช่เย็นที่ชั้นวางของในห้างสรรพสินค้าเป็นเวลานานๆ ยังทำให้สูญเสียแอนติออกซิแดนท์มากยิ่งขึ้นอีกด้วย และกรณีที่ใส่นมในชาเขียว นมจะจับกับสารคาเทชินทำให้ประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระของสารเคทิชินในฐานะแอนติออกซิแดนท์ลดลงไปมากขาดประสิทธิผลในการป้องกันมะเร็งและโรคอื่นๆ แต่เห็นทีคราวนี้ต้องเปลี่ยนความคิดกันใหม่แล้วนะค่ะ เพราะยังไงแล้วชาเขียวจะมีประโยชน์มากมายยังไง มันก็ย่อมมีโทษเช่นกัน อย่างที่บอกเนื่องจากชาเขียวมีประโยชน์ต่อร่างกายในขณะที่มันร้อนอยู่เท่านั้น ในทางกลับกัน หากดื่มชาเขียวตอนที่มันเย็นแล้วจะทำให้เกิดโทษ เนื่องจากชาเขียวเย็นไม่ช่วยในการลดอนุมูลอิสระสารพิษออกจากร่างกาย แล้วยังทำให้สารพิษเกาะตัวกันแน่น อันเป็นสาเหตุของ “มะเร็ง” อีกต่างหาก อีกทั้งชาเขียวเย็นยังส่งผลให้ไขมันในร่างกายก่อตัวมากขึ้นตามผนังหลอดเลือด และไปอุดตันตามผนังลำไส้ อันเป็นบ่อเกิดแห่งโรคร้าย เช่น หลอดเลือดหัวใจอุดตัน มะเร็งลำไส้ เส้นเลือดตีบ เป็นต้น

ทุกวันนี้คนเริ่มรักษาสุขภาพกันมากขึ้นมีการการเลือกรับประทานอาหารกันเยอะขึ้น ไหนจะเป็นอาหารการกินแม้แต่เครื่องดื่มก็ยังต้องมีวิธีและเวลาที่เหมาะสมในการดื่ม ก็เพื่อให้การกินหรือการดื่มแต่ละอย่างคุ้มค่าไม่เสียเปล่านั่นเองค่ะ อาหารหรือเครื่องดื่มบางประเภทนอกจากรสชาติจะต้องฝืนกินแล้วแต่ถ้าเลือกรับประทานไม่ถูกวิธี การที่เราฝืนทานกันมาเป็นเวลานานก็ถือเสียว่าสูญเปล่า และในวันนี้อย่างน้อยเราก็ได้ทราบว่า ควรดื่มชาเขียวอย่างไรให้ได้ประโยชน์และคุณค่ามากที่สุดกันค่ะ 

 

www.flickr.com/photos/vordichtung/5869946403

ชนิดของชาเขียวญี่ปุ่นที่เราอาจจะยังไม่รู้

pouring-tea-1
Source: Flickr (click image for link)

บางคนถ้าพูดถึง ”ชาเขียว” แล้วล่ะก็…ต้องได้รู้จักกันทุกคนเลยแหละเนอะ บางคนนี่ถึงกับเป็นเมนูโปรดปรานกันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะอะไรอะไรก็ต้องเป็นชาเขียวไปซะหมด ก็มันทั้งหอมทั้งอร่อยนี่เนอะเป็นใครก็ต้องหลงรัก ไหนจะปัจจุบันนี้มีร้านเครื่องดื่่มชงสดประเภทกาแฟ ชา ผุดขึ้นมากมาย …. ในนามของร้าน “กาแฟสด” ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมสูงสุด แต่ถ้าจะให้เปรียบเทียบกันในระดับโลกเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมสูงรองลงมาจาก “น้ำเปล่า” นั่นก็คือ “น้ำชา” ซึ่ง “ชา” นั้นเป็นเครื่องดื่มที่มีกลิ่นหอมที่นุ่มนวลอบอวล เมื่อได้ลิ้มลองดื่มแล้วล่ะก็ทำให้ร่างกายสดชื่นขึ้นมาเลยทีเดียว ด้วยเหตุผลนี้นี่เองจึงทำให้ผู้คนมากมายนิยมชมชอบที่จะดื่มชากันอย่างแพร่หลาย สำหรับใบชาที่ได้รับความนิยมดื่มกันอยู่ในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ชาจีน ชาเขียว และชาฝรั่ง ซึ่งชาแต่ละชนิดนั้นมีกรรมวิธีในการผลิตที่แตกต่างกัน แต่หากจะถามว่าแล้วชาชนิดไหนมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากที่สุดคำตอบคือ “ชาเขียว” นั่นเอง  สมัยนี้มองไปทางไหนอะไรก็เป็นชาเขียวไปซะหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเครื่องดื่ม ขนม ไอศกรีม หรือจะเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆก็จะต้องมีชาเขียวไปผสมอยู่เสมอ แต่จะมีสักกี่คนนะที่รู้จักชนิดของชาเขียว และที่เราชอบดื่มหรือรับประทานอยู่ทุกวันนี้เป็นชาเขียวชนิดไหน? แล้วชาเขียวมีกี่ชนิดกันเนี่ย วันนี้เราเลยจะมาเม้าท์เล่าสู่กันฟังสำหรับคอชาเขียวหรือคนที่กำลังสนใจกันค่ะ

 

ชาเขียว คืออะไร

ชาเขียว (Green tea) คือ ชาที่ได้มาจากต้นชา ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis ซึ่งชาชนิดนี้จะไม่ผ่านขั้นตอนการหมักเลย เตรียมได้โดยการนำใบชาสดมาผ่านความร้อนเพื่อทำให้ใบชาแห้งอย่างรวดเร็ว ซึ่งวิธีการก็คือเมื่อเก็บใบชามาแล้วก็นำมาทำให้แห้งอย่างรวดเร็วในหม้อทองแดงโดยใช้ความร้อนไม่สูงเกินไปและใช้มือคลึงเบา ๆก่อนแห้งหรืออบไอน้ำในระยะเวลาสั้น ๆแล้วนำไปอบแห้งเพื่อยับยั้งการทำงานเอนไซม์ (ความร้อนจะช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทำให้ไม่เกิดการสลายตัว) จึงได้ใบชาที่แห้งแต่ยังสดอยู่และมีสีที่ค่อนข้างเขียว จึงเรียกกันว่า “ชาเขียว” และการที่ใบชาที่ได้นั้นไม่ผ่านขั้นตอนการหมักจึงทำให้ใบชามีสารประกอบฟีนอล (Phenolic compound) หลงเหลืออยู่มากกว่าในอู่หลงและชาดำ (สองชนิดนี้คือชาที่ผ่านการหมัก) จึงทำให้ชาเขียวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาทั้งสอง โดยชาเขียวจะมี สารพฤกษเคมี ชื่อ EGCG ตัวนี้เป็นแชมป์เปี้ยนของสารต้านอนุมูลอิสระเลยทีเดียว จึงสามารถช่วยป้องกันมะเร็งและต้านมะเร็งได้ด้วย และมีบางงานวิจัยยังบอกว่าช่วยลดการดูดซึมไขมันและคอเลสเตอร์รอลที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดตีบตันและโรคหัวใจได้อีกด้วยค่ะ และในชาเขียวนั้นจะมีเจ้าสาร EGCG อยู่ถึงประมาณ 35-50% กันเลยทีเดียว โดยขณะที่ชาอู่หลงมีประมาณ 8-20% และชาดำจะมี EGCG อยู่เพียง 10% เท่านั้นเองค่ะ ชาเขียวที่มีคุณภาพจะได้จากใบชาคู่ที่หนึ่งและใบชาคู่ที่สองที่เก็บจากยอด (ชาวจีนเรียกว่า “บู๋อี๋”) ส่วนใบชาคู่ที่สามและสี่จากยอดจะให้ชาชั้นสอง (ชาวจีนเรียกว่า “อันเคย”) ส่วนใบชาคู่ที่ห้าและหกจากปลายยอดจะเป็นชาชั้นเลว (ชาวจีนเรียกว่า “ล่ำก๋อง”)สำหรับสี กลิ่น และรสชาติของชานั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณของสารคาเทชินที่มีอยู่ในชา โดยฤดูการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว จะมีผลต่อระดับของสารคาเทชิน ซึ่งในใบชาฤดูใบไม้ผลิจะมีสารคาเทชินประมาณ 12-13% ในขณะที่ชาในฤดูร้อนจะมีสารคาเทชินประมาณ 13-14% (ใบชาอ่อนจะมีสารคาเทชินมากกว่าใบชาแก่) สารสำคัญที่พบได้ในชาเขียวจะประกอบไปด้วย กรดอะมิโน วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี สารในกลุ่ม xanthine alkaloids คือ คาเฟอีน (caffeine) และธิโอฟิลลีน (theophylline) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ที่เรียกว่า คาเทชิน (catechins) โดยเราสามารถแยกสารคาเทชินออกได้เป็น 5 ชนิด คือ gallocatechin (GC), epicatechin (EC), epigallocatechin (EGC), epicatechin gallate (ECG), และ epigallocatechin gallate (EGCG) โดยคาเทชินที่พบได้มากและมีฤทธิ์ทรงพลังที่สุดในชาเขียว คือ สารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (epigallocatechin gallate – EGCG) ซึ่งมีความสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

ชาเขียวนั้นมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ชาเขียวแบบญี่ปุ่นและชาเขียวแบบจีน ซึ่งแตกต่างกันตรงที่ชาเขียวแบบจีนจะมีการคั่วด้วยกระทะร้อน แต่ชาเขียวแบบญี่ปุ่นไม่ต้องคั่ว ใบชาเขียวมีสารอาหารพวกโปรตีน น้ำตาลเล็กน้อย และมีวิตามินอีสูง แต่อย่างไรก็ดีมีรายงานว่าวิตามินเอและวิตามินอีที่มีอยู่ในใบชาจะสูญเสียไปเกือบหมดถ้าใช้ระยะเวลาในการชงนานจนเกินไป ส่วนปริมาณของแคลเซียม เหล็ก และวิตามินซีจะสูญเสียไปประมาณ ครึ่งหนึ่ง แต่มีรายงานจากประเทศญี่ปุ่นว่า ถ้าเราสามารถรับประทานใบชาเขียวแห้ง 6 กรัมต่อวัน จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินอี และวิตามินเอถึงร้อยละ 50 และ 20 ของปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน ตามลำดับ ในประเทศญี่ปุ่นจึงมีการผลิตชาเขียว ในรูปผงสำหรับบริโภคขึ้น ซึ่งสามารถเติมลงในอาหารหลายชนิด ตั้งแต่อาหารญี่ปุ่นจนถึงสเต็ก แฮมเบอร์เกอร์ สปาเกตตี้ และสลัด

tea-leafs-1
Source: Flickr (click image for link)

 ชนิดของชาเขียวญี่ปุ่น

  • เซนฉะ (Zencha) – ตัวแทนของชาญี่ปุ่น ถ้าพูดถึงชาญี่ปุ่นหรือชาเขียวแล้ว ส่วนใหญ่มักจะหมายถึง Zencha (เซนฉะ) นี้ คิดเป็นปริมาณถึง 80% ของการผลิตชาเขียวทั้งหมด และเป็นชาเขียวประเภทที่นิยมดื่มกันมากที่สุดลักษณะของชาจะมีสีเขียวสวย และรสชาติความหอมสดชื่นเป็นเอกลัษณ์ มีรสหวานน้อยๆ พร้อมกับความฝาดนิดๆ ตามสไตล์ชาแท้ๆ ที่แตกต่างกันตามแหล่งผลิตและวิธีการชง
  • เกียวกุโระ (Gyokuro) – ใบชาชั้นสูงสุดจากใบชาอ่อนในร่ม Gyokuro เป็นใบชาเขียวที่ได้จากการปลูกแบบประคบประหงม ภายในอุณหภูมิและสถานที่ในร่มเพื่อให้ได้กลิ่นและรสที่ดีที่สุด เป็นชาชั้นสูงที่สุดของชาเขียวที่ได้จากยอดอ่อนของใบชา ให้สีเขียวอ่อนที่สวยงาม และมีเอกลักษณ์ที่รสชาติหวานกลมกล่อม ซึ่งที่มาของรสชาติหวานกลมกล่อมนี้ มาจากการที่ให้ใบชาอยู่ในร่มก่อนการเก็บเกี่ยว ซึ่งการป้องกันแสงแดดนี้จะทำให้สารเธียอะนินที่มีประโยชน์ (ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย) ในใบชาเพิ่มขึ้น แต่ทำให้ catechin ซึ่งเป็นที่มาของรสขมในใบชาลดลง ทำให้ได้ชาที่มีรสชาติหวานกลมกล่อมนั่นเอง
  • มัทฉะ (Matcha– ใบชาชั้นสูงสุมัทฉะ Matcha ชาเขียวอย่างดี สำหรับประกอบพิธีชงชาชาเขียวมัทฉะ ก็เป็นชาที่ได้จากการปลูกชาแบบประคบประหงมเช่นกัน โดยปกติแล้วการดื่มชาเขียวมัทฉะคือการดื่มผงมัทฉะนี้เข้าไปด้วย การผลิตมัทฉะจะนำใบชาอ่อนไปอบ และเมื่อแห้งแล้วจึงนำไปหมุนกลิ้งหรือบดเป็นผงด้วยครก ให้ผู้ดื่มได้รับสารอาหารในใบชาอย่างเต็มที่ ชาเขียวมัทฉะแท้โดยทั่วไปจะมีสีเขียวอ่อนๆ แบบนกไนติงเกล โดยที่ชนิดที่อ่อนกว่าจะให้ความหวานมากกว่าชนิดสีเข้ม ซึ่งจะให้รสฝาดของใบชา
  • โคนะฉะ (Konacha) – ใบชาแบบที่บริการในร้านซูชิทั่วไป Konacha ผลิตจากใบชาส่วนที่เหลือจากกระบวนการทำชาเขียวมัทฉะหรือ Gyokuro มักจะใช้ในร้านขายซูชิหรือซูชิหมุนทั่วๆ ไปในญี่ปุ่น และเนื่องจากว่ามีลักษณะเป็นผง จีงมีรสชาติที่เข้มข้น เทคนิคในการดื่มชาประเภทนี้ ก็คือ จะต้องรีบดื่ม อย่าแช่ทิ้งไว้นาน เพราะจะทำให้รสชาติเข้มข้นจนเกินไป หรืออาจทำให้ขม ชาประเภทนี้เป็นชาที่ไม่แพงมากจนเกินไป ดังนั้นคนญี่ปุ่นจึงนิยมใช้ชาประเภทนี้ในการทำอาหารบางชนิด
  • เก็นมัยฉะ (Genmaicha) – ชารสข้าวตามแบบฉบับญี่ปุ่นGenmaicha เรียกว่า ชาข้าวกล้อง หรือชาข้าวโพดก็ได้ เพราะเวลาคั่วข้าว เมล็ดข้าวจะพองโตเหมือนเมล็ดข้าวโพด เป็นชาที่นำข้าวกล้องคั่วมาผสมกับชาบันฉะ ในสมัยก่อนเป็นเครื่องดื่มของคนยากคนจน และพระ เพราะชามีราคาแพง แค่มีชาเขียวเสริมคุณค่าด้วยข้าวกล้องคั่วก็หอมอร่อยได้เหมือนกัน ชาประเภทนี้เป็นที่รู้จักกันว่า เป็นชาของผู้คนอย่างแท้จริง
  • ฟูกะมัทชิฉะ (Fukamushicha) – เป็นชาชนิดเดียวกับชาเซนฉะ แต่จะผ่านวิธีการผลิตแตกต่างกันนิดหน่อยตรงที่นำไปอบนานเป็นสองเท่าของชาเซนฉะ แต่เวลาต้มชาออกมาน้ำชาจะมีสีเข้มหม่นๆ กว่าชาเซนฉะ รสชาติเข้มข้นและหวานกว่า
  • คาบุเซะชะ (Kabusecha) – เป็นชาประเภทเดียวกับชาเซนฉะ แต่ก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 20 วันจะถูกปกคลุมไปด้วยตาข่าย รสชาติจะอ่อนกว่าชาเซนฉะ
  • คาวายานากิ (Kawayanagi) – เป็นชาที่ทำมาจากใบอ่อนขนาดใหญ่ของ ชาคาบุเซะชะ และ ชาเซนชะ รสชาติเบาๆ
  • บังฉะ (Bancha) – ดื่มแล้วสดชื่น เอาไว้ดื่มหลังอาหาร บังฉะทำจากชาที่จับตัวหลังจากการวางซ้อนทับกันในกระบวนการผลิตชาเซนฉะ ดื่มชาประเภทนี้แล้วทำให้รู้สึกสดชื่นในปาก วิธีการชงคือชงด้วยน้ำร้อนแบบเร็วๆ ให้รสชาติที่ค่อนข้างขมและฝาด เหมาะกับการดื่มเพื่อล้างปาก หลังทานอาหารเสร็จเพื่อเพิ่มความรู้สึกสดชื่นและยังมีฟลูโอไรด์อยู่มาก ช่วยในการลดแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งเป็นปัญหาของการเกิดกลิ่นปากได้ด้วย
  • อะราฉะ(Aracha) – เป็นชาเขียวดิบ ที่ผลิตมาจากทั้งใบและส่วนก้านของชาจากนั้นจะนำมาอบและรีดให้แห้ง เป็นชาที่ให้รสชาติเข้มข้นมาก ส่วนใหญ่ชาชนิดนี้จะนำไปผสมกับชาอื่นๆ เพื่อเพิ่มรสชาติเฉพาะตัวที่เข้มข้นขึ้น
  • ทามะเรียวกุฉะ (Tamaryokucha) – หรือรู้จักกันทั่วไปในชื่อ Guricha  เป็นชาที่ลักษณะใบชาแห้งหยิก เป็นคลื่นๆ เล็กน้อย มีรสฝาดน้อยมีกลิ่นหอมเบาๆ เหมือนลูกเบอร์รี่
  • คาไมริฉะ (Kamairicha ) – เป็นชาที่ผลิตมาจาก จังหวัด Nagasaki เป็นส่วนใหญ่ ชาประเภทนี้จะนำไปคั่วในกะทะกลิ้งไปกลิ้งมา มีรสหวานหอม รสชาติอ่อนโยน
  • คุคิฉะ (Kukicha) – มีอีกชื่อหนึ่งว่า Boucha  เป็นชาที่เป็นผลพลอยได้มาจากลำต้นและก้านของ ชาเซนฉะ หรือ ชามัทฉะ มีใบชาผสมน้อยมาก มีรสชาติหวาน สามารถนำไปผสมกับน้ำผลไม้สำหรับเด็กๆ ได้ด้วย
  • คาริกาเนะ (Karigane) – หรือ Shiraore เป็นชาที่เป็นผลพลอยได้มาจากก้านของชาเกียวโระคุ  มีรสชาติหวาน สามารถนำไปผสมกับน้ำผลไม้สำหรับเด็กๆ ได้ด้วยเช่นกัน
  • เมฉะ (Mecha) – เป็นชาที่เก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ผลิ โดยการนำเอาใบและก้านที่แยกมาจาก ชาเกียวโระคุ และชาเซนฉะมาอบและรีดรวมๆ กัน เป็นชาที่มักจะเสริฟที่ร้านซูชิเพื่อล้างรสคาวที่เพดานปาก รสชาติเข้มข้นขมฝาดพอประมาณ
  • โฮจิฉะ (Houjicha) –  เหมาะสำหรับเด็กๆ และ คนป่วย เป็นชาในช่วงเก็บเกี่ยวครั้งสุดท้ายแล้ว ทำมาจากชา บันฉะ, เซนฉะ, คุคิฉะ ผสมๆ แล้วก็มีกิ่งชาผสมอยู่ด้วยจากนั้นนำไปคั่วในไฟร้อน เพื่อลดรสชาติที่ฝาดของชา เป็นชาที่ให้ความรู้สึกอ่อนโยน ดื่มสบายๆ ในระหว่างหรือหลังมื้อเย็นของบ้าน สามารถทานก่อนที่จะเข้านอนก็ได้ เป็นที่โปรดปรานของผู้สูงอายุและเด็กพอตัวเลยทีเดียว
  • ฟุงมัทซึฉะ (Funmatsucha) – คือ ชาเขียวชนิดผงสำเร็จรูป พกสะดวก ชงง่าย สไตล์คนสมัยใหม่ ทำจากใบเซนฉะที่เอามาบดให้เป็นผงละเอียด จนสามารถละลายน้ำรับประทานได้ แตกต่างจากโคนะฉะ (ใบชาบดละเอียดแต่ไม่ละลายน้ำ) สามารถละลายได้ดีในน้ำเย็น หรือละลายน้ำแล้วแช่ตู้เย็นได้ทันที คนญี่ปุ่นบางคนเอามาผสมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้ประกอบอาหาร ในหลายๆ รูปแบบ ไม่ต้องใช้กาชงชา จึงสะดวกมากเป็นพิเศษสำหรับการพกไปดื่มเวลาเดินทางหรือที่ออฟฟิศ ได้ประโยชน์จากใบชาอย่างเต็มที่ แต่ข้อด้อยอย่างเดียวก็คือกลิ่นหอมของใบชาอาจจะสูญเสียไปได้ง่ายกว่าชาแบบใบ

 

นอกจากชาเขียวประเภทใบชาต่างๆ เหล่านี้แล้ว ก็ยังมี ชาเขียวผงแบบสำเร็จรูป รูปแบบผงละลายน้ำเย็นได้ทันที หน้าตาจะคล้ายกับฟุงมัทซึฉะหรือชาแบบผง แต่มีกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน ตรงที่ชาเขียวผงแบบสำเร็จรูปนี้ คือการนำใบชาไปชงเป็นน้ำก่อนแล้วผ่านกรรมวิธี Spray Dry หรือ Freeze Dry ให้กลายตัวมาอยู่ในรูปแบบผง วิธีเดียวกับการทำกาแฟสำเร็จรูปนั่นเอง แต่ชาแบบผงสำเร็จรูปแตกต่างจาก (ฟุงมัทซึฉะหรือใบชาแบบผง) ตรงที่จะไม่ตกตะกอนแต่จะละลายในน้ำหมดได้ดี และชนิดของชาเขียวญี่ปุ่นที่ส่วนมากนิยมดื่มกันในหมู่ชาวญี่ปุ่นนั้น ได้แก่ บันฉะ เซ็นฉะ เกียวกุโระฉะ และมัทฉะ นั่นเอง โดยคนไทยส่วนมากจะนิยมดื่มชาเขียวมัทฉะกันซะเป็นส่วนใหญ่ ที่มีสีเขียวและกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์

 

www.flickr.com/photos/satorinihon/7452684742/

www.flickr.com/photos/satorinihon/8351607205/

ชาเขียวคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

green-tea-powder-spoon-1
Source: Flickr (click image for link)

หลายๆคนคงไม่มีใครไม่รู้จัก “ชาเขียว” (Green tea) กันใช่ไหมล่ะคะ ถ้าพูดถึงชาเขียวเราก็จะนึกถึงกลิ่นหอมๆที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลายและเมื่อได้ลิ้มรสชาติแล้วก็จะรู้สึกว่าสุขภาพที่ดีนั้นเป็นยังไงเลยใช่ไหมล่ะคะ ไม่ว่าจะเข้าไปในร้านกาแฟที่ไหนก็จะต้องสั่งชาเขียวเย็น ชาเขียวนมสดปั่นตลอดเลย และสมัยนี้มองไปทางไหนอะไรอะไรก็เป็นชาเขียวไปซะหมด ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับชาเขียวก็มีวางจำหน่ายในหลากหลายรูปแบบ โดยผู้ผลิตได้คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากชาเขียวหลั่งไหลออกมาสู่ท้องตลาดเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ถนอมผิว เครื่องสำอางต่าง ๆ สบู่ เกลืออาบน้ำ น้ำยาดับกลิ่นตัว ครีมบำรุงผิว โลชั่น ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ไหนจะชาเขียวสำเร็จรูปที่วางขายในประเทศไทยที่เป็นแบบขวดสำเร็จรูปตามร้านสะดวกซื้อนั้น แต่เราจะทราบกันไหมคะว่านั่นไม่ใช่…ชาเขียวญี่ปุ่นแท้ (ชาเขียวต้องสีมีเขียว ไม่ใช่สีน้ำตาล) คนญี่ปุ่นยังบอกเลยว่ามันคือ… น้ำหวานเพราะชาเขียวที่ประเทศญี่ปุ่นจะไม่หวาน แถมยิ่งดื่มยิ่งสุขภาพดี ไม่อย่างนั้นคนญี่ปุ่นจะดื่มชาเขียวกันแทนการดื่มน้ำเปล่ากันทำไม แถมยังดื่มกันได้ตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงผู้สูงอายุกันเลยทีเดียวค่ะ และนอกจากนั้นเราก็จะเห็นในรูปแบบช็อคโกแลตที่เป็นรสชาเขียว ขนม ลูกอม ไอศกรีม ต่างๆและอะไรต่อมิอะไรก็มักจะมีส่วนผสมของชาเขียวเสมอรวมไปถึงยังเป็นส่วนผสมของอาหารอีกมากมายตามร้านอาหารต่างๆ แล้วชาเขียวก็ยังมีส่วนผสมอยู่ในเครื่องสำอางค์ ครีม โลชั่น ผลิตภัณฑ์ต่างๆอีกด้วย เชื่อกันว่าหลายคนพอจะทราบว่าชาเขียวนั้นมีประโยชน์และดีต่อสุขภาพใช่ไหมล่ะคะ และดันมีกลิ่นที่จะหอมและมีรสชาติที่อร่อยอีกด้วย เลยไม่ยากที่จะเลือกรับประทานหรือเลือกใช้กันแต่ก็เชื่ออีกเหมือนกันค่ะว่าบางคนก็ยังคงไม่ทราบเช่นกันว่าแท้จริงแล้วชาเขียวคืออะไร แบบไหนที่เรียกว่าชาเขียวและชาเขียวมีประโยชน์อย่างไร  วันนี้  HealthGossip จะนำความรู้มาเล่าสู่กันฟังและทำความเข้าใจไปด้วยกันค่ะ ว่าเจ้าชาเขียวที่ว่าเนี่ยมีดีกว่าที่คิดแน่นอน อย่างที่บอกว่า ชาเขียว ก็ต้องมีสีเขียว เชื่อว่าหลายคนคิดเหมือนกันว่า ชาเขียวญี่ปุ่นแท้ ชาอู่หลง ชาดำ เป็นชาคนละต้นแต่จริง ๆแล้ว มันมาจาก ต้นชาเหมือนกัน เพียงแต่ต่างกันที่ขั้นตอนการผลิตและการหมักบ่มนั่นเอง  อาจแบ่งออกได้เป็น  3 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. ชาฝรั่ง (Black Tea) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า ‘’ชาดำ’’ เตรียมได้จากการเอาใบชาที่เก็บได้มากองสุมไว้เพื่อให้เกิดการหมัก ขณะที่หมักอาจจะบดหรือขยี้ใบชาด้วยลูกกลิ้ง เซลล์ของใบชาจะช้ำโดยใบไม่ขาดในเซลล์ของใบชาจะมีเอนไซม์อยู่จำนวนหนึ่ง เมื่อเซลล์แตกเอนไซม์เหล่านี้จะหลั่งออกมาและทำการย่อยสารเคมีภายในตัวชา การหมักจะทำให้ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของสารสำคัญในใบชาทำให้เกิดกลิ่นและรสขึ้น เมื่อหมักได้ที่แล้วจะนำใบชาไปตากแห้ง ใบชาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มเนื่องจากสีบางชนิดที่เกิดขึ้นระหว่างการหมัก
  2. ชาจีน หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า ‘’ชาอู่ล่ง’’ เป็นชาที่ผ่านการหมักเพื่อให้เกิดออกซิเดชั่นเพียงบางส่วน
  3. ชาเขียว (green tea) เป็นชาที่นิยมดื่มกันมากในจีนและญี่ปุ่น ทำได้โดยนำใบชาสดที่ได้มาทำให้แห้งอย่างรวดเร็วโดยการใช้อุณหภูมิสูงและอุณหภูมิสูงนี่แหละจะไปทำลายเอนไซม์ในใบชา เมื่อนำไปผ่านลูกกลิ้งและตากแดดให้แห้ง ชาจะไม่เปลี่ยนเป็นสีดำแต่ยังคงความเขียวสดเหมือนเดิมและมีคุณภาพเช่นเดียวกับใบชาสด เมื่อชงน้ำร้อนจะได้น้ำชาเขียวหรือเขียวอมเหลือง ไม่มีรสฝาด

 

ชาเขียว (Green Tea) คืออะไร

ชาเขียว (Green tea) คือ ชาที่ได้มาจากต้นชา ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis ซึ่งชาชนิดนี้จะไม่ผ่านขั้นตอนการหมักเลย เตรียมได้โดยการนำใบชาสดมาผ่านความร้อนเพื่อทำให้ใบชาแห้งอย่างรวดเร็ว ซึ่งวิธีการก็คือเมื่อเก็บใบชามาแล้วก็นำมาทำให้แห้งอย่างรวดเร็วในหม้อทองแดงโดยใช้ความร้อนไม่สูงเกินไปและใช้มือคลึงเบา ๆก่อนแห้งหรืออบไอน้ำในระยะเวลาสั้น ๆแล้วนำไปอบแห้งเพื่อยับยั้งการทำงานเอนไซม์ (ความร้อนจะช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทำให้ไม่เกิดการสลายตัว) จึงได้ใบชาที่แห้งแต่ยังสดอยู่และมีสีที่ค่อนข้างเขียว จึงเรียกกันว่า “ชาเขียว” และการที่ใบชาที่ได้นั้นไม่ผ่านขั้นตอนการหมักจึงทำให้ใบชามีสารประกอบฟีนอล (Phenolic compound) หลงเหลืออยู่มากกว่าในอู่หลงและชาดำ (สองชนิดนี้คือชาที่ผ่านการหมัก) จึงทำให้ชาเขียวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาทั้งสอง โดยชาเขียวจะมี สารพฤกษเคมี ชื่อ EGCG ตัวนี้เป็นแชมป์เปี้ยนของสารต้านอนุมูลอิสระเลยทีเดียว จึงสามารถช่วยป้องกันมะเร็งและต้านมะเร็งได้ด้วย และมีบางงานวิจัยยังบอกว่าช่วยลดการดูดซึมไขมันและคอเลสเตอร์รอลที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดตีบตันและโรคหัวใจได้อีกด้วยค่ะ และในชาเขียวนั้นจะมีเจ้าสาร EGCG อยู่ถึงประมาณ 35-50% กันเลยทีเดียว โดยขณะที่ชาอู่หลงมีประมาณ 8-20% และชาดำจะมี EGCG อยู่เพียง 10% เท่านั้นเองค่ะ ชาเขียวที่มีคุณภาพจะได้จากใบชาคู่ที่หนึ่งและใบชาคู่ที่สองที่เก็บจากยอด (ชาวจีนเรียกว่า “บู๋อี๋”) ส่วนใบชาคู่ที่สามและสี่จากยอดจะให้ชาชั้นสอง (ชาวจีนเรียกว่า “อันเคย”) ส่วนใบชาคู่ที่ห้าและหกจากปลายยอดจะเป็นชาชั้นเลว (ชาวจีนเรียกว่า “ล่ำก๋อง”)สำหรับสี กลิ่น และรสชาติของชานั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณของสารคาเทชินที่มีอยู่ในชา โดยฤดูการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว จะมีผลต่อระดับของสารคาเทชิน ซึ่งในใบชาฤดูใบไม้ผลิจะมีสารคาเทชินประมาณ 12-13% ในขณะที่ชาในฤดูร้อนจะมีสารคาเทชินประมาณ 13-14% (ใบชาอ่อนจะมีสารคาเทชินมากกว่าใบชาแก่) สารสำคัญที่พบได้ในชาเขียวจะประกอบไปด้วย กรดอะมิโน วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี สารในกลุ่ม xanthine alkaloids คือ คาเฟอีน (caffeine) และธิโอฟิลลีน (theophylline) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ที่เรียกว่า คาเทชิน (catechins) โดยเราสามารถแยกสารคาเทชินออกได้เป็น 5 ชนิด คือ gallocatechin (GC), epicatechin (EC), epigallocatechin (EGC), epicatechin gallate (ECG), และ epigallocatechin gallate (EGCG) โดยคาเทชินที่พบได้มากและมีฤทธิ์ทรงพลังที่สุดในชาเขียว คือ สารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (epigallocatechin gallate – EGCG) ซึ่งมีความสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

ชาเขียวมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ชาเขียวแบบญี่ปุ่นและชาเขียวแบบจีน ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้จะต่างกันโดยชาเขียวแบบจีนจะมีการคั่วด้วยกระทะร้อนแต่ชาเขียวแบบญี่ปุ่นไม่ต้องคั่วใบชา ชาเขียวแบบญี่ปุ่นจำแนกออกเป็นหลายเกรดตามคุณภาพใบชาแต่ที่รู้จักและเป็นที่นิยมในหมู่ชาวญี่ปุ่น ได้แก่ บันฉะ เซ็นฉะ เกียวกุโระฉะ และมัทฉะ

  • บันฉะ (Bancha) ใบชาแก่และคุณภาพต่ำที่สุด มักมีก้านใบติดมาด้วย เนื้อหยาบ รสค่อนข้างฝาด สีเขียวอมเหลือง เป็นชาที่ร้านอาหารญี่ปุ่นให้บริการฟรี บันฉะมีรสอ่อน สีไม่สวย จึงไม่นิยมนำมาปรุงอาหาร
  • เซ็นฉะ (Sencha) เป็นชาแก่เกรดกลางที่คนใช้ทั่วไป ประมาณ 80% ของใบชาที่เก็บเกี่ยวได้ผลิตเป็นใบชาเกรดนี้ ใบเซ็นฉะไม่มีก้านติดมาด้วย น้ำเซ็นฉะสีเขียวสด รสเข้มแต่ละเมียดละไม จับแล้วรสชายังติดที่ปลายลิ้นเป็นชาที่ชาวญี่ปุ่นเสิร์ฟรับรองแขกที่บ้าน ตามงานเลี้ยงรับรอง และตามที่ประชุมต่างๆ เซ็นฉะมีหลายเกรดตั้งแต่แบบธรรมดาแลัแบบพรีเมี่ยม ราคาก็ต่างกัน นำมาใช้ทำอาหารได้หลากหลายเพราะให้ทั้งกลิ่นและรสชาเขียวที่เข้มกว่าชนิดอื่น
  • เกียวกุโระฉะ (Gyukurocha) เป็นใบชาที่เก็บจากพุ่มต้นชาที่ดีที่สุด เนื่องจากผลผลิตน้อยราคาจึงค่อนข้างสูง น้ำชาสีเขียวอ่อนหอมหวานมาก ปกติการชงชาเขียวทั่วไปใช้น้ำร้อนที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียสเท่านั้น เมื่อมิได้ความร้อนไปทำลายรสชาติชา ชาชนิดนี้แพงเกินกว่าจะนำมาผสมใส่อาหารหรือผลิตภัณฑ์อื่นได้
  • มัทฉะ (Matcha) เป็นผงชาเขียว สมัยก่อนได้จากการนำใบชาชั้นดี ‘’เกียวกุโระฉะ’’ มาบดจนละเอียดเป็นผงเพื่อใช้ในพิธีชงชา มัทฉะที่ได้จะมีลักษณะข้นสีเขียวเข้ม ปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตโดยนำใบชา’’เซ็นฉะ’’ มาสกัดเป็นน้ำแล้วจึงพ่นโดยการฉีดผ่านไอความร้อนสูงให้ไอระเหยออกเหลือแต่ผงสีเขียวเข้มกลิ่นหอม มัทฉะเป็นชาที่นิยมใช้ใส่อาหารเพราะสะดวกในการใช้ให้สีสวยกลิ่นหอมและราคาไม่แพง มัทฉะจะมีสีเขียวสดคล้ายเขียวมะนาว ในใบชาเขียวมีสารสำคัญหลายๆชนิด คือ คาเฟอีน, แทนนิน, สารคาเทซิน, เกลือฟลูออไรด์

 

ประโยชน์จากชาเขียว

ในชาเขียวมีวิตามินมากมาย

  • วิตามินซี ช่วยลดความเครียด ต่อต้านภาวะติดเชื้อและเสริมการทำงานของระบบ
  • วิตามินบีรวม ช่วยเสริมการทำงานในกระบวนการเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
  • วิตามินอี มีสรรพคุณเป็นสารแอนติออกซิแดนซ์ ชะลอความแก่
  • ฟลูออไรด์ ช่วยเสริมความแข็งแรงให้แก่เคลือบฟัน ป้องกันฟันผุ
  • GABA  ช่วยลดระดับความดันเลือด และประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย
  • แร่ธาตุ ได้แก่ โซเดียม, โปแตสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียมและฟอสฟอรัส และอื่นๆ

จากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พบว่า สารคาเฟอีน และ สารคาเทชินใน ชาเขียวญี่ปุ่นแท้มีคุณสมบัติในการช่วยเพิ่มเมทาบอลิซึ่มของร่างกายนั่นก็หมายถึง การเพิ่มอัตราการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต และการออกซิเดชันของไขมันนั่นเอง นอกจากนี้ชาเขียวญี่ปุ่นแท้ ยังช่วยให้แบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ทำงานดีมากยิ่งขึ้น แต่เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรจะออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย จะทำให้การเผาผลาญดีขึ้น และเพื่อให้ได้ผลดีต้องดื่มชาเขียวญี่ปุ่นแท้ แบบปราศน้ำตาล หรือสารปรุงแต่งอื่นๆ โดยในแต่ละวันไม่ควรดื่มเกิน 10 – 12 ถ้วย หรือ ชงใบชา 1-2 ช้อนชา ในน้ำร้อน ดื่มวันละ 3 ถ้วย ระหว่างมื้ออาหาร จะได้ประโยชน์ต่อสุขภาพสูงสุด ดังนั้น ควรจะดื่มชาเขียวญี่ปุ่นแท้ เท่านั้น ซึ่งจะผลิตออกมาในรูปแบบของ ใบชา ชาซอง มัทฉะ เพื่อให้เราได้รับสารที่มีประโยชน์อย่างเต็มที่เพียงเติมน้ำร้อน ถึงชาเขียวญี่ปุ่นแท้ จะมีสารคาเฟอีน (ซึ่งอาจจะทำให้นอนไม่หลับถ้าดื่มเยอะเกิน) แต่ยังมีสารสำคัญที่มีประโยชน์อีกเพียบ ไม่ว่าจะเป็น กรดอะมิโน วิตามินบี, วิตามินซี, วิตามินอี, สารในกลุ่ม xanthine alkaloids หรือ คาเฟอีน (caffeine) และ ธิโอฟิลลีน (theophylline) ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้สดชื่น คึกคัก และสารใน กลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ที่เรียกว่า แคทีชิน (catechins) ตัวนี้แหละที่สำคัญ

ชาเขียวกับความงาม สูตรน้ำแร่ชาเขียว ชั้นตอนแรกให้นำน้ำแร่มาต้มให้เดือด แล้วใส่ผงชาเขียวหรือใบชาเขียวลงไป แล้วทิ้งไว้ให้เย็น (ถ้าใช้ใบชาควรกรองเอาแต่น้ำ) เสร็จแล้วเทน้ำใส่ขวดสเปรย์ ใช้เป็นสเปรย์น้ำแร่ชาเขียว โดยนำมาใช้ฉีดหน้าได้ทุกเวลาที่ต้องการ โดยจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นและความเปล่งปลั่งให้กับผิวหน้าของคุณได้เป็นอย่างดี ส่วนอีกสูตรคือ สูตรถนอมผิวรอบดวงตาด้วยชาเขียว ขั้นตอนแรกให้ต้มชาเขียวกับน้ำเดือด แล้วนำไปแช่ในตู้เย็นให้เย็นจัด แล้วใช้สำลีชุบชาเขียวให้เปียกชุ่ม แล้วนำมาวางบริเวณเปลือกตาทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที วิธีนี้จะช่วยลดริ้วรอยจากความอ่อนล้าของผิวรอบดวงตา และยังช่วยลดอาการบวมของเปลือกตาและถุงใต้ตาได้ด้วย ซึ่งจะช่วยทำให้ผิวนุ่มนวลและดูสดชื่น นอกจากนี้ยังช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์  ชาเขียวยังนิยมนำมาใช้เพื่อปรุงแต่งกลิ่น สี และรสชาติของอาหาร เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค โดยจัดเป็นสารให้กลิ่นรสจากธรรมชาติที่ได้รับความนิยมมากชนิดหนึ่ง ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของชาเขียวรูปของอาหาร ได้แก่ เค้ก ขนมปัง ขนมขบเคี้ยว ช็อกโกแลต ลูกอม หมากฝรั่ง ฯลฯ และยังถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันและน้ำมัน เพื่อป้องกันไม่ให้เหม็นหืนเร็ว จนมีการศึกษาวิจัยถึงความเป็นไปได้ที่จะนำสารสกัดจากชาเขียวมาใช้เป็นสารกันบูดสำหรับอาหารสด รวมไปถึงการนำชาเขียวมาผสมกับเส้นใยผ้า สำหรับเสื้อผ้า ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น และยังมีการนำไปใช้เป็นส่วนผสมในแผ่นใยกรองอากาศสำหรับเครื่องปรับอากาศ ซึ่งก็นับว่าเป็นการเพิ่มช่องทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ได้ ในเมื่อเราทราบถึงประโยชน์อันมากมายหลายหลากของเจ้าชาเขียวที่แสนหอมหวานนี้แล้วก็อย่าลืมเลือกชาเขียวเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในคนที่รักษาสุขภาพกันนะคะ

 

www.flickr.com/photos/smiteme/14763205413/

15 มหัศจรรย์ของอาหารที่ช่วยชะลอความแก่

morning-foods-1
Source: Flickr (click image for link)

พูดถึงความแก่….ผู้หญิงซะส่วนใหญ่ที่กลัวและเครียดจริงไหมล่ะคะ แต่ก็อย่ากังวลไปเลยค่ะความเครียดนี่แหละตัวดีที่ทำให้เราแก่เร็วขึ้น จะยังไงซะการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็เป็นเรื่องธรรมชาติเนอะ คงไม่มีใครหลีกหนีพ้น แต่…เรามีวิธีชะลอความแก่ที่เรากลัวนักกลัวหนามาบอกกันค่ะ และก็ไม่เป็นความลับใดๆทั้งสิ้น แค่ง่ายๆด้วยการหันมาใส่ใจในการเลือกรับประทานอาหารเท่านั้นเอง ไม่ต้องไปเสียเงินมากมายในการเข้าคอร์สทำหน้าหรือซื้อครีมที่ราคาแสนจะแพงกันหรอกค่ะ ว่าแต่ ..แล้วจะต้องรับประทานอาหารอะไรยังไง และอาหารแบบไหนที่จะทำให้แก่ช้า..มีด้วยหรอ? อาหารที่เรารับประทานเข้าไปในแต่ละวันนั้น คุณทานเพื่อดับความหิวกระหาย หรือต้องการลิ้มรสชาติที่แสนอร่อยในราคาที่แสนแพง… ต้องยอมรับนะคะว่าอาหารที่ดีแต่ไม่แพงก็อร่อยส่วนอาหารที่แพงแต่ได้คุณภาพดีเยี่ยมนั่นก็ดีเช่นกัน แต่ถ้าแพงแล้ว รสชาติดีเยี่ยมแล้ว แต่ไม่ได้ให้คุณประโยชน์อะไรเลย นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง เอาล่ะยังไงการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องและให้ประโยชน์ต่อร่างกายเราถึงแม้รสชาติจะไม่ถูกปากหรือบางอย่างราคาก็แสนแพง แต่บางทีนั้นเราก็ต้องยอมปรับเปลี่ยนเมนูเพื่อแต่ละวันจะได้รับอาหารที่มีประโยชน์ที่สุด แต่ขอบอกเลยว่าอาหารแต่ละชนิดที่จะมาบอกในวันนี้ นอกจากจะเป็นสิ่งที่เราๆชอบทานกันแล้วยังให้ประโยชน์ล้มหลามเลยแหละค่ะ อาหารแต่ละชนิดคุ้นหูแล้วยังต้านแก่อีกแหน่ะ ก็บอกแล้วไงว่าไม่ใช่ความลับ ขยับเข้ามาใกล้ๆ อยู่แค่นี้เอง นี่ไง HealthGossip กำลังบอกคุณว่า ต่อไปนี้เราจะไม่กลัวแก่กันแล้วค่ะ มาดูกันเลยดีกว่าว่าอาหารเหล่านั้นมีอะไรบ้างเอ่ย แท่น แท๊น….

 

15 สุดยอดอาหารต้านความแก่

 

1.ปลา

มีผลการวิจัยว่าการทานปลาเป็นประจำช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ ชาวอลาสก้าไม่มีปัญหาเกี่ยวเรื่องโรคหัวใจเลย เพราะพวกเขาทานปลากันกันทุกวัน เนื้อปลาอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นไขมันต่ำที่จำเป็นต่อสมองและการทำงานของหัวใจ สารอาหารจากปลายังช่วยลดความดันโลหิต ลดระดับโคเลสเตอรอล และยังชะลอความแก่ได้อีกด้วย ปลาที่แนะนำก็จะเป็น ปลาแซลมอน  สารสีส้มที่ผิวของปลาแซลมอน เป็นสารในกลุ่มคาโรตีน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ทำให้หัวใจมีสุขภาพดี ช่วยป้องกันโรคไตเสื่อมจากเบาหวานอีกด้วยค่ะ

 

2.เบอร์รี่

ผลไม้ในตระกูลเบอรี่ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น สตรอเบอรี่ บลูเบอรี่ แบล็คเบอรี่ ราสเบอรี่ แครนเบอร์รี่ ล้วนอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยทำให้เซลล์มีสุขภาพดีและช่วยปกป้องคุณจากโรคด้วย นอกจากนี้ แบล็คเบอรี่ยังช่วยปกป้องคุณจากมะเร็งและโรคเบาหวานได้ด้วย

 

3.ดาร์กช็อกโกแลต

พูดถึงช็อกโกแลตแล้วคงยิ้มกันเลยสินะคะ และช็อคโกแลตที่ดีเพื่อสุขภาพนั้นต้องผสมโกโก้ไม่ต่ำกว่า 70% ที่มีความเข้มข้นสูง ที่เราเรียกกันว่าดาร์กช็อกโกแลตนั่นแหละค่ะ ดาร์กช็อกโกแลต มีสาร “ฟลาโวนอยด์” (Flavonoid) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และเป็นชนิดเช่นเดียวกับไวน์แดง พืชผัก ผลไม้ และใบชา จึงช่วยปกป้องผิวจากแสงยูวีได้นั่นเองรวมถึงช่วยปกป้องผิวของเราจากอาการอักเสบเนื่องมาจากการสัมผัสแสงอัลตราไวโอเลตซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งผิงหนัง ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวาน ลดไขมันอุดตันในเส้นเลือดที่หัวใจ  ป้องกันโรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคเส้นเลือดสมองได้  โกโก้มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง นี่คือเหตุผลที่ทำให้สาวๆ ที่โปรดปรานการทานช็อคโกแลตปลื้มปริ่มตามกัน นอกจากของโปรดที่แสนจะอร่อยแล้วนั้นยังช่วยให้สาวๆแก่ช้าลงด้วยค่ะ

 

4.น้ำมันมะกอก

ถูกนำมาใช้ในการปรุงอาหารชนิดต่างๆ มีอัตราไขมันอิ่มตัวต่ำช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและป้องกันโรคหัวใจได้ คนที่ทานน้ำมันมะกอกเป็นประจำจะช่วยชะลอวัย เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระ และวิตามินอีที่จะช่วยทำให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่นสูง ผิวเปล่งปลั่ง และลดริ้วรอยเหี่ยวย่น

 

5.ชาเขียว

ชาเขียวที่เราชอบดื่มกันดีๆนี่เองแหละค่ะ เพราะในชาเขียวนั้นมีสาร epigallocatechin gallate (EGCG) ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการขับสารพิษในร่างกาย สามารถกวาดล้างอนุมูลอิสระที่เป็นตัวกัดกร่อน DNA ในกระแสเลือดลงได้ จึงส่งผลในการช่วยป้องกันความเสื่อมของเซลล์และอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายและสามารถช่วยชะลอความแก่ชราและช่วยคงความอ่อนเยาว์ไว้ได้นั่นเองค่ะ

 

6.ธัญพืชประเภทถั่ว

ธัญพืชประเภทถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง และถั่วเหลือง ประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดรวมไปถึง ธาตุเหล็ก วิตามินบี และโพแทสเซียม ถั่วเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันอิ่มตัว ล่าสุดได้พบว่าคนกินถั่วทุกวันอายุยืนยาวกว่าคนที่ไม่กิน ถั่วมีสารอาหารมากมายทั้งแร่ธาตุและวิตามินอีที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระสูง จึงเป็นสุดยอดอาหารชะลอความแก่ได้อย่างดี ขอบอกว่าทานถั่ววันละ 1 กำ ช่วยลดคอเลสเตอรอลได้

ถั่วเหลืองจะมีสารอาหารที่ชื่อว่า ไอโซหลาโวน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระประเภทหนึ่ง เหมาะสำหรับคนที่อยู่ในช่วงวัยทอง โดยสรรพคุณของมันจะเข้าไปทำหน้าที่ลดปัญหาและอาการผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงวัยนี้ เทียบได้กับฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ขาดแคลนไป ช่วยชะลอการเสื่อมของกระดูก ลดการเกิดโรคกระดูกพรุน ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ช่วยให้ผิวพรรณเต่งตึง และดูอ่อนเยาว์มากขึ้น

ถั่วแดงมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ และมีโปรตีนช่วยช่อมแซมร่างกาย มีธาตุเหล็กช่วยในการกระตุ้นพลังงาน วิตามินบี และแมกนีเซียม กากใยยังช่วยลดคอเลสเตอรอล

ถั่วเขียวเป็นแหล่งของโปรตีนไขมันต่ำที่สำคัญซึ่งดีต่อหัวใจของคุณด้วย

 

7.ไวน์แดง

คุณอาจไม่อยากเชื่อเมื่อรู้ว่าไวน์แดงดีต่อสุขภาพของคุณ สารต้านอนุมูลอิสระและสารอาหารต่าง ๆ ในไวน์แดงช่วยป้องกันโรคหัวใจได้ ช่วยปกป้องเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดฝอย นอกจากนี้ยังพบสารประกอบอื่นอย่างเรสเวอราโทรลในไวน์แดงที่ช่วยป้องกันเส้นเลือดขอด ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง ลดการอักเสบ และช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลด้วย ไวน์เป็นเครื่องดื่มที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก ถ้าเราดื่มไวน์ในปริมาณที่พอดีก็จะช่วยป้องกันโรคภัยได้มากมาย สำหรับผู้หญิงควรดื่มไวน์แดงประมาณหนึ่งแก้วต่อวัน จะช่วยลดโรคความจำเสื่อม โรคเบาหวาน และช่วยให้หลับง่ายขึ้น

 

8.อะโวคาโด

การรับประทานอะโวคาโดช่วยทำให้ผิวเรียบเนียน และปกป้องผิวจากอันตรายที่เกิดจากแสงแดด เนื่องจากอะโวคาโดอุดมไปด้วยวิตามินอี และกลูทาไธวัน อโวคาโดยังมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่ต้านความแก่ที่ดีที่สุดอีก นอกจากนี้ยังมีวิตามินบี 6 และวิตามินซี กับแร่ธาตุแมกนีเซียมซึ่งช่วยในการสร้างฮอรโมน ความสุขเซโรโทนินและโดพามีน เพราะฉะนั้นถ้าเรารับประทานอโวคาโดเป็นประจำ ก็จะส่งผลต้านความชราอย่างสูงสุด อาจจะบดอะโวคาโดโรยหน้าโอ๊ตเค้กเป็นของทานเล่นดูก็ได้ หรือจะเป็นสลัดอะโวคาโดดีน้า

 

9.กระเทียม

กระเทียมเป็นที่รู้จักกันว่ามีสารชะลอความแก่ ซึ่งรวมไปถึงสามารถลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดและความดันโลหิตด้วย ลดการอักเสบและปกป้องเซลล์ให้มีสุขภาพดี กระเทียมช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้ด้วย ในสมัยก่อนมีการใช้กระเทียมเพื่อกำจัดอาการติดเชื้อทั้งไวรัสและแบคทีเรียในระบบร่างกายมนุษย์ นอกจากนี้ กระเทียมยังช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร ลำไส้ เต้านม และตับอ่อนด้วย

 

10.ผักใบเขียว

ผักสดมีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง วิตามินและแร่ธาตุในผักจะช่วยต่อสู้กับอนุมูลอิสระจึงช่วยชะลอความแก่ได้ ผักที่ดีที่สุดคือผักใบเขียวและมีลักษณะเป็นใบ เช่น ผักปวยเล้งและคะน้า ซึ่งจะช่วยต่อสู้กับการถูกทำร้ายเนื่องจากรังสียูวีได้ นอกจากนี้ทั้งพริกแดง พริกเขียวและพริกเหลืองต่างก็มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกาย น้ำฉ่ำๆจากพริกหยวกยังจะช่วยให้สุขภาพเล็บแข็งแรง ลองนำพริกไปทำซัลซ่า โดยผสมเข้ากับมะเขือเทศกระเทียม พริกแดง แตงกว่า น้ำมันมะกอก และน้ำมะนาวดูสิ นอกจากจะได้ประโยชน์มหาศาลจากเหล่าสุดยอดอาหารแล้ว ยังได้อร่อยกับเมนูเด็ดจากฝีมือของคุณเองอีก

 

11.ส้ม

ส้ม ซึ่งเป็นผลไม้ที่รับประทานง่าย เพราะเรารู้ว่าในส้มมีวิตามินซี และวิตามินซีนี้ จัดว่าดีต่อการสร้างคอลลาเจนใหม่ในผิว จึงทำให้ผิวแน่น และอิ่มเอิบ ทางออสเตรเลียได้ค้นคว้าและพบว่า ส้มมีไฟโตเคมิเคิลต่างๆรวมกว่า 170 อย่าง ส้มจึงมีประโยชน์ช่วยป้องกันการอักเสบ ต่อสู้กับโรคมะเร็ง และยังสามารถป้องกันโรคโลหิตอุดตันอีกด้วย

 

12.แอปเปิ้ล

การทานแอปเปิ้ลเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนเต็มที่นั้น ควรทานทั้งเปลือกเนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องสมองจากการถูกทำลาย ดังนั้น เวลาเราเคยทานแอปเปิ้ลแบบที่ต้องปลอกเปลือกก่อนทุกครั้งนั้นก็ต้องลองปรับเปลี่ยนมาทานแบบไม่ต้องปลอกเปลือกกันดูนะคะ และนอกจากนี้แอปเปิ้ลยังมีสารเกอซิตินซึ่งเป็นแอนตี้แดนท์ต้านการอักเสบ และยังช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่อยู่ในร่างกาย ถ้าเรารับประทานแอปเปิ้ลเป็นประจำจะช่วยให้ปอดแข็งแรง และลดความเสี่ยงของโรคหอบหืดอีกด้วยค่ะ

 

13.เต้าหู้และนมถั่วเหลือง

ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ถือเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีเยี่ยมแถมยังมีวิตามินและแร่ธาตุต่างๆมากมาย เช่น แคลเซียม เหล็ก สังกะสี วิตามินบี เป็นต้น ทั้งถั่วเหลืองและเต้าหู้ก็เป็นอาหารที่มีเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิงที่จะช่วยในเรื่องการบำรุงดูแลผิวพรรณ และในน้ำเต้าหู้ยังมีโฟโตเอสโตรเจนแฝงอยู่ และข้อดีของการรับฮอร์โมนเอสโตรเจนจากน้ำเต้าหู้ก็คือ น้ำเต้าหู้แอบแฝงเอสโตรเจนมาในรูปของเหลว ทีนี้ร่างกายก็จะดูดซึมและนำฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ได้ไปใช้ได้อย่างรวดเร็วนั่นเองนะคะ และเต้าหู้และถั่วเหลืองยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของร่างกายไม่ให้สูงจนเกินไป และช่วยให้การหลั่งอินซูลินอยู่ในระดับที่เหมาะสม ระดับน้ำตาลและอินซูลินที่สูงเกินไปนั้นจะทำให้เป็นโรคเบาหวาน เซลส์ต่างๆเสื่อมสภาพเร็ว และที่สำคัญทำให้แก่เร็วและแก่เกินวัย

 

14.ไข่

ให้ลืมข้อเสียเรื่องคอเลสเตอรอลที่เคยเชื่อกันมานานไปได้เลยค่ะ เพราะไข่นี่แหละมีครบทั้งเกลือแร่ วิตามิน และก็โปรตีน ไข่แดงนั้นยังอุดมไปด้วยคาโรทินอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นเยี่ยมยอดนั่นเอง

 

15.ขมิ้น 

ขมิ้นที่เราชอบนำมาทำเป็นเครื่องเทศในอาหารนี่แหละค่ะ ขมิ้นเป็นผงสีเหลืองที่ใส่ในแกงกะหรี่ ในขมิ้นมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ช่วยป้องกันของโรคอัลไซม์เมอร์อีกด้วย แหมเอาใจคนที่ชอบข้าวแกงกะหรี่กันเลยแหละคราวนี้ ยังไงก็อย่าพลาดเมนูข้าวแกงกะหรี่กันนะคะ

 

“อาหาร” เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำหรับการดำรงค์ชีวิตในแต่ละวันของมนุษย์โลก การที่ได้รับประทารอาหารที่ดีอร่อยและราคาแพงใช่ว่าจะทำให้เราต้องมีสุขภาพที่ดีเสมอไป แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ค่ะเพราะว่าอาหารที่มีราคาแพงนั้นก็ย่อมเป็นส่วนที่ช่วยให้เราได้รับประทารอาหารที่มีคุณภาพดีเยี่ยมแต่ก็ต้องให้ถูกเมนูเช่นกัน และต่อจากนี้ หวังว่าอาหาร 15 ชนิดข้างต้นจะเป็นแนวทางในการเลือกรับประทานหรือแนวทางในการประกอบอาหารทานเองที่บ้านก็ดี แค่นี้ความแก่น่ะหรอ….เชิ่ดใส่เลยค่ะ 🙂

 

www.flickr.com/photos/sharisberries/16750735390/